Return to Video

ความลับข้อแรกของการออกแบบคือ ... การสังเกต

  • 0:01 - 0:04
    ในภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ยุคปี 1980 เรื่อง
    พี่น้องตระกูลบลูส์
  • 0:04 - 0:09
    มีฉากตอนหนึ่งที่ จอห์น เบลูชิ
    ไปหา แดน อายครอยด์ที่ห้องพัก
  • 0:09 - 0:12
    ในเมืองชิคาโกเป็นครั้งแรก
  • 0:12 - 0:15
    ห้องทั้งแคบทั้งเล็กมาก
  • 0:15 - 0:17
    อยู่ห่างจากรางรถไฟเพียง 3 ฟุตเท่านั้น
  • 0:19 - 0:20
    ขณะที่จอห์นนั่งบนเตียงแดน
  • 0:20 - 0:23
    รถไฟก็แล่นผ่านไป
  • 0:23 - 0:25
    ส่งเสียงดังกึกก้องไปทั้งห้อง
  • 0:25 - 0:29
    จอห์นถาม รถไฟวิ่งผ่านบ่อยไหม
  • 0:29 - 0:34
    แดนตอบ บ่อยมากจนเราไม่ทันสังเกต
  • 0:34 - 0:36
    และแล้ว มีบางอย่างหล่นจากฝาพนัง
  • 0:37 - 0:39
    เราต่างรู้ดีว่าเขากำลังพูดเรื่องอะไร
  • 0:39 - 0:42
    ด้วยความเป็นมนุษย์
    เราจะเคยชินกับเรื่องที่เจอทุกวัน
  • 0:42 - 0:43
    เคยชินอย่างรวดเร็วด้วย
  • 0:44 - 0:47
    ผม ในฐานะผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์
    ต้องสำรวจสิ่งของที่มักจะพบเจอทุกวันพวกนั้น
  • 0:47 - 0:51
    รู้สึกถึงมันและพยายามทำให้มันดีขึ้น
  • 0:51 - 0:55
    เช่น ผลไม้ลูกนี้
  • 0:56 - 0:58
    เห็นสติกเกอร์อันเล็กนี้หรือไม่
  • 0:59 - 1:02
    ตอนผมยังเด็ก ยังไม่มีการติดสติกเกอร์
  • 1:03 - 1:05
    หลายปีผ่านมา ณ ที่ใดที่หนึ่ง
  • 1:05 - 1:08
    ใครบางคนก็มีแนวคิดเยี่ยมมาก
    โดยการเริ่มติดสติกเกอร์ลงบนผลไม้
  • 1:08 - 1:08
    ทำไมละ
  • 1:08 - 1:10
    มันง่ายมากสำหรับพวกเรา
  • 1:10 - 1:12
    ตอนเดินไปจ่ายเงินในร้านของชำ
  • 1:12 - 1:13
    ใช่เลยมันเยี่ยมยอดมาก
  • 1:13 - 1:15
    เราเดินเข้าออกจากร้านได้อย่างรวดเร็ว
  • 1:15 - 1:17
    แต่ตอนนี้ มีปัญหาใหม่
  • 1:17 - 1:19
    ตอนเรากลับบ้านและกำลังหิว
  • 1:19 - 1:23
    เราเห็นผลไม้สุกงอมหวานฉ่ำบนเคาน์เตอร์
  • 1:23 - 1:26
    หยิบขึ้นมาและจะกัดกิน
  • 1:26 - 1:29
    แต่ช้าก่อน เราต้องมองหา
    สติกเกอร์ชิ้นเล็ก ๆ นี้ก่อน
  • 1:31 - 1:35
    แล้วใช้เล็บแกะมันแต่ทำให้มีรอยที่เปลือก
  • 1:35 - 1:37
    ต้องค่อย ๆ แซะสติกเกอร์ --
  • 1:37 - 1:38
    เข้าใจตรงกันนะ
  • 1:38 - 1:40
    แล้วสะบัดมันออกจากนิ้ว
  • 1:40 - 1:43
    (เสียงตบมือ)
  • 1:44 - 1:46
    ไม่สนุกเลย
  • 1:46 - 1:47
    อย่างมากด้วย
  • 1:48 - 1:50
    แต่เรื่องที่น่าสนใจได้เกิดขึ้นแล้ว
  • 1:50 - 1:53
    ครั้งแรกที่แกะมัน จะรู้สึกว่ามีปัญหากับมัน
  • 1:53 - 1:55
    คุณต้องการกัดกินผลไม้
  • 1:55 - 1:56
    แต่รู้สึกไม่พอใจ
  • 1:56 - 1:58
    ต้องแกะมันออกมา
  • 1:59 - 2:00
    แต่พอทำได้สิบครั้ง
  • 2:00 - 2:03
    ความไม่พอใจก็เริ่มลดลง
  • 2:03 - 2:06
    เพราะเริ่มดึงสลากออกได้คล่องแล้ว
  • 2:06 - 2:08
    แต่กับผม ต้องถึงหนึ่งร้อยครั้ง
  • 2:08 - 2:10
    ผมเริ่มชินชา
  • 2:10 - 2:13
    ผมหยิบผลไม้ขึ้นมา
  • 2:13 - 2:17
    ใช้เล็บจิกแล้วดึงสติกเกอร์ขึ้นมา
  • 2:17 - 2:19
    แล้วอะไรอีกละ
  • 2:19 - 2:22
    มีสติกเกอร์อีกอันหรือเปล่า
  • 2:24 - 2:25
    ทำไมเป็นเช่นนี้
  • 2:25 - 2:27
    ทำไมเราเคยชินกับเรื่องประจำวัน
  • 2:27 - 2:30
    สมองคนเราทุกคนมีข้อจำกัด
  • 2:30 - 2:35
    สมองคนเราจะจำเรื่องที่ทำเป็นประจำ
    ให้กลายเป็นนิสัย
  • 2:35 - 2:39
    ทำให้สมองว่างเพื่อเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ
  • 2:39 - 2:41
    มันคือกระบวนการที่เรียกว่า
    ความคุ้นเคย
  • 2:41 - 2:44
    ซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาที่สุดอย่างหนึ่งของคนเรา
    นั่นคือการเรียนรู้
  • 2:46 - 2:48
    จริงแล้ว ความคุ้นเคยไม่ใช่เรื่องไม่ดี
  • 2:49 - 2:51
    จำตอนหัดขับรถได้ไหม
  • 2:51 - 2:52
    ผมจำได้แน่นอน
  • 2:53 - 2:56
    มือจับพวงมาลัยสองมือตรง ๆ
  • 2:56 - 2:58
    ตามองตรงไปข้างหน้า
  • 2:58 - 3:02
    รถยนต์ ไฟจราจร คนเดินบนถนน
  • 3:02 - 3:04
    ประสาทเสียมากในตอนนั้น
  • 3:05 - 3:09
    ผมเป็นเอามาก ไม่ยอมพูดกับใครในรถ
  • 3:09 - 3:10
    และไม่ยอมฟังดนตรีในรถด้วย
  • 3:11 - 3:13
    แล้วเรื่องมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้น
  • 3:13 - 3:17
    หลายสัปดาห์ผ่านไป
    เรื่องขับรถกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น
  • 3:18 - 3:20
    เพราะคุ้นเคยกับมัน
  • 3:21 - 3:23
    กลายเป็นเรื่องสนุกและธรรมดา
  • 3:23 - 3:26
    สุดท้ายเราจะพูดคุยกับเพื่อนในรถได้
  • 3:26 - 3:26
    ฟังเพลงไปด้วยได้
  • 3:26 - 3:29
    เพราะเรื่องที่ดีคือสมองคุ้นเคยเรื่องต่าง ๆ
  • 3:29 - 3:33
    แต่ถ้าเราไม่คุ้นเคย
    คือเราต้องสังเกตรายละเอียดทุกอย่าง
  • 3:33 - 3:34
    ในทุกครั้ง
  • 3:35 - 3:36
    ก็จะเป็นเรื่องที่เหนื่อยมาก
  • 3:36 - 3:39
    และจะไม่มีเวลาเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ
  • 3:40 - 3:43
    แต่บางครั้งความคุ้นเคยก็ไม่ดี
  • 3:44 - 3:48
    ถ้ามันทำให้เราให้เลิกสังเกต
    เรื่องปัญหารอบตัวเรา
  • 3:48 - 3:49
    ไม่ดีเลย
  • 3:49 - 3:53
    ถ้ามันทำให้เราเลิกสังเกต
    เราจะหยุดรับรู้ปัญหาต่าง ๆ
  • 3:53 - 3:55
    ไม่ดีอย่างยิ่ง
  • 3:56 - 3:58
    นักแสดงตลกรู้ดีในเรื่องแบบนี้
  • 3:58 - 4:03
    อาชีพทั้งหมดของเจอรี่ เซนเฟลด์ มีอยู่ได้
    เพราะการสังเกตเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ
  • 4:03 - 4:07
    เรื่องงี่เง่าที่เราทำทุกวัน
    แต่เรามักจำไม่ได้
  • 4:08 - 4:11
    เขาเล่าว่าทุกครั้งก่อนที่จะออกไปหาเพื่อน
  • 4:11 - 4:13
    ถ้าต้องการจะอาบน้ำอุ่น
  • 4:13 - 4:17
    เขาจะเอื้อมมือออกไปจับที่เปิด
    แล้วผลักออกไปจนสุดอีกข้างหนึ่ง
  • 4:17 - 4:19
    มันจะร้อนมากที่ 100 องศา
  • 4:19 - 4:23
    แล้วถ้าผลักไปอีกทางหนึ่ง
    มันจะเย็นมากที่ 100 องศาเช่นกัน
  • 4:23 - 4:26
    เขาเพียงต้องการอาบน้ำที่อุณหภูมิกำลังดี
  • 4:26 - 4:28
    เราทุกคนเคยทำมามาหมด
  • 4:28 - 4:30
    แต่เราจำเรื่องนี้ไม่ได้
  • 4:30 - 4:31
    แต่ขณะที่เจอรี่จำได้
  • 4:31 - 4:33
    นั้นคืออาชีพของนักแสดงตลก
  • 4:33 - 4:36
    แต่นักออกแบบ นักประดิษฐ์ และผู้ประกอบการ
  • 4:36 - 4:39
    งานของเราไม่ใช่แค่การสังเกตสิ่งต่าง ๆ
  • 4:39 - 4:42
    แต่คือการก้าวไปอีกขั้นและพยายามแก้ปัญหา
  • 4:43 - 4:45
    ดูนี่ คนนี้
  • 4:45 - 4:46
    เธอคือ แมรี่ แอนเดอร์สัน
  • 4:47 - 4:49
    ในปี 1902 ที่นิวยอร์ค
  • 4:49 - 4:51
    เธอกำลังนั่งรอในรถยนต์
  • 4:51 - 4:56
    เป็นวันที่ทั้งหนาว เฉอะแฉะ และหิมะตก
    แต่เธอกลับอบอุ่นอยู่ในรถยนต์
  • 4:57 - 5:02
    ขณะที่เธอกำลังเดินทาง เธอสังเกตว่า
    คนขับรถมักจะเปิดหน้าต่างรถ
  • 5:02 - 5:07
    เพื่อปัดหิมะบนกระจกออกไป
    จะได้ขับต่อไปอย่างปลอดภัย
  • 5:08 - 5:12
    เมื่อเปิดหน้าต่าง
    อากาศที่ทั้งเย็นและชื้นก็พัดเข้ามา
  • 5:12 - 5:14
    ทำให้คนโดยสารนั่งไม่ติด
  • 5:15 - 5:18
    แน่นอนว่าคนโดยสารส่วนใหญ่
    จะคิดเหมือนกันว่า
  • 5:18 - 5:21
    ช่วยไม่ได้ ที่คนขับจะต้องเปิดหน้าต่างเพื่อเช็ด
  • 5:21 - 5:23
    เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องทำ
  • 5:23 - 5:25
    แต่ไม่ใช่กับแมรี่
  • 5:25 - 5:26
    แม่รีกลับคิดว่า
  • 5:26 - 5:30
    ทำไมคนขับรถไม่ทำความสะอาด
    กระจกหน้ารถจากข้างในล่ะ
  • 5:30 - 5:33
    มันจะปลอดภัยในตอนขับด้วย
  • 5:33 - 5:36
    คนนั่งในรถก็ไม่หนาวด้วย
  • 5:37 - 5:39
    แล้วเธอก็หยิบสมุดวาดเขียนขึ้นมา
  • 5:39 - 5:44
    เริ่มขีดเขียน จนเกิดเป็น
    ใบปัดน้ำฝนชิ้นแรกของโลก
  • 5:45 - 5:49
    ผม นักออกแบบสินค้าก็พยายาม
    ทำตัวแบบแมรี่ ที่เรียนรู้จากผู้คน
  • 5:49 - 5:52
    พยายามมองโลกอย่างที่เป็น
  • 5:52 - 5:54
    ไม่ใช่อย่างที่พวกเราคิด
  • 5:55 - 5:56
    ทำไม
  • 5:56 - 5:59
    เพราะมันง่ายมากที่จะแก้ไขปัญหา
    ที่แทบจะทุกคนเห็นกันอยู่แล้ว
  • 6:00 - 6:04
    แต่มันยากที่จะแก้ไขปัญหา
    ที่เกือบทุกคนมองไม่เห็น
  • 6:04 - 6:07
    บางคนอาจจะคิดว่าเขาเกิดมา
    พร้อมกับความสามารถนี้
  • 6:07 - 6:09
    หรืออาจจะไม่ใช่
  • 6:09 - 6:14
    ดังเช่นที่แมรี่ แอนเดอร์สัน มีอยู่ในสมอง
    ตั้งแต่เกิด ในการมองโลกให้ชัดเจนขึ้น
  • 6:15 - 6:17
    แต่นั่นไม่ได้หมายรวมถึงผม
  • 6:17 - 6:18
    ผมได้พยายามทำสิ่งเหล่านี้
  • 6:20 - 6:22
    หลายปีที่ผมทำงานที่แอปเปิ้ล
  • 6:22 - 6:27
    สตีฟ จ๊อปศ์ ท้าทายพวกเรา
    ในเรื่องการทำงานทุก ๆ วัน
  • 6:27 - 6:31
    ให้มองผลิตภัณฑ์ด้วยสายตาลูกค้า
  • 6:31 - 6:33
    ลูกค้ารายใหม่
  • 6:33 - 6:36
    คนที่ขี้กลัวและว้าวุ่นใจ
  • 6:36 - 6:39
    แต่จะดีใจมากเมื่อพบว่า
    สินค้าเทคโนโลยีสมัยใหม่
  • 6:39 - 6:41
    สามารถใช้งานได้ในทันใด
  • 6:41 - 6:44
    สตีฟเรียกว่าพวกมือใหม่ถาวร
  • 6:44 - 6:48
    และต้องการให้พวกเราสนใจมุ่งเน้น
    ไปที่รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้
  • 6:48 - 6:52
    ทำให้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น ไม่สะดุด
    สำหรับพวกมือใหม่
  • 6:53 - 6:57
    เรื่องนี้ทำให้ผมจำได้แม่นเลย
    ตอนที่ไอพอดออกขายเป็นครั้งแรก
  • 6:57 - 6:59
    ลองคิดย้อนกลับไปตอนปี 90
  • 6:59 - 7:01
    คนบ้าอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เหมือนผม
  • 7:03 - 7:08
    ผมรีบเข้าไปในร้านเพื่อหาอุปกรณ์เสริม
    ชิ้นที่ใหม่ที่สุด
  • 7:09 - 7:11
    ผมใช้เวลาได้ทั้งวันในร้าน
  • 7:11 - 7:15
    หลังจ่ายเงินแล้วกลับบ้าน
    เริ่มแกะกล่องออกมา
  • 7:15 - 7:19
    ก็จะเจอสติกเกอร์อันเล็ก ๆ
  • 7:19 - 7:22
    ปิดไว้ว่า ชาร์จไฟก่อนใช้
  • 7:22 - 7:24
    อะไรกัน !
  • 7:24 - 7:25
    ผมไม่อยากจะเชื่อ !
  • 7:25 - 7:27
    ผมใช้เวลาทั้งวันในการเลือกซื้อสินค้า
  • 7:27 - 7:29
    แต่ตอนนี้กลับต้องชาร์จไฟก่อนใช้
  • 7:29 - 7:33
    ผมต้องรอและรู้สึกต้องรอชั่วชีวิต
    เหมือนเด็กอยากได้ของเล่นชิ้นใหม่
  • 7:33 - 7:35
    มันบ้ามาก
  • 7:35 - 7:36
    แต่คุณรู้อะไรไหม
  • 7:36 - 7:38
    สินค้าทุกอย่างในตอนนั้นต่างเป็นแบบนี้
  • 7:38 - 7:40
    ถ้ามีแบตเตอรี่อยู่ข้างใน
  • 7:40 - 7:42
    คุณต้องชาร์จไฟก่อน
  • 7:43 - 7:45
    แน่นอน สตีฟสังเกตเห็นเรื่องนี้
  • 7:45 - 7:46
    และเขาพูดว่า
  • 7:46 - 7:49
    สินค้าเราจะไมเป็นแบบนั้นอย่างเด็ดขาด
  • 7:49 - 7:50
    แล้วพวกเราจะทำอย่างไร
  • 7:50 - 7:53
    โดยทั่วไปสินค้าที่มีฮาร์ดดิสอยู่ข้างใน
  • 7:53 - 7:56
    โรงงานแค่ทดสอบเครื่องเพียง 30 นาที
  • 7:56 - 7:59
    เพื่อให้แน่ใจว่าฮาร์ดดิสทำงานได้อีกหลายปี
  • 7:59 - 8:02
    หลังจากลูกค้าหยิบมัน
    ออกมาจากกล่อง
  • 8:02 - 8:05
    แล้วพวกเราทำอะไรบ้าง
  • 8:05 - 8:08
    เราทดสอบสินค้านานกว่า 2 ชั่วโมง
  • 8:08 - 8:09
    ทำไม
  • 8:09 - 8:12
    อย่างแรกสุด
    เราทำให้สินค้ามีคุณภาพสูงกว่า
  • 8:12 - 8:14
    ทดสอบได้ง่าย
  • 8:14 - 8:17
    และสร้างความมั่นใจว่าสินค้านี้
    จะยอดเยี่ยมสำหรับลูกค้า
  • 8:18 - 8:19
    แต่เรื่องที่สำคัญที่สุด
  • 8:19 - 8:22
    แบตเตอรี่ถูกชาร์จไฟเต็มแล้วก่อนแกะกล่อง
  • 8:22 - 8:23
    พร้อมใช้เลย
  • 8:23 - 8:27
    ซึ่งลูกค้าจะพอใจมาก
  • 8:27 - 8:29
    ที่ใช้สินค้าได้เลย
  • 8:29 - 8:31
    แนวทางนี้ยอดเยี่ยมมาก มันได้ผล
  • 8:31 - 8:32
    ลูกค้าชอบแบบนี้
  • 8:32 - 8:35
    ทุกวันนี้ สินค้าเกือบทุกอย่าง
    ที่ต้องใช้แบตเตอรี่
  • 8:35 - 8:38
    จะถูกชาร์จเต็มมาแล้ว
  • 8:38 - 8:40
    แม้แต่สินค้าที่ไม่มีฮาร์ดไดรว์
  • 8:40 - 8:45
    มองย้อนกลับไป เราสังเกต
    เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วเราแก้ปัญหาได้
  • 8:45 - 8:47
    แล้วทุกวันนี้ทุกคนก็ทำแบบเดียวกัน
  • 8:47 - 8:50
    ไม่มีอีกแล้วที่จะต้องชาร์จไฟก่อนใช้
  • 8:51 - 8:53
    ทำไมผมถึงเล่าเรื่องนี้ให้พวกคุณฟัง
  • 8:53 - 8:55
    เพราะมันคือปัญหาที่ผู้คนมองไม่เห็น
  • 8:55 - 8:59
    ไมใช่ปัญหาที่เห็นชัดเจนแล้ว
    และนี่คือจุดสำคัญ
  • 8:59 - 9:02
    ไม่ใช่แค่การออกแบบสินค้า
    แต่เป็นทุกอย่างที่เราทำ
  • 9:03 - 9:06
    คุณรู้ มีปัญหาที่มองไม่เห็นอยู่รอบตัวเรา
  • 9:06 - 9:08
    เรื่องที่เราแก้ปัญหาได้
  • 9:08 - 9:12
    อันดับแรกเราต้องเห็น และรับรู้ถึงพวกมัน
  • 9:13 - 9:15
    ผมลังเลใจที่จะบอกเคล็ดลับเล็กน้อย
  • 9:15 - 9:18
    เกี่ยวกับความคุ้นเคยหรือจิตวิทยา
  • 9:18 - 9:21
    ในชุมชน TED มีคนมีประสบการณ์มากมาย
  • 9:21 - 9:24
    ที่รู้อะไรมากกว่าผมเสียอีก
  • 9:24 - 9:27
    แต่ผมจะบอกเคล็ดลับเล็กน้อยที่ผมใช้อยู่
  • 9:27 - 9:30
    เรื่องที่เราสามารถทำได้
    ในการต่อสู้กับความคุ้นเคย
  • 9:30 - 9:34
    เคล็ดลับอย่างแรกคือ จงมองภาพรวม
  • 9:34 - 9:36
    คุณรู้ดี เมื่อคุณเจอปัญหา
  • 9:36 - 9:39
    บางครั้งมีหลายอย่างมากที่นำไปสู่ปัญหา
  • 9:39 - 9:42
    และบางครั้งมีหลายอย่างตามมาสร้างปัญหาอีก
  • 9:42 - 9:46
    ถ้าคุณมองย้อนกลับไปแล้วมองอย่างกว้าง ๆ
  • 9:46 - 9:48
    บางทีคุณอาจเปลี่ยนปัญหาในกล่องนั้นได้
  • 9:48 - 9:49
    ก่อนจะเกิดปัญหา
  • 9:49 - 9:50
    บางทีควรรวบเข้าด้วยกัน
  • 9:50 - 9:54
    บางทีแยกออกจากกันแล้วทำให้มันดีขึ้น
  • 9:54 - 9:56
    ตัวอย่างเช่น ตัวควบคุมอุณหภูมิ
  • 9:56 - 10:00
    ซึ่งออกขายครั้งแรกในยุคปี 1900
    มันใช้งานได้ง่ายมาก
  • 10:00 - 10:02
    ปรับเพียงแค่ให้ร้อนขึ้นหรือเย็นลง
  • 10:02 - 10:03
    ทุกคนใช้งานได้
  • 10:04 - 10:06
    แต่ในยุค 1970
  • 10:06 - 10:08
    วิกฤตพลังงานส่งผลกระทบอย่างรุนแรง
  • 10:08 - 10:11
    ลูกค้าพากันให้ความสนใจการประหยัดพลังงาน
  • 10:11 - 10:13
    แล้วอะไรเกิดขึ้น
  • 10:13 - 10:16
    นักออกแบบควบคุมอุณหภูมิ
    เพิ่มคุณสมบัติใหม่เข้าไป
  • 10:16 - 10:18
    แทนที่จะปรับแค่อุณหภูมืขึ้นลง
  • 10:18 - 10:20
    แต่คุณต้องตั้งค่าต่าง ๆ ให้กับเครื่อง
  • 10:20 - 10:23
    เพื่อให้กำหนดอุณหภูมิได้ในเวลาที่ต้องการ
  • 10:23 - 10:25
    ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่เยี่ยมมาก
  • 10:25 - 10:28
    ตัวควบคุมอุณภูมิทุกตัว
    พากันเพิ่มคุณสมบัตินี้เข้าไปด้วย
  • 10:28 - 10:32
    ผลลัพท์กลับกลายเป็นว่าทุกคน
    ไม่ช่วยประหยัดพลังงานเลย
  • 10:32 - 10:34
    ทำไมถึงเป็นเช่นนี้
  • 10:34 - 10:37
    แน่นอน คนเราไม่สามารถทำนายอนาคตได้
  • 10:37 - 10:40
    ไม่มีใครรู้ว่าแต่ละสัปดาห์
    ฤดูกาลเปลี่ยนฤดูกาลแล้วฤดูกาลเล่า
  • 10:40 - 10:42
    ปีแล้วปีเล่า
  • 10:42 - 10:45
    จึงไม่มีใครที่ช่วยประหยัดพลังงานเลย
  • 10:45 - 10:46
    แล้วอะไรเกิดขึ้น
  • 10:46 - 10:48
    นักออกแบบตัวควบคุมอุณหภูมิ
    หันกลับไปมองการออกแบบสินค้า
  • 10:48 - 10:50
    แล้วเน้นไปที่เรื่องการตั้งค่าโปรแกรม
  • 10:51 - 10:53
    พัฒนาส่วนสื่อสารกับผู้ใช้งานให้ดีขึ้น
  • 10:53 - 10:56
    พัฒนาเอกสารข้อมูลให้ดีขึ้น
  • 10:56 - 11:00
    แต่กระนั้น หลายปีต่อมา
    ผู้คนก็ยังไม่ช่วยกันประหยัดพลังงาน
  • 11:00 - 11:03
    เพราะไม่มีใครทำนายอนาคตได้
  • 11:03 - 11:05
    แล้วเราได้ทำอะไรไปบ้าง
  • 11:05 - 11:09
    เราทำให้เครื่องจักรเรียนรู้ได้เอง
    แทนที่กำหนดโปรแกรมให้ทั้งดุ้น
  • 11:09 - 11:12
    ซึ่งสามารถติดตามดูเรา
    เมื่อเราปรับอุณหภูมิขึ้นลง
  • 11:12 - 11:14
    เมื่อคุณชอบให้มีอุณหภูมิพอดีเป๊ะ
    ยามตื่นนอน
  • 11:14 - 11:16
    หรือยามไม่อยู่บ้าน
  • 11:16 - 11:17
    แล้วคุณรู้อะไรอีกบ้าง
  • 11:17 - 11:18
    มันได้ผล
  • 11:18 - 11:22
    ทุกคนช่วยประหยัดพลังงานได้
    โดยไม่ต้องกำหนดโปรแกรม
  • 11:23 - 11:25
    ดังนั้น ไม่สำคัญว่ากำลังทำอะไร
  • 11:25 - 11:29
    ถ้าย้อนกลับไปมองประเด็น
    ปัญหาทั้งหมดในกล่อง
  • 11:29 - 11:32
    อาจมีทางที่ดึงออกมาเรื่องหนึ่ง
    หรือรวมเรื่องเข้าด้วยกัน
  • 11:32 - 11:34
    ด้วยวิธีการนี้
    ทำให้กระบวนการง่ายขึ้นมาก
  • 11:35 - 11:38
    นี่คือเคล็ดลับแรกสุดของผม มองอย่างกว้าง ๆ
  • 11:38 - 11:42
    เคล็ดลับที่สอง มองให้ใกล้ ๆ
  • 11:42 - 11:45
    ปู่ผมคือหนึ่งในครูที่ยิ่งใหญ่
  • 11:47 - 11:49
    ท่านสอนผมเรื่องต่าง ๆ ในโลก
  • 11:50 - 11:53
    สอนผมว่าสร้างอย่างไรและซ่อมอย่างไร
  • 11:53 - 11:57
    เครื่องมือและเทคนิคที่จำเป็น
    เพื่อทำงานให้สำเร็จ
  • 11:58 - 12:02
    ผมจำเรื่องหนึ่งได้ ท่านบอกผม
    เกี่ยวกับสกรูประเภทต่าง ๆ
  • 12:02 - 12:06
    ต้องใช้สกรูแบบไหนให้ถูกกับงาน
  • 12:06 - 12:08
    เพราะมีสกรูหลายแบบมาก
  • 12:08 - 12:12
    สกรูงานไม้ งานเหล็ก งานแขวน งานคอนกรีต
  • 12:12 - 12:14
    แบบแล้วแบบเล่า
  • 12:15 - 12:18
    งานของพวกเราคือสร้างสินค้าที่ใช้งานง่าย
  • 12:18 - 12:22
    แบบที่ลูกค้าจะทำได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งมืออาชีพ
  • 12:23 - 12:24
    แล้วพวกเราจะทำอย่างไร
  • 12:25 - 12:28
    ผมยังจำเรื่องที่ปู่ผมเล่าได้
  • 12:28 - 12:29
    เราคิดกันว่า
  • 12:29 - 12:31
    ะต้องใช้สกรูกี่ตัวกับไอพอดตัวนี้
  • 12:31 - 12:34
    2, 3, 4, 5 ตัวหรือไม่
  • 12:34 - 12:37
    เพราะมีรูปทรงกับด้านที่แตกต่างกัน
  • 12:37 - 12:39
    เราคิด และเราทำให้มันได้ผลดีที่สุด
  • 12:39 - 12:43
    เราไปจบที่การใช้สกรูสามแบบ
  • 12:44 - 12:46
    เราคิดว่าแก้ปัญหานี้ได้แล้ว
  • 12:46 - 12:49
    แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น
  • 12:50 - 12:51
    และถ้าเราส่งมอบสินค้า
  • 12:51 - 12:54
    ผู้คนจะไม่รู้สึกว่า
    ได้รับประสบการณ์ที่ดี
  • 12:54 - 12:55
    แล้วเราทำอย่างไรอีก
  • 12:55 - 12:57
    เรากลับไปทบทวนบนกระดานร่างแบบ
  • 12:57 - 13:01
    และเราก็แก้ปัญหาได้ทันที
    เมื่อค้นพบว่าเราแก้ปัญหาผิดจุด
  • 13:01 - 13:04
    เราจึงออกแบบสกรูพิเศษ สกรูของลูกค้า
  • 13:04 - 13:06
    ทำให้นักลงทุนผิดหวังมากเรื่องนี้
  • 13:06 - 13:10
    พวกเขาคิดว่า ทำใมเสียเวลาไปมากมาย
    กับสกรูตัวเล็ก ๆ เพียงตัวเดียว
  • 13:10 - 13:12
    อย่าไปทำมัน ไปขายให้มากขึ้น
  • 13:12 - 13:15
    เราตอบกลับไปว่าเราจะขายได้มาก
    ถ้าเราทำเรื่องนี้ได้ถูกต้อง
  • 13:16 - 13:18
    แล้วก็สำเร็จ เราทำได้
  • 13:18 - 13:21
    สกรูตัวเล็กของลูกค้า
    ซึ่งใช้เพียงตัวเดียวในเครื่อง
  • 13:21 - 13:24
    ง่ายต่อการเชื่อมต่อและการแขวนบนกำแพง
  • 13:26 - 13:32
    ถ้าเราใส่ใจกับรายละเอียด
    เล็กน้อยที่เรามักมองไม่เห็น
  • 13:32 - 13:34
    เราเห็นมันแล้วพูดว่า
  • 13:34 - 13:36
    มันสำคัญ
  • 13:36 - 13:38
    หรือเรามักจะสร้างมันแบบนั้น
  • 13:38 - 13:41
    มีวิธีใดบ้างที่จะลดทอนชิ้นส่วนลง
  • 13:42 - 13:47
    เคล็ดลับสุดท้ายของผม
    ให้คิดแบบคนหนุ่มสาว
  • 13:48 - 13:53
    ทุกวันผมมักพบกับปัญหา
    ที่น่าสนใจจากลูกสามคนที่บ้าน
  • 13:53 - 13:54
    ลูก ๆ มักมาพร้อมกับคำถาม เช่น
  • 13:54 - 13:57
    ทำไมรถยนต์จึงบินวนไปมาไม่ได้
  • 13:58 - 14:01
    หรือ ทำไมไม่ใช้แผ่นหนามเตยแทนเชือกผูกรองเท้า
  • 14:02 - 14:04
    คำถามบางครั้งก็หลักแหลมมาก
  • 14:05 - 14:08
    ลูกมาหาผมในวันหนึ่ง แล้วผมขอให้เขา
  • 14:08 - 14:11
    ไปเปิดดูอีเมล์
  • 14:11 - 14:15
    ลูกมองมาที่ผมอย่างงง ๆ แล้วพูดว่า
  • 14:15 - 14:20
    ทำไมกล่องอีเมล์ไม่เช็คตัวมันเอง
    แล้วบอกเราว่ามีอีเมล์ (เสียงหัวเราะ)
  • 14:20 - 14:24
    ผมชอบ เป็นคำถามที่ดีและฉลาดมาก
  • 14:25 - 14:27
    ลูก ๆ มีคำถามอื่นอีกมากมาย
  • 14:27 - 14:32
    บางครั้งเราตอบได้
    แต่บางครั้งเราก็ไม่มีคำตอบ
  • 14:32 - 14:38
    เรามักพูดว่า ลูกเอ๋ย
    ธรรมดาของโลกก็เป็นอย่างนี้แหละ
  • 14:38 - 14:41
    แน่ละ ยิ่งเรามองเห็นของบางอย่างเป็นประจำ
  • 14:41 - 14:43
    เรายิ่งเคยชินกับมัน
  • 14:43 - 14:45
    แต่เด็กยังไม่เคยเห็นมากพอ
  • 14:45 - 14:47
    หรือเคยชินกับของเหล่านี้
  • 14:47 - 14:49
    และเมื่อเด็กพบเจอกับปัญหา
  • 14:49 - 14:51
    เด็กจะรีบเร่งแก้ไขปัญหาทันที
  • 14:51 - 14:54
    บางครั้งก็พบหนทางที่ดีกว่า
  • 14:54 - 14:56
    หนทางที่ดีกว่ามาก
  • 14:56 - 15:02
    ดังนั้น คำแนะนำที่ผมถือว่าสำคัญมาก
    คือการมีคนหนุ่มสาวร่วมทีม
  • 15:02 - 15:04
    หรืออย่างน้อยก็มีคนที่มีจิตใจหนุ่มสาว
  • 15:04 - 15:07
    เพราะถ้าคุณมีคนจิตใจหนุ่มสาว
  • 15:07 - 15:10
    จะทำให้ทุกคนในห้องคิดแบบคนหนุ่มสาว
  • 15:10 - 15:14
    ปิกัสโซ่เคยพูดว่า เด็กทุกคนเป็นศิลปิน
  • 15:15 - 15:20
    แต่ปัญหาคือเมื่อพวกเขาโตขึ้น
    ทำอย่างไรจึงรักษาความเป็นศิลปินนี้ไว้ได้
  • 15:22 - 15:26
    เราทุกคนมองโลกอย่างละเอียดละออ
    เมื่อเราพบเห็นมันครั้งแรก
  • 15:26 - 15:28
    ก่อนที่ช่วงเวลาแห่งนิสัยจะเข้ามาแทนที่
  • 15:29 - 15:31
    เรื่องท้าทายของเราคือ การกลับไปจุดเดิม
  • 15:31 - 15:34
    ให้รู้สึกหงุดหงิดใจ
  • 15:34 - 15:36
    ให้เห็นรายละเอียดปลีกย่อย
  • 15:36 - 15:38
    ให้มองอย่างกว้าง ๆ
  • 15:38 - 15:39
    ให้มองอย่างใกล้ชิด
  • 15:39 - 15:41
    แล้วคิดแบบคนหนุ่มสาว
  • 15:42 - 15:44
    จะทำให้เราเป็นพวกมือใหม่หัดขับ
  • 15:44 - 15:45
    ไม่ใช่ง่าย
  • 15:45 - 15:47
    เพราะเราต้องย้อนกลับไป
  • 15:47 - 15:50
    สงสัยกับเรื่องธรรมดาสามัญที่สุด
    เรื่องที่เราเคยชินกับมันมาก่อน
  • 15:52 - 15:53
    แต่ถ้าเราทำได้
  • 15:53 - 15:55
    เราจะสร้างสิ่งที่สวยงามมหัศจรรย์ได้
  • 15:55 - 15:58
    สำหรับผม ผมหวังว่านั่นจะเป็น
    การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดียิ่งขึ้น
  • 15:59 - 16:04
    สำหรับพวกคุณ อาจจะเป็นสิ่งอื่น ๆ
    ที่มีอิทธิพลกับคุณ
  • 16:06 - 16:09
    เรื่องท้าทายของเราคือ
    การตื่นขึ้นมาแล้วพูดว่า
  • 16:09 - 16:12
    ฉันจะเรียนรู้โลกให้ดีขึ้นได้อย่างไร
  • 16:12 - 16:17
    และถ้าเราทำได้ บางที แค่บางที
  • 16:17 - 16:21
    เราอาจขจัดสติกเกอร์งี่เง่าแผ่นเล็กนี้ได้
  • 16:22 - 16:24
    ขอบคุณมากครับ
  • 16:24 - 16:26
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ความลับข้อแรกของการออกแบบคือ ... การสังเกต
Speaker:
โทนี่ ฟาเดลล์ (Tony Fadell)
Description:

คนเราคุ้นเคยกับเรื่องที่ธรรมดามากได้อย่างรวดเร็ว แต่สำหรับนักออกแบบ เรื่องที่ธรรมดามากกลับสร้างโอกาสในการคิด ว่าจะทำให้สิ่งนี้ให้ดีขึ้นได้หรือไม่ และจะทำอย่างไรในปาฐกถาที่สนุกสนานฟังง่ายนี้ ผู้ที่ทำงานเบื้องหลัง iPod และเครื่องวัดอุณหภูมิ Nest ได้แบ่งปันเคล็ดลับส่วนตัวในการสังเกตและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:41
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The first secret of design is ... noticing
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The first secret of design is ... noticing
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The first secret of design is ... noticing
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The first secret of design is ... noticing
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The first secret of design is ... noticing
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The first secret of design is ... noticing
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for The first secret of design is ... noticing
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for The first secret of design is ... noticing
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions