Return to Video

โรคไบโพลาร์ (อารมณ์สองขั้ว) คืออะไร - เฮเลน เอ็ม ฟาร์เรล

  • 0:07 - 0:09
    โรคไบโพลาร์ (อารมณ์สองขั้ว) คืออะไร
  • 0:09 - 0:13
    คำว่าไบโพลาร์ หมายถึงสองขั้วสุดโต่ง
  • 0:13 - 0:17
    มีหลายล้านคนบนโลกใบนี้
    ที่ป่วยด้วยโรคไบโพลาร์
  • 0:17 - 0:20
    โดยการดำเนินชีวิตจะแบ่งระหว่าง
    ความเป็นจริงสองด้านที่แตกต่างกัน
  • 0:20 - 0:23
    อารมณ์ดีผิดปกติ และซึมเศร้า
  • 0:23 - 0:26
    แม้ว่าจะมีโรคไบโพลาร์หลากหลายรูปแบบ
  • 0:26 - 0:28
    ลองมาดูกันสักสองประเภท
  • 0:28 - 0:32
    ประเภทที่ 1 มีความคิดฟุ้งซ่านมาก
    เทียบเท่ากับระดับต่ำสุด
  • 0:32 - 0:37
    ในขณะที่ประเภทที่ 2จะมีภาวะ
    อารมณ์ดีกว่าปกติในระยะเวลาสั้นๆ
  • 0:37 - 0:40
    สลับกับภาวะซึมเศร้าเป็นเวลานาน
  • 0:40 - 0:43
    สำหรับคนที่มีอารมณ์ความรู้สึกเหวี่ยง
    ระหว่างสองด้าน
  • 0:43 - 0:48
    เป็นไปไม่ได้เลยที่จะหา
    สมดุลเพื่อให้มีชีวิตที่ดีได้
  • 0:48 - 0:52
    ความคิดฟุ้งซ่านประเภทที่ 1
    เรียกว่า Manic Episodes
  • 0:52 - 0:57
    มันทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ฉุนเฉียว
    ไปจนถึงขั้นที่ควบคุมไม่ได้
  • 0:57 - 1:01
    แต่ช่วงอารมณ์ดีผิดปกติเหล่านี้
    มีมากเกินกว่าความสุขแบบธรรมดา
  • 1:01 - 1:04
    ทำให้เกิดอาการที่ก่อปัญหา
    เช่น ความคิดแข่งกันในหัว
  • 1:04 - 1:05
    นอนไม่หลับ
  • 1:05 - 1:07
    พูดเร็ว
  • 1:07 - 1:08
    กระทำโดยขาดความยับยั้งชั่งใจ
  • 1:08 - 1:10
    และพฤติกรรมเสี่ยง
  • 1:10 - 1:13
    หากไม่ได้รักษา อาการเหล่านี้จะเป็นบ่อยขึ้น
  • 1:13 - 1:14
    รุนแรงขึ้น
  • 1:14 - 1:16
    และใช้เวลานานขึ้นกว่าจะมีอาการดีขึ้น
  • 1:16 - 1:21
    อาการซึมเศร้าในโรคไบโพลาร์
    สามารถแสดงออกได้หลายแบบ
  • 1:21 - 1:22
    หม่นหมอง
  • 1:22 - 1:24
    ขาดความสนใจในงานอดิเรก
  • 1:24 - 1:25
    ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง
  • 1:25 - 1:28
    ความรู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิดอย่างรุนแรง
  • 1:28 - 1:30
    การนอนที่อาจจะมากไปหรือน้อยไป
  • 1:30 - 1:32
    หุนหันพลันแล่น หรือเชื่องช้า
  • 1:32 - 1:36
    หรือมีความคิดอยากตายอยู่เรื่อยๆ
  • 1:36 - 1:38
    ทั่วโลก ผู้ใหญ่ประมาณหนึ่งถึง
    สามเปอร์เซ็นต์
  • 1:38 - 1:44
    ประสบกับอาการหลากหลาย
    ที่บ่งชี้ถึงถึงโรคไบโพลาร์
  • 1:44 - 1:47
    คนส่วนใหญ่เหล่านี้มีหน้าที่การงาน
    และมีส่วนร่วมในสังคม
  • 1:47 - 1:50
    และชีวิต ตัวเลือก และความสัมพันธ์ของพวกเขา
  • 1:50 - 1:52
    ไม่ได้ถูกกำหนดโดยความผิดปกติ
  • 1:52 - 1:56
    แต่สำหรับหลายๆ คน
    ผลกระทบยังคงเป็นเรื่องร้ายแรง
  • 1:56 - 1:59
    ความเจ็บป่วยอาจทำให้ประสิทธิภาพ
    ในการเรียนและการทำงานลดลง
  • 1:59 - 2:01
    ความสัมพันธ์
  • 2:01 - 2:02
    ความมั่นคงทางการเงิน
  • 2:02 - 2:05
    และความปลอดภัยส่วนตัว
  • 2:05 - 2:08
    เช่นนั้นแล้ว อะไรทำให้เกิดโรคไบโพลาร์
  • 2:08 - 2:13
    นักวิจัยคิดว่าปัจจัยที่สำคัญคือ
    การเรียงของเส้นสายในสมองที่ซับซ้อนกัน
  • 2:13 - 2:16
    สมองที่แข็งแรงจะรักษาความสัมพันธ์
    ที่ดีระหว่างเซลล์ประสาท
  • 2:16 - 2:19
    ความพยายามอย่างต่อเนื่อง
    ของสมองในการตัดแต่งตัวเอง
  • 2:19 - 2:25
    และขจัดการเชื่อมต่อระบบประสาท
    ที่ไม่ได้ใช้หรือบกพร่อง
  • 2:25 - 2:29
    กระบวนการนี้มีความสำคัญ เนื่องจากเส้นทาง
    ประสาทของเราทำหน้าที่เป็นแผนที่
  • 2:29 - 2:31
    สำหรับนำทางทุกสิ่งที่เราทำ
  • 2:31 - 2:34
    จากการใช้การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก
  • 2:34 - 2:38
    นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าความสามารถใน
    การตัดแต่งกิ่งของสมองจะกระจัดกระจาย
  • 2:38 - 2:41
    ในผู้ป่วยไบโพลาร์
  • 2:41 - 2:43
    นั่นหมายความว่าเซลล์ประสาท
    ของพวกเขายุ่งเหยิง
  • 2:43 - 2:46
    และสร้างเครือข่ายที่ไม่สามารถนำทางได้
  • 2:46 - 2:49
    มีเพียงสัญญาณเดียวที่ทำให้เกิด
    ความสับสนเป็นแนวทางเท่านั้น
  • 2:49 - 2:54
    ผู้ป่วยไบโพลาร์พัฒนาความคิด
    และพฤติกรรมที่ผิดปกติ
  • 2:54 - 2:56
    รวมทั้งอาการทางจิต
  • 2:56 - 2:58
    เช่น คำพูดและพฤติกรรมที่ไม่เป็นระเบียบ
  • 2:58 - 2:59
    ความคิดหลงผิด
  • 2:59 - 3:00
    หวาดระแวง
  • 3:00 - 3:02
    และประสาทหลอน
  • 3:02 - 3:06
    สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงที่อาการ
    ของโรคไบโพลาร์รุนแรงขึ้น
  • 3:06 - 3:11
    นี่เป็นผลมาจากการที่สารสื่อประสาท
    ที่เรียกว่าโดพามีนมีมากเกินไป
  • 3:11 - 3:17
    แม้จะมีข้อมูลเชิงลึก แต่เราไม่สามารถปักธง
    ได้ว่าโรคไบโพลาร์เกิดจากสาเหตุเดียว
  • 3:17 - 3:20
    ในความเป็นจริง มันเป็นปัญหาที่ซับซ้อน
  • 3:20 - 3:23
    ตัวอย่างเช่น สมองส่วนอะมิกดะลา
    (amygdala) เกี่ยวข้องกับการคิด
  • 3:23 - 3:25
    ความทรงจำระยะยาว
  • 3:25 - 3:27
    และการประมวลผลทางอารมณ์
  • 3:27 - 3:31
    ในสมองส่วนนี้ ปัจจัยมีความหลากหลายพอๆ กับ
    พันธุกรรมและความบอบช้ำทางสังคม
  • 3:31 - 3:37
    อาจทำให้เกิดความผิดปกติ
    และกระตุ้นอาการของไบโพลาร์
  • 3:37 - 3:39
    ภาวะนี้มีแนวโน้มที่จะส่งต่อในครอบครัว
  • 3:39 - 3:42
    ดังนั้นเราจึงรู้ว่าพันธุกรรม
    มีส่วนเกี่ยวข้องกับมันมาก
  • 3:42 - 3:45
    แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า
    มียีนไบโพลาร์เดี่ยวๆ
  • 3:45 - 3:49
    ในความเป็นจริง ความเป็นไปได้
    ที่จะเกิดโรคไบโพลาร์
  • 3:49 - 3:52
    เป็นผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
    หลายๆ ยีน
  • 3:52 - 3:56
    ในสูตรที่ซับซ้อน ที่เรายังคง
    พยายามทำความเข้าใจ
  • 3:56 - 3:57
    สาเหตุมีความซับซ้อน
  • 3:57 - 4:02
    และด้วยเหตุนี้การวินิจฉัยและการใช้ชีวิต
    กับโรคไบโพลาร์เป็นความท้าทาย
  • 4:02 - 4:05
    แต่นอกจากนั้นแล้ว โรคนี้สามารถควบคุมได้
  • 4:05 - 4:10
    ยาบางชนิดเช่น ลิเธียม สามารถช่วยจัดการ
    กับความคิดและพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงได้
  • 4:10 - 4:12
    โดยทำให้อารมณ์คงที่
  • 4:12 - 4:18
    ยาที่ทำให้อารมณ์คงที่ ทำงานโดยการลด
    ความผิดปกติของกิจกรรมในสมอง
  • 4:18 - 4:21
    จึงช่วยเสริมสร้างศักยภาพ
    ในการเชื่อมต่อประสาท
  • 4:21 - 4:24
    ยาอื่นๆทีใช้บ่อยๆ มีทั้งยาต้านอาการทางจิต
  • 4:24 - 4:27
    ซึ่งจะเปลี่ยนผลของโดพามีน
  • 4:27 - 4:29
    และการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า
  • 4:29 - 4:33
    ซึ่งทำงานเหมือนการ
    ควบคุมในสมองอย่างรอบคอบ
  • 4:33 - 4:36
    ซึ่งบางครั้งใช้ในการรักษาแบบฉุกเฉิน
  • 4:36 - 4:38
    ผู้ป่วยไบโพลาร์บางคนปฏิเสธการรักษา
  • 4:38 - 4:40
    เนื่องจากกลัวว่าการรักษา
    จะทำให้อารมณ์หม่นหมอง
  • 4:40 - 4:42
    และทำลายความคิดสร้างสรรค์
  • 4:42 - 4:46
    แต่จิตเวชสมัยใหม่พยายามที่จะ
    หลีกเลี่ยงปัญหานี้อย่างจริงจัง
  • 4:46 - 4:50
    ปัจจุบัน แพทย์ทำงานร่วมกับ
    ผู้ป่วยแยกเป็นแต่ละกรณี
  • 4:50 - 4:53
    เพื่อจัดการรักษาและการบำบัดด้วยกัน
  • 4:53 - 4:57
    ที่ช่วยให้พวกเขามีชีวิตอยู่ได้
    อย่างมีศักยภาพสูงสุดเต็มที่
  • 4:57 - 5:00
    และนอกเหนือจากการรักษา
    ผู้ป่วยไบโพลาร์สามารถได้รับประโยชน์
  • 5:00 - 5:02
    จากการเปลี่ยนแปลงที่ทำได้ง่ายกว่า คือ
  • 5:02 - 5:04
    ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • 5:04 - 5:05
    พฤติกรรมการนอนที่ดี
  • 5:05 - 5:08
    งดยาเสพติดและแอลกอฮอล์
  • 5:08 - 5:12
    รวมถึงการยอมรับและการเอาใจใส่
    ของครอบครัวและเพื่อน
  • 5:12 - 5:16
    อย่าลืมว่า โรคไบโพลาร์เป็นภาวะทางการแพทย์
  • 5:16 - 5:17
    ไม่ใช่ความผิดของผู้ป่วย
  • 5:17 - 5:19
    หรือตัวตนทั้งหมด
  • 5:19 - 5:21
    และเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้
  • 5:21 - 5:24
    ด้วยยาต่างๆที่ทำหน้าที่จากภายใน
  • 5:24 - 5:29
    การยอมรับและความเข้าใจจาก
    ภายนอกจากเพื่อน และครอบครัว
  • 5:29 - 5:32
    และผู้ป่วยไบโพลาร์เองสามารถ
    เพิ่มขีดความสามารถ
  • 5:32 - 5:34
    เพื่อหาความสมดุลในชีวิต
Title:
โรคไบโพลาร์ (อารมณ์สองขั้ว) คืออะไร - เฮเลน เอ็ม ฟาร์เรล
Speaker:
เฮเลน เอ็ม ฟาร์เรล
Description:

View full lesson: http://ed.ted.com/lessons/what-is-bipolar-disorder-helen-m-farrell

คำว่า "ไบโพลาร์" (Bipolar) หมายถึงสองขั้วสุดโต่ง มีหลายล้านคนบนโลกใบนี้
ที่ป่วยด้วยโรคไบโพลาร์ โดยการดำเนินชีวิตจะแบ่งระหว่างความเป็นจริงสองด้านที่แตกต่างกัน นั่นคือ อารมณ์ดีผิดปกติ และซึมเศร้า เช่นนั้นแล้วสาเหตุของโรคนี้คืออะไร และสามารถรักษาได้หรือไม่ โดยเฮเลน เอ็ม ฟาร์เรลได้อธิบายถึงสาเหตุและการรักษาโรคไบโพลาร์

Lesson by Helen M Farrell, animation by Uncle Ginger.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:58
Michelle Mehrtens edited Thai subtitles for What is bipolar disorder?
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for What is bipolar disorder?
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for What is bipolar disorder?
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What is bipolar disorder?
Yosita Rakang edited Thai subtitles for What is bipolar disorder?
Sritala Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for What is bipolar disorder?
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What is bipolar disorder?
Yosita Rakang edited Thai subtitles for What is bipolar disorder?
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions