Return to Video

เคล็ดลับการกล่าวปาฐกถาที่ยอดเยี่ยมของ TED

  • 0:00 - 0:03
    บางคนอาจคิดว่า TED Talk มีสูตรสำเร็จ
  • 0:03 - 0:05
    "พูดบนพรมแดงกลม ๆ "
  • 0:05 - 0:07
    "เล่าเรื่องราววัยเด็ก"
  • 0:07 - 0:09
    "เผยความลับส่วนตัว"
  • 0:09 - 0:11
    "ปิดท้ายด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ
    ให้ลงมือทำอะไรบางอย่าง"
  • 0:11 - 0:13
    ไม่ใช่เลย
  • 0:13 - 0:15
    คิดถึง TED Talk แบบนี้ไม่ถูกครับ
  • 0:15 - 0:17
    ที่จริง ถ้าคุณใช้สูตรพวกนี้มากไป
  • 0:17 - 0:21
    มีแต่จะทำให้คุณดูเฝือ
    หรือจงใจเล่นกับอารมณ์ผู้ฟังมากไป
  • 0:21 - 0:25
    แต่มีสิ่งหนึ่ง ที่ TED Talk ที่ยอดเยี่ยม
    ทุกเรื่องมีเหมือนกัน
  • 0:25 - 0:27
    และผมอยากจะแบ่งปันสิ่งนั้นกับคุณ
  • 0:27 - 0:30
    เพราะกว่า12 ปีมาแล้ว
    ที่ผมได้นั่งชิดขอบเวที
  • 0:30 - 0:35
    ได้ฟังผู้พูดที่น่าทึ่งหลายร้อยคน
    เช่นพวกเขาเหล่านี้
  • 0:35 - 0:37
    ผมช่วยเขาเตรียมปาฐกถา
    เพื่อช่วงเวลาสำคัญ
  • 0:37 - 0:39
    และเรียนรู้จากพวกเขาโดยตรง
  • 0:39 - 0:41
    ว่าเคล็ดลับของปาฐกถาที่ยอดเยี่ยมคืออะไร
  • 0:41 - 0:44
    และแม้ว่าผู้พูดเหล่านี้
    กับหัวข้อปาฐกถาของเขา
  • 0:44 - 0:45
    จะดูแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
  • 0:45 - 0:49
    แต่จริง ๆ แล้ว
    ล้วนมีส่วนผสมหลักอย่างหนึ่งเหมือนกัน
  • 0:49 - 0:51
    และนั่นก็คือ
  • 0:51 - 0:54
    งานสำคัญอันดับหนึ่งที่คุณต้องทำ
    ในฐานะผู้พูด
  • 0:54 - 0:58
    คือถ่ายโอนของขวัญสุดพิเศษ
    ไปสู่จิตใจของผู้ฟัง
  • 0:58 - 1:03
    สิ่งแปลกประหลาดและสวยงาม
    ที่เราเรียกว่า "ความคิด"
  • 1:04 - 1:05
    ผมจะอธิบายให้ฟัง
  • 1:05 - 1:07
    นี่คือเฮลีย์
  • 1:07 - 1:09
    เธอกำลังจะขึ้นพูดบนเวที TED Talk
  • 1:09 - 1:10
    เอาจริง ๆ นะ เธอกลัวแทบตาย
  • 1:10 - 1:12
    (วิดีโอ) พิธีกร: เฮลีย์ แวน ไดค์
  • 1:12 - 1:15
    (เสียงปรบมือ)
  • 1:19 - 1:20
    ตลอดเวลา 18 นาที
  • 1:20 - 1:24
    คน 1,200 คน
    ซึ่งหลายคนไม่เคยเจอกันมาก่อน
  • 1:24 - 1:29
    กลับพบว่า สมองของเขา
    กำลังเริ่มสอดประสานกับสมองของเฮลีย์
  • 1:29 - 1:30
    และสมองของกันและกัน
  • 1:30 - 1:33
    แบบแผนของคลื่นสมองของพวกเขา
    เริ่มเหมือนกันขึ้นมาจริง ๆ
  • 1:33 - 1:36
    และผมไม่ได้หมายความแค่ว่า
    เขามีอารมณ์เหมือนกันเท่านั้น
  • 1:36 - 1:39
    แต่กำลังมีบางอย่าง
    ที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่านั้นเกิดขึ้น
  • 1:39 - 1:42
    เรามาดูภายในสมองของเฮลีย์กันสักนิด
  • 1:42 - 1:46
    มีเซลล์ประสาทหลายพันล้านเซลล์
    เชื่อมต่อกันยุ่งเหยิง
  • 1:46 - 1:48
    แต่ดูนี่ครับ ตรงนี้
  • 1:48 - 1:51
    มีกลุ่มเซลล์สองสามล้านเซลล์
    ที่เชื่อมโยงกันอยู่
  • 1:51 - 1:54
    เป็นแบบแผนแทนความคิดอย่างหนึ่ง
  • 1:55 - 1:59
    และไม่น่าเชื่อครับ แบบแผนเดียวกันนี้
    กำลังถูกสร้างขึ้นพร้อมกัน
  • 1:59 - 2:02
    ในสมองของแต่ละคนที่กำลังฟังอยู่
  • 2:02 - 2:04
    ใช่ครับ ภายในไม่กี่นาที
  • 2:04 - 2:06
    แบบแผนที่เกิดจากเซลล์สมองหลายล้านเซลล์
  • 2:06 - 2:09
    กำลังถูกส่งผ่านไปสู่สมองของคน 1,200 คน
  • 2:09 - 2:12
    เพียงแค่พวกเขาฟังเสียง
    และดูสีหน้าของใครคนหนึ่ง
  • 2:13 - 2:15
    แต่เดี๋ยวนะ ว่าแต่ "ความคิด" คืออะไรนะ
  • 2:16 - 2:19
    อืม คุณสามารถมองว่า
    มันคือแบบแผนของข้อมูล
  • 2:19 - 2:22
    ที่ช่วยให้คุณเข้าใจ
    และใช้ชีวิตบนโลกนี้ก็ได้
  • 2:22 - 2:24
    ความคิดมีหลายรูปร่างและขนาด
  • 2:24 - 2:26
    จากซับซ้อน เชิงวิเคราะห์
  • 2:26 - 2:29
    ไปจนถึงแบบเรียบง่าย เชิงสุนทรีย์
  • 2:29 - 2:31
    นี่คือตัวอย่างความคิดที่แบ่งปันบนเวที TED
  • 2:32 - 2:36
    เซอร์ เคน โรบินสัน -- ความคิดสร้างสรรค์
    คือกุญแจสำคัญสู่อนาคตของลูกหลานเรา
  • 2:36 - 2:38
    (วิดีโอ) เซอร์ เคน โรบินสัน:
    ผมเชื่ออย่างหนักแน่นว่า ความคิดสร้างสรรค์
  • 2:38 - 2:42
    มีความสำคัญในการศึกษา
    พอ ๆ กับการอ่านออกเขียนได้
  • 2:42 - 2:44
    และเราควรปฏิบัติต่อมันอย่างเท่าเทียมกัน
  • 2:44 - 2:47
    คริส แอนเดอร์สัน: เอลอรา ฮาร์ดี --
    อาคารไม้ไผ่นั้นสวยงาม
  • 2:47 - 2:50
    (วิดีโอ) เอลอรา ฮาร์ดี้:
    ไม้ไผ่เติบโตอยู่รอบตัวเรา
  • 2:50 - 2:54
    มันแข็งแรง งามสง่า
    และทนทานต่อแผ่นดินไหว
  • 2:54 - 2:58
    คริส: ชิมามานดา อดิชี --
    คนเราไม่ได้มีอัตลักษณ์ด้านเดียว
  • 2:58 - 3:01
    (วิดีโอ) ชิมามานดา อดิชี:
    เรื่องราวด้านเดียวทำให้เกิดภาพเหมารวม
  • 3:01 - 3:05
    และภาพเหมารวมนั้นมีปัญหา
    ไม่ใช่เพราะว่ามันไม่จริง
  • 3:05 - 3:07
    แต่เพราะว่ามันไม่ครบรอบด้าน
  • 3:08 - 3:10
    คริส: สมองของคุณเต็มไปด้วยความคิด
  • 3:10 - 3:11
    ซึ่งไม่ได้อยู่กันสะเปะสะปะ
  • 3:11 - 3:13
    แต่มันเชื่อมโยงกันอย่างมีระบบ
  • 3:13 - 3:16
    และเมื่อรวมกันเข้า
    ก็เกิดโครงสร้างที่ซับซ้อนอย่างน่าทึ่ง
  • 3:16 - 3:19
    นั่นคือโลกทัศน์ส่วนตัวของคุณ
  • 3:19 - 3:21
    มันคือระบบปฏิบัติการของสมองคุณ
  • 3:21 - 3:23
    มันคือแนวทางที่คุณใช้ชีวิตบนโลก
  • 3:23 - 3:27
    และมันถูกสร้างขึ้นมาจาก
    ความคิดต่าง ๆ หลายล้านหน่วย
  • 3:27 - 3:30
    อย่างเช่น ถ้าส่วนประกอบเล็ก ๆ
    ของโลกทัศน์ของคุณ
  • 3:30 - 3:33
    คือความคิดว่าลูกแมวนั้นน่ารัก
  • 3:33 - 3:35
    เมื่อคุณเห็นสิ่งนี้
  • 3:35 - 3:37
    คุณก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองแบบนี้
  • 3:37 - 3:39
    แต่ถ้าส่วนประกอบอีกชิ้นหนึ่ง
    ของโลกทัศน์ของคุณ
  • 3:39 - 3:41
    คือความคิดว่าเสือดาวอันตราย
  • 3:41 - 3:43
    ดังนั้น เมื่อคุณเห็นเจ้านี่
  • 3:43 - 3:45
    คุณก็จะตอบสนองต่างออกไป
  • 3:46 - 3:47
    เข้าใจไม่ยากเลยใช่ไหมครับ
  • 3:47 - 3:51
    ว่าทำไมความคิดที่ประกอบกันขึ้น
    เป็นโลกทัศน์ของคุณจึงสำคัญมาก
  • 3:51 - 3:54
    คุณต้องการให้เครื่องนำทางนี้
    มีความเชื่อถือได้มากที่สุด
  • 3:54 - 3:58
    เพื่อนำทางคุณในโลกแห่งความจริง
    ที่น่ากลัวแต่งดงามข้างนอกนั่น
  • 3:58 - 4:02
    ทีนี้ โลกทัศน์ของคนเรา
    อาจต่างกันเยอะมาก
  • 4:02 - 4:03
    อย่างเช่น
  • 4:03 - 4:07
    จากโลกทัศน์ของคุณ
    คุณจะตอบสนองอย่างไร เมื่อคุณเห็นภาพนี้
  • 4:08 - 4:11
    (วิดีโอ) ดาเลีย โมโกเฮด:
    เวลาคุณมองฉัน คุณคิดอะไรคะ
  • 4:11 - 4:15
    "หญิงผู้มีศรัทธาในศาสนา"
    "ผู้เชี่ยวชาญ" หรือแม้แต่ "น้องสาว"
  • 4:16 - 4:20
    หรือ "คนที่ถูกกดขี่" "คนที่ถูกล้างสมอง"
  • 4:20 - 4:21
    หรือ "ผู้ก่อการร้าย"
  • 4:22 - 4:23
    คริส: ไม่ว่าคุณจะตอบว่าอะไร
  • 4:23 - 4:27
    ก็จะมีคนหลายล้านคน
    ที่จะตอบแตกต่างจากคุณไปมาก
  • 4:27 - 4:29
    นั่นคือเหตุผลว่าทำไมความคิดจึงสำคัญ
  • 4:29 - 4:33
    ถ้าสื่อสารอย่างเหมาะสม
    ความคิดก็สามารถเปลี่ยนแปลง
  • 4:33 - 4:35
    วิธีคิดที่คนเรามีต่อโลกไปตลอดกาล
  • 4:35 - 4:39
    และปรับเปลี่ยนการกระทำของเขา
    ทั้งตอนนี้และในอนาคตอีกยาวไกล
  • 4:40 - 4:43
    ความคิดเป็นแรงที่ทรงพลังที่สุด
    ที่รังสรรค์วัฒนธรรมของมนุษย์
  • 4:44 - 4:45
    ดังนั้น ถ้าคุณยอมรับว่า
  • 4:45 - 4:47
    งานสำคัญอันดับหนึ่งของคุณในฐานะผู้พูด
  • 4:47 - 4:49
    คือการสร้างความคิดขึ้นในสมองของผู้ฟัง
  • 4:50 - 4:53
    นี่คือแนวทางสี่ข้อ
    ว่าคุณจะทำงานนี้สำเร็จได้อย่างไร
  • 4:53 - 4:57
    หนึ่ง จำกัดขอบเขตปาฐกถาของคุณ
    ให้มีความคิดหลักเพียงเรื่องเดียว
  • 4:57 - 4:59
    ความคิดเป็นสิ่งซับซ้อน
  • 4:59 - 5:02
    คุณต้องตัดเนื้อหาลง เพื่อมุ่งความสนใจ
  • 5:02 - 5:05
    ไปที่ความคิดหนึ่งเดียว
    ที่คุณคลั่งไคล้มากที่สุด
  • 5:05 - 5:09
    และให้โอกาสตัวคุณเอง
    อธิบายสิ่งสิ่งเดียวนั้นให้ดี
  • 5:09 - 5:13
    คุณต้องปูพี้น เล่าตัวอย่าง
    ทำให้มันชัดเจนแจ่มแจ้ง
  • 5:13 - 5:14
    ดังนั้น เลือกหนึ่งความคิด
  • 5:14 - 5:17
    ทำให้มันเป็นเส้นเรื่องที่ร้อยผ่าน
    ตลอดทั้งปาฐกถาของคุณ
  • 5:17 - 5:21
    เพื่อให้ทุกอย่างที่คุณพูด
    เชื่อมโยงกลับไปยังความคิดนั้น
  • 5:21 - 5:25
    สอง ให้เหตุผลแก่ผู้ฟัง
    ว่าเขาทำไมเขาจึงควรใส่ใจ
  • 5:26 - 5:30
    ก่อนคุณจะเริ่มสร้างอะไรบางอย่าง
    ในสมองของผู้ฟัง
  • 5:30 - 5:32
    คุณต้องได้รับอนุญาตจากเขา
    ให้เขาต้อนรับคุณเข้าไป
  • 5:32 - 5:34
    และเครื่องมือหลักที่จะทำได้
  • 5:34 - 5:36
    ก็คือ ความอยากรู้อยากเห็น
  • 5:36 - 5:38
    กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของผู้ฟัง
  • 5:38 - 5:40
    ใช้คำถามที่ปลุกเร้า น่าฉงน
  • 5:40 - 5:44
    เพื่อชี้ให้เห็นว่ามีอะไรบางอย่างไม่ลงตัว
    และต้องการคำอธิบาย
  • 5:45 - 5:49
    ถ้าคุณสามารถเผยให้เห็น
    ส่วนที่ขาดหายไปในโลกทัศน์ของเขา
  • 5:49 - 5:52
    เขาก็จะเกิดความรู้สึก
    อยากปิดช่องว่างของความรู้นั้น
  • 5:52 - 5:54
    และเมื่อคุณจุดประกายความปรารถนานั้นแล้ว
  • 5:54 - 5:57
    การเริ่มสร้างความคิดในหัวของเขา
    มันจะง่ายขึ้นมาก
  • 5:58 - 6:01
    สาม สร้างความคิดของคุณ
    ทีละเล็กทีละน้อย
  • 6:01 - 6:05
    จากแนวคิดต่าง ๆ
    ที่ผู้ฟังของคุณเข้าใจอยู่แล้ว
  • 6:05 - 6:07
    คุณต้องใช้พลังของภาษา
  • 6:07 - 6:10
    เพื่อถักทอความคิดขึ้นมา
    จากแนวคิดต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว
  • 6:10 - 6:11
    ในหัวของผู้ฟังของคุณ
  • 6:11 - 6:14
    แต่ไม่ใช่ภาษาของคุณนะ
    ต้องเป็นภาษาของเขา
  • 6:14 - 6:15
    คุณต้องเริ่มต้นตรงจุดที่เขายืน
  • 6:15 - 6:19
    ผู้พูดหลายคนมักลืมว่าคำ
    หรือแนวคิดต่าง ๆ ที่เขาใช้อยู่ทุกวัน
  • 6:19 - 6:22
    เป็นคำที่ผู้ฟังไม่คุ้นเคยเลย
  • 6:22 - 6:27
    อุปมาอุปไมยมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้เห็นว่า
    ชิ้นส่วนต่าง ๆ ประกอบเข้ากันอย่างไร
  • 6:27 - 6:30
    เพราะมันเผยให้เห็น
    แบบแผนรูปร่างที่พึงปรารถนา
  • 6:30 - 6:34
    จากความคิดที่ผู้ฟังเข้าใจอยู่แล้ว
  • 6:34 - 6:36
    ตัวอย่างเช่น เมื่อเจนนิเฟอร์ คาห์น
  • 6:36 - 6:40
    ต้องการอธิบายเทคโนโลยีชีวภาพ
    ตัวใหม่ที่น่าทึ่ง ชื่อ CRISPR
  • 6:40 - 6:42
    เธอพูดว่า "มันเหมือนกับ
  • 6:42 - 6:45
    คุณมีโปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์
    สำหรับตัดต่อดีเอ็นเอเป็นครั้งแรก
  • 6:45 - 6:50
    CRISPR ช่วยให้คุณตัดและวาง
    ข้อมูลทางพันธุกรรมได้ง่ายมาก"
  • 6:50 - 6:54
    นี่ล่ะครับ คำอธิบายที่แจ่มแจ้งแบบนี้
    ทำให้เกิดวินาทีปิ๊งแว๊บ
  • 6:54 - 6:57
    เมื่อความคิดนั้นวิ่งเข้าไปอยู่เป็นที่เป็นทาง
    ในสมองของเรา
  • 6:57 - 7:01
    มันจึงสำคัญมาก ที่คุณต้องทดลอง
    กล่าวปาฐกถาให้เพื่อนที่ไว้ใจได้ฟัง
  • 7:01 - 7:03
    และค้นหาว่าส่วนไหนที่ทำให้เขาสับสน
  • 7:03 - 7:06
    สี่ นี่คือเทคนิคสุดท้าย
  • 7:06 - 7:09
    ทำให้ความคิดของคุณ
    มีค่าควรแก่การเผยแพร่
  • 7:09 - 7:12
    ซึ่งผมหมายถึง ให้คุณถามตัวเองว่า
  • 7:12 - 7:14
    "ใครจะได้ประโยชน์จากความคิดนี้"
  • 7:14 - 7:17
    และขอให้คุณตอบอย่างซื่อสัตย์ จริงใจ
  • 7:17 - 7:20
    ถ้าความคิดนั้นเป็นประโยชน์
    แค่กับคุณ หรือองค์กรของคุณ
  • 7:20 - 7:24
    ผมเสียใจด้วยนะ ที่ต้องบอกว่า
    มันคงไม่มีค่าควรแก่การเผยแพร่
  • 7:24 - 7:26
    ผู้ฟังเขาดูเจตนาคุณออกครับ
  • 7:26 - 7:29
    แต่ถ้าคุณเชื่อว่าความคิดนั้นมีศักยภาพ
  • 7:29 - 7:30
    ที่จะทำให้วันของใครสักคนสดใสขึ้น
  • 7:30 - 7:33
    หรือเปลี่ยนมุมมองของผู้คนไปในทางที่ดีขึ้น
  • 7:33 - 7:36
    หรือบันดาลใจให้ใครสักคน
    ทำอะไรที่แตกต่าง
  • 7:36 - 7:40
    นั่นคือคุณมีส่วนผสมหลัก
    ของปาฐกถาที่ยอดเยี่ยม
  • 7:39 - 7:43
    ที่จะเป็นของขวัญแก่ผู้ฟัง
    และพวกเราทุกคนแล้ว
Title:
เคล็ดลับการกล่าวปาฐกถาที่ยอดเยี่ยมของ TED
Speaker:
คริส แอนเดอร์สัน (Chris Anderson)
Description:

ปาฐกถาที่ยอดเยี่ยมไม่มีสูตรสำเร็จ แต่มีส่วนผสมที่เป็นเคล็ดลับซึ่งพบได้ในทุกปาฐกถาที่ดีที่สุด คริส แอนเดอร์สัน ภัณฑารักษ์ของ TED แบ่งปันเคล็ดลับนี้ วิธีทั้งสี่ที่จะทำให้คุณนำเสนอมันอย่างได้ผล คุณมีส่วนผสมสำคัญที่จะทำให้คุณแบ่งปันความคิดที่ควรค่าแก่การเผยแพร่ได้สำเร็จแล้วหรือยัง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
07:55
Thipnapa Huansuriya approved Thai subtitles for TED's secret to great public speaking
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for TED's secret to great public speaking
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for TED's secret to great public speaking
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for TED's secret to great public speaking
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for TED's secret to great public speaking
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for TED's secret to great public speaking
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for TED's secret to great public speaking
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for TED's secret to great public speaking
Show all

Thai subtitles

Revisions