Return to Video

ทำไมจึงได้เวลาเลิกจัดชั้นสังคมในที่ทำงานแล้ว

  • 0:00 - 0:04
    นักชีววิทยาวิวัฒนาการที่มหาวิทยาลัยเพอร์ดู
  • 0:04 - 0:07
    ชื่อวิลเลียม มูร์ ศึกษาไก่
  • 0:07 - 0:09
    เขาสนใจความสามารถในการผลิต
  • 0:09 - 0:12
    ซึ่งฉันว่ามันเป็นสิ่งที่
    เกี่ยวข้องกับคนเราทุกคน
  • 0:12 - 0:15
    แต่มันวัดได้ง่ายในไก่
    เพราะคุณก็แค่นับไข่
  • 0:15 - 0:16
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:16 - 0:20
    เขาอยากรู้ว่าอะไรจะทำให้ไก่ของเขา
    มีความสามารถในการผลิตมากขึ้น
  • 0:20 - 0:23
    เขาจึงออกแบบการทดลองที่งดงามขึ้นมา
  • 0:23 - 0:27
    ปกติไก่จะอยู่กันเป็นฝูง เริ่มแรกเลย
    เขาก็เลือกฝูงไก่ธรรมดาๆ มาฝูงหนึ่ง
  • 0:27 - 0:31
    แล้วปล่อยให้มันอยู่กันไปหกรุ่น
  • 0:31 - 0:33
    แต่เขาสร้างไก่อีกกลุ่มหนึ่ง
  • 0:33 - 0:35
    ประกอบด้วยไก่ที่ออกไข่เก่งที่สุด
  • 0:35 - 0:38
    คุณจะเรียกว่ามันคือซุปเปอร์ไก่ก็ได้
  • 0:38 - 0:40
    แล้วเขาก็เอามันมาไว้ด้วยกันในซุปเปอร์ฝูง
  • 0:40 - 0:45
    แล้วในแต่ละรุ่น เขาเลือกเฉพาะไก่ที่
    ที่ออกไข่เก่งที่สุดมาทำพันธุ์ต่อ
  • 0:45 - 0:48
    หลังจากหกรุ่นผ่านไป
  • 0:48 - 0:50
    เขาพบอะไร
  • 0:50 - 0:53
    ไก่กลุ่มแรก กลุ่มไก่ธรรมดา
    ก็อยู่สุขสบายดี
  • 0:53 - 0:55
    ทุกตัวล้วนอ้วนพี ขนดก
  • 0:55 - 0:58
    และผลผลิตไข่เพิ่มขึ้นเยอะมาก
  • 0:59 - 1:01
    แล้วกลุ่มที่สองล่ะ
  • 1:01 - 1:03
    เหลือสามตัว นอกนั้นตายหมด
  • 1:04 - 1:06
    พวกมันจิกตัวอื่นที่เหลือตายหมด
  • 1:06 - 1:08
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:08 - 1:14
    ไก่แต่ละตัวที่ออกไข่เก่ง
    ประสบความสำเร็จได้
  • 1:14 - 1:18
    ด้วยการบั่นทอน
    ความสามารถในการออกไข่ของตัวอื่น
  • 1:19 - 1:23
    ฉันเดินทางไปทั่วโลก
    พูดเรื่องนี้ และเล่าเรื่องนี้
  • 1:23 - 1:25
    ให้องค์กรและบริษัททุกรูปแบบฟัง
  • 1:25 - 1:27
    ผู้คนเห็นความเกี่ยวข้องของเรื่องนี้ทันที
  • 1:27 - 1:30
    พวกเขาเข้ามาคุยกับฉันและพูดทำนองว่า
  • 1:30 - 1:33
    "ซุปเปอร์ฝูง นั่นล่ะ บริษัทฉันเลย"
  • 1:33 - 1:35
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:35 - 1:38
    หรือ "นั่นล่ะ ประเทศฉันเลย"
  • 1:38 - 1:40
    หรือ "นั่นล่ะ ชีวิตฉันเลย"
  • 1:41 - 1:45
    ตลอดชีวิตของฉัน มีแต่คนบอกฉันว่า
    หนทางที่จะก้าวหน้า คือต้องแข่งขัน
  • 1:45 - 1:49
    แย่งกันเข้าโรงเรียนที่ดี
    ได้งานที่ดี ไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งสูงๆ
  • 1:49 - 1:52
    แต่ฉันไม่เคยรู้สึกว่า
    มันให้แรงบันดาลใจฉันเท่าไหร่
  • 1:52 - 1:57
    ฉันเริ่มสร้างและบริหารธุรกิจ
    เพราะการสร้างสิ่งใหม่ๆ เป็นความสุขของฉัน
  • 1:57 - 2:01
    และเพราะการได้ทำงานกับคนที่ฉลาด
    และมีความคิดสร้างสรรค์
  • 2:01 - 2:02
    มันเป็นรางวัลอยู่ในตัวอยู่แล้ว
  • 2:03 - 2:08
    ฉันไม่เคยรู้สึกมีแรงจูงใจจากการ
    จัดชั้นทางสังคม หรือจากซุปเปอร์ไก่
  • 2:08 - 2:11
    หรือซุปเปอร์สตาร์
  • 2:11 - 2:13
    แต่ห้าสิบปีที่ผ่านมา
  • 2:13 - 2:17
    เราบริหารองค์กรส่วนใหญ่
    และในสังคมบางสังคม
  • 2:17 - 2:20
    โดยใช้โมเดลซุปเปอร์ไก่
  • 2:20 - 2:24
    เราคิดว่าเราบรรลุความสำเร็จได้
    ด้วยการเลือกสรรซุปเปอร์สตาร์
  • 2:24 - 2:28
    ชาย หรือบางทีก็หญิงที่เก่งสุดในห้อง
  • 2:28 - 2:31
    แล้วเอาทรัพยากรและอำนาจให้เขาไปหมด
  • 2:31 - 2:35
    และผลก็เหมือนกับการทดลองของวิลเลียม มูร์
  • 2:35 - 2:40
    ความก้าวร้าว การทำงานที่บกพร่อง
    การสูญเปล่า
  • 2:40 - 2:45
    ถ้าหนทางเดียวที่คนที่
    มีความสามารถในการผลิตสูงสุดจะสำเร็จได้
  • 2:45 - 2:48
    คือการไปหยุดยั้ง
    ความสามารถในการผลิตของคนอื่น
  • 2:48 - 2:51
    ถ้าอย่างนั้น เราก็ถึงจุดวิกฤต
    ที่ต้องหาวิธีที่ดีกว่านี้ในการทำงาน
  • 2:51 - 2:54
    และหนทางที่งดงามกว่านี้ในการใช้ชีวิต
  • 2:55 - 2:59
    (เสียงปรบมือ)
  • 2:59 - 3:03
    ดังนั้น อะไรล่ะที่ทำให้กลุ่มบางกลุ่ม
  • 3:03 - 3:06
    ประสบความสำเร็จมากกว่าอย่างชัดเจน
  • 3:07 - 3:10
    นั่นคือคำถามที่ทีมสถาบันเอ็มไอทีนำไปวิจัย
  • 3:10 - 3:12
    พวกเขานำอาสาสมัครนับร้อยๆ
  • 3:12 - 3:16
    เอามาเข้ากลุ่ม และให้แก้ปัญหาที่ยากมากๆ
  • 3:16 - 3:19
    สิ่งที่เกิดขึ้นก็เหมือนที่คุณคาดเลย
  • 3:19 - 3:22
    คือบางกลุ่มประสบความสำเร็จ
    มากกว่ากลุ่มอื่นๆ
  • 3:22 - 3:25
    แต่สิ่งที่น่าสนใจจริงๆ คือ
    กลุ่มที่ประสบความสำเร็จสูง
  • 3:25 - 3:28
    ไม่ใช่กลุ่มที่มีคนหนึ่งหรือสองคน
  • 3:28 - 3:31
    ที่มี ไอ.คิว. สูงลิ่ว
  • 3:31 - 3:33
    กลุ่มที่ประสบความสำเร็จสูงสุด
  • 3:33 - 3:37
    ไม่ใช่กลุ่มที่มีคะแนน
    ไอ.คิว. รวมสูงสุดด้วย
  • 3:37 - 3:43
    แต่ทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
    มีลักษณะสามอย่างนี้แทน
  • 3:43 - 3:49
    อันดับแรกเลย สมาชิกจะต้องมีระดับ
    ความใส่ใจทางสังคมต่อกันและกันสูง
  • 3:49 - 3:52
    ลักษณะนี้วัดได้ด้วยแบบวัดที่เรียกว่า
    Reading the Mind in The Eyes Test
  • 3:52 - 3:55
    ซึ่งถือว่าเป็น
    แบบวัดความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น
  • 3:55 - 3:57
    กลุ่มที่มีคะแนนตัวนี้สูง
  • 3:57 - 3:59
    แก้ปัญหาได้ดีกว่า
  • 3:59 - 4:04
    ข้อสองคือ กลุ่มที่ประสบความสำเร็จ
    ให้เวลาสมาชิกแต่ละคนเท่าๆ กัน
  • 4:04 - 4:06
    จึงไม่มีเสียงใครครอบงำกลุ่ม
  • 4:06 - 4:09
    แต่ก็ไม่มีใครเป็นผู้โดยสารที่นั่งเงียบเฉย
  • 4:09 - 4:12
    และข้อสาม
    บรรดากลุ่มที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
  • 4:12 - 4:14
    มีผู้หญิงอยู่ในกลุ่มมากกว่า
  • 4:14 - 4:16
    (เสียงปรบมือ)
  • 4:16 - 4:20
    ทีนี้ อาจจะเป็นเพราะ
    ผู้หญิงมักจะมีคะแนนสูงกว่า
  • 4:20 - 4:22
    ในแบบวัด Reading the Mind in the Eyes
  • 4:22 - 4:25
    คุณก็เลยได้แต้มต่อ
    เรื่องความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น
  • 4:25 - 4:28
    หรือเป็นเพราะผู้หญิง
    นำมุมมองที่หลากหลายเข้ามาในกลุ่ม
  • 4:28 - 4:32
    เรายังไม่รู้ชัด
    แต่สิ่งที่น่าสนใจในการทดลองนี้
  • 4:32 - 4:36
    คือการแสดงให้เห็นสิ่งที่เรารู้กัน นั่นคือ
    บางกลุ่มทำงานได้ดีกว่าบางกลุ่ม
  • 4:36 - 4:39
    แต่หัวใจของเรื่องนี้
  • 4:39 - 4:42
    คือการเชื่อมโยงทางสังคมระหว่างคนในกลุ่ม
  • 4:44 - 4:46
    แล้วเรื่องนี้มันมีความหมายอย่างไร
    ในโลกของความจริง
  • 4:46 - 4:52
    คือ มันหมายความว่า
    สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลนั้นสำคัญมาก
  • 4:52 - 4:56
    เพราะในกลุ่มที่สมาชิกใส่ใจ
    และไวต่อความรู้สึกของกันและกันมาก
  • 4:56 - 4:59
    ความคิดสามารถเลื่อนไหลและเติบโต
  • 4:59 - 5:03
    พวกเขาไม่ติดขัด ไม่เสียพลังงานเปล่า
    ไปกับเรื่องที่เป็นทางตัน
  • 5:03 - 5:07
    ตัวอย่าง Arup หนึ่งในบริษัทด้านวิศวกรรม
    ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก
  • 5:07 - 5:10
    ได้รับการว่าจ้างให้สร้างศูนย์กีฬาขี่ม้า
  • 5:10 - 5:12
    สำหรับโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่ง
  • 5:12 - 5:14
    อาคารนี้ต้องรองรับ
  • 5:14 - 5:19
    ม้าพันธุ์ดีสองพันห้าร้อยตัว
    ที่กำลังเครียด
  • 5:19 - 5:21
    เพราะเพิ่งลงจากเที่ยวบินที่ยาวนาน
  • 5:21 - 5:25
    อ่อนเพลียจากการเดินทางมากๆ
    รู้สึกไม่ค่อยสบาย
  • 5:25 - 5:28
    และปัญหาที่วิศวกรต้องเผชิญคือ
  • 5:28 - 5:32
    เขาไม่รู้ว่า
    ปริมาณของเสียที่ต้องจัดการนั้นมากเท่าไหร่
  • 5:33 - 5:37
    คือ เขาไม่ได้สอนคุณในคณะวิศวะฯ
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:37 - 5:40
    แล้วมันก็เป็นสิ่งที่คุณไม่อยากคำนวณพลาด
  • 5:40 - 5:44
    เขาอาจจะใช้เวลาสักเดือน
    พูดคุยกับสัตวแพทย์ ทำวิจัย
  • 5:44 - 5:46
    เก็บข้อมูลมาคำนวณในโปรแกรม
  • 5:46 - 5:49
    แทนที่จะทำอย่างนั้น
    เขาขอความช่วยเหลือออกไป
  • 5:49 - 5:53
    แล้วก็เจอใครบางคน
    ที่เคยออกแบบสมาคมขี่ม้าในนิวยอร์ก
  • 5:53 - 5:57
    ปัญหาถูกแก้ในเวลาไม่ถึงหนึ่งวัน
  • 5:57 - 6:00
    บริษัท Arup เชื่อว่า
    วัฒนธรรมของความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ
  • 6:00 - 6:03
    เป็นหัวใจหลักของความสำเร็จของบริษัท
  • 6:03 - 6:07
    ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อฟังดูธรรมดามาก
  • 6:07 - 6:11
    แต่มันเป็นแก่นสำคัญ
    ของทีมที่ประสบความสำเร็จ
  • 6:11 - 6:17
    และมันมีผลมากกว่า
    ความฉลาดของแต่ละบุคคลเสมอ
  • 6:17 - 6:20
    ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อหมายความว่า
    ฉันไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง
  • 6:20 - 6:26
    เพียงแต่ฉันต้องทำงานท่ามกลางผู้คน
    ที่ยินดีให้และรับความช่วยเหลือ
  • 6:26 - 6:31
    บริษัท SAP ได้สรุปมาแล้วว่า คุณสามารถ
    ตอบคำถามใดๆ ก็ได้ ภายใน 17 นาที
  • 6:32 - 6:35
    แต่บริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงที่ฉันทำงานด้วย
    ไม่มีเลยสักบริษัท
  • 6:35 - 6:41
    ที่จินตนาการสักนิดว่า
    นี่เป็นประเด็นปัญหาทางเทคโนโลยี
  • 6:41 - 6:45
    เพราะสิ่งที่ขับเคลื่อนความเอื้อเฟื้อ
    คือการที่คนทำความรู้จักกัน
  • 6:46 - 6:51
    มันฟังดูชัดเจน ไม่ซับซ้อน
    และเราก็คิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้เอง
  • 6:51 - 6:52
    แต่มันไม่เกิด
  • 6:52 - 6:56
    ตอนฉันตั้งบริษัทซอฟต์แวร์
    ของฉันเป็นครั้งแรก
  • 6:56 - 6:58
    ฉันพบว่าเรากำลังติดขัด
  • 6:58 - 7:02
    มีความขัดแย้งมากมาย
    และไม่ค่อยมีอย่างอื่นเลย
  • 7:02 - 7:06
    ฉันค่อยๆ ตระหนักว่า
    คนที่สุดฉลาด และสร้างสรรค์ที่ฉันจ้างมา
  • 7:06 - 7:08
    ไม่รู้จักกัน
  • 7:08 - 7:12
    พวกเขาหมกมุ่นอยู่แต่งานของตัวเอง
  • 7:12 - 7:15
    เขาไม่รู้แม้แต่ว่า
    คนที่นั่งข้างๆ เขาคือใคร
  • 7:15 - 7:18
    จนกระทั่งฉันยืนกราน
    ให้เขาหยุดทำงาน
  • 7:18 - 7:21
    และใช้เวลาทำความรู้จักกัน
  • 7:21 - 7:24
    บริษัทเราถึงมีแรงขับเคลื่อนไปข้างหน้า
    ได้อย่างแท้จริง
  • 7:25 - 7:27
    นั่นคือ 20 ปีที่แล้ว
    เดี๋ยวนี้ฉันไปเยี่ยมชมบริษัท
  • 7:27 - 7:30
    ที่ห้ามกินกาแฟที่โต๊ะตัวเอง
  • 7:30 - 7:34
    เพราะเขาต้องการให้คนมาพบปะกัน
    รอบเครื่องชงกาแฟ
  • 7:34 - 7:36
    และพูดคุยกัน
  • 7:36 - 7:39
    ชาวสวีเดนมีคำเฉพาะสำหรับกิจกรรมนี้เลยนะ
  • 7:39 - 7:42
    เขาเรียกว่า ฟิกา (fika)
    ซึ่งมีความหมายมากกว่าการพักกินกาแฟ
  • 7:42 - 7:46
    แปลว่าการฟื้นพลังร่วมกัน
  • 7:46 - 7:48
    ที่บริษัท Idexx ซึ่งอยู่ในรัฐเมน
  • 7:48 - 7:51
    เขาสร้างสวนผักในที่ทำงาน
  • 7:51 - 7:54
    เพื่อให้คนจากส่วนต่างๆ ของธุรกิจ
  • 7:54 - 7:59
    มาทำสวนด้วยกัน
    และนั่นทำให้เขารู้ภาพรวมของธุรกิจ
  • 7:59 - 8:01
    พวกเขาบ้าไปแล้วหรือเปล่า
  • 8:01 - 8:05
    ตรงกันข้ามเลย เขาพบว่า
    เมื่อเรื่องอะไรๆ มันยากลำบาก
  • 8:05 - 8:07
    และมันต้องยากลำบากแน่
  • 8:07 - 8:09
    ถ้าคุณกำลังทำงานบุกเบิก
    ที่มีความหมายอย่างแท้จริง
  • 8:09 - 8:12
    สิ่งที่ผู้คนต้องการ
    คือการสนับสนุนทางสังคม
  • 8:12 - 8:15
    และเขาต้องการรู้ว่า
    จะขอความช่วยเหลือได้จากใคร
  • 8:15 - 8:20
    ตัวบริษัทไม่มีความคิด
    ความคิดอยู่ที่ผู้คน
  • 8:20 - 8:23
    และสิ่งที่จูงใจคน
  • 8:23 - 8:27
    คือความผูกพัน ความซื่อสัตย์ และไว้วางใจ
    ที่สร้างขึ้นระหว่างกัน
  • 8:28 - 8:31
    สิ่งที่สำคัญคือปูนที่เชื่อมประสาน
  • 8:31 - 8:34
    ไม่ใช่แค่ก้อนอิฐ
  • 8:34 - 8:36
    ทีนี้ เมื่อคุณเอาสิ่งเหล่านี้มาประกอบกัน
  • 8:36 - 8:39
    สิ่งที่คุณได้ เรียกว่าทุนทางสังคม
  • 8:39 - 8:44
    ทุนทางสังคมคือการพึ่งพิง
    และพึ่งพาซึ่งกันและกันที่สร้างความไว้วางใจ
  • 8:44 - 8:48
    คำนี้มาจากนักสังคมศาสตร์
    ซึ่งศึกษาชุมชน
  • 8:48 - 8:53
    ที่มีความเข้มแข็งเป็นพิเศษ
    ในเวลาที่มีความเครียด
  • 8:53 - 8:58
    ทุนทางสังคมคือสิ่งที่ทำให้บริษัท
    มีแรงขับเคลื่อนไปข้างหน้า
  • 8:58 - 9:03
    และทุนทางสังคมคือ
    สิ่งที่ทำให้บริษัทมีความแข็งแรงทนทาน
  • 9:04 - 9:06
    สิ่งนี้มีความหมายอย่างไรในภาษานักปฏิบัติ
  • 9:06 - 9:11
    มันหมายความว่า เวลา คือทุกสิ่งทุกอย่าง
  • 9:11 - 9:15
    เพราะทุนทางสังคมใช้เวลาในการสั่งสม
  • 9:15 - 9:21
    ดังนั้นทีมที่ทำงานด้วยกันนานกว่า
    ก็ยิ่งทำงานดีขึ้น เพราะมันใช้เวลา
  • 9:21 - 9:26
    ในการพัฒนาความไว้วางใจที่คุณต้องมี
    เพื่อความเปิดเผยตรงไปตรงมาอย่างแท้จริง
  • 9:26 - 9:30
    และเวลาคือสิ่งที่สร้างคุณค่านี้
  • 9:31 - 9:33
    เมื่ออเล็กซ์ เพนท์แลนด์
    เสนอแนะกับบริษัทหนึ่ง
  • 9:33 - 9:36
    ให้จัดเวลาพักกินกาแฟให้ตรงกัน
  • 9:36 - 9:39
    เพื่อให้ผู้คนมีเวลาคุยกัน
  • 9:39 - 9:43
    กำไรเพิ่มขึ้น 15 ล้านดอลลาร์
  • 9:43 - 9:47
    และความพึงพอใจของพนักงาน
    เพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์
  • 9:47 - 9:50
    ผลตอบแทนไม่เลวเลย
    สำหรับการลงทุนทางสังคม
  • 9:50 - 9:54
    ซึ่งยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น
    แม้เมื่อคุณใช้จ่ายออกไป
  • 9:54 - 10:00
    นี่ไม่ใช่แค่การสร้างมิตรไมตรี
    และไม่ใช่การให้สิทธิพิเศษแก่คนขี้เกียจ
  • 10:00 - 10:05
    เพราะคนที่ทำงานในรูปแบบนี้
    มักเป็นคนที่ทำให้คนอื่นเคือง
  • 10:05 - 10:09
    ใจร้อน และมุ่งมั่น
    ที่จะคิดอะไรด้วยตัวเองอย่างเต็มที่
  • 10:09 - 10:13
    เพราะนั่นคือประโยชน์ที่เขาทำให้บริษัทได้
  • 10:13 - 10:18
    ความขัดแย้งเกิดบ่อยๆ
    เพราะคนพูดตรงไปตรงมาได้อย่างปลอดภัย
  • 10:18 - 10:23
    และนั่นคือวิธีที่ความคิดดีๆ
    กลายเป็นความคิดที่ยอดเยี่ยม
  • 10:23 - 10:27
    เพราะไม่มีความคิดไหนที่เกิดมาสมบูรณ์เลย
  • 10:27 - 10:30
    มันผุดขึ้นมานิดๆ เหมือนเด็กแรกเกิด
  • 10:30 - 10:34
    ออกจะยุ่งเหยิงและสับสน
    แต่เต็มไปด้วยความเป็นไปได้
  • 10:34 - 10:41
    และด้วยการเกื้อหนุนด้วยความเอื้อเฟื้อ
    ศรัทธา และความท้าทาย
  • 10:41 - 10:44
    มันจึงพัฒนาขึ้นได้เต็มศักยภาพ
  • 10:44 - 10:48
    และนั่นคือสิ่งที่ทุนทางสังคมช่วยสนับสนุน
  • 10:49 - 10:52
    เราไม่ค่อยคุ้นเคยกับการพูดเรื่องพวกนี้
  • 10:52 - 10:56
    เรื่องพรสวรรค์ เรื่องความคิดสร้างสรรค์
    ในรูปแบบนี้
  • 10:56 - 11:00
    เราชินกับการพูดถึงดาวเด่น
  • 11:00 - 11:04
    ฉันจึงเริ่มสงสัยว่า
    เอ ถ้าเรามาทำงานแบบนี้แทน
  • 11:04 - 11:07
    มันแปลว่าเราจะไม่มีดาวเด่นแล้วเหรอ
  • 11:07 - 11:10
    ฉันจึงเข้าไปนั่งดูการทดสอบการแสดง
  • 11:10 - 11:14
    เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่ราชวิทยาลัย
    ด้านศิลปะการละคร ณ กรุงลอนดอน
  • 11:14 - 11:17
    สิ่งที่ฉันเห็นทำให้ฉันประหลาดใจมาก
  • 11:17 - 11:22
    เพราะอาจารย์ไม่ได้มองหา
    คนที่โดดเด่นราวดอกไม้ไฟทีละดอก
  • 11:22 - 11:26
    เขามองหาสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างนักเรียน
  • 11:26 - 11:31
    เพราะนั่นคือจุดที่ละครเกิดขึ้น
  • 11:31 - 11:33
    และเมื่อฉันคุยกับผู้อำนวยการผลิต
    อัลบั้มเพลงฮิต
  • 11:33 - 11:36
    เขาบอกว่า "อ๋อ แน่นอน
    เรามีดาวเด่นมากมายในวงการดนตรี
  • 11:36 - 11:39
    แค่เขาอยู่ได้ไม่ยาวเท่านั้นเอง
  • 11:39 - 11:43
    มีแต่นักร่วมมือที่ยอดเยี่ยม
    ที่อยู่ในอาชีพได้ยืนยาว
  • 11:43 - 11:47
    เพราะการดึงสิ่งที่ดีที่สุดในตัวผู้อื่นออกมา
    คือวิธีการที่เขาค้นพบ
  • 11:47 - 11:49
    สิ่งที่ดีที่สุดในตัวเขาเอง"
  • 11:50 - 11:52
    และเมื่อฉันไปเยี่ยมชมบริษัทที่มีชื่อเสียง
  • 11:52 - 11:54
    ด้านความฉลาดในการประดิษฐ์
    และความคิดสร้างสรรค์
  • 11:54 - 11:57
    ฉันไม่เห็นซุปเปอร์สตาร์สักคน
  • 11:57 - 12:01
    เพราะทุกคนที่นั่นล้วนสำคัญหมด
  • 12:01 - 12:04
    และเมื่อฉันสะท้อนคิดถึงอาชีพของฉันเอง
  • 12:04 - 12:08
    และคนที่เก่งเหนือธรรมดา
    ที่ฉันมีโอกาสได้ทำงานด้วย
  • 12:08 - 12:14
    ฉันตระหนักว่า คนเราสามารถที่จะ
    ให้แก่กันและกันได้อีกมาก
  • 12:14 - 12:19
    ถ้าเราแค่หยุดความพยายาม
    ที่จะเป็นซุปเปอร์ไก่
  • 12:20 - 12:25
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 12:25 - 12:31
    เมื่อคุณเข้าใจอย่างแท้จริงว่า
    การทำงานในสังคมเป็นอย่างไร
  • 12:31 - 12:34
    หลายๆ อย่างจะต้องเปลี่ยนไป
  • 12:34 - 12:39
    การบริหารด้วยการแข่งขันกันด้านพรสวรรค์
  • 12:39 - 12:41
    มักเอาพนักงานมาต่อสู้กัน
  • 12:41 - 12:46
    ความเป็นศัตรูต้องถูกแทนที่ด้วยทุนทางสังคม
  • 12:46 - 12:49
    หลายทศวรรษที่ผ่านมา
    เราพยายามจูงใจคนด้วยเงิน
  • 12:49 - 12:52
    แม้เราจะมีงานวิจัยมากมายที่แสดงว่า
  • 12:52 - 12:56
    เงินนั้นบ่อนทำลายความสัมพันธ์ทางสังคม
  • 12:57 - 13:02
    เราต้องการให้คนจูงใจซึ่งกันและกัน
  • 13:03 - 13:08
    ที่ผ่านมา เราคิดว่าผู้นำคือวีรบุรุษเดี่ยวๆ
    ที่ถูกคาดหวัง
  • 13:08 - 13:11
    ว่าจะแก้ปัญหาซับซ้อนได้ด้วยตัวคนเดียว
  • 13:11 - 13:14
    วันนี้ เราต้องนิยามความเป็นผู้นำเสียใหม่
  • 13:14 - 13:18
    ว่าเป็นกิจกรรมสร้างภาวะแวดล้อม
  • 13:18 - 13:24
    ที่ทุกคนสามารถคิดและทำ
    สิ่งที่กล้าหาญที่สุดของตนร่วมกัน
  • 13:24 - 13:28
    เรารู้ว่าวิธีนี้ได้ผล
  • 13:28 - 13:33
    เมื่อพิธีสารมอนทรีออล
    เรียกร้องให้ยุติการปล่อยสารซีเอฟซี
  • 13:33 - 13:37
    สารครอโรฟลูออโรคาร์บอน
    ที่มีส่วนทำให้เกิดรูในชั้นโอโซน
  • 13:37 - 13:39
    ความเสี่ยงนี้มหาศาลมาก
  • 13:39 - 13:41
    เมื่อก่อนเราใช้สารซีเอฟซีกันทั่วทุกที่
  • 13:41 - 13:45
    และตอนนั้นไม่มีใครรู้ว่าจะหาสารทดแทนได้ไหม
  • 13:45 - 13:51
    แต่ทีมหนึ่งที่ลุกขึ้นมารับความท้าทาย
    คือ คิดค้นสารทดแทนนี้ เขาใช้หลักการสามข้อ
  • 13:51 - 13:55
    ข้อแรก แฟรง มาสเลน
    หัวหน้าวิศวกรกล่าวว่า
  • 13:55 - 13:58
    จะไม่มีดาวเด่นในทีมนี้
  • 13:58 - 14:00
    เราต้องการทุกคน
  • 14:00 - 14:03
    ทุกคนมีมุมมองที่มีเหตุผล
  • 14:03 - 14:08
    ข้อสอง เราทำงานให้ได้มาตรฐานเดียวเท่านั้น
  • 14:08 - 14:10
    คือดีที่สุดเท่าที่จินตนาการได้
  • 14:11 - 14:14
    และข้อสาม เขาบอกเจฟ ทัดโฮป
    เจ้านายของเขาว่า
  • 14:14 - 14:16
    ให้ย้ายก้นออกไปห่างๆ
  • 14:16 - 14:19
    เพราะเขารู้ว่าอำนาจ
    อาจรบกวนกระบวนการในกลุ่มได้
  • 14:19 - 14:22
    นั่นไม่ได้หมายความว่าทัดโฮปไม่ทำอะไร
  • 14:22 - 14:23
    เขาให้การปกป้องทีม
  • 14:23 - 14:28
    เขาฟัง เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจ
    ว่าพนักงานเคารพหลักการของทีม
  • 14:28 - 14:34
    และมันก็ได้ผล เทียบกับบริษัทอื่นๆ
    ที่พยายามแก้ปัญหาเดียวกันนี้
  • 14:34 - 14:38
    กลุ่มนี้แก้ได้เป็นกลุ่มแรก
  • 14:38 - 14:40
    จนทุกวันนี้ พิธีสารมอนทรีออล
  • 14:40 - 14:46
    เป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ
  • 14:46 - 14:48
    ที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดที่เคยมีมา
  • 14:49 - 14:52
    ที่ผ่านมา เดิมพันมันสูงมาก
  • 14:52 - 14:55
    วันนี้ เดิมพันก็สูงมากเช่นกัน
  • 14:55 - 14:59
    และเราจะไม่มีทางแก้ปัญหาของเราได้
    ถ้าเราคาดหวังว่ามันจะแก้ได้
  • 14:59 - 15:02
    โดยซุปเปอร์แมน ซุปเปอร์วูแมนสองสามคน
  • 15:02 - 15:05
    วันนี้ เราต้องการทุกๆ คน
  • 15:05 - 15:12
    เพราะเราต้องยอมรับเสียก่อนว่าทุกคนมีคุณค่า
  • 15:12 - 15:19
    เราจึงจะปลดปล่อยพลังงาน จินตนาการ
    และแรงขับเคลื่อนที่เราต้องการได้
  • 15:19 - 15:23
    เพื่อสร้างสิ่งที่ดีที่สุด
    เหนือกว่ามาตรวัดใดๆ
  • 15:23 - 15:26
    ขอบคุณค่ะ
  • 15:26 - 15:30
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมจึงได้เวลาเลิกจัดชั้นสังคมในที่ทำงานแล้ว
Speaker:
มาร์กาเร็ต เฮฟเฟอร์นัน
Description:

องค์กรต่างๆ มักถูกบริหารภายใต้โมเดล "ซุปเปอร์ไก่" ซึ่งให้คุณค่าแก่พนักงานดาวเด่นที่ทำงานดีกว่าคนอื่นๆ แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ขับเคลื่อนทีมที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ผู้นำทางธุรกิจ มาร์กาเร็ต เฮฟเฟอร์นัน สังเกตว่ามันต้องอาศัยการเชื่อมประสานทางสังคม โดยทำให้ทุกๆ การพักกินกาแฟ ทุกๆ ครั้งที่สมาชิกคนหนึ่งในทีมขอความช่วยเหลือ นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม นี่เป็นการรื้อความคิดเดิมๆ ว่าอะไรขับเคลื่อนเราให้ทำผลงานที่ดีที่สุด และความหมายของการเป็นผู้นำคืออะไร เพราะ...อย่างที่เฮฟเฟอร์นันชี้ว่า "ตัวบริษัทไม่มีความคิด ความคิดอยู่ที่ผู้คน"

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:47

Thai subtitles

Revisions