Return to Video

คาเฟอีนสามารถทำให้เรารู้สึกกระปรี้กระเปร่าได้อย่างไร - ฮานาน กาซิม (Hanan Qasim)

  • 0:07 - 0:12
    มีการบริโภคคาเฟอีน
    มากกว่าหนึ่งแสนเมตริกตัน
  • 0:12 - 0:13
    ในแต่ละปีจากทั่วโลก
  • 0:13 - 0:18
    ซึ่งนั่นเท่ากับน้ำหนัก
    ของหอไอเฟลถึง 14 หอเลยทีเดียว
  • 0:18 - 0:21
    ส่วนใหญ่คาเฟอีนจะอยู่ในกาแฟและชา
  • 0:21 - 0:24
    แต่ยังถูกผสมอยู่ในน้ำอัดลม
  • 0:24 - 0:25
    ช็อกโกแลต
  • 0:25 - 0:26
    ยาเม็ดคาเฟอีน
  • 0:26 - 0:29
    หรือแม้แต่เครื่องดื่มที่ติดฉลากไว้ว่าไม่มีคาเฟอีน
  • 0:29 - 0:33
    คาเฟอีนทำให้ร่างกายตื่นตัว มีสมาธิจดจ่อ
    มีความสุข และกระฉับกระเฉง
  • 0:33 - 0:36
    แม้ว่าเราจะไม่ได้นอนหลับพักผ่อน
    อย่างเพียงพอก็ตาม
  • 0:36 - 0:40
    แต่มันยังทำให้ความดันของเราพุ่งสูงขึ้น
    และกระสับกระส่าย
  • 0:40 - 0:43
    มันเป็นสารเสพติดที่มีคนใช้กันมากที่สุด
  • 0:43 - 0:46
    แล้วมันทำให้ร่างกายเราตื่นตัวได้อย่างไร
  • 0:47 - 0:51
    คาเฟอีนนั้นเป็นสารที่มาจากพืช
    ซึ่งมีประโยชน์หลากหลาย
  • 0:51 - 0:55
    คาเฟอีนปริมาณสูง ที่พบได้ในใบ
    และเมล็ดของพืชบางชนิด
  • 0:55 - 0:58
    มันเป็นพิษต่อแมลง
  • 0:58 - 1:02
    แต่เมื่อพวกมันถูกบริโภคในปริมาณน้อย
    อย่างเช่นที่พบในน้ำหวานจากเกสร
  • 1:02 - 1:06
    มันช่วยให้แมลงจดจำและกลับมา
    ยังดอกไม้นั้นอีก
  • 1:06 - 1:11
    ในร่างกายของมนุษย์ คาเฟอีนทำหน้าที่
    เป็นตัวกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง
  • 1:11 - 1:16
    มันทำให้เราตื่นตัว โดยการขัดขวาง
    หนึ่งในโมเลกุลที่เหนี่ยวนำการนอนหลับ
  • 1:16 - 1:19
    ที่เรียกว่า อะดีโนซีน
  • 1:19 - 1:22
    ร่างกายของเราต้องการพลังงานอย่างสม่ำเสมอ
  • 1:22 - 1:27
    ซึ่งได้มาจากการสลายโมเลกุลพลังงานสูง
    ที่เรียกว่าช เอทีพี
  • 1:27 - 1:28
    ในกระบวนการนั้น
  • 1:28 - 1:32
    ร่างกายจะปล่อยอะดีโนซีน
    ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของเอทีพีออกมา
  • 1:32 - 1:37
    เซลล์ประสาทในสมองของคุณมีรีเซปเตอร์
    ที่ถูกสร้างมาเพื่อโมเลกุลนี้โดยเฉพาะ
  • 1:37 - 1:40
    เมื่อ อะดีโนซีน มาจับเข้ากับรีเซปเตอร์
  • 1:40 - 1:44
    มันก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมี
  • 1:44 - 1:46
    ทำให้เซลล์ประสาททำงานได้ช้าลง
  • 1:46 - 1:51
    และก็ชะลอการปล่อย
    โมเลกุลการส่งสัญญาณในสมองที่สำคัญ
  • 1:51 - 1:53
    กล่าวคือ มันทำให้คุณง่วงนั่นเอง
  • 1:53 - 1:58
    คาเฟอีน ได้ชื่อว่า เป็นแอนทาโกนิสต์
    ของรีเซปเตอร์ของอะดีโนซีน
  • 1:58 - 2:02
    นั่นหมายความว่า
    กระบวนนี้ชะลอเซลล์ประสาทของคุณ
  • 2:02 - 2:06
    โดยการขัดขวางรีเซปเตอร์ของอะดีโนซีน
  • 2:06 - 2:09
    คาเฟอีน และ อะดีโนซีน
    มีโครงสร้างโมเลกุลที่คล้ายกัน
  • 2:09 - 2:12
    ใกล้เคียงมากจนคาเฟอีนสามารถที่จะเข้าไปอยู่
    ในรีเซปเตอร์ของอะดีโนซีนได้
  • 2:12 - 2:15
    แต่มันไม่ได้เหมือนกันเพียงพอ
    ที่จะกระตุ้นพวกมันให้ทำงานได้
  • 2:15 - 2:19
    โดยสรุปอะดีโนซีน
    ยับยั้งการทำงานของเซลล์ประสาท
  • 2:19 - 2:23
    คาเฟอีนยับยั้งการทำงานของตัวยับยั้ง
    ฉะนั้นมันจึงกระตุ้นคุณ
  • 2:25 - 2:28
    คาเฟอีนกระตุ้นให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้
  • 2:28 - 2:30
    ในเซลล์ประสาทบางตัว
    รีเซปเตอร์ของอะดีโนซีน
  • 2:30 - 2:34
    ถูกเชื่อมกับรีเซปเตอร์สำหรับโมเลกุลอื่น
    เรียกว่าโดปามีน
  • 2:34 - 2:38
    หน้าที่ของโดปามีนในสมองก็คือ
    ส่งเสริมความรู้สึกที่ดี
  • 2:38 - 2:42
    เมื่ออะดีโนซีนเข้าไปอยู่ในรีเซปเตอร์ที่อยู่เป็นคู่
  • 2:42 - 2:46
    นั่นทำให้โดปามิน
    เข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมของมันได้ยากขึ้น
  • 2:46 - 2:49
    ซึ่งขัดขวางการทำงานที่เกี่ยกับการส่งเสริมความสุข
  • 2:49 - 2:53
    แต่ถ้าเป็นคาเฟอีนเข้ามาในที่ของอะดีโนซีน
    มันไม่ได้ให้ผลอย่างเดียวกัน
  • 2:53 - 2:55
    และโดปามินก็สามารถเข้าไปในตำแหน่งของมันได้
  • 2:57 - 3:01
    มีหลักฐานสนับสนุนว่าผลของคาเฟอีน
    ที่มีต่อรีเซปเตอร์ของอะดีโนซีนและโดปามิน
  • 3:01 - 3:05
    สามารถมีผลดีในระยะยาว เช่นกัน
    ในการลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ
  • 3:05 - 3:09
    อย่างเช่น โรคพากินสัน,
    อัลไซเมอร์ และมะเร็งบางชนิด
  • 3:10 - 3:14
    คาเฟอีนยังสามารถช่วยเร่ง
    ความสามารถในการเผาผลาญไขมันของร่างกาย
  • 3:15 - 3:18
    อันที่จริง องค์กรการกีฬาบางแห่งคิดว่า
  • 3:18 - 3:21
    คาเฟอีนทำให้นักกีฬาได้เปรียบซึ่งถือว่าไม่ยุติธรรม
  • 3:21 - 3:24
    และได้กำหนดข้อจำกัดในการบริโภคคาเฟอีน
  • 3:24 - 3:27
    ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 จนถึง 2004
  • 3:28 - 3:31
    นักกีฬาโอลิมปิคต้องคุมระดับคาเฟอีน
    ให้อยู่ในระดับหนึ่งเท่านั้น
  • 3:32 - 3:35
    ถึงจะร่วมแข่งได้
  • 3:35 - 3:38
    แน่นอนล่ะว่า ไม่ใช่คาเฟอีนจะให้แต่ผลดี
  • 3:38 - 3:41
    มันอาจทำให้คุณรู้สึกดี และกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น
  • 3:41 - 3:43
    แต่มันอาจยังเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
    และความดันเลือดของคุณ
  • 3:43 - 3:46
    ทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นหรือมีอาการท้องเสีย
  • 3:46 - 3:50
    และส่งผลต่อการนอนไม่หลับ
    และอาการกระสับกระส่าย
  • 3:50 - 3:53
    นอกจากนี้ อาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอยู่นั้น
  • 3:53 - 3:57
    มีผลต่อร่างกายของคุณในแบบของมันเอง
    ซึ่งคุณจะต้องพิจารณาด้วย
  • 3:59 - 4:02
    สมองของเราสามารถปรับตัว
    ให้เข้ากับการบริโภคคาเฟอีนเป็นประจำได้
  • 4:02 - 4:05
    ถ้ารีเซปเตอร์ของอะดีโนซีนของคุณ
    ถูกขวางกั้นบ่อย ๆ เข้า
  • 4:05 - 4:08
    ร่างกายของคุณก็จะผลิตมันขึ้นมาเพิ่ม
  • 4:08 - 4:10
    ด้วยวิธีนี้ ถึงแม้ว่าจะมีคาเฟอีนเข้ามา
  • 4:10 - 4:14
    อะดีโนซีนก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ
    ในการส่งสัญญาณให้สมองของคุณทำงานลดลง
  • 4:15 - 4:19
    นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมคุณจึงรู้สึกว่า
    ต้องการบริโภคคาเฟอีนมากขึ้นไปเรื่อย ๆ
  • 4:19 - 4:21
    เพื่อยังคงทำให้กระปรี้กระเปร่าอยู่
  • 4:21 - 4:24
    เนื่องจากมีตัวขัดขวาง
    รีเซปเตอร์ของอะดีโนซีนมากขึ้น
  • 4:25 - 4:27
    นั่นยังเป็นเหตุผลว่าทำไม
    เมื่อคุณหยุดคาเฟอีนกระทันหัน
  • 4:27 - 4:30
    คุณอาจจะรู้สึกไม่สบายตัว
  • 4:30 - 4:33
    เมื่อมีรีเซปเตอร์อยู่มากมายแต่ไม่มีตัวแข่งขัน
  • 4:33 - 4:35
    อะดีโนซีนจึงอาจทำงานล่วงเวลา
  • 4:35 - 4:37
    ทำให้เกิดอาการปวดหัว
  • 4:37 - 4:38
    เหนื่อย
  • 4:38 - 4:40
    และรู้สึกหดหู่
  • 4:40 - 4:45
    แต่ในสองถึงสามวัน
    รีเซปเตอร์ของอะดีโนซีนที่มากเกินไปก็จะหายไป
  • 4:45 - 4:47
    ร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัว
  • 4:47 - 4:50
    แล้วคุณก็จะรู้สึกตื่นตัวเหมือนเคย
  • 4:50 - 4:53
    แม้จะไม่มีสารกระตุ้นที่เป็นที่นิยมที่สุดในโลกนี้ก็ตาม
Title:
คาเฟอีนสามารถทำให้เรารู้สึกกระปรี้กระเปร่าได้อย่างไร - ฮานาน กาซิม (Hanan Qasim)
Description:

ดูบทเรียนเพิ่มเติมได้ที่ http://ed.ted.com/lessons/how-does-caffeine-keep-us-awake-hanan-qasim

เราดื่มคาเฟอีนกันมากกว่าหนึ่งแสนเมตริกตันในแต่ละปีทั่วโลก ซึ่งนั่นเท่ากับน้ำหนักของหอไอเฟลถึง 14 หอเลยทีเดียว คาเฟอีนช่วยทำให้ร่างกายตื่นตัว มีสมาธิจดจ่อ และกระฉับกระเฉง แม้ว่าเราจะไม่ได้นอนพักผ่อนมาอย่างเพียงพอก็ตาม แต่มันก็ทำให้ความดันของเราพุ่งสูงขึ้นและยังทำให้เรารุ้สึกกระสับกระส่าย แล้วคาเฟอีนสามารถทำให้เรารู้สึกกระปรี้กระเปร่าได้ยังไงละ ฮานาน กาซิม จะมาแบ่งปันข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เบื้องหลังสารเสพติดที่มีคนใช้กันมากที่สุด

บทเรียนโดย ฮานาน กาซิม แอนนิเมชั่น โดย อะเดรียติค อะนิเมชั่น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:15
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How does caffeine keep us awake? - Hanan Qasim
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How does caffeine keep us awake? - Hanan Qasim
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for How does caffeine keep us awake? - Hanan Qasim
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How does caffeine keep us awake? - Hanan Qasim
chokelada kowrapapong edited Thai subtitles for How does caffeine keep us awake? - Hanan Qasim
chokelada kowrapapong edited Thai subtitles for How does caffeine keep us awake? - Hanan Qasim
Sakunphat Jirawuthitanant declined Thai subtitles for How does caffeine keep us awake? - Hanan Qasim
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for How does caffeine keep us awake? - Hanan Qasim
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions