Return to Video

อะไรคือบ่อเกิดของการปฏิวัติฝรั่งเศส - ทอม มัลเลนี (Tom Mullaney)

  • 0:07 - 0:11
    คนมีสิทธิอะไรบ้าง และพวกมันมาจากไหน
  • 0:11 - 0:14
    ใครกันที่เป็นผู้กำหนดตัดสินใจให้คนอื่น ๆ
    และในบริบทอำนาจใด
  • 0:14 - 0:19
    และเราจะจัดระเบียบสังคมได้อย่างไร
    ให้เข้ากับความต้องการของคนในสังคม
  • 0:19 - 0:22
    คำถามเหล่านี้สร้างความท้าทายระดับประเทศ
  • 0:22 - 0:25
    ระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดปัญหา
    ของการปฏิวัติฝรั่งเศส
  • 0:25 - 0:27
    ช่วงปลายศตวรรษที่ 18
  • 0:27 - 0:31
    ยุโรปได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมากมาย
    ทางปัญญาและทางวัฒนธรรม
  • 0:31 - 0:34
    ที่รู้จักกันในชื่อ ยุคเรืองปัญญา
  • 0:34 - 0:37
    นักปรัชญาและศิลปินเชิดชูเหตุผล
    และอิสรภาพของมนุษยชาติ
  • 0:37 - 0:40
    เหนือกว่าขนบธรรมเนียมและศาสนา
  • 0:40 - 0:43
    การลุกฮือขึ้นมาของชนชั้นกลาง
    และสื่อสิ่งพิมพ์
  • 0:43 - 0:45
    ส่งเสริมให้เกิดความตระหนักถึงการเมือง
  • 0:45 - 0:49
    และการปฏิวัติอเมริกาได้เปลี่ยน
    อาณานิคมเดิมของอังกฤษ
  • 0:49 - 0:51
    ให้กลายเป็นสาธารณรัฐอิสระ
  • 0:51 - 0:55
    แต่ถึงกระนั้น ฝรั่งเศส หนึ่งในประเทศ
    ที่ใหญ่และมั่งคั่งที่สุดในยุโรป
  • 0:55 - 1:00
    ยังคงถูกปกครองโดยแนวทางปฏิบัติดั้งเดิม
    ที่ประกอบด้วยสามชนชั้นทางสังคม
  • 1:00 - 1:02
    เรียกว่า ฐานันดร
  • 1:02 - 1:07
    ราชวงศ์อย่างพระเจ้าหลุยส์ที่สิบหก
    มีฐานอำนาจตามสิทธิสมมุติเทพ
  • 1:07 - 1:11
    และประทานสิทธิพิเศษให้กับ
    ผู้ที่มีฐานันดรขั้นที่หนึ่งและสอง
  • 1:11 - 1:14
    ได้แก่ นักบวชคาธอลิก และขุนนาง
  • 1:14 - 1:17
    ระดับฐานันดรที่สาม คือพ่อค้าชนชั้นกลาง
    และช่างฝีมือ
  • 1:17 - 1:21
    เช่นเดียวกันกับประชาชนกว่า 20 ล้านคน
    ที่มีอำนาจน้อยกว่า
  • 1:21 - 1:24
    และพวกเขาเป็นเพียงคนกลุ่มเดียว
    ที่ต้องจ่ายภาษี
  • 1:24 - 1:29
    ไม่ใช่แค่ให้กับกษัตริย์เท่านั้น
    แต่ยังต้องให้กับผู้ที่มีฐานันดรอื่น ๆ อีกด้วย
  • 1:29 - 1:30
    ในปีที่การเก็บเกี่ยวไม่สู้ดี
  • 1:30 - 1:33
    การเก็บภาษีอาจทำให้ประชาชน
    สิ้นเนื้อประดาตัว
  • 1:33 - 1:39
    ในขณะที่กษัตริย์และชนชั้นสูงสามารถใช้จ่าย
    อย่างฟุ่มเฟือยจากความร่ำรวยของพวกเขา
  • 1:39 - 1:43
    แต่ฝรั่งเศสได้จมอยู่ในกองหนี้เนื่องจาก
    พวกเขาสนับสนุนการปฏิวัติอเมริกา
  • 1:43 - 1:46
    และการทำสงครามอย่างยาวนานกับอังกฤษ
  • 1:46 - 1:48
    จำต้องมีการเปลี่ยนแปลง
  • 1:48 - 1:51
    พระเจ้าหลุยส์แต่งตั้งรัฐมนตรีคลัง
    ฌาค เนคแกร์
  • 1:51 - 1:52
    ผู้ส่งเสริมให้มีการปฏิรูปการเก็บภาษี
  • 1:52 - 1:57
    และได้รับการสนับสนุนจากสังคมให้มี
    การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของรัฐบาล
  • 1:57 - 2:01
    แต่บรรดาที่ปรึกษาของกษัตริย์คัดค้าน
    แนวทางใหม่นี้อย่างสุดตัว
  • 2:01 - 2:05
    พระเจ้าหลุยส์ทรงประสงค์ที่จะหาข้อยุติ
    จึงเรียกประชุมสภาฐานันดร
  • 2:05 - 2:08
    ซึ่งคือองค์ประชุมของตัวแทน
    จากทั้งสามฐานันดร
  • 2:08 - 2:12
    เป็นครั้งแรกในรอบ 175 ปี
  • 2:12 - 2:17
    แม้ว่าระดับฐานันดรที่สามจะประกอบด้วย
    ร้อยละ 98 ของประชากรทั้งหมด
  • 2:17 - 2:20
    การลงคะแนนของพวกเขา
    มีค่าเท่ากับฐานันดรอื่นแต่ละคน
  • 2:20 - 2:25
    และไม่น่าแปลกใจเลยที่ทั้งสองฐานันดร
    ที่สูงศักดิ์กว่า อยากที่จะคงสิทธิพิเศษเอาไว้
  • 2:25 - 2:28
    เมื่อตระหนักว่าพวกเขา
    ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากระบบตัวแทน
  • 2:28 - 2:30
    ระดับฐานันดรที่สามก็ประกาศ
  • 2:30 - 2:32
    แต่งตั้งพวกตนขึ้นเป็นสภาผู้แทนราษฎร
  • 2:32 - 2:38
    และให้คำมั่นว่าจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่
    โดยมีหรือไม่มีฐานันดรอื่น ๆ เข้าร่วมก็ได้
  • 2:38 - 2:40
    พระเจ้าหลุยส์ทรงมีรับสั่งให้ฐานันดร
    ที่หนึ่งและสอง
  • 2:40 - 2:42
    เข้าประชุมกับสภาผู้แทนราษฎร
  • 2:42 - 2:46
    แต่ยังปลดเนคแกร์ รัฐมนตรีคลัง
    ผู้โด่งดังของพระองค์ด้วย
  • 2:46 - 2:49
    ผลลัพธ์ก็คือ
    ชาวปารีสนับพันที่โกรธแค้น
  • 2:49 - 2:53
    ร่วมด้วยทหารที่เห็นพ้องกัน
    ก็รุดไปยังคุกบัสตีย์
  • 2:53 - 2:57
    สัญลักษณ์ของอำนาจราชวงศ์
    และคลังอาวุธขนาดใหญ่
  • 2:57 - 3:00
    การปฏิวัติได้เริ่มขึ้นแล้ว
  • 3:00 - 3:02
    เมื่อการก่อกบฎได้แผ่ขยายออกไป
    ทั่วทั้งประเทศ
  • 3:02 - 3:05
    ระบบศักดินาก็ถูกทำลาย
  • 3:05 - 3:08
    คำประกาศของรัฐสภา
    เกี่ยวกับสิทธิของมนุษย์และพลเมือง
  • 3:08 - 3:11
    สถาปนาแนวคิดอย่างสุดโต่ง
    ในเวลานั้น
  • 3:11 - 3:16
    ว่าสิทธิและเสรีภาพของแต่ละบุคคลนั้น
    เป็นพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์
  • 3:16 - 3:19
    และรัฐบาลนั้นดำรงอยู่เพียงเพื่อปกป้องมัน
  • 3:19 - 3:23
    เมื่อสิทธิพิเศษของพวกเขาหมดไป
    เหล่าชนชั้นสูงมากมายก็หนีไปต่างประเทศ
  • 3:23 - 3:27
    ขอร้องให้เหล่าผู้ปกครองต่างแดน
    โจมตีฝรั่งเศสและฟื้นฟูกฎเกณฑ์เก่า
  • 3:27 - 3:31
    และในขณะที่พระเจ้าหลุยส์
    ยังทรงดำรงตำแหน่งกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ
  • 3:31 - 3:33
    พระองค์ก็ทรงตระหนักถึงอนาคตที่น่ากลัว
  • 3:33 - 3:37
    ในปี ค.ศ. 1791 ทรงพยายามหนี
    ออกนอกประเทศ แต่ถูกจับได้
  • 3:37 - 3:41
    ความพยายามในการหลบหนี ทำให้ศรัทธา
    ของประชาชนในตัวพระเจ้าหลุยส์สลายสิ้น
  • 3:41 - 3:45
    ราชวงศานุวงศ์ถูกจับ
    และพระเจ้าหลุยส์ก็ถูกตั้งข้อหากบฎ
  • 3:45 - 3:47
    ภายหลังการพิจารณาคดี
  • 3:47 - 3:50
    กษัตริย์ผู้ทรงเคยเป็นที่เคารพศรัทธา
    ก็ถูกตัดพระเศียรท่ามกลางสาธารณชน
  • 3:50 - 3:53
    ซึ่งเป็นจุดบ่งบอกถึงกาลอวสาน
    ของราชวงศ์ที่มีอายุยาวนานหนึ่งพันปี
  • 3:53 - 3:59
    และเป็นจบลงที่การก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
    เป็นครั้งแรก ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน
  • 3:59 - 4:03
    โดยมีคำขวัญที่ว่า "เสรีภาพ (liberté)
    เสมอภาค (égalité) ภราดรภาพ (fraternité)"
  • 4:03 - 4:05
    เก้าเดือนต่อมา
  • 4:05 - 4:06
    พระนางมารี อ็องตัวแน็ต
  • 4:06 - 4:09
    ที่ได้รับฉายาจากชาวต่างชาติว่า
    "มาดามหนี้ท่วมหัว (Madame Déficit)"
  • 4:09 - 4:11
    จากพฤติกรรมฟุ้งเฟ้อของพระองค์
  • 4:11 - 4:13
    ก็ถูกตัดพระเศียรเช่นกัน
  • 4:13 - 4:16
    แต่การปฏิวัติไม่ได้จบลงที่ตรงนั้น
  • 4:16 - 4:19
    ผู้นำบางคน ไม่หยุดอยู่แค่
    การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
  • 4:19 - 4:22
    แต่พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมฝรั่งเศส
  • 4:22 - 4:24
    ศาสนา
  • 4:24 - 4:25
    และชื่อของท้องถนนต่าง ๆ
  • 4:25 - 4:26
    แม้กระทั่งปฏิทิน
  • 4:26 - 4:28
    ในขณะที่ภาคส่วนต่าง ๆ
    เป็นรูปเป็นร่างขึ้น
  • 4:28 - 4:32
    กลุ่มฌากอแบ็งผู้มีแนวคิดแบบสุดโต่ง
    ที่นำโดย มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์
  • 4:32 - 4:35
    ได้ทำให้เกิด สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว
  • 4:35 - 4:39
    ที่มีการสังหารฝ่ายตรงข้ามกว่า 20,000 คน
  • 4:39 - 4:42
    ก่อนที่กลุ่มฌากอแบ็งเองจะมาถึงจุดเสื่อม
  • 4:42 - 4:46
    ในขณะเดียวกัน ฝรั่งเศสก็ต้องทำศึก
    กับราชวงศ์ของประเทศเพื่อนบ้าน
  • 4:46 - 4:50
    ที่ต้องการหยุดยั้งการปฏิวัติ
    ก่อนที่มันจะขยายขอบเขตมากไปกว่านี้
  • 4:50 - 4:54
    ท่ามกลางความโกลาหล นายพลที่มีชื่อว่า
    นโปเลียน โบนาปาร์ต ก็เข้ามากุมอำนาจ
  • 4:54 - 4:59
    ขึ้นเป็นจักรพรรดิ ปฏิญาณว่าจะปกป้อง
    คุณค่าของประชาธิปไตยที่ได้จากการปฏิวัติ
  • 4:59 - 5:03
    โดยสรุป การปฏิวัตินี้
    ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญสามฉบับ
  • 5:03 - 5:06
    และห้ารัฐบาลภายในสิบปี
  • 5:06 - 5:09
    ตามด้วยหลายทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง
    ราชวงศ์และการปฏิวัติ
  • 5:09 - 5:13
    ก่อนที่สาธารณรัฐใหม่จะเกิดขึ้น
    ในปี ค.ศ. 1871
  • 5:13 - 5:16
    และในขณะที่เราเฉลิมฉลองอุดมคติของ
    การปฏิวัติฝรั่งเศส
  • 5:16 - 5:19
    เราก็ยังคงต่อสู้กับคำถามพื้นฐานมากมาย
    อย่างเดียวกันนี้
  • 5:19 - 5:21
    ที่เกิดขึ้นมานานกว่าสองศตวรรษ
Title:
อะไรคือบ่อเกิดของการปฏิวัติฝรั่งเศส - ทอม มัลเลนี (Tom Mullaney)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/what-caused-the-french-revolution-tom-mullaney

คนเรามีสิทธิอะไรบ้าง และพวกมันมาจากไหน ใครกันที่เป็นผู้กำหนดตัดสินใจให้คนอื่น ๆ และในบริบทอำนาจใด และเราจะจัดระเบียบสังคมได้อย่างไรให้เข้ากับความต้องการของคนในสังคม ทอม มัลเลนี แสดงให้เห็นว่า คำถามเหล่านี้สร้างความท้าทายระดับประเทศระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดปัญหาของการปฏิวัติฝรั่งเศสได้อย่างไร

บทเรียนโดย Tom Mullaney, แอนิเมชันโดย Sashko Danylenko

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:33

Thai subtitles

Revisions Compare revisions