Return to Video

เซลล์ปะทะไวรัส: สงครามเพื่อสุขภาพ - แชนนอน สไตลส์ (Shannon Stiles)

  • 0:07 - 0:10
    คุณกำลังเข้าคิวอยู่ในร้านขายของชำ
    ที่ซึ่ง โอ๊ะโอ
  • 0:10 - 0:11
    ใครบางคนจามใส่คุณ
  • 0:11 - 0:14
    ไวรัสโรคหวัดถูกสูดเข้าไปในปอดของคุณ
  • 0:14 - 0:16
    และลงจอดบนเซลล์บนเยื่อบุทางเดินอากาศของคุณ
  • 0:16 - 0:19
    สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกประกอบขึ้นด้วยเซลล์
  • 0:19 - 0:21
    จากสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดอย่าง แบคทีเรีย
  • 0:21 - 0:24
    ไปจนถึงวาฬสีน้ำเงิน และตัวคุณ
  • 0:24 - 0:27
    แต่ละเซลล์ในร่างกายถูกล้อมรอบไปด้วยเยื่อหุ้มเซลล์
  • 0:27 - 0:30
    ชั้นหนาที่ยืดหยุ่นได้
    ซึ่งประกอบขึ้นจากไขมันและโปรตีน
  • 0:30 - 0:33
    ซึ่งล้อมรอบและป้องกันส่วนประกอบภายใน
  • 0:33 - 0:34
    มันเป็นเยื่อเลือกผ่าน (semipermeable)
  • 0:34 - 0:37
    ซึ่งหมายความว่ามันให้บางอย่างผ่านเข้าออก
  • 0:37 - 0:38
    แต่ขัดขวางสิ่งที่เหลือ
  • 0:38 - 0:41
    เยื่อหุ้มเซลล์ปกคลุมไปด้วยส่วนเล็กๆ ที่ยื่นออกมา
  • 0:41 - 0:43
    พวกมันมีหน้าที่
  • 0:43 - 0:45
    เช่นช่วยเซลล์ยึดเกาะกับสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวมัน
  • 0:45 - 0:48
    หรือยึดจับสารอาหารที่เซลล์ต้องการ
  • 0:48 - 0:50
    สัตว์และพืชมีเยื่อหุ้มเซลล์
  • 0:50 - 0:52
    เซลล์พืชเท่านั้นที่มีผนังเซลล์
  • 0:52 - 0:56
    ซึ่งประกอบด้วยเซลลูโลส (cellulose) แข็งๆ
    ที่เป็นโครงสร้างให้กับพืช
  • 0:56 - 0:59
    ไวรัสที่เข้าไปในปอดของคุณนั้นร้ายกาจ
  • 0:59 - 1:01
    มันแสร้งทำว่าเป็นเพื่อน
  • 1:01 - 1:04
    เข้ายึดเกาะกับส่วนที่ยื่นออกมาจากเยื่อหุ้มเซลล์
  • 1:04 - 1:07
    และเซลล์ก็นำมันผ่านเข้าเยื่อหุ้มเซลล์สู่ภายใน
  • 1:07 - 1:08
    เมื่อไวรัสผ่านเข้าไปแล้ว
  • 1:08 - 1:10
    เซลล์ก็รู้ว่ามันทำพลาด
  • 1:10 - 1:12
    ศัตรูบุกเข้ามาซะแล้ว
  • 1:12 - 1:14
    เอ็นไซม์ชนิดพิเศษมาถึงที่เกิดเหตุ
  • 1:14 - 1:16
    และสับไวรัสออกเป็นชิ้นๆ
  • 1:16 - 1:18
    จากนั้นพวกมันก็ส่งชิ้นหนึ่งกลับไป
  • 1:18 - 1:19
    ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
  • 1:19 - 1:22
    ซึ่งเป็นที่ที่เซลล์แสดงมันเพื่อเตือนเซลล์ใกล้เคียง
  • 1:22 - 1:24
    ถึงผู้บุกรุก
  • 1:24 - 1:25
    เซลล์ที่อยู่ใกล้ๆ เห็นถึงสัญญาณเตือน
  • 1:25 - 1:28
    และก็ตอบสนองในทันที
  • 1:28 - 1:29
    มันต้องสร้างแอนติบอดี
  • 1:29 - 1:31
    ซึ่งก็คือ โปรตีนที่จะโจมตีและฆ่า
  • 1:31 - 1:33
    ไวรัสผู้บุกรุก
  • 1:33 - 1:36
    กระบวนการนี้เริ่มขึ้นในนิวเคลียส
  • 1:36 - 1:38
    นิวเคลียสถูกบรรจุด้วยดีเอ็นเอ
  • 1:38 - 1:40
    พิมพ์เขียวที่บอกเซลล์ของเราถึงวิธีการสร้างทุกอย่าง
  • 1:40 - 1:43
    ที่ร่างกายของเราต้องการใช้งาน
  • 1:43 - 1:46
    ณ ส่วนเฉพาะของดีเอ็นเอ มีคู่มือ
  • 1:46 - 1:49
    ที่บอกเซลล์ของคุณว่าสร้างแอนติบอดีได้อย่างไร
  • 1:49 - 1:52
    เอ็นไซม์ในนิวเคลียส พบส่วนเฉพาะดังกล่าว
  • 1:52 - 1:54
    จากนั้นก็สร้างสำเนาของคู่มือ
  • 1:54 - 1:56
    ซึ่งเรียกว่า แมสเซ็นเจอร์ อาร์เอ็นเอ
    (messenger RNA)
  • 1:56 - 2:00
    แมสเซ็นเจอร์ อาร์เอ็นเอ ออกจากนิวเคลียส
    เพื่อปฏิบัติหน้าที่
  • 2:00 - 2:03
    มันเดินทางไปยังไรโบโซม (ribosome)
  • 2:03 - 2:06
    ซึ่งเราสามารถมีไรโบโซมได้มากเป็น 10 ล้านอัน
  • 2:06 - 2:07
    ในเซลล์มนุษย์
  • 2:07 - 2:09
    ทั้งหมดฝังอยู่กับโครงสร้างที่เหมือนกับริบบิ้น
  • 2:09 - 2:12
    เรียกว่า เอ็นโอพลาสมิก เรติคูลัม
    (endoplasmic reticulum)
  • 2:12 - 2:15
    ไรโบโซมอ่านคู่มือจากนิวเคลียส
  • 2:15 - 2:18
    มันนำกรดอะมิโนเข้ามาและเชื่อมพวกมันเข้าด้วยกัน
  • 2:18 - 2:22
    สร้างเป็นโปรตีนแอนติบอดีที่ใช้สู้กับไวรัส
  • 2:22 - 2:23
    แต่ก่อนที่มันจะทำอย่างนั้นได้
  • 2:23 - 2:26
    แอนติบอดีต้องถูกปล่อยจากเซลล์
  • 2:26 - 2:29
    แอนติบอดีมุ่งหน้าไปยังกอจิ แอพพาราตัส
    (golgi apparatus)
  • 2:29 - 2:32
    ที่นี่ มันถูกบรรจุสำหรับการขนส่งออกนอกเซลล์
  • 2:32 - 2:35
    เมื่อถูกบรรจุในหีบห่อปิดคล้ายฟองสบู่
    ที่ทำมาจากวัสดุเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์
  • 2:35 - 2:39
    กอจิ แอพพาราตัส ยังให้ทิศทางกับแอนติบอดี
  • 2:39 - 2:41
    บอกว่าจะไปถึงขอบเซลล์ได้อย่างไร
  • 2:41 - 2:42
    เมื่อมันไปถึงตรงนั้น
  • 2:42 - 2:46
    โครงสร้างฟองสบู่ที่หุ้มแอนติบอดีไว้
    ก็หลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์
  • 2:46 - 2:48
    เซลล์ปล่อยแอนติบอดีออกมา
  • 2:48 - 2:51
    และมันก็มุ่งหน้าออกไปเพื่อล่าไวรัส
  • 2:51 - 2:52
    โครงสร้างฟองสบู่ที่เหลืออยู่จะถูกย่อยสลาย
  • 2:52 - 2:54
    โดยไลโซโซมของเซลล์
  • 2:54 - 2:57
    และชิ้นส่วนของมันก็จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่เรื่อยๆ
  • 2:57 - 3:00
    เซลล์เอาพลังงานมาจากไหน
    เพื่อใช้ทำกิจกรรมทั้งหมดนี้
  • 3:00 - 3:02
    นั่นเป็นหน้าที่ของไมโทคอนเดรีย
  • 3:02 - 3:05
    เพื่อที่จะสร้างพลังงาน ไมโทคอนเดรียใช้ออกซิเจน
  • 3:05 - 3:07
    นั่นเป็นเหตุผลเดียวที่ว่าทำไมเราจึงหายใจ
  • 3:07 - 3:09
    และเติมอิเล็กตรอนจากอาหารที่เรากิน
  • 3:09 - 3:11
    เพื่อสร้างโมเลกุลน้ำ
  • 3:11 - 3:14
    กระบวนการนั้นยังสร้างโมเลกุลพลังงานสูง
  • 3:14 - 3:18
    ที่เรียกว่า เอทีพี (ATP) ซึ่งเซลล์ใช้
    ในการให้พลังงานกับทุกๆ ส่วน
  • 3:18 - 3:21
    เซลล์พืชสร้างพลังงานด้วยวิธีที่ต่างไป
  • 3:21 - 3:22
    พวกมันใช้ คลอโรพลาส (chloroplast)
  • 3:22 - 3:24
    ที่ประกอบคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ
  • 3:24 - 3:26
    ด้วยพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์
  • 3:26 - 3:28
    เพื่อสร้างออกซิเจนและน้ำตาล
  • 3:28 - 3:30
    ซึ่งเป็นพลังงานเคมีรูปแบบหนึ่ง
  • 3:30 - 3:32
    ทุกส่วนของเซลล์ทำงานด้วยกัน
  • 3:32 - 3:35
    เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยความราบรื่น
  • 3:35 - 3:37
    และเซลล์ทั้งหมดของร่างกายคุณต้องทำงานด้วยกัน
  • 3:37 - 3:39
    เพื่อทำให้ชีวิตคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
  • 3:39 - 3:41
    นั่นเป็นเซลล์จำนวนมากเลยทีเดียว
  • 3:41 - 3:44
    นักวิทยาศาสตร์คิดว่า
    เรามีเซลล์ประมาณ 3 หมื่น 7 พันล้านเซลล์
Title:
เซลล์ปะทะไวรัส: สงครามเพื่อสุขภาพ - แชนนอน สไตลส์ (Shannon Stiles)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/cell-vs-virus-a-battle-for-health-shannon-stiles

สิ่งมีชีวิตทุกอย่างประกอบไปด้วยเซลล์ ในร่างกายของมนุษย์ หน่วยพื้นฐานที่ทรงประสิทธิภาพถูกปกป้องไปด้วยชั้นต่างๆ มากมาย จากผู้บุกรุกที่น่ารังเกียจอย่างไวรัสโรคหวัด
แชนนอน สไตลส์ นำสู่การเดินทางเข้าไปในเซลล์ แนะนำอาวุธปืนใหญ่ขนาดจิ๋ว และนักรบที่มีบทบาทในสงครามเพื่อสุขภาพของคุณ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:59
  • I made quite a few changes, but all are minor ones na krub. Please help review if you agree with me. Thanks krub!

  • Allow me to change "inner components" back to my original translation for this refers to "inner parts of cells" not "inner part or our body (ie. internal organs)". Other than that, they look fine for me.

    Thanks for reviewing my task. It's been a while we've done this together. Let's collaborate again soon :))))

Thai subtitles

Revisions Compare revisions