Return to Video

ถนนที่เดินหน้าสู่การปฏิรูปทางการเมือง

  • 0:01 - 0:07
    ผมจะพูดเรื่อง ชิปคอมพิวเตอร์
    กวี และเด็กชายคนหนึ่งนะครับ
  • 0:07 - 0:08
    เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน
  • 0:08 - 0:12
    เดือนมิถุนายน 1994 อินเทลประกาศว่า
  • 0:12 - 0:14
    ชิปเพนเทียมของบริษัท
  • 0:14 - 0:17
    มีข้อบกพร่องที่แก่นกลางของชิป
  • 0:17 - 0:19
    อยู่ที่โค้ดของอัลกอริทึ่ม SRT
  • 0:19 - 0:21
    ที่ใช้คำนวณผลลัพธ์ระหว่างกลางที่จำเป็น
  • 0:21 - 0:23
    สำหรับจำนวนจุดลอยตัวของการหารซ้ำๆ
  • 0:23 - 0:26
    ผมก็ไม่รู้เหมือนกันนะว่าหมายถึงอะไร
    แต่วิกิพิเดียเขียนว่างั้น
  • 0:26 - 0:29
    มันมีข้อบกพร่องที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาด
  • 0:29 - 0:31
    แปลว่าจะมีโอกาสที่
  • 0:31 - 0:34
    ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณจะออกมาผิด
  • 0:34 - 0:37
    โอกาสของการคำนวณผิดที่ว่า
  • 0:37 - 0:41
    นี่คือ 1ใน 360 พันล้าน
  • 0:41 - 0:44
    ง่ายๆ เลยคือ อินเทลบอกว่าโดยเฉลี่ย
    ในโปรแกรมพวกสเปรดชีต
  • 0:44 - 0:47
    จะเกิดจุดผิดพลาดหนึ่งครั้งในทุกๆ 27,000 ปี
  • 0:47 - 0:48
    พวกเขาไม่คิดว่ามันไม่ได้มีผลรุนแรง
  • 0:48 - 0:52
    แต่ประชาคมเดือดดาลมากทีเดียว
  • 0:52 - 0:54
    ประชาคม พวกนักคอมพิวเตอร์น่ะ บอกว่า
  • 0:54 - 0:55
    ข้อบกพร่องต้องได้รับการแก้ไข
  • 0:55 - 0:57
    พวกเขาจะไม่ยอมยืนเฉยๆ
  • 0:57 - 0:59
    ให้อินเทลจำหน่ายชิปพวกนี้หรอก
  • 0:59 - 1:01
    มีการปฏิวัติเกิดขึ้นทั่วโลก
  • 1:01 - 1:04
    ผู้คนออกมาเดินขบวนเรียกร้อง...
  • 1:04 - 1:06
    จริงๆ ก็ไม่ถึงขนาดนั้นแต่ว่า
  • 1:06 - 1:09
    พวกเขาก็รวมตัวกันแล้วเรียกร้อง
  • 1:09 - 1:12
    ให้อินเทลแก้ข้อบกพร่องนี่เสีย
  • 1:12 - 1:18
    อินเทลใช้เงินไปกว่า 475 ล้านดอลลาร์
  • 1:18 - 1:20
    เพื่อเป็นทุนสำหรับเปลี่ยนชิปนับล้าน
  • 1:20 - 1:21
    เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนี้
  • 1:21 - 1:23
    เงินหลายล้านล้านในสังคมเรา
  • 1:23 - 1:26
    ถูกใช้เพื่อแก้ไขปัญหานี้
  • 1:26 - 1:30
    ปัญหาที่เกิดขึ้น 1 ครั้ง ในทุกๆ
  • 1:30 - 1:32
    360 พันล้านการคำนวณ
  • 1:32 - 1:34
    เรื่องที่สอง กวี
  • 1:34 - 1:37
    ชายคนนี้คือ มาร์ติน นีมูลเลอร์
  • 1:37 - 1:38
    คุณคุ้นเคยกับผลงานเขาดี
  • 1:38 - 1:40
    โด่งดังมาพร้อมกับยุคของนาซี
  • 1:40 - 1:42
    เขาใช้คำซ้ำในบทกลอน เริ่มจาก
  • 1:42 - 1:44
    "ตอนแรก พวกเขามาจับพวกคอมมิวนิสต์
  • 1:44 - 1:45
    แต่ผมก็ไม่ทำอะไร
  • 1:45 - 1:48
    ไม่ได้คัดค้าน เพราะผมไม่ใช่คอมมิวนิสต์
  • 1:48 - 1:49
    ต่อมา พวกเขาก็มาจับพวกสังคมนิยม
  • 1:49 - 1:51
    แล้ว พวกเขาก็มาจับพวกสหภาพแรงงาน
  • 1:51 - 1:52
    แล้ว พวกเขาก็มาจับชาวยิว
  • 1:52 - 1:55
    สุดท้าย พวกเขาก็มาจับผม
  • 1:55 - 2:00
    แต่ไม่มีใครเหลือมาช่วยคัดค้านให้ผมแล้ว"
  • 2:00 - 2:03
    นีมูลเลอร์แสดงให้เราเห็นถึงแก่นแท้
  • 2:03 - 2:06
    เห็นถึงแก่นแท้ของสติปัญญา
  • 2:06 - 2:09
    ขอเรียกมันว่า ปัญญาหยั่งรู้ แล้วกัน
  • 2:09 - 2:11
    เป็นเหมือนแบบทดสอบอย่างนึง
  • 2:11 - 2:13
    ว่าคุณสามารถรับรู้
  • 2:13 - 2:16
    ถึงปัญหาที่คืบคลานเข้ามาและตอบสนองได้หรือเปล่า
  • 2:16 - 2:19
    คุณจะช่วยตัวเองและเพื่อนพ้องได้ไหม
  • 2:19 - 2:21
    มดเก่งมากเรื่องนี้เลยรู้ไหม
  • 2:21 - 2:23
    วัว ไม่ค่อยเท่าไหร่
  • 2:23 - 2:25
    เห็นแบบแผนไหมครับ
  • 2:25 - 2:28
    คุณเห็นแบบแผน มองออก
  • 2:28 - 2:32
    และลงมือทำอะไร ได้ไหม อันนี้คือ เรื่องที่สอง
  • 2:32 - 2:34
    เรื่องที่สาม เด็กชาย
  • 2:34 - 2:36
    คนนี้คือเพื่อนผม แอรอน สวาร์ตซ
  • 2:36 - 2:37
    เขาเป็นเพื่อนของทิม
  • 2:37 - 2:39
    เป็นเพื่อนของพวกคุณหลายคน
  • 2:39 - 2:41
    7 ปีที่แล้ว
  • 2:41 - 2:44
    แอรอนมาหาผมแล้วถามคำถาม
  • 2:44 - 2:46
    ก่อนที่ผมจะขึ้นพูด TED Talk ครั้งแรก
  • 2:46 - 2:49
    ผมภูมิใจมากเลย ผมเล่าให้เขาฟังเรื่อง Talk ของผม
  • 2:49 - 2:51
    "กฎหมายที่ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์"
    ("Laws that choke creativity.")
  • 2:51 - 2:53
    แอรอนมองหน้าผม
  • 2:53 - 2:55
    เขาดูกระสับกระส่ายนิดหน่อย แล้วบอกว่า
  • 2:55 - 2:59
    "แล้วคุณจะแก้ปัญหา
  • 2:59 - 3:01
    ที่คุณพูดถึงเนี่ยอย่างไงหรือ
  • 3:01 - 3:03
    เรื่องนโยบายลิขสิทธิ์ อินเตอร์เน็ต
  • 3:03 - 3:06
    คุณจะพูดถึงการแก้ไขปัญหาพวกนี้ได้ยังไง
  • 3:06 - 3:09
    ตราบใดที่ยังมีการคอร์รัปชั่นถึงรากฐาน
  • 3:09 - 3:12
    ในการทำงานของรัฐบาล"
  • 3:12 - 3:15
    ผมรู้สึกจ๋อยลงไปหน่อย
  • 3:15 - 3:17
    เขาไม่เห็นดีใจไปกับผมเลย
  • 3:17 - 3:18
    ผมบอกเขาไปว่า "รู้ไหม แอรอน
  • 3:18 - 3:21
    ผมไม่เชี่ยวเรื่องนั้นน่ะ ผมไม่เชี่ยว"
  • 3:21 - 3:23
    เขาตอบว่า "หมายถึง ในฐานะนักวิชาการ มันนอกแวดวงคุณ"
  • 3:23 - 3:26
    "ใช่ ในฐานะนักวิชาการ มันไม่ใช่งานผม"
  • 3:26 - 3:29
    เขาตอบว่า "งั้นถ้าในฐานะพลเมืองละ
  • 3:29 - 3:33
    ในฐานะพลเมือง"
  • 3:33 - 3:34
    แอรอน เขาเป็นคนแบบนี้แหละครับ
  • 3:34 - 3:39
    เขาไม่บอกเราตรงๆ แต่เขาถามคำถาม
  • 3:39 - 3:41
    คำถามที่ชัดเจนไม่ต่างกับ
  • 3:41 - 3:44
    อ้อมกอดของลูกอายุ 4 ขวบของผม
  • 3:44 - 3:45
    เขาบอกผมว่า
  • 3:45 - 3:47
    "คุณต้องรู้นะ
  • 3:47 - 3:49
    คุณต้องรู้ เพราะว่า
  • 3:49 - 3:52
    มีข้อบกพร่องที่แก่นของระบบการทำงาน
  • 3:52 - 3:54
    ในระบอบประชาธิปไตยนี้
  • 3:54 - 3:58
    และมันไม่ใช่ข้อบกพร่องที่จะเกิดขึ้น
    ทุกๆ 360 พันล้านครั้ง
  • 3:58 - 4:00
    ขณะที่รัฐบาลพยายามตัดสินใจอะไรสักอย่าง
  • 4:00 - 4:01
    แต่เกิดขึ้นทุกครั้ง
  • 4:01 - 4:04
    กับทุกปัญหาสำคัญ
  • 4:04 - 4:08
    เราต้องหยุดความเฉยชาต่อการเมืองในสังคมนี้
  • 4:08 - 4:10
    เราต้องรับเอาทัศนคติ ซึ่งเรียกว่า
  • 4:10 - 4:13
    ทัศนคติอย่างมด (fourmi-formatic attitude)
  • 4:13 - 4:15
    อินเทอร์เน็ตบอกผมว่าใช้คำนี้นะครับ
  • 4:15 - 4:17
    ทัศนคติเห็นคุณค่าแบบมด
    (ant's appreciative attitude)
  • 4:17 - 4:19
    ที่จะทำให้เราเห็นข้อบกพร่องพวกนี้
  • 4:19 - 4:25
    แล้วช่วยเหลือพวกพ้องเรา ช่วยเหลือประชาชน
  • 4:25 - 4:27
    ถ้าคุณรู้จักแอรอน สวาร์ตซ
  • 4:27 - 4:30
    คุณจะรู้ว่า เขาจากเราไป
  • 4:30 - 4:33
    เมื่อประมาณปีที่แล้วนี่เอง
  • 4:33 - 4:34
    ตอนนั้นคือ 6 อาทิตย์
  • 4:34 - 4:36
    ก่อนที่ผมจะขึ้นพูด TED Talk
  • 4:36 - 4:38
    ผมขอบคุณคริสมาก
  • 4:38 - 4:39
    ที่ขอให้ผมมาพูด TED Talk ครั้งนี้
  • 4:39 - 4:41
    ไม่ใช่เพราะว่า ผมได้มีโอกาสพูดกับพวกคุณ
  • 4:41 - 4:44
    ถึงแม้นั่นจะเยี่ยมมากก็ตาม
  • 4:44 - 4:47
    แต่เพราะว่ามันช่วยให้ผมฟื้นตัว
    ขึ้นมาจากอาการซึมเศร้า
  • 4:47 - 4:52
    ที่เศร้าจนผมไม่รู้จะอธิบายยังไง
  • 4:52 - 4:53
    เพราะผมต้องทุ่มเทความสนใจ
  • 4:53 - 4:57
    ทุ่มความสนใจว่า นี่ผมจะมาพูดอะไรให้คุณฟัง
  • 4:57 - 4:59
    มันช่วยชีวิตผม
  • 4:59 - 5:01
    แต่หลังจาก ความสุข ความตื่นเต้น
  • 5:01 - 5:06
    และพลังงานทั้งหลายที่ได้มาจากชุมชนนี้
  • 5:06 - 5:08
    ผมก็เริ่มโหยหาวิธีที่
  • 5:08 - 5:11
    มีความเป็นวิชาการน้อยลงในการพูดถึงปัญหาพวกนี้
  • 5:11 - 5:15
    ปัญหาที่ผมกำลังพูดถึง
  • 5:15 - 5:17
    พวกเราเริ่มต้นกันที่ นิว แฮมป์เชียร์ ให้เป็น
  • 5:17 - 5:19
    เป้าหมายสำหรับการเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งนี้
  • 5:19 - 5:22
    เพราะการเลือกตั้งขั้นต้นที่ นิว แฮมป์เชียร์
  • 5:22 - 5:24
    มีความสำคัญมาก
  • 5:24 - 5:26
    มีกลุ่มคนที่เรียกว่า กบฏนิว แฮมป์เชียร์
  • 5:26 - 5:29
    ที่ริเริ่มคุยกันว่า เราจะทำให้ประเด็น
  • 5:29 - 5:32
    การคอรัปชั่นนี้เป็นประเด็นหลัก
    ที่ต้องแก้ไขในปี 2016 ได้ยังไง
  • 5:32 - 5:35
    แต่อีกอย่างนึงที่ดึงความสนใจผมไปคือ
  • 5:35 - 5:41
    ผู้หญิงที่ชื่อว่า ดอริส แฮดด็อก หรือ แกรนนี่ ดี
  • 5:41 - 5:44
    วันที่ 1 มกราคม 1999 เมื่อ 15 ปีที่แล้ว
  • 5:44 - 5:49
    ตอนมีอายุได้ 88 แกรนนี่ ดี เริ่มเดิน
  • 5:49 - 5:52
    เธอเริ่มต้นที่ ลอส แองเจลลิส
  • 5:52 - 5:55
    แล้วเดินไปที่ วอชิงตัน ดี.ซี.
  • 5:55 - 5:58
    มีแผ่นป้ายห้อยไว้ที่อก เขียนว่า
  • 5:58 - 6:00
    "เรียกร้องให้มีปฏิรูปการเงิน"
  • 6:00 - 6:03
    18 เดือนต่อมา
  • 6:03 - 6:05
    เมื่อเธอมีอายุได้ 90
  • 6:05 - 6:07
    เธอไปถึงวอชิงตัน พร้อมกับผู้ติดตามนับร้อย
  • 6:07 - 6:10
    ที่รวมถึงสมาชิกคองเกรสที่ขึ้นรถ
  • 6:10 - 6:13
    ขับออกไปนอกเมืองประมาณไมล์นึง
  • 6:13 - 6:14
    แล้วเดินเข้ามากับเธอ
  • 6:14 - 6:17
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:17 - 6:20
    ผมไม่มีเวลา 13 เดือน
  • 6:20 - 6:22
    ในการเดินทั่วทั้งประเทศ
  • 6:22 - 6:24
    ผมมีลูก 3 คนที่เกลียดการเดินมาก
  • 6:24 - 6:26
    และภรรยาที่
  • 6:26 - 6:27
    ยังคงเกลียดที่ผมไม่อยู่บ้าน
  • 6:27 - 6:29
    ด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่รู้
  • 6:29 - 6:30
    เพราะฉะนั้น สำหรับ ผม ทำไม่ได้
  • 6:30 - 6:31
    แต่ผมก็คิดว่า
  • 6:31 - 6:34
    เราเอาวิธีของแกรนนี่ ดี มาประยุกต์ได้ไหม
  • 6:34 - 6:36
    ทำไมไม่มาเดินกัน แทนที่จะเป็น 3,200 ไมล์
  • 6:36 - 6:40
    ก็เป็น 185 ไมล์ ทั่ว นิว แฮมป์เชียร์แทน
  • 6:40 - 6:43
    ในเดือนมกราล่ะ
  • 6:43 - 6:46
    เพราะฉะนั้นวันที่ 11 มกรา
  • 6:46 - 6:48
    วันครบรอบการเสียชีวิตของแอรอน
  • 6:48 - 6:52
    เราเริ่มการเดินที่จบลงในวันที่ 24 มกรา
  • 6:52 - 6:57
    วันเกิดของแกรนนี่ ดี
  • 6:57 - 7:01
    มีคน 200 คนร่วมเดินกับเราวันนั้น
  • 7:01 - 7:05
    ตั้งแต่เหนือสุดจรดใต้สุดของนิว แฮมป์เชียร์
  • 7:05 - 7:07
    พูดคุยกันเรื่องประเด็นปัญหานี้
  • 7:07 - 7:09
    สิ่งที่ผมประหลาดใจมาก
  • 7:09 - 7:11
    สิ่งที่ผมไม่คิดเลยว่าจะเจอ
  • 7:11 - 7:14
    คือทั้งความรักและความโกรธ
  • 7:14 - 7:19
    ที่ทุกคนที่เราพูดคุยเรื่องปัญหานี้มีร่วมกัน
  • 7:19 - 7:25
    ในผลโพล เราพบว่า 96 % ของคนอเมริกัน
  • 7:25 - 7:26
    เชื่อว่า เราจะต้องลดทอนอำนาจเงินตรา
  • 7:26 - 7:29
    ในระบบการเมือง
  • 7:29 - 7:31
    นักการเมืองและผู้เชี่ยวชาญบอกเราว่า
  • 7:31 - 7:33
    ไม่มีทางแก้ไขปัญหานี้ได้หรอก
  • 7:33 - 7:34
    คนอเมริกันไม่สนใจ
  • 7:34 - 7:36
    แต่เหตุผลจริงๆ แล้วคือ
  • 7:36 - 7:38
    91 % ของชาวอเมริกัน
  • 7:38 - 7:43
    เชื่อว่า ไม่มีทางแก้ไขปัญหานี้ได้
  • 7:43 - 7:45
    ช่องว่างระหว่าง 96 กับ 91 นี่เอง
  • 7:45 - 7:48
    ที่อธิบายการยอมจำนนของเราในเรื่องการเมือง
  • 7:48 - 7:50
    พวกเราอย่างน้อยๆ 96 %
  • 7:50 - 7:52
    อยากบินได้เหมือนซูเปอร์แมน
  • 7:52 - 7:55
    แต่เพราะว่า พวกเราอย่างน้อย 91 %
    เชื่อว่าเราบินไม่ได้
  • 7:55 - 7:57
    เราเลยไม่โผตัวออกจากตึก
  • 7:57 - 7:59
    ทุกครั้งที่เราอยากทำ
  • 7:59 - 8:01
    เพราะว่า พวกเรายอมรับขีดจำกัด
  • 8:01 - 8:04
    กับการปฏิรูปนี่ก็เหมือนกัน
  • 8:04 - 8:08
    แต่เมื่อเราให้ความหวังแก่ประชาชน
  • 8:08 - 8:15
    เราก็เริ่มละลายไอ้ความคิดที่ว่าเป็นไปไม่ได้นั่นไป
  • 8:15 - 8:18
    อย่างที่ ฮาร์วี่ มิลค์พูดไว้ ถ้าเราให้ความหวัง
  • 8:18 - 8:21
    เราก็ให้โอกาส ให้ความคิด
  • 8:21 - 8:23
    ที่ว่า ความเปลี่ยนแปลงนั่นเป็นไปได้
  • 8:23 - 8:26
    ความหวัง
  • 8:26 - 8:30
    ความหวังคือสิ่งที่เรา เพื่อนๆ ของแอรอน
  • 8:30 - 8:33
    ทำให้เขาผิดหวัง เพราะเราปล่อยให้
  • 8:33 - 8:38
    เขาท้อแท้และหมดหวัง
  • 8:38 - 8:42
    ผมรักเด็กคนนั้นเหมือนลูกของตัวเอง
  • 8:46 - 8:50
    แต่เราทำให้เขาผิดหวัง
  • 8:50 - 8:54
    และผมรักประเทศนี้
  • 8:54 - 8:56
    ผมจะไม่ยอมทำให้มันผิดหวังเด็ดขาด
  • 8:56 - 8:57
    ผมจะไม่ยอมทำให้มันผิดหวังเด็ดขาด
  • 8:57 - 9:01
    เราจะต้องยึดมั่นในความหวังนี้
  • 9:01 - 9:02
    พวกเราจะต้องสู้เพื่อมัน
  • 9:02 - 9:07
    ถึงแม้ศึกครั้งนี้จะดูความหวังจะดูริบหรี่ก็ตาม
  • 9:07 - 9:08
    ต่อกันนะครับ
  • 9:08 - 9:12
    พวกเราเริ่มเดินขบวนด้วยคน 200 คน
  • 9:12 - 9:15
    ปีหน้า จะเป็น 1,000 คน
  • 9:15 - 9:17
    เดินกันหลายๆ เส้นทาง
  • 9:17 - 9:19
    ในเดือนมกราคม
  • 9:19 - 9:23
    และมารวมตัวกันที่ลานคองคอร์ด
    เพื่อเฉลิมฉลองจุดประสงค์นี้
  • 9:23 - 9:26
    และในเดือน 2016 ก่อนการเลือกตั้งขั้นต้น
  • 9:26 - 9:29
    จะมีคน 10,000 คนที่เดินขบวนทั่วทั้งรัฐนั้น
  • 9:29 - 9:32
    มาเจอกันที่คองคอร์ดเพื่อเฉลิมฉลองจุดประสงค์นี้
  • 9:32 - 9:34
    และหลังจากที่เราเดินขบวนไปครั้งหนึ่ง
    ผู้คนในรัฐอื่นๆ
  • 9:34 - 9:36
    ก็เริ่มคุยกันว่า "เราจะทำแบบนั้น
  • 9:36 - 9:37
    ในรัฐของเราบ้างได้ไหม"
  • 9:37 - 9:40
    เราก็เลยเริ่มแพลตฟอร์มที่เรียกว่า นักเดิน จี.ดี.
  • 9:40 - 9:42
    ย่อมาจาก นักเดินแกรนนี่ ดี
  • 9:42 - 9:44
    และนักเดินแกรนนี่ ดี ทั่วทั้งประเทศ
  • 9:44 - 9:47
    จะเดินขบวนกันเพื่อการปฏิรูปนี้ ประเด็นที่หนึ่ง
  • 9:47 - 9:49
    ประเด็นที่สอง ในการเดินขบวนครั้งนี้
  • 9:49 - 9:52
    เดวิด แคสสิโน หนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์
    ธันเดอร์แคล์ป (Thunderclap)
  • 9:52 - 9:54
    ร่วมเดินกับเราด้วย
  • 9:54 - 9:55
    "เราทำอะไรได้บ้าง" เขาถาม
  • 9:55 - 9:58
    พวกเขาเลยพัฒนาแพลตฟอร์ม
  • 9:58 - 10:00
    ที่เรานำเสนอวันนี้
  • 10:00 - 10:02
    แพลตฟอร์มที่จะช่วยรวมตัว
  • 10:02 - 10:05
    ผู้มีสิทธิออกเสียงที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้
  • 10:05 - 10:06
    ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตาม
  • 10:06 - 10:09
    ในรัฐหรือนอกรัฐนิว แฮมป์เชียร์
  • 10:09 - 10:11
    คุณสมัครได้เลยและจะได้รับข้อมูล
  • 10:11 - 10:14
    ว่าผู้สมัครคนไหนที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้
  • 10:14 - 10:15
    คุณจะได้เลือกถูกว่าจะลงคะแนนให้ใคร
  • 10:15 - 10:18
    เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้
  • 10:18 - 10:21
    แนวคิดปฏิรูปนี้กลายมาเป็นความจริง
  • 10:23 - 10:26
    สุดท้าย ประเด็นที่สาม ที่ยากที่สุด
  • 10:26 - 10:28
    เราอยู่ในช่วงยุคของซูเปอร์แพ็ค (Super PAC:
    หน่วยงานอิสระที่สนับสนุนทางการเงินแก่ผู้สมัครเลือกตั้ง)
  • 10:28 - 10:31
    ที่จริง เมื่อวานนี้เอง เมอร์เรียมออกมาประกาศว่า
  • 10:31 - 10:35
    เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์จะบรรจุคำว่า Super PAC ลงไป
  • 10:35 - 10:38
    เป็นคำอย่างเป็นทางการในพจนานุกรม
  • 10:38 - 10:44
    เพราะฉะนั้นในวันที่ 1 พฤษภาคม
    คือวันเมย์เดย์ (วันแรงงาน)
  • 10:44 - 10:47
    เราจะทดลองอะไรนิดหน่อย
  • 10:47 - 10:48
    เราจะเริ่มโครงการ
  • 10:48 - 10:51
    ที่เรามองว่าเป็นซูเปอร์แพ็คของเรา
  • 10:51 - 10:54
    เพื่อล้มล้างซูเปอร์แพ็คทั้งหมดนี้
  • 10:54 - 10:56
    อธิบายง่ายๆ ก็คือ
  • 10:56 - 10:58
    ปีที่แล้ว เราได้ร่วมงานกับ
  • 10:58 - 11:01
    นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทางการเมือง
  • 11:01 - 11:05
    เพื่อคำนวณดูว่าจะต้องใช้เงินเท่าไหร่
  • 11:05 - 11:07
    ถึงจะได้คะแนนเสียงในสภาคองเกรสมากพอ
  • 11:07 - 11:09
    ที่จะทำให้การปฏิรูปถึงรากฐานครั้งนี้เป็นไปได้
  • 11:09 - 11:12
    ต้องเป็นจำนวนเท่าไหร่ ครึ่งพันล้าน พันล้าน
  • 11:12 - 11:14
    ตัวเลขเป็นเท่าไหร่
  • 11:14 - 11:16
    และไม่ว่าเลขจะเป็นเท่าไหร่
  • 11:16 - 11:18
    เราจะเริ่มต้นแบบเว็บไซต์คิกสตาร์ทเตอร์
    (Kickstarter) คือ คล้ายๆ น่ะฮะ
  • 11:18 - 11:21
    เพราะเราใช้เว็บไซต์คิกสตาร์ทเตอร์
    เพื่องานการเมืองไม่ได้
  • 11:21 - 11:23
    เอาเป็นว่า การเริ่มต้นครั้งนี้นะ
  • 11:23 - 11:25
    จะเริ่มจากล่างขึ้นบน
  • 11:25 - 11:28
    ให้ผู้คนเริ่มบริจาคเงินเล็กๆ น้อย
  • 11:28 - 11:31
    เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
  • 11:31 - 11:33
    และเมื่อบรรลุเป้าหมายแล้ว
  • 11:33 - 11:38
    เราก็จะหันไปหาผู้บริจาครายใหญ่
  • 11:38 - 11:41
    ให้พวกเขาบริจาคให้ได้มากที่สุด
  • 11:41 - 11:44
    เพื่อให้เราสามารถดำเนินการกลุ่มซูเปอร์แพ็ค
  • 11:44 - 11:46
    ที่จำเป็นต่อการแก้ไขปัญหานี้ได้
  • 11:46 - 11:49
    เพื่อเปลี่ยนแปลงอำนาจเงินตราที่มีต่อการเมือง
  • 11:49 - 11:52
    ในวันที่ 8 พฤศจิกายน
  • 11:52 - 11:55
    ที่ผมเพิ่งรู้เมื่อวานนี้เองว่า
  • 11:55 - 11:59
    หากแอรอนยังมีชีวิตอยู่ เขาจะอายุครบ 30 ปี
  • 11:59 - 12:01
    ในวันที่ 8 พฤศจิกายน
  • 12:01 - 12:05
    เราจะได้ตัวแทน 218
  • 12:05 - 12:07
    ในรัฐสภา และ ส.ว. อีก 60 คน
  • 12:07 - 12:09
    ในวุฒิสภาของอเมริกา
  • 12:09 - 12:11
    ที่ร่วมด้วยกับแนวคิด
  • 12:11 - 12:14
    การปฏิรูปในระดับรากฐานนี้
  • 12:15 - 12:17
    เมื่อคืน เราได้ยินเรื่องคำขอ
  • 12:17 - 12:19
    อันนี้คือคำขอของผมนะครับ
  • 12:19 - 12:22
    คำขอข้อแรก
  • 12:22 - 12:25
    ขอให้อุดมการณ์ของเด็กหนุ่มคนหนึ่ง
  • 12:25 - 12:30
    รวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว
    ภายใต้แนวคิดสำคัญหนึ่งอัน
  • 12:30 - 12:32
    ที่ว่า เราเป็นประชาชนหนึ่งเดียว
  • 12:32 - 12:36
    เป็นประชาชนที่ควรจะมีรัฐบาล
  • 12:36 - 12:38
    รัฐบาลที่สัญญาว่า
  • 12:38 - 12:43
    จะพึ่งพิงแค่ประชาชนเท่านั้น ประชาชน
  • 12:43 - 12:46
    อย่างที่เมดิสันบอกพวกเราว่า
  • 12:46 - 12:49
    ไม่ได้หมายถึง คนรวยมากกว่าคนจน
  • 12:49 - 12:51
    คำขอข้อแรก
  • 12:51 - 12:56
    และขอให้คุณ ขอให้คุณเข้าร่วมการเคลื่อนไหวนี่
  • 12:56 - 12:58
    ไม่ใช่เพราะคุณคือนักการเมือง
  • 12:58 - 12:59
    ไม่ใช่เพราะคุณคือผู้เชี่ยวชาญ
  • 12:59 - 13:02
    ไม่ใช่เพราะว่านี่คือแวดวงของคุณ
  • 13:02 - 13:04
    แต่เพราะว่าคุณเป็นพลเมือง
  • 13:04 - 13:08
    คุณเป็นพลเมือง
  • 13:08 - 13:11
    แอรอนขอผมไว้อย่างนั้น
  • 13:11 - 13:14
    ผมจะขอกับพวกคุณบ้าง
  • 13:14 - 13:15
    ขอบคุณมากครับ
  • 13:15 - 13:23
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ถนนที่เดินหน้าสู่การปฏิรูปทางการเมือง
Speaker:
Lawrence Lessig
Description:

7 ปีก่อน นักอินเทอร์เน็ต แอรอน ชวารต์ซ จุดประกายให้ ลอร์เรนซ์ เลสซิกลุกขึ้นสู้เพื่อการปฏิรูปทางการเมือง 1 ปีหลังจากการเสียชีวิตของชวารต์ซ เลสซิกยังคงเดินหน้ากับการรณรงค์ปลดปล่อยการเมืองของสหรัฐฯจากเงื้อมมือของคอร์รับชั่น ในTalk ที่กินใจครั้งนี้ เขาเรียกร้องให้พลเมืองทุกคนเข้าร่วม และให้ข้อย้ำเตือนแก่เราว่า อย่ายอมแพ้หรือละทิ้งความหวัง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:44
  • Great job ka. I just made some changes, mostly rearranging the sentence structure, to make it sounds like spoken Thai. Thanks for the good translation ka.

Thai subtitles

Revisions