Return to Video

รัสเซียมาจากไหน - อเล็กซ์ เจนดเลอร์ (Alex Gendler)

  • 0:10 - 0:12
    รัสเซียมาจากไหน
  • 0:12 - 0:13
    ทำไมถึงมีขนาดใหญ่นัก
  • 0:13 - 0:17
    และมันแตกต่างจากเพื่อนบ้านอย่างไร
  • 0:17 - 0:20
    คำตอบอยู่ในเรื่องราวอันน่าทึ่ง
    ของนักรบทางทะเล
  • 0:20 - 0:23
    ผู้รุกรานเร่ร่อน
  • 0:23 - 0:29
    และความรุ่งเรืองและการเสื่อมสลายของ
    รัฐยุคกลางที่ชื่อว่าคีแวน รัส (Kievan Rus)
  • 0:29 - 0:30
    ในสหัสวรรษแรก
  • 0:30 - 0:34
    ชนเผ่ากลุ่มใหญ่แผ่ขยายออกไป
    ทั่วผืนป่าสมบูรณ์ทางยุโรปตะวันออก
  • 0:34 - 0:37
    เพราะว่าพวกเขาไม่มีระบบการเขียน
  • 0:37 - 0:41
    เรื่องราวส่วนใหญ่ของพวกเขาที่เรารู้
    จึงมาจากสามแหล่งหลัก ได้แก่
  • 0:41 - 0:42
    หลักฐานทางโบราณคดี
  • 0:42 - 0:47
    ที่ได้จากนักวิชาการผู้รู้หนังสือ
    จากอาณาจักรโรมัน และตะวันออกกลาง
  • 0:47 - 0:52
    และสุดท้าย ประวัติศาสตร์อันน่าทึ่งเรียกว่า
    บันทึกเหตุการณ์ปฐมบท (Primary Chronicle)
  • 0:52 - 0:56
    ที่ถูกรวมรวมในศตวรรษที่ 12
    โดยพระที่มีนามว่า เนสเตอร์
  • 0:56 - 1:00
    มันบอกให้เรารู้ว่าชนเผ่าเหล่านี้
    ผู้ซึ่งใช้ภาษาสลาวิก
  • 1:00 - 1:02
    และนับถือศาสนาที่มีพระเจ้าหลายองค์
  • 1:02 - 1:08
    ได้แยกจากกันไปทางตะวันตก, ใต้ และเหนือ
    ในศตวรรษที่ 7
  • 1:08 - 1:10
    พวกที่ไปทางเหนือ แผ่ขยายจากบริเวณ
    แม่น้ำนีสเตอร์ (Dniester River)
  • 1:10 - 1:13
    ไปจนถึงแม่น้ำวอลกา (Volga)
    และทะเลบอลติก (Baltic Sea)
  • 1:13 - 1:18
    จากบันทึกของเนสเตอร์ หลายปี
    หลังจากการถูกพิชิตโดยชาวไวกิ้งจากทางเหนือ
  • 1:18 - 1:22
    ผู้ซึ่งไม่ได้สวมหมวกมีเขาในสงครามหรอกนะ
  • 1:22 - 1:27
    ชนเผ่าในพื้นที่นั้นปราบพวกนอร์ธเม็น (Northmen)
    ทำให้พวกนั้นล่าถอยไป
  • 1:27 - 1:30
    แต่พอเหลือแต่พวกเขาที่มีอาวุธกันครบมือ
    พวกเขาก็ประหัดประหารกันเอง
  • 1:30 - 1:33
    น่าขัน ที่ความวุ่นวายดังกล่าว
  • 1:33 - 1:37
    ทำให้ชนเผ่าต่าง ๆ ขอความช่วยเหลือ
    จากชาวต่างชาติที่พวกเขาเพิ่งได้ไล่ออกไป
  • 1:37 - 1:40
    ให้กลับเข้ามาและมาจัดระบบระเบียบ
  • 1:40 - 1:46
    พวกไวกิ้งรับข้อเสนอ และส่งเจ้าชายนามว่า รูริค
    และพระอนุชาสองพระองค์มาปกครอง
  • 1:46 - 1:50
    เมื่อพระโอรสของรูริค ที่มีนามว่า โอเลก
    ขยายอาณาเขตดินแดนไปถึงทางใต้
  • 1:50 - 1:53
    และย้ายเมืองหลวงไปยัง เคียฟ
  • 1:53 - 1:55
    ซึ่งเคยเป็นด่านหน้าของอาณาจักรคาซาร์ (Khazar)
  • 1:55 - 1:58
    คีแวน รัส ได้ถือกำเนิดขึ้น
  • 1:58 - 2:03
    "รัส" น่าจะแผลงมาจากคำในภาษานอสโบราณ
    ที่แปลว่า "ผู้พายเรือ"
  • 2:03 - 2:07
    เขตปกครองใหม่ของเจ้าชายมีความสัมพันธ์
    กับเพื่อนบ้านของเขาที่ซับซ้อน
  • 2:07 - 2:12
    ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างการเป็นพันธมิตร
    และเป็นคู่สงคราม กับอาณาจักรคาร์ซาและไบเซนไทน์
  • 2:12 - 2:14
    เช่นเดียวกับชนเผ่าเพื่อนบ้านต่าง ๆ
  • 2:14 - 2:17
    ศาสนามีบทบาทสำคัญทางการเมือง
  • 2:17 - 2:20
    และตามที่ตำนานว่าไว้ว่า ในปี ค.ศ. 987
  • 2:20 - 2:25
    เจ้าชายชาวรัส นามว่า วัลดีมีร์ ที่ 1ตัดสินใจว่า
    มันถึงเวลาแล้วที่จะละทิ้งลัทธิซาลวิกนอกรีต
  • 2:25 - 2:29
    และส่งผู้เผยแผ่ศาสนาออกไป
    เพื่อสำรวจความเชื่อของเพื่อนบ้าน
  • 2:29 - 2:32
    เมื่อไม่พอใจการห้ามดื่มสุราของศาสนาอิสลาม
  • 2:32 - 2:35
    และการขับไล่ศาสนายิว
    ออกจากดินแดนศักสิทธิ์ของพวกเขา
  • 2:35 - 2:38
    ผู้ปกครองรัสเซีย
    จึงเลือกศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์
  • 2:38 - 2:42
    หลังจากได้รับรู้ถึงพิธีกรรมแปลก ๆ มากมาย
  • 2:42 - 2:46
    เมื่อวัลดิมีร์เปลี่ยนศาสนาและอภิเสกสมรส
    กับพระนัดดาของจักรพรรดิ์แห่งไบเซนไทน์
  • 2:46 - 2:49
    และติดต่อทางการค้าตลอดเส้นทางโวลก้า
  • 2:49 - 2:53
    ความสัมพันธ์ระหว่างสองอารยธรรมก็ยิ่งแน่นแฟ้น
  • 2:53 - 2:56
    นักเผยแผ่ศาสนาชาวไบเซนไทน์
    ประดิษฐ์ตัวอักษรสำหรับภาษาซัลวิค
  • 2:56 - 2:59
    โดยใช้รากฐานจากตัวอักษรกรีกที่ถูกดัดแปลง
  • 2:59 - 3:04
    ในขณะที่นักรบ รัส ไวกิง ก็ทำหน้าที่
    เป็นองครักษ์ชั้นยอดให้จักรพรรดิ์ไบเซนไทน์
  • 3:04 - 3:05
    ตลอดเวลาสองสามชั่วอายุคน
  • 3:05 - 3:10
    คีแวน รัส ก็เจริญรุ่งเรือง
    ด้วยทรัพยากรณ์ที่อุดมสมบูรณ์และการค้าขาย
  • 3:10 - 3:13
    ชนชั้นสูงทั้งชายหญิงแต่งงาน
    กับชนชั้นปกครองที่มีชื่อเสียงในยุโรป
  • 3:13 - 3:16
    ในขณะที่ประชาชนในบางเมือง
    ก็สำราญใจไปกับวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่
  • 3:16 - 3:21
    วรรณกรรม และแม้กระทั่งอิสรภาพแบบประชาธิปไตย
    ซึ่งพบได้ไม่ง่ายนักในช่วงเวลานั้น
  • 3:21 - 3:24
    แต่ไม่มีอะไรที่อยู่ยั้งยืนยง
  • 3:24 - 3:29
    การสังหารกันในหมู่พี่น้องเพื่อชิงบัลลังก์
    ได้กัดกร่อนอำนาจศูนย์กลาง
  • 3:29 - 3:35
    เมื่อเมืองอิสระต่าง ๆ ที่ปกครองด้วย
    บรรดาเจ้าชายคู่อริก็แก่งแย่งอำนาจกันมากขึ้น
  • 3:35 - 3:37
    สงครามศาสนาครั้งที่สี่
    และการเสื่อมอำนาจของคอนเสตนติโนเปิล
  • 3:37 - 3:42
    ทำให้การค้าที่มีผลต่อความมั่งคั่งและอำนาจ
    ของชาวรัสสั่นคลอน
  • 3:42 - 3:45
    ในขณะที่อัศวินทิวโทนิคในสงครามศาสนา
    ก็เข้ารุกรานอาณาเขตทางตอนเหนือ
  • 3:45 - 3:49
    อย่างไรก็ดี การโจมตีครั้งสุดท้าย
    น่าจะมาจากทางตะวันออก
  • 3:49 - 3:51
    เมื่อถูกครอบงำด้วยความแตกแยกวุ่นวาย
  • 3:51 - 3:54
    บรรดาเจ้าชายชาวรัสให้ความสนใจไม่มาก
  • 3:54 - 3:56
    กับข่าวลือเรื่องการกักตุนเสบียงอย่างลึกลับ
  • 3:56 - 4:04
    จนกระทั่งปี ค.ศ. 1237 เมื่อพลธนู 35,000 นาย
    นำโดย บาตู ข่าน
  • 4:04 - 4:06
    บุกกวาดเมืองของชาวรัส
  • 4:06 - 4:11
    ไล่ชาวเคียฟ ก่อนที่จะบุกต่อไปยัง
    ฮังการีและโปแลนด์
  • 4:11 - 4:15
    ยุคสมัยของ คีแวน รัส ได้มาถึงกาลอวสาน
    ประชากรตอนนี้ถูกแบ่งแยก
  • 4:15 - 4:18
    ขณะที่ทางตะวันออก
    ยังคงถูกปกครองโดยมองโกล
  • 4:18 - 4:21
    จุดการค้าขายที่ห่างไกลออกไป
    ที่เป็นที่รู้จักในชื่อ มอสโคว
  • 4:21 - 4:24
    ก็พัฒนาเติบโตจนมีอำนาจสั่นคลอนข่านทั้งหลาย
  • 4:24 - 4:26
    และยึดครองส่วนที่เป็นจักรวรรดิ์ที่แยกออกมา
  • 4:26 - 4:29
    และเข้าปกครองดินแดนเหล่านั้นได้สำเร็จ
  • 4:29 - 4:32
    ในขณะที่มันกลืน
    ส่วนเขตแดนอื่น ๆ ของรัสทางตะวันออก
  • 4:32 - 4:36
    มันได้ชือเดิมของมันคืนมา
    ในรูปของภาษากรีก รัสซิเอ (Ruscia)
  • 4:36 - 4:40
    ในขณะเดียวกัน พื้นที่ทางตะวันตก
    ที่ผู้นำต่าง ๆ ได้หลีกเลี่ยงการถูกทำลายล้าง
  • 4:40 - 4:43
    ผ่านกลยุทธทางการเมือง
    จนกระทั่งการกักตุนลดลง
  • 4:43 - 4:46
    ก็ไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของโปแลนด์
    และลิทัวเนีย
  • 4:46 - 4:48
    ในอีกไม่กี่ศตวรรษต่อมา
  • 4:48 - 4:50
    ดินแดนที่เคยเป็นของชาวคีแวน รัส
  • 4:50 - 4:52
    ที่เป็นที่อาศัยของชาวสลาฟ
  • 4:52 - 4:53
    ที่ถูกปกครองโดยชาวไวกิ้ง
  • 4:53 - 4:54
    ที่ถูกสั่งสอนวิชาโดยชาวกรีก
  • 4:54 - 4:56
    และถูกแบ่งแยกโดยชาวมองโกล
  • 4:56 - 5:01
    ก็ได้พัฒนาความแตกต่างทางสังคม,
    วัฒนธรรม และภาษา
  • 5:01 - 5:02
    ที่ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้
Title:
รัสเซียมาจากไหน - อเล็กซ์ เจนดเลอร์ (Alex Gendler)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/where-did-russia-come-from-alex-gendler

รัสเซียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีอาณาเขตกว้างขวางกินบริเวณหนึ่งในแปดของแผ่นดินโลก แต่มันเริ่มต้นอย่างไรน่ะหรือ อเล็กซ์ เดนดเลอร์ สำรวจประวัติศาสตร์ที่น่าทึ่งของ คีแวน รัส ที่มีตัวละครจากนักตะลุยชาวไวกิ้ง และนักรบครูเสตตะวันตก ไปจนถึงผู้เผยแผ่ศาสนาชาวไปเซนไทน์ และเหล่าชาวมองโกล ที่ต่างแสดงบทบาทในการสร้างอารยธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ที่ตั้งอยู่ที่จุดเชื่อมของวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์

บทเรียนโดย Alex Gendler, แอนิเมชันโดย Draško Ivezić

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:20
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Where did Russia come from? - Alex Gendler
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Where did Russia come from? - Alex Gendler
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Where did Russia come from? - Alex Gendler
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Where did Russia come from? - Alex Gendler
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Where did Russia come from? - Alex Gendler
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Where did Russia come from? - Alex Gendler
Suwitcha Chandhorn edited Thai subtitles for Where did Russia come from? - Alex Gendler
Suwitcha Chandhorn edited Thai subtitles for Where did Russia come from? - Alex Gendler
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions