Return to Video

แรงโน้มถ่วงโลกกับร่างกายของเรา - เจย์ บัคกี (Jay Buckey)

  • 0:07 - 0:09
    มีบางปัญหาที่ถือว่าสำคัญ
  • 0:09 - 0:10
    ถ้าคุณอยากให้มนุษย์ไปอยู่ในอวกาศ
  • 0:10 - 0:12
    เป็นเวลานานๆ
  • 0:12 - 0:14
    หนึ่งในคนเหล่านั้นอาจจะเสีย
  • 0:14 - 0:16
    มวลของกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • 0:16 - 0:17
    เป็นที่รู้ว่า
  • 0:17 - 0:18
    ถ้าคุณเกิดต้องใส่เฝือกที่ขา
  • 0:18 - 0:20
    และถอดมันออกเมื่อผ่านไปหลายสัปดาห์
  • 0:20 - 0:24
    คุณจะเห็นกล้ามเนื้อขาของคุณลีบลง
  • 0:24 - 0:26
    และถ้าคุณวัดค่าความแข็งแรงของกระดูก
  • 0:26 - 0:29
    คุณอาจพบว่ามันมีค่าลดลงเล็กน้อยเช่นกัน
  • 0:29 - 0:32
    และมันเป็นเรื่องน่าสนใจ
    ที่ร่างกายเรามีความสามารถ
  • 0:32 - 0:34
    ปรับตัวเข้ากับน้ำหนักที่กระทำต่อมัน
  • 0:34 - 0:36
    ซึ่งกระดูกและกล้ามเนื้อไม่ได้อยู่นิ่งเฉย
  • 0:36 - 0:38
    มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
  • 0:38 - 0:40
    ขณะที่เราคิดว่ากระดูกนั้นเป็นวัตถุแข็ง
  • 0:40 - 0:42
    ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก
  • 0:42 - 0:43
    แต่มันก็เปลี่ยนด้วย
  • 0:43 - 0:46
    และมีการพบว่าในสภาวะไร้น้ำหนัก
  • 0:46 - 0:47
    เราจะเสียมวลกระดูก
  • 0:47 - 0:49
    และมันก็ยังทำให้กล้ามเนื้อ
  • 0:49 - 0:51
    ที่คอยต่อต้านแรงโน้มถ่วง
  • 0:51 - 0:53
    เรียกว่ากล้ามเนื้อช่วยทรงตัว (postural muscles)
  • 0:53 - 0:56
    พวกมันก็จะเริ่มหดลีบและเสียความแข็งแรง
  • 0:56 - 0:58
    ซ้ำยังมีเรื่องของระบบไหลเวียนโลหิต
  • 0:58 - 1:00
    หัวใจและหลอดเลือดต่างๆ
  • 1:00 - 1:01
    ลองคิดถึงตอนที่คุณ
  • 1:01 - 1:04
    ยืนตรงภายใต้แรงโน้มถ่วง
  • 1:04 - 1:06
    ซึ่งหมายความว่าร่างกายต้องออกแรงต้านมัน
  • 1:06 - 1:08
    เพื่อที่จะให้เลือดยังคงไปเลี้ยงสมองได้
  • 1:08 - 1:11
    ถ้าร่างกายไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปยังสมองได้
  • 1:11 - 1:14
    คุณก็จะเป็นลมทุกครั้งที่คุณยืนขึ้น
  • 1:14 - 1:15
    เพราะว่าขณะที่คุณนอนราบ
  • 1:15 - 1:17
    ร่างกายไม่จำเป็นต้องต้านแรงโน้มถ่วง
  • 1:17 - 1:18
    แต่เมื่อคุณยืนขึ้น
  • 1:18 - 1:20
    ร่างกายต้องสู้กับแรงโน้มถ่วง
  • 1:20 - 1:21
    เพื่อส่งเลือดไปสู่ศีรษะ
  • 1:21 - 1:23
    ซึ่งหัวใจและหลอดเลือดของเรา
  • 1:23 - 1:25
    มีระบบการทำงานที่ดีเยี่ยม
  • 1:25 - 1:27
    ที่จัดการกับปัญหาเหล่านี้ ได้ทุกครั้ง
  • 1:29 - 1:32
    แต่ระบบก็สามารถเปลี่ยนได้
    เมื่ออยู่ภายใต้สภาวะไร้น้ำหนัก
  • 1:32 - 1:34
    และในส่วนอื่นที่เปลี่ยนไป
  • 1:34 - 1:36
    ก็คือระบบควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
  • 1:36 - 1:38
    อีกครั้ง การทรงตัวของร่างกาย
  • 1:38 - 1:41
    เป็นสิ่งที่คุณทำภายใต้แรงโน้มถ่วง ใช่ไหม?
  • 1:41 - 1:43
    ถ้าเกิดไม่มีแรงโน้มถ่วง
  • 1:43 - 1:46
    คุณก็ไม่ต้องกลัวว่าจะหกล้ม
  • 1:46 - 1:48
    แต่แน่นอนคุณต้องกลัวหกล้ม
  • 1:48 - 1:51
    และมนุษย์เราได้พัฒนาประสาทสัมผัส
    การทรงตัวขั้นสูง
  • 1:51 - 1:52
    เพื่อให้ตัวตรง
  • 1:52 - 1:54
    และป้องการหกล้ม
  • 1:54 - 1:56
    และเมื่อคุณเห็นสิ่งที่นักสเก็ตทำ
  • 1:56 - 1:59
    คุณจะตระหนักว่าระบบนี้มันยอดเยี่ยมเพียงใด
  • 1:59 - 2:01
    แต่เมื่อไปอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก
  • 2:01 - 2:03
    ระบบการทรงตัวก็เปลี่ยนไป
  • 2:03 - 2:04
    คุณจะไม่รู้ตัว
  • 2:04 - 2:05
    ตอนอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก
  • 2:05 - 2:07
    แต่เมื่อคุณกลับมายังโลก
  • 2:07 - 2:08
    คุณจะเห็นว่า
  • 2:08 - 2:09
    การทรงตัวของคุณได้เปลี่ยนไป
  • 2:09 - 2:10
    และจะเจอปัญหาเล็กน้อย
  • 2:10 - 2:12
    ในการรักษาการทรงตัว
  • 2:12 - 2:15
    สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ขณะที่คุณอยู่ในอวกาศ
  • 2:15 - 2:18
    สมองคุณจะพยายามช่วยคุณ
  • 2:18 - 2:20
    ให้ทำงานภายใต้สภาวะไร้น้ำหนัก
  • 2:20 - 2:22
    โดยปรับตัวคุณให้เข้ากับสภาวะไร้น้ำหนัก
  • 2:22 - 2:24
    ซึ่งคุณจะไม่รู้สึกจนกระทั้งตอนกลับ
  • 2:24 - 2:27
    และพบว่าขณะยืนอยู่บนพื้นโลก
  • 2:27 - 2:30
    ด้วยระบบการทรงตัวที่ถูกปรับ
    ให้เข้ากับสภาวะไร้น้ำหนัก
  • 2:30 - 2:33
    เรารู้ว่าทุกชีวิตวิวัฒน์ขึ้นบนพื้นโลก
  • 2:33 - 2:35
    ภายใต้แรงโน้มถ่วงโลก
  • 2:35 - 2:39
    ทุกชีวิตพัฒนาขึ้นภายใต้อิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงโลก
  • 2:39 - 2:42
    เราโตมากับแรงโน้มถ่วงโลก
  • 2:42 - 2:44
    เราเรียนรู้วิธีเดิน
  • 2:44 - 2:45
    วิธีรับลูกบอล
  • 2:45 - 2:46
    วิธีเล่นสเก็ตน้ำแข็ง
  • 2:46 - 2:47
    อะไรก็แล้วแต่
  • 2:47 - 2:50
    ทั้งหมดนั้นเกิดภายใต้แรงโน้มถ่วง
  • 2:50 - 2:54
    แล้ว ถ้าเราเติบโตในที่
    ไม่มีแรงโน้มถ่วงล่ะ?
  • 2:54 - 2:57
    ระบบร่างกายที่ขึ้นกับแรงโน้มถ่วง
    จะเป็นอย่างไร?
  • 2:57 - 2:59
    เช่น ระบบกล้ามเนื้อ
  • 2:59 - 3:01
    ระบบการทรงตัว
  • 3:01 - 3:04
    ระบบการไหลเวียนโลหิต
  • 3:04 - 3:05
    พวกมันจะยังคงเหมือนเดิม
  • 3:05 - 3:08
    หรือมันจะพัฒนาต่างออกไปในแบบอื่นๆ?
  • 3:08 - 3:09
    มีเหตุผลหนึ่งที่ชี้ว่า
  • 3:09 - 3:12
    มันอาจจะพัฒนาไปในแบบที่ต่างไปจากเดิม
  • 3:12 - 3:13
    มาจากการทดลองอันหนึ่ง
  • 3:13 - 3:15
    เมื่อนานมาแล้ว
  • 3:15 - 3:17
    โดยนักประสาทวิทยา 2 คน
  • 3:17 - 3:18
    ชื่อว่า ฮิวเบิล และ วีเซล
  • 3:18 - 3:22
    สิ่งที่พวกเขาทำก็คือ ใช้ลูกแมวตัวหนึ่ง
  • 3:22 - 3:25
    เอาแผ่นผ้าปิดตาข้างหนึ่งของมัน
  • 3:25 - 3:27
    เมื่อลูกแมวโตเต็มวัย
  • 3:27 - 3:30
    พวกเขาก็เอาแผ่นผ้าปิดตาออก
  • 3:30 - 3:32
    คำถามมีอยู่ว่า
  • 3:32 - 3:35
    แมวจะมองเห็นด้วยตาข้างนั้นได้หรือไม่?
  • 3:35 - 3:37
    ตาข้างนั้นไม่มีอะไรที่ดูผิดปกติ ใช่ไหม?
  • 3:37 - 3:39
    แค่มันไม่ได้ใช้มองอะไร
  • 3:39 - 3:42
    ไม่เคยมีแสงตกกระทบเข้าสู่ตาข้างนั้น
  • 3:42 - 3:46
    คำตอบที่พบก็คือ ตาข้างนั้นบอดสนิท
  • 3:46 - 3:49
    เพราะว่า สิ่งที่เกิดก็คือ
  • 3:49 - 3:51
    สมองได้ถูกพัฒนาไปในแบบอื่น
  • 3:51 - 3:54
    การเชื่อมต่อที่ควรจะเกิดตามปกติ
  • 3:54 - 3:56
    สำหรับตาข้างนั้นไม่ได้เกิดขึ้น
  • 3:56 - 3:59
    และก็ไม่สามารถทำให้กลับเป็นดังเดิมได้
  • 3:59 - 4:00
    มันเปลี่ยนไปอย่างถาวร
  • 4:00 - 4:02
    สมองของแมวตัวนั้น
  • 4:02 - 4:05
    ถูกพัฒนาต่างไปจากสมองของแมวตัวอื่นๆ
  • 4:05 - 4:08
    ที่เติบโตมากับการได้ใช้ตามองดูสิ่งต่างๆ
  • 4:08 - 4:11
    แมวตัวนั้นโตมากับสมองที่แตกต่างโดยหลักการ
  • 4:11 - 4:12
    แล้ว คุณก็สงสัย
  • 4:12 - 4:14
    กรณีแรงโน้มถ่วงล่ะ?
  • 4:14 - 4:15
    จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเกิดไม่มี
  • 4:15 - 4:17
    แรงกระทำจากแรงโน้มถ่วง?
  • 4:17 - 4:20
    ระบบการทรงตัวของคุณจะยังคงพัฒนา
  • 4:20 - 4:21
    ไปตามปกติ?
  • 4:21 - 4:23
    หรือ จะต่างออกไป?
  • 4:23 - 4:25
    ถ้าเกิดใครสักคนไปเติบโตอยู่ในอวกาศ
  • 4:25 - 4:27
    เขาคนนั้นจะสามารถกลับมายังโลก
    ใช้ชีวิตได้ตามปกติ?
  • 4:27 - 4:31
    หรือว่าจะกลายเป็นมนุษย์ที่ต่างออกไป?
Title:
แรงโน้มถ่วงโลกกับร่างกายของเรา - เจย์ บัคกี (Jay Buckey)
Description:

ดูบทเรียนเต็มได้ที่ http://ed.ted.com/lessons/gravity-and-the-human-body-jay-buckey

ร่างกายของเราทำงานภายใต้แรงโน้มถ่วงโลก ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบการทรงตัว และ การเติบโตของกระดูก ทั้งหมดเป็นผลจากชีวิตภายใต้แรงโน้มถ่วงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ด้วยผลการทดลองจาก 2 นักประสาทวิทยา ชื่อ เดวิด ฮิวเบิล และ ทอร์เทน วีเซล
นักบินอวกาศ เจย์ บัคกี นำเสนอการทดลองทางความคิดที่ว่า ร่างกายเราจะทำงานอย่างไรในสภาวะที่ปราศจากแรงโน้มถ่วง?

บทเรียนโดย Jay Buckey อนิเมชั่นโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:46
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Gravity and the human body - Jay Buckey
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Gravity and the human body - Jay Buckey
Pakawat Wongwaiyut edited Thai subtitles for Gravity and the human body - Jay Buckey
Pakawat Wongwaiyut edited Thai subtitles for Gravity and the human body - Jay Buckey
Pakawat Wongwaiyut edited Thai subtitles for Gravity and the human body - Jay Buckey
Pakawat Wongwaiyut accepted Thai subtitles for Gravity and the human body - Jay Buckey
Pakawat Wongwaiyut edited Thai subtitles for Gravity and the human body - Jay Buckey
Pakawat Wongwaiyut edited Thai subtitles for Gravity and the human body - Jay Buckey
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions