Return to Video

วิทยาศาสตร์ที่ทำให้คุณหัวเราะ แล้วครุ่นคิด

  • 0:05 - 0:08
    จอห์นและชาร์ลอต บลอนสกีส์ ผู้ซึ่ง
  • 0:08 - 0:12
    เป็นคู่สมรสที่อาศัยอยู่ที่
    บรอนซ์ ในนิวยอร์ค ซิตี้
  • 0:12 - 0:13
    สร้างอะไรบางอย่าง
  • 0:13 - 0:17
    พวกเขาได้สิทธิบัตรในปี 1965
    สำหรับสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า
  • 0:17 - 0:23
    "อุปกรณ์สำหรับช่วยผู้หญิงในการคลอด"
  • 0:23 - 0:26
    อุปกรณ์นี้ประกอบด้วยโต๊ะกลมขนาดใหญ่
  • 0:26 - 0:28
    และส่วนกลไก
  • 0:28 - 0:31
    เมื่อผู้หญิงพร้อมที่จะคลอดลูก
  • 0:31 - 0:33
    เธอนอนหงาย
  • 0:33 - 0:35
    เธอถูกตรึงไว้กับโต๊ะ
  • 0:35 - 0:38
    และโต๊ะก็ถูกหมุนด้วยความเร็วสูง
  • 0:38 - 0:42
    เด็กก็จะลอยออกมา
  • 0:42 - 0:49
    ด้วยแรงสู่ศูนย์กลาง
  • 0:50 - 0:54
    ถ้าคุณดูที่สิทธิบัตรนี้ดีๆ
  • 0:54 - 0:58
    โดยเฉพาะถ้าคุณมีพื้นฐานทางวิศวกรรม
    หรือมีพรสวรรค์แล้วล่ะก็
  • 0:58 - 1:00
    คุณอาจคิดว่าคุณเห็น
  • 1:00 - 1:06
    หนึ่งหรือสองจุดที่ซึ่งการออกแบบนั้น
    ไม่คอยจะสมบูรณ์เท่าไหร่ (เสียงหัวเราะ)
  • 1:06 - 1:09
    คุณหมอ ไอวาน ชเวป ในแคลิฟอเนีย
  • 1:09 - 1:11
    เป็นคนหนึ่ง
    ที่เป็นตัวตั้งตัวตี
  • 1:11 - 1:13
    ในการช่วยตอบคำถามว่า
  • 1:13 - 1:18
    "ทำไมนกหัวขวานไม่ปวดหัว"
  • 1:18 - 1:19
    คำตอบสำหรับคำถามนี้คือ
  • 1:19 - 1:22
    เพราะสมองของพวกมัน
  • 1:22 - 1:23
    ถูกบรรจุอยู่ในกระโหลก
  • 1:23 - 1:26
    ในแบบที่แตกต่าง
  • 1:26 - 1:28
    จากสมองของเรา เราที่เป็นมนุษย์
  • 1:28 - 1:32
    จริงอยู่ มีสมองที่ถูกบรรจุเอาไว้
  • 1:32 - 1:35
    นกหัวขวาน ตามปกติพวกมัน
  • 1:35 - 1:37
    จะจิก พวกมันจะโขกหัว
  • 1:37 - 1:42
    กับชิ้นไม้เป็นพันๆ ครั้งต่อวัน
    ทุกวัน
  • 1:42 - 1:44
    เท่าที่ใครสักคนจะทราบ
  • 1:44 - 1:45
    นั่นไม่ได้กวนใจอะไรมันสักนิด
  • 1:45 - 1:48
    มันเกิดขึ้นได้อย่างไรกัน
  • 1:48 - 1:51
    สมองของพวกมันไม่ได้กระเฉาะไปมาอย่างของเรา
  • 1:51 - 1:53
    สมองของพวกมันถูกบรรจุได้ไว้อย่างแน่นหนามาก
  • 1:53 - 1:56
    อย่างน้อยก็สำหรับการอัดที่มาจากข้างหน้า
  • 1:56 - 1:58
    มีไม่กี่คนที่ให้ความสนใจ
  • 1:58 - 2:01
    กับการวิจัยนี้จนกระทั่งไม่กี่ปีที่ผ่านมา
  • 2:01 - 2:04
    โดยเฉพาะในประเทศนี้
  • 2:04 - 2:05
    เมื่อคนสงสัยเกี่ยวกับว่า
  • 2:05 - 2:07
    มันเกิดอะไรขึ้นกับสมองของนักฟุตบอล
  • 2:07 - 2:10
    ที่เอาหัวโขกกันซ้ำๆ
  • 2:10 - 2:15
    และนกหัวขวานอาจเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น
  • 2:15 - 2:17
    มีเอกสารถูกตีพิมพ์
  • 2:17 - 2:19
    ในวารสารทางการแพทย์
    เดอะ แลนเซท (The Lancet)
  • 2:19 - 2:20
    ในอังกฤษไม่กี่ปีก่อน ชื่อว่า
  • 2:20 - 2:28
    "ชายผู้ซึ่งแทงนิ้วตัวเอง
    และดมกลิ่นเน่าๆ เป็นเวลา 5 ปี"
  • 2:28 - 2:30
    ดร. คาโรไลน์ มิลส์ และคณะ
  • 2:30 - 2:34
    รับคนไข้คนนี้ และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี
  • 2:34 - 2:36
    นิ้วของชายคนนี้ถูกบาด
  • 2:36 - 2:39
    เขาทำงานในการแปรรูปไก่
  • 2:39 - 2:42
    และหลังจากที่เขาเริ่มมีกลิ่นแย่ๆ
  • 2:42 - 2:43
    จนเมื่อเขาเข้าไปในห้อง
  • 2:43 - 2:44
    กับหมอและพยาบาล
  • 2:44 - 2:47
    พวกเขาทนอยู่ร่วมกับชายคนนี้ไม่ได้
  • 2:47 - 2:49
    มันสุดจะทานทน
  • 2:49 - 2:50
    พวกเขาลองใช้ยาทุกอย่าง
  • 2:50 - 2:52
    ทุกการรักษาที่คิดออก
  • 2:52 - 2:54
    หนึ่งปีหลังจากนั้น เขายังคงมีกลิ่นเน่า
  • 2:54 - 2:56
    สองปีหลังจากนั้น ก็มีกลิ่นเหม็นเน่า
  • 2:56 - 2:59
    สามปี สี่ปี ก็ยังมีกลิ่มเน่า
  • 2:59 - 3:02
    หลังจากห้าปี กลิ่นก็หายไปเองของมัน
  • 3:02 - 3:06
    มันเป็นปริศนา
  • 3:06 - 3:08
    ในนิวซีแลนด์ ดร.ลินน์ เพอร์คิน
  • 3:08 - 3:14
    และคณะ ได้ทดสอบประเพณีเก่าแก่
    ในเมืองของเธอ
  • 3:14 - 3:17
    พวกเขาอยู่ในเมืองที่มีภูเขาขนาดใหญ่
  • 3:17 - 3:18
    เขาแบบในซานฟรานซิสโก
  • 3:18 - 3:20
    และในฤดูหนาวที่นั่น มันก็หนาวมาก
  • 3:20 - 3:22
    และมีน้ำแข็งเต็มไปหมด
  • 3:22 - 3:23
    มีผู้ได้รับบาดเจ็บมากมาย
  • 3:23 - 3:25
    ประเพณีที่พวกเขาทดสอบ
  • 3:25 - 3:27
    ทดสอบโดยขอให้ผู้คน
  • 3:27 - 3:29
    ผู้ที่กำลังเดินทางไปทำงานในตอนเช้า
  • 3:29 - 3:31
    ให้หยุดและลองทำอะไรบางอย่าง
  • 3:31 - 3:33
    ลองหนึ่งในสองข้อกำหนด
  • 3:33 - 3:36
    ประเพณีก็คือ ในฤดูหนาว
  • 3:36 - 3:41
    ในเมืองนั้น คุณสวมถุงเท้า
    ไว้ข้างนอกรองเท้าบูท
  • 3:41 - 3:44
    และที่พวกเขาค้นพบโดยการทดลองคือ
  • 3:44 - 3:46
    และมันก็ค่อนข้างชัดเจนเมื่อพวกเขามองมัน
  • 3:46 - 3:48
    มันเป็นจริงหรือไม่
  • 3:48 - 3:51
    ถ้าคุณสวมถุงเท้าไว้ข้างนอก
    แทนที่จะเป็นข้างใน
  • 3:51 - 3:57
    คุณจะมีโอกาสรอดและไม่ลื่นหกล้ม
    มากกว่า
  • 3:57 - 4:02
    ทีนี้ ผมหวังว่าคุณจะเห็นด้วยกับผม
    ว่าสิ่งเหล่านี้
  • 4:02 - 4:04
    ที่ผมบรรยายให้คุณฟัง
  • 4:04 - 4:10
    แต่ละเรื่อง สมควรได้รับรางวัลอะไรสักอย่าง
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:10 - 4:12
    และนั่นเป็นเหตุว่าทำไมพวกเขาจึงได้
  • 4:12 - 4:15
    พวกเขาแต่ละคนได้รับรางวัลอิ๊กโนเบล
    (Ig Nobel prize)
  • 4:15 - 4:19
    ในปี 1991 ผมกับคนอื่นๆ
  • 4:19 - 4:22
    ริเริ่มงานประกาศรางวัลอิ๊กโนเบล
  • 4:22 - 4:25
    ทุกปี เรามอบรางวัล 10 รางวัล
  • 4:25 - 4:32
    รางวัลพวกนี้ขึ้นอยู่กับแค่เกณฑ์เดียว
    มันง่ายมากครับ
  • 4:32 - 4:38
    ซึ่งก็คือ คุณได้ทำอะไรสักอย่าง
    ที่ทำให้คนขำ แล้วก็ฉุดคิด
  • 4:38 - 4:42
    สิ่งที่คุณได้ทำทำให้คนขำ แล้วก็ฉุดคิด
  • 4:42 - 4:44
    ไม่ว่ามันจะเป็นอะไร มันมีอะไรบางอย่าง
  • 4:44 - 4:47
    ที่เมื่อคนเผชิญกับมันตอนแรก
  • 4:47 - 4:50
    การตอบสนองเดียวของพวกเขาคือขำ
  • 4:50 - 4:52
    และจากนั้นหนึ่งสัปดาห์
  • 4:52 - 4:54
    มันยังคงวนอยู่ในหัวของพวกเขา
  • 4:54 - 4:56
    และที่พวกเขาอยากจะทำก็คือ
    เล่าให้เพื่อนๆ ฟัง
  • 4:56 - 4:58
    นั่นเป็นคุณสมบัติที่เรามองหา
  • 4:58 - 5:01
    ทุกปี เราเข้าไปยังเพื่อนบ้าน
  • 5:01 - 5:06
    ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อใหม่ราว 9,000 ราย
    สำหรับอิ๊กโนเบล
  • 5:06 - 5:09
    แน่ละ ระหว่าง 10 เปอร์เซ็นต์
  • 5:09 - 5:11
    และ 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ได้รับการเสนอขื่อ
  • 5:11 - 5:15
    คือคนที่เสนอชื่อตัวเอง
  • 5:15 - 5:19
    คนที่เสนอตัวเองเหล่านั้นแทบจะไม่เคยชนะ
  • 5:19 - 5:23
    ตามตัวเลขแล้ว มันยากมาก
    ที่คุณจะชนะรางวัล ถ้าคุณอยากได้มัน
  • 5:23 - 5:25
    แม้ว่าคุณจะไม่ต้องการ
  • 5:25 - 5:28
    มันก็ยากมากๆ ในทางสถิติ
  • 5:28 - 5:31
    คุณควรรู้ไว้ว่าเมื่อเราเลือกใครสักคน
  • 5:31 - 5:33
    ให้ชนะรางวัลอิ๊กโนเบล
  • 5:33 - 5:36
    พวกเราติดต่อกับคนคนนั้นอย่างเงียบๆ
  • 5:36 - 5:39
    พวกเราให้โอกาสพวกเขาในการปฏิเสธ
  • 5:39 - 5:42
    เกียรติอันยิ่งใหญ่นี้ ถ้าพวกเขาต้องการ
  • 5:42 - 5:46
    พวกเรายินดีมาก
    ที่แทบจะทุกคนที่ได้รับเสนอรางวัล
  • 5:46 - 5:49
    ตัดสินใจที่จะรับรางวัล
  • 5:49 - 5:52
    คุณจะได้อะไรถ้าคุณชนะรางวัลอิ๊กโนเบล
  • 5:52 - 5:54
    คุณจะได้สองสามอย่างครับ
  • 5:54 - 5:57
    คุณได้รางวัลอิ๊กโนเบล
  • 5:57 - 5:59
    การออกแบบนั้นจะแตกต่างกันไปทุกปี
  • 5:59 - 6:04
    มันจะเป็นงานทำมือจากวัสดุราคาถูกๆ เสมอ
  • 6:04 - 6:06
    คุณกำลังมองภาพ
  • 6:06 - 6:10
    ของรางวัลที่เราให้เมื่อปีที่แล้ว 2013
  • 6:10 - 6:12
    รางวัลทั่วไปในโลกนี้ยังให้เงิน
  • 6:12 - 6:17
    กับผู้ชนะอีกด้วย
  • 6:17 - 6:18
    เราไม่มีเงิน
  • 6:18 - 6:19
    เราก็เลยให้พวกเขาไม่ได้
  • 6:19 - 6:22
    อันที่จริง ผู้ชนะต้องจ่ายค่าเดินทางเอง
  • 6:22 - 6:25
    เพื่อมารับรางวัลอิ๊กโนเบล
  • 6:25 - 6:27
    ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำกัน
  • 6:27 - 6:30
    ปีที่แล้ว เราได้เงินมา
  • 6:30 - 6:34
    ปีที่แล้วผู้ชนะรางวัลอิ๊กโนเบลทุก 10 คน
  • 6:34 - 6:40
    จะได้รับเงิน 10 ล้านล้านดอลลาร์
  • 6:40 - 6:45
    10 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์ซิมบับเวย์น่ะครับ
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:45 - 6:48
    คุณอาจจำได้ว่าซิมบับเวย์ต้องผจญภัยนิดหน่อย
  • 6:48 - 6:51
    เป็นเวลาสองสามปีกับภาวะเงินเฟ้อ
  • 6:51 - 6:53
    พวกเขาพิมพ์ธนบัตร
  • 6:53 - 6:56
    ที่มีหน่วยเงินใหญ่มากถึง 100 ล้านล้านดอลล่าร์
  • 6:56 - 6:59
    ชายผู้รับผิดชอบดูแลแบงค์ชาติ
  • 6:59 - 7:02
    เขาชนะรางวัลอิ๊กโนเบลสาขาคณิตศาสตร์ด้วย
  • 7:02 - 7:04
    อีกอย่างที่คุณได้ คือคำเชิญ
  • 7:04 - 7:05
    ให้มางานประกาศรางวัล
  • 7:05 - 7:07
    ซึ่งมีขึ้นที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาด
  • 7:07 - 7:08
    และเมื่อคุณไปที่นั่น
  • 7:08 - 7:11
    คุณจะไปที่ที่ชุมนุมที่ใหญ่ทึ่สุดของฮาวาร์ด
  • 7:11 - 7:12
    มันจุคนได้ 1,100 คน
  • 7:12 - 7:13
    คนที่แน่นเป็นแผง
  • 7:13 - 7:14
    ยาวไปจนถึงเวที
  • 7:14 - 7:16
    รอที่จะได้สัมผัสมือคุณ
  • 7:16 - 7:18
    รอที่จะได้มอบรางวัลอิ๊กโนเบลให้กับคุณ
  • 7:18 - 7:21
    คือผู้ชนะรางวัลโนเบล
  • 7:21 - 7:22
    มันเป็นหัวใจของงานประกาศรางวัล
  • 7:22 - 7:24
    ชื่อผู้ชนะถูกเก็บเป็นความลับจนถึงวินาทีนี้น
  • 7:24 - 7:27
    แม้แต่ผู้ได้รับรางวัลโนเบลที่มาจับมือด้วย
  • 7:27 - 7:30
    ก็ไม่รู้ว่าผู้ชนะเป็นใครจนกว่าจะมีการประกาศ
  • 7:30 - 7:33
    ผมจะบอกคุณเกี่ยวกับ
  • 7:33 - 7:36
    รางวัลสองสามอย่างที่เราให้
    ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์
  • 7:36 - 7:38
    จำไว้นะครับว่าเราให้ 230 รางวัล
  • 7:38 - 7:41
    มีคนมากมายเหล่านี้ที่ปะปนอยู่กับคุณ
  • 7:41 - 7:43
    บางทีคุณอาจเป็นหนึ่งในนั้น
  • 7:43 - 7:45
    เอกสารวิชาการที่ตีพิมพ์
    ประมาณ 30 ปีก่อน
  • 7:45 - 7:47
    มีชื่อว่า
    "การบาดเจ็บอันเนื่องมาจากมะพร้าวตกใส่"
  • 7:47 - 7:49
    เขียนโดย ดร. ปีเตอร์ บาส์
  • 7:49 - 7:52
    ชาวแคนาดา
  • 7:52 - 7:54
    ดร. บาส์ มางานประกาศรางวัล
  • 7:54 - 7:56
    และอธิบายว่าตอนที่เขาเป็นหมอหนุ่ม
  • 7:56 - 7:57
    เขาต้องการที่จะเห็นโลกกว้าง
  • 7:57 - 7:59
    เขาจึงไปที่ปาปัวนิวกินี
  • 7:59 - 8:02
    เมื่อเขาไปที่นั่น เขาไปทำงานที่โรงพยาบาล
    และสงสัย
  • 8:02 - 8:07
    ว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนที่เข้ามาที่โรงพยาบาล
  • 8:07 - 8:08
    เขาดูบันทึกประวัติและพบว่า
  • 8:08 - 8:11
    มีคนจำนวนมากจนน่าตกใจ
  • 8:11 - 8:12
    ที่มาโรงพยาบาล
  • 8:12 - 8:16
    เพราะบาดเจ็บจากการที่ลูกมะพร้าวตกใส่
  • 8:16 - 8:18
    สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ
  • 8:18 - 8:22
    คนจะมาจากที่ดอน
    ที่ซึ่งมีต้นมะพร้าวไม่มาก
  • 8:22 - 8:24
    เพื่อมาเยี่ยมญาติที่อยู่ทางชายฝั่ง
  • 8:24 - 8:25
    ที่ซึ่งมีต้นมะพร้าวมากมาย
  • 8:25 - 8:27
    และพวกเขาจะคิดว่า ใต้ต้นมะพร้าว
  • 8:27 - 8:29
    ก็ดูน่ายึดเป็นที่นอนดี
  • 8:29 - 8:32
    ต้นมะพร้าวที่สูง 90 ฟุต
  • 8:32 - 8:34
    และมีมะพร้าวที่หนักสองปอนด์
  • 8:34 - 8:38
    ที่ตกลงมาได้ทุกเมื่อ
  • 8:38 - 8:40
    คณะแพทย์ในยุโรป
  • 8:40 - 8:44
    ตีพิมพ์บทความวิชาการออกมาชุดหนึ่ง
    เกี่ยวกับโคโลโนสโคปี
  • 8:44 - 8:46
    คุณคุ้นเคยกับโคโลโนสโคปี
  • 8:46 - 8:47
    ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
  • 8:47 - 8:48
    หรือในบางกรณี
  • 8:48 - 8:52
    จากทางหนึ่ง สู่อีกทาง
  • 8:52 - 8:55
    ในเอกสารพวกนี้ พวกเขา
  • 8:55 - 8:59
    อธิบายถึงเพื่อนชาวแพทย์
    ที่กระทำโคโลโนสโคปี
  • 8:59 - 9:01
    ว่าจะทำได้อย่างไรเพื่อลดโอกาส
  • 9:01 - 9:04
    ที่เมื่อคุณกระทำโคโลโนสโคปี
  • 9:04 - 9:07
    แล้วคนไข้จะระเบิด (เสียงหัวเราะ)
  • 9:07 - 9:09
    ดร. เอ็มมานูเอง เบน-โซลซัน
  • 9:09 - 9:11
    หนึ่งในผู้เขียน
  • 9:11 - 9:14
    บินมาจากปารีสเพื่อมางานประกาศรางวัล
  • 9:14 - 9:16
    เมื่อเขาได้อธิบายประวัติศาสตร์ของสิ่งนี้
  • 9:16 - 9:17
    ว่าในยุค 1950
  • 9:17 - 9:22
    เมื่อโคโลโนสโคปีกลายมาเป็น
    เทคนิคที่ใช้กันแพร่หลายเป็นครั้งแรก
  • 9:22 - 9:25
    คนพยายามหาวิธีที่ดีในการใช้
  • 9:25 - 9:28
    และก็มีปัญหาบ้างในตอนแรก
  • 9:28 - 9:31
    ปัญหาที่พบบ่อย ที่ผมคิดว่าคุณคุ้นเคย
  • 9:31 - 9:37
    ก็คือ คุณมองเข้าไปในช่องแคบๆ ยาวๆ มืดๆ
  • 9:37 - 9:40
    และคุณก็อยากจะได้ที่กว้างๆ กว่านี้
  • 9:40 - 9:42
    คุณก็ใส่ก๊าซเข้าไปเพื่อขยายมัน
  • 9:42 - 9:44
    เพื่อให้มีที่ให้ดูได้มากขึ้น
  • 9:44 - 9:47
    เอาล่ะ นั่นเป็นการเติมก๊าซมีเทน
  • 9:47 - 9:49
    ซึ่งมีอยู่ข้างในอยู่แล้ว
  • 9:49 - 9:52
    ก๊าซที่พวกเขาใช้ตอนแรก
    ในหลายๆ กรณี เป็นก๊าซออกซิเจน
  • 9:52 - 9:54
    พวกเขาเติมออกซิเจนใส่ก๊าซมีเทน
  • 9:54 - 9:56
    และจากนั้นพวกเขาต้องการที่จะเห็น
  • 9:56 - 9:57
    พวกเขาต้องการแสง
  • 9:57 - 9:58
    ดังนั้น พวกเขาจึงนำแหล่งแสงเข้าไป
  • 9:58 - 10:00
    ซึ่งในยุค 1950 มันร้อนมาก
  • 10:00 - 10:04
    พวกเขามีก๊าซมีเทนที่ติดไฟได้
  • 10:04 - 10:06
    ออกซิเจนและความร้อน
  • 10:06 - 10:11
    พวกเขาหยุดใช้ออกซิเจนอย่างด่วนเลยครับ
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:11 - 10:14
    ทีนี้มันก็ยากแล้วที่ผู้ป่วยจะระเบิด
  • 10:14 - 10:20
    แต่มันก็ยังเกิดขึ้น
  • 10:20 - 10:23
    สิ่งสุดท้ายที่ผมอยากบอกคุณก็คือ
  • 10:23 - 10:26
    รางวัลที่เรามอบให้ ดร. เอเลนา บอตเนอร์
  • 10:26 - 10:30
    ดร. เอเลนา บอตเนอร์ ประดิษฐ์ยกทรง
  • 10:30 - 10:31
    ที่ในยามฉุกเฉิน
  • 10:31 - 10:33
    สามารถถอดแยกออกได้อย่างรวดเร็ว
  • 10:33 - 10:36
    มาเป็นหน้ากากป้องกัน
  • 10:36 - 10:38
    อันหนึ่งไว้ช่วยตัวคุณเอง
  • 10:38 - 10:43
    อีกอันเอาไว้ช่วยคนใกล้ตัวผู้โชคดี
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:43 - 10:46
    คุณอาจสงสัยว่า
    ทำไมต้องมีใครมาประดิษฐ์สิ่งนี้ด้วย
  • 10:46 - 10:48
    ดร. บอตเนอร์ มางานประกาศรางวัล
  • 10:48 - 10:51
    และเธออธิบายว่า
    เธอเติบโตในยูเครน
  • 10:51 - 10:53
    เธอเป็นหมอคนหนึ่งที่รักษาคนเหยื่อ
  • 10:53 - 10:55
    ของโรงงานไฟฟ้า เซอร์โนบิล
  • 10:55 - 10:58
    ต่อมาพวกเขาพบว่า
  • 10:58 - 11:00
    ปัญหาทางสุขภาพแย่ๆ มากมาย
  • 11:00 - 11:02
    มาจากอนุภาคที่คนสูดดมเข้าไป
  • 11:02 - 11:04
    เธอคิดถึงสิ่งนี้มาตลอด
  • 11:04 - 11:05
    ว่าน่าจะมีหน้ากากง่ายๆ
  • 11:05 - 11:10
    ที่มีอยู่ทุกที่ เมื่อสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น
  • 11:10 - 11:12
    หลายปีต่อมา เธอย้ายไปยังอเมริกา
  • 11:12 - 11:12
    เธอมีลูก
  • 11:12 - 11:14
    วันหนึ่งเธอมอง และบนพื้นนั่น
  • 11:14 - 11:17
    ทารกชายของเธอหยิบยกทรงของเธอขึ้นมา
  • 11:17 - 11:19
    และปะมันไว้บนหน้า
  • 11:19 - 11:21
    และนั่นแหละที่เธอได้ความคิดนี้มา
  • 11:21 - 11:23
    เธอมายังงานประกาศรางวัลอิ๊กโนเบล
  • 11:23 - 11:25
    ด้วยยกทรงต้นแบบอันแรก
  • 11:25 - 11:30
    ที่เธอสาธิต
  • 11:30 - 11:53
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 11:58 - 12:07
    ["พอล ครักแมน ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์
    (2008)]
  • 12:29 - 12:36
    ["โวฟกัง เคทเทอเรล ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
    (2001)]
  • 12:44 - 12:47
    ผมเองก็มียกทรงฉุกเฉินนะครับ (เสียงหัวเราะ)
  • 12:47 - 12:50
    มันเป็นยกทรงโปรดเลยครับ
  • 12:50 - 12:52
    แต่ผมก็ยินดีที่จะแบ่งปันมันกับพวกคุณ
  • 12:52 - 12:54
    ถ้าเกิดมันเป็นที่ต้องการครับ
  • 12:54 - 12:55
    ขอบคุณครับ
  • 12:55 - 13:00
    (เสียงปรบมือ)
Title:
วิทยาศาสตร์ที่ทำให้คุณหัวเราะ แล้วครุ่นคิด
Speaker:
มาร์ค เอบราแฮมส์ (Marc Abrahams)
Description:

ผู้ก่อตั้งรางวัลอิ๊กโนเบล มาร์ค เอบราแฮมส์ สำรวจงานวิจัยที่ไม่เข้าท่าที่สุดในโลก ในการบรรยายที่สะกิดต่อมความคิด (และบางครั้งบางคราวก็ออกจะรั่วๆ) นี้ เขาบอกเล่าเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ที่ประหลาดจริงๆ และย้ำเตือนว่า ความบ้าบอนั้นสำคัญต่อการส่งเสริมให้สาธารณชนสนใจในวิทยาศาสตร์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:12

Thai subtitles

Revisions