Return to Video

คุณจะยอมสละชีวิตหนึ่งคนหนึ่งคนเพื่อช่วยคนอีกห้าชีวิตหรือไม่ - เอเลนอร์ นีลเซ่น (Eleanor Nelsen)

  • 0:07 - 0:12
    ลองจินตนาการว่าคุณเห็นรถไฟ
    กำลังวิ่งอยู่ในราง
  • 0:12 - 0:16
    ตรงไปหาคนงาน 5 คนที่หนีไปไหนไม่ได้
  • 0:16 - 0:18
    คุณบังเอิญยืนอยู่ข้างปุ่มควบคุม
  • 0:18 - 0:22
    ที่จะสับรางรถไฟไปอีกรางหนึ่ง
  • 0:22 - 0:23
    ปัญหามันอยู่ที่
  • 0:23 - 0:28
    รางนั้นก็มีคนงานอยู่เช่นกัน
    แต่แค่คนเดียว
  • 0:28 - 0:29
    คุณจะทำอย่างไร
  • 0:29 - 0:33
    คุณจะสละหนึ่งชีวิตเพื่อช่วยห้าชีวิตหรือไม่
  • 0:33 - 0:35
    นี่เป็นปัญหารถไฟ
  • 0:35 - 0:42
    รูปแบบหนึ่งของความคับข้องทางจริยธรรม
    ที่นักจิตวิทยา ฟิลลิปปา ฟุท ยกขึ้นมาในปี ค.ศ. 1967
  • 0:42 - 0:45
    มันเป็นที่รู้จักอย่างมากเพราะว่า
    มันบังคับให้เราคิดว่าจะเลือกอะไร
  • 0:45 - 0:48
    เมื่อมันไม่มีทางเลือกใดที่ดีเลย
  • 0:48 - 0:50
    เราเลือกการกระทำที่ให้ผลดีที่สุด
  • 0:50 - 0:55
    หรือจะยึดติดกับศีลธรรม
    ที่ห้ามเป็นเหตุทำให้ผู้ใดเสียชีวิต
  • 0:55 - 1:01
    ในการสำรวจหนึ่ง ประมาณ 90% ของผู้ตอบบอกว่า
    มันโอเคที่จะกดปุ่มเพื่อสับราง
  • 1:01 - 1:04
    โดยให้คนงานคนหนึ่งตายเพื่อช่วยอีกห้าชีวิต
  • 1:04 - 1:09
    และการศึกษาอื่น ๆ ซึ่งรวมไปถึง
    การจำลองเสมือนจริงของเหตุการณ์นี้
  • 1:09 - 1:11
    ก็ได้ผลการศึกษาที่เหมือนกัน
  • 1:11 - 1:16
    คำตัดสินเหล่านี้มีความสอดคล้องกับ
    หลักการทางปรัชญาของแนวคิดประโยชน์นิยม
  • 1:16 - 1:19
    ที่ให้เหตุผลว่า
    คำตัดสินที่ถูกต้องตามจริยธรรม
  • 1:19 - 1:23
    คือทางเลือกนั้น ๆ ต้องดีที่สุด
    สำหรับคนหมู่มาก
  • 1:23 - 1:25
    ชีวิตห้าชีวิตมีค่ามากกว่าหนึ่งชีวิต
  • 1:25 - 1:31
    ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะต้อง
    สละชีวิตของใครคนหนึ่งก็ตาม
  • 1:31 - 1:33
    แต่คนเราไม่ใช้มุมมอง
    ของแนวคิดประโยชน์นิยมไปตลอด
  • 1:33 - 1:37
    ซึ่งเราสามารถเห็นได้โดย
    ปรับเปลี่ยนปัญหารถไฟเล็กน้อย
  • 1:37 - 1:40
    คราวนี้ คุณยืนอยู่ที่สะพานเหนือรางรถไฟ
  • 1:40 - 1:43
    เมื่อรถไฟกำลังแล่นเข้ามา
  • 1:43 - 1:45
    คราวนี้มันไม่มีรางที่สอง
  • 1:45 - 1:49
    แต่มันมีอีกคนที่ตัวใหญ่มาก
    ยืนอยู่บนสะพานข้างคุณ
  • 1:49 - 1:52
    ถ้าคุณผลักเขาลงไป
    ร่างของเขาจะหยุดรถไฟไว้
  • 1:52 - 1:54
    ช่วยชีวิตคนงานห้าคน
  • 1:54 - 1:56
    แต่เขาจะตาย
  • 1:56 - 1:59
    สำหรับชาวประโยชน์นิยม
    การตัดสินใจนั้นยังคงเหมือนเดิม
  • 1:59 - 2:02
    สละหนึ่งชีวิตเพื่อช่วยอีกห้าชีวิต
  • 2:02 - 2:05
    แต่ในสถานการณ์นี้ มีคนแค่ 10% เท่านั้น
  • 2:05 - 2:08
    ที่บอกว่ามันโอเคที่จะโยนคนลงไปบนราง
  • 2:08 - 2:12
    สัญชาตญาณของเราบอกว่า
    การจงใจทำให้คนหนึ่งเสียชีวิต
  • 2:12 - 2:16
    นั้นแตกต่างจากการปล่อยให้พวกเขาตาย
    เพราะเป็นลูกหลง
  • 2:16 - 2:21
    มันแค่รู้สึกว่าผิดด้วยเหตุผลที่ยากจะอธิบาย
  • 2:21 - 2:23
    จุดตัดระหว่างจริยธรรมกับจิตวิทยานี้
  • 2:23 - 2:27
    เป็นสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหารถไฟ
  • 2:27 - 2:31
    ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในหลายรูปแบบนี้
    แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราคิดว่าถูกหรือผิด
  • 2:31 - 2:36
    ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง
    มากกว่าตรรกะการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย
  • 2:36 - 2:39
    ตัวอย่างเช่น ผู้ชายนั้นมีแนวโน้ม
    มากกว่าผู้หญิง
  • 2:39 - 2:43
    ที่บอกว่า มันโอเค
    ที่จะผลักคนให้ตกสะพาน
  • 2:43 - 2:47
    เช่นเดียวกับคนที่ดูคลิปตลก
    ก่อนที่จะทำการทดลองทางความคิด
  • 2:47 - 2:49
    และในการศึกษาที่จำลองเหตุการณ์เสมือนจริง
  • 2:49 - 2:53
    ผู้คนนั้นเต็มใจที่จะให้สละชีวิตของผู้ชาย
    มากกว่าผู้หญิง
  • 2:53 - 2:55
    นักวิจัยได้ศึกษาการทำงานของสมอง
  • 2:55 - 3:00
    ของคนที่กำลังคิดเกี่ยวกับสถานการณ์รถไฟ
    ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบบนสะพาน
  • 3:00 - 3:04
    เหตุการณ์ทั้งสองกระตุ้นพื้นที่ของสมอง
    ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจอย่างมีสติ
  • 3:04 - 3:07
    และการตอบสนองทางอารมณ์
  • 3:07 - 3:11
    แต่ในเหตุการณ์บนสะพาน
    การตอบสนองทางอารมณ์นั้นรุนแรงกว่า
  • 3:11 - 3:13
    เช่นเดียวกับการทำงานของสมอง
  • 3:13 - 3:17
    ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลความขัดแย้งภายใน
  • 3:17 - 3:18
    แล้วมันแตกต่างกันอย่างไรล่ะ
  • 3:18 - 3:23
    คำอธิบายหนึ่งคือ การผลักคนอื่น
    ให้ถึงแก่ความตายมันให้ความรู้สึกโดยตรง
  • 3:23 - 3:27
    มันกระตุ้นความรู้สึกไม่ชอบที่จะฆ่าคนอื่น
  • 3:27 - 3:31
    แต่เรารู้สึกขัดแย้ง เพราะเรารู้ว่า
    มันยังคงเป็นทางเลือกเชิงตรรกะอยู่
  • 3:31 - 3:36
    ทฤษฎีรถไฟนี้ ถูกวิจารณ์โดย
    นักปรัชญาและนักจิตวิทยาบางคน
  • 3:36 - 3:41
    พวกเขาแย้งว่ามันไม่ได้เปิดเผยอะไรเลย
    เพราะเหตุการณ์มันไม่มีความสมจริง
  • 3:41 - 3:45
    ผู้เข้าร่วมการวิจัยก็ไม่ได้คิดจริงจัง
  • 3:45 - 3:49
    แต่เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้
    การวิเคราะห์ด้านจริยธรรมแบบนี้
  • 3:49 - 3:51
    มีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา
  • 3:51 - 3:54
    ตัวอย่างเช่น รถยนต์ไร้คนขับ
    อาจจะต้องรับมือกับทางเลือกต่าง ๆ
  • 3:54 - 3:58
    เช่น การทำให้เกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย
    เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ใหญ่กว่า
  • 3:58 - 4:02
    ในระหว่างนั้น รัฐบาลได้ทำการศึกษา
    โดรนอัตโนมัติของทหาร
  • 4:02 - 4:06
    ที่สามารถตัดสินใจว่า
    จะเอาชีวิตของพลเรือนมาเสี่ยง
  • 4:06 - 4:09
    เพื่อจะโจมตีเป้าหมายมูลค่าสูงหรือไม่
  • 4:09 - 4:11
    ถ้าเราต้องการให้การกระทำนี้ถูกจริยธรรม
  • 4:11 - 4:15
    เราจะต้องตัดสินใจล่วงหน้าว่า
    เราให้คุณค่ากับชีวิตของมนุษย์แค่ไหน
  • 4:15 - 4:18
    และตัดสินว่าแบบไหนดีกว่า
  • 4:18 - 4:20
    ดังนั้นนักวิจัยที่ศึกษาระบบอัตโนมัติ
  • 4:20 - 4:22
    ได้ร่วมมือกับนักปรัชญา
  • 4:22 - 4:28
    เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในการเขียนโปรแกรม
    ด้านจริยธรรมให้กับเครื่องจักรกล
  • 4:28 - 4:31
    ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม้แต่
    สภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่ถูกสมมติขึ้น
  • 4:31 - 4:35
    สามารถจบลงที่การขัดแย้งกัน
    กับโลกแห่งความเป็นจริง
Title:
คุณจะยอมสละชีวิตหนึ่งคนหนึ่งคนเพื่อช่วยคนอีกห้าชีวิตหรือไม่ - เอเลนอร์ นีลเซ่น (Eleanor Nelsen)
Speaker:
Eleanor Nelsen
Description:

ดูบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/would-you-sacrifice-one-person-to-save-five-eleanor-nelsen

ลองจินตนาการว่าคุณเห็นรถไฟกำลังวิ่งอยู่ในรางตรงไปหาคนงาน 5 คน คุณบังเอิญยืนอยู่ข้างปุ่มควบคุมที่จะสับรางรถไฟไปอีกรางหนึ่ง ปัญหาอยู่ที่ อีกรางหนึ่งก็มีคนงานอยู่เช่นกัน แต่แค่คนเดียว คุณจะทำอย่างไร คุณจะสละชีวิตของคนหนึ่งเืพ่อช่วยอีก 5 ชีวิตหรือไม่ เอเลนอร์ นีลเซ่น อธิบายละเอียดของสภาวะวิกฤติด้านจริยธรรมของปัญหารถไฟนี้

บทเรียนโดย เอเลนอร์ นีลเซ่น แอนิเมชั่นโดย ออยน์ ดัฟฟี่

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:56

Thai subtitles

Revisions Compare revisions