Return to Video

การเดินทางอันซับซ้อนเกินจะนึกฝันของออกซิเจนทั่วทั้งร่างกายคุณ - เอนดา บัทเลอร์ (Enda Butler)

  • 0:07 - 0:13
    ในวันหนึ่ง ๆ
    คุณหายใจเข้าประมาณ 17,000 ครั้ง
  • 0:13 - 0:15
    มันเป็นกระบวนการ
    ที่คุณแทบไม่นึกถึงเท่าไรนัก
  • 0:15 - 0:20
    แต่เบื้องลึกแล้ว กลไกที่ประสานงานกัน
    อย่างยิ่งใหญ่กำลังดำเนินอยู่
  • 0:20 - 0:22
    อวัยวะสำคัญของคุณ
  • 0:22 - 0:23
    ลำไส้
  • 0:23 - 0:23
    สมอง
  • 0:23 - 0:24
    กระดูก
  • 0:24 - 0:25
    ปอด
  • 0:25 - 0:26
    เลือด
  • 0:26 - 0:27
    และหัวใจของคุณ
  • 0:27 - 0:29
    ต่างทำงานร่วมกัน
    เพื่อธำรงรักษาร่างกายเราให้คงอยู่
  • 0:29 - 0:33
    ด้วยการลำเลียงออกซิเจน
    ป้อนให้กับเนื้อเยื่อทั่วทั้งร่างกาย
  • 0:33 - 0:35
    เซลล์ส่วนใหญ่ต้องการออกซิเจน
  • 0:35 - 0:39
    เพราะมันเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของ
    "การสลายโมเลกุลสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน"
  • 0:39 - 0:43
    เป็นกระบวนการที่สร้าง
    โมเลกุลที่เรียกว่า เอทีพี (ATP)
  • 0:43 - 0:48
    ซึ่งเซลล์ใช้เป็นพลังงานให้กับ
    การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของร่างกายอันน่าทึ่ง
  • 0:48 - 0:53
    แต่การรับออกซิเจนเข้าไปในร่างกายให้ทั่วถึง
    กลับเป็นภารกิจที่ยากจนไม่คาดฝัน
  • 0:53 - 0:57
    แก๊สเข้าสู่เซลล์โดยการแพร่ผ่านจาก
    เนื้อเยื่อชั้นนอกที่อยู่รอบ ๆ
  • 0:57 - 1:02
    และจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพได้
    ก็ต่อเมื่อมีระยะห่างเล็ก ๆ เท่านั้น
  • 1:02 - 1:05
    ฉะนั้น เพื่อให้ออกซิเจนเข้าไปถึงเซลล์
    ภายในร่างกายของคนเรา
  • 1:05 - 1:08
    มันจึงจำเป็นต้องมีเครือข่ายขนส่ง
  • 1:08 - 1:12
    นี่เป็นจุดที่เซลล์เม็ดเลือดแดงถึง
    สองหมื่นล้านเซลล์หลั่งไหลเข้ามา
  • 1:12 - 1:18
    โดยแต่ละเซลล์เม็ดเลือดแดงจะมี
    ออกซี-ฮีโมโกลบินถึง 270 ล้านโมเลกุล
  • 1:18 - 1:22
    ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เลือดมีสีแดงสด
  • 1:22 - 1:25
    การที่จะสร้างเซลล์เหล่านี้ขึ้นมา
    ร่างกายจะใช้วัตถุดิบ
  • 1:25 - 1:28
    ที่ได้จากอาหารที่เรากินเข้าไป
  • 1:28 - 1:32
    ดังนั้นในบางแง่ เราอาจกล่าวได้ว่า
    การเดินทางของออกซิเจนทั่วทั้งร่างกาย
  • 1:32 - 1:35
    แท้จริงแล้วเริ่มต้นที่ลำไส้
  • 1:35 - 1:39
    ในการนำเสนออันน่าตื่นตาตื่นใจของ
    การย่อยอาหารเชิงกล และเชิงเคมีนี้
  • 1:39 - 1:42
    อาหารจะถูกย่อย
    จนเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุด
  • 1:42 - 1:46
    อย่างเช่น ธาตุเหล็ก
    อันเป็นองค์ประกอบของฮีโมโกลบิน
  • 1:46 - 1:49
    ธาตุเหล็กจะถูกส่งผ่านไปยัง
    ระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • 1:49 - 1:52
    ไปสู่เนื้อเยื่อฮีมาโทโพอิทิกของร่างกาย
    (hematopoietic tissue)
  • 1:52 - 1:55
    เนื้อเยื่อนี้เป็นแหล่งกำเนิด
    ของเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • 1:55 - 1:59
    และมันสามารถพบได้ภายใน
    โพรงที่อยู่ของไขกระดูก
  • 1:59 - 2:02
    ส่วนไตจะควบคุมระดับ
    เซลล์เม็ดเลือดแดงของเรา
  • 2:02 - 2:04
    ผ่านการหลั่งฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน
    (erythropoietin)
  • 2:04 - 2:09
    ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ทำให้ไขกระดูก
    เพิ่มจำนวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • 2:09 - 2:14
    ร่างกายของเราผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
    ออกมาประมาณ 2.5 ล้านเซลล์ต่อวินาที
  • 2:14 - 2:18
    เป็นจำนวนเทียบเท่ากับ
    ประชากรกรุงปารีสทั้งเมือง
  • 2:18 - 2:23
    ดังนั้น ออกซิเจนที่เดินทางไปถึงปอด
    จะมีการขนส่งอย่างเหลือเฟือ
  • 2:23 - 2:25
    แต่ก่อนที่ออกซิเจนจะสามารถ
    เดินทางไปถึงปอดได้นั้น
  • 2:25 - 2:27
    สมองจำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวด้วย
  • 2:27 - 2:29
    ก้านสมองเริ่มต้นการหายใจ
  • 2:29 - 2:32
    โดยการส่งข้อความผ่านทางระบบประสาท
  • 2:32 - 2:36
    มายังกล้ามเนื้อกะบังลม และกล้ามเนื้อยึดซี่โครง
  • 2:36 - 2:38
    ก่อให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อทั้งสอง
  • 2:38 - 2:41
    จึงเป็นการเพิ่มช่องว่างภายในให้กับกระดูกซี่โครง
  • 2:41 - 2:44
    ซึ่งช่วยให้ปอดขยายตัวได้
  • 2:44 - 2:47
    การขยายตัวนั้น
    ทำให้ความดันอากาศภายในปอดลดลง
  • 2:47 - 2:49
    อากาศภายนอกจึงเคลื่อนตัวเข้าสู่ปอด
  • 2:49 - 2:53
    มันช่างเป็นการล่อตาล่อใจที่จะคิดว่า
    ปอดเราก็เป็นดั่งบอลลูนใบใหญ่สองลูกดี ๆ นี่เอง
  • 2:53 - 2:56
    แต่แท้จริงแล้ว มันซับซ้อนยิ่งกว่านั้นนัก
  • 2:56 - 2:57
    นี่คือเหตุผล
  • 2:57 - 3:00
    เซลล์เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือด
    ที่อยู่ภายในปอดของคุณ
  • 3:00 - 3:05
    สามารถเลือกเพียงโมเลกุลออกซิเจน
    ที่ใกล้ตัวมาก ๆ เท่านั้น
  • 3:05 - 3:07
    หากว่าปอดเรามีรูปทรงบอลลูนแล้วล่ะก็
  • 3:07 - 3:11
    อากาศจะไม่สามารถเข้าไปสัมผัส
    กับชั้นผิวภายในของบอลลูนได้โดยตรง
  • 3:11 - 3:14
    อากาศจึงไม่สามารถแพร่ผ่านเข้าไปได้
  • 3:14 - 3:20
    โชคดีที่โครงสร้างของปอดช่วยให้วางใจได้ว่า
    มีออกซิเจนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สูญเสียไป
  • 3:20 - 3:22
    โครงสร้างภายในของปอดถูกแบ่งออกเป็น
  • 3:22 - 3:26
    บอลลูนขนาดจิ๋วที่เรียกว่า "ถุงลม" หรือ
    แอลวีโอไล (alveoli) จำนวนนับร้อยล้าน
  • 3:26 - 3:29
    ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในพื้นที่สัมผัส
  • 3:29 - 3:33
    จนถึงประมาณ 100 ตารางเมตร
  • 3:33 - 3:37
    ผนังถุงลมประกอบด้วย
    ชั้นเซลล์ที่เรียบบางอย่างมาก
  • 3:37 - 3:40
    ที่โอบล้อมด้วยเส้นเลือดฝอย
  • 3:40 - 3:46
    ทั้งผนังถุงลม และเส้นเลือดฝอยรวมกัน
    ออกมาเป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มหนา 2 ชั้น
  • 3:46 - 3:50
    ที่ชักพาเลือดและออกซิเจนมาให้ใกล้ชิด
    มากพอจะทำให้เกิดกระบวนการแพร่
  • 3:50 - 3:53
    เซลล์ที่อุดมไปด้วยออกซิเจนเหล่านี้
    จะถูกลำเลียงออกมาจากปอด
  • 3:53 - 3:56
    ไปยัง "ระบบหัวใจและหลอดเลือด"
  • 3:56 - 4:00
    อันเป็นกลุ่มรวมหลอดเลือดขนาดมหึมา
    ที่เข้าไปถึงเซลล์ทุกอณูในร่างกาย
  • 4:00 - 4:04
    หากเราวางระบบนี้เรียงเป็นเส้นตรงแนวยาว
  • 4:04 - 4:08
    หลอดเลือดจะพันรอบโลกได้หลายรอบเลย
  • 4:08 - 4:11
    การขับเคลื่อนเซลล์เม็ดเลือดแดง
    ผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่นี้
  • 4:11 - 4:14
    ต้องการแรงสูบฉีดที่ทรงพลังมากเชียวล่ะ
  • 4:14 - 4:16
    และนี่จะเป็นจุดที่หัวใจของคุณ
    เข้ามามีบทบาท
  • 4:16 - 4:21
    หัวใจมนุษย์จะสูบฉีดเลือด
    เฉลี่ยประมาณ 100,000 ครั้งต่อวัน
  • 4:21 - 4:26
    มันเป็นขุมพลังงานที่นำพาออกซิเจน
    ไปสู่จุดหมายปลายทาง
  • 4:26 - 4:29
    ให้กลไกทุกส่วนในร่างกายทำงานเสร็จสมบูรณ์
  • 4:29 - 4:33
    ลองคิดดูสิว่า ระบบอันซับซ้อนทั้งมวลนี้
    มีรากฐานมาจากการลำเลียง
  • 4:33 - 4:36
    โมเลกุลของออกซิเจนขนาดกระจิ๋วหลิว
  • 4:36 - 4:40
    หากมีเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งทำงานผิดปกติ
    เราก็จะผิดปกติไม่ต่างกัน
  • 4:40 - 4:41
    หายใจเข้าครับ
  • 4:41 - 4:45
    ทั้งลำไส้ สมอง กระดูก
    ปอด เลือด และหัวใจของคุณ
  • 4:45 - 4:50
    กำลังเดินหน้าประสานงานอันแสนน่าทึ่ง
    เพื่อต่อลมหายใจให้ชีวิตคุณดำรงอยู่ต่อไป
  • 4:50 - 4:52
    หายใจออกสิครับ
Title:
การเดินทางอันซับซ้อนเกินจะนึกฝันของออกซิเจนทั่วทั้งร่างกายคุณ - เอนดา บัทเลอร์ (Enda Butler)
Description:

ชมบทเรียนฉบับเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/oxygen-s-surprisingly-complex-journey-through-your-body-enda-butler

อากาศที่อยู่รอบตัวเราประกอบไปด้วยออกซิเจนประมาณ 21 เปอร์เซ็นต์ ภายในร่างกายของคุณ ออกซิเจนมีบทบาทสำคัญในการสร้างพลังงานให้กับเซลล์ส่วนใหญ่ แต่หากว่าแก๊สสามารถจะแพร่ผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อในระยะห่างเล็ก ๆ เท่านั้น แล้วออกซิเจนจะสามารถเข้าถึงเซลล์ระดับลึกที่อยู่ในร่างกายได้อย่างไร
เอนดา บัทเลอร์ จะมาตามรอยการเดินทางอันซับซ้อนเกินคาดฝันของออกซิเจนทั่วทั้งร่างกายคุณ

บทเรียนโดย Enda Butler แอนิเมชันโดย Compote Collective

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:10

Thai subtitles

Revisions