Return to Video

การค้นพบที่อาจพลิกโฉมวงการฟิสิกส์

  • 0:01 - 0:04
    เมื่อคุณเพ่งมอง ท้องฟ้ายามค่ำ
  • 0:04 - 0:06
    คุณจะเห็นดวงดาว
  • 0:06 - 0:09
    ถ้ามองไกลออกไป ก็เห็นดวงดาวอื่นๆอีก
  • 0:09 - 0:11
    ไกลไปอีก ก็เป็นกาแล็กซี
    ไกลไปอีก ก็กาแล็กซีอื่นๆ อีก
  • 0:11 - 0:15
    แต่ถ้าคุณ มองไกลออกไป เรื่อยๆ อีก
  • 0:15 - 0:18
    ถึงจุดหนึ่ง คุณจะไม่เห็นอะไรเลย อยู่นานทีเดียว
  • 0:18 - 0:22
    ท้ายที่สุด คุณจะเห็นแสงเรืองค้าง (Afterglow)
    บางๆ เลือนลางลงทุกวัน
  • 0:22 - 0:25
    มันคือแสงเรืองค้าง จากปรากฎการณ์บิ๊กแบง (Big Bang) ครับ
  • 0:25 - 0:28
    บิ๊กแบง คือยุคของเอกภพ ช่วงแรกเริ่ม
  • 0:28 - 0:30
    ตอนนั้น ทุกสิ่งที่เราเห็น บนท้องฟ้ายามค่ำ
  • 0:30 - 0:33
    ควบแน่นเข้ากัน เป็นมวลสารที่เล็กมากๆ
  • 0:33 - 0:37
    ร้อนมากๆ และปั่นป่วนมากๆ
  • 0:37 - 0:40
    และมันนี่เอง ที่ปลดปล่อยสรรพสิ่งออกมา
  • 0:40 - 0:43
    แล้วเรา ก็สร้างแผนที่ ของแสงเรืองค้างเหล่านั้นขึ้น
  • 0:43 - 0:44
    ด้วยความแม่นยำที่สูงมากๆ
  • 0:44 - 0:46
    'เรา' ที่ว่านี้ คนอื่นนะครับ ไม่ใช่ผม
  • 0:46 - 0:48
    พอสร้างแผนที่ของแสงเรืองค้าง
  • 0:48 - 0:49
    ด้วยความแม่นยำสุดยอดแล้ว
  • 0:49 - 0:51
    หนึ่งในเรื่องน่าตกใจก็คือ
  • 0:51 - 0:54
    แสงเรืองค้างนี้ กระจายตัวกันอย่างสม่ำเสมอ เกือบสมบูรณ์เลยครับ
  • 0:54 - 0:56
    ไม่ว่า 14 พันล้านปีแสง ไปทางด้านนั้น
  • 0:56 - 0:58
    หรือ 14 พันล้านปีแสง ไปทางด้านนี้
  • 0:58 - 0:59
    อุณหภูมิต่างก็เท่ากันเป๊ะ
  • 0:59 - 1:02
    ตอนนี้ ผ่านมา 13 พันล้านปีแล้ว
  • 1:02 - 1:04
    นับแต่เกิดบิ๊กแบง
  • 1:04 - 1:07
    แสงเรืองค้างนี้ จึงเลือนลาง และเย็นลง
  • 1:07 - 1:09
    ขณะนี้มันมีอุณหภูมิ 2.7 องศา
  • 1:09 - 1:11
    แต่ไม่ใช่ 2.7 องศาเป๊ะๆ นะครับ
  • 1:11 - 1:14
    ที่เป็น 2.7 องศาจริงๆ มีอยู่ประมาณ
  • 1:14 - 1:15
    สิบในล้านส่วนได้
  • 1:15 - 1:16
    ตรงนี้ ร้อนกว่านิด
  • 1:16 - 1:18
    ตรงโน้น เย็นกว่าหน่อย
  • 1:18 - 1:21
    เรื่องนี้สำคัญมากๆ นะครับ สำหรับทุกคนในห้องนี้
  • 1:21 - 1:23
    เพราะตรงบริเวณที่ร้อนกว่าหน่อยนั้น
  • 1:23 - 1:25
    มีอะไรเล็กๆ อยู่ครับ
  • 1:25 - 1:26
    ตรงอะไรเล็กๆ ที่ว่านี้
  • 1:26 - 1:28
    ก็คือกาแล็กซี่ กระจุกกาแล็กซี่
  • 1:28 - 1:30
    และกลุ่มกระจุกกาแล็กซี่ใหญ่
  • 1:30 - 1:32
    รวมถึงโครงสร้างทั้งหมด ในจักรวาลนั่นแหละครับ
  • 1:32 - 1:35
    เจ้าความไม่สม่ำเสมอ เล็กๆ น้อยๆ
  • 1:35 - 1:38
    ที่มีอยู่ 20 ในล้านส่วนนี้
  • 1:38 - 1:40
    เกิดขึ้นจาก รอยเบี้ยว เชิงกลศาสตร์ควอนตัม
  • 1:40 - 1:42
    ในเอกภพยุคแรกเริ่มที่ถูกยืดออก
  • 1:42 - 1:45
    จนมีขนาดใหญ่ทั้งจักรวาล
  • 1:45 - 1:46
    มหัศจรรย์มากๆ ครับ
  • 1:46 - 1:48
    แต่นั่น ไม่ใช่ข้อค้นพบเมื่อวันจันทร์ครับ
  • 1:48 - 1:50
    ข้อค้นพบเมื่อวันจันทร์นั้น เจ๋งกว่านั้นอีก
  • 1:50 - 1:52
    ข้อค้นพบเมื่อวันจันทร์ คือนี่ครับ
  • 1:52 - 1:56
    นึกภาพว่า คุณถือระฆัง
  • 1:56 - 1:57
    แล้วก็ ใช้ค้อนตีระฆัง แรงๆเลย
  • 1:57 - 1:59
    ระฆังก็สั่น และดังครับ
  • 1:59 - 2:01
    แต่ถ้าคุณคอยซักพัก เสียงระฆังจะเบาลงๆ
  • 2:01 - 2:03
    เบาลงๆ
  • 2:03 - 2:05
    จนไม่ได้ยินอีก
  • 2:05 - 2:07
    ทีนี้ เอกภพในระยะแรกๆ นั้นอัดแน่นมากๆ
  • 2:07 - 2:10
    เหมือนกับโลหะ แต่หนาแน่นกว่าเยอะ
  • 2:10 - 2:12
    ถ้าคุณตีมัน มันก็สั่น
  • 2:12 - 2:14
    แต่ในที่นี้ สิ่งที่สั่นก็คือ
  • 2:14 - 2:16
    โครงสร้างของกาลอวกาศ (space-time)
  • 2:16 - 2:19
    ส่วนค้อนในที่นี้ ก็คือกลศาสตร์ควอนตัม
  • 2:19 - 2:21
    สิ่งที่พวกเขาค้นพบ เมื่อวันจันทร์
  • 2:21 - 2:23
    คือหลักฐาน ที่แสดงถึงการสั่น
  • 2:23 - 2:25
    ของกาลอวกาศในเอกภพยุคแรกเริ่ม
  • 2:25 - 2:27
    เราเรียกมันว่า คลื่นความโน้มถ่วง (gravitational waves)
  • 2:27 - 2:29
    ที่มาจากยุคแรกเริ่ม
  • 2:29 - 2:31
    จะเล่าให้ฟังครับว่า เขาเจอมันได้ยังไง
  • 2:31 - 2:33
    คลื่นพวกนั้น จางลงนานมากแล้วครับ
  • 2:33 - 2:34
    ถ้าคุณเดินบนคลื่นนั้น
  • 2:34 - 2:36
    คุณจะไม่รู้สึกสั่นอะไรเลย
  • 2:36 - 2:39
    คลื่นความโน้มถ่วง ในโครงสร้างของอวกาศนั้น
  • 2:39 - 2:42
    ในทางปฏิบัติแล้ว ตรวจจับไม่ได้เลยครับ
  • 2:42 - 2:45
    แต่ก่อนหน้านั้น ขณะที่เอกภพกำลังสร้าง
  • 2:45 - 2:47
    แสงเรืองค้างสุดท้ายนั้น
  • 2:47 - 2:48
    คลื่นความโน้มถ่วง
  • 2:48 - 2:51
    ได้ก่อให้เกิด รอยบิดในโครงสร้าง
  • 2:51 - 2:53
    ของแสงที่เราเห็น
  • 2:53 - 2:56
    ด้วยการเพ่งมองท้องฟ้ากลางคืน ไกลออกไปๆ
  • 2:56 - 2:58
    ทีมงานใช้เวลาถึงสามปี ที่ขั้วโลกใต้
  • 2:58 - 3:01
    เพ่งผ่านอากาศที่หนาวที่สุด ปลอดโปร่งที่สุด
  • 3:01 - 3:03
    และสะอาดที่สุด เท่าที่จะหาได้
  • 3:03 - 3:06
    เพ่งลึกไปในท้องฟ้ายามค่ำ แล้วศึกษา
  • 3:06 - 3:09
    แสงเรืองค้างนั้น มองหารอยเบี้ยวจางๆ
  • 3:09 - 3:12
    อันเป็นสัญลักษณ์ หรือ สัญญาณ
  • 3:12 - 3:13
    ของคลื่นความโน้มถ่วง
  • 3:13 - 3:16
    รอยสั่นจากเอกภพยุคแรกเริ่ม
  • 3:16 - 3:17
    เมื่อวันจันทร์ พวกเขาได้ประกาศว่า
  • 3:17 - 3:19
    พวกเขาเจอมันแล้ว
  • 3:19 - 3:22
    เรื่องที่ผมคิดว่ามหัศจรรย์มากๆ
  • 3:22 - 3:24
    ไม่ใช่แค่รอยสั่น ซึ่งก็สุดยอดแล้วนะครับ
  • 3:24 - 3:26
    เรื่องน่าอัศจรรย์จริงๆ
  • 3:26 - 3:28
    เป็นสาเหตุให้ผมมาอยู่บนนี้ ก็คือ
  • 3:28 - 3:31
    มันบอกรายละเอียดล้ำลึก เกี่ยวกับจักรวาลยุคแรกเริ่มครับ
  • 3:31 - 3:33
    มันบอกว่า เรา
  • 3:33 - 3:34
    และทุกสิ่งรอบๆ ตัวเรานี้
  • 3:34 - 3:37
    เป็นลูกโป่งมหึมาลูกนึงครับ
  • 3:37 - 3:39
    และนี่คือทฤษฎีการพองตัว (inflation) ครับ
  • 3:39 - 3:43
    ลูกโป่งใบใหญ่ใบนึง ซึ่งมีอะไรบางอย่าง รายล้อมอีกที
  • 3:43 - 3:45
    นี่ไม่ใช่หลักฐานยืนยีนทฤษฎีพองตัวนะครับ
  • 3:45 - 3:47
    แต่ทฤษฎีไหนที่ใช้อธิบายเรื่องนี้ได้
  • 3:47 - 3:49
    ก็ต้องคล้ายๆ ทฤษฎีพองตัวแหละครับ
  • 3:49 - 3:50
    เราคิดทฤษฎีนี้ขึ้นมา
  • 3:50 - 3:52
    นานใช้ได้แล้วครับ
  • 3:52 - 3:53
    และเราก็ไม่เคยคิดเลยว่า เราจะเจอมันได้จริง
  • 3:53 - 3:55
    ด้วยเหตุผลหลายอย่าง เราคิดว่า คงไม่มีวันเจอ-
  • 3:55 - 3:57
    หลักฐานไม้ตาย แล้วนี่แหละครับ หลักฐานไม้ตาย
  • 3:57 - 3:59
    แต่แนวคิดที่หลุดโลกจริงๆ
  • 3:59 - 4:02
    คือ ลูกโป่งของเรา เป็นแค่ลูกเดียว
  • 4:02 - 4:07
    จากหลายๆลูก ในหม้อเอกภพ ที่ทั้งปั่นป่วน และใหญ่กว่า
  • 4:07 - 4:09
    เราคงไม่มีวันเห็นอะไรๆ นอกลูกโป่งของเราได้ครับ
  • 4:09 - 4:11
    แต่ด้วยการไปอยู่ขั้วโลกใต้ นานสามปี
  • 4:11 - 4:14
    สำรวจโครงสร้างของท้องฟ้ายามค่ำ อย่างละเอียด
  • 4:14 - 4:16
    เราก็พิสูจน์ได้ว่า
  • 4:16 - 4:19
    เราน่าจะอยู่ในเอกภพ ลักษณะประมาณนั้นแหละ
  • 4:19 - 4:21
    นั่นแหละ เรื่องน่าอัศจรรย์ครับ
  • 4:21 - 4:23
    ขอบคุณมากครับ
  • 4:23 - 4:26
    (เสียงปรบมือ)
Title:
การค้นพบที่อาจพลิกโฉมวงการฟิสิกส์
Speaker:
อลัน อดัมส์ (Allan Adams)
Description:

วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557 นักฟิสิกส์กลุ่มหนึ่ง ประกาศการค้นพบอันน่าตื่นเต้น มันคือข้อมูล "ควันปืนที่หลงเหลือ" ซึ่งสนับสนุนแนวคิดของการพองตัวของเอกภพ (inflationary universe) และเป็นเบาะแสการเกิดบิ๊กแบง (Big Bang) สำหรับบุคคลที่ไม่ใช่นักฟิสิกส์แล้ว สิ่งเหล่านี้หมายความว่าอย่างไรกันแน่? TED ได้ขอให้ อลัน อดัมส์ (Allan Adams) ช่วยอธิบายเรื่องนี้อย่างย่อๆ ในการบรรยายแบบด้นสด พร้อมภาพประกอบโดย แรนดัลล์ มันโร (Randall Munroe) แห่ง xkcd.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
04:42

Thai subtitles

Revisions Compare revisions