Return to Video

ลิซ่า บู (Lisa Bu): ให้หนังสือเปิดใจคุณ

  • 0:01 - 0:03
    ฉันถูกฝึกให้เป็นนักยิมนาสติก
  • 0:03 - 0:07
    เป็นเวลาสองปี ในช่วง 1970 ในประเทศจีน
  • 0:07 - 0:10
    ตอนฉันอยู่ชั้นประถมหนึ่ง
  • 0:10 - 0:12
    รัฐบาลจะให้ฉันย้ายไปเรียนที่โรงเรียนกีฬา
  • 0:12 - 0:14
    โดยจ่ายค่าใช้จ่ายทุกอย่างให้
  • 0:14 - 0:17
    แต่ว่าแม่ของฉันไม่ยอม
  • 0:17 - 0:19
    พ่อแม่อยากให้ฉัน
  • 0:19 - 0:21
    เป็นวิศวกรเหมือนๆกับพวกเขา
  • 0:21 - 0:23
    หลังจากการปฎิวัติทางวัฒนธรรมจีน
  • 0:23 - 0:27
    พวกเขาเชื่อว่า หนทางเดียวที่นำไปสู่ความสุขก็คือ
  • 0:27 - 0:30
    งานที่มีรายได้ดีและมั่นคง
  • 0:30 - 0:33
    ไม่สำคัญว่า ฉันจะชอบงานนั้นหรือไม่
  • 0:33 - 0:38
    แต่ว่าฉันมีความฝัน อยากจะเป็นนักร้องอุปรากรจีน
  • 0:38 - 0:42
    นี่เป็นรูปของฉันดีดเปียโน ในจินตนาการ
  • 0:42 - 0:44
    นักร้องอุปรากรต้องเริ่มฝึกแต่ยังเล็ก
  • 0:44 - 0:45
    เพื่อเรียนกายกรรม
  • 0:45 - 0:48
    ฉันเลยพยายามทุกอย่างที่สามารถทำได้
    เพื่อให้ได้เข้าโรงเรียนอุปรากร
  • 0:48 - 0:51
    ฉันเขียนจดหมายถึงผู้อำนวยการเลย
  • 0:51 - 0:53
    และนักจัดรายการวิทยุด้วย
  • 0:53 - 0:57
    แต่ว่าไม่มีผู้ใหญ่คนไหนชอบไอเดียของฉัน
  • 0:57 - 1:00
    ไม่มีใครเชื่อว่าฉันจริงจัง
  • 1:00 - 1:03
    มีแต่เพื่อนที่คอยให้กำลังใจ แต่ว่าพวกเขาก็ยังเป็นเด็ก
  • 1:03 - 1:06
    ไม่มีพลังเหมือนๆกับฉันนี่แหละ
  • 1:06 - 1:12
    พออายุ 15 ฉันก็รู้ว่า ฉันอายุเกินเกณฑ์แล้ว
  • 1:12 - 1:15
    ความฝันที่จะเป็นนักอุปรากรจะไม่มีวันเป็นจริง
  • 1:15 - 1:18
    ฉันกลัวว่า ชีวิตที่เหลือของฉันนั้น
  • 1:18 - 1:20
    ฉันคงหวังได้สูงสุดเพียงแค่
  • 1:20 - 1:22
    ความสุขและความฝันรองๆ เท่านั้น
  • 1:22 - 1:25
    แต่ว่ามันไม่เห็นจะยุติธรรมเลย
  • 1:25 - 1:29
    ฉันเลยตั้งปณิธานที่จะหางานอย่างอื่น
  • 1:29 - 1:31
    แต่ว่าไม่มีใครที่จะมาคอยสอนฉัน ไม่เป็นไร
  • 1:31 - 1:34
    ฉันเริ่มอ่าน
  • 1:34 - 1:37
    ฉันหาคำแนะนำที่ควรได้จากพ่อแม่
  • 1:37 - 1:42
    จากหนังสือเรื่อง
    Correspondence in the Family of Fou Lei
    ที่เขียนโดยครอบครัวของนักเขียน และนักดนตรี
  • 1:42 - 1:45
    ฉันได้พบกับต้นแบบของผู้หญิงที่ใช้ชีวิตด้วยความคิดของตัวเอง ผ่านหนังสือเรื่อง "Jane Eyre"
  • 1:45 - 1:49
    ในขณะที่วัฒนธรรมขงจื้อสอนให้ต้องเชื่อฟังเสมอ
  • 1:49 - 1:53
    ฉันเรียนรู้วิธีสร้างประสิทธิภาพจากหนังสือเรื่อง "Cheaper by the Dozen" [เหมาโหลถูกกว่า]
  • 1:53 - 1:57
    ฉันได้รับแรงบันดาลใจที่จะไปเรียนต่างประเทศจากการอ่านหนังสือเหล่านี้
  • 1:57 - 1:59
    "Complete Works of Sanmao"
    [รวมงานของซานเหมา นักเขียนหญิงชาวจีน] และ เรื่อง
    "Lessons From History" [บทเรียนจากประวัติศาสตร์]
    โดย นาน ฮวยจิน
  • 1:59 - 2:02
    ฉันเดินทางมาสหรัฐฯ ในปี 1995
  • 2:02 - 2:05
    หนังสือเล่มไหนคะ ที่ฉันอ่านเป็นเล่มแรก
  • 2:05 - 2:08
    หนังสือที่ห้ามเผยแพร่ในจีนค่ะ แน่นอน
  • 2:08 - 2:12
    "The Good Earth" เป็นหนังสือเกี่ยวกับชนชั้นกรรมาชีพของจีน
  • 2:12 - 2:16
    หนังสือเล่มนี้ไม่ตรงกับโฆษณาชวนเชื่ีอของรัฐบาลน่ะค่ะ
  • 2:16 - 2:20
    คัมภีร์ไบเบิลก็น่าสนใจ แต่ก็ประหลาด
  • 2:20 - 2:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:22 - 2:26
    นั่นไม่ใช่หัวข้อของการพูดวันนี้ค่ะ
  • 2:26 - 2:29
    แต่ว่า บัญญัติข้อที่ห้าในพระคัมภีร์ ทำให้ฉันคิดได้
  • 2:29 - 2:32
    "จงนับถือบิดาและมารดาของคุณ"
  • 2:32 - 2:35
    "นับถือ" ฉันคิด "มันช่างแตกต่าง
  • 2:35 - 2:37
    และดูดีกว่า คำว่า เชื่อฟัง"
  • 2:37 - 2:39
    บัญญัติข้อนั้นจึงกลายเป็นเครื่องมือที่ฉันใช้ในการปลดปล่อย
  • 2:39 - 2:41
    ตัวฉันออกจากกับดักความผิดของขงจื้อ
  • 2:41 - 2:46
    และใช้มันเพื่อเริ่มความสัมพันธ์ใหม่กับพ่อแม่ของฉัน
  • 2:46 - 2:49
    การเผชิญกับวัฒนธรรมใหม่ ทำให้ฉันเริ่มนิสัยอีกอย่าง
  • 2:49 - 2:51
    ในการอ่านเปรียบเทียบ
  • 2:51 - 2:52
    การอ่านแบบเปรียบเทียบทำให้ฉันมีหลากหลายมุมมอง
  • 2:52 - 2:57
    นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งค่ะ ฉันไม่ชินกับแผนที่ฉบับนี้ในตอนแรก
  • 2:57 - 3:02
    เพราะว่านักเรียนชาวจีนจะคุ้นเคยกับแผนที่ฉบับนี้
  • 3:02 - 3:04
    ฉันไม่เคยฉุกคิดเลยว่า
  • 3:04 - 3:07
    ประเทศจีนไม่จำเป็นต้องอยู่เป็นศูนย์กลางของโลก
  • 3:07 - 3:11
    แผนที่นี้ก็คงมีแนวคิดของใครสักคนแฝงอยู่
  • 3:11 - 3:13
    การอ่านเปรียบเทียบไม่ใช่อะไรใหม่
  • 3:13 - 3:17
    เป็นสิ่งที่คนในวงการศึกษาทำอยู่เสมอมา
  • 3:17 - 3:18
    มีแม้กระทั่งสาขาวิจัย
  • 3:18 - 3:22
    เช่น ศาสนาเปรียบเทียบ และวรรณคดีเปรียบเทียบ
  • 3:22 - 3:24
    การหาความเหมือนและความต่างทำให้
  • 3:24 - 3:27
    นักวิชาการมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้งมากขึ้น
  • 3:27 - 3:29
    ฉันเลยคิดว่า ถ้าการอ่านเปรียบเทียบนั้น
  • 3:29 - 3:33
    ใช้ได้กับงานวิจัย ทำไมมันจะใช้ไม่ได้ในชีวิตประจำวัน
  • 3:33 - 3:36
    ฉันเลยเริ่มอ่านหนังสือเป็นคู่ๆ
  • 3:36 - 3:38
    อาจจะเป็นหนังสือเกี่ยวกับบุคคล เช่น
  • 3:38 - 3:38
    "Benjamin Franklin" [เบนจามิน แฟรงคลิน]
    โดย วอลเทอร์ ไอแซคตัน
    และ "John Adams" [จอห์น อดัมส์] โดยเดวิด แมคคุลโล
  • 3:38 - 3:41
    ซึ่งทั้ง แฟรงคลิน และอดัมส์ ต่างก็อยู่ร่วมในเหตุการณ์เดียวกัน [ทั้งสองเป็นหนึ่งในบิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา]
  • 3:41 - 3:44
    หรือเพื่อนที่มีประสบการณ์ร่วมกัน เช่น
  • 3:44 - 3:45
    "Personal History" [ชีวประวัติ] โดยแคทเธอรีน เกรแฮม
    และ "The Snowball: Warren Buffett and the Business of Life" [ชีวประวัติของมหาเศรษฐี วอร์เรน บุฟเฟต]
    โดยอลิซ โชรเดอร์
  • 3:45 - 3:49
    ฉันยังอ่านเปรียบเทียบเรื่องเดียวกันที่ถูกเขียนในหมวดหมู่ต่างกัน
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:49 - 3:51
    "Holy Bible: King James Version" [คัมภีร์ไบเบิล ฉบับพระเจ้าเจมส์] และ "Lamb" [นวนิยายตลกที่เล่าถึงพระประวัติของพระเยซูผ่านเพื่อนสมัยเด็กของพระองค์]
    โดยคริสโตเฟอร์ มัวร์
  • 3:51 - 3:55
    หรือว่าเป็นเรื่องราวที่คล้ายกัน แต่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
  • 3:55 - 3:58
    อย่างเช่นที่โจเซฟ แคมป์เบลล์ เขียนไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง "The Power of Myth" [อิทธิพลของตำนานปรัมปรา]
  • 3:58 - 4:01
    ว่า พระเยซูและพระพุทธเจ้า
  • 4:01 - 4:03
    ต่างก็ต้องผจญกิเลสสามอย่างเหมือนๆกัน
  • 4:03 - 4:05
    สำหรับพระเยซู กิเลสที่พระองค์ต้องผจญนั้น เกี่ยวกับ
  • 4:05 - 4:09
    ความแร้นแค้น อำนาจทางการเมือง และจิตวิญญาณ
  • 4:09 - 4:13
    ส่วนพระพุทธเจ้านั้น กิเลสเป็นสิ่งที่อยู่ในจิตทั้งสิ้น
  • 4:13 - 4:21
    คือความลุ่มหลงในยศ ความกลัวที่จะเสียไป และหน้าที่ต่อมนุษย์โลก
    น่าสนใจค่ะ
  • 4:21 - 4:24
    ยิ่งถ้าคุณรู้จักภาษาอื่นๆ การอ่านเปรียบเทียบก็จะยิ่งสนุกขึ้ันอีก
  • 4:24 - 4:26
    เมื่อคุณอ่านหนังสือที่ชอบในสองภาษา
  • 4:26 - 4:27
    "The Way of Chuang Tzu" [วิถีของชวง ฉือ] โดยโทมัส เมอร์ตัน และ "Tao: The Watercourse Way"
    [เต๋า: วิถีแห่งน้ำ] ของอลัน วัตตส์
  • 4:27 - 4:31
    แทนที่จะหาสิ่งที่หายไปในงานแปล ฉันพบว่ามีสิ่งที่ฉันได้เรียนรู้อีกมาก
  • 4:31 - 4:35
    ยกตัวอย่างเช่น ในงานแปลนั้น
  • 4:35 - 4:41
    คำว่าความสุข ในภาษาจีน หมายความตรงตัวว่า ความสนุกสั้นๆ
  • 4:41 - 4:46
    เจ้าสาว ในภาษาจีน หมายความตรงตัวว่า แม่ใหม่
  • 4:46 - 4:49
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:49 - 4:55
    หนังสือให้ช่องทางพิเศษกับฉันได้ติดต่อกับผู้คน
  • 4:55 - 4:57
    ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
  • 4:57 - 5:02
    ฉันรู้ว่า ฉันจะไม่มีวันเหงา และอ่อนแออีกแล้ว
  • 5:02 - 5:04
    ฝันที่สลายของฉันกลายเป็นเรื่องเล็ก
  • 5:04 - 5:07
    เมื่อเทียบกับความเจ็บปวดที่คนอื่นเผชิญ
  • 5:07 - 5:10
    ในตอนนี้ ฉันเชื่อว่า เป้าหมายของความฝัน
  • 5:10 - 5:13
    ไม่ใช่การสร้างฝันนั้นให้เป็นจริงเท่านั้น
  • 5:13 - 5:17
    เพราะเป้าหมายที่สำคัญที่สุดนั้น คือการที่เรายังติดต่อกับ
  • 5:17 - 5:19
    ที่ที่ความฝันนั้นก่อตัว
  • 5:19 - 5:22
    ที่ที่ความชื่นชอบของเรานั้นเริ่มต้น
    และที่ที่ความสุขได้ถูกสร้าง
  • 5:22 - 5:26
    แม้แต่ฝันที่สลายก็ยังนำคุณให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้
  • 5:26 - 5:29
    เพราะหนังสือ ฉันจึงมาอยู่ตรงนี้ได้
  • 5:29 - 5:32
    มีความสุข และใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย
  • 5:32 - 5:34
    อยู่เกือบตลอดเวลา
  • 5:34 - 5:38
    ขอหนังสือจงสถิตอยู่กับท่าน
  • 5:38 - 5:39
    ขอบคุณค่ะ
  • 5:39 - 5:41
    (เสียงปรบมือ)
  • 5:41 - 5:44
    ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)
  • 5:44 - 5:50
    ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)
Title:
ลิซ่า บู (Lisa Bu): ให้หนังสือเปิดใจคุณ
Speaker:
Lisa Bu
Description:

เกิดอะไรขึ้น เมื่อความฝันที่คุณมีตั้งแต่ยังเด็กไม่มีวันเป็นจริง ในช่วงที่เธอปรับตัวให้เข้ากับชีวิตใหม่ในสหรัฐฯ ลิซ่า บู อ่านหนังสือเพื่อเปิดความคิดของเธอ และสร้างแนวทางการดำเนินชีวิตใหม่ของเธอ เธอจะมาเล่าถึงวิธีการอ่านที่เธอใช้เอง ในสุนทรพจน์นี้ที่เกียวกับความมหัศจรรย์ของหนังสือ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
06:16
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How books can open your mind
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for How books can open your mind
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How books can open your mind
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How books can open your mind
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for How books can open your mind
Sangsan Warakkagun commented on Thai subtitles for How books can open your mind
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for How books can open your mind
Sangsan Warakkagun commented on Thai subtitles for How books can open your mind
Show all

Thai subtitles

Revisions