Return to Video

อะไรคือลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม - ซาร่าห์ โรเซนธัล

  • 0:09 - 0:13
    ถ้าคุณไปพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงงานสะสม
    ของศิลปะยุคใหม่หรือศิลปะร่วมสมัย
  • 0:13 - 0:17
    คุณมักจะได้เห็นผลงาน
    ที่บางครั้งทำให้คุณคิดว่า
  • 0:17 - 0:21
    "แมวของฉันก็ทำได้
    นี่เป็นศิลปะได้อย่างไร"
  • 0:21 - 0:26
    กิจกรรมของลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม
    หรือรู้จักกันในชื่อ สกุลนิวยอร์ค
  • 0:26 - 0:29
    ได้รับการตอบสนองแบบนี้บ่อยมาก
  • 0:29 - 0:32
    ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม
    เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1943
  • 0:32 - 0:35
    และพัฒนาขึ้นมาหลังการสิ้นสุด
    ของสงครามโลกครั้งที่สอง
  • 0:35 - 0:39
    มันถูกนิยามโดยภาพวาดนามธรรมพื้นฐาน
    ซึ่งมีขนาดใหญ่พิเศษ
  • 0:39 - 0:43
    องค์ประกอบทั้งหมดไม่มีจุดเด่นที่ชัดเจน
  • 0:43 - 0:48
    และป้ายสีวาดแนวเส้นรูปร่าง
    สรรสร้างและลงลึกถึงความรู้สึกอันมากหลาย
  • 0:49 - 0:52
    เหล่าศิลปินที่ถูกจัดเป็น
    นักกิจกรรมลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม
  • 0:52 - 0:56
    ซึ่งมี บาร์เน็ตต์ นิวแมน
    กับอัตถิภาวะที่กดดัน
  • 0:56 - 0:59
    วิลเลม เดอ คูนนิ่ง
    ผู้โด่งดังจากภาพเสมือนสตรี
  • 0:59 - 1:03
    เฮเลน แฟรงเคนเทลเลอร์
    ผู้สร้างเทคนิคการเทสีน้ำมัน
  • 1:03 - 1:04
    และคนอื่น ๆ
  • 1:04 - 1:08
    แต่บางที คนที่มีชื่อเสียง ทรงอิทธิพล
    และน่างุนงงเป็นที่สุด
  • 1:08 - 1:10
    คือ แจ็คสัน พอลล็อค
  • 1:10 - 1:13
    เกือบทุกภาพของเขาล้วนเป็นที่จดจำได้ในทันที
  • 1:13 - 1:16
    ภาพนั้นประกอบด้วยเส้นสีสันพัวพันยุ่งเหยิง
  • 1:16 - 1:19
    สาดสายซ่านกระเซ็นไปทุกทิศทางบนผืนผ้าใบ
  • 1:19 - 1:23
    และแน่นอน พื้นที่แห่งความยุ่งเหยิงเหล่านี้
    ช่างกว้างใหญ่และน่าประทับใจยิ่ง
  • 1:23 - 1:25
    แต่ว่า อะไรทำให้ภาพเหล่านั้นมันสำคัญนัก
  • 1:25 - 1:28
    ไม่ใช่ว่าเขาเพียงสาดสีไปอย่างสะเปะสะปะ
  • 1:28 - 1:29
    คนอื่นไม่สามารถทำอย่างเขาได้หรือ
  • 1:29 - 1:33
    คำตอบของคำถามเหล่านี้มีทั้งใช่และไม่ใช่
  • 1:33 - 1:38
    ขณะที่พอลล็อคใช้เทคนิค
    ที่เหมือนว่าใคร ๆ ก็สามารถทำได้
  • 1:38 - 1:39
    โดยไม่ต้องฝึกฝนทักษะศิลปิน
  • 1:39 - 1:42
    เขาคนเดียวที่สามารถรังสรรค์ภาพวาดของเขาได้
  • 1:42 - 1:45
    ปฏิทัศน์นี้เกี่ยวข้องกับรากกำเนิดงานของเขา
  • 1:45 - 1:50
    ในกลุ่มศิลปินลัทธิเหนือจริง ซึ่งวาดภาพโดย
    ไม่ควบคุมของอังเดร แมซซอน และคนอื่น ๆ
  • 1:50 - 1:54
    ศิลปินลัทธิเหนือจริงเหล่านี้วาดภาพ
    โดยการชี้นำของจิตใต้สำนึก
  • 1:54 - 1:57
    เพื่อจะไขแสดงความจริง
    ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจของพวกเขา
  • 1:58 - 2:02
    ในบางโอกาส แทนที่จะคิดภาพบางอย่างในหัว
    แล้วค่อยวาดออกมา
  • 2:02 - 2:04
    เขาปล่อยมือของเขาให้เคลื่อนไหวไปเอง
  • 2:04 - 2:09
    และแยกแยะให้เห็นรูปร่างที่คุ้นเคยที่ปรากฏ
    ในลายเส้นหยุกหยิกนั้นภายหลัง
  • 2:09 - 2:12
    หลังจากพอลล็อคออกจากกลุ่มศิลปิน
  • 2:12 - 2:17
    เขาสร้างสรรค์ภาพศิลป์จากหยดสี
    หรือกัมมันตจิตรกรรม ตามแบบฉบับที่คุ้นเคย
  • 2:17 - 2:20
    แต่เขาก็ได้พัฒนารูปแบบเฉพาะตัวขึ้นมา
  • 2:20 - 2:24
    และไม่เคยมองหาภาพสะท้อนหรือข้อความ
    ที่ซ่อนอยู่ในงานของเขา
  • 2:24 - 2:28
    อย่างแรก เขานำผืนผ้าใบออกจากขาตั้ง
    และกางไว้บนพื้น
  • 2:28 - 2:30
    การกระทำที่ล้มล้างในตัวมันเอง
  • 2:30 - 2:35
    จากนั้น โดยการเต้นรำอย่างควบคุมได้
    เขาเยื้องย่างผ่านทุกที่บนผืนผ้า
  • 2:35 - 2:40
    สาดสีงานอุตสาหกรรม
    ลงบนเครื่องกวนและอุปกรณ์อื่น
  • 2:40 - 2:41
    คอยเปลี่ยนความเร็วและทิศทาง
  • 2:41 - 2:46
    เพื่อควบคุมการที่หยดสีสัมผัสกับพื้นผิว
  • 2:46 - 2:48
    การเคลื่อนไหวเหล่านี้
    ดุจศิลปินลัทธิเหนือจริงเขียนเล่น
  • 2:48 - 2:52
    กำเนิดจากการคาดคะเนในจิดใต้สำนึกของพอลล็อค
  • 2:52 - 2:54
    แต่ไม่เหมือนกับศิลปินลัทธิเหนือจริง
  • 2:54 - 2:57
    ที่ภาพของศิลปินจะแสดงถึง
    เนื้อหาที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจ
  • 2:57 - 3:02
    พอลล็อคทำให้เกิดการแสดงออกทางกายภาพ
    ของจิดใจเขาตามที่เขาจินตนาการ
  • 3:02 - 3:06
    ภาพวาดคือเอกลักษณ์ทางจิตใจของตัวเขาเอง
  • 3:06 - 3:10
    ในทางทฤษฎี ใครก็สามารถวาดภาพ
    ที่เป็นการแสดงถึงจิตใจของตัวเองได้
  • 3:10 - 3:12
    ทำไมพอลล็อคถึงพิเศษนัก
  • 3:12 - 3:17
    เอาล่ะ มันสำคัญที่จะจดจำว่า
    คนอื่น ๆ สามารถทำตามแบบเขาได้
  • 3:17 - 3:21
    พอลล็อคกับศิลปินสกุลนิวยอร์ค
    เป็นผู้ริเริ่มทำสิ่งนี้
  • 3:21 - 3:25
    พวกเขาทำลายสัญนิยมภาพวาด
    ที่ยืนหยัดมาหลายศตวรรษ
  • 3:25 - 3:28
    บังคับโลกศิลปะให้รื้อคิดตัวตนใหม่ทั้งหมด
  • 3:28 - 3:33
    แต่เหตุผลสุดท้ายที่ว่าทำไมผลงานของ
    แจ็คสัน พอลล็อคถึงเด่นดังตลอดมา
  • 3:33 - 3:38
    แตกยอดมาจากวัตถุเฉพาะที่เขาสร้าง
    ซึ่งก่อร่างความขัดแย้งอันชวนหลงใหล
  • 3:38 - 3:41
    ตัวอย่างเช่น ในกระบวนการทำงานของพอลล็อค
  • 3:41 - 3:44
    ทำให้เกิดพื้นผิวหลายชั้น
    ที่ต่างก็ถูกระบายอย่างรุนแรง
  • 3:44 - 3:51
    ข่ายใยของเส้นสีที่ถูกระบายนี้
    ได้สร้างภาพลวงตาของความลึกหลายชั้นไม่รู้จบ
  • 3:51 - 3:53
    เมื่อมองดูในระยะใกล้
  • 3:53 - 3:57
    และความวุ่นวายของเส้นที่พันกันยุ่งเหยิงนี้
    ดูคล้ายจะแข็งขืนต่อทุกการควบคุม
  • 3:57 - 3:59
    แต่ที่จริง
    มันเป็นผลผลิตจากกระบวนการที่มีความตั้งใจ
  • 3:59 - 4:02
    แม้จะไม่มีการวางแผนก่อนหน้า
  • 4:02 - 4:06
    ลักษณะเฉพาะยิ่งเหล่านี้ทำให้พอลล็อค
    กลายเป็นผู้มีชื่อเสียง
  • 4:06 - 4:08
    และในวงการประวัติศาสตร์ศิลป์
  • 4:08 - 4:10
    พวกเขายกย่องพอลล็อคให้เป็นตำนาน
  • 4:10 - 4:13
    ของศิลปินอัจฉริยะเยี่ยงวีรบุรุษ
  • 4:13 - 4:17
    ดังนั้น แทนที่ทุกความคิดสร้างสรรค์
    จะมีความเสมอภาคทัดเทียมกัน
  • 4:17 - 4:24
    โชคร้ายที่ผลงานของพอลล็อคได้รวบรวม
    องค์ประกอบขั้นสูงของงานศิลปะอันคงกระพัน
  • 4:24 - 4:24
    ความเหนือระดับ
  • 4:24 - 4:25
    ความเป็นนวัตกรรม
  • 4:25 - 4:27
    หรือแล้วแต่คุณจะเรียกขานมัน
  • 4:27 - 4:29
    ประวัติศาสตร์ที่ยึดโยง
    กับลัทธิสำแดงพลังอารมณ์นี้
  • 4:29 - 4:33
    คือสิ่งหนึ่งที่ไม่มีแมวตัวใด
    แม้จะมีพรสวรรค์ สามารถเอ่ยอ้างสิทธิ์นี้ได้
Title:
อะไรคือลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม - ซาร่าห์ โรเซนธัล
Description:

ชมบทเรียนที่:: http://ed.ted.com/lessons/could-just-anyone-make-a-jackson-pollock-painting-sarah-rosenthal

ถ้าคุณไปพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงงานสะสมของศิลปะสมัยใหม่หรือศิลปะร่วมสมัย คุณมักจะได้เห็นผลงานที่บางครั้งทำให้คุณคิดว่า "แมวของฉันก็ทำได้ นี่เป็นศิลปะได้อย่างไร" แต่มันเป็นเช่นนั้นแน่หรือ ใครๆก็สามารถสร้างสรรค์งานหยดสีของแจ็คสัน พอลล็อคได้จริงหรือ ซาร่าห์ โรเซนธัลจะพาเราลงลึกไปสู่กลุ่มศิลปินลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม โดยมีความหวังว่าจะพบคำตอบของคำถามนั้น

บทเรียนโดย ซาร่าห์ โรเซนธัล
แอนิเมชั่นโดย โทมัส พิคาโด เอสเพลลาต์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:50

Thai subtitles

Revisions