ลองจินตนาการว่าคุณเห็นรถไฟ กำลังวิ่งอยู่ในราง ตรงไปหาคนงาน 5 คนที่หนีไปไหนไม่ได้ คุณบังเอิญยืนอยู่ข้างปุ่มควบคุม ที่จะสับรางรถไฟไปอีกรางหนึ่ง ปัญหามันอยู่ที่ รางนั้นก็มีคนงานอยู่เช่นกัน แต่แค่คนเดียว คุณจะทำอย่างไร คุณจะสละหนึ่งชีวิตเพื่อช่วยห้าชีวิตหรือไม่ นี่เป็นปัญหารถไฟ รูปแบบหนึ่งของความคับข้องทางจริยธรรม ที่นักจิตวิทยา ฟิลลิปปา ฟุท ยกขึ้นมาในปี ค.ศ. 1967 มันเป็นที่รู้จักอย่างมากเพราะว่า มันบังคับให้เราคิดว่าจะเลือกอะไร เมื่อมันไม่มีทางเลือกใดที่ดีเลย เราเลือกการกระทำที่ให้ผลดีที่สุด หรือจะยึดติดกับศีลธรรม ที่ห้ามเป็นเหตุทำให้ผู้ใดเสียชีวิต ในการสำรวจหนึ่ง ประมาณ 90% ของผู้ตอบบอกว่า มันโอเคที่จะกดปุ่มเพื่อสับราง โดยให้คนงานคนหนึ่งตายเพื่อช่วยอีกห้าชีวิต และการศึกษาอื่น ๆ ซึ่งรวมไปถึง การจำลองเสมือนจริงของเหตุการณ์นี้ ก็ได้ผลการศึกษาที่เหมือนกัน คำตัดสินเหล่านี้มีความสอดคล้องกับ หลักการทางปรัชญาของแนวคิดประโยชน์นิยม ที่ให้เหตุผลว่า คำตัดสินที่ถูกต้องตามจริยธรรม คือทางเลือกนั้น ๆ ต้องดีที่สุด สำหรับคนหมู่มาก ชีวิตห้าชีวิตมีค่ามากกว่าหนึ่งชีวิต ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะต้อง สละชีวิตของใครคนหนึ่งก็ตาม แต่คนเราไม่ใช้มุมมอง ของแนวคิดประโยชน์นิยมไปตลอด ซึ่งเราสามารถเห็นได้โดย ปรับเปลี่ยนปัญหารถไฟเล็กน้อย คราวนี้ คุณยืนอยู่ที่สะพานเหนือรางรถไฟ เมื่อรถไฟกำลังแล่นเข้ามา คราวนี้มันไม่มีรางที่สอง แต่มันมีอีกคนที่ตัวใหญ่มาก ยืนอยู่บนสะพานข้างคุณ ถ้าคุณผลักเขาลงไป ร่างของเขาจะหยุดรถไฟไว้ ช่วยชีวิตคนงานห้าคน แต่เขาจะตาย สำหรับชาวประโยชน์นิยม การตัดสินใจนั้นยังคงเหมือนเดิม สละหนึ่งชีวิตเพื่อช่วยอีกห้าชีวิต แต่ในสถานการณ์นี้ มีคนแค่ 10% เท่านั้น ที่บอกว่ามันโอเคที่จะโยนคนลงไปบนราง สัญชาตญาณของเราบอกว่า การจงใจทำให้คนหนึ่งเสียชีวิต นั้นแตกต่างจากการปล่อยให้พวกเขาตาย เพราะเป็นลูกหลง มันแค่รู้สึกว่าผิดด้วยเหตุผลที่ยากจะอธิบาย จุดตัดระหว่างจริยธรรมกับจิตวิทยานี้ เป็นสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหารถไฟ ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในหลายรูปแบบนี้ แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราคิดว่าถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง มากกว่าตรรกะการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ตัวอย่างเช่น ผู้ชายนั้นมีแนวโน้ม มากกว่าผู้หญิง ที่บอกว่า มันโอเค ที่จะผลักคนให้ตกสะพาน เช่นเดียวกับคนที่ดูคลิปตลก ก่อนที่จะทำการทดลองทางความคิด และในการศึกษาที่จำลองเหตุการณ์เสมือนจริง ผู้คนนั้นเต็มใจที่จะให้สละชีวิตของผู้ชาย มากกว่าผู้หญิง นักวิจัยได้ศึกษาการทำงานของสมอง ของคนที่กำลังคิดเกี่ยวกับสถานการณ์รถไฟ ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบบนสะพาน เหตุการณ์ทั้งสองกระตุ้นพื้นที่ของสมอง ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจอย่างมีสติ และการตอบสนองทางอารมณ์ แต่ในเหตุการณ์บนสะพาน การตอบสนองทางอารมณ์นั้นรุนแรงกว่า เช่นเดียวกับการทำงานของสมอง ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลความขัดแย้งภายใน แล้วมันแตกต่างกันอย่างไรล่ะ คำอธิบายหนึ่งคือ การผลักคนอื่น ให้ถึงแก่ความตายมันให้ความรู้สึกโดยตรง มันกระตุ้นความรู้สึกไม่ชอบที่จะฆ่าคนอื่น แต่เรารู้สึกขัดแย้ง เพราะเรารู้ว่า มันยังคงเป็นทางเลือกเชิงตรรกะอยู่ ทฤษฎีรถไฟนี้ ถูกวิจารณ์โดย นักปรัชญาและนักจิตวิทยาบางคน พวกเขาแย้งว่ามันไม่ได้เปิดเผยอะไรเลย เพราะเหตุการณ์มันไม่มีความสมจริง ผู้เข้าร่วมการวิจัยก็ไม่ได้คิดจริงจัง แต่เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้ การวิเคราะห์ด้านจริยธรรมแบบนี้ มีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา ตัวอย่างเช่น รถยนต์ไร้คนขับ อาจจะต้องรับมือกับทางเลือกต่าง ๆ เช่น การทำให้เกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ใหญ่กว่า ในระหว่างนั้น รัฐบาลได้ทำการศึกษา โดรนอัตโนมัติของทหาร ที่สามารถตัดสินใจว่า จะเอาชีวิตของพลเรือนมาเสี่ยง เพื่อจะโจมตีเป้าหมายมูลค่าสูงหรือไม่ ถ้าเราต้องการให้การกระทำนี้ถูกจริยธรรม เราจะต้องตัดสินใจล่วงหน้าว่า เราให้คุณค่ากับชีวิตของมนุษย์แค่ไหน และตัดสินว่าแบบไหนดีกว่า ดังนั้นนักวิจัยที่ศึกษาระบบอัตโนมัติ ได้ร่วมมือกับนักปรัชญา เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในการเขียนโปรแกรม ด้านจริยธรรมให้กับเครื่องจักรกล ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม้แต่ สภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่ถูกสมมติขึ้น สามารถจบลงที่การขัดแย้งกัน กับโลกแห่งความเป็นจริง