Return to Video

เราเห็นความเป็นจริงอย่างที่มันเป็นหรือเปล่า

  • 0:01 - 0:03
    ผมชอบปริศนาอันยิ่งใหญ่
  • 0:03 - 0:07
    และผมตื่นเต้นกับปริศนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
    ที่ยังไม่เปิดเผยในวงการวิทยาศาสตร์
  • 0:07 - 0:09
    บางที อาจเป็นเพราะว่ามันเป็นเรื่องส่วนตัว
  • 0:10 - 0:12
    มันเกี่ยวกับว่า เรานั้นเป็นใคร
  • 0:12 - 0:14
    และผมก็ฉงนสงสัย
  • 0:14 - 0:16
    ปริศนาก็คือ
  • 0:16 - 0:20
    อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างสมองของคุณ
  • 0:20 - 0:21
    และประสบการณ์ใต้จิตสำนึกของคุณ
  • 0:21 - 0:24
    เช่น ประสบการณ์ที่ได้ลิ้มลองช็อกโกแลต
  • 0:24 - 0:26
    หรือสัมผัสที่มีต่อผ้ากำมะหยี่
  • 0:27 - 0:29
    เอาล่ะ ปริศนานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย
  • 0:29 - 0:33
    ในปีค.ศ. 1868 โทมัส ฮักซ์ลี เขียนว่า
  • 0:33 - 0:38
    "เราไม่สามารถอธิบายได้เลยว่า
    สิ่งที่น่าทึ่งอย่างสภาวะมีสติ
  • 0:38 - 0:41
    ที่เป็นผลจากการกวนเนื้อเยื่อประสาทนั้น
  • 0:41 - 0:43
    เกิดขึ้นได้อย่างไร
  • 0:43 - 0:47
    มันอย่างกับว่า เกิดการปรากฏตัวขึ้นของยักษ์
    เมื่ออะลาดินถูกตะเกียง"
  • 0:49 - 0:52
    ครับ ฮักซ์ลี รู้ว่ากิจกรรมของสมอง
  • 0:52 - 0:55
    กับประสบการณ์ใต้จิตสำนึกนั้นเกี่ยวข้องกัน
  • 0:55 - 0:57
    แต่เขาไม่รู้ว่าทำไม
  • 0:57 - 1:00
    ด้วยวิทยาศาสตร์ในยุคของเขา
    มันยังเป็นปริศนา
  • 1:00 - 1:02
    หลายปีหลังจากสมัยของฮักซ์ลี
  • 1:02 - 1:06
    วิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้มากมาย
    เกี่ยวกับกิจกรรมของสมอง
  • 1:06 - 1:08
    แต่ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของสมอง
  • 1:08 - 1:11
    กับประสบการณ์ใต้จิตสำนึกยังคงเป็นปริศนา
  • 1:11 - 1:15
    ทำไมล่ะ ทำไมเรื่องนี้ไม่คืบหน้าสักเท่าไรเลย
  • 1:15 - 1:19
    ครับ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านคิดว่า
    เราไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้
  • 1:19 - 1:23
    เพราะว่าเราขาดแนวคิดที่จำเป็น
    และความเฉลียวฉลาด
  • 1:24 - 1:28
    เราคงไม่คาดหวังให้ลิงแก้ปัญหา
    ที่เกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัม
  • 1:28 - 1:32
    และอย่างที่เห็น เราไม่ได้คาดหวังว่า
    พวกเราจะแก้ปัญหานี้ได้เช่นกัน
  • 1:33 - 1:36
    แต่ว่านะ ผมไม่เห็นด้วยหรอก
    ผมมองโลกในแง่ดีกว่า
  • 1:36 - 1:39
    ผมคิดว่า พวกเราได้ตั้งสมมุติฐานที่ผิด
  • 1:39 - 1:42
    เมื่อเราแก้ไขสิ่งนี้แล้ว เราก็น่าจะแก้ปัญหาได้
  • 1:42 - 1:45
    วันนี้ ผมอยากจะบอกพวกคุณ
    ว่าสมมุติฐานที่ว่าคืออะไร
  • 1:45 - 1:47
    ทำไมมันถึงผิด และเราจะแก้ไขมันได้อย่างไร
  • 1:48 - 1:50
    มาเริ่มกันด้วยคำถามที่ว่า
  • 1:50 - 1:53
    คุณเห็นความเป็นจริงอย่างที่มันเป็นหรือเปล่า
  • 1:53 - 1:55
    ผมลืมตา
  • 1:55 - 1:59
    และผมมีประสบการณ์ว่าผมอธิบาย
    ถึงมะเขือเทศแดงที่ห่างออกไปหนึ่งเมตร
  • 2:01 - 2:04
    ผลก็คือ ผมเชื่อว่านั่นเป็นความเป็นจริง
  • 2:04 - 2:06
    มีมะเขือเทศสีแดงอยู่ห่างออกไปหนึ่งเมตร
  • 2:07 - 2:12
    จากนั้นผมหลับตา และประสบการณ์ของผม
    ก็เปลี่ยนไปเป็นสีเทา
  • 2:12 - 2:18
    แต่มันยังเป็นจริงอยู่หรือไม่ในความเป็นจริง
    ที่มะเขือเทศสีแดงอยู่ห่างไปหนึ่งเมตร
  • 2:18 - 2:22
    ผมคิดว่าใช่นะครับ
    แต่มันจะผิดแผกเป็นอย่างอื่นได้ไหม
  • 2:22 - 2:27
    ผมเข้าใจธรรมชาติของการตระหนักรู้ของผม
    ผิดไปหรือเปล่า
  • 2:27 - 2:31
    เราเคยตีความการตระหนักรู้ของเรา
    ผิดพลาดมาก่อน
  • 2:31 - 2:34
    เราเคยคิดว่าโลกแบน
    เพราะดูแล้วมันเป็นแบบนั้น
  • 2:35 - 2:38
    ปีทากอรัสค้นพบว่าเราคิดผิด
  • 2:38 - 2:42
    จากนั้น เราคิดว่าโลกอยู่นิ่ง ๆ
    เป็นศูนย์กลางจักรวาล
  • 2:42 - 2:44
    ก็เพราะว่ามันดูเหมือนว่าเป็นอย่างนั้น
  • 2:44 - 2:49
    โคเปอร์นิคัส และกาลิเลโอ ค้นพบว่า
    เราคิดผิดอีกแล้ว
  • 2:49 - 2:53
    กาลิเลโอสงสัยว่า
    เราตีความประสบการณ์ของเราผิดแผก
  • 2:53 - 2:55
    ไปเป็นอื่นหรือเปล่า
  • 2:55 - 3:00
    เขาเขียนว่า "ผมคิดว่ารส กลิ่น สี และอื่น ๆ
  • 3:00 - 3:02
    อยู่ในจิตสำนึกของเราเอง
  • 3:02 - 3:08
    ฉะนั้น ถ้าไม่มีสิ่งมีชีวิต
    คุณสมบัติทั้งหมดนี้ก็จะมลายไปด้วย"
  • 3:09 - 3:11
    เอาล่ะ นั่นเป็นการกล่าวอ้างที่น่าทึ่ง
  • 3:11 - 3:13
    กาลิเลโอพูดถูกหรือเปล่า
  • 3:13 - 3:18
    เราตีความประสบการณ์ของเราได้แย่จริง ๆ หรือ
  • 3:18 - 3:20
    วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ว่าอย่างไรกับสิ่งนี้
  • 3:21 - 3:26
    เอาล่ะ นักประสาทวิทยาบอกเราว่า
    ประมาณหนึ่งในสามของสมองส่วนคอร์เท็กซ์
  • 3:26 - 3:28
    มีส่วนเกี่ยวข้องกับการมอง
  • 3:28 - 3:31
    เมื่อคุณลืมตาและมองไปรอบ ๆ ห้อง
  • 3:31 - 3:36
    เซลล์ประสาทเป็นพันล้านเซลล์
    กับไซแนปส์เป็นล้านล้านเข้าทำงานร่วมกัน
  • 3:36 - 3:37
    ครับ นี่มันน่าประหลาดใจสักหน่อย
  • 3:37 - 3:40
    เพราะว่าถ้าเราจะพิจารณา
    ในแง่มุมหนึ่งของการมองเห็น
  • 3:40 - 3:43
    เราก็จะคิดว่ามันเหมือนกับกล้องถ่ายรูป
  • 3:43 - 3:47
    มันแค่ถ่ายภาพสิ่งของอย่างที่มันเป็นจริง ๆ
  • 3:47 - 3:50
    มันมีส่วนการมองเห็น ซึ่งเหมือนกับ
    กล้องถ่ายรูป
  • 3:50 - 3:55
    ตามีเลนส์ที่โฟกัสภาพไปทางด้านหลังของตา
  • 3:55 - 3:58
    ที่ซึ่งมีตัวรับแสง 130 ล้านตัว
  • 3:58 - 4:02
    ฉะนั้นตาของเราเหมือนกล้อง 130 เมกะพิกเซล
  • 4:02 - 4:06
    แต่นั่นไม่ได้อธิบายถึงเซลล์ประสาทพันล้านเซลล์
  • 4:06 - 4:09
    และไซเนปส์เป็นล้านล้าน
    ที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็น
  • 4:09 - 4:12
    เซลล์ประสาทพวกนี้ทำอะไรกัน
  • 4:12 - 4:16
    ครับ นักประสาทวิทยาบอกพวกเราว่า
    พวกมันสร้าง
  • 4:16 - 4:20
    รูปร่าง สิ่งของ สี และการเคลื่อนไหว
    ตามเวลาจริงที่เรามองเห็น
  • 4:20 - 4:24
    มันเหมือนกับว่า เราแค่ถ่ายภาพนิ่ง
    ของห้องนี้ในแบบที่มันเป็น
  • 4:24 - 4:27
    แต่อันที่จริง เราสร้างภาพทุกสิ่งที่เราเห็น
  • 4:27 - 4:30
    เราไม่ได้สร้างภาพโลกทั้งใบขึ้นมาในทีเดียว
  • 4:30 - 4:33
    เราสร้างภาพสิ่งที่เราต้องการในวินาทีนั้น ๆ
  • 4:34 - 4:37
    ครับ มีการสาธิตมากมายที่ค่อนข้างน่าสนใจ
  • 4:37 - 4:39
    ว่าเราสร้างภาพสิ่งที่เรามองเห็น
  • 4:39 - 4:41
    ผมจะลองให้ชมสองตัวอย่างนะครับ
  • 4:41 - 4:47
    ในตัวอย่างนี้ คุณเห็นแผ่นกลมสีแดง
    ที่มีรอยแหว่งไปนิดหน่อย
  • 4:47 - 4:49
    แต่ถ้าผมหมุนมันสักนิดนึง
  • 4:49 - 4:54
    คุณก็จะเห็นลูกบากศ์สามมิติ ปรากฏขึ้นบนจอ
  • 4:54 - 4:57
    แน่ล่ะ จอมันแบน
  • 4:57 - 5:00
    ฉะนั้นลูกบากศ์สามมิติที่คุณได้เห็น
  • 5:00 - 5:03
    จะต้องเป็นการสร้างภาพของคุณ
  • 5:03 - 5:05
    ในตัวอย่างต่อไป
  • 5:05 - 5:10
    คุณเห็นแท่งเรืองแสงสีฟ้า
    ที่มีขอบขัดเจนเคลื่อนที่ไปช้า ๆ
  • 5:10 - 5:13
    เคลื่อนผ่านกลุ่มจุดหลายจุด
  • 5:14 - 5:17
    อันที่จริง ไม่มีจุดใดเลยที่เคลื่อนที่
  • 5:17 - 5:21
    จากฉากหนึ่งไปอีกฉากหนึ่ง
    ผมแค่เปลี่ยนสีของจุด
  • 5:21 - 5:24
    จากสีน้ำเงินเป็นดำ และดำเป็นน้ำเงิน
  • 5:24 - 5:26
    แต่เมื่อคุณทำมันเร็ว ๆ
  • 5:26 - 5:29
    ระบบการมองเห็นของคุณจะสร้างภาพ
    แท่งสีฟ้าเรืองแสง
  • 5:29 - 5:32
    ที่มีขอบชัดเจน และมีการเคลื่อนไหว
  • 5:32 - 5:35
    มันยังมีตัวอย่างอื่นอีกมาก
    แต่มีแค่สองตัวอย่างนี้
  • 5:35 - 5:38
    ที่คุณสร้างภาพขึ้นมาเมื่อคุณมอง
  • 5:38 - 5:40
    แต่นักประสาทวิทยาไปไกลกว่านั้น
  • 5:41 - 5:46
    พวกเขาบอกว่า เราสร้างความเป็นจริงขึ้นใหม่
  • 5:46 - 5:51
    ฉะนั้น เมื่อผมมีประสบการณ์
    ที่อธิบายได้ว่าเป็นมะเขือเทศสีแดง
  • 5:51 - 5:55
    ที่จริงแล้วประสบการณ์นั้น
    เป็นการสร้างขึ้นใหม่ที่แม่นยำ
  • 5:55 - 5:57
    จากคุณสมบัติที่เป็นของมะเขือเทศสีแดงจริง ๆ
  • 5:57 - 6:00
    ที่ควรจะเป็น แม้ว่าผมจะไม่ได้มองมันก็ตาม
  • 6:02 - 6:05
    เอาล่ะ ทำไมนักประสาทวิทยาถึงบอกว่า
    เราไม่ได้แค่สร้างภาพ
  • 6:05 - 6:07
    แต่เราสร้างภาพขึ้นใหม่
  • 6:07 - 6:09
    ครับ ข้อโต้แย้งพื้นฐานที่มีอยู่
  • 6:09 - 6:12
    ก็มักจะเป็นเรื่องของวิวัฒนาการ
  • 6:13 - 6:15
    บรรพบุรุษของพวกเราที่เห็นได้ชัดเจนกว่า
  • 6:15 - 6:20
    มีความได้เปรียบเมื่อเทียบกับพวกที่เห็นได้แย่กว่า
  • 6:20 - 6:23
    และดังนั้น พวกเขาก็มักจะส่งต่อยีนส์พวกนั้น
  • 6:23 - 6:26
    เราเป็นลูกหลานของพวกที่มองเห็นได้ดีกว่า
  • 6:26 - 6:29
    และดังนั้น เราจึงมั่นใจในกรณีปกติ
  • 6:29 - 6:32
    การตระหนักรู้ของเรามีความแม่นยำ
  • 6:32 - 6:35
    คุณเห็นสิ่งนี้ในหนังสือตำราพื้นฐาน
  • 6:35 - 6:37
    หนังสือเล่มหนึ่งอ้างไว้ว่า ยกตัวอย่างเช่น
  • 6:37 - 6:39
    "เมื่อพูดในเชิงวิวัฒนาการ
  • 6:39 - 6:43
    การมองเห็นมีประโยชน์อย่างแน่นอน
    เพราะว่ามันแม่นยำจริง ๆ "
  • 6:43 - 6:48
    ฉะนั้น แนวคิดก็คือว่าการมองเห็นที่แม่นยำ
    เป็นการตระหนักรู้ที่เหมาะสมกว่า
  • 6:48 - 6:50
    พวกมันทำให้คุณมีข้อได้เปรียบในการอยู่รอด
  • 6:50 - 6:52
    แล้วมันถูกต้องหรือไม่
  • 6:52 - 6:55
    นี่เป็นการตีความที่ถูกแล้วหรือ
    สำหรับทฤษฎีวิวัฒนาการ
  • 6:55 - 6:58
    เอาล่ะ ลองมาดูสองสามตัวอย่างในธรรมชาติ
  • 6:59 - 7:01
    ออสเตเรียน จีวัล บีทเทิล
    (Australian jewel beetle)
  • 7:01 - 7:04
    มีร่องบุ๋ม เป็นเงามัน และสีน้ำตาล
  • 7:04 - 7:07
    ตัวเมียบินไม่ได้
  • 7:07 - 7:11
    แมลงตัวผู้ กำลังมองหาตัวเมียสวย ๆ
  • 7:11 - 7:15
    เมื่อมันพบแล้ว มันก็จะเข้าคู่ และผสมพันธุ์
  • 7:15 - 7:17
    ยังมีอีกสปีชีส์หนึ่งในชุมชนห่างไกลนั้น
  • 7:17 - 7:18
    โฮโม เซเปียนส์ (Homo sapiens)
  • 7:18 - 7:22
    ตัวผู้ของสปีชีส์นี้มีสมองขนาดใหญ่
  • 7:22 - 7:25
    ที่เอาไว้ใช้สำหรับล่าหาเบียร์เย็น ๆ
  • 7:26 - 7:27
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:27 - 7:30
    และเมื่อเขาพบเข้าแล้ว เขาก็จะดื่มมัน
  • 7:30 - 7:33
    และบางทีก็จะขว้างขวดทิ้งไปในชุมชนนั้น
  • 7:33 - 7:37
    ทีนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้
    ขวดที่มีร่อง เป็นเงามัน
  • 7:37 - 7:41
    และมีสีน้ำตาลกำลังพอดี
    ก็กระตุ้นความใคร่ของแมลงเหล่านี้
  • 7:43 - 7:46
    พวกตัวผู้เข้ารุมล้อมขวด
    พยายามที่จะจับคู่ผสมพันธุ์
  • 7:48 - 7:50
    พวกมันหมดความสนใจกับตัวเมียจริง ๆ
  • 7:50 - 7:55
    ตัวอย่างคลาสสิกของตัวผู้
    ที่หนีตัวเมียไปหาขวด
  • 7:55 - 7:58
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 7:59 - 8:02
    แมลงสปีชีส์นี้เกือบที่จะสูญพันธุ์
  • 8:02 - 8:07
    ประเทศออสเตรเลียจำต้องเปลี่ยนสีขวด
    เพื่อที่จะช่วยแมลงพวกนี้
  • 8:07 - 8:10
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:10 - 8:14
    เอาละ แมลงตัวผู้ตามหาตัวเมียได้สำเร็จ
    มาเป็นพัน ๆ ปี
  • 8:14 - 8:16
    หรืออาจจะเป็นล้าน ๆ ปี
  • 8:16 - 8:21
    เหมือนว่ามันเห็นความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น
    แต่เอาเข้าจริงแล้วไม่ใช่
  • 8:21 - 8:24
    วิวัฒนาการได้มอบทางลัดให้กับพวกมัน
  • 8:24 - 8:28
    ตัวเมียคืออะไรก็ตามที่มีร่องบุ๋ม
    เป็นเงามัน และเป็นสีน้ำตาล
  • 8:28 - 8:31
    ยิ่งใหญ่ยิ่งดี
  • 8:31 - 8:33
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:33 - 8:37
    แม้ว่ามันจะคลานไปซะทั่วขวดแล้ว
    ตัวผู้ก็ยังไม่พบข้อผิดพลาดของมัน
  • 8:38 - 8:42
    ครับ คุณอาจจะบอกว่า แมลงเหรอ แหงสิ
    พวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ
  • 8:42 - 8:43
    เรื่องแบบนี้คงไม่เกิดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรอก
  • 8:43 - 8:46
    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่ถูกตบตาหรอก
  • 8:46 - 8:52
    เอาล่ะครับ ผมคงไม่ยึดติดกับมันหรอก
    แต่คุณคงพอเห็นแนวคิดนะครับ (เสียงหัวเราะ)
  • 8:52 - 8:55
    ฉะนั้น สิ่งนี้ทำให้เกิดคำถามทางเทคนิคที่สำคัญ
  • 8:55 - 9:01
    การคัดเลือกทางธรรมชาติ
    สนับสนุนการมองเห็นความเป็นจริงงั้นหรือ
  • 9:02 - 9:05
    โชคดี ที่เราไม่จำต้องซี้ซั้วเดา
  • 9:05 - 9:09
    วิวัฒนาการ
    เป็นทฤษฎีที่มีความแน่นอนในเชิงคณิตศาสตร์
  • 9:09 - 9:12
    เราสามารถใช้สมการของวิวัฒนาการ
    ในการตรวจสอบได้
  • 9:12 - 9:16
    เราสามารถทำให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ แข่งขันกัน
    ในโลกสมมติ
  • 9:16 - 9:18
    และดูว่าสิ่งมีชีวิตใดจะอยู่รอด
    และพัฒนาได้
  • 9:18 - 9:22
    ระบบการรับสัมผัสใดจะเหมาะสมมากกว่า
  • 9:22 - 9:26
    สิ่งสำคัญในสมการนี้คือความเหมาะสม
  • 9:26 - 9:29
    ลองพิจารณาเนื้อก้อนนี้ดู
  • 9:30 - 9:33
    เนื้อก้อนนี้จะมีผลกระทบอะไร
    ต่อความเหมาะสมของสัตว์
  • 9:33 - 9:39
    สำหรับสิงโตหิวโหยที่กำลังจ้องจะกิน
    มันเสริมสร้างความเหมาะสม
  • 9:40 - 9:45
    สำหรับสิงโตที่อิ่มดีที่กำลังมองหาคู่
    มันไม่ได้ช่วยเสริมสร้างความเหมาะสม
  • 9:46 - 9:50
    และสำหรับกระต่ายในสถานะใด ๆ
    มันไม่ได้ช่วยเสริมสร้างความเหมาะสม
  • 9:50 - 9:54
    ฉะนั้น ใช่ครับ ความเหมาะสมขึ้นอยู่กับ
    ความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น
  • 9:54 - 9:58
    แต่ยังคงขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิต
    สถานะของมันและการกระทำของมัน
  • 9:58 - 10:02
    ความเหมาะสมไม่ได้เป็นอย่างเดียวกัน
    กับความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น
  • 10:02 - 10:05
    และมันคือความเหมาะสม
    ไม่ใช่ความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น
  • 10:05 - 10:09
    ที่เป็นตัวเลขที่สำคัญอย่างยิ่ง
    ในสมการของวิวัฒนาการ
  • 10:09 - 10:13
    ดังนั้น ในห้องทดลองของผม
  • 10:13 - 10:16
    พวกเราได้ดำเนินการกับการจำลองเกมส์วิวัฒนาการ
    เป็นแสน ๆ ครั้ง
  • 10:16 - 10:19
    ด้วยการสุ่มเลือกโลก
  • 10:19 - 10:24
    และเป็นสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ให้พวกมัน
    แข่งขันแก่งแย่งแหล่งอาหารกัน
  • 10:24 - 10:28
    สิ่งมีชีวิตบางอย่างเห็นความเป็นจริงทั้งหมด
  • 10:28 - 10:30
    ชนิดอื่น ๆ เห็นเพียงบางส่วนของความเป็นจริง
  • 10:30 - 10:32
    และบางชนิด ไม่เห็นความเป็นจริงเลย
  • 10:32 - 10:34
    มีเพียงแค่ความเหมาะสม
  • 10:34 - 10:36
    ใครจะเป็นผู้ชนะ
  • 10:36 - 10:42
    ครับ ผมเกลียดจริง ๆ ที่จะเฉลยให้คุณฟังว่า
    การตระหนักรู้ความเป็นจริงนั้นสูญพันธุ์
  • 10:42 - 10:44
    ในเกือบทุกแบบจำลอง
  • 10:44 - 10:46
    สิ่งมีชีวิตที่ไม่เห็นความเป็นจริงเลย
  • 10:46 - 10:48
    แต่มุ่งไปหาความเหมาะสม
  • 10:48 - 10:54
    ขับเคลื่อนการสูญพันธุ์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด
    ที่เห็นความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น
  • 10:54 - 10:58
    ฉะนั้น สิ่งสำคัญก็คือ
    วิวัฒนาการไม่ได้ส่งเสริม
  • 10:58 - 11:00
    หรือทำให้การตระหนักรู้นั้นแม่นยำ
  • 11:00 - 11:04
    การตระหนักรู้ถึงความเป็นจริงสูญพันธุ์ไป
  • 11:04 - 11:06
    ครับ มันน่าตกใจไม่น้อย
  • 11:06 - 11:09
    มันจะเป็นไปได้อย่างไร
    ที่การไม่เห็นโลกอย่างแม่นยำ
  • 11:09 - 11:11
    สร้างความได้เปรียบในการอยู่รอดให้กับเรา
  • 11:11 - 11:13
    มันอาจเหมือนกับการตอบโต้ทางสัญชาตญาณ
  • 11:13 - 11:15
    แต่จำไว้นะครับว่า จีวัล บีทเทิล
  • 11:15 - 11:19
    แมลงที่อยู่รอดมาเป็นพัน ๆ ปี
    บางทีอาจจะเป็นล้าน ๆ ปี
  • 11:19 - 11:22
    ใช้กลเม็ดและการวิธีลัดแบบง่าย ๆ
  • 11:22 - 11:25
    สิ่งที่สมการวิวัฒนาการกำลังบอกกับเรา
  • 11:25 - 11:30
    คือสิ่งมีชีวิตทุกอย่าง รวมถึงเราด้วย
    อยู่บนเรือลำเดียวกัน กับจีวัล บีทเทิล
  • 11:30 - 11:32
    เราไม่ได้เห็นความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น
  • 11:32 - 11:37
    เราถูกหล่อหลอมขึ้นด้วยกลเม็ด
    และวิธีลัดที่ทำให้เราอยู่รอด
  • 11:37 - 11:39
    ถึงอย่างนั้น
  • 11:39 - 11:41
    เราต้องการอะไรบางอย่างจากการหยั่งรู้ของเรา
  • 11:41 - 11:45
    การไม่ยอมรับความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น
    มีประโยชน์อย่างไร
  • 11:45 - 11:49
    ครับ โชคดี
    เรามีการเปรียบเปรยที่ช่วยเราได้มาก
  • 11:49 - 11:52
    หน้าจออินเทอร์เฟสคอมพิวเตอร์ของคุณนั่นเอง
  • 11:52 - 11:56
    ลองพิจารณาไอคอนสีฟ้า
    สำหรับ TED Talk ที่คุณกำลังเขียนถึง
  • 11:56 - 12:00
    ทีนี้ ไอคอนนั้นเป็นสีฟ้าและเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า
  • 12:00 - 12:03
    และอยู่ที่มุมขวาด้านล่างของหน้าจอ
  • 12:03 - 12:08
    นั่นหมายความว่า
    ไฟล์ข้อความในคอมพิวเตอร์เองนั้นเป็นสีฟ้า
  • 12:08 - 12:12
    เป็นกล่องสี่เหลี่ยม และอยู่ตรงที่มุมขวาด้านล่าง
    ของคอมพิวเตอร์อย่างงั้นหรือ
  • 12:12 - 12:13
    ไม่ใช่หรอก
  • 12:13 - 12:18
    ใคร ๆ ที่คิดอย่างนั้นตีความจุดประสงค์
    ของอินเทอร์เฟสผิดไป
  • 12:18 - 12:21
    มันไม่ได้มีไว้เพื่อแสดงความเป็นจริง
    ของคอมพิวเตอร์
  • 12:21 - 12:24
    อันที่จริง มันอยู่ตรงนั้นเพื่อที่จะ
    ซ่อนความเป็นจริง
  • 12:24 - 12:26
    คุณไม่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับไดโอด
  • 12:26 - 12:28
    และตัวต้านทาน และซอฟแวร์หลายเมกะไบต์
  • 12:28 - 12:31
    ถ้าคุณจะต้องไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งนั้น
    คุณคงจะเขียนไฟล์ข้อความ
  • 12:31 - 12:32
    หรือแก้ไขภาพของคุณไม่ได้หรอก
  • 12:32 - 12:37
    ฉะนั้นแนวคิดคือว่า
    วิวัฒนาการให้อินเทอร์เฟสกับเรา
  • 12:37 - 12:41
    ที่ซ่อนความเป็นจริง
    และให้แนวทางพฤติกกรรมที่ปรับเปลี่ยนได้
  • 12:41 - 12:44
    ที่ว่างและเวลา
    ที่คุณตระหนักรู้ถึงพวกมันได้ในตอนนี้
  • 12:44 - 12:47
    เป็นหน้าจอของคุณ
  • 12:47 - 12:51
    ทางกายภาพต่าง ๆ คือไอคอนบนหน้าจอ
  • 12:52 - 12:54
    แต่มีข้อโต้แย้งที่ค่อนข้างชัดเจน
  • 12:54 - 12:58
    ฮอฟแมน ถ้าคุณคิดว่ารถไฟวิ่งมาตามราง
    ด้วยความเร็ว 200 ไมล์ต่อชั่วโมง
  • 12:58 - 13:01
    เป็นแค่ไอคอนบนหน้าจอ
  • 13:01 - 13:03
    ทำไมคุณไม่เดินลงไปขวางล่ะ
  • 13:03 - 13:05
    และหลังจากที่คุณจากไปแล้ว
    พร้อมกับทฤษฎีของคุณ
  • 13:05 - 13:09
    เรารู้ว่ามันเป็นรถไฟ
    มากกว่าจะเป็นเพียงแค่ไอคอน
  • 13:09 - 13:11
    ครับ ผมคงจะไม่ลงไปยืนขวางรถไฟ
  • 13:11 - 13:12
    ด้วยเหตุผลเดียวกัน
  • 13:12 - 13:16
    ผมคงจะไม่ลากไอคอน
    ทิ้งลงถังขยะอย่างไม่ระมัดระวัง
  • 13:16 - 13:20
    ไม่ใช่เพราะว่าผมเข้าใจว่าไอคอน
    เป็นแบบนั้นจริง ๆ --
  • 13:20 - 13:23
    ไฟล์ก็ไม่ได้เป็นสีฟ้าจริง ๆ
    หรือเป็นแค่กล่องสี่เหลี่ยม --
  • 13:23 - 13:25
    แต่ผมต้องจริงจังกับมันมากเพราะ
  • 13:25 - 13:27
    ผมอาจเสียงานที่ผมทำไว้เป็นเวลาหลายสัปดาห์
  • 13:27 - 13:30
    คล้ายกัน วิวัฒนาการหล่อหลอมเรา
  • 13:30 - 13:34
    ด้วยสัญลักษณ์ที่เราตระหนักรู้ได้
    ที่ถูกออกแบบไว้เพื่อทำให้เรามีชีวิตอยู่รอด
  • 13:35 - 13:37
    เราควรที่จะจริงจังกับมันจริง ๆ
  • 13:37 - 13:39
    ถ้าคุณเห็นงู ก็ไม่ควรจะหยิบมันขึ้นมา
  • 13:40 - 13:43
    ถ้าคุณเห็นหน้าผา ก็อย่าได้กระโดดลงไป
  • 13:43 - 13:47
    พวกมันถูกออกแบบมาเพื่อให้พวกเราปลอดภัย
    และเราควรจะจริงจังกับพวกมัน
  • 13:47 - 13:49
    นั่นไม่ได้หมายความว่า
    เราไม่ควรที่จะเข้าใจแบบนั้นจริง ๆ
  • 13:49 - 13:52
    นั่นมันตรรกะวิบัติแล้วล่ะ
  • 13:52 - 13:55
    อีกหนึ่งข้อโต้แย้งก็คือ
    มันไม่มีอะไรใหม่จริง ๆ เลยหรือ
  • 13:55 - 13:59
    นักฟิสิกส์เคยบอกเรามานานแล้วว่า
    โลหะของรถไฟที่ดูแล้วเป็นของแข็ง
  • 13:59 - 14:03
    ที่จริงมันเกือบจะมีแต่ที่ว่างเปล่า
    เพราะมีอนุภาคระดับไมโครวิ่งไปรอบ ๆ
  • 14:03 - 14:05
    ไม่มีอะไรใหม่เลยตรงนี้
  • 14:05 - 14:07
    ก็ ไม่ถึงกับเป็นอย่างนั้นหรอกครับ
  • 14:07 - 14:11
    มันเหมือนกับการบอกว่า
    ผมรู้ว่ามีไอคอนสีฟ้าบนหน้าจอ
  • 14:11 - 14:13
    ไม่ได้เป็นความเป็นจริงของคอมพิวเตอร์
  • 14:13 - 14:17
    แต่ถ้าผมเอาแว่นขยายที่ไว้ใจได้ออกมา
    และส่องเข้าไปดูใกล้ ๆ
  • 14:17 - 14:18
    ผมจะเห็นพิกเซล (pixel) เล็ก ๆ
  • 14:18 - 14:21
    และนั่นคือความเป็นจริงของคอมพิวเตอร์
  • 14:21 - 14:25
    ครับ ก็ไม่ใช่เป็นอย่างนั้นจริง ๆ หรอก--
    คุณยังอยู่กับหน้าจอ และนั่นแหละครับประเด็น
  • 14:25 - 14:28
    อนุภาคระดับไมโครเหล่านั้น
    ยังคงอยู่ในที่ว่างและเวลา
  • 14:28 - 14:30
    พวกมันยังอยู่ในอินเทอร์เฟสของผู้ใช้
  • 14:30 - 14:34
    ฉะนั้น ผมกำลังพูดถึงบางอย่าง
    ที่มันสุดโต่งกว่าที่นักฟิสิกส์ว่าไว้
  • 14:35 - 14:36
    สุดท้าย คุณอาจโต้แย้งได้อีกว่า
  • 14:36 - 14:39
    เอาล่ะ เราทุกคนเห็นรถไฟ
  • 14:39 - 14:42
    ฉะนั้น ไม่มีใครสร้างภาพรถไฟขึ้นมาเอง
  • 14:42 - 14:44
    แต่จำตัวอย่างนี้ได้นะครับ
  • 14:44 - 14:47
    ในตัวอย่างนี้ เราทุกคนเห็นลูกบาศก์
  • 14:48 - 14:50
    แต่จอภาพแบน
  • 14:50 - 14:52
    ฉะนั้น ลูกบาศก์ที่คุณเห็น
    เป็นลูกบาศก์ที่คุณสร้างภาพขึ้น
  • 14:54 - 14:56
    เราทุกคนเห็นลูกบาศก์
  • 14:56 - 15:01
    เพราะว่าเราทุกคน แต่ละคน
    สร้างภาพลูกบาศก์ที่เราเห็น
  • 15:01 - 15:03
    ซึ่งเป็นจริงเช่นเดียวกับรถไฟ
  • 15:03 - 15:07
    เราทุกคนเห็นรถไฟเพราะว่า
    เราแต่ละคนเห็นรถไฟที่เราสร้างภาพขึ้นมา
  • 15:07 - 15:11
    และมันก็เป็นจริงกับวัตถุทางกายภาพทั้งหลาย
  • 15:12 - 15:17
    เราถูกทำให้โน้มเอียงการคิดว่าการตระหนักรู้
    เหมือนกับหน้าต่างบนความจริงอย่างที่มันเป็น
  • 15:17 - 15:22
    ทฤษฎีวิวัฒนาการกำลังบอกเราว่า
    มันเป็นการตีความที่ผิดพลาด
  • 15:22 - 15:24
    ของการตระหนักรู้ของเรา
  • 15:25 - 15:29
    ความจริงแล้ว
    ความเป็นจริงเป็นมากกว่าหน้าจอสามมิติ
  • 15:29 - 15:32
    ที่ถูกออกแบบมา ให้ซ่อนความสลับซับซ้อน
    ของโลกแห่งความเป็นจริง
  • 15:32 - 15:34
    และให้แนวทางกับพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนได้
  • 15:34 - 15:37
    ที่ว่างอย่างที่คุณยอมรับ
    ว่ามันอยู่บนหน้าจอของคุณ
  • 15:37 - 15:40
    วัตถุทางกายภาพเป็นเพียงแค่ไอคอนบนหน้าจอ
  • 15:41 - 15:45
    เราเคยคิดว่าโลกแบน
    เพราะดูแล้วมันเป็นแบบนั้น
  • 15:46 - 15:49
    จากนั้น เราคิดว่าโลกอยู่นิ่ง ๆ
    เป็นศูนย์กลางของความเป็นจริง
  • 15:49 - 15:50
    เพราะดูแล้วมันเป็นแบบนั้น
  • 15:50 - 15:52
    เราผิดไปแล้ว
  • 15:52 - 15:54
    เราได้ตีความการตระหนักรู้ของเราผิดไป
  • 15:55 - 15:58
    ทีนี้ เราเชื่อว่า มิติเวลา และวัตถุต่าง ๆ
  • 15:58 - 16:01
    เป็นธรรมชาติของความจริงอย่างที่มันเป็น
  • 16:01 - 16:05
    ทฤษฎีวิวัฒนาการกำลังบอกเรา
    ครั้งแล้วครั้งเล่า ว่าเราผิด
  • 16:05 - 16:10
    เรากำลังตีความเนื้อหาประสบการณ์การตระหนักรู้ของเรา
    อย่างผิด ๆ
  • 16:10 - 16:13
    บางสิ่งมีตัวตนอยู่เมื่อคุณไม่ได้มอง
  • 16:13 - 16:16
    แต่มันไม่ใช่มิติเวลาและวัตถุทางกายภาพ
  • 16:16 - 16:19
    สำหรับเราการปล่อยวางจากเรื่องมิติเวลาและวัตถุต่าง ๆ
  • 16:19 - 16:23
    มันยากพอ ๆ กับที่ จีวัล บีทเทิล
    จะปล่อยวางจากขวดของมัน
  • 16:23 - 16:27
    ทำไมน่ะหรือ เพราะว่าเราถูกทำไห้มองไม่เห็น
    ความสามารถในการมองเห็นของเราเอง
  • 16:28 - 16:31
    แต่เรามีข้อได้เปรียบเหนือกว่าจีวัล บีทเทิล
  • 16:31 - 16:33
    เรามีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเรา
  • 16:33 - 16:35
    ด้วยการจ้องมองผ่านเลนส์ของกล้องโทรทัศน์
  • 16:35 - 16:40
    เราค้นพบว่าโลกไม่ได้อยู่นิ่ง ๆ
    เป็นศูนย์กลางของความเป็นจริง
  • 16:40 - 16:42
    และด้วยการมองผ่านเลนส์ของทฤษฎีวิวัฒนาการ
  • 16:42 - 16:45
    เราค้นพบว่ามิติเวลาและวัตถุต่าง ๆ
  • 16:45 - 16:47
    ไม่ได้เป็นธรรมชาติของความเป็นจริง
  • 16:47 - 16:51
    เมื่อผมมีประสบการณ์เชิงการตระหนักรู้
    ที่ผมอธิบายว่าเป็นมะเขือเทศแดง
  • 16:51 - 16:54
    ผมมีปฎิสัมพันธ์กับความเป็นจริง
  • 16:54 - 17:00
    แต่ความเป็นจริงนั้นไม่ใช่มะเขือเทศแดง
    และไม่มีอะไรเหมือนมะเขือเทศแดง
  • 17:00 - 17:05
    คล้ายกัน เมื่อผมมีประสบการณ์
    ที่ผมอธิบายว่าเป็นสิงโตหรือเนื้อก้อน
  • 17:05 - 17:07
    ผมมีปฏิสัมพันธ์กับความเป็นจริง
  • 17:07 - 17:10
    แต่ความเป็นจริงมันไม่ใช่สิงโตหรือเนื้อก้อน
  • 17:10 - 17:12
    และที่ทำให้ฉุกคิดก็คือ
  • 17:12 - 17:17
    เมื่อผมมีประสบการณ์เชิงการตระหนักรู้
    ที่ผมอธิบายว่าเป็นสมอง หรือเซลล์ประสาท
  • 17:17 - 17:19
    ผมมีปฏิสัมพันธ์กับความเป็นจริง
  • 17:19 - 17:22
    แต่ความเป็นจริงไม่ใช่สมองหรือเซลล์ประสาท
  • 17:22 - 17:26
    และไม่มีอะไรเหมือนกับสมองหรือเซลล์ประสาท
  • 17:26 - 17:31
    และความเป็นจริงนั้น ไม่ว่ามันคืออะไร
  • 17:31 - 17:34
    เป็นต้นกำเนิดที่แท้จริงของเหตุและผล
  • 17:34 - 17:38
    ในโลก -- ไม่ใช่สมอง ไม่ใช่เซลล์ประสาท
  • 17:38 - 17:41
    สมองและเซลล์ประสาทไม่มีอำนาจที่เกี่ยวข้องกัน
  • 17:41 - 17:43
    พวกมันไม่ได้ก่อให้เกิดประสบการณ์เชิงตระหนักรู้เรา
  • 17:43 - 17:45
    และพฤติกรรมใดของเรา
  • 17:45 - 17:51
    สมองและเซลล์ประสาทเป็นชุดสัญลักษณ์
    ที่เฉพาะเจาะจงต่อสปีชีส์ มันเป็นทางลัด
  • 17:51 - 17:53
    มันความหมายถึงอะไรต่อปริศนาของจิตสำนึก
  • 17:54 - 17:58
    มันเปิดเผยความเป็นไปได้สิ่งใหม่ ๆ
  • 17:58 - 18:00
    ยกตัวอย่างเช่น
  • 18:00 - 18:07
    บางที ความเป็นจริงคือเครื่องยนต์ขนาดใหญ่
    ที่เป็นสาเหตุของประสบการณ์จิตสำนึก
  • 18:07 - 18:10
    ผมสงสัยครับ แต่มันก็คุ้มค่าที่จะสำรวจ
  • 18:10 - 18:16
    บางที ความเป็นจริงคือเครือข่ายปฏิสัมพันธ์
    ที่ยิ่งใหญ่ของสสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับจิตสำนึก
  • 18:16 - 18:21
    ทั้งที่เรียบง่ายและสลับซับซ้อน
    ที่ทำให้เกิดประสบการณ์จิตสำนึก
  • 18:21 - 18:24
    อันที่จริง มันไม่ได้ฟังดูบ้าอย่างที่คิด
  • 18:24 - 18:26
    และผมก็กำลังทำการสำรวจอยู่
  • 18:27 - 18:29
    แต่ประเด็นก็คือว่า
  • 18:29 - 18:32
    เมื่อเรายอมปล่อยวางการหยั่งรู้
    ที่มีมามากมายของเรา
  • 18:32 - 18:36
    แต่ก็ยังมีข้อสมมุติที่ยังผิดพลาดอยู่อย่าง
    มากมายเกี่ยวกับธรรมชาติของความจริง
  • 18:36 - 18:40
    มันเปิดทางใหม่ให้เราได้คิด
    เกี่ยวกับปริศนาชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
  • 18:41 - 18:46
    ผมขอพนันเลยว่า ความจริงจะน่าสนใจ
  • 18:46 - 18:50
    และเหนือความคาดหมาย
    กว่าที่เราเคยได้จินตนาการเอาไว้
  • 18:50 - 18:54
    ทฤษฎีวิวัฒนาการแสดงให้เราเห็น
    ถึงความท้าทายอย่างที่สุด
  • 18:54 - 18:59
    ความท้าทายที่จะรู้ว่าการตระหนักรู้
    ไม่ใช่แค่การเห็นความจริง
  • 18:59 - 19:03
    มันเกี่ยวกับการมีลูกหลาน
  • 19:03 - 19:08
    แล้วแม้แต่งาน TED ครั้งนี้
    มันก็แค่จินตนาการในสมองของคุณเท่านั้นแหละ
  • 19:08 - 19:10
    ขอบคุณมาก ๆ ครับ
  • 19:10 - 19:14
    (เสียงปรบมือ)
  • 19:21 - 19:24
    คริส แอนเดอร์สัน : ถ้าหากว่าคุณอยู่ตรงนั้นจริง ๆ
    ขอบคุณนะครับ
  • 19:24 - 19:27
    มีเรื่องราวมากมายเลยจากการบรรยายในครั้งนี้
  • 19:27 - 19:30
    อย่างแรกเลย บางคนอาจรู้สึกหดหู่อย่างสุด ๆ
  • 19:30 - 19:36
    กับความคิดที่ว่า
    ถ้าหากวิวัฒนาการไม่ได้ส่งเสริมความเป็นจริง
  • 19:36 - 19:39
    ผมหมายความว่า ในบางแง่มุม
    มันคงจะไม่กร่อนทำลายความพยายามของเรา
  • 19:39 - 19:42
    ความสามารถของคนเราที่จะคิดว่า
    เราสามารถคิดความจริงได้หรือครับ
  • 19:42 - 19:45
    แม้ว่าจะรวมเอาทฤษฎีของคุณเข้าไปด้วยแล้ว
    ถ้าคุณหมายความถึงเช่นนั้น
  • 19:45 - 19:50
    โดนัล ฮอฟแมน : ครับ มันไม่ได้ห้ามเรา
    ไม่ให้ประสบความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์
  • 19:50 - 19:53
    สิ่งที่เราได้คือทฤษฎีหนึ่งที่
    กลายเป็นว่ามันได้ผิดพลาดไป
  • 19:53 - 19:57
    และการมองเห็นก็เหมือนกับความเป็นจริง
    และความเป็นจริงก็เหมือนกับการมองเห็นของเรา
  • 19:57 - 19:59
    ทฤษฎีนั้นกลายเป็นว่ามันผิดพลาดไป
  • 19:59 - 20:00
    เอาล่ะ โยนทฤษฎีนั้นทิ้งไป
  • 20:00 - 20:04
    นั่นมันไม่ไช่หยุดยั้งเราให้ตั้งสมมุติฐานสำหรับทฤษฎีอื่น ๆ
  • 20:04 - 20:05
    ในเรื่องธรรมชาติของความเป็นจริง
  • 20:05 - 20:09
    ฉะนั้น ที่จริงแล้วมันเป็นความก้าวหน้า
    ที่เราจะรู้ว่าทฤษฎีของเรานั้นผิด
  • 20:09 - 20:11
    วิทยาศาสตร์ยังดำเนินการต่อไปตามปกติ
    ไม่มีปัญหาอะไรครับ
  • 20:11 - 20:14
    คริส:ถ้าอย่างนั้นคุณก็คิดว่ามันเป็นไปได้
    -- (เสียงหัวเราะ) --
  • 20:14 - 20:18
    เจ่งดีครับ จากที่คุณพูด ผมคิดว่ามันเป็นไปได้
  • 20:18 - 20:21
    ที่วิวัฒนาการยังจะพาคุณไปยังเหตุผล
  • 20:21 - 20:23
    โดนัล: ครับ นั่นเป็นคำถามที่น่าสนใจมากครับ
  • 20:23 - 20:27
    แบบจำลองเกมส์วิวัฒนาการที่ผมแสดงให้ดู
    มันเฉพาะเจาะจงต่อการตระหนักรู้
  • 20:27 - 20:30
    และพวกมันแสดงให้เห็นว่า
    การตระหนักรู้ได้ถูกหล่อหลอม
  • 20:30 - 20:32
    ให้ไม่แสดงความจริงอย่างที่มันเป็นต่อเรา
  • 20:32 - 20:36
    แต่นั่นไม่ได้มีความหมายอย่างเดียวกัน
    กับตรรกะ หรือคณิตศาสตร์ของพวกเรา
  • 20:36 - 20:40
    เราไม่ได้ดำเนินการตามแบบจำลองเหล่านี้
    แต่ผมขอพนันว่า เราจะพบว่า
  • 20:40 - 20:43
    มีแรงขับบางอย่าง
    ในการเลือกตรรกะและคณิตศาสตร์ของเรา
  • 20:43 - 20:46
    ให้มีทิศทางไปหาความจริงไม่มากก็น้อย
  • 20:46 - 20:48
    ถ้าคุณเหมือนกับผม
    คณิตศาสตร์กับตรรกะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ
  • 20:48 - 20:52
    เราไม่ได้เข้าใจมันดีหรอก
    แต่อย่างน้อย ๆ แรงขับในการเลือก
  • 20:52 - 20:54
    ก็ไม่ได้เคลื่อนห่าง
    ออกจากคณิตศาสตร์และตรรกะจริง ๆ
  • 20:54 - 20:57
    ฉะนั้น ผมคิดว่าเราจะได้พบว่า
    เราต้องดูความสามารถในการรับรู้แต่ละอย่าง
  • 20:57 - 21:00
    ทีละอย่าง และดูว่าวิวัฒนาการกระทำอะไรกับมัน
  • 21:00 - 21:04
    สิ่งที่จริงสำหรับการตระหนักรู้
    อาจไม่เป็นจริงสำหรับคณิตศาสตร์และตรรกะ
  • 21:04 - 21:08
    คริส : สำหรับผม สิ่งที่คุณกำลังเสนอ
    มันเหมือนกับการตีความโลก
  • 21:08 - 21:10
    ของ บิชอป เบิร์คลีย์ ในแบบใหม่
  • 21:10 - 21:13
    จิตสำนึกก่อให้เกิดสสาร
    ไม่ใช่ตรงกันข้ามกัน
  • 21:13 - 21:15
    โดนัล : มันต่างไปจากของเบิร์คลีย์นิดหน่อยครับ
  • 21:15 - 21:19
    เบิร์คลีย์คิดว่า เขาเป็นผู้เชื่อในพระเจ้า
    และเขาคิดว่าที่สุดของธรรมชาติความเป็นจริง
  • 21:19 - 21:21
    ก็คือพระเจ้า เป็นต้น
  • 21:21 - 21:24
    ผมไม่จำต้องไปในแนวทางเดียวกับเบิร์คลีย์
  • 21:24 - 21:27
    ฉะนั้น มันค่อนข้างแตกต่างไปจากเบิร์คลีย์
    นิดหน่อย
  • 21:28 - 21:31
    ผมเรียกมันว่าความเป็นจริงจากจิตสำนึก
    มันเป็นวิธีการที่แตกต่างออกไปอย่างมาก
  • 21:31 - 21:35
    คริส : ดอน ผมคงได้คุยกับคุณได้เป็นชั่วโมงๆ
    ผมอยากจริง ๆ เลยครับ
  • 21:35 - 21:37
    ขอบคุณมาก ๆ นะครับ
    ดอน : ขอบคุณครับ (เสียบปรบมือ)
Title:
เราเห็นความเป็นจริงอย่างที่มันเป็นหรือเปล่า
Speaker:
โดนัล ฮอฟแมน (Donald Hoffman)
Description:

นักวิทยาศาสตร์ด้านการเรียนรู้ นาม โดนัล ฮอฟแมน กำลังพยายามที่จะตอบคำถามที่ยิ่งใหญ่: เรามีประสบการณ์ต่อโลกอย่างที่มันเป็นจริงๆ ... หรืออย่างที่เราต้องการให้มันเป็น ในการบรรยายนี้ที่จะมาเขย่าความคิดคุณไม่มากก็น้อย เขาเอ่ยถามว่า สมองของเราสร้างความเป็นจริงให้กับเราได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
21:50
Jenny Zurawell approved Thai subtitles for Do we see reality as it is?
Jenny Zurawell accepted Thai subtitles for Do we see reality as it is?
Jenny Zurawell edited Thai subtitles for Do we see reality as it is?
Jenny Zurawell edited Thai subtitles for Do we see reality as it is?
Jenny Zurawell edited Thai subtitles for Do we see reality as it is?
Jenny Zurawell edited Thai subtitles for Do we see reality as it is?
Jenny Zurawell edited Thai subtitles for Do we see reality as it is?
Jenny Zurawell edited Thai subtitles for Do we see reality as it is?
Show all

Thai subtitles

Revisions