Return to Video

เราจะรักษาเอสไอวีด้วยเลเซอร์ได้หรือไม่

  • 0:01 - 0:03
    คุณจะทำอย่างไรเมื่อมีอาการปวดหัว
  • 0:04 - 0:05
    คุณกินยาแอสไพริน
  • 0:06 - 0:11
    แต่ก่อนที่ยาจะไปยังสมองของคุณ
    ที่ซึ่งคุณมีความเจ็บปวด
  • 0:11 - 0:16
    มันผ่านกระเพาะอาหาร ผ่านลำไส้ และตับ
    และอวัยวะอื่น ๆ ก่อน
  • 0:17 - 0:22
    การกินยาเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
    และไม่เจ็บปวด ในการส่ง
  • 0:22 - 0:24
    การรักษาอะไรก็แล้วแต่เข้าสู่ร่างกาย
  • 0:25 - 0:30
    ข้อเสียก็คือ การกินยาลงไปนั้น
    จะทำให้ยานั้นเจือจาง
  • 0:31 - 0:37
    และนี่คือปัญหาใหญ่
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเอชไอวี
  • 0:37 - 0:40
    เมื่อพวกเขาใช้ยาต้านเอชไอวี
  • 0:40 - 0:44
    ยาเหล่านี้เป็นยาที่ดี
    สำหรับการลดไวรัสในกระแสเลือด
  • 0:44 - 0:46
    และเพิ่มจำนวนของเซลล์ ซีดิ4
  • 0:47 - 0:51
    แต่มันมีผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยดีนัก
  • 0:51 - 0:56
    แต่ที่ไม่ดีที่สุด เป็นเพราะยาจะถูกเจือจาง
    เมื่อมันเข้าสู่กระแสเลือด
  • 0:57 - 0:59
    ที่แย่กว่าก็คือ เมื่อยาเข้าสู่บริเวณที่ต้องการ
  • 0:59 - 1:05
    ซึ่งมันเป็นที่ที่สำคัญ ซึ่งก็คือ
    ภายในแหล่งเพาะเชื้อไวรัสเอชไอวี
  • 1:06 - 1:10
    บริเวณเหล่านี้ในร่างกาย
    เช่น ต่อมน้ำเหลือง
  • 1:10 - 1:13
    ระบบประสาท ตลอดจนปอดนั้น
  • 1:13 - 1:16
    เป็นที่ที่ไวรัสกำลังหลับไหลอยู่
  • 1:16 - 1:19
    และยังไม่พร้อมที่จะถูกส่ง
    เข้าสู่กระแสเลือด
  • 1:19 - 1:24
    ของคนไข้ที่อยู่ใช้การรักษาอย่างต่อเนื่อง
    ด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี
  • 1:25 - 1:28
    อย่างไรก็ตาม เมื่อหยุดให้การรักษา
  • 1:28 - 1:32
    ไวรัสก็จะสามารถตื่นขึ้นมา และทำให้เกิด
    การติดเชื้อขึ้นในเซลล์ใหม่ในกระแสเลือด
  • 1:33 - 1:39
    ตอนนี้ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัญหาใหญ่ในการรักษา
    เอชไอวีด้วยยาในปัจจุบัน
  • 1:39 - 1:43
    ซึ่งเป็นการรักษาโดยการกินยาตลอดชีวิต
  • 1:43 - 1:46
    จนวันหนึ่ง ฉันก็มานั่งคิดว่า
  • 1:46 - 1:52
    เราจะสามารถส่งผ่านยาต้านไวรัสเอชไอวี
    ไปที่แหล่งเชื้อนั้นโดยตรงเลยได้หรือเปล่า
  • 1:52 - 1:54
    โดยไม่มีความเสี่ยงที่ยาจะเจือจางซะก่อน
  • 1:55 - 1:59
    ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านเลเซอร์
    คำตอบอยู่ตรงหน้าฉันแล้ว
  • 1:59 - 2:01
    ใช่แล้วล่ะ เลเซอร์
  • 2:01 - 2:04
    ถ้ามันสามารถนำมาใช้ทางทันตกรรม
  • 2:04 - 2:07
    สำหรับการรักษาแผลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
    และใช้ในการผ่าตัด
  • 2:07 - 2:09
    มันก็น่าจะสามารถทำอะไรตามจินตนาการเราได้
  • 2:09 - 2:13
    ซึ่งก็รวมถึงการจ่ายยาเข้าสู่เซลล์
  • 2:13 - 2:19
    จริง ๆ แล้ว เรากำลังใช้เลเซอร์พัลส์
  • 2:19 - 2:22
    เพื่อที่จะกระแทกหรือเจาะรูที่มีขนาดเล็กมาก
  • 2:22 - 2:27
    ซึ่งจะเปิดและปิดเซลล์ที่ติดเชื้อเอชไอวี
    เกือบทันที
  • 2:27 - 2:30
    เพื่อจ่ายยาเข้าไปภายใน
  • 2:30 - 2:32
    คุณอาจจะถามว่า "มันจะเป็นไปได้หรือ"
  • 2:33 - 2:39
    ค่ะ เรายิงเลเซอร์ที่ทรงพลังแต่เล็กมาก ๆ
  • 2:39 - 2:43
    ตรงไปยังเยื่อหุ้มเซลล์ที่ติดเชื้อเอชไอวี
  • 2:43 - 2:47
    ขณะที่เซลล์เหล่านี้ก็จมอยู่ในของเหลว
    ที่บรรจุไว้ด้วยยา
  • 2:48 - 2:53
    เลเซอร์จะเจาะเซลล์นั้น
    ขณะที่เซลล์จะกลืนยาเข้าไป
  • 2:53 - 2:55
    ในเพียงเสี้ยววินาที
  • 2:55 - 2:57
    ก่อนที่คุณจะรู้เสียอีก
  • 2:57 - 3:00
    ส่วนรูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้นนั้น
    ก็จะถูกซ่อมแซมทันที
  • 3:01 - 3:06
    ปัจจุบัน เราทดลองเทคโนโลยีนี้
    ในหลอดทดลอง
  • 3:06 - 3:07
    หรือบนจานเพาะเชื้อ
  • 3:07 - 3:12
    แต่เป้าหมายก็คือ
    ใช้เทคโนโลยีนี้ในร่างกายมนุษย์
  • 3:12 - 3:13
    ประยุกต์ใช้ในร่างกายมนุษย์
  • 3:14 - 3:16
    คุณอาจจะถามว่า "มันจะเป็นไปได้หรือ"
  • 3:16 - 3:21
    ค่ะ คำตอบก็คือ ด้วยอุปกรณ์สามหัว
  • 3:22 - 3:24
    หัวแรก ก็คือเลเซอร์ของเรา
  • 3:24 - 3:28
    เราจะผ่าตัดในบริเวณที่ติดเชื้อ
  • 3:28 - 3:31
    ด้วยหัวที่สองซึ่งคือกล้อง
  • 3:31 - 3:33
    เราก็จะสอดไปที่บริเวณที่ติดเชื้อ
  • 3:34 - 3:39
    และสุดท้าย หัวที่สาม
    คือใช้หัวฉีดกระจายยา
  • 3:39 - 3:42
    เราจะส่งยายังไปบริเวณที่ติดเชื้อได้โดยตรง
  • 3:42 - 3:46
    แล้วเราก็จะใช้เลเซอร์อีกครั้ง
    ยิงให้เซลล์เหล่านั้นเปิดออกมา
  • 3:47 - 3:50
    ค่ะ ดูเหมือนว่ามันอาจยังดู
    ไม่ค่อยมีอะไรมากในตอนนี้
  • 3:51 - 3:56
    แต่สักวันหนึ่ง หากประสบความสำเร็จ
    เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปสู่
  • 3:56 - 3:59
    การกำจัดเชื้อเอชไอวีในร่างกายอย่างสมบูรณ์
  • 3:59 - 4:02
    นี่แหละ การรักษาเอชไอวี
  • 4:02 - 4:05
    นี่คือความฝันของนักวิจัยด้านเอชไอวีทุกคน
  • 4:05 - 4:09
    ในกรณีนี้ คือการรักษาด้วยเลเซอร์
  • 4:09 - 4:10
    ขอบคุณค่ะ
  • 4:10 - 4:12
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เราจะรักษาเอสไอวีด้วยเลเซอร์ได้หรือไม่
Speaker:
เพเที่ยน มทูซิ (Patience Mthunzi)
Description:

การให้ยาเพื่อการรักษานั้นรวดเร็ว ไม่เจ็บปวดแต่บ่อยครั้งไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคเสมอไป มีวิธีการที่มีศักยภาพดีกว่าไหม เลเซอร์ ในการพูดที่สร้างแรงบันดาลใจนี้ TED Fellow เพเที่ยน มทูซิ อธิบายแนวคิดของเธอในการใช้เลเซอร์เพื่อนำยาเข้าสู่เซลล์ที่มีเชื้อเอสไอวีโดยตรง มันยังคงเป็นเพียงการเริ่มต้น แต่หาทางรักษาก็ไม่ได้ห่างไกลใช่หรือไม่

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
04:25
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Could we cure HIV with lasers?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Could we cure HIV with lasers?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Could we cure HIV with lasers?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Could we cure HIV with lasers?
Rawee Ma accepted Thai subtitles for Could we cure HIV with lasers?
Rawee Ma edited Thai subtitles for Could we cure HIV with lasers?
Rawee Ma edited Thai subtitles for Could we cure HIV with lasers?
Rawee Ma edited Thai subtitles for Could we cure HIV with lasers?
Show all

Thai subtitles

Revisions