Return to Video

ไตของคุณทำงานอย่างไร - เอ็มม่า ไบรซ์ (Emma Bryce)

  • 0:07 - 0:08
    มันเป็นวันที่อากาศร้อน
  • 0:08 - 0:10
    และคุณเพิ่งจะดื่มน้ำเข้าไปหลายแก้ว
  • 0:10 - 0:12
    แก้วแล้วแก้วเล่า
  • 0:12 - 0:16
    เบื้องหลังความอยากเข้าห้องน้ำที่ตามมา
    เกิดจากอวัยวะรูปร่างเหมือนถั่วสองอัน
  • 0:16 - 0:20
    ที่ทำงานเหมือนตัวตรวจจับภายในอันละเอียดอ่อน
  • 0:20 - 0:22
    มันปรับสมดุลย์ของปริมาณน้ำในร่างกายของคุณ
  • 0:22 - 0:24
    ตรวจจับของเสียในเลือด
  • 0:24 - 0:27
    และรู้ว่าเมื่อไรจะปลดปล่อยวิตามิน เกลือแร่
  • 0:27 - 0:29
    และฮอร์โมนที่คุณต้องการในการดำรงชีวิต
  • 0:29 - 0:32
    ทักทายไตของคุณหน่อย
  • 0:32 - 0:36
    หน้าที่หลักของอวัยวะนี้คือ การกำจัดของเสีย
  • 0:36 - 0:39
    และเปลี่ยนมันเป็นปัสสาวะ
  • 0:39 - 0:42
    เลือดจำนวนแปดลิตรในตัวเราไหลผ่านไต
  • 0:42 - 0:45
    ประมาณ 20-25 เที่ยวในแต่ละวัน
  • 0:45 - 0:52
    หมายความว่า เมื่อรวมกันแล้วอวัยวะนี้
    กรองเลือด 180 ลิตร ทุก 24 ชั่วโมง
  • 0:52 - 0:55
    ส่วนประกอบในเลือดคุณ
    เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  • 0:55 - 0:57
    ขณะที่คุณกินอาหารและน้ำ
  • 0:57 - 1:00
    ซึ่งอธิบายว่าทำไมไตถึงต้องทำงานตลอดเวลา
  • 1:00 - 1:04
    เลือดผ่านเข้าไตทางเส้นเลือดแดง
    ที่แตกแขนงออกไป
  • 1:04 - 1:10
    จนกลายเป็นเส้นเลือดเล็กๆ
    ที่พันรอบหน่วยพิเศษภายใน
  • 1:10 - 1:11
    ที่เรียกว่า หน่วยไต (nephron)
  • 1:11 - 1:13
    ในไตแต่ละข้าง
  • 1:13 - 1:18
    หนึ่งล้านหน่วยไตรวมกันเป็น
    ชุดเครื่องกรองและตัวตรวจจับอันทรงพลัง
  • 1:18 - 1:21
    ที่กรองเลือดอย่างพิถีพิถัน
  • 1:21 - 1:22
    นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า
    ระบบรับสัญญาณภายใน
  • 1:22 - 1:26
    ละเอียดอ่อนและแม่นยำเพียงใด
  • 1:26 - 1:31
    ในการกรองเลือด แต่ละหน่วยไต
    ใช้อุปกรณ์ทรงพลังสองชนิด
  • 1:31 - 1:38
    อันที่เป็นโครงสร้างก้อนกลมๆ เรียกว่า โกลเมอรูลัส
    และท่อที่เป็นเส้นยาวเหมือนหลอดกาแฟ
  • 1:38 - 1:41
    โกลเมอรูลัสทำหน้าที่เหมือนตัวกรอง
    ที่อนุญาตให้สารบางชนิด
  • 1:41 - 1:45
    เช่น วิตามิน และเกลือแร่ ผ่านเข้าไปในท่อ
  • 1:45 - 1:47
    หน้าที่ของท่อนี้คือ
  • 1:47 - 1:51
    ตรวจจับว่าสารใดเป็นที่ต้องการของร่างกาย
  • 1:51 - 1:55
    แล้วดูดซึมกลับในปริมาณที่ร่างกายต้องการ
  • 1:55 - 1:58
    เพื่อให้มันสามารถไหลเวียนในเลือดได้อีก
  • 1:58 - 2:00
    แต่เลือดไม่เพียงแต่
    จะลำเลียงสารที่มีประโยชน์เท่านั้น
  • 2:00 - 2:03
    มันยังมีของเสียด้วย
  • 2:03 - 2:06
    และหน่วยไตก็ต้องจัดการให้ได้ว่า
    จะทำอย่างไรกับมัน
  • 2:06 - 2:09
    ท่อจะตรวจจับสารที่ร่างกายไม่ต้องการ
  • 2:09 - 2:12
    เช่น ยูเรีย ที่เหลือจากการย่อยสลายโปรตีน
  • 2:12 - 2:16
    และขับมันออกมาเป็นปัสสาวะออกจากไต
  • 2:16 - 2:19
    ผ่านท่อของเสียยาวๆ
    ที่เรียกว่า ท่อไต (ureter)
  • 2:19 - 2:23
    ท่อไตนี้ส่งต่อของเสียไปยังกระเพาะปัสสาวะ
    เพื่อจะปล่อยทิ้ง
  • 2:23 - 2:27
    ออกไปนอกร่างกายอย่างถาวร
  • 2:27 - 2:29
    ในปัสสาวะมีน้ำด้วย
  • 2:29 - 2:32
    ถ้าไตตรวจจับว่ามีน้ำมากไปในเลือดของคุณ
  • 2:32 - 2:35
    ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณดื่มน้ำอั้กๆ
    ทีละหลายๆ แก้ว
  • 2:35 - 2:39
    มันส่งน้ำส่วนเกินไปยังกระเพาะปัสสาวะ
    เพื่อขับออก
  • 2:39 - 2:42
    แต่ถ้าหากระดับน้ำในเลือดต่ำ
  • 2:42 - 2:45
    ไตจะปล่อยน้ำบางส่วนเข้ากระแสเลือดทันที
  • 2:45 - 2:48
    ซึ่งหมายความว่า ในปัสสาวะจะมีปริมาณน้ำน้อยลง
  • 2:48 - 2:52
    นี่คือเหตุผลว่า ทำไมปัสสาวะจึงเหลืองขึ้น
    เมื่อคุณขาดน้ำ
  • 2:52 - 2:56
    ไตควบคุมสมดุลย์ระดับของเหลวในร่างกาย
    ด้วยการควบคุมน้ำ
  • 2:56 - 3:01
    แต่การควบคุมที่ละเอียดอ่อนนี้
    ไม่ใช่ความสามารถเพียงอย่างเดียวของไต
  • 3:01 - 3:04
    อวัยวะนี้มีสามารถกระตุ้นวิตามินดี
  • 3:04 - 3:09
    ให้หลั่งฮอร์โมนเรนนิน (renin)
    ที่เพื่มความดันเลือด
  • 3:09 - 3:11
    และฮอร์โมนอีกตัวชื่อ
    อีริโทรพอยอิติน (erythropoietin)
  • 3:11 - 3:15
    ที่เพิ่มการสร้างเม็ดเลือด
  • 3:15 - 3:19
    ถ้าไม่มีไต ของเหลวในร่างกายของเรา
    คงปราศจากการควบคุม
  • 3:19 - 3:24
    ทุกครั้งที่เรารับประทานอาหาร
    เลือดเราจะได้รับสารที่ไม่ได้กรองอีกจำนวนหนึ่ง
  • 3:24 - 3:30
    ไม่ช้า ของเสียที่ก่อตัวขึ้นจะท่วม
    ระบบของเราและเราจะตาย
  • 3:30 - 3:33
    ดังนั้น ไตแต่ละข้างไม่เพียงแต่ทำให้ทุกอย่าง
    ทำงานไปได้อย่างราบรื่น
  • 3:33 - 3:35
    มันยังทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้
  • 3:35 - 3:39
    โชคดีนะที่เรามีไตสองอัน
Title:
ไตของคุณทำงานอย่างไร - เอ็มม่า ไบรซ์ (Emma Bryce)
Description:

หลังจากดื่มน้ำหลายแก้วในวันที่อากาศร้อน คุณอาจจะรู้สึก....อยากเข้าห้องน้ำ เบื้องหลังความรู้สึกนี้คืออวัยวะรูปร่างเหมือนถั่วที่ทำหน้าที่เหมือนเซ็นเซอร์ภายในที่ละเอียดอ่อน เอ็มม่า ไบรซ์ เล่าอย่างละเอียดว่าไตอันอัศจรรย์รักษาสมดุลย์ของเหลวในร่างกายคุณ ตรวจจับของเสียในเลือดคุณ และรู้ว่าเมื่อไรจะปล่อยวิตะมิน เกลือแร่ และฮอร์โมนที่จำเป็นในการมีชีวิต ได้อย่างไร

บทเรียนโดย เอ็มม่า ไบรซ์ แอนิเมชั่น โดย Tremendousness

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:55
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How do your kidneys work? - Emma Bryce
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How do your kidneys work? - Emma Bryce
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How do your kidneys work? - Emma Bryce
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How do your kidneys work? - Emma Bryce
Rawee Ma accepted Thai subtitles for How do your kidneys work? - Emma Bryce
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for How do your kidneys work? - Emma Bryce
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for How do your kidneys work? - Emma Bryce
Rawee Ma declined Thai subtitles for How do your kidneys work? - Emma Bryce
Show all

Thai subtitles

Revisions