Return to Video

ศิลปะกับการเยียวยาบาดแผลที่มองไม่เห็นจากพีทีเอสดี (PTSD)

  • 0:01 - 0:04
    คุณคือนายพลทหารยศสูง
  • 0:04 - 0:07
    ที่ถูกส่งไปรบที่อัฟกานิสถาน
  • 0:08 - 0:10
    คุณมีหน้าที่รับผิดชอบชีวิต
  • 0:10 - 0:13
    ของผู้คนมากมายทั้งผู้ชายผู้หญิง
  • 0:13 - 0:15
    และฐานของคุณกำลังถูกโจมตี
  • 0:16 - 0:19
    เกิดระเบิดขึ้นรอบ ๆ ที่ที่คุณอยู่
  • 0:20 - 0:23
    คุณแทบจะมองไม่เห็นอะไรเลย
    ท่ามกลางฝุ่นและควัน
  • 0:23 - 0:26
    คุณพยายามอย่างดีที่สุด
    ที่จะช่วยผู้บาดเจ็บ
  • 0:26 - 0:28
    และคลานไปยังหลุมหลบภัยที่ใกล้ที่สุด
  • 0:29 - 0:32
    คุณยังไม่หมดสติแต่มึนงงเพราะเสียงระเบิด
  • 0:32 - 0:36
    คุณนอนตะแคง
    และพยายามประเมินสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 0:38 - 0:40
    เมื่อคุณกลับมามองเห็นได้อย่างชัดเจน
  • 0:40 - 0:42
    คุณเห็นใบหน้าโชกเลือด
  • 0:42 - 0:44
    จ้องกลับมาที่คุณ
  • 0:45 - 0:48
    เป็นภาพที่น่ากลัว
  • 0:48 - 0:51
    แต่คุณก็เข้าใจอย่างรวดเร็วว่า
  • 0:51 - 0:53
    มันไม่ใช่เรื่องจริง
  • 0:54 - 0:59
    ภาพพวกนี้ยังตามหลอกหลอนคุณ
    หลายครั้งทั้งยามตื่นและหลับ
  • 0:59 - 1:03
    คุณตัดสินใจไม่บอกใคร
    เพราะกลัวจะต้องเสียงาน
  • 1:03 - 1:04
    หรือกลัวจะถูกมองว่าอ่อนแอ
  • 1:06 - 1:08
    คุณตั้งชื่อภาพที่เห็นนั้นว่า
  • 1:08 - 1:10
    ใบหน้าโชกเลือดในหลุมหลบภัย
  • 1:10 - 1:12
    และเรียกมันสั้น ๆ ว่า หน้าโชกเลือด
  • 1:14 - 1:17
    คุณเก็บหน้าโชกเลือดนั้นไว้ในใจ
  • 1:17 - 1:19
    ปล่อยให้มันหลอกหลอนคุณ
  • 1:19 - 1:22
    ไปอีกเจ็ดปี
  • 1:24 - 1:25
    ตอนนี้หลับตาลง
  • 1:27 - 1:29
    คุณยังเห็นหน้าโชกเลือดนั้นไหม
  • 1:32 - 1:34
    ถ้าคุณยังเห็นภาพใบหน้านั้น
    นั่นหมายถึงคุณเริ่มเห็น
  • 1:34 - 1:37
    บาดแผลที่มองไม่เห็นจากสงคราม
  • 1:37 - 1:40
    หรือที่เรียกกันว่า ความผิดปกติ
    ที่เกิดขึ้นจากความบอบช้ำทางจิตใจ
  • 1:40 - 1:41
    และการได้รับบาดเจ็บทางสมอง
  • 1:42 - 1:45
    ถึงแม้ว่าฉันจะบอกไม่ได้
    ว่าฉันมีความผิดปกติดังกล่าว
  • 1:45 - 1:47
    นั่นก็ไม่ได้แปลว่าฉันไม่รู้จักมัน
  • 1:48 - 1:52
    ตอนที่ฉันยังเด็ก ฉันจะไปหาคุณปู่คุณย่า
    ทุก ๆ หน้าร้อน
  • 1:53 - 1:54
    ปู่ของฉัน
  • 1:54 - 1:57
    ทำให้ฉันเห็น
    ถึงผลทางจิตใจที่เกิดจากสงคราม
  • 1:59 - 2:02
    ตอนที่ปู่เป็นทหารเรือในสงครามเกาหลี
  • 2:02 - 2:06
    กระสุนยิงเข้าที่คอของปู่
    ทำให้ปู่เปล่งเสียงไม่ได้
  • 2:07 - 2:10
    ปู่มองคนเก็บศพทหารที่ผ่านปู่ไป
  • 2:10 - 2:11
    เขาคิดว่าปู่ตายไปแล้ว
  • 2:11 - 2:13
    และปล่อยปู่ไว้แบบนั้น
  • 2:15 - 2:18
    หลายปีต่อมา
    หลังจากหายจากอาการบาดเจ็บ
  • 2:18 - 2:19
    ปู่กลับไปที่บ้าน
  • 2:19 - 2:23
    ปู่แทบไม่พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนตื่น
  • 2:24 - 2:27
    แต่ตอนกลางคืน ฉันจะได้ยิน
    เขาตะโกนคำหยาบคาย
  • 2:27 - 2:28
    มาจากห้องนอนดังไปถึงโถงข้างล่าง
  • 2:29 - 2:33
    ในระหว่างวันฉันจะบอกก่อน
    ว่าจะเข้าไปในห้องของปู่
  • 2:33 - 2:35
    และระวังไม่ได้เขาตกใจหรือไปรบกวน
  • 2:37 - 2:39
    ปู่ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่
  • 2:39 - 2:42
    อย่างโดดเดี่ยวและไม่ค่อยพูด
  • 2:42 - 2:44
    ไม่เคยได้พบกับวิธีแสดงความรู้สึกของเขา
  • 2:44 - 2:47
    และตอนนั้น
    ฉันยังไม่มีสิ่งที่จะเยียวยาเขาได้
  • 2:50 - 2:52
    ฉันยังไม่รู้จักชื่อของอาการที่เขาเป็น
  • 2:52 - 2:54
    จนฉันอายุประมาณ 20 ปี
  • 2:55 - 2:58
    และเรียนระดับปริญญาด้านศิลปะบำบัด
  • 2:58 - 3:01
    ฉันสนใจศึกษา
    เกี่ยวกับความบอบช้ำทางจิตใจ
  • 3:02 - 3:06
    และขณะที่กำลังเรียนเรื่องความผิดปกติ
    ที่เกิดจากความบอบช้ำทางจิตใจ
  • 3:06 - 3:08
    หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า พีทีเอสดี (PTSD)
  • 3:08 - 3:12
    ความตั้งใจที่จะช่วยทหาร
    ที่ได้รับความบอบช้ำทางใจเหมือนปู่
  • 3:12 - 3:13
    ก็เริ่มต้นขึ้น
  • 3:15 - 3:18
    เราเรียกความผิดปกตินี้ด้วยชื่อต่าง ๆ
  • 3:18 - 3:19
    ตลอดประวัติศาสตร์การทำสงคราม
  • 3:20 - 3:22
    โฮมซิคเนส (homesickness),
  • 3:22 - 3:24
    โซลเยอรส์ ฮาร์ท (soldier's heart),
  • 3:25 - 3:26
    เชลล์ ช็อค (shell shock),
  • 3:27 - 3:29
    เทาซัน-ยาร์ด สแตร์ (thousand-yard stare) เป็นต้น
  • 3:30 - 3:33
    และช่วงที่ฉันกำลังเรียนอยู่นั้น
    สงครามใหม่ก็เริ่มขึ้น
  • 3:33 - 3:37
    ด้วยเสื้อเกราะและยานยนต์สมัยใหม่
  • 3:37 - 3:40
    ทหารจึงรอดชีวิตจากการบาดเจ็บ
    อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในอดีต
  • 3:42 - 3:45
    แต่บาดแผลที่มองไม่เห็น
    กลับยกระดับสูงขึ้น
  • 3:45 - 3:48
    และด้วยเหตุนี้หมอทหารและนักวิจัย
  • 3:48 - 3:53
    จึงพยายามศึกษาและเข้าใจ ผลของ
    การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือทีบีไอ
  • 3:53 - 3:56
    และผลของพีทีเอสดีที่มีต่อสมอง
  • 3:57 - 4:00
    ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
    และการทำรังสีวินิจฉัย
  • 4:00 - 4:03
    เราพบว่ามีการหยุดการทำงาน
    ในสมองส่วนโบรกา (Broca's)
  • 4:03 - 4:08
    หรือสมองส่วนที่ควบคุมด้านการพูด
    หลังจากการได้รับบาดเจ็บ
  • 4:09 - 4:11
    การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพนี้
  • 4:11 - 4:14
    หรือที่มักเรียกกันว่า สปีชเลสแทเรอร์
    (speechless terror)
  • 4:14 - 4:17
    ซึ่งเกิดคู่กับบาดแผลในจิตใจ
  • 4:17 - 4:18
    ความกลัวที่จะถูกตัดสิน
  • 4:18 - 4:20
    หรือถูกเข้าใจผิด
  • 4:20 - 4:23
    แม้แต่ความเป็นไปได้ที่จะถูกปลดจากหน้าที่
  • 4:23 - 4:27
    ทำให้ทหารเหล่านี้รู้สึกต้องดิ้นรนอยู่ภายใน
  • 4:28 - 4:31
    ทหารผ่านศึกรุ่นแล้วรุ่นเล่า
  • 4:31 - 4:35
    เลือกที่จะไม่พูดเกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขา
  • 4:35 - 4:37
    และทรมานอยู่อย่างโดดเดี่ยว
  • 4:39 - 4:42
    ฉันได้รับงานที่ยากตั้งแต่เริ่มงานแรก
  • 4:42 - 4:46
    ในฐานะนักบำบัดที่ศูนย์การแพทย์ทหารบก
    ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
  • 4:46 - 4:47
    วอลเตอร์ รีดด์ (Walter Reed)
  • 4:47 - 4:51
    หลังจากการทำงานไม่กี่ปี
    ในหน่วยผู้ป่วยทางจิตที่อยู่ในการดูแล
  • 4:51 - 4:56
    ฉันได้ถูกย้ายไปยัง the National
    Intrepid Center of Excellence (NICoE)
  • 4:56 - 5:00
    ซึ่งให้บริการรักษาทีบีไอ
    สำหรับทหารที่ยังปฏิบัติหน้าที่
  • 5:01 - 5:03
    ทีนี้ ฉันเชื่อในศิลปะบำบัด
  • 5:03 - 5:06
    แต่ฉันต้องทำให้ทหารเหล่านั้นเชื่อด้วย
  • 5:06 - 5:10
    พวกทหารชาย ร่างใหญ่ กำยำ
    แข็งแรง ชายชาตรี
  • 5:10 - 5:11
    และพวกทหารหญิงด้วย
  • 5:12 - 5:16
    ทำให้พวกเขาเปิดใจมองศิลปะ
    เป็นการเยียวยาจิตใจ
  • 5:17 - 5:21
    ซึ่งผลที่ออกมาค่อนข้างน่าประทับใจ
  • 5:22 - 5:24
    งานศิลปะที่สวยงามและมีความหมาย
  • 5:24 - 5:27
    ได้รับการสร้างสรรค์โดยทหาร
    ทั้งชายและหญิง
  • 5:27 - 5:30
    และผลงานศิลปะทุกชิ้นล้วนบอกเล่าเรื่องราว
  • 5:31 - 5:34
    เราสังเกตเห็นว่าขั้นตอนการบำบัดผ่านศิลปะ
  • 5:34 - 5:36
    ทำให้มีการทำงานสั่งงานด้านการพูดในสมอง
  • 5:37 - 5:41
    งานศิลปะทำให้เข้าถึงสมอง
    ในพื้นที่เดียวกับที่บาดเจ็บ
  • 5:42 - 5:46
    ทหารสามารถใช้การสร้างงานศิลปะ
    เพื่อเข้าถึงประสบการณ์ของพวกเขา
  • 5:46 - 5:47
    โดยที่ไม่รู้สึกถูกคุกคาม
  • 5:48 - 5:51
    พวกเขายังสามารถคิดถ้อยคำ
    สำหรับผลงานนั้น
  • 5:51 - 5:55
    ทำให้สมองซีกซ้ายและซีกขวา
    ได้ทำงานร่วมกัน
  • 5:57 - 6:00
    เอาล่ะ เราได้เห็นว่ามันสามารถ
    เป็นงานศิลปะรูปแบบใดก็ได้
  • 6:00 - 6:03
    วาดภาพ, ลงสี, ภาพปะติด
  • 6:03 - 6:06
    แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะให้ผลขัดเจนที่สุด
  • 6:07 - 6:08
    คือการทำหน้ากาก
  • 6:09 - 6:13
    สุดท้ายแล้วบาดแผลที่มองไม่เห็น
    ไม่ได้มีแค่ชื่อเรียก
  • 6:14 - 6:15
    แต่มีใบหน้าด้วย
  • 6:17 - 6:19
    และเมื่อทหารสร้างหน้ากากขึ้นมา
  • 6:19 - 6:23
    พวกเขาได้เข้าใจบาดแผลของพวกเขาจริง ๆ
  • 6:24 - 6:26
    และน่าประหลาดใจมากที่มันทำให้พวกเขา
  • 6:26 - 6:29
    ตีฝ่าบาดแผลนั้นออกมาและเริ่มเยียวยา
  • 6:31 - 6:32
    ยังจำใบหน้าโชกเลือดได้ไหม
  • 6:34 - 6:37
    มันคือประสบการณ์จริงของผู้ป่วยของฉัน
  • 6:37 - 6:39
    และเมื่อเขาสร้างหน้ากากขึ้น
  • 6:39 - 6:42
    เขาสามารถปลดปล่อย
    ให้ภาพหลอกหลอนนั้นหายไป
  • 6:43 - 6:46
    ในตอนแรกทหารกังวลกับเรื่องนี้
  • 6:46 - 6:49
    แต่สุดท้ายพวกเขาเริ่มมอง
    ใบหน้าโชกเลือดเฉกเช่นหน้ากาก
  • 6:49 - 6:50
    ไม่ใช่บาดแผลในใจอีกต่อไป
  • 6:50 - 6:52
    และในแแต่ละครั้งที่จบกิจกรรม
  • 6:52 - 6:55
    เขาจะยื่นหน้ากากนั้นให้ฉันและพูดว่า
    "เมลิซซ่า ดูแลเขาด้วยนะ"
  • 6:56 - 7:01
    และเราจะเอาหน้ากากนั้นไปใส่ในกล่อง
  • 7:01 - 7:03
    และเมื่อพวกทหารออกจาก NICoE
  • 7:03 - 7:05
    เขาเลือกที่จะทิ้งใบหน้าโชกเลือดไว้
  • 7:06 - 7:09
    ในปีต่อมาเขาเห็นใบหน้าโชกเลือด
    เพียงสองครั้งเท่านั้น
  • 7:09 - 7:11
    และในทั้งสองครั้งใบหน้านั้นยิ้มให้เขา
  • 7:11 - 7:13
    และเขาไม่รู้สึกกังวล
  • 7:14 - 7:17
    ตอนนี้ ทุกครั้งที่เขาถูกหลอกหลอน
    ด้วยความทรงจำนั้น
  • 7:17 - 7:19
    เขาจะเริ่มวาดภาพ
  • 7:20 - 7:23
    และทุกครั้งที่เขาวาดภาพที่น่ารบกวนใจนั้น
  • 7:23 - 7:25
    เขาจะเห็นภาพเหล่านั้นน้อยลง
    หรือไม่เห็นอีกเลย
  • 7:27 - 7:31
    นักปรัชญาเคยบอกกับเรา
    มาเป็นพันกว่าปีแล้วว่า
  • 7:31 - 7:32
    พลังแห่งการสร้างสรรค์
  • 7:32 - 7:35
    และพลังแห่งการทำลายนั้น
    เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด
  • 7:36 - 7:38
    ตอนนี้วิทยาศาสตร์
    ได้พิสูจน์แล้วว่าส่วนของสมอง
  • 7:38 - 7:40
    ที่ได้รับบาดเจ็บนั้น
  • 7:40 - 7:43
    สามารถเป็นส่วนของสมอง
    ที่เกิดการเยียวยาได้เช่นกัน
  • 7:44 - 7:47
    และศิลปะบำบัดก็แสดงให้เราเห็นว่า
    จะเชื่อมโยงมันได้อย่างไร
  • 7:48 - 7:50
    เราขอให้ทหารคนหนึ่ง
  • 7:50 - 7:54
    เล่าว่าการทำหน้ากาก
    มีผลต่อการรักษาเขาอย่างไร
  • 7:54 - 7:55
    และนี่คือสิ่งที่เขาพูด
  • 7:56 - 7:58
    (วีดีโอ) ทหาร:
    คุณมีใจจดจ่ออยู่กับหน้ากาก
  • 7:58 - 8:00
    คุณจดจ่ออยู่กับการวาดภาพ
  • 8:00 - 8:04
    สำหรับผมมันเหมือนการทำลายการปิดกั้น
  • 8:05 - 8:08
    และผมก็สามารถทำมันได้
  • 8:08 - 8:11
    และเมื่อผมมองดูมัน
    ในอีกสองวันต่อมา ผมรู้สึกว่า
  • 8:11 - 8:14
    "เฮ้ย นี่ภาพวาด นี่กุญแจ และนี่ปริศนา"
  • 8:15 - 8:17
    และหลังจากนั้นมันก็ดีขึ้น
  • 8:17 - 8:20
    ผมหมายถึง จากนั้น
    การรักษาราวกับหายไป
  • 8:20 - 8:23
    เพราะว่า ปกติพวกเขาจะบอกว่า
    เคิร์ท อธิบายนี่ อธิบายโน่นซิ
  • 8:23 - 8:25
    และเป็นครั้งแรกใน 23 ปี
  • 8:25 - 8:28
    ที่ผมสามารถพูดเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
    ได้อย่างเปิดเผยเหมือนกับคนอื่น ๆ
  • 8:28 - 8:31
    ผมพูดถึงเรื่องนั้นได้เลยตอนนี้
    ถ้าผมต้องการ
  • 8:31 - 8:33
    เพราะมันถูกปลดปล่อยจากการปิดกั้น
  • 8:33 - 8:35
    มันน่ามหัศจรรย์มากครับ
  • 8:35 - 8:39
    และยังทำให้ผมสามารถ
    เอาอาการพีทีเอสดี 23 ปีของผม
  • 8:40 - 8:46
    กับทีบีไอรวมเข้าไว้ด้วยกัน
  • 8:46 - 8:48
    นั่นเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
  • 8:50 - 8:51
    ขอโทษครับ
  • 8:52 - 8:54
    เมลิซซ่า วอล์คเกอร์:
    ตลอดระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา
  • 8:54 - 8:58
    เรามีหน้ากากที่ทำขึ้นกว่า 1,000 ชิ้น
  • 8:58 - 8:59
    มันน่าอัศจรรย์ใช่ไหมคะ
  • 9:01 - 9:02
    ขอบคุณค่ะ
  • 9:02 - 9:04
    (เสียงปรบมือ)
  • 9:07 - 9:11
    ฉันอยากแบ่งปันวิธีนี้ให้กับปู่ของฉัน
  • 9:12 - 9:14
    แต่ฉันรู้ว่าเขาคงตื่นเต้น
  • 9:15 - 9:17
    ที่เราพบวิธี
  • 9:17 - 9:20
    ที่จะช่วยเยียวยาผู้คนในวันนี้
    และวันข้างหน้า
  • 9:21 - 9:24
    และค้นพบตัวตนของพวกเขา
  • 9:25 - 9:26
    ที่พวกเขาสามารถจะเข้าถึง
  • 9:26 - 9:28
    เพื่อจะเยียวยาจิตใจของตนเอง
  • 9:30 - 9:31
    ขอบคุณค่ะ
  • 9:31 - 9:35
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ศิลปะกับการเยียวยาบาดแผลที่มองไม่เห็นจากพีทีเอสดี (PTSD)
Speaker:
เมลิซซ่า วอล์คเกอร์ (Melissa Walker)
Description:

"บาดแผลทางจิตใจนั้นปิดปากผู้ป่วย" นักศิลปะบำบัดผู้สร้างสรรค์ เมลิซซ่า วอล์คเกอร์ กล่าว แต่ศิลปะสามารถช่วยผู้ป่วยเหล่านั้นจากบาดแผลทางจิตใจจากสงครามได้ ให้พวกเขาได้เปิดใจและเยียวยา ในการบรรยายเพื่อเป็นแรงบันดาลใจนี้ วอล์คเกอร์เล่าถึงการทำหน้ากากที่ช่วยให้ผู้ป่วยทหารทั้งชายและหญิงกล้าที่จะเผยถึงสิ่งที่หลอกหลอนพวกเขา และทำให้สิ่งเหล่านั้นหายไปในที่สุด

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
09:48
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Art can heal PTSD's invisible wounds
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Art can heal PTSD's invisible wounds
Thitiworada Koitong accepted Thai subtitles for Art can heal PTSD's invisible wounds
Thitiworada Koitong edited Thai subtitles for Art can heal PTSD's invisible wounds
Thitiworada Koitong edited Thai subtitles for Art can heal PTSD's invisible wounds
Thitiworada Koitong edited Thai subtitles for Art can heal PTSD's invisible wounds
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for Art can heal PTSD's invisible wounds
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Art can heal PTSD's invisible wounds
Show all

Thai subtitles

Revisions