Return to Video

ประวัติศาตร์ย่อของศิลปะในศาสนา - TED-Ed

  • 0:07 - 0:09
    เมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้เอง
  • 0:09 - 0:12
    ที่อารยธรรมตะวันตก
    เริ่มจัดแสดงงานศิลป์ในพิพิธภัณฑ์
  • 0:12 - 0:14
    อย่างน้อยก็ในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน
  • 0:14 - 0:17
    กับองค์กรสาธารณะที่เรารู้จักกันทุกวันนี้
  • 0:17 - 0:21
    ก่อนหน้านั้น งานศิลป์ทำหน้าที่อย่างอื่น
  • 0:21 - 0:23
    สิ่งที่เราเรียกว่างานศิลป์ในปัจจุบันนี้
  • 0:23 - 0:25
    ที่จริงแล้ว คือวิธีแรก ๆ ที่คนจะได้สัมผัส
  • 0:25 - 0:28
    กับแง่มุมที่ลึกซึ้งของศาสนา
  • 0:28 - 0:32
    ภาพเขียน ประติมากรรม สิ่งทอ
    และ การให้แสงสว่าง
  • 0:32 - 0:34
    เป็นสื่อที่ใช้กันในยุคก่อน
  • 0:34 - 0:35
    เพื่อแสดงภาพที่ชัดเจน
  • 0:35 - 0:39
    ในการบอกเล่าเรื่องราวในยุคนั้น
  • 0:39 - 0:41
    อาจกล่าวได้ว่า ศิลป์ตะวันตก
  • 0:41 - 0:43
    มีจุดประสงค์ด้านการใช้สอย
  • 0:43 - 0:45
    เช่นเดียวกันกับวัฒนธรรมอื่น ๆ ทั่วโลก
  • 0:45 - 0:50
    ที่ภาษาของบางวัฒนธรรมนั้น
    บังเอิญไม่มีคำที่แปลว่างานศิลป์
  • 0:50 - 0:53
    แล้วเรากำหนดนิยามอย่างไร
    ต่อสิ่งที่เราเรียกว่างานศิลป์
  • 0:53 - 0:55
    โดยทั่วไป สิ่งที่เรากำลังพูดถึงในตอนนี้
  • 0:55 - 0:57
    คือผลงานที่สื่อสารความหมายด้วยภาพ
  • 0:57 - 0:59
    ในแบบที่มากกว่าภาษา
  • 0:59 - 1:00
    ไม่ว่าจะด้วยวิธีการผ่านการแสดง
  • 1:00 - 1:04
    หรือการจัดองค์ประกอบที่มองเห็นได้บนพื้นที่
  • 1:04 - 1:06
    หลักฐานของอิทธิพลของสัญลักษณ์ตัวแทน
  • 1:06 - 1:09
    หรือความสามารถของภาพ
    ในการถ่ายทอดความหมาย
  • 1:09 - 1:10
    สามารถพบได้มากมาย
  • 1:10 - 1:12
    ถ้าเรามองดูงานศิลป์
  • 1:12 - 1:14
    จากประวัติศาสตร์ศาสนาหลักของโลก
  • 1:14 - 1:17
    ในช่วงใดช่วงหนึ่งตามประวัติศาสตร์
    ศาสนาเกือบทั้งหมด
  • 1:17 - 1:20
    ได้ผ่านช่วงเวลาที่ไม่มีการใช้สัญลักษณ์ตัวแทน
  • 1:20 - 1:25
    แนวคิดเรื่องการไม่มีสัญลักษณ์ตัวแทน
    ทำให้ไม่มีการพรรณาถึงเทพเจ้าใดออกมาเป็นภาพ
  • 1:25 - 1:27
    ซึ่งก็เพื่อหลีกเลี่ยง
    การกราบไหว้บูชาอย่างไม่เข้าใจ
  • 1:27 - 1:31
    หรือป้องกันความสับสน
    ระหว่างสัญลักษณ์ตัวแทนเทพเจ้าจริง ๆ
  • 1:31 - 1:33
    เรียกได้ว่า เอาแต่ที่เป็นเรื่องจริง
  • 1:33 - 1:37
    ในส่วนที่เป็นความสัมพันธ์
    ระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับตัวบุคคล
  • 1:37 - 1:39
    อย่างไรก็ตาม
    มันก็ยังคงท้าทายที่จะคงรักษามันไว้
  • 1:39 - 1:41
    เนื่องด้วยความต้องการที่จะแสดงให้เห็นภาพ
    และตีความ
  • 1:41 - 1:43
    โลกที่อยู่รอบตัวเรานั้น
  • 1:43 - 1:46
    เป็นสิ่งเร้าที่ยากต่อการจะระงับไว้ได้
  • 1:46 - 1:48
    ยกตัวอย่างเช่น แม้แต่ในปัจจุบัน
  • 1:48 - 1:51
    ในขณะที่สัญลักษณ์ตัวแทนของพระอัลเลาะห์
    หรือศาสดามูฮัมหมัดเป็นสิ่งต้องห้าม
  • 1:51 - 1:53
    และการเฉลิมฉลองเชิงนามธรรมต่อเทพเจ้า
  • 1:53 - 1:58
    ก็ยังสามารถพบได้ในลวดลายอาหรับของ
    การออกแบบผ้าอิสลาม
  • 1:58 - 2:00
    ที่ตกแต่งด้วยฝีแปรงจากความเชี่ยวชาญ
  • 2:00 - 2:01
    และอักษรวิจิตรอาหรับ
  • 2:01 - 2:02
    ที่ซึ่งถ้อยคำของศาสดา
  • 2:02 - 2:06
    ทำหน้าที่เป็นทั้งวรรณกรรมและทัศนศิลป์
  • 2:06 - 2:08
    ในทำนองเดียวกัน งานศิลป์ในยุคแรกเริ่ม
  • 2:08 - 2:10
    ของศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ
  • 2:10 - 2:12
    รูปลักษณ์ของเทพเจ้าของคริสต์กับพุทธ
  • 2:12 - 2:14
    ไม่ปรากฎในอยู่ในรูปแบบมนุษย์
  • 2:14 - 2:16
    แต่ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์
  • 2:16 - 2:17
    แล้วแต่ละกรณี
  • 2:17 - 2:19
    การอ้างอิงทางประติมานวิทยาถูกใช้
  • 2:19 - 2:21
    ในฐานะรูปแบบหนึ่งของการให้ความเคารพ
  • 2:21 - 2:23
    ตัวแทนของมานุษยรูปนิยม
  • 2:23 - 2:25
    หรือสัญลักษณ์ตัวแทนในรูปแบบมนุษย์
  • 2:25 - 2:28
    ในที่สุดกลายเป็นได้แพร่หลายออกไป
    ในศาสนาเหล่านี้
  • 2:28 - 2:29
    ในอีกไม่กี่ศตวรรษต่อมา
  • 2:29 - 2:34
    ภายใต้อิทธิพลของประเพณีวัฒนธรรม
    ที่อยู่รอบ ๆ พวกมัน
  • 2:34 - 2:35
    ถ้าพูดในเชิงประวัติศาสตร์
  • 2:35 - 2:37
    ความนิยมของสาธารณชนที่มีต่อทัศนศิลป์
  • 2:37 - 2:40
    ในแบบอื่นนอกเหนือจากประเพณี ศาสนา
    หรือบทบาทในทางสังคม
  • 2:40 - 2:42
    ค่อนข้างที่จะเป็นแนวคิดใหม่
  • 2:42 - 2:45
    ทุกวันนี้ เรียกได้ว่า เราคลั่งไคล้ของขลัง
  • 2:45 - 2:47
    เราไปพิพิธภัณฑ์เพื่อดูงานศิลป์ในอดีต
  • 2:47 - 2:49
    แต่ประสบการณ์ของเราที่มีต่อมันในที่นั้น
  • 2:49 - 2:51
    ช่างห่างไกลจากบริบทดังกล่าว
  • 2:51 - 2:53
    ที่เป็นจุดประสงค์แต่ดั้งเดิมของมัน
    เป็นอย่างมาก
  • 2:53 - 2:55
    หรืออยากจะพูดได้ว่าผู้ชมยุคใหม่
  • 2:55 - 2:57
    ขาดความสมบูรณ์ในการเข้าถึง
  • 2:57 - 2:59
    ที่ว่าเธอมีต่องานศิลป์ร่วมยุคของเธอ
  • 2:59 - 3:01
    ที่ถูกสร้างขึ้นให้เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาของเธอ
  • 3:01 - 3:04
    และสื่อสารกับเธอในภาษาวัฒนธรรมของเธอ
  • 3:04 - 3:06
    มันอาจยังพูดได้อีกว่า
    ประวัติศาสตร์ของสิ่งที่เราเรียกว่างานศิลป์
  • 3:06 - 3:09
    คือการสนทนาที่ยังไม่จบสิ้น
  • 3:09 - 3:11
    ในขณะที่ปัจจุบันที่สมัยของเรา
    ผ่านเข้าสู่สิ่งที่กำลังจะเป็น
  • 3:11 - 3:14
    สิ่งที่เป็นอดีตแบบดั้งเดิมของคนรุ่นถัดไป
  • 3:14 - 3:16
    มันคือการสนทนาที่สะท้อน
  • 3:16 - 3:20
    อุดมคติ เทวตำนาน ระบบความเชื่อ และข้อห้าม
  • 3:20 - 3:23
    และอื่น ๆ อีกมากมายในโลกที่ได้สร้างมันขึ้นมา
  • 3:23 - 3:26
    แต่มันไม่อาจพูดได้ว่าผลงานจากอีกยุคหนึ่ง
  • 3:26 - 3:28
    ที่ถูกทำขึ้นมา
    เพื่อสนองต่อหน้าที่จำเพาะในเวลานั้น
  • 3:28 - 3:32
    ตายแล้วหรือไม่มีอะไร
    ที่จะให้กับผู้ชมในยุคใหม่
  • 3:32 - 3:34
    แม้แต่ในการจัดวางของพิพิธภัณฑ์
  • 3:34 - 3:36
    งานศิลป์จากต่างสถานที่และต่างเวลา
  • 3:36 - 3:38
    ก็ถูกนำเสนอเคียงข้างกัน
  • 3:38 - 3:39
    เป็นเอกเทศจากรูปแบบการจัดวางดั้งเดิม
  • 3:39 - 3:42
    การวางติดกันเพื่อเทียบเคียงนั้นมีประโยชน์
  • 3:42 - 3:45
    นิทรรศการถูกจัดการโดยภัณฑรักษ์
  • 3:45 - 3:46
    หรือคนที่มีอาชีพ
  • 3:46 - 3:49
    ที่ใช้ความสามารถในการวางโครงสร้างใหม่
    หรือผสมผสาน
  • 3:49 - 3:53
    ผลงานศิลป์วัฒนธรรมในการแสดงแบบองค์รวม
  • 3:53 - 3:55
    ในฐานะผู้ชม เราจะสามารถพิจารณางานศิลป์
  • 3:55 - 3:58
    ในรูปแบบสาระสำคัญทั่วไป
    ที่อาจไม่ปรากฏชัดเจน
  • 3:58 - 3:59
    ในบางชิ้นงานได้
  • 3:59 - 4:02
    จนกว่าคุณจะเห็นมันวางอยู่เคียงข้างอีกงานหนึ่ง
  • 4:02 - 4:06
    และความใหม่ก็จะถูกดัดแปรและสะท้อนออกมา
  • 4:06 - 4:07
    ถ้าเรามีความสนใจจริง ๆ
  • 4:07 - 4:09
    เราอาจเริ่มมองงานศิลป์ทุก ๆ ชิ้น
  • 4:09 - 4:13
    เป็นส่วนหนึ่ง
    ของประสบการณ์ของมนุษย์ในอดีต
  • 4:13 - 4:15
    ที่ไม่ได้ถูกให้นิยาม
    ไม่ได้มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน
  • 4:15 - 4:17
    เส้นทางที่ตรงเข้ามาหาเรา
  • 4:17 - 4:19
    และทอดยาวต่อเนื่องไปกับเรา
  • 4:19 - 4:23
    ที่เปิดกว้างให้กับใครก็ตาม
    ที่ต้องการสำรวจมัน
Title:
ประวัติศาตร์ย่อของศิลปะในศาสนา - TED-Ed
Description:

ชมบทเรียนเต็ม: http://ed.ted.com/lessons/a-brief-history-of-religion-in-art-ted-ed

แต่ก่อนที่เรามักจะนำงานศิลป์ไปไว้ในพิพิธภัณฑ์ งานศิลป์ส่วนมากมักจะทำหน้าเป็นตัวแทนที่สะท้อนเรื่องราวทางศาสนา ภาพเขียน งานแกะสลัก สิ่งทอ และการให้แสงสว่างเกี่ยวกับเทววิทยาจากเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมายังคงมีสัมพันธ์กับพวกรเราอยู่หรือเปล่า Jeremiah Dickey อธิบายวิวัฒนาการของงานศิลป์ในมุมมองคนทั่วไปและอธิบายว่าผู้ชมยุคใหม่สามารถมองประวัติศาสตร์ของงานศิลป์ว่าเป็นเหมือนการสนทนาระดับโลกที่ยังคงไม่จบสิ้นได้อย่างไร

บทเรียนและภาพเคลื่อนไหวโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:38

Thai subtitles

Revisions