Return to Video

เลือดใหม่ช่วยทำให้เราเด็กได้อย่างไร จริง ๆ นะ

  • 0:03 - 0:06
    นี่คือภาพวาดจากคริสต์ศตวรรษที่ 16
    โดย ลูคัส ครานัค ดิ เอลเตอร์
  • 0:06 - 0:09
    มันแสดงถึงนำ้พุแห่งความอ่อนวัยอันโด่งดัง
  • 0:09 - 0:15
    หากคุณได้ดื่มหรืออาบน้ำนี้
    คุณจะมีสุขภาพดีและอ่อนวัย
  • 0:16 - 0:21
    ทุกวัฒนธรรม ทุกชนชาติ
    ล้วนแล้วแต่ฝันหาอ่อนวัยที่เป็นอมตะ
  • 0:22 - 0:27
    มีคนอย่าง อเล็กซานเดอร์ มหาราช
    หรือนักสำรวจ พอนเซ่ เดอ เลออน
  • 0:27 - 0:30
    ผู้ที่ใช้เวลาค่อนชีวิต
    ไปกับการตามล่าหานำ้พุแห่งความอ่อนเยาว์
  • 0:31 - 0:32
    พวกเขาไม่พบมัน
  • 0:33 - 0:36
    แต่ ถ้าหากว่ามันมีอะไรบางอย่างที่นำไปสู่มันล่ะ
  • 0:36 - 0:39
    หากว่ามีบางอย่าง
    ที่นำไปสู่นำ้พุแห่งความอ่อนเยาว์ล่ะ
  • 0:39 - 0:44
    ผมจะเล่าถึงการพัฒนาที่สุดมหัศจรรย์
    ในงานวิจัยด้านความชรา
  • 0:44 - 0:48
    ซึ่งอาจปฏิวัติทัศคติของเรา
    เกี่ยวกับเรื่องความชรา
  • 0:48 - 0:51
    และอาจจะเปลี่ยนวิธีการรักษา
    โรคที่เกี่ยวข้องกับความชราในอนาคตได้
  • 0:52 - 0:55
    มันเริ่มต้นมาจากการทดลอง
  • 0:55 - 0:58
    จากงานวิจัยใหม่ ๆ จำนวนหนึ่ง
    ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต
  • 0:58 - 1:04
    ที่แสดงให้เห็นว่าในสัตว์ทดลอง
    หนูแก่ได้รับการถ่ายเลือดจากหนูอายุน้อย
  • 1:04 - 1:06
    สามารถที่จะกลับมาอ่อนวัยได้
  • 1:06 - 1:11
    มันมีความคล้ายคลึงกันกับในมนุษย์
    เช่นในกรณีของแฝดสยาม
  • 1:11 - 1:13
    และผมก็รู้ว่ามันฟังดูค่อนข้างน่าขนลุก
  • 1:13 - 1:19
    แต่สิ่งที่ ทอม แรนโด้ นักวิจัยด้านเซลล์ต้นกำเนิด
    รายงานในปี ค.ศ. 2007
  • 1:19 - 1:23
    คือ กล้ามเนื้อจากหนูแก่
    สามารถกลับมาอ่อนวัยได้อีกครั้ง
  • 1:23 - 1:27
    หากมันได้รับเลือดจากหนูอายุน้อย
    ผ่านระบบไหลเวียนเลือดตามปกติ
  • 1:28 - 1:33
    การทดลองนี้ถูกทำซ้ำโดย เอมี่ แวเจอร์
    จากมหาวิทยาลัย ฮาเวิร์ด ในไม่กี่ปีต่อมา
  • 1:33 - 1:37
    และอีกหลาย ๆ งานวิจัย
    ก็รายงานปรากฏการณ์ความอ่อนวัยที่คล้ายกันนี้
  • 1:37 - 1:40
    ในตับอ่อน ตับ และหัวใจ
  • 1:41 - 1:45
    แต่สิ่งที่ผมตื่นเต้นที่สุด
    เช่นเดียวกันกับนักวิจัยอีกหลาย ๆ กลุ่ม
  • 1:45 - 1:48
    คือ งานทดลองนี้อาจสามารถใช้ได้กับสมอง
  • 1:49 - 1:54
    นั่นคือ เราพบว่าหนูแก่
    ซึ่งได้รับสภาวะของหนูอายุน้อย
  • 1:54 - 1:57
    ในแบบจำลองที่เรียกว่า
    พาราไบโอซิส (parabiosis)
  • 1:57 - 1:59
    มีสมองแบบหนูอายุน้อย
  • 1:59 - 2:01
    และสมองมีการทำงานดีขึ้น
  • 2:02 - 2:04
    และผมขอย้ำว่า
  • 2:04 - 2:10
    หนูแก่ที่ใช้ระบบไหลเวียนเลือด
    ร่วมกับหนูอายุน้อย
  • 2:10 - 2:13
    มีลักษณะที่ดูอ่อนเยาว์
    และการทำงานของสมองคล้ายของหนูอายุน้อย
  • 2:14 - 2:16
    ดังนั้นเมื่อเราแก่ลง
  • 2:16 - 2:18
    เราสามารถพิจาณาเรื่องความจำ
    ได้จากหลายแง่มุ่ม
  • 2:18 - 2:20
    และคุณสามารถเห็นได้จากสไลด์นี้
  • 2:20 - 2:23
    เราสามารถดูได้จาก การใช้เหตุผล
    การพูด และอื่น ๆ
  • 2:24 - 2:29
    ราว ๆ อายุ 50 หรือ 60 ปี
    ความสามารถเหล่านี้ยังสมบูรณ์ดี
  • 2:29 - 2:34
    และเท่าที่ผมมองไปยังผู้ฟังอ่อนวัยในห้องนี้
    พวกเรายังสบายดีกันอยู่
  • 2:34 - 2:35
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:35 - 2:39
    แต่มันเป็นเรื่องน่ากลัวที่เส้นกราฟเหล่านี้
    มีแนวโน้มที่จะลดลง
  • 2:39 - 2:40
    และเมื่อเราแก่ลง
  • 2:40 - 2:44
    โรค เช่น อัลไซเมอร์ และอื่น ๆ จะเกิดขึ้น
  • 2:45 - 2:49
    เรารู้ว่า ด้วยอายุที่มากขึ้น
    ความเชื่อมโยงของเซลล์ประสาท
  • 2:49 - 2:53
    ซึ่งเป็นวิธีที่เซลล์ประสาทพูดคุยกัน
    เรียกว่า ไซแนป จะแย่ลง
  • 2:53 - 2:57
    เซลล์ประสาทตาย และสมองเริ่มฝ่อ
  • 2:57 - 3:01
    และมีการเพิ่มขึ้นของแนวโน้ม
    ที่จะเกิดการเสื่อมของระบบประสาทต่าง ๆ
  • 3:02 - 3:06
    ปัญหาใหญ่ของเรา ในการพยายามที่จะเข้าใจ
    ว่าสิ่งเหล่านี้ทำงานอย่างไร
  • 3:07 - 3:09
    ในกลไกการทำงานระดับโมเลกุล
  • 3:09 - 3:13
    คือ เราไม่สามารถศึกษาสมองอย่างละเอียด
    ในคนที่ยังมีชีวิตอยู่ได้
  • 3:14 - 3:17
    เราสามารถตรวจสอบการทำงานของสมอง
    เราสามารถถ่ายภาพ
  • 3:17 - 3:20
    และการทดสอบอันซับซ้อนทั้งหลาย
  • 3:20 - 3:23
    แต่เราต้องรอจนกว่าคนคนนั้นจะเสียชีวิต
  • 3:23 - 3:28
    แล้วก็นำสมองมาตรวจดูว่าอายุและโรค
    ทำให้มันความเปลี่ยนเเปลงไปอย่างไร
  • 3:29 - 3:32
    นี่คือตัวอย่างของสิ่งที่นักประสาทวิทยาทำกัน
  • 3:32 - 3:38
    ดังนั้น จะเป็นอย่างไงถ้าเราคิดว่า
    สมองเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่กว่า
  • 3:38 - 3:41
    เราจะสามารถเข้าใจมันมากขึ้นหรือไม่
  • 3:41 - 3:43
    ว่ามันเกิดอะไรขึ้นในสมองในระดับโมเลกุล
  • 3:43 - 3:47
    หากเรามองว่าสมองเป็นทั้งหมดของร่างกาย
  • 3:47 - 3:52
    แล้วเมื่อร่างกายเราแก่ลงหรือเป็นโรค
    มันส่งผลต่อสมองไหม
  • 3:52 - 3:56
    และในทางกลับกัน ถ้าสมองแก่ตัวลง
    มันจะส่งผลต่อร่างกายส่วนอื่นไหม
  • 3:57 - 4:01
    และสิ่งที่เชื่อมโยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย
  • 4:01 - 4:02
    ก็คือ เลือด
  • 4:02 - 4:08
    เลือดเป็นเนื้อเยื่อที่ไม่แต่เพียงนำเซลล์
    ที่เเลกเปลี่ยนออกซิเจน อย่างเช่น
  • 4:08 - 4:09
    เซลล์เม็ดเลือดแดง
  • 4:09 - 4:12
    หรือต่อสู้กับโรคติดเชื้อ
  • 4:12 - 4:16
    แต่เลือดยังนำโมเลกุลที่เป็นสารสื่อข้อมูล
  • 4:16 - 4:20
    ซึ่งเป็นสารที่มีลักษณะคล้ายฮอร์โมน
    ซึ่งส่งข้อมูล
  • 4:20 - 4:24
    จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง
    จากเนื้อเยื่อหนึ่งไปยังอีกเนื้อเยื่อหนึ่ง
  • 4:24 - 4:26
    รวมไปถึงสมองด้วย
  • 4:26 - 4:31
    ดังนั้นหากเราสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเลือด
    ในผู้เป็นโรคหรือคนแก่
  • 4:31 - 4:33
    เราจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับสมองได้ไหม
  • 4:34 - 4:38
    เรารู้ว่าเมื่อเราแก่ตัวลง เลือดเปลี่ยนไปเช่นกัน
  • 4:39 - 4:41
    ดังนั้นพวกสารที่มีลักษณะคล้ายฮอร์โมนเหล่านี้
    เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเราแก่ตัวลง
  • 4:41 - 4:46
    และโดยส่วนมากเรารู้ว่าสารเหล่านี้จำเป็น
  • 4:46 - 4:49
    ต่อการพัฒนาของเนื้อเยื่อ
    และต่อการคงสภาพของเนื้อเยื่อ
  • 4:49 - 4:52
    สารเหล่านี้เริ่มลดลงเมื่อเราแก่ตัวลง
  • 4:52 - 4:57
    ในขณะที่สารที่เกี่ยวข้องในการซ่อมแซม
    การบาดเจ็บและการอักเสบ
  • 4:57 - 4:59
    สารพวกนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเราแก่
  • 4:59 - 5:04
    ดังนั้น มันมีความไม่สมดุลของ
    สารที่ดีและไม่ดีเหล่านี้ จะว่าอย่างนั้นก็ได้
  • 5:05 - 5:08
    และเพื่อแสดงให้คุณเห็นถึงศักยภาพ
    ที่เป็นไปได้เกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 5:08 - 5:11
    ผมอยากจะพูดให้คุณฟังอย่างละเอียด
    เกี่ยวกับการทดลองที่เราทำ
  • 5:11 - 5:14
    เราได้เก็บตัวอย่างเลือด
    จากคนมีสุขภาพดีเกือบ 300 คน
  • 5:14 - 5:17
    อายุระหว่าง 20 ถึง 89 ปี
  • 5:17 - 5:21
    และพวกเราก็ได้ตรวจวัดค่าสารสื่อข้อมูลต่าง ๆ
    มากกว่า 100 ชนิด
  • 5:21 - 5:25
    โปรตีนที่มีลักษณะคล้ายฮอร์โมนเหล่านี้
    ซึ่งส่งสารข้อมูลระหว่างเนื้อเยื่อ
  • 5:25 - 5:27
    และสิ่งที่พวกเราสังเกตเห็นอย่างแรก
  • 5:27 - 5:30
    คือ ระหว่างกลุ่มที่อายุน้อยที่สุด
    และอายุมากที่สุด
  • 5:30 - 5:33
    สารประมาณครึ่งหนึ่ง
    มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
  • 5:33 - 5:36
    ดังนั้นร่างกายของเราจึงใช้ชีวิต
    อยู่ในสภาพที่แตกต่างกันมากเมื่อเราแก่ตัวลง
  • 5:36 - 5:38
    เมื่อกล่าวถึงสารเหล่านี้
  • 5:38 - 5:42
    และเมื่อใช้โปรแกรมทางสถิติ
    และชีวสารสนเทศ
  • 5:42 - 5:46
    เราสามารถที่จะหาสารที่ทำนายอายุได้
  • 5:46 - 5:50
    เหมือนกับการคำนวณอายุแบบคร่าว ๆ ของคน
  • 5:50 - 5:53
    และมันก็ออกมาเป็นอย่างคุณเห็นในกราฟนี้
  • 5:54 - 5:59
    ในแกนหนึ่งคุณจะเห็นอายุจริง
    ที่คนคนนั้นใช้ชีวิต
  • 5:59 - 6:00
    เรียกว่า อายุตามลำดับเวลา
  • 6:00 - 6:02
    ซึ่งก็คือ จำนวนปีที่คนคนนั้นมีชีวิตอยู่
  • 6:02 - 6:05
    และเมื่อเราพิจารณาสารต่าง ๆ
    ที่ผมแสดงให้คุณเห็นก่อนหน้านี้
  • 6:05 - 6:10
    และคำนวณอายุเปรียบเทียบ
    หรืออายุทางชีวภาพ
  • 6:11 - 6:14
    และสิ่งที่คุณเห็นคือ
    มันค่อนข้างมีความสัมพันธ์กัน
  • 6:14 - 6:18
    ดังนั้นเราสามารถทำนาย
    อายุคร่าว ๆ ของคนได้ค่อนข้างดี
  • 6:18 - 6:22
    แต่สิ่งที่น่าตื่นเต้นจริง ๆ ก็คือพวกนอกกลุ่ม
  • 6:22 - 6:23
    ซึ่งพวกเขาก็เป็นกลุ่มที่น่าสนใจอยู่แล้ว
    ในชีวิตประจำวันของเรา
  • 6:24 - 6:28
    คนคนนี้ที่ผมเน้นด้วยจุดสีเขียว
  • 6:29 - 6:31
    มีอายุประมาณ 70 ปี
  • 6:31 - 6:36
    แต่อายุทางชีวภาพของเขา
    หากว่าสิ่งที่เราทำอยู่นี้ถูกต้อง
  • 6:36 - 6:38
    คือเพียงแค่ 45 ปีเท่านั้น
  • 6:38 - 6:42
    คนคนนี้อ่อนวัยกว่าอายุของเขาจริงหรือ
  • 6:42 - 6:47
    แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ
    คนคนนี้จะเป็นคนที่มีความเสี่ยงต่ำ
  • 6:47 - 6:50
    ต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับความชรา
    และมีชีวิตที่ยืนยาวหรือไม่
  • 6:50 - 6:52
    เขาจะอยู่ถึง 100 ปีหรือมากกว่าไหม
  • 6:52 - 6:57
    ในอีกด้านหนึ่ง คนคนนี้ที่ผมเน้นด้วยจุดสีแดง
  • 6:57 - 7:02
    เขาอายุยังไม่ถึง 40 ปี
    แต่อายุทางชีวภาพคือ 65 ปี
  • 7:02 - 7:06
    เขามีความเสี่ยง
    ต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับความชราไหม
  • 7:06 - 7:10
    ดังนั้นในห้องทดลองของเรา
    เราพยายามที่จะเข้าใจสารเหล่านี้ให้ดีขึ้น
  • 7:10 - 7:12
    และนักวิจัยกลุ่มอื่น ๆ ก็พยายามทำความเข้าใจ
  • 7:12 - 7:14
    ว่าอะไรคือสารที่ก่อให้เกิดความชราที่แท้จริง
  • 7:14 - 7:19
    แล้วเราจะสามารถศึกษาเพื่อทำนายโรค
    ที่เกี่ยวข้องกับความแก่ชราได้ไหม
  • 7:20 - 7:24
    สิ่งที่ผมได้นำเสนอคุณมาทั้งหมดนี้
    เป็นแค่เพียงความสัมพันธ์ง่าย ๆ จริงไหมครับ
  • 7:24 - 7:28
    คุณอาจบอกได้แค่ว่า
    "สารเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามอายุ"
  • 7:28 - 7:32
    แต่คุณไม่รู้แน่ว่าพวกมันส่งผลอะไรกับความชรา
  • 7:33 - 7:36
    ดังนั้นสิ่งที่ผมกำลังจะนำเสนอคุณนี้
    เป็นสิ่งที่น่าทึ่งมาก
  • 7:36 - 7:41
    และมันบ่งบอกว่าสารเหล่านี้
    สารสามารถปรับอายุของเนื้อเยื่อได้
  • 7:42 - 7:45
    และนี่คือเหตุผลที่เรากลับไปยังแบบจำลอง
    ที่เรียกว่า พาราไบโอซิส
  • 7:45 - 7:48
    พาราไบโอซิสจึงถูกทำขึ้นในหนู
  • 7:48 - 7:53
    โดยการผ่าตัดเชื่อมหนูสองตัวเข้าด้วยกัน
  • 7:53 - 7:55
    และนั่นนำไปสู่ระบบการใช้เลือดร่วมกัน
  • 7:55 - 8:00
    ตอนนี้พวกเราสามารถถามได้ว่าว่า
    "สมองแก่ได้รับผลกระทบได้อย่างไร
  • 8:00 - 8:02
    เมื่อได้รับเลือดของหนูอายุน้อย"
  • 8:02 - 8:04
    และเพื่อวัตถุประสงค์นี้ พวกเราใช้หนูอายุน้อย
  • 8:04 - 8:08
    ซึ่งมีอายุเทียบเท่ากับคนอายุ 20 ปี
  • 8:08 - 8:12
    และหนูแก่ซึ่งมีอายุเทียบเท่ากับคนอายุ 65 ปี
  • 8:13 - 8:16
    สิ่งที่เราค้นพบมันค่อนข้างน่าทึ่ง
  • 8:16 - 8:20
    เราพบว่ามันมีเซลล์ต้นกำเนิด
    ที่ให้กำเนิดเซลล์ประสาทมากขึ้น
  • 8:20 - 8:21
    ในสมองของหนูแก่
  • 8:21 - 8:24
    มีการเพิ่มการทำงานของไซเเนป
  • 8:24 - 8:26
    การเชื่อมต่อของเซลล์ประสาท
  • 8:26 - 8:29
    มีการแสดงออกของยีนมากมาย
    ซึ่งพวกเรารู้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง
  • 8:29 - 8:31
    ในการสร้างความจำใหม่ ๆ
  • 8:32 - 8:34
    และมีการอักเสบแบบไม่ดีน้อยลง
  • 8:35 - 8:42
    แต่เราพบว่า
    ไม่มีเซลล์เข้าสู่สมองของหนูเหล่านี้
  • 8:42 - 8:43
    ดังนั้นเมื่อเราเชื่อมพวกมัน
  • 8:43 - 8:49
    มันไม่มีเซลล์เข้าสู่สมองของหนูแก่
  • 8:49 - 8:53
    ด้วยเหตุนี้ เราจึงให้เหตุผลว่า
    มันต้องเป็นสารที่ละลายได้
  • 8:53 - 8:58
    ดังนั้นเราจึงแยกส่วนละลายน้ำของเลือด
    ที่เรียกว่า พลาสมา ออกมา
  • 8:58 - 9:02
    และฉีดพลาสมาของหนูอายุน้อยหรือหนูแก่
    เข้าไปให้กับหนูพวกนี้
  • 9:02 - 9:04
    และมันก็แสดงปรากฏการณ์อ่อนวัยนี้ได้เช่นกัน
  • 9:04 - 9:06
    แต่ตอนนี้ สิ่งที่เราสามารถทำได้อีก
  • 9:06 - 9:08
    คือทดสอบความจำของหนูพวกนี้
  • 9:08 - 9:12
    เมื่อหนูอายุมากขึ้น เหมือนกับมนุษย์
    พวกมันจะมีปัญหาความจำ
  • 9:13 - 9:14
    มันเป็นเรื่องยากที่จะทดสอบ
  • 9:14 - 9:17
    แต่ผมจะแสดงให้คุณเห็นในอีกสักครู่
    ว่าเราศึกษามันอย่างไร
  • 9:17 - 9:19
    แต่ผมต้องการที่จะก้าวไปให้ไกลกว่านั้นอีกขั้น
  • 9:20 - 9:24
    ซึ่งเป็นขั้นที่ใกล้การพัฒนามาใช้กับมนุษย์
  • 9:24 - 9:27
    สิ่งที่ผมกำลังจะนำเสนอนี้ยังไม่ได้ตีพิมพ์
  • 9:27 - 9:31
    เราใช้พลาสมาจากคนอายุน้อย
  • 9:31 - 9:33
    และสารควบคุมคือน้ำเกลือ
  • 9:33 - 9:35
    แล้วฉีดเข้าไปในหนูแก่
  • 9:35 - 9:40
    และถามคำถามว่า เราสามารถที่จะทำให้หนูแก่
    กลับมาอ่อนวัยได้อีกครั้งไหม
  • 9:40 - 9:42
    เราสามารถทำให้มันฉลาดขึ้นได้ไหม
  • 9:42 - 9:45
    เพื่อจะตอบคำถามเหล่านี้ เราได้ใช้การทดสอบ
    ที่เรียกว่า เขาวงกตของบาร์เนส
  • 9:45 - 9:49
    นี่คือโต๊ะขนาดใหญ่ที่มีหลุมอยู่มากมาย
  • 9:49 - 9:52
    และมีเครื่องหมายแสดงทางรอบ ๆ หลุม
  • 9:52 - 9:55
    และมีแสงสว่างคล้าย ๆ กับบนเวทีแห่งนี้
  • 9:55 - 9:58
    พวกหนูจะไม่ชอบแสงพวกมันจึงพยายามหนี
  • 9:58 - 10:02
    และพบกับหลุมหนึ่งซึ่งถูกชี้ด้วยลูกศร
  • 10:02 - 10:04
    ซึ่งหลุมนี้มีท่อต่ออยู่ด้านล่าง
  • 10:04 - 10:07
    ซึ่งพวกมันสามารถหนีไปได้
    และอยู่อย่างสบายในรูมืด ๆ
  • 10:08 - 10:10
    พวกเราสอนมัน เป็นเวลาสองสามวัน
  • 10:10 - 10:13
    ให้พวกมันหาหลุมให้นั้นเจอ
    โดยอาศัยสัญลักษณ์นำทางต่าง ๆ
  • 10:13 - 10:16
    และคุณสามารถเปรียบเทียบสิ่งนี้กับมนุษย์ได้
  • 10:16 - 10:20
    เหมือนกับการที่คุณพยายามหารถในลานจอดรถ
    หลังจากการซื้อของที่สุดวุ่นวาย
  • 10:20 - 10:21
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:21 - 10:25
    พวกเราหลายคนน่าจะมีปัญหาอย่างนั้น
    ในบางครั้งนะครับ
  • 10:25 - 10:27
    มาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับหนูแก่
  • 10:27 - 10:29
    นี่คือหนูแก่ที่มีปัญหาความจำ
  • 10:29 - 10:31
    อย่างที่คุณจะสังเกตเห็นในอีกสักครู่
  • 10:31 - 10:36
    มันมองลงไปดูทุกหลุม
    แต่ไม่ได้สร้างแผนที่ความจำ
  • 10:36 - 10:41
    ซึ่งจะช่วยเตือนความจำว่ามันอยู่ตรงไหน
    ในการทดสอบครั้งก่อนหรือวันสุดท้าย
  • 10:42 - 10:47
    ในทางตรงกันข้าม หนูตัวนี้
    เป็นพี่น้องที่มีอายุเท่ากัน
  • 10:47 - 10:53
    แต่มันได้รับการฉีดพลาสมาของคนอายุน้อย
    เป็นเวลาสามอาทิตย์
  • 10:53 - 10:55
    ด้วยปริมาณเล็กน้อยทุกสามวัน
  • 10:56 - 11:00
    อย่างที่คุณสังเกตได้
    มันดูเหมือนกำลังคิดว่า "ฉันอยู่ตรงไหน"
  • 11:00 - 11:03
    หลังจากนั้นมันก็เดินตรงไปยังหลุมนั้น
    และหนีลงรูไป
  • 11:03 - 11:06
    ดังนั้นมันน่าจะจำได้ว่าหลุมนั้นอยู่ที่ไหน
  • 11:07 - 11:10
    จากทั้งหมดนี้
    เหมือนว่าหนูแก่ตัวนี้จะกลับมาอ่อนวัยอีกครั้ง
  • 11:10 - 11:13
    มันทำงานได้คล้ายกับหนูอายุน้อย
  • 11:13 - 11:16
    และนี่ยังบอกว่ามันมีอะไรบางอย่าง
  • 11:16 - 11:21
    ที่ไม่ใช่แค่ในพลาสมาของหนูอายุน้อยเท่านั้น
    แต่ยังพบได้ในพลาสมาของคนอายุน้อยด้วย
  • 11:21 - 11:24
    ที่มีความสามารถ
    ในการช่วยสมองแก่ ๆ ให้ดีขึ้นได้
  • 11:25 - 11:26
    โดยสรุปแล้ว
  • 11:26 - 11:30
    พวกเราพบว่าหนูแก่ และโดยเฉพาะสมองของมัน
    มีความยืดหยุ่น
  • 11:30 - 11:34
    สมองของพวกมันไม่ได้อยู่นิ่งเป็นหิน
    แต่มันสามารถเปลี่ยนแปลงได้
  • 11:34 - 11:35
    มันสามารถกลับมาอ่อนวัยได้อีกครั้ง
  • 11:36 - 11:38
    สารจากเลือดอายุน้อยสามารถย้อนวัยได้
  • 11:38 - 11:40
    และสิ่งที่ผมไม่ได้นำเสนอคุณ
  • 11:40 - 11:45
    คือในแบบจำลองนี้ที่หนูอายุน้อย
    รับผลจากการใช้เลือดร่วมกับหนูแก่
  • 11:45 - 11:49
    มีสารบางอย่างในเลือดหนูแก่ที่เร่งความแก่
  • 11:50 - 11:54
    และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ
    มนุษย์ก็น่าจะมีสารคล้ายกันนี้
  • 11:54 - 11:58
    เพราะว่าเราสามารถใช้เลือดจากคนอายุน้อย
    และเห็นผลในทำนองเดียวกัน
  • 11:59 - 12:02
    เลือดจากคนแก่ซึ่งผมไม่ได้นำแสดงให้คุณดู
    ไม่ได้มีผลแบบนี้
  • 12:02 - 12:04
    คือไม่ได้ทำให้หนูอ่อนวัยลง
  • 12:05 - 12:09
    แล้วความมหัศจรรย์นี้สามารถใช้กับคนได้ไหม
  • 12:09 - 12:12
    พวกเรากำลังทำศึกษาทางคลินิค
    ที่มหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด
  • 12:12 - 12:16
    ซึ่งพวกเรากำลังรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์
    ที่มีอาการในระดับอ่อน
  • 12:16 - 12:23
    โดยฉีดพลาสมาจากกอาสาสมัครอายุน้อย
    ที่มีอายุประมาณ 20 ปี
  • 12:23 - 12:26
    และทำแบบนี้สัปดาห์ละครั้ง
    เป็นเวลาสี่สัปดาห์
  • 12:26 - 12:29
    และจากนั้นพวกเราจะตรวจดูสมองของผู้ป่วย
    ด้วยการถ่ายภาพ
  • 12:29 - 12:31
    พวกเราทดสอบความจำ
  • 12:31 - 12:35
    และสอบถามผู้ดูแล
    ถึงเรื่องกิจกรรมในชีวิตประจำวันของพวกเขา
  • 12:35 - 12:39
    สิ่งที่พวกเราหวังคือ
    การเห็นสัญญาณของอาการไปในทางที่ดี
  • 12:39 - 12:40
    จากการรักษา
  • 12:41 - 12:43
    และหากมันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ
    มันอาจจะให้ความหวังกับพวกเรา
  • 12:43 - 12:46
    ว่าสิ่งที่ผมนำแสดงให้คุณดูซึ่งได้ผลในหนู
  • 12:46 - 12:48
    อาจจะได้ผลเช่นเดียวกันในมนุษย์
  • 12:48 - 12:51
    ถึงตอนนี้
    ผมไม่คิดว่าคนเราจะมีชีวิตอยู่ได้ตลอดกาล
  • 12:52 - 12:54
    แต่เราอาจจะค้นพบ
  • 12:54 - 12:57
    นำ้พุแห่งความเยาว์วัย ซึ่งจริง ๆ แล้วอยู่ในตัวเรา
  • 12:57 - 12:59
    และมันค่อย ๆ แห้งหายไป
  • 13:00 - 13:02
    และหากเราสามารถทำให้มัน
    กลับมาทำงานได้อีกครั้ง
  • 13:02 - 13:07
    บางทีเราอาจจะเจอสาร
    ที่ควบคุมปรากฏการณ์เหล่านี้
  • 13:07 - 13:10
    พวกเราสามารถผลิตสารเหล่านี้ได้
    จากการสังเคราะห์
  • 13:10 - 13:14
    และเราสามารถรักษาโรคชรา
    อย่าง อัลไซเมอร์
  • 13:14 - 13:15
    หรือ ภาวะสมองเสื่อมอื่น ๆ ได้
  • 13:15 - 13:16
    ขอบคุณมากครับ
  • 13:16 - 13:20
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เลือดใหม่ช่วยทำให้เราเด็กได้อย่างไร จริง ๆ นะ
Speaker:
โทนี วิสส์-โคเรย์ (Tony Wyss-Coray)
Description:

โทนี วิสส์-โคเรย์ ศึกษาผลกระทบที่มีต่อการแก่ตัวในร่างกายมนุษย์และสมอง ในการบรรยายที่น่าตื่นตานี้ เขาแบ่งปันผลงานวิจัยใหม่จากห้องทดลองในสเตนฟอร์ดของเขา และจากกลุ่มนักวิจัยอื่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาเรื่องความชราที่เราไม่คาดคิดอาจอยู่ในตัวเราทุกคน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:35

Thai subtitles

Revisions