Return to Video

เปลี่ยนโลกด้วยภาพทีละภาพ

  • 0:10 - 0:15
    อะไรคือจุดหมายในชีวิตของคุณ
  • 0:15 - 0:16
    ทำไมเราถึงมาอยู่ตรงนี้
  • 0:16 - 0:17
    ผมเฝ้าถามคำถามนี้กับตัวเอง
  • 0:17 - 0:20
    ซ้ำแล้วซ้ำเล่าตั้งแต่เกิด
  • 0:20 - 0:23
    ตั้งแต่ผมเริ่มจำความได้
  • 0:23 - 0:24
    และเมื่อไม่นานนี้
  • 0:24 - 0:26
    ผมได้เริ่มทำบางอย่าง
  • 0:26 - 0:27
    ที่น่าเหลือเชื่อ
  • 0:27 - 0:29
    ผมเริ่มถ่ายภาพ
  • 0:29 - 0:32
    และนั่นคือการค้นพบจุดหมายในชีวิตของผม
  • 0:32 - 0:35
    นี่คือผมเอง ตอนอายุห้าขวบ
  • 0:35 - 0:36
    กับกล้องเล็ก ๆ
  • 0:36 - 0:37
    ซึ่งผมไม่รู้เลย
  • 0:37 - 0:38
    ว่ามันใช้งานอย่างไร
  • 0:38 - 0:39
    ผมแค่ตั้งท่า
  • 0:39 - 0:40
    กับกล้องน้อยตัวนี้
  • 0:40 - 0:41
    ที่คุณแม่ให้มา
  • 0:41 - 0:44
    ผมแค่จับมันเล่น ๆ
  • 0:44 - 0:45
    หลังจากนั้น
    ผมก็ไม่เคยได้ฝึกฝน
  • 0:45 - 0:49
    ทักษะทางด้านศิลปะใด ๆ
  • 0:49 - 0:51
    การวาด การระบาย ไม่มีเลย
  • 0:51 - 0:54
    ที่โรงเรียน คุณครูพร่ำบอกผมเสมอ
  • 0:54 - 0:56
    ว่าผมไม่เอาไหนในเชิงศิลปะ
  • 0:56 - 0:58
    ผมไม่สามารถอะไรที่ครูสั่งได้ได้เลย
  • 0:58 - 1:00
    ผมไม่สามารถทำตามขั้นตอนง่าย ๆ
  • 1:00 - 1:03
    วาดวงกลม ระบายสี
  • 1:03 - 1:06
    แค่ระบายสีง่าย ๆ ผมก็ทำไม่ได้
  • 1:06 - 1:09
    ผมไม่เคยใช้ความสามารถ
  • 1:09 - 1:12
    ทำสิ่งใดเลยในเชิงศิลปะ
  • 1:12 - 1:16
    นี่คือผม
    และเพื่อนร่วมชีวิตของผม
  • 1:16 - 1:18
    คนที่ผมใช้เวลา 8 ปีล่าสุดนี้ด้วยกัน
  • 1:18 - 1:21
    เราเดินทางไปทั่วโลกด้วยเครื่องบินเล็ก
  • 1:21 - 1:26
    ซึ่งผมกลัวการบินมาก ๆ
  • 1:26 - 1:30
    ทุกครั้งที่ออกบิน ผมจะสวดมนต์
  • 1:30 - 1:33
    เพื่อให้เราไปถึงจุดหมายอย่างปอดภัย
  • 1:33 - 1:36
    แต่แล้วผมก็ใช้การถ่ายภาพ
  • 1:36 - 1:39
    เป็นเครื่องมือช่วยให้พ้นความกลัว
  • 1:40 - 1:43
    และผมก็ถ่ายรูปอันน่าทึ่ง
  • 1:43 - 1:45
    ทุกมุมโลก จากเครื่องบิน
  • 1:45 - 1:48
    ผมเห็นความเปลี่ยนแปลง
    ในสิ่งแวดล้อม
  • 1:48 - 1:50
    ในผู้คน และในวัฒนธรรม
  • 1:50 - 1:52
    สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญ
  • 1:52 - 1:54
    และกำลังหายไป
  • 1:54 - 1:56
    จากพื้นพิภพ
  • 1:56 - 2:00
    ผมจึงถ่ายภาพพวกนี้จากบนฟ้า
  • 2:00 - 2:04
    แล้วหลังจากนั้น
    ผมก็ผันตัวมาเป็นช่างภาพแฟชั่น
  • 2:04 - 2:06
    แต่นั่นก็ไม่เพียงพอสำหรับผม
  • 2:06 - 2:08
    ที่จะถ่ายแค่ภาพสวย ๆ
  • 2:08 - 2:09
    ของเสื้อผ้าสวย ๆ
  • 2:09 - 2:11
    เสื้อผ้าหลุดโลกแบบนี้
  • 2:11 - 2:14
    การแต่งหน้า รองเท้า
    สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงพอ
  • 2:14 - 2:16
    ผมจึงหารือกันคู่ชีวิตของผม
  • 2:16 - 2:18
    และผมคิดว่าเราควรใช้ทรัพยากรที่เรามี
  • 2:18 - 2:20
    ทำอะไรบางอย่างให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  • 2:20 - 2:23
    เพื่อสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในโลก
  • 2:23 - 2:25
    เราจึงเริ่มต้นโครงการมากมาย
  • 2:25 - 2:27
    ส่วนใหญ่เกี่ยวกับสัตว์
  • 2:27 - 2:29
    เพราะผมไม่ชอบยุ่ง
    กับมนุษย์เท่าไหร่
  • 2:29 - 2:33
    เราจึ่งเริ่มจากการขนย้ายสัตว์
  • 2:33 - 2:34
    จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
  • 2:34 - 2:36
    ปล่อยชะนีคืนสู่ธรรมชาติ
  • 2:36 - 2:39
    จากกรงสู่ผืนป่าเชียงใหม่
  • 2:39 - 2:42
    เราทำมาได้หลายปีแล้ว
  • 2:42 - 2:43
    และค่อนข้างประสบความสำเร็จ
  • 2:43 - 2:47
    ตอนนี้เชียงใหม่มีชะนีอยู่ในป่าอีกครั้ง
  • 2:47 - 2:50
    พวกนี้คือพยูน
  • 2:50 - 2:52
    หลายคนไม่รู้ว่าพวกมันอยู่ในประเทศไทย
  • 2:52 - 2:55
    เรามีพยูนจำนวนไม่น้อยในทะเลตรัง
  • 2:55 - 2:57
    บริเวณเกาะตะลิบง
  • 2:57 - 2:59
    เราเพิ่งบินไปสำรวจเมื่อเดือนก่อน
  • 2:59 - 3:02
    จำนวนของพวกมันเพิ่มขึ้น
    ซึ่งน่ายินดี
  • 3:02 - 3:07
    นี่คือพยูนฝูงใหญ่ที่ตรัง
  • 3:07 - 3:09
    พยูนเป็นสัตว์น่าทึ่ง
    และนี่คือวาฬบรูด้า
  • 3:09 - 3:11
    หลายคนไม่รู้เช่นกัน
  • 3:11 - 3:13
    ว่ามีวาฬชนิดนี้อยู่ในประเทศไทย
  • 3:13 - 3:15
    บริเวณอ่าวไทยตอนบน
  • 3:15 - 3:17
    มีประมาณ 50 ตัว
  • 3:17 - 3:19
    นี่คือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง
  • 3:21 - 3:24
    อย่างที่ผมบอก ผมกลัวการบินอย่างมาก
  • 3:24 - 3:25
    นี่คือผมเองเมื่อสี่ปีที่แล้ว
  • 3:25 - 3:27
    ต้องสวดมนต์ทุกครั้งที่จะออกบิน
  • 3:27 - 3:29
    มันแย่มาก
  • 3:29 - 3:33
    และนี่คือผมเมื่อปีที่แล้ว เปลี่ยนไปเยอะ
  • 3:34 - 3:37
    กลับมาที่เรื่องของวาฬ
  • 3:39 - 3:43
    ผมเห็นข่าวนี้ทางอินเตอร์เนท
  • 3:43 - 3:46
    วาฬตัวเขื่องลอยตายอยู่ในทะเลไทย
  • 3:46 - 3:47
    ผมคิดขึ้นว่า
  • 3:47 - 3:50
    อยากถ่ายรูปของสัตว์ไร้ชีวิตตัวนี้
  • 3:50 - 3:54
    แต่ไม่ใช่แบบนี้ มันง่ายเกินไป
  • 3:54 - 3:56
    ทุกคนที่อ่านเจอข่าวจะคิดว่า
  • 3:56 - 3:58
    เป็นเรื่องเศร้า
  • 3:58 - 4:00
    แต่ก็เแค่วาฬตายอีกตัวเท่านั้น
  • 4:00 - 4:03
    ผมพูดกับคู่ชีวิตผมว่า
  • 4:03 - 4:07
    ผมอยากจะให้นางแบบแฟชั่น
    ไปอยู่ในทะเลกับวาฬที่ตายแล้วตัวนั้น
  • 4:07 - 4:09
    เขาคิดว่าผมบ้าไปแล้ว
  • 4:09 - 4:11
    แต่คนบ้า ๆ เท่านั้นที่สร้างความเปลี่ยนแปลง
  • 4:11 - 4:14
    ผมมีความสุขกับความบ้า ๆ นั้น
  • 4:14 - 4:17
    แล้วทำไมผมถึงอยากทำแบบนั้น
  • 4:17 - 4:24
    ก็เพราะว่าการรณรงค์แบบเดิม ๆ
    ไม่ได้ผลเสียแล้ว
  • 4:24 - 4:28
    ผมทำงานรณรงค์เพื่อสัตว์มากกว่าแปดปี
  • 4:28 - 4:33
    แต่จำนวนประชากรสัตว์ก็ยังลดลง
    ผมจึงคิดว่าเราต้องใช้วิธีที่ต่างไป
  • 4:33 - 4:40
    ผมเดินทางไปสมุทรสาคร ไปยังบริเวณนั้น
  • 4:40 - 4:42
    ที่วาฬถูกย้ายขึ้นมาบนป่าชายเลน
  • 4:42 - 4:46
    และเราก็เริ่มถ่ายภาพมันกับนางแบบแฟชั่น
  • 4:46 - 4:50
    เราทำงานร่วมกันอย่างดี
    กับนักชีววิทยาทางทะเล
  • 4:50 - 4:53
    และนี่คือผมเอง เมื่อสองปีก่อน
  • 4:53 - 4:57
    รูปนี้พาผมไปอยู่บนหน้าแรกของ
    หนังสือพิมพ์ไทยหลายฉบับ
  • 4:57 - 5:00
    และเป็นอีกครั้งที่พวกเขาเรียกผมว่า
    ช่างภาพหลุดโลก
  • 5:02 - 5:04
    แต่ผมก็มีความสุขที่ได้หลุดโลก
  • 5:04 - 5:05
    ผมติดตามข่าว
  • 5:05 - 5:07
    และรับฟังความเห็นจากผู้คน
  • 5:08 - 5:12
    แม้แต่ CNN ก็รายงานข่าวนี้
    และถูกแปลต่อไปอีก 17 ภาษาทั่วโลก
  • 5:12 - 5:16
    วิธีนี้จึงนับว่าประสบความสำเร็จ
  • 5:16 - 5:18
    ในการสร้างความรับรู้ในหมู่คนไทย
    ให้เข้าใจ
  • 5:18 - 5:24
    ให้ตระหนักว่าในประเทศไทย
    นั้นมีวาฬอยู่จริง ๆ
  • 5:24 - 5:27
    คนจำนวนมากไม่รู้มาก่อน
    ว่าพวกมันอยู่ในน่านน้ำประเทศเรา
  • 5:28 - 5:33
    The Last Farewhale
    คือชื่อของเรื่องเล่าจากภาพ
  • 5:33 - 5:36
    ซึ่งเป็นวิธีของผมในการกล่าวอำลาสัตว์ตัวนี้
  • 5:36 - 5:40
    ซึ่งผมให้ความสำคัญมาก
  • 5:40 - 5:43
    เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว
  • 5:43 - 5:46
    วาฬบรูด้าได้รับการรับรอง
    ให้เป็นสัตว์สงวนของชาติ
  • 5:46 - 5:50
    และนั่นคือจุดเริ่มต้นของโครงการถัดไป
  • 5:50 - 5:55
    ซึ่งผมมีแนวคิดว่า หากประสานแฟชั่น
    เข้ากับเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผมมีความเชื่อ
  • 5:55 - 5:57
    และแปลให้เป็นผลงาน
  • 5:57 - 6:02
    ผมก็สามารถแปลและส่งสารอะไรก็ตาม
    ที่ผมต้องการ
  • 6:02 - 6:03
    โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่
  • 6:03 - 6:04
    คนรุ่นหนุ่มสาว
  • 6:04 - 6:08
    ซึ่งเป็นอนาคตของมนุษยชาติ
  • 6:09 - 6:12
    แต่ทำไมต้องถ่ายภาพแฟชั่น
  • 6:12 - 6:16
    ผมคิดว่าแฟชั่นอยู่ในตัวตนของทุกคน
  • 6:16 - 6:18
    คนที่นั่งฟังอยู่ที่นี่
  • 6:18 - 6:22
    และคนที่รับชมงานนี้อยู่ที่บ้าน
  • 6:22 - 6:25
    ไม่สำคัญว่าคุณจะแต่งตัวดีหรือแย่
  • 6:25 - 6:27
    หรือแต่งตัวหลุดโลกแบบนี้
  • 6:27 - 6:31
    ทุกคนมีความเชื่อมโยงกัน
    ในแบบที่เราอาจจะไม่รู้ตัว
  • 6:32 - 6:34
    ไม่สำคัญ
    ว่าคุณจะมีผิวสีอะไร
  • 6:34 - 6:35
    พูดภาษาอะไร
  • 6:35 - 6:37
    มีวัฒนธรรมแบบไหน
  • 6:37 - 6:40
    ผมคิดว่า สิ่งสำคัญคือ
    การมีแนวของตัวเอง
  • 6:42 - 6:45
    ผมขอพาคุณย้อนไปดู
    ผลงานที่ผมทำไว้
  • 6:45 - 6:49
    ซึ่งเป็นการรวมการถ่ายภาพแฟชั่น
    เข้ากับสารคดีการรณรงค์
  • 6:49 - 6:54
    งานแรกคือ SHUT DOWN
    ซึ่งผมรวมเอาการเมืองมาไว้กับสารทางแฟชั่น
  • 6:55 - 6:56
    นี่คือ SHUT DOWN
  • 6:56 - 6:58
    จำเหตุการณ์ Bangkok Shut Down
    เมื่อหลายปีก่อนได้ใช่ไหม
  • 6:59 - 7:02
    The End of the Roads
    เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • 7:04 - 7:06
    ถนนหลายสายในประเทศไทย
    ได้รับความเสียหายเมื่อปีก่อน
  • 7:08 - 7:12
    Road Runners เกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน
    โดยเฉพาะที่เชียงใหม่
  • 7:15 - 7:19
    และโครงการล่าสุดที่ผมได้ทำงาน
    ร่วมกับผู้ต้องขังที่เป็นแม่
  • 7:19 - 7:22
    พวกเราได้สร้างสามชิ้นงาน
    เพื่อให้คนได้ตระหนัก
  • 7:22 - 7:25
    ถึงสุขภาวะของแม่และเด็กในเรือนจำ
  • 7:25 - 7:27
    มันไม่ใช่เรื่องง่ายทั่วไปในแต่ละวัน
  • 7:27 - 7:30
    แต่สามามารถดึงความสนใจของคุณได้
  • 7:30 - 7:32
    ผลงานเหล่านี้ถูกเรียกว่า
  • 7:32 - 7:35
    ภาพถ่ายแฟชั่นสะท้อนสังคม
  • 7:35 - 7:37
    ซึ่งผมรู้ว่ามันได้ผลดี
  • 7:37 - 7:41
    ผมสามารถแปลและส่งสารอย่างที่ผมต้องการ
  • 7:41 - 7:42
    ไปยังผู้ฟังกลุ่มใหม่
  • 7:42 - 7:44
    ไปยังคนหนุ่มสาว
  • 7:44 - 7:45
    เป็นการกระตุ้นให้กระทำ
  • 7:46 - 7:50
    และนี่คือจุดเริ่มต้นของ the Anatomy 101
  • 7:50 - 7:57
    The Anatomy 101 คือผลงานที่มาจาก
    ประสบการณ์ส่วนตัว
  • 7:57 - 7:59
    หลายคนถามผมว่าได้ประสบการณ์นั้นจากไหน
  • 7:59 - 8:02
    หรือได้แรงบันดาลใจจากไหน
  • 8:02 - 8:03
    มันมาจากประสบการณ์ส่วนตัว
  • 8:03 - 8:06
    บางอย่างที่ผมให้ความสำคัญ
  • 8:06 - 8:08
    บางอย่างที่ผมมีความรู้สึกลึกซึ้ง
  • 8:08 - 8:10
    ผมเสียไตไปหนึ่งข้างเมื่อสองปีก่อน
  • 8:10 - 8:12
    ซึ่งผมสบายดี
  • 8:12 - 8:13
    มีความสุข
  • 8:13 - 8:14
    ที่เสียไตไปข้างหนึ่ง
  • 8:14 - 8:15
    เพราะผมเคยมีไต 3 ข้าง
  • 8:15 - 8:19
    คนทั่วไปจะมีไต 2 ข้าง
    แต่ผมเกิดมาพร้อมกับการมี 3 ข้าง
  • 8:19 - 8:22
    และหนึ่งในนั้นทำงานผิดปกติ
    ทำให้ผมไม่สบายตลอดปี
  • 8:22 - 8:25
    แพทย์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • 8:26 - 8:29
    แนะนำให้ผมผ่าตัดไตข้างที่เสียออกไป
  • 8:29 - 8:31
    ผมจึงต้องอยู่ที่โรงพยาบาลพักหนึ่ง
  • 8:31 - 8:36
    ซึ่งผมได้พบกับสุภาพสตรีสูงอายุ
    ที่กำลังรอเปลี่ยนอวัยวะ
  • 8:36 - 8:39
    รอมานานหลายปี
  • 8:39 - 8:43
    ผมคิดขึ้นว่า แค่ผมป่วยปีเดียว
    ชีวิตก็แทบจะดับสิ้น
  • 8:43 - 8:48
    แล้วคนที่ต้องรอเปลี่ยนอวัยวะนานถึงสี่ปีล่ะ
  • 8:48 - 8:51
    เหมือนกับคุณกำลังหายใจ
    แต่ไร้ชีวิต
  • 8:51 - 8:52
    ซึ่งแย่มาก
  • 8:52 - 8:56
    เพราะคุณกำลังรอให้ใครบางคน
    มอบโอกาสให้คุณได้มีชีวิตอีกครั้ง
  • 8:57 - 9:00
    ผมคิดได้ว่า มีคนเสียชีวิตมากมายในแต่ละปี
  • 9:00 - 9:04
    คนเป็นแสน ๆ เสียชีวิตลง
    พูดให้ชัด ๆ ก็คือห้าแสนคน
  • 9:04 - 9:07
    แล้วอวัยวะของคนเหล่านั้นไปไหนล่ะ
  • 9:07 - 9:09
    อวัยวะเหล่านั้นถูกเผา
  • 9:09 - 9:10
    กลายเป็นมลภาวะในอากาศ
  • 9:10 - 9:12
    ไม่มีใครได้ใช้ประโยชน์
  • 9:12 - 9:14
    ซึ่งแย่มาก
  • 9:14 - 9:17
    ผมจึงจับมือกับเพื่อนสนิท
    คุณสุรชัย แสงสุวรรณ
  • 9:17 - 9:21
    เพื่อสร้างผลงาน Anatomy 101 ขึ้นมา
  • 9:21 - 9:23
    แล้วทำไมต้อง Anatomy 101
  • 9:24 - 9:25
    จำวัยเด็กได้ไหม
  • 9:25 - 9:28
    เราได้เรียนหลายวิชาที่โรงเรียน
  • 9:28 - 9:30
    คณิตศาสตร์ 101 ซึ่งน่าเบื่อ
  • 9:30 - 9:34
    ชีววิทยา 101 ศิลปะ 101
    อะไรก็ตาม 101
  • 9:34 - 9:39
    แต่วิชานี้จะสอนคุณเกี่ยวกับ
    การบริจาคอวัยวะ
  • 9:39 - 9:41
    อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของคุณ
  • 9:41 - 9:43
    เป็นวิชาพื้นฐาน
  • 9:43 - 9:46
    เราจึงศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ
  • 9:46 - 9:52
    เราศึกษาการแพทย์ย้อนไปเมื่อ 200 ปีก่อน
  • 9:52 - 9:54
    พุทธศาสนา
  • 9:54 - 9:56
    ภาพยนตร์
  • 9:56 - 9:58
    การปั้น
  • 9:58 - 10:00
    การวาด
  • 10:00 - 10:04
    เราใช้เวลาศึกษาอยู่ถึงหกเดือน
  • 10:04 - 10:06
    ใช้เวลาถ่ายภาพ 2 เดือน
  • 10:06 - 10:09
    และอีก 1 เดือนในการจัดการภาพที่ถ่ายแล้ว
  • 10:09 - 10:10
    เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนี้
  • 10:10 - 10:13
    ภาพนี้เกี่ยวกับการบริจาคเลือด
  • 10:15 - 10:17
    การบริจาคอวัยวะ
  • 10:17 - 10:19
    การบริจาคเส้นผม
  • 10:19 - 10:24
    คุณหรือหรือไม่ว่าสามารถเส้นผม
    เพื่อทำผมปลอมให้ผู้ป่วยมะเร็ง
  • 10:25 - 10:27
    การปลูกถ่ายเต้านม
  • 10:28 - 10:29
    การบริจาคผิวหนัง
  • 10:29 - 10:31
    คุณสามารถบริจาคผิวหนังได้
  • 10:32 - 10:35
    ผมขออธิบายภาพนี้เล็กน้อย
  • 10:35 - 10:38
    ภาพนี้ชื่อว่า กายภาพของมรณานุสติ
  • 10:38 - 10:41
    เป็นการรวมความเป็นสุดยอดจากทั้ง 2 โลก
  • 10:41 - 10:42
    ตะวันตกและตะวันออก
  • 10:42 - 10:47
    ฝั่งตะวันตกในอดีต การศึกษากายวิภาค
    เป็นเรื่องเกือบจะต้องห้าม
  • 10:47 - 10:50
    ในสมัยก่อน พวกเขาศึกษากายวิภาค
    ไปเพื่อความบันเทิง
  • 10:50 - 10:52
    ผู้คนต้องแต่งตัวสวยงาม
  • 10:52 - 10:56
    ส่วนในเชิงพุทธศาสนา
    เราศึกษาศพเพื่อให้เข้าใจวัฎสงสาร
  • 10:56 - 10:58
    ร่างกายไม่ใช่ของเรา
  • 10:58 - 11:00
    และจิตอยู่ตรงนี้
  • 11:00 - 11:04
    เพื่อจะให้ผู้คนเข้าใจ
  • 11:04 - 11:06
    ความสำคัญของการบริจาคอวัยวะ
  • 11:06 - 11:09
    ผมจึงต้องใช้วิธีนี้
  • 11:09 - 11:13
    นี่คือการรวมความเป็นที่สุด
    ของทั้งสองโลก
  • 11:13 - 11:17
    พุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • 11:17 - 11:20
    นี่คือหนึ่งในรูปโปรดของผม
    จากโครงการนี้
  • 11:20 - 11:22
    นี่คือหนูน้อยหมวกแดง
  • 11:22 - 11:23
    ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • 11:23 - 11:26
    มีพื้นที่ส่วนหนึ่ง
    ที่คุณสามารถ
  • 11:26 - 11:29
    ใช้เวลากับเด็ก
    ที่ป่วยเรื้อรัง
  • 11:29 - 11:31
    ซึ่งหมายความถึงเด็ก
    ที่ไม่สามารถออกจากโรงพยาบาลได้
  • 11:31 - 11:34
    และต้องโยงอยู่กับเครื่องมือแพทย์
  • 11:34 - 11:38
    มันแย่มาก
    ผมอยู่ในโรงพยาบาลเก้าวัน
  • 11:38 - 11:41
    รอคนมาเยี่ยม มาคุยเป็นเพื่อน
  • 11:41 - 11:43
    เด็กเหล่านี้จึงเผชิญความยากลำบาก
  • 11:43 - 11:44
    ไม่สามารถใช้ชีวิตเรียบง่าย
  • 11:44 - 11:45
    ไม่สามารถใช้ชีวิตปกติ
  • 11:45 - 11:48
    ไม่สามารถไปวิ่งเล่นที่บ้านเกิดของตัวเองได้
  • 11:48 - 11:51
    ผมจินตนาการว่าถ้าผมเป็นเด็กที่นั่น
  • 11:51 - 11:53
    ผมคงต้องการใครสักคน
  • 11:53 - 11:56
    มาอ่านหนังสือให้ฟัง
    เอาของเล่นมาให้
  • 11:56 - 11:59
    ผมจึงสร้างเรื่องราวของเทพธิดาผู้คุ้มครอง
  • 11:59 - 12:00
    ที่อ่านหนังสือให้เด็กเหล่านี้
  • 12:00 - 12:03
    หนูน้อยหมวกแดง
  • 12:03 - 12:05
    ในทางกลับกัน
    เด็กน้อยทำเสื้อผ้าชิ้นเล็ก
  • 12:05 - 12:09
    เป็นของขวัญให้เทพธิดาผู้คุ้มครอง
  • 12:09 - 12:13
    นี่คือสิ่งง่าย ๆ ง่ายที่สุด
    ที่คุณจะทำได้
  • 12:13 - 12:15
    นั่นคือการบริจาคเวลา
  • 12:18 - 12:20
    ความฝันอันยิงใหญ่ของศิลปิน
  • 12:20 - 12:22
    อาจจะเป็นการมีนิทรรศการใหญ่โต
  • 12:22 - 12:24
    ในหอศิลป์แห่งชาติ
  • 12:24 - 12:26
    ในพิพิธภัณฑ์
  • 12:26 - 12:29
    ในห้างสรรพสินค้า
  • 12:29 - 12:32
    แต่ผมไม่ได้ต้องการชื่อเสียง
  • 12:32 - 12:36
    The Anatomy 101 เป็นโครงการที่อุทิศ
    ในผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือ
  • 12:36 - 12:40
    โดยการส่งเสียง
    ไปถึงคนที่สามารถเป็นผู้ให้
  • 12:40 - 12:45
    จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำโครงการนี้
    กลับไปสู่จุดเริ่มต้น
  • 12:45 - 12:48
    นั่นคือโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • 12:48 - 12:50
    ซึ่งค่อนข้างท้าทาย
  • 12:50 - 12:53
    การโน้มน้าวให้คณะกรรมการ
    ของโรงพยาบาล
  • 12:53 - 12:55
    ยอมให้มีการถ่ายภาพแฟชั่น
  • 12:55 - 12:57
    ในโรงพยาบาลเป็นแค่ก้าวแรก
  • 12:57 - 13:03
    แต่การทำให้ภาพถ่ายแฟชั่น
    ถูกจัดแสดงในอาคาร
  • 13:03 - 13:05
    ที่มีผู้ป่วยกำลังรอรับการรักษา
  • 13:05 - 13:07
    แทบจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
  • 13:07 - 13:10
    แต่ก็โชคดีที่คณะกรรมการเชื่อในตัวผม
  • 13:10 - 13:11
    เชื่อในหลักการของผม
  • 13:11 - 13:16
    พวกเราจึงแบ่งอาคารจักรพงษ์เป็นสองส่วน
  • 13:16 - 13:22
    ส่วนแรกยังใช้เป็นพื้นที่รับผู้ป่วยตามปกติ
  • 13:22 - 13:24
    และส่วนที่สองใช้แสดงผลงาน
  • 13:24 - 13:28
    คนที่มาชมงานก็จะได้เห็นทั้งสองโลก
  • 13:28 - 13:32
    ความเจ็บป่วยและความงามของภาพถ่ายแฟชั่น
  • 13:32 - 13:36
    ผู้ชมสามารถได้รับอรรถรสจากงาน
  • 13:36 - 13:39
    โดยผู้ป่วยก็ถือเป็นส่วนหนึ่ง
    ของงานเช่นกัน
  • 13:39 - 13:44
    พวกเขาเป็นผลงานศิลป์ที่มีชีวิต
    ที่เคลื่อนไหวอยู่ทุกนาที
  • 13:44 - 13:47
    และมีปูมหลังที่หลากหลาย
  • 13:47 - 13:51
    ทีความต้องการที่ต่างกัน แต่งกายต่างกัน
    เป็นคนต่างประเภทกัน
  • 13:51 - 13:55
    ซึ่งผมอยากให้ผู้ชมได้รู้สึก ได้เข้าใจ
    สิ่งที่ผมได้ประสบมา
  • 13:55 - 14:00
    และที่ปลายของพื้นที่แสดงผลงาน
  • 14:00 - 14:03
    ผมจัดวางโต๊ะจากสภากาชาด
  • 14:03 - 14:04
    เพื่อให้ผู้คนได้บริจาค
  • 14:04 - 14:06
    อวัยวะ ดวงตา และร่างกาย
  • 14:06 - 14:09
    หลังจบการแสดงผลงานที่กินเวลาแปดวัน
  • 14:09 - 14:11
    เราได้ผู้บริจาคทั้งหมด 500 ราย
  • 14:11 - 14:16
    และคุณรู้หรือไม่
    ว่าผู้บริจาคหนึ่งรายสามารถช่วยได้ 50 ชีวิต
  • 14:16 - 14:21
    ลองจินตนาการว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
    เมื่อผู้คนเริ่มทำตามอย่างกัน
  • 14:21 - 14:25
    ปัญหาการบริจาคอวัยวะ
  • 14:25 - 14:28
    หรือการที่ผู้ป่วยต้องรอการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
    ก็จะหมดไป
  • 14:28 - 14:32
    นี่เป็นเรื่องพื้นฐานที่ผู้คนควรทำ
  • 14:37 - 14:41
    คราวนี้ก็ย้อนกลับมา
    ที่จุดเริ่มต้นของการพูดครั้งนี้
  • 14:41 - 14:44
    ผมถามคุณว่าอะไรคือจุดหมายในชีวิต
  • 14:44 - 14:45
    ทำไมเราถึงมาอยู่ที่นี่
  • 14:45 - 14:48
    มันไม่สำคัญกับผมอีกต่อไป
  • 14:48 - 14:49
    เพราะผมได้ค้นพบตัวเอง
  • 14:49 - 14:52
    ในฐานะช่างภาพ ในฐานะมนุษย์
  • 14:52 - 14:55
    เป็นคนที่สามารถนำความสามารถ
    มาสร้างความเปลี่ยนแปลง
  • 14:55 - 14:56
    สร้างความแตกต่าง
  • 14:56 - 14:59
    ทำสิ่งดีเพื่อบางคนหรือบางสิ่ง
  • 14:59 - 15:01
    นั่นเพียงพอแล้วสำหรับผม
  • 15:01 - 15:04
    คุณก็สามารถทำแบบนี้ได้เช่นกัน
  • 15:04 - 15:07
    ผมเชื่อว่าทุกคน
    มีความดีบางอย่างอยู่ในตัว
  • 15:07 - 15:09
    ซึ่งคุณสามารถนำมาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
  • 15:09 - 15:12
    ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่
    ทำสิ่งที่แตกต่าง
  • 15:12 - 15:13
    บางอย่างที่ดีกับคนอื่น
  • 15:13 - 15:17
    ซึ่งผลลัพธ์ก็แสนคุ้มค่าสำหรับคุณ
  • 15:20 - 15:25
    คุณสามารถเริ่มทำสิ่งที่ง่ายที่สุด
    โดยการบริจาคอวัยวะของคุณ
  • 15:25 - 15:30
    ชิ้นส่วนในร่างกายที่คุณไม่ต้องการอีกต่อไป
    เมื่อคุณจากโลกนี้ไป
  • 15:30 - 15:37
    เช่นเดียวกับไตนี้
    จงบริจาคไป
  • 15:41 - 15:45
    ตับของคุณ
    หยุดดื่มและเริ่มบริจาค
  • 15:47 - 15:51
    ปอดของคุณ
  • 15:51 - 15:55
    และหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุด
    นั่นก็คือหัวใจ
  • 15:55 - 15:56
    คุณจะต้องมีหัวใจ
  • 15:56 - 16:00
    เพราะเมื่อคุณถึงเวลาที่จะต้องลาจากโลกนี้ไป
  • 16:01 - 16:03
    เมื่อถอดผิวหนังทิ้งไป
  • 16:03 - 16:06
    สิ่งเดียวที่คุณสามารถนำไปสวรรค์ได้
    นั่นคือก็จิตวิญญาณที่ดี
  • 16:06 - 16:07
    นี่คือการเปลี่ยนโลกในแบบของผม
  • 16:07 - 16:09
    ทีละภาพ
  • 16:09 - 16:10
    ขอบคุณครับ
Title:
เปลี่ยนโลกด้วยภาพทีละภาพ
Description:

"อะไรคือเป้าหมายของชีวิตคุณ?" จากคำถามที่ถามตัวเองมาเกือบตลอดชีวิต ด้วยอาชีพช่างภาพแฟชั่น เขาตัดสินใจถ่ายภาพแฟชั่นที่แตกต่างออกไป โดยหยิบยกเรื่องราวที่ตนเองพบเจอจากเรื่องใกล้ตัวและประเด็นสังคมที่น่าสนใจมาเป็นหัวข้อในการถ่ายภาพแฟชั่น รวมกับภาพสารคดี ภาพโฆษณา เพื่อสร้างแคมเปญสะท้อนและแก้ไขปัญหาสังคม

ทอม โพธิสิทธิ์ (ธีระฉัตร โพธิสิทธิ์) เป็นนักอนุรักษ์ มัณฑนากร นักเขียนอิสระ ช่างภาพแฟชั่นและโปรดิวเซอร์งานโฆษณานิตยสารแฟชั่นไทยและต่างประเทศ เขายังเป็นผู้ช่วยนักบินและช่างภาพถ่ายภาพโครงการสํารวจประชากรสัตว์ทะเลหายาก เช่น พะยูน วาฬ เต่าทะเล โลมาในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นอกจากนี้ ยังเป็นผู้สนับสนุนและอาสาสมัครโครงการคืนชะนีสู่ป่า จังหวัดเชียงใหม่

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDxTalks
Duration:
16:14

Thai subtitles

Revisions