Return to Video

ฉันทำให้แม่นํ้าและเมืองของฉันฟื้นคืนชีพได้อย่างไร

  • 0:01 - 0:02
    วันนี้ฉันจะมาเล่า
  • 0:02 - 0:04
    ถึงโครงการที่ทำให้ฉันเปลี่ยนแปลงวิธี
  • 0:04 - 0:06
    และการปฏิบัติงานสถาปัตยกรรมของฉัน
  • 0:06 - 0:09
    นั่นก็คือโครงการฟื้นฟูแม่น้ำเฟซ
    (Fez River Rehabilitation Project)
  • 0:09 - 0:12
    บ้านเกิดของฉัน เมืองเฟซ ประเทศโมรอคโค
  • 0:12 - 0:15
    มีเมืองยุคกลางอันโด่งดัง ที่ล้อมรอบด้วยกำแพง
    ที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งของโลก
  • 0:15 - 0:18
    ชื่อ เมดินา ซึ่งตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำในหุบเขา
  • 0:18 - 0:22
    ตัวเมืองทั้งหมดเป็นมรดกโลก โดย UNESCO
  • 0:22 - 0:26
    ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เมื่อประชากรเมดินาเพิ่มขึ้น
  • 0:26 - 0:28
    โครงสร้างพื้นฐานของเมือง
  • 0:28 - 0:30
    เช่น พื้นที่โล่งสีเขียว และ ระบบระบายน้ำเสีย
  • 0:30 - 0:35
    ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและถูกใช้งานอย่างหนัก
  • 0:35 - 0:38
    ความเสียหายหนึ่งที่หนักที่สุด
  • 0:38 - 0:42
    คือ แม่น้ำเฟซ ซึ่งตัดผ่ากลางเมืองเมดินา
  • 0:42 - 0:45
    และถือเป็นจิตวิญญาณแท้จริงของเมือง
  • 0:45 - 0:48
    มาหลายศตวรรษ
  • 0:48 - 0:50
    ที่จริงแล้ว เราสามารถเห็นประจักษ์
  • 0:50 - 0:53
    ถึงระบบชลประทานที่เชื่อมจากแม่นํ้า
  • 0:53 - 0:54
    ตลอดทั่วทั้งเมือง
  • 0:54 - 0:58
    ในที่ต่างๆ เช่น น้ำพุตามบ้านคนและสาธารณะ
  • 0:58 - 1:02
    แต่โชคร้าย เพราะมลภาวะจากแม่น้ำ
  • 1:02 - 1:04
    แม่นํ้าถูกปกคลุมไปทีละเล็กทีละน้อย
  • 1:04 - 1:07
    ด้วยแผ่นคอนกรีตหนา มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1952
  • 1:07 - 1:11
    กระบวนการทำลายนี้ เป็นไปพร้อมๆ กับ
  • 1:11 - 1:13
    การทำลายบ้านเรือนหลายหลังคาเรือน
  • 1:13 - 1:14
    ตามฝั่งแม่นํ้า
  • 1:14 - 1:16
    เพื่อทำให้เครื่องจักรขนาดใหญ่
  • 1:16 - 1:21
    เข้าไปตามเครือข่ายทางเดินแคบๆ ของเมืองได้
  • 1:21 - 1:24
    ที่ว่างเปล่าพวกนั้น กลายเป็นที่จอดรถผิดกฎหมาย
  • 1:24 - 1:26
    หรือไม่ก็เป็นที่ทิ้งขยะ
  • 1:26 - 1:28
    จริงๆ แล้ว สภาพของแม่น้ำ
  • 1:28 - 1:32
    ก่อนที่จะไหลเข้าสู่เมือง อยู่ในสภาพที่ดีมาก
  • 1:32 - 1:34
    แล้วมลภาวะก็เริ่มทำให้เกิดความเสียหาย
  • 1:34 - 1:36
    หลักๆ จากนํ้าเสียที่ไม่ได้รับการบำบัด
  • 1:36 - 1:40
    และการทิ้งสารเคมีจากงานช่าง เช่น โรงผลิตหนัง
  • 1:40 - 1:42
    มาถึงจุดหนึ่ง ฉันทนไม่ได้
  • 1:42 - 1:44
    กับการทำลายแม่นํ้าแห่งนี้
  • 1:44 - 1:46
    ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ของเมืองของฉัน
  • 1:46 - 1:48
    ฉันจึงตัดสินใจเริ่มทำอะไรสักอย่าง
  • 1:48 - 1:50
    โดยเฉพาะหลังจากที่ฉันได้ข่าวว่า
  • 1:50 - 1:53
    เมืองเมดินาได้รับเงินช่วยเหลือ
  • 1:53 - 1:55
    เพื่อเบี่ยงเบนนํ้าเสียไปบำบัดให้สะอาด
  • 1:55 - 1:57
    ทันทีที่นํ้าสะอาด
  • 1:57 - 1:59
    การเปิดแม่น้ำคืนมา ก็เป็นไปได้
  • 1:59 - 2:02
    และเพราะโชคช่วย และแรงผลักดันอย่างมาก
  • 2:02 - 2:05
    ผู้ร่วมงานของฉัน ทาคาโกะ ทาจิมา และฉัน
  • 2:05 - 2:08
    ได้รับมอบหมายจากเมืองให้ร่วมงานกับทีมวิศวกร
  • 2:08 - 2:10
    ในการเปิดแม่น้ำคืน
  • 2:10 - 2:12
    อย่างไรก็ตาม เราแอบทำต่อ
  • 2:12 - 2:14
    และเสนอเพิ่มโครงการ
  • 2:14 - 2:18
    เพื่อเปลี่ยนริมแม่น้ำให้เป็นทางเดินเท้า
  • 2:18 - 2:20
    แล้วเชื่อมทางเดินเหล่านั้น
  • 2:20 - 2:22
    กลับเข้าไปยังอาคารต่างๆในเมือง
  • 2:22 - 2:24
    และท้ายสุด เปลี่ยนที่ร้างในเมือง
  • 2:24 - 2:28
    ตามชายฝั่งแม่นํ้า มาเป็นพื้นที่สาธารณะ
  • 2:28 - 2:30
    ซึ่งขาดแคลน ในเมืองเมดินาแนวแม่นํ้าเฟซ
  • 2:30 - 2:32
    ฉันจะแสดงให้คุณดูคร่าวๆ ตอนนี้
  • 2:32 - 2:35
    พื้นที่ว่างสาธารณะสองแห่งนี้
  • 2:35 - 2:38
    แห่งแรกคือ รซิฟพลาซา
    (Rcif Plaza)
  • 2:38 - 2:41
    ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำพอดี
  • 2:41 - 2:44
    คุณจะเห็นได้ตรงนี้ บริเวณเส้นประ
  • 2:44 - 2:48
    พลาซานี้เคยเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่วุ่นวาย
  • 2:48 - 2:49
    ซึ่งรบกวนต่อสภาพของเมืองเมดินา
  • 2:49 - 2:52
    ที่มีระบบเครือข่ายทางเดินเท้า
  • 2:52 - 2:54
    ที่ใหญ่ที่สุดของโลก
  • 2:54 - 2:58
    และด้านหลังของสะพานเก่าแก่ที่คุณเห็นนี้
  • 2:58 - 2:59
    ติดกับพลาซา
  • 2:59 - 3:02
    คุณจะเห็นได้ว่าแม่น้ำนั้น
  • 3:02 - 3:04
    เต็มไปด้วยขยะ
  • 3:04 - 3:06
    เราจึงเสนอโครงการ
  • 3:06 - 3:08
    ทำให้พลาซาเป็นพื้นที่สำหรับคนเดินทั้งหมด
  • 3:08 - 3:11
    คลุมด้วยร่มที่ทำจากหนังรีไซเคิล
  • 3:11 - 3:15
    และเชื่อมพลาซ่ากับฝั่งแม่น้ำทั้งสองด้าน
  • 3:15 - 3:17
    พื้นที่ที่สองที่เราเข้าไปปรับปรุง
  • 3:17 - 3:20
    คือ พื้นที่ว่างเปล่าของเมืองตามริมแม่น้ำ
  • 3:20 - 3:22
    มันเคยถูกใช้เป็นที่จอดรถที่ผิดกฎหมาย
  • 3:22 - 3:24
    เราจึงเสนอที่จะปรับเปลี่ยนมัน
  • 3:24 - 3:27
    เป็นสนามเด็กเล่นแห่งแรกของเมืองเมดินา
  • 3:27 - 3:31
    สนามเด็กเล่นนี้สร้างจากยางรถยนต์รีไซเคิล
  • 3:31 - 3:33
    และยังเชื่อมต่อกับหนองนํ้าที่สร้างขึ้นมา
  • 3:33 - 3:36
    ซึ่งไม่เพียงช่วยทำความสะอาดนํ้าในแม่น้ำ
  • 3:36 - 3:39
    แต่ยังช่วยกักน้ำไว้เมื่อเกิดนํ้าท่วม
  • 3:39 - 3:42
    เมื่อโครงการก้าวหน้าไปและได้รางวัลออกแบบหลายรางวัล
  • 3:42 - 3:45
    ผู้มีผลประโยชน์ร่วมรายใหม่ๆ ก็เข้ามายุ่งเกี่ยว
  • 3:45 - 3:48
    และเปลี่ยนเป้าหมายและแบบของโครงการไป
  • 3:48 - 3:51
    ทางเดียวที่เราจะสามารถ
  • 3:51 - 3:55
    นำโครงการให้บรรลุตามเป้าหมายหลักได้
  • 3:55 - 3:57
    คือ เราต้องทำอะไรบางอย่างที่ไม่ธรรมดา
  • 3:57 - 3:59
    ที่สถาปนิกโดยปกติจะไม่ทำกัน
  • 3:59 - 4:02
    คือ ให้เราเอาอัตตาการออกแบบและความรู้สึก
  • 4:02 - 4:04
    ในความเป็นเจ้าของผลงานของเรา
  • 4:04 - 4:06
    แล้วให้มันเป็นเรื่องรอง
  • 4:06 - 4:08
    และให้มุ่งความสำคัญไปที่การเป็นนักเคลื่อนไหว
  • 4:08 - 4:10
    และไปที่ความพยายามที่จะรวม
  • 4:10 - 4:12
    แผนงานทั้งหมดของผู้มีผลประโยชน์ร่วม
  • 4:12 - 4:15
    และมุ่งไปที่เป้าหมายหลักของโครงการ
  • 4:15 - 4:18
    ซึ่งก็คือ การเปิดแม่น้ำ การบำบัดน้ำ
  • 4:18 - 4:20
    และการจัดหาพื้นที่สาธารณะให้กับทุกคน
  • 4:20 - 4:21
    จริงๆ แล้ว เราโชคดีมากๆ
  • 4:21 - 4:24
    ที่เป้าหมายหลายอย่างเกิดขึ้นได้
  • 4:24 - 4:25
    หรือไม่ก็กระบวนการนั้น กำลังเกิดขึ้น
  • 4:25 - 4:27
    อย่างที่คุณเห็นในภาพนี้ที่ รซีฟพลาซา
  • 4:27 - 4:30
    นี่เป็นสภาพภาพเมื่อหกปีก่อน
  • 4:30 - 4:32
    นี่คือสภาพปัจจุบัน
  • 4:32 - 4:34
    แม้จะยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
  • 4:34 - 4:35
    แต่จริงๆ แล้ว ผู้คนในท้องถิ่น
  • 4:35 - 4:37
    ได้มาใช้พื้นที่กันอย่างหนาแน่น
  • 4:37 - 4:40
    และสุดท้าย นี่จะเป็นสภาพของรซีฟพลาซ่า
  • 4:40 - 4:42
    เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
  • 4:42 - 4:46
    นี่คือแม่น้ำ ถูกปิด ถูกใช้เป็นที่ทิ้งขยะ
  • 4:46 - 4:48
    หลังจากการทำงานผ่านมาหลายปี
  • 4:48 - 4:50
    แม่น้ำมีนํ้าที่สะอาดขึ้น และเปิดโล่ง
  • 4:50 - 4:52
    สุดท้าย คุณจะเห็นแม่น้ำเป็นแบบนี้ได้
  • 4:52 - 4:55
    เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์
  • 4:55 - 4:57
    และแน่นอนว่าการฟื้นฟูแม่น้ำเฟซนั้น
  • 4:57 - 5:00
    จะมีการปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
  • 5:00 - 5:02
    ให้เข้ากับภูมิทัศน์ทางสังคมและการเมือง
  • 5:02 - 5:05
    แต่เราเชื่อมั่นว่าการวาดภาพเสียใหม่
  • 5:05 - 5:07
    ในบทบาทและการปฏิบัติงานของสถาปนิก
  • 5:07 - 5:11
    เราได้ทำให้แนวคิดหลักของโครงการเกิดขึ้นได้
  • 5:11 - 5:14
    ซึ่งก็คือการเปลี่ยนแม่น้ำจากท่อระบายน้ำเสีย
  • 5:14 - 5:16
    ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับทุกคน
  • 5:16 - 5:19
    จึงทำให้แน่ใจได้ว่าเมืองเฟซ
  • 5:19 - 5:21
    จะยังคงเป็นเมืองที่เจริญขึ้นสำหรับพลเมือง
  • 5:21 - 5:23
    มากกว่าจะเป็นมรกที่ตายซาก
  • 5:23 - 5:25
    ขอบคุณมากค่ะ
  • 5:25 - 5:26
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ฉันทำให้แม่นํ้าและเมืองของฉันฟื้นคืนชีพได้อย่างไร
Speaker:
อาซีซา ชวอนนี (Aziza Chaouni)
Description:

แม่น้ำเฟซไหลเลี้ยวผ่านเมืองเมดินาสองฝั่งแม่นํ้าเฟซ ประเทศโมรอคโค เมืองในยุคกลางที่คดเคี้ยววกวน ซึ่งเป็นมรดกโลก แม่น้ำซึ่งครั้งหนึ่งเคยเปรียบเสมือนหัวใจของเมืองที่มีชื่อเสียง ต้องตายไปเนื่องจากนํ้าเน่าเสียและภาวะมลพิษ และในช่วงทศวรรษ1950 ถูกปกคลุมไปที่ละเล็กทีละน้อยจนแทบจะไม่เห็นแม่น้ำอีก อาซีซา ชวอนนี ผู้ซึ่งเป็น TED Fellow มาเล่าถึง 20 ปีของความพยายามของเธอ ในการที่จะฟื้นฟูแม่น้ำนี้ให้กลับสู่สภาพเดิมที่รุ่งเรืองของมัน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
05:39

Thai subtitles

Revisions