Return to Video

นีล ฮาร์บิสสัน: ผมฟังสีได้

  • 0:01 - 0:04
    ผมเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติทางสายตา
  • 0:04 - 0:08
    ที่เรียกว่าเอโครมาทอปเซีย ซึ่งก็คือโรค ดาบอดสีโดยสมบูรณ์
  • 0:08 - 0:10
    ดังนั้นผมจึงไม่เคยเห็นสี
  • 0:10 - 0:12
    และผมก็ไม่รู้ว่าสีนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร
  • 0:12 - 0:15
    เพราะผมมาจากโลกสีเทา
  • 0:15 - 0:18
    สำหรับผม ท้องฟ้าเป็นสีเทา
  • 0:18 - 0:20
    ดอกไม้เป็นสีเทา
  • 0:20 - 0:22
    และโทรทัศน์ก็ยังเป็นสีขาวดำอยู่
  • 0:22 - 0:24
    แต่เมื่อผมอายุ 21 ปี
  • 0:24 - 0:28
    แทนที่จะมองเห็นสี ผมกลับได้ยินสี
  • 0:28 - 0:31
    ในปีค.ศ. 2003 ผมจึงเริ่มโครงการหนึ่งขึ้น
  • 0:31 - 0:34
    กับ อดัม มอนแทนดอน, นักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์
  • 0:34 - 0:37
    และผลลัพธ์ที่ได้จากการร่วมมือ
  • 0:37 - 0:40
    กับ ปีเตอร์ เคเซ่ จากประเทศสโลเวเนีย
  • 0:40 - 0:42
    และ มาเทียส ลิซาน่า จากเมืองบาร์เซโลน่า
  • 0:42 - 0:44
    ก็คือ เจ้าตา อิเล็กทรอนิกส์ อันนี้
  • 0:44 - 0:47
    มันคือเซนเซอร์ที่จะตรวจจับ
  • 0:47 - 0:50
    ความถี่ของสีที่อยู่ตรงหน้าผม ------- (เสียงความถี่) ---------
  • 0:50 - 0:53
    ซึ่งความถี่นี้จะถูกส่งไปที่ชิพที่ติดตั้งไว้
  • 0:53 - 0:56
    ด้านหลังของหัวผม และผมก็จะได้ยินสีที่อยู่ตรงหน้าผม
  • 0:56 - 0:59
    ผ่านกระดูก ซึ่งเทำหน้าที่ส่งผ่านความสั่นสะเทือนของเสียง
  • 0:59 - 1:02
    (เสียงความถี่) ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผมมีนี่
  • 1:06 - 1:09
    นี่เป็นเสียงของสีม่วง (เสียงความถี่)
  • 1:09 - 1:16
    ส่วนนี่เป็นเสียงของหญ้า (เสียงความถี่)
  • 1:16 - 1:18
    นี่คือสีแดง เหมือน TED (เสียงความถี่)
  • 1:18 - 1:23
    นี่เป็นเสียงของถุงเท้าสกปรก (หัวเราะ)
  • 1:23 - 1:24
    ซึ่งก็คือสีเหลือง
  • 1:24 - 1:29
    จะเห็นว่า ผมได้ยิน"สี"อยู่ตลอดเวลามาเป็นเวลา8 ปีแล้ว
  • 1:29 - 1:31
    ตั้งแต่ปี 2004 ดังนั้นตอนนี้ผมจึงรู้สึกเป็นปกติ
  • 1:31 - 1:34
    กับการได้ยิน"สี"ตลอดเวลา
  • 1:34 - 1:38
    ในตอนแรกๆ ผมเริ่มจากการจดจำชื่อที่คุณใช้เรียก
  • 1:38 - 1:40
    สีแต่ละสี ดังนั้นผมจึงต้องจำโน้ตของสีเหล่านั้น
  • 1:40 - 1:42
    แต่พอใช้เวลาสักพัก ข้อมูลเหล่านี้ได้
  • 1:42 - 1:44
    กลายมาเป็นการรับรู้
  • 1:44 - 1:46
    ผมไม่จำเป็นต้องคิดถึงตัวโน๊ตเหล่านั้น
  • 1:46 - 1:49
    และไม่นาน การรับรู้นี้ก็กลายมาเป็นความรู้สึก
  • 1:49 - 1:51
    ผมเริ่มมีสีที่ชอบที่สุด
  • 1:51 - 1:53
    และผมเริ่มฝันเป็นสี
  • 1:53 - 1:57
    เมื่อตอนผมได้ฝันเป็นสีนั้นเองคือตอนที่ผมรู้สึกว่า
  • 1:57 - 2:00
    ซอฟท์แวร์และสมองของผมได้เชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกัน
  • 2:00 - 2:03
    เพราะในความฝัน สมองของผมได้ผลิต
  • 2:03 - 2:05
    เสียงอิเล็กทรอนิกส์เอง ไม่ใช่ตัวซอฟท์แวร์
  • 2:05 - 2:09
    ตอนนั้นแหละ ที่ผมเริ่มรู้สึกเหมือนเป็นมนุษย์หุ่นยนต์
  • 2:09 - 2:12
    ตอนนั้นเองที่ผมรู้สึกว่า อุปกรณ์กล อันนี้
  • 2:12 - 2:14
    ไม่ได้เป็นอุปกรณ์อีกต่อไปแล้ว
  • 2:14 - 2:16
    มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายผม
  • 2:16 - 2:19
    เป็นประสาทสัมผัสที่ถูกเพิ่มขึ้นมา
  • 2:19 - 2:21
    และเมื่อเวลาผ่านไป มันก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ
  • 2:21 - 2:25
    รูปลักษณ์ ของผม
  • 2:25 - 2:27
    นี่คือหนังสือเดินทางของผมเมื่อปี 2004
  • 2:27 - 2:30
    จริงๆแล้วรูปถ่ายของคุณในหนังสือเดินทางนั้นไม่อนุญาตให้
  • 2:30 - 2:33
    มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ผมก็ต้องยืนยันกับ
  • 2:33 - 2:35
    ที่ทำการหนังสือเดินทางว่า เครื่องที่เขาเห็นน่ะเป็น
  • 2:35 - 2:38
    ส่วนหนึ่งของร่างกายผม
  • 2:38 - 2:41
    มันเป็นส่วนขยายของสมองผม เขาถึงจะยอมให้เครื่องนี้
  • 2:41 - 2:44
    ปรากฏอยู่ในรูปถ่ายหนังสือเดินทางของผม
  • 2:44 - 2:47
    ชีวิตของผมนั้นเปลี่ยนไปอย่างมากตั้งแต่ผมได้ยินสี
  • 2:47 - 2:50
    เพราะว่าสีนั้นมีอยู่เกือบทุกที่
  • 2:50 - 2:53
    การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้นคือ
  • 2:53 - 2:57
    ตอนที่ผมไปที่ห้องแสดงภาพของ ปิคาสโซ่
  • 2:57 - 3:00
    มันเหมือนกันไปงานคอนเสิรต์มาก
  • 3:00 - 3:03
    เพราะว่าผมได้ยินเสียงของรูปภาพ
  • 3:03 - 3:05
    อีกที่คือที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต ผมประหลาดใจมาก
  • 3:05 - 3:08
    เพราะมันสวยมากๆในขณะที่ผมกำลังเดินอยู่
  • 3:08 - 3:09
    มันเหมือนได้ไปผับ
  • 3:09 - 3:13
    เพราะว่ามันมีแต่เสียง (หัวเราะ)
  • 3:13 - 3:15
    โดยเฉพาะแถวที่ขายผลิตภัณฑ์ซักล้าง
  • 3:15 - 3:18
    มันสวยมากจริงๆ (หัวเราะ)
  • 3:18 - 3:21
    นอกจากนี้ การแต่งตัวของผมก็ได้เปลี่ยนไปด้วย
  • 3:21 - 3:23
    แต่ก่อนผมแต่งตัวให้มันดูดี
  • 3:23 - 3:28
    แต่เดี๋ยวนี้ผมแต่งให้มันฟังไพเราะ (เสียงหัวเราะ)
  • 3:28 - 3:33
    (เสียงปรบมือ)
  • 3:33 - 3:35
    วันนี้ผมแต่งมาในโน๊ต ซี เมเจอร์
  • 3:35 - 3:38
    เพราะมันเป็นคอรด์ที่รื่นเริง
  • 3:38 - 3:40
    แต่ถ้าผมต้องไปงานศพ
  • 3:40 - 3:43
    ผมจะแต่งตามโน็ต บี ไมเนอร์ ซึ่งจะเป็นสี
  • 3:43 - 3:52
    สีเทอร์คอยส์, ม่วง และ ส้ม (เสียงหัวเราะ)
  • 3:52 - 3:56
    อีกอย่างคืออาหาร มุมมองของผมต่ออาหารได้เปลี่ยนไป
  • 3:56 - 3:59
    เพราะว่าตอนนี้ผมสามารถตกแต่งอาหารบนจาน
  • 3:59 - 4:02
    เพื่อที่ผมจะได้กินเพลงที่ผมชอบ (เสียงหัวเราะ)
  • 4:02 - 4:04
    ดังนั้นขึ้นอยู่กับการจัดแต่งของผม
  • 4:04 - 4:06
    ผมสามารถได้ยินและแต่งเพลงขึ้นได้จากอาหาร
  • 4:06 - 4:09
    เพราะฉะนั้นลองจินตนาการร้านอาหารที่เราสามารถกิน
  • 4:09 - 4:12
    สลัด เลดี้ กาก้า เป็นกับแกล้ม (เสียงหัวเราะ)
  • 4:12 - 4:15
    นี่อาจจะเป็นวิธีที่ทำให้เด็กๆกินผักก็ได้
  • 4:15 - 4:19
    และก็กินคอนเสิรต์เปียโนของ รัคมานินอฟ เป็นจานหลัก
  • 4:19 - 4:22
    และ บอร์ค หรือ มาดอนน่า เป็นของหวาน
  • 4:22 - 4:25
    ร้านอาหารแบบนี้ที่คุณสามารถกินเพลงได้
  • 4:25 - 4:28
    จะน่าสนใจมาก
  • 4:28 - 4:32
    มุมมองของผมต่อความสวยงามก็ได้เปลี่ยนไปเช่นกัน
  • 4:32 - 4:37
    เพราะเวลาผมมองเห็นใครบางคน ผมจะได้ยินหน้าเขาด้วย
  • 4:37 - 4:42
    ดังนั้นคนที่หน้าตาสวยอาจจะฟังไม่ไพเราะ
  • 4:42 - 4:44
    (เสียงหัวเราะ) และคนที่ไม่สวยอาจจะฟังไพเราะก็เป็นได้เหมือนกัน
  • 4:44 - 4:46
    ดังนั้นผมจึงชอบที่ประดิษฐ์
  • 4:46 - 4:48
    เสียงคนมากๆ
  • 4:48 - 4:51
    แทนที่จะวาดใบหน้าคนให้เป็นรูปร่าง
  • 4:51 - 4:54
    ผมสามารถมองไปที่หน้าคนและจด
  • 4:54 - 4:57
    โน๊ตต่างๆที่ผมได้ยิน
  • 4:57 - 4:59
    นี่คือในหน้าของคนบางคน
  • 4:59 - 5:13
    (เสียงดนตรี)
  • 5:13 - 5:17
    อืม.. นิโคล คิดแมนฟังเพราะดีแฮะ.. (เสียงหัวเราะ)
  • 5:17 - 5:20
    คนบางคนอาจดูไม่ออกว่าคล้ายคลึงกันแต่เสียงกลับคล้ายกัน
  • 5:20 - 5:22
    เช่น เจ้าชาย ชาร์ลส์ มีความคล้ายคลึงกันกับ นิโคล คิดแมน
  • 5:22 - 5:25
    เขาทั้งสองมีดวงตาที่คล้ายกัน
  • 5:25 - 5:27
    ดังนั้นคุณสามารถหาความคล้ายคลึงระหว่างคนสองคนได้
  • 5:27 - 5:30
    และคุณก็สามารถจัดงานคอนเสิรต์ได้
  • 5:30 - 5:33
    โดยการมองหน้าของผู้ชม
  • 5:33 - 5:36
    ผมมองไปที่ตาคน และผมก็สามารถเล่นเสียงของใบห้นาคน
  • 5:36 - 5:37
    คอนเสิรต์นี้ดีอย่างที่ว่า
  • 5:37 - 5:40
    ถ้าคอนเสิรต์ออกมาแย่ ความผิดนั้นอยู่ที่คนฟัง
  • 5:40 - 5:43
    มันไม่ใช่ความผิดผม (เสียงหัวเราะ)
  • 5:43 - 5:47
    และอีกอย่างที่เกิดขึ้นกับผมคือ
  • 5:47 - 5:50
    ผมเริ่มมีประสบการณ์ที่กลับกัน
  • 5:50 - 5:53
    คือเสียงธรมมดากลับกลายเป็นสี
  • 5:53 - 5:57
    ผมได้ยินเสียงริงโทนโทรศัพท์เป็นสีเขียว
  • 5:57 - 5:59
    เพราะว่าเสียงของมันเหมือนกับโน๊ตสีเขียวเลย
  • 5:59 - 6:03
    เสียงเตือนของข่าว บีบีซี เป็นสีเทอร์คอยส์
  • 6:03 - 6:06
    และการฟังเสียงของ โมสาร์ท กลายเป็นสีเหลือง
  • 6:06 - 6:10
    ดังนั้นผมจึงเริ่มระบายดนตรีและระบายเสียงของคน
  • 6:10 - 6:12
    เพราะว่าเสียงของคนนั้นมีความถี่ที่
  • 6:12 - 6:14
    ตรงกับสี
  • 6:14 - 6:19
    และนี่ก็คือดนตรีที่ถูกแปลออกมาเป็นสี
  • 6:19 - 6:24
    เพลงของ โมสาร์ท "ราชินีแห่นรติกาล" เป็นแบบนี้
  • 6:24 - 6:26
    (เสียงดนตรี) สีเหลืองเข้มและสดใสมากๆ
  • 6:26 - 6:28
    เพราะว่าความถี่นั้นหลากหลาย
  • 6:28 - 6:31
    (เสียงดนตรี)
  • 6:32 - 6:34
    และนี้ก็คือเพลงเต็มๆ
  • 6:34 - 6:38
    (เสียงดนตรี) เพลงของ จัสติน บีเบอร์ "เบบี้" (เสียงหัวเราะ)
  • 6:38 - 6:40
    (เสียงดนตรี)
  • 6:40 - 6:44
    มันเป็นสีชมพูกับสีเหลือง
  • 6:44 - 6:51
    นอกจากนี้ผมยังสามารถเปลี่ยนคำพูดเป็นสีได้อีกด้วย
  • 6:51 - 6:54
    เช่น มีการปราศรัยที่โด่งดังอยู่สองครั้ง
  • 6:54 - 6:58
    การปราศรัยอันแรกคือของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง "ฉันมีความฝัน"
  • 6:58 - 7:00
    และอีกอันคือของ ฮิตเลอร์
  • 7:00 - 7:03
    และผมก็ชอบที่จะแสดงรูปภาพเหล่านี้ที่หอแสดงภาพ
  • 7:03 - 7:06
    โดยไม่ติดคำอธิบายไว้ และผมก็ถามคนว่า
  • 7:06 - 7:07
    "คุณชอบรูปไหนมากกว่า"
  • 7:07 - 7:10
    คนส่วนใหญ่จะเปลี่ยนใจทันที
  • 7:10 - 7:13
    เมื่อผมบอกเขาว่ารูปด้านซ้ายเป็นของ ฮิตเลอร์
  • 7:13 - 7:16
    และรูปด้านขวาเป็นของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง
  • 7:16 - 7:22
    ผมไปถึงจุดที่ผมสามารถรับรู้สีได้ 360 สี
  • 7:22 - 7:23
    เหมือนการมองเห็นของคนทั่วไป
  • 7:23 - 7:27
    ผมสามารถที่จะแยกแยะสีต่างๆที่อยู่บนลูกล้อสี
  • 7:27 - 7:29
    แต่ว่าผมคิดว่า
  • 7:29 - 7:32
    การมองเห็นของคนนั้นไม่ดีพอ
  • 7:32 - 7:34
    มันมีสีมากมายรอบตัวเรา
  • 7:34 - 7:36
    ที่เราไม่สามารถรับรู้ได้
  • 7:36 - 7:38
    แต่ตาเทียมของผมสามารถรับรู้ได้
  • 7:38 - 7:42
    ดังนั้นผมจึงขยายการรับรู้สีต่อไปเรื่อยๆ
  • 7:42 - 7:46
    และผมก็ได้เพิ่มสีอินฟราเรดและอัลตรวไวโอเล็ต
  • 7:46 - 7:49
    เข้าไปในเครื่องวัด สี-ต่อ-เสียง เพื่อผมจะได้ฟังสี
  • 7:49 - 7:51
    ที่ดวงตาคนธรรมดาไม่สามารถรับรู้ได้
  • 7:51 - 7:55
    โดยเฉพาะ แสงอินฟราเรดเพราะมันสามารถ
  • 7:55 - 7:59
    รับรู้การเคลื่อนไหวต่างๆในห้อง
  • 7:59 - 8:02
    ผมสามารถได้ยินเสียงคนชี้รีโมทคอนโทรลมาที่ผม
  • 8:02 - 8:06
    และสิ่งที่ดีเกี่ยวกับการรับรู้แสงอัลตราไวโอเล็ตคือ
  • 8:06 - 8:10
    คุณสามาถรับรู้ได้ว่ามันเป็นวันที่ดีหรือไม่สำหรับการนอนตากแดด
  • 8:10 - 8:13
    เพราะว่าสีอัลตราไวโอเล็ตนั้นเป็นสีที่อันตราย
  • 8:13 - 8:17
    มันเป็นสีที่สามารถฆ่าคนได้ เพราะฉะนั้นผมจึงคิดว่าพวกเราควรประสงค์
  • 8:17 - 8:20
    ที่จะสามารถรับรู้สีที่เราไม่สามารถรับรู้ได้
  • 8:20 - 8:21
    เช่นนั้น สองปีที่แล้ว
  • 8:21 - 8:23
    ผมจึงก่อตั้งองค์กรมนุษย์หุ่นยนต์
  • 8:23 - 8:25
    ซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือผู้คน
  • 8:25 - 8:28
    ให้เป็นมนุษย์หุ่นยนต์และสนับสนุนให้ผู้คน
  • 8:28 - 8:30
    ขยายการรับรู้ต่างๆ
  • 8:30 - 8:33
    โดยใช้เทคโนโลยีให้เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย
  • 8:33 - 8:36
    พวกเราควรคิดว่าความรู้ต่างๆนั้นมาจากประสาทการรับรู้
  • 8:36 - 8:38
    ดังนั้นถ้าเราขยายประสาทการรับรู้
  • 8:38 - 8:42
    เราก็จะค่อยๆเพิ่มความรู้ให้ตัวเราเอง
  • 8:42 - 8:44
    ผมคิดว่าชีวิตจะน่าตื่นเต้นมาก
  • 8:44 - 8:48
    เมื่อเราหยุดสร้างโปรแกรมสำหรับโทรศัพท์มือถือ
  • 8:48 - 8:51
    และหันมาริเริ่มสร้างโปรแกรมให้ตัวเราเอง
  • 8:51 - 8:53
    ผมคิดว่ามันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่มาก
  • 8:53 - 8:55
    ในศรรตวรรษนี้
  • 8:55 - 8:59
    ดังนั้นผมจึงสนับสนุนทุกๆท่านให้เริ่มคิดเกี่ยวกับระบบการรับรู้ไหนที่
  • 8:59 - 9:00
    พวกคุณอยากจะขยาย
  • 9:00 - 9:03
    ผมสนับสนุนให้พวกคุณกลายเป็นมนุษย์หุ่นยนต์
  • 9:03 - 9:08
    คุณจะไม่อยู่เพียงลำพัง ขอบคุณครับ (เสียงปรบมือ)
  • 9:08 - 9:15
    (เสียงปรบมือ)
Title:
นีล ฮาร์บิสสัน: ผมฟังสีได้
Speaker:
Neil Harbisson
Description:

ศิลปิน นีล ฮาร์บิสสัน เกิดมากับโรคตาบอดสี แต่ว่าตาเทียมที่ติดอยู่บนหัวเขาสามารถแปลงสีต่างๆเป็นความถี่ที่สามารถได้ยินได้ แทนที่จะเห็นโลกเป็นสีเทา คุณฮาร์บิสสันสามารถฟังสีได้ และแน่นอนเขาสามารถฟังใบหน้าผู้คนและรูปภาพได้ด้วยเช่นกัน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
09:35
Dimitra Papageorgiou approved Thai subtitles for I listen to color
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for I listen to color
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for I listen to color
Retired user edited Thai subtitles for I listen to color
Vasant Jain edited Thai subtitles for I listen to color
Vasant Jain added a translation

Thai subtitles

Revisions