Return to Video

โรคซึมเศร้าคืออะไร - เฮเลน เอ็ม ฟาร์เรลล์ (Helen M. Farrell)

  • 0:08 - 0:11
    โรคซึมเศร้าเป็นตัวการสำคัญ
    ของการสูญเสียสมรรถภาพของประชากรโลก
  • 0:11 - 0:12
    ในประเทศสหรัฐฯ
  • 0:12 - 0:16
    คนวัยทำงานกว่า 10%
    ต้องเผชิญปัญหาโรคซึมเศร้า
  • 0:16 - 0:17
    และเนื่องจากมันเป็นความเจ็บป่วยทางจิตใจ
  • 0:17 - 0:22
    จึงให้มันเข้าใจยากกว่าโรคทางกายทั่วไป
    อย่างคลอเรสเตอรอลสูง
  • 0:22 - 0:25
    หนึ่งในต้นเหตุ ความสับสนก็คือ
    ความแตกต่างระหว่างโรคซึมเศร้า
  • 0:25 - 0:28
    กับแค่อารมณ์ความรู้สึกซึมเศร้า
  • 0:28 - 0:31
    เกือบทุกคนย่อมมีบางช่วงเวลา
    ที่รู้สึกหดหู่ซึมเศร้า
  • 0:31 - 0:33
    สอบได้เกรดไม่ดี
  • 0:33 - 0:34
    ตกงาน ถูกเลิกจ้าง
  • 0:34 - 0:35
    มีปากเสียงทะเลาะเบาะแว้ง
  • 0:35 - 0:38
    แม้แต่ในวันที่ฝนตก
    ก็อาจทำให้รู้สึกเศร้าใจได้
  • 0:38 - 0:40
    หรือบางครั้งก็ไม่มีแม้แต่สาเหตุ
  • 0:40 - 0:42
    อยู่ดี ๆ ก็หดหู่ขึ้นมาเฉย ๆ
  • 0:42 - 0:44
    เมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไป
  • 0:44 - 0:46
    อารมณ์โศกเศร้าก็จางหายไปด้วย
  • 0:46 - 0:48
    แต่โรคซึมเศร้านั้นต่างออกไป
  • 0:48 - 0:50
    มันเป็นอาการผิดปกติทางการแพทย์
  • 0:50 - 0:53
    มันจะไม่หายไปง่าย ๆ
    แม้คุณจะอยากหายเศร้าแล้วก็ตาม
  • 0:53 - 0:55
    มันจะคงอยู่ต่อเนื่องเป็นเวลา
    อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • 0:55 - 0:59
    และส่งผลรบกวนอย่างมีนัยยะ
    ต่อชีวิตการทำงาน
  • 0:59 - 1:00
    การสังสรรค์
  • 1:00 - 1:01
    หรือแม้กระทั่ง ชีวิตคู่
  • 1:01 - 1:03
    อาการของโรคซึมเศร้ามีหลายแบบ เช่น
  • 1:03 - 1:04
    อารมณ์หดหู่ เศร้าหมอง
  • 1:04 - 1:07
    ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบทำ
  • 1:07 - 1:08
    ความอยากอาหารที่เปลี่ยนไปจากเดิม
  • 1:08 - 1:11
    รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดรุนแรง
  • 1:11 - 1:14
    มีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับมากเกินไป
  • 1:14 - 1:15
    ไม่มีสมาธิ
  • 1:15 - 1:17
    อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย
    หรือทำกิจกรรมอย่างเชื่องช้า
  • 1:17 - 1:19
    รู้สึกไม่มีแรง
  • 1:19 - 1:21
    ครุ่นคิดเรื่องฆ่าตัวตาย
  • 1:21 - 1:23
    ถ้าคุณมีอย่างน้อย 5 อาการที่กล่าวมา
  • 1:23 - 1:25
    ตามคู่มือทางจิตเวช
  • 1:25 - 1:29
    คุณมีโอกาสที่จะถูกวินิจฉัย
    ว่าเป็นโรคซึมเศร้า
  • 1:29 - 1:31
    และความผิดปกติก็ไม่ได้มีแต่เฉพาะ
    ทางพฤติกรรมเท่านั้น
  • 1:31 - 1:35
    โรคซึมเศร้านั้นส่งผลต่อ
    พยาธิสภาพในสมองด้วย
  • 1:35 - 1:37
    ก่อนอื่นเลย
  • 1:37 - 1:39
    มันมีการเปลี่ยนแปลง
    ที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า
  • 1:39 - 1:41
    และจากภาพถ่ายเอ็กเรย์
  • 1:41 - 1:45
    ซึ่งรวมถึง การหดเล็กลงของสมองใหญ่กลีบหน้า
    และสมองส่วนฮิปโปแคมปัส
  • 1:45 - 1:47
    ในระดับที่เล็กลงไปอีก
  • 1:47 - 1:49
    โรคซึมเศร้านั้นสัมพันธ์กับ
    ความผิดปกติหลายอย่าง
  • 1:49 - 1:53
    เช่น ความผิดปกติ
    ของการหลั่งสารสื่อประสาทบางชนิด
  • 1:53 - 1:57
    โดยเฉพาะ เซโรโทนิน
    นอร์อีพิเนฟริน และโดพามีน
  • 1:57 - 1:59
    ระบบนาฬิกาชีวิต (circadian rhythms) รวน
  • 1:59 - 2:03
    ความผิดปกติของการนอนในระยะหลับฝัน (REM)
    และระยะหลับลึก (slow-wave)
  • 2:03 - 2:05
    รวมถึงความผิดปกติของฮอร์โมนต่าง ๆ
  • 2:05 - 2:10
    เช่น ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงขึ้น
    และการทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์
  • 2:10 - 2:13
    แต่นักประสาทวิทยา
    ก็ยังคงไม่สามารถชี้ชัดได้
  • 2:13 - 2:15
    ว่าอะไรคือต้นเหตุของโรคซึมเศร้า
  • 2:15 - 2:20
    ดูเหมือนว่าสาเหตุนั้นจะเกี่ยวข้องกับ
    ทั้งจากพันธุกรรม และสภาพแวดล้อม
  • 2:20 - 2:22
    แต่เราไม่มีเครื่องมือวินิจฉัย
  • 2:22 - 2:26
    ที่แม่นยำพอที่จะบอกได้ว่า
    มันจะแสดงอาการออกมาที่ไหน เมื่อไหร่
  • 2:26 - 2:29
    และเพราะว่าอาการของโรคซึมเศร้านั้น
    ค่อนข้างคลุมเครือ
  • 2:29 - 2:32
    คนที่ภายนอกดูปกติดี
    อาจกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ก็ได้
  • 2:32 - 2:35
    ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตแห่งชาติบอกว่า
  • 2:35 - 2:38
    โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจะต้องเผชิญกับ
    อาการโรคซึมเศร้า
  • 2:38 - 2:41
    ราวสิบปีกว่าจะเริ่มหาทางรักษา
  • 2:41 - 2:43
    ซึ่งก็มีการรักษาที่ได้ผลดีอยู่หลายวิธี
  • 2:43 - 2:48
    การกินยาร่วมกับการบำบัด
    เพื่อปรับระดับสารเคมีในสมอง
  • 2:48 - 2:51
    ในรายที่อาการหนัก ก็จะใช้วิธีการช็อคไฟฟ้า
    (electroconvulsive therapy)
  • 2:51 - 2:54
    ซึ่งจะทำให้เกิดการชักในระดับพอเหมาะ
    ในสมองของผู้ป่วย
  • 2:54 - 2:56
    ก็ได้ผลเป็นอย่างดี
  • 2:56 - 2:57
    วิธีการรักษาใหม่ ๆ เช่น
  • 2:57 - 3:00
    การกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็ก
    (transcranial magnetic stimulation)
  • 3:00 - 3:02
    ก็กำลังมีการศึกษาวิจัยกันอยู่
  • 3:02 - 3:04
    ถ้ามีคนรอบข้างที่กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
  • 3:04 - 3:09
    ค่อย ๆ แนะนำให้เขาไปรับการรักษา
    ตามวิธีต่าง ๆ ที่กล่าวมา
  • 3:09 - 3:11
    คุณอาจจะอาสาช่วยเขาในบางเรื่อง
  • 3:11 - 3:13
    เช่น รวบรวมรายชื่อนักบำบัดที่อยู่ใกล้ ๆ
  • 3:13 - 3:16
    หรือ ทำรายการคำถาม
    สำหรับตอนไปพบแพทย์
  • 3:16 - 3:18
    ซึ่งสำหรับผู้ป่วยแล้ว
  • 3:18 - 3:21
    การเริ่มต้นทำสิ่งเหล่านี้
    ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับเขา
  • 3:21 - 3:23
    ถ้าเกิดเขารู้สึกผิดหรืออาย
  • 3:23 - 3:26
    ก็บอกไปว่าโรคซึมเศร้า
    เป็นภาวะความเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง
  • 3:26 - 3:28
    เหมือนอย่างโรคหืดหอบ
    หรือโรคเบาหวาน
  • 3:28 - 3:30
    ไม่ใช่ ปมด้อย
    หรือลักษณะอุปนิสัย
  • 3:30 - 3:34
    และก็ไม่ควรไปหวังลม ๆ แล้ง ๆ ว่า
    เดี๋ยวมันก็หายเอง
  • 3:34 - 3:37
    เหมือนกับที่คุณรู้ว่า
    แขนที่หักนั้นไม่สามารถหายได้เอง
  • 3:37 - 3:39
    ถ้าคุณไม่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน
  • 3:39 - 3:43
    อย่าพยายามเอาไปเทียบ
    กับเวลาตอนที่คุณรู้สึกหดหู่ซึมเศร้า
  • 3:43 - 3:47
    การเอาไปเปรียบเทียบ
    กับอารมณ์ซึมเศร้าทั่วไป
  • 3:47 - 3:50
    อาจทำให้เขารู้สึกผิด
    ที่อาการไม่หายไปซักที
  • 3:50 - 3:53
    การพูดคุยเกี่ยวกับอาการโรคซึมเศร้า
    แบบตรงไปตรงมาอาจช่วยได้
  • 3:53 - 3:57
    อย่างเช่น งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า
    การถามคนคนนึงถึงเรื่องความคิดฆ่าตัวตาย
  • 3:57 - 4:00
    ช่วยลดโอกาสที่เขาจะลงมือทำมันจริง ๆ
  • 4:00 - 4:04
    การพูดคุยแบบเปิดอกเกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิต
    ช่วยลดความเข้าใจที่ผิดในสังคมได้
  • 4:04 - 4:07
    ซึ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกล้าที่จะขอความช่วยเหลือ
  • 4:07 - 4:08
    ยิ่งมีผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษามาเท่าไร
  • 4:08 - 4:11
    ข้อมูลเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
    ก็จะย่ิงมีมากขึ้น
  • 4:11 - 4:13
    การรักษาก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพ
    มากขึ้นตามไปด้วย
Title:
โรคซึมเศร้าคืออะไร - เฮเลน เอ็ม ฟาร์เรลล์ (Helen M. Farrell)
Speaker:
Helen M. Farrell
Description:

รับชมบทเรียนเต็มได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/what-is-depression-helen-m-farrell

โรคซึมเศร้าเป็นต้นเหตุสำคัญในการสูญเสียสมรรถภาพของประชากร ในประเทศสหรัฐฯ กว่า 10% ของคนวัยทำงานต้องผจญกับโรคซึมเศร้า และเนื่องจากมันเป็นภาวะความเจ็บป่วยทางจิตใจ จึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับมันได้ยากกว่าโรคทางกายทั่วไป เฮเลน เอ็ม ฟาร์เรลล์ จะพาเราไปรู้จักเกี่ยวกับ อาการและวิธีการรักษาโรคซึมเศร้า รวมถึงข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติเมื่อคนรอบข้างป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

บทเรียนโดย Helen M. Farrell, ภาพอนิเมชั่นโดย Artrake Studio.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:29
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for What is depression? - Helen M. Farrell
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What is depression? - Helen M. Farrell
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for What is depression? - Helen M. Farrell
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What is depression? - Helen M. Farrell
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What is depression? - Helen M. Farrell
Pongsakorn Puavaranukroh edited Thai subtitles for What is depression? - Helen M. Farrell
Pongsakorn Puavaranukroh edited Thai subtitles for What is depression? - Helen M. Farrell
Pongsakorn Puavaranukroh edited Thai subtitles for What is depression? - Helen M. Farrell
Show all

Thai subtitles

Revisions