Return to Video

ทำไมเราจึงควรฟัง "โฟร์ซีซันส์" ของวีวัลดี - เบทซี ชวาม (Betsy Schwarm)

  • 0:11 - 0:14
    บางเบา, สดใส และร่าเริง
  • 0:14 - 0:18
    คือผลงานเพลงแห่งต้นศตวรรษที่ 18
    ที่เป็นที่คุ้นเคยกันที่สุด
  • 0:18 - 0:21
    มันถูกนำไปประกอบในภาพยนตร์
    และโฆษณาโทรทัศน์มากมาย
  • 0:21 - 0:25
    แต่มันคืออะไร
    และทำไมจึงมีท่วงทำนองเช่นนั้น
  • 0:25 - 0:27
    นี่คือช่วงต้นของ "สปริง"
    จาก "เดอะ โฟร์ ซีซันส์"
  • 0:27 - 0:31
    โดยนักประพันธ์ชาวอิตาลี
    อันโตนีโอ วีวัลดี
  • 0:31 - 0:35
    "เดอะ โฟร์ ซีซันส์" ได้รับความนิยม
    ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฟังรื่นหู
  • 0:35 - 0:37
    แต่อย่างไรก็ดี ที่สำคัญกว่านั้น
  • 0:37 - 0:40
    ก็คือข้อเท็จจริงที่ว่า
    เพลงเหล่านั้นมีเรื่องให้เล่าขาน
  • 0:40 - 0:43
    ณ เวลาที่พวกมันถูกประพันธ์ขึ้น
    ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ปี ค.ศ. 1725
  • 0:43 - 0:45
    พวกมันยังได้ถูกผนวกเข้ากับบทกวี
  • 0:45 - 0:48
    ที่บรรยายลักษณะของแต่ละฤดูกาล
  • 0:48 - 0:51
    วีวัลดีจงใจกำหนดมัน
    มาร้อยเรียงเอาไว้ในรูปแบบของดนตรี
  • 0:51 - 0:54
    ในการให้โครงเรื่องจำเพาะ
    สำหรับดนตรีบรรเลง
  • 0:54 - 0:58
    วีวัลดีเป็นคนรุ่น
    หัวก้าวหน้าในสมัยนั้น
  • 0:58 - 1:01
    หากใครสักคนได้อ่านบทกวี
    ไปพร้อมกันกับที่ฟังเพลงนี้
  • 1:01 - 1:04
    เขาผู้นั้นจะได้เห็นฉากจากบทกวี
  • 1:04 - 1:07
    ประสมประสานอย่างสวยงาม
    ไปกับจินตภาพทางดนตรี
  • 1:07 - 1:11
    พวกเราได้รับการบอกเล่าว่า บรรดานก
    ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิด้วยเพลงที่ชื่นบาน
  • 1:11 - 1:16
    และตรงนี้เอง พวกมันทำอย่างนั้นจริง ๆ
  • 1:16 - 1:21
    แต่ต่อมา ก็เกิดฝนฟ้าคะนองขึ้น
  • 1:21 - 1:23
    ไม่เพียงฟ้าผ่าฟ้าร้องในดนตรีเท่านั้น
  • 1:23 - 1:25
    เหล่านกทั้งหลาย
  • 1:25 - 1:31
    ยังเปียกปอน หวาดกลัว
    และเศร้าหมองกันอีกด้วย
  • 1:31 - 1:39
    ใน "ซัมเมอร์" นกเขาไฟขับขาน
    ชื่อของนาง "ทอร์โทเรลลา" ในภาษาอิตาลี
  • 1:39 - 1:46
    ก่อนที่พายุโหมกระหน่ำจะพัดพาสู่ท้องทุ่ง
  • 1:46 - 1:54
    "ออทัม" นำเสนอนักล่ากระหาย
    รีบรุดออกไปเพื่อหาเหยื่อ
  • 1:54 - 2:01
    "วินเทอร์" คอนเชอร์โต เริ่มต้นด้วยฟัน
    ที่กระทบกันจากความหนาวเย็น
  • 2:01 - 2:07
    จากนั้นก็หลีกลี้ไปผิงกองไฟ
    ที่ส่งเสียงกร๊อกแกร๊ก
  • 2:07 - 2:09
    ก่อนจะเลือนหายไปในพายุ
  • 2:09 - 2:15
    ที่ซึ่งเกล็ดน้ำแข็งร่วงโปรยปราย
  • 2:15 - 2:18
    ในสัปดาห์แรกของฤดูหนาวนี้
    ปีเก่ากำลังจะหมดไป
  • 2:18 - 2:23
    เฉกเช่นเดียวกับบทเพลง
    แห่งการสำรวจฤดูกาลของวีวัลดี
  • 2:23 - 2:25
    ดนตรีที่พรรณนาถึงอารมณ์แบบนี้
  • 2:25 - 2:28
    กลับไม่ได้รับความนิยม
  • 2:28 - 2:30
    จนกระทั่งช่วงต้นศตวรรษที่ 19
  • 2:30 - 2:33
    ต่อมา วงดนตรีก็มีขนาดใหญ่ขึ้น
    มีเครื่องดนตรีที่มีความหลากหลายมากขึ้น
  • 2:33 - 2:37
    ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง
    และเครื่องเคาะ เพื่อช่วยบอกเล่าเรื่องราว
  • 2:37 - 2:42
    แต่วีวัลดีทำสำเร็จได้ด้วยไวโอลินเพียงตัวเดียว
    เครื่องสาย และฮาร์ปซิคอร์ดเท่านั้น
  • 2:42 - 2:44
    ต่างจาก "บาค" เพื่อนร่วมสมัยของเขา
  • 2:44 - 2:48
    วีวัลดีไม่ได้สนใจ
    บทเพลงที่มีรูปแบบซับซ้อนมากนัก
  • 2:48 - 2:52
    เขาชอบที่จะเสนอความบันเทิง
    ที่เข้าถึงผู้ชมได้ง่ายมากกว่า
  • 2:52 - 2:55
    ด้วยท่วงทำนองที่วนกลับมาใหม่
    ในงานเพลงนั้น
  • 2:55 - 2:58
    เพื่อย้ำเตือนเราว่าเราได้ผ่านอะไรมาบ้าง
  • 2:58 - 3:02
    ฉะนั้น ท่อนแรกของ "สปริง"
    คอนเชอร์โตเริ่มด้วยเพลงหลักของสปริง
  • 3:02 - 3:13
    และจบลงด้วยสิ่งนั้นเช่นกัน
    แต่ต่างจากตอนแรกไปเล็กน้อย
  • 3:13 - 3:15
    มันเป็นวิธีอันชาญฉลาด
    ในการดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง
  • 3:15 - 3:17
    และตัววีวัลดีเอง
  • 3:17 - 3:21
    ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในนักไวโอลิน
    ที่มีสีสันที่สุดแห่งต้นศตวรรษที่ 18
  • 3:21 - 3:24
    ก็เข้าใจถึงคุณค่าของการดึงดูดผู้ฟัง
  • 3:24 - 3:28
    คอนเสิร์ตดังกล่าวอาจทำให้เขาเอง
    เป็นนักไวโอลินดาวรุ่งเลยก็ว่าได้
  • 3:28 - 3:30
    คอนเสิร์ตอื่น ๆ โดยนักดนตรีรุ่นเยาว์
    จาก เพียตา (Pietà)
  • 3:30 - 3:35
    โรงเรียนสตรีกรุงเวนิส
    ที่วีวัลดีเป็นวาทยากรดนตรี
  • 3:35 - 3:36
    นักเรียนส่วนใหญ่ต่างกำพร้า
  • 3:36 - 3:41
    การฝึกดนตรีไม่เพียงแต่เพื่อพัฒนา
    ทักษะทางสังคมที่เหมาะสมต่อสตรีแรกรุ่น
  • 3:41 - 3:43
    แต่ยังเป็นการสร้างอาชีพ
  • 3:43 - 3:46
    สำหรับผู้ที่อาจล้มเหลว
    ในชีวิตแต่งงาน
  • 3:46 - 3:48
    แม้แต่ในช่วงเวลาของนักประพันธ์ผู้นี้
  • 3:48 - 3:51
    ดนตรีของวีวัลดียังมอบความบันเทิง
    แก่ทุกคน
  • 3:51 - 3:54
    ไม่ใช่เพียงสำหรับชนชั้นสูงผู้มั่งคั่งเท่านั้น
  • 3:54 - 3:57
    300 ปีต่อมา มันยังคงเป็นวิธีการที่ได้ผล
  • 3:57 - 4:00
    และดนตรีของวีวัลดียังคงฟังดูคึกคัก
    เสมือนม้าที่วิ่งเหยาะ ๆ
Title:
ทำไมเราจึงควรฟัง "โฟร์ซีซันส์" ของวีวัลดี - เบทซี ชวาม (Betsy Schwarm)
Speaker:
เบทซี ชวาม
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/why-should-you-listen-to-vivaldi-s-four-seasons-betsy-schwarm

บางเบา, สดใส และร่าเริง "เดอะ โฟร์ ซีซันส์" โดยอันโตนีโอ วีวัลดี เป็นผลงานเพลงหนึ่งแห่งต้นศตวรรษที่ 18 ที่คุ้นเคยกันมากที่สุด ได้มีการนำไปประกอบอยู่ในภาพยนตร์และโฆษณาโทรทัศน์มากมาย แต่อะไรกันที่ทำให้มันโดดเด่น และทำไมจึงมีท่วงทำนองเช่นนั้น
เบทซี ชวาม จะเผยถึงสานส์ที่ถูกซ่อนอยู่ในผลงานเพลงเอกชิ้นนี้

บทเรียนโดย Betsy Schwarm, แอนิเมชันโดย Compote Collective

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:20

Thai subtitles

Revisions Compare revisions