Return to Video

ลืม Wi-Fi ได้เลย และเตรียมพบกับอินเทอร์เน็ต Li-Fi

  • 0:01 - 0:04
    ผมจะสาธิตต่อสาธารณะชนเป็นครั้งแรก
  • 0:04 - 0:08
    ว่า เป็นไปได้ ที่จะถ่ายทอดวีดีโอ
  • 0:08 - 0:12
    จากหลอดไฟ LED ที่ซื้อหาได้ทั่วไป
  • 0:12 - 0:18
    ส่งไปยังโซลาร์ซลล์ที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์
    ทำหน้าที่เป็นเครื่องรับสัญญาณ
  • 0:18 - 0:21
    วิธีนี้ใช้แต่แสงไฟ โดยไม่ต้องใช้ Wi-Fi เลย
  • 0:21 - 0:24
    คุณอาจสงสัยว่า แล้วมันสำคัญตรงไหน?
  • 0:24 - 0:26
    ที่สำคัญก็คือ
  • 0:26 - 0:29
    อินเตอร์เน็ตจะขยายออกไปอย่างมโหฬาร
  • 0:29 - 0:32
    ความเหลื่อมลํ้าเชิงดิจิตอล จะหมดไป
  • 0:32 - 0:36
    ทำให้เกิด "อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง" ขึ้น ซึ่งก็คือ
  • 0:36 - 0:39
    อุปกรณ์นับพันล้านชนิด เชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้
  • 0:39 - 0:43
    ผมเห็นว่า การขยายของอินเทอร์เน็ตแบบนี้ จะทำได้
  • 0:43 - 0:46
    ก็ต่อเมื่อ มันใช้พลังงานเกือบจะเป็นกลาง
  • 0:46 - 0:51
    คือ ต้องใช้ระบบพื้นฐานที่มีอยู่ ให้มากเท่าที่จะทำได้
  • 0:51 - 0:56
    คือ การนำโซลาร์เซลและหลอด LED เข้ามาใช้
  • 0:57 - 0:59
    ผมทำการสาธิตสิ่งนี้เป็นครั้งแรก
  • 0:59 - 1:01
    ที่ TED ในปี 2011
  • 1:01 - 1:03
    เรื่องไลไฟ หรือ Light Fidelity
  • 1:04 - 1:10
    ไลไฟใช้หลอดแอลอีดีส่งข้อมูลเร็วเหลือเชื่อ
  • 1:10 - 1:12
    และยังทำได้ อย่างปลอดภัยและเชื่อมั่นได้
  • 1:13 - 1:16
    ข้อมูลถูกส่งผ่านทางแสง
  • 1:16 - 1:19
    และเข้ารหัสโดยการเปลี่ยนระดับความสว่าง
    อย่างซับซ้อน
  • 1:20 - 1:24
    ถ้ามองไปรอบตัว เราจะเห็นหลอดไฟ LED มากมาย
  • 1:24 - 1:29
    จึงมีระบบเครื่องส่งไลไฟมากมายรอบตัว
  • 1:29 - 1:35
    แต่จนถึงขณะนี้ เรากลับใช้เครื่องจับภาพขนาดเล็ก
  • 1:35 - 1:38
    เพื่อรับข่าวสารที่ถูกเข้ารหัส อยู่ในข้อมูล
  • 1:39 - 1:43
    เมื่อผมต้องการหาวิธีเอาระบบพพื้นฐานที่มีอยู่
  • 1:43 - 1:46
    มาใช้รับข้อมูลจากจากแสงไลไฟของเรา อีกด้วย
  • 1:46 - 1:51
    เหตุนี้ผมจึงสนใจศึกษาแผงและโซลาร์เซลล์
  • 1:51 - 1:56
    โซลาร์เซลล์จะซึมซับแสง เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า
  • 1:57 - 2:02
    เหตุนี้ ทำให้ใช้โซลาร์เซลล์ ชาร์จมือถือได้
  • 2:02 - 2:03
    แต่เราต้องจำไว้ว่า
  • 2:03 - 2:09
    ข้อมูลนั้นถูกเข้ารหัส
    โดยการปรับระดับความสว่างของหลอด
  • 2:09 - 2:13
    ถ้าแสงที่เข้ามานั้น ผันผวน
  • 2:13 - 2:16
    พลังงานที่เก็บได้จากโซล่าเซลล์ ก็เช่นกัน
  • 2:17 - 2:20
    หมายถึงว่า เรามีกลไกที่เป็นหลักๆ อยู่แล้ว
  • 2:20 - 2:26
    เพื่อที่จะรับข้อมูลโดยแสง และโดยโซลาร์เซลล์
  • 2:26 - 2:29
    เพราะความผันผวนของพลังงาน ที่เก็บได้มานั้น
  • 2:29 - 2:31
    ก็มีลักษณะเดียวกัน กับข้อมูลที่ถูกส่งมา
  • 2:32 - 2:34
    แน่นอนครับ คำถามก็คือ เราจะ
  • 2:34 - 2:38
    รับการเปลี่ยนระดับความสว่าง
    เพียงเล็กน้อยและอย่างรวดเร็ว
  • 2:38 - 2:42
    เช่นแสงที่ส่งออกมาจากหลอด LED ได้หรือไม่
  • 2:43 - 2:46
    และคำตอบก็คือ ได้ครับ เราสามารถทำได้
  • 2:47 - 2:48
    เราได้แสดงในห้องทดลองแล้วว่า
  • 2:48 - 2:52
    เราสามารถรับข้อมูลได้ถึง 50 เมกะบิต ต่อ วินาที
  • 2:52 - 2:54
    จากโซลาร์เซลล์มาตรฐาน ที่มีขายอยู่ทั่วไป
  • 2:55 - 2:59
    เร็วกว่าการเชื่อมต่อทางสายโทรศัพท์ปัจจุบัน
  • 2:59 - 3:03
    ตอนนี้ ผมจะแสดงให้ดู ในทางปฏิบัติ
  • 3:05 - 3:09
    ในกล่องนี้คือหลอด LED มาตรฐาน
    ที่มีขายทั่วไป
  • 3:11 - 3:14
    นี่คือ โซลาร์เซลล์มาตรฐาน
    ที่มีขายทั่วไป
  • 3:14 - 3:16
    ต่อไว้กับโน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์
  • 3:17 - 3:19
    เรายังมีเครื่องมือตรงนี้อีกด้วย
  • 3:19 - 3:23
    เพื่อให้เห็นภาพพลังงาน ที่ได้จากโซลาร์เซลล์
  • 3:23 - 3:26
    เครื่องมือนี้ แสดงค่าระดับหนึ่งอยู่ ในขณะนี้
  • 3:26 - 3:30
    เพราะโซล่าเซลล์ ได้รับแสงภายนอกเข้ามาแล้ว
  • 3:31 - 3:34
    ตอนนี้ สิ่งที่ผมอยากจะทำอันแรก คือ เปิดไฟ
  • 3:34 - 3:36
    ง่ายๆ ผมก็แค่เพียงเปิดไฟ
  • 3:36 - 3:38
    สักครู่หนึ่ง
  • 3:38 - 3:42
    ที่คุณจะเห็นคือ เข็มกระโดดไปทางขวา
  • 3:43 - 3:45
    ครับ โซลาร์เซลล์ ณ ขณะนี้
  • 3:45 - 3:48
    กำลังเก็บพลังงาน จากแหล่งแสงเทียมนี้
  • 3:49 - 3:52
    ถ้าผมปิดไฟ เราจะเห็นมันตกลงมา
  • 3:52 - 3:53
    ผมเปิดไฟ...
  • 3:53 - 3:56
    เราจึงเก็บเกี่ยวพลังงาน ด้วยโซลาร์เซลล์
  • 3:57 - 4:02
    ขั้นต่อไป ผมจะเริ่มการส่งข้อมูลวิดีโอ
  • 4:03 - 4:06
    ผมทำได้ โดยการกดปุ่มนี้
  • 4:06 - 4:10
    ขณะนี้หลอด LED กำลังส่งข้อมูลวีดีโออยู่
  • 4:11 - 4:15
    โดยการปรับระดับความสว่างของหลอด
    ในแบบที่ละเอียดมากๆ
  • 4:15 - 4:17
    ในแบบที่คุณมองไม่ออก ด้วยสายตา
  • 4:17 - 4:20
    เพราะการเปลี่ยนนั้น เร็วเกินกว่าจะมองเห็น
  • 4:21 - 4:24
    แต่เพื่อที่จะพิสูจน์จุดนี้
  • 4:24 - 4:27
    ผมก็จะปิดกั้นแสงจากโซลาร์เซลล์ไว้
  • 4:28 - 4:31
    ลำดับแรก คุณจึงเห็นการเก็บพลังงาน ตกลงมา
  • 4:31 - 4:33
    และวีดีโอก็หยุดไปด้วย
  • 4:33 - 4:37
    ถ้าเอาที่ปิดกั้นออก วีดีโอก็จะเริ่มใหม่
  • 4:37 - 4:44
    (เสียงปรบมือ)
  • 4:44 - 4:46
    ผมสามารถทำซํ้าได้อีก
  • 4:46 - 4:51
    หยุดส่งวีดีโอ การเก็บพลังงานก็หยุดไปด้วย
  • 4:51 - 4:56
    นี่ก็เพื่อแสดงว่า โซลาร์เซลล์
    ทำหน้าาที่เป็นตัวรับสัญญาณ
  • 4:56 - 5:01
    ทีนี้ ลองนึกถึงหลอดไฟแอลอีดีตามถนนมีหมอกลง
  • 5:02 - 5:04
    ผมจึงต้องการจะจำลองหมอก
  • 5:04 - 5:07
    เพราะเหตุนี้ ผมจึงนำผ้าเช็ดหน้ามาด้วย
  • 5:07 - 5:09
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:09 - 5:13
    ผมจะเอาผ้าเช็ดหน้า ไปวางบนโซล่าเซลล์
  • 5:14 - 5:16
    ลำดับแรก คุณจะสังเกตเห็น
  • 5:16 - 5:20
    พลังงานที่เก็บไว้ ตกลงมา อย่างที่คาดไว้
  • 5:20 - 5:22
    แต่ขณะนี้ วีดีโอก็ยังเดินอยู่
  • 5:23 - 5:25
    นี่ก็หมายความว่า แม้ว่าจะถูกปิดกั้นไว้
  • 5:25 - 5:29
    ก็ยังคงมีแสงเล็ดลอด ผ่านผ้าเช็ดหน้าเข้าไป
  • 5:29 - 5:35
    โซล่าเซลล์ จึงถอดรหัสและสตรีมข้อมูลได้
  • 5:35 - 5:37
    กรณีนี้ คือ วีดีโอซึ่งความละเอียดของภาพสูง
  • 5:39 - 5:45
    สำคัญตรงนี้ คือ โซลาร์เซลล์กลายเป็นตัวรับ
  • 5:45 - 5:48
    สัญญาณไร้สายความเร็วสูง เข้ารหัสไว้ในแสง
  • 5:48 - 5:53
    ขณะยังคงทำงานสำคัญ เป็นเครื่องเก็บพลังงาน
  • 5:54 - 5:56
    นั่นก็คือเหตุที่ว่า ทำไมจึงเป็นไปได้
  • 5:56 - 6:00
    ที่จะติดโซลาร์เซลล์ที่ใช้กัน บนหลังคาบ้าน
  • 6:00 - 6:03
    เป็นตัวรับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
  • 6:03 - 6:07
    จากสถานีเลเซอร์บนเนินเขาใกล้ๆ หรือเสาไฟฟ้า
  • 6:08 - 6:11
    ไม่สำคัญว่า ลำแสงไปตกลงที่ไหนบนโซลาร์เซลล์
  • 6:12 - 6:13
    และวิธีนี้ก็ใช้ได้กับ
  • 6:13 - 6:17
    โซลาร์เซลล์โปร่งแสง ที่ใส่กับหน้าต่าง
  • 6:17 - 6:20
    โซลาร์เซลล์ที่ใช้กับสัญญาณไฟตามถนน หรือ
  • 6:20 - 6:25
    โซลาร์เซลล์ใส่ในเครื่องมือหลายพันล้านชนิด
  • 6:25 - 6:27
    ซึ่งจะก่อรูปมาเป็น "อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง"
  • 6:27 - 6:28
    เพราะว่า โดยธรรมดาแล้ว
  • 6:28 - 6:31
    เราไม่อยากจะชาร์จเครื่องมือพวกนี้ แบบปกติ
  • 6:31 - 6:34
    หรือที่แย่กว่าเปลี่ยนแบตเตอรีทุก 2-3 เดือน
  • 6:34 - 6:36
    อย่างที่ผมบอก
  • 6:36 - 6:38
    นี่เป็นครั้งแรก ที่ผมแสดงให้ดูในที่สาธารณะ
  • 6:39 - 6:41
    ซึ่งอย่างมากก็เป็น การสาธิตในห้องทดลอง
  • 6:41 - 6:42
    เป็นต้นแบบ
  • 6:42 - 6:46
    แต่ทีมงานและผมมั่นใจว่าเราจะทำตลาดได้
  • 6:46 - 6:48
    ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า และเราหวังว่า
  • 6:48 - 6:54
    จะสามารถช่วยปิดความเหลื่อมลํ้าเชิงดิจิตอล
  • 6:54 - 6:55
    และยังมีส่วนช่วยเชื่อมต่อ
  • 6:55 - 6:58
    อุปกรณ์นับพันล้านที่ต่อกับอินเทอร์เน็ต
  • 6:58 - 7:00
    และทั้งหมดนี้ จะไม่ทำให้เกิด
  • 7:00 - 7:02
    การเติบโตในใช้พลังงานอย่างมโหฬาร--
  • 7:02 - 7:05
    จากโซลาร์เซลล์ แต่กลับจะเป็นตรงกันข้าม
  • 7:05 - 7:06
    ขอบคุณครับ
  • 7:06 - 7:11
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ลืม Wi-Fi ได้เลย และเตรียมพบกับอินเทอร์เน็ต Li-Fi
Speaker:
ฮาราลด์ ฮาส
Description:

จะเป็นอย่างไรหรือ ถ้าเทคโนโลยี่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้อินเตอร์เน็ดเข้าถึงผู้คนกว่า 4 พันล้านคน ที่อาศัยอยู่ในที่ซึ่งไม่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานมาสนับสนุน โดยการใช้หลอดไฟ LED ที่มีขายอยู่ทั่วไป และโซลาร์เซลล์ ฮาราลด์และทีมงานได้บุกเบิกเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมา ซึ่งถ่ายทอดข้อมูลได้โดยใช้แสงสว่าง และสิ่งนี้อาจจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะเชื่อมต่อความเหลื่อมลํ้าทางอินเตอร์เน็ต ลองมาดูซิว่าอนาคตของอินเทอร์เน็ตจะเป็นอย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
07:24

Thai subtitles

Revisions