Return to Video

อดีต ปัจจุบัน อนาคตของกาฬโรค บัลโบนิก - ชารอน เอ็น เดวิทท์ (Sharon N. DeWitte)

  • 0:07 - 0:10
    ลองนึกถึงคนสักครึ่งหนึ่งในระแวกบ้านของคุณ
    ในเมืองของคุณ
  • 0:10 - 0:13
    หรือแม้แต่ทั้งประเทศของคุณถูกกำจัดออก
  • 0:13 - 0:16
    มันอาจฟังดูคล้ายอะไรบางอย่างที่ออกมาจาก
    หนังสะเทือนขวัญวันล้างโลก
  • 0:16 - 0:19
    แต่มันเกิดขึ้นจริงๆ ในศตวรรษที่ 14
  • 0:19 - 0:23
    ระหว่างมีการระบาดของโรค
    ที่เรียกว่ากาฬโรค
  • 0:23 - 0:27
    ที่แพร่จากจีนไปทั่วเอเชีย
    ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป
  • 0:27 - 0:32
    การระบาดที่ทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงนี้
    ทำลายประชากรโลกไปมากถึง 1/5
  • 0:32 - 0:36
    ฆ่าชาวยุโรปไปเกือบ 50% ในเวลาเพียงสี่ปี
  • 0:36 - 0:40
    หนึ่งในสิ่งที่น่าประหลาดใจและน่าฉงน
    เกี่ยวกับกาฬโรคก็คือ
  • 0:40 - 0:42
    ความเจ็บป่วยนี้ไม่ได้เป็นเหตุอุบัติใหม่เลย
  • 0:42 - 0:46
    แต่เป็นสิ่งที่กระทบต่อมนุษย์มาหลายศตวรรษ
  • 0:46 - 0:49
    การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของตัวอย่างกระดูก
    และฟันจากช่วงนี้
  • 0:49 - 0:54
    และช่วงการระบาดก่อนหน้า ที่รู้จักกันว่า
    กาฬโรคแห่งจัสติเนียน ในค.ศ. 541
  • 0:54 - 0:57
    ได้เปิดเผยว่าทั้งสองครั้งนั้น เกิดจาก
    เยอสิเนีย เพสทิส
  • 0:57 - 1:02
    ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดเดียวกันที่เป็นสาเหตุ
    ของกาฬโรค บัลโบนิก ในทุกวันนี้
  • 1:02 - 1:06
    มันหมายความว่าโรคเดียวกัน
    ที่เกิดจากเชื้อโรคเดียวกันนี้
  • 1:06 - 1:10
    มีพฤติกรรมและแพร่กระจายไป
    ในแบบที่ต่างกันมากในแต่ละช่วงประวัติศาสตร์
  • 1:10 - 1:14
    แม้ก่อนที่จะใช้ยาปฏิชีวนะ
    การแพร่กระจายที่ร้ายแรงที่สุดในยุคใหม่
  • 1:14 - 1:18
    เช่นครั้งที่เกิดในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
    ในอินเดีย
  • 1:18 - 1:21
    ฆ่าประชากรไปไม่มากกว่า 3%
  • 1:21 - 1:25
    กาฬโรคที่เกิดขึ้นในยุคใหม่
    ยังมักจะอยู่ในบริเวณหนึ่งๆ
  • 1:25 - 1:28
    หรือกระจายไปช้าๆ
    โดยแพร่ไปกับหมัดของหนู
  • 1:28 - 1:31
    แต่กาฬโรคในยุคมืดที่แพร่ไวดั่งไฟป่า
  • 1:31 - 1:35
    น่าจะติดต่อโดยตรงจากคนหนึ่ง
    สู่อีกคนหนึ่งมากกว่า
  • 1:35 - 1:40
    และเพราะว่าการเปรียบเทียบทางพันธุกรรม
    ของเยอสิเนีย เพสทิส สายพันธุ์โบราณและใหม่
  • 1:40 - 1:43
    ไม่ได้เปิดเผยความแตกต่างทางหน้าที่
    ของพันธุศาสตร์อะไรที่เด่นชัด
  • 1:43 - 1:46
    ปัจจัยหลักที่ทำให้การแพร่ระบาดแต่ก่อน
    อันตรายมากกว่า
  • 1:46 - 1:50
    จะต้องไม่เป็นที่พาราไซท์
    แต่เป็นที่เจ้าบ้าน
  • 1:50 - 1:52
    กว่า 300 ปี ในช่วงยุคกลางตอนปลาย
  • 1:52 - 1:55
    อากาศที่อุ่นกว่า และการพัฒนาทางกสิกรรม
  • 1:55 - 1:59
    ได้นำไปสู่การเติบโตของประชากรอย่างมาก
    ไปทั่งยุโรป
  • 1:59 - 2:01
    หากแต่มีปากท้องมากมายที่ต้องหาเลี้ยง
  • 2:01 - 2:04
    ช่วงปลายของยุคอบอุ่นนี้ก็เหมือนต้องสาป
  • 2:04 - 2:07
    อัตราการตายที่สูง รวมกับ
    การเก็บเกี่ยวที่ลดลง
  • 2:07 - 2:10
    หมายถึงดินแดนนั้นไม่อาจเจือจุน
    ประชากรได้อีก
  • 2:10 - 2:13
    ในขณะที่แรงงานที่มีอยู่มากมาย
    ได้เงินค่าจ้างไม่สูงนัก
  • 2:13 - 2:16
    ด้วยเหตุนี้ ชาวยุโรปส่วนใหญ่ในยุคแรกของ
    ศตวรรษที่ 14
  • 2:16 - 2:19
    เผชิญกับการลดลงอย่างต่อเนื่อง
    ของคุณภาพชีวิต
  • 2:19 - 2:25
    ทั้งความอดอยาก ข้นแค้น และสุขภาพที่ย่ำแย่
    ทำให้พวกเขาง่ายต่อการติดเชื้อ
  • 2:25 - 2:28
    และแน่นอน โครงกระดูกของเหยื่อกาฬโรค
    ที่คงเหลืออยู่ ที่พบที่ลอนดอน
  • 2:28 - 2:33
    แสดงร่องรอยที่บอกเรื่องราวของ
    ทุพโภชนาและความเจ็บป่วยก่อนหน้านั้น
  • 2:33 - 2:37
    การทำลายล้างที่เกิดจากาฬโรค
    เปลี่ยนแปลงมนุษยชาติใน 2 เรื่องสำคัญ
  • 2:37 - 2:40
    ในระดับสังคม การลดลงอย่างรวดเร็วของประชากร
  • 2:40 - 2:44
    นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน
    สภาวะทางเศรษฐกิจของยุโรป
  • 2:44 - 2:46
    เมื่อมีอาหารมากขึ้น
  • 2:46 - 2:50
    มีที่ดินมากขึ้น มีรายได้ดีขึ้น
    ต่อการดำรงชีพของชาวนาและผู้ใช้แรงงาน
  • 2:50 - 2:55
    คนเริ่มที่จะมีโภชนาการที่ดี และมี
    อายุยืนขึ้นดังผลการศึกษาที่สุสานที่ลอนดอน
  • 2:55 - 2:59
    มาตราฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
    ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสังคมมากขึ้น
  • 2:59 - 3:03
    ระบบเจ้าศักดินาก็สั่นคลอน
    และท้ายที่สุดก็นำไปสู่การปฏิรูปการเมือง
  • 3:03 - 3:07
    แต่กาฬโรคก็ยังคงมีความสำคัญ
    ในด้านชีวภาพ
  • 3:07 - 3:10
    การตายอย่างเฉียบพลัน
    ของผู้ที่ไม่ต้านทานต่อโรคนี้อย่างมากมาย
  • 3:10 - 3:14
    ทำให้เหลือประชากร
    ที่มียีนพูลต่างไปอย่างชัดเจน
  • 3:14 - 3:17
    รวมถึงยีนที่อาจช่วย
    ให้ผู้รอดชีวิตต้านทานต่อโรค
  • 3:17 - 3:20
    และเพราะว่าการกลายพันธุ์มักเกินขึ้น
    ต้านการกระทำของภูมิคุ้มกัน
  • 3:20 - 3:23
    เพื่อที่จะเพิ่มสิ่งก่อโรค
    ที่ได้ผลในแบบที่คล้ายกัน
  • 3:23 - 3:27
    การวิจัยเพื่อค้นหาผลกระทบทางพันธุกรรม
    ของกาฬโรค
  • 3:27 - 3:29
    จึงน่าจะมีประโยชน์อย่างใหญ่หลวง
  • 3:29 - 3:32
    วันนี้ ภัยจากการระบาด
    ที่มีระดับเดียวกับกาฬโรค
  • 3:32 - 3:36
    ได้ถูกกำจัดออกไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว
    ต้องขอขอบคุณยาปฏิชีวนะ
  • 3:36 - 3:41
    แต่กาฬโรค บัลโบนิกยังคงฆ่าคนสองสามพันคน
    ทั่วโลกทุกๆ ปี
  • 3:41 - 3:43
    และการอุบัติใหม่ของเชื้อสายพันธ์ดื้อยา
  • 3:43 - 3:46
    ก็ขู่ว่าภัยมืดจากอดีตอาจกลับมา
  • 3:46 - 3:49
    การเรียนรู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับเหตุและ
    ผลกระทบของกาฬโรคนั้นสำคัญ
  • 3:49 - 3:53
    ไม่เพียงแค่เพื่อความเข้าใจว่าโลกของเรา
    ถูกรังสรรค์มาอย่างไรในอดีต
  • 3:53 - 3:57
    มันอาจช่วยปกป้องเราจากฝันร้ายคล้ายๆ กัน
    ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตก็เป็นได้
Title:
อดีต ปัจจุบัน อนาคตของกาฬโรค บัลโบนิก - ชารอน เอ็น เดวิทท์ (Sharon N. DeWitte)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/the-past-present-and-future-of-the-bubonic-plague-sharon-n-dewitte

กาฬโรค บัลโบนิก ซึ่งฆ่าคนไปราวๆ 1/5 ของประชากรโลกในศตวรรษที่ 14 ยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้ -- แต่ตอนนี้มันเพียงคร่าชีวิตคนไปสองสามพันคนต่อปี จำนวนที่ว่านั้นลดลองอย่างมากมายได้อย่างไรกัน ชารอน เอ็น เดวิทท์ สืบสวนเหตุและผลของกาฬโรคและอธิบายว่าการทราบถึงข้อมูลสามารถช่วยเราเตรียมตัวสำหรับการระบาดของโรคนี้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างไร

บทเรียนโดย Sharon N. DeWitte, แอนิเมชั่น โดย Steff Lee.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:13

Thai subtitles

Revisions