Return to Video

แอนเดรียส์ ชไลเชอร์ (Andreas Schleicher): ใช้ข้อมูลสร้างโรงเรียนที่ดีกว่า

  • 0:01 - 0:04
    การเปิดกว้างอย่างสุดโต่ง (Radical Openness)
    ยังคงเป็นอนาคตอันไกลโพ้น
  • 0:04 - 0:06
    สำหรับด้านการศึกษาในโรงเรียน
  • 0:06 - 0:08
    เราผ่านช่วงเวลาอันยากลำบากในการค้นพบว่า
  • 0:08 - 0:12
    การเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องของสถานที่
    แต่เป็นเรื่องของกิจกรรม
  • 0:12 - 0:16
    แต่ผมอยากจะเล่าให้คุณฟัง ถึงเรื่องราวของ PISA
    (โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ)
  • 0:16 - 0:18
    ซึ่งเป็นการทดสอบของ OECD
    (องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ)
  • 0:18 - 0:20
    เพื่อวัดความรู้และทักษะของเด็กอายุ 15 ปีทั่วโลก
  • 0:20 - 0:24
    และเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ
    การเปรียบเทียบการศึกษาระหว่างประเทศต่างๆ
  • 0:24 - 0:27
    ว่าได้ทำให้การศึกษา ที่เรามักมองว่า
    เป็นนโยบายภายในประเทศ
  • 0:27 - 0:30
    กลายเป็นเรื่องระดับโลกได้ยังไง
  • 0:30 - 0:33
    นี่คือสภาพของโลกเมื่อทศวรรษ 1960
  • 0:33 - 0:35
    ในแง่สัดส่วนของประชากร
  • 0:35 - 0:37
    ที่เรียนจบชั้นมัธยมปลาย
  • 0:37 - 0:41
    คุณจะเห็นว่าสหรัฐฯ นำหน้าทุกคนเลย
  • 0:41 - 0:44
    และความสำเร็จทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ
  • 0:44 - 0:47
    ก็เกิดขึ้นมาจากข้อได้เปรียบอันยาวนาน
  • 0:47 - 0:49
    ในฐานะที่เป็นผู้เคลื่อนไหวทางการศึกษาเป็นลำดับแรก
  • 0:49 - 0:53
    แต่ในทศวรรษ 1970 บางประเทศก็ไล่ตามมา
  • 0:53 - 0:55
    ในทศวรรษ 1980 การขยายตัวระดับโลกของ
  • 0:55 - 0:58
    กลุ่มผู้มีพรสวรรค์ได้ดำเนินต่อไป
  • 0:58 - 1:02
    และโลกก็ไม่ได้หยุดลงที่ทศวรรษ 1990
  • 1:02 - 1:04
    ดังนั้นในยุค 60 สหรัฐฯ เป็นที่หนึ่ง
  • 1:04 - 1:07
    ในยุค 90 กลายเป็นที่ 13
  • 1:07 - 1:09
    และไม่ใช่เพราะว่ามาตรฐานเขาตกลงไปนะ
  • 1:09 - 1:13
    แต่เป็นเพราะที่อื่นๆ ได้ก้าวขึ้นมาเร็วมากต่างหาก
  • 1:13 - 1:16
    เกาหลีแสดงให้คุณเห็นว่าอะไรที่เป็นไปได้ในการศึกษา
  • 1:16 - 1:19
    สองรุ่นก่อน เกาหลีมีมาตรฐานการครองชีพ
  • 1:19 - 1:22
    อยู่ในระดับเดียวกับอัฟกานิสถานทุกวันนี้
  • 1:22 - 1:26
    และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผลทางการศึกษาต่ำที่สุด
  • 1:26 - 1:31
    วันนี้ เด็กเกาหลีทุกคนเรียนจบมัธยมปลาย
  • 1:31 - 1:34
    เพราะงั้น นี่มันบอกกับเราว่า ในเศรษฐกิจระดับโลก
  • 1:34 - 1:39
    การพัฒนาระดับชาติ ไม่ใช่ตัววัดความสำเร็จอีกต่อไป
  • 1:39 - 1:44
    แต่เป็นระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในระดับสากลต่างหาก
  • 1:44 - 1:47
    ปัญหาก็คือว่า
  • 1:47 - 1:48
    การวัดด้วยระยะเวลาที่ผู้คนเข้าโรงเรียน
  • 1:48 - 1:50
    หรือวุฒิการศึกษาที่พวกเขามี
  • 1:50 - 1:55
    ไม่ได้เป็นหนทางที่ดีสำหรับการดูว่า
    จริงๆแล้วพวกเขาทำอะไรได้เสมอไป
  • 1:55 - 1:59
    ดูที่ส่วนผสมของผู้จบการศึกษาทั้งหลายบนท้องถนนของเราสิ
  • 1:59 - 2:01
    ในขณะเดียวกัน นายจ้างกลับบอกว่าพวกเขาหาคนทำงาน
  • 2:01 - 2:05
    ที่มีความสามารถตามที่พวกเขาต้องการไม่ได้
  • 2:05 - 2:09
    และนั่นก็ทำให้คุณเห็นว่า วุฒิการศึกษาที่ดีกว่า
    ไม่ได้หมายความว่า
  • 2:09 - 2:13
    จะมีทักษะที่ดีกว่า และงานที่ดีกว่า และชีวิตที่ดีกว่า เสมอไป
  • 2:13 - 2:16
    ดังนั้น เราพยายามจะเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ ด้วย PISA
  • 2:16 - 2:18
    โดยทำการวัดความรู้และทักษะ
  • 2:18 - 2:21
    ของคนเราโดยตรง
  • 2:21 - 2:23
    และเราก็ใช้มุมมองพิเศษในเรื่องนี้
  • 2:23 - 2:25
    เราให้ความสนใจในความสามารถของนักเรียน
  • 2:25 - 2:29
    ในการผลิตซ้ำสิ่งที่เรียนมาจากโรงเรียน น้อยลง
  • 2:29 - 2:31
    แต่เราต้องการทดสอบว่า พวกเขาสามารถอ้างอิง
  • 2:31 - 2:33
    สิ่งที่พวกเขารู้
  • 2:33 - 2:37
    และประยุกต์ใช้ความรู้ของพวกเขา
    ในสถานการณ์ใหม่ๆได้หรือไม่
  • 2:37 - 2:40
    ตอนนี้ บางคนวิจารณ์เราเกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 2:40 - 2:42
    พวกเขาบอกว่า วิธีการวัดผลลัพธ์แบบนั้น
  • 2:42 - 2:45
    แสนจะไม่ยุติธรรมกับผู้คน
    เพราะเราทดสอบนักเรียน
  • 2:45 - 2:48
    ด้วยปัญหาที่พวกเขาไม่เคยเจอมาก่อน
  • 2:48 - 2:50
    แต่ถ้าคุณใช้ตรรกะแบบนั้น
  • 2:50 - 2:53
    คุณก็ต้องบอกว่าชีวิตมันไม่ยุติธรรมด้วย
  • 2:53 - 2:56
    เพราะการทดสอบความจริงในชีวิต
    ไม่ได้เกี่ยวกับว่าเราสามารถจำ
  • 2:56 - 2:57
    อะไรจากที่เรียนมาในโรงเรียนได้บ้าง
  • 2:57 - 3:00
    แต่เกี่ยวกับการที่เราพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
  • 3:00 - 3:03
    การที่เราพร้อมต่องานที่ยังไม่เคยมีมาก่อนหรือไม่
  • 3:03 - 3:05
    เพื่อจะใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เคยได้รับการคิดค้น
  • 3:05 - 3:10
    เพื่อจะแก้ปัญหาที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ทุกวันนี้
  • 3:10 - 3:12
    และแล้วเมื่อได้รับการโต้แย้งอย่างเผ็ดร้อน
  • 3:12 - 3:16
    วิธีการวัดของพวกเราก็ได้กลายมาเป็นมาตรฐาน
  • 3:16 - 3:18
    ในการประเมินผลครั้งล่าสุดเมื่อปี 2009
  • 3:18 - 3:21
    เราวัดระบบโรงเรียน 74 ระบบ
  • 3:21 - 3:25
    ที่รวมแล้วครอบคลุม 87 เปอร์เซ็นต์ของระบบเศรษฐกิจ
  • 3:25 - 3:28
    แผนภาพนี้แสดงให้คุณเห็นสมรรถภาพของประเทศต่างๆ
  • 3:28 - 3:31
    สีแดง คือ ค่อนข้างต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD
  • 3:31 - 3:35
    สีเหลืองคือไม่ดีไม่แย่
    และสีเขียวคือประเทศที่กำลังทำได้ดีมาก
  • 3:35 - 3:39
    คุณจะเห็นเซี่ยงไฮ้ เกาหลี สิงคโปร์ในเอเชีย
  • 3:39 - 3:41
    ฟินแลนด์ในยุโรป
  • 3:41 - 3:45
    แคนาดาในอเมริกาเหนือ
    กำลังทำได้ดีมาก
  • 3:45 - 3:48
    คุณยังจะเห็นว่า มีช่องว่างเกือบสามปีการศึกษาครึ่ง
  • 3:48 - 3:50
    ระหว่างเด็กอายุ 15 ปีในเซี่ยงไฮ้
  • 3:50 - 3:53
    กับเด็กอายุ 15 ปีในชิลี
  • 3:53 - 3:56
    และช่องว่างนี้ขยายขึ้นเป็น 7 ปีการศึกษา
  • 3:56 - 3:59
    เมื่อคุณรวมเอาประเทศต่างๆ
    ที่มีสมรรถภาพแย่จริงๆเข้าไปด้วย
  • 3:59 - 4:02
    มันมีโลกของความแตกต่างที่
  • 4:02 - 4:07
    เด็กๆได้รับการเตรียมพร้อมสำหรับ
    ระบบเศรษฐกิจทุกวันนี้
  • 4:07 - 4:11
    แต่ผมอยากจะแนะนำมิติสำคัญอันที่สอง
  • 4:11 - 4:13
    เข้าไปในภาพนี้
  • 4:13 - 4:17
    นักการศึกษาชอบพูดถึงความเสมอภาค
  • 4:17 - 4:21
    ด้วย PISA เราอยากจะวัดดูว่า
    พวกเขาสร้างความเสมอภาคได้จริงแท้แค่ไหน
  • 4:21 - 4:23
    ในแง่ของการทำให้ผู้คน
  • 4:23 - 4:27
    จากปูมหลังทางสังคมที่แตกต่างกัน
    มีโอกาสเท่าเทียมกัน
  • 4:27 - 4:28
    และเราก็ได้เห็นว่า ในบางประเทศ
  • 4:28 - 4:30
    ผลกระทบของปูมหลังทางสังคมที่มีต่อ
    ผลิตผลทางการเรียนนั้น
  • 4:30 - 4:31
    สูงมากๆ
  • 4:31 - 4:34
    โอกาสได้รับการกระจายอย่างไม่เท่าเทียมกัน
  • 4:34 - 4:38
    ศักยภาพของเด็กๆหลายคนกลายเป็นสูญเปล่า
  • 4:38 - 4:41
    เราเห็นในประเทศอื่นๆว่า มันมีผลน้อยกว่ามาก
  • 4:41 - 4:44
    เจ้าบริบททางสังคมที่คุณเกิดมาเนี่ย
  • 4:44 - 4:47
    พวกเราล้วนอยากไปอยู่ที่นั่น ตรงส่วนขวาบนตรงนั้น
  • 4:47 - 4:51
    ที่ๆสมรรถภาพทางการศึกษาดี
    และโอกาสทางการเรียนรู้ได้รับการกระจายอย่างเท่าเทียม
  • 4:51 - 4:54
    ไม่มีใคร และไม่มีประเทศไหน จะรับได้หากต้องไปอยู่ตรงนั้น
  • 4:54 - 4:55
    ตรงที่สมรรถภาพแย่
  • 4:55 - 4:59
    และมีช่องว่างทางสังคมกว้างมาก
  • 4:59 - 5:01
    และแล้วเราก็มาถกเถียงกันล่ะว่า
  • 5:01 - 5:03
    มันดีกว่าหรือไม่ ถ้าจะต้องไปอยู่ตรงนั้น
    ตรงที่สมรรถภาพทางการศึกษาดี
  • 5:03 - 5:06
    แต่แลกมาด้วยราคาของช่องว่างทางสังคมขนาดใหญ่?
  • 5:06 - 5:11
    หรือเราต้องการเพ่งความสนใจไปที่ความเสมอภาค
    แล้วยอมรับคุณภาพแบบกลางๆไปซะ?
  • 5:11 - 5:14
    แต่จริงๆแล้ว ถ้าคุณมองไปที่ประเทศต่างๆในภาพนี้
  • 5:14 - 5:17
    คุณจะเห็นว่า มีหลายประเทศเลยทีเดียวที่
  • 5:17 - 5:22
    ผสานความยอดเยี่ยมเข้ากับความเสมอภาคได้จริงๆ
  • 5:22 - 5:24
    ที่จริง หนึ่งในบทเรียนที่สำคัญที่สุดจากการเปรียบเทียบนี้
  • 5:24 - 5:27
    ก็คือว่า คุณไม่จำเป็นต้องประนีประนอมความเสมอภาค
  • 5:27 - 5:30
    เพื่อให้ได้มาซึ่งความยอดเยี่ยม
  • 5:30 - 5:33
    ประเทศเหล่าได้เคลื่อนมาจาก
  • 5:33 - 5:36
    การจัดเตรียมความยอดเยี่ยมให้กับคนบางคน
    มาเป็นการจัดเตรียมให้กับคนทุกคน
  • 5:36 - 5:38
    เป็นบทเรียนที่สำคัญมากเลยทีเดียว
  • 5:38 - 5:43
    และนั่นก็ท้าทายกระบวนการคิด
    ของระบบโรงเรียนหลายๆระบบ
  • 5:43 - 5:47
    ที่เชื่อว่า พวกเขาอยู่ตรงนั้นเพื่อแยกประเภทผู้คน
  • 5:47 - 5:50
    และตั้งแต่ที่ผลเหล่านั้นได้ออกมา
  • 5:50 - 5:52
    ผู้กำหนดนโยบาย นักการศึกษา นักวิจัย จากทั่วโลก
  • 5:52 - 5:53
    ได้พยายามที่จะค้นหา
  • 5:53 - 5:57
    ว่าอะไรที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของประเทศเหล่านั้น
  • 5:57 - 5:58
    แต่เรามาย้อนกลับไปสักครู่
  • 5:58 - 6:01
    และเพ่งความสนใจไปที่ประเทศต่างๆที่ริเริ่ม PISA
  • 6:01 - 6:04
    และตอนนี้ผมให้มันอยู่รูปแบบของฟองสบู่สีๆ
  • 6:04 - 6:07
    และผมให้ขนาดของฟอง
  • 6:07 - 6:09
    แสดงสัดส่วน
  • 6:09 - 6:13
    ของจำนวนเงินที่ประเทศต่างๆใช้จ่ายกับนักเรียน
  • 6:13 - 6:14
    ถ้าเงินเป็นทุกอย่างเกี่ยวกับ
  • 6:14 - 6:16
    คุณภาพของผลลัพธ์ทางการเรียนรู้
  • 6:16 - 6:20
    คุณก็จะเจอฟองใหญ่อยู่ข้างบน ใช่มั้ย?
  • 6:20 - 6:22
    แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่คุณเห็น
  • 6:22 - 6:25
    ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักเรียน มีผลเพียง
  • 6:25 - 6:27
    น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของ
  • 6:27 - 6:30
    ความแตกต่างของสมรรถภาพทางการศึกษา
    ระหว่างประเทศต่างๆ
  • 6:30 - 6:33
    และยกตัวอย่างเช่น ลักเซมเบิร์ก ประเทศที่แพงที่สุด
  • 6:33 - 6:35
    ไม่ได้ทำได้ดีเท่าไหร่
  • 6:35 - 6:37
    สิ่งที่คุณเห็นคือ สองประเทศที่มีค่าใช้จ่ายพอๆกัน
  • 6:37 - 6:39
    มีผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน
  • 6:39 - 6:44
    คุณยังจะเห็นว่า...
    ซึ่งผมคิดว่านี่เป็นหนึ่งในข้อค้นพบที่น่าสนใจมากที่สุด
  • 6:44 - 6:47
    ก็คือว่า เราไม่ได้อยู่ในโลกใบที่ถูกแบ่งออกโดยง่าย
  • 6:47 - 6:50
    ระหว่างประเทศที่รวยและมีการศึกษาดี
  • 6:50 - 6:52
    กับประเทศที่จนและได้รับการศึกษาแย่
    อีกต่อไปแล้ว
  • 6:52 - 6:56
    เป็นบทเรียนที่สำคัญมากๆจริงๆ
  • 6:56 - 6:58
    เรามาดูกันในรายละเอียดมากขึ้นไปอีก
  • 6:58 - 7:00
    จุดสีแดงแสดงให้เห็น
  • 7:00 - 7:05
    ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักเรียน
    โดยสัมพันธ์กับความมั่งคั่งของประเทศ
  • 7:05 - 7:08
    หนทางหนึ่งในการใช้จ่ายเงิน
    ก็คือการจ่ายค่าจ้างดีๆให้ครู
  • 7:08 - 7:10
    และคุณจะเห็นว่าเกาหลีลงทุนไปเยอะมาก
  • 7:10 - 7:13
    ในการดึงคนที่ดีที่สุดเข้ามาในแวดวงอาชีพครู
  • 7:13 - 7:15
    และเกาหลียังลงทุนในจำนวนวันในโรงเรียนที่ยาวนาน
  • 7:15 - 7:18
    ซึ่งทำให้ต้นทุนสูงขึ้นไปอีก
  • 7:18 - 7:20
    สุดท้ายแต่ไม่ท้ายที่สุด
    เกาหลีต้องการให้ครูของพวกเขา
  • 7:20 - 7:22
    ไม่ใช่แค่สอนอย่างเดียวแต่ต้องพัฒนาด้วย
  • 7:22 - 7:24
    พวกเขาลงทุนในการพัฒนาทักษะอาชีพและการร่วมมือ
  • 7:24 - 7:27
    และอะไรต่างๆอีกมากมาย
  • 7:27 - 7:28
    ทั้งหมดนี้ต้องใช้เงิน
  • 7:28 - 7:31
    แล้วเกาหลีจ่ายไหวได้ยังไงล่ะ?
  • 7:31 - 7:35
    คำตอบก็คือ นักเรียนในเกาหลีเรียนในห้องเรียนใหญ่
  • 7:35 - 7:39
    นี่คือแท่งสีฟ้าที่ทำให้ต้นทุนลดต่ำลง
  • 7:39 - 7:42
    คุณมองไปที่ประเทศถัดมา
    ลักเซมเบิร์ก
  • 7:42 - 7:45
    และคุณจะเห็นจุดสีแดงอยู่ในบริเวณเดียวกันกับเกาหลี
  • 7:45 - 7:49
    ดังนั้น ลักเซมเบิร์กใช้จ่ายต่อหัวเท่าๆกับที่เกาหลีทำ
  • 7:49 - 7:51
    แต่ผู้ปกครอง ครู และผู้กำหนดนโยบาย
  • 7:51 - 7:54
    ในลักเซมเบิร์ก ต่างก็ชอบห้องเรียนเล็กๆ
  • 7:54 - 7:57
    คุณก็รู้ มันดูดีจะตายเวลาเดินเข้าไปในห้องเรียนเล็กๆน่ะ
  • 7:57 - 7:59
    ดังนั้น พวกเขาเอาเงินทั้งหมดลงทุนไปที่นั่น
  • 7:59 - 8:02
    และแท่งสีฟ้า คือขนาดห้องเรียน ได้ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
  • 8:02 - 8:06
    แต่แม้กระทั่งลักเซมเบิร์ก
    ก็สามารถใข้จ่ายเงินได้เพียงครั้งเดียว
  • 8:06 - 8:08
    และราคาของเรื่องนี้ก็คือว่า
  • 8:08 - 8:10
    ครูไม่ได้รับค่าจ้างที่ดีนัก
  • 8:10 - 8:13
    นักเรียนไม่ได้มีจำนวนชั่วโมงในการเรียนรู้ที่ยาวนาน
  • 8:13 - 8:16
    และโดยพื้นฐาน ครูมีเวลาเพียงนิดเดียวที่จะทำอย่างอื่น
    นอกเหนือไปจากการสอน
  • 8:16 - 8:20
    เพราะงั้นคุณจะเห็นสองประเทศที่ใช้จ่ายเงินต่างกันอย่างมาก
  • 8:20 - 8:22
    และที่จริงวิธีการจ่ายเงินของพวกเขามีผลอย่างมาก
  • 8:22 - 8:28
    มากกว่าจำนวนเงินที่พวกเขาใช้จ่ายในการศึกษาเสียอีก
  • 8:28 - 8:31
    เรากลับมาที่ปี 2000 กัน
  • 8:31 - 8:35
    จำได้นะครับ นั่นคือปีก่อนที่ iPod จะได้รับการคิดค้น
  • 8:35 - 8:37
    นี่คือภาพของโลก ณ ตอนนั้น
  • 8:37 - 8:41
    ในแง่ของสมรรถภาพตามเกณฑ์ PISA
  • 8:41 - 8:44
    สิ่งแรกที่คุณเห็นก็คือว่า ฟองต่างๆเล็กลงมาก
    ใช่มั้ยครับ
  • 8:44 - 8:46
    เราใช้จ่ายน้อยกว่ามากในการศึกษา
  • 8:46 - 8:48
    น้อยกว่าประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ได้
  • 8:48 - 8:52
    แล้วคุณก็จะถามตัวเองว่า
    ถ้าการศึกษามันแพงขึ้นมาก
  • 8:52 - 8:55
    แล้วมันดีขึ้นมากมั้ย?
  • 8:55 - 8:58
    และความจริงอันขมขื่นก็คือว่า
  • 8:58 - 9:00
    ไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย ในหลายประเทศ
  • 9:00 - 9:02
    แต่มันก็มีบางประเทศที่
  • 9:02 - 9:05
    มีการพัฒนาอย่างน่าประทับใจ
  • 9:05 - 9:09
    เยอรมนี ประเทศของผม ในปี 2000
  • 9:09 - 9:11
    อยู่ในซีกล่าง
  • 9:11 - 9:14
    ต่ำกว่าสมรรถภาพโดยเฉลี่ย
    มีช่องว่างทางสังคมกว้าง
  • 9:14 - 9:16
    และจำได้มั้ยครับว่า เยอรมนี
    เราเคยเป็นหนึ่งในประเทศ
  • 9:16 - 9:20
    ที่ดูดีมากเมื่อคุณนับจำนวนคนที่มีวุฒิการศึกษา
  • 9:20 - 9:22
    ช่างเป็นผลลัพธ์ที่น่าผิดหวังจริงๆ
  • 9:22 - 9:24
    ผู้คนต่างตกตะลึงกับผลลัพธ์นี้
  • 9:24 - 9:28
    และเป็นครั้งแรกๆเลย
    ที่การถกเถึยงในเวทีสาธารณะในเยอรมนี
  • 9:28 - 9:32
    เต็มไปด้วยเรื่องของการศึกษา
    กินเวลาเป็นเดือนๆ
  • 9:32 - 9:35
    ไม่ใช่เรื่องภาษี ไม่ใช่เรื่องอื่นใด แต่เป็นเรื่องการศึกษา
  • 9:35 - 9:37
    ที่เป็นศูนย์กลางของการถกเถียงสาธารณะ
  • 9:37 - 9:40
    และแล้วผู้กำหนดนโยบายก็เริ่มตอบสนองต่อสิ่งนี้
  • 9:40 - 9:45
    รัฐบาลระดับมลรัฐ
    ยกระดับการลงทุนในการศึกษาอย่างมากมาย
  • 9:45 - 9:48
    หลายอย่างเป็นการทำเพื่อเพิ่มโอกาสให้กับ
  • 9:48 - 9:51
    นักเรียนที่มีปูมหลังมาจากการอพยพย้ายถิ่น
    หรือมีความเสียเปรียบทางสังคม
  • 9:51 - 9:56
    และสิ่งที่น่าสนใจจริงๆก็คือว่า
    นี่ไม่ได้เป็นเพียงเกี่ยวกับ
  • 9:56 - 10:00
    การพัฒนานโยบายที่มีอยู่ให้เหมาะสมเท่านั้น
  • 10:00 - 10:03
    แต่ข้อมูลได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อและกรอบคิดบางอย่าง
  • 10:03 - 10:05
    ที่เป็นหลักของการศึกษาในเยอรมนี
  • 10:05 - 10:09
    ยกตัวอย่างเช่น ตามหลักแล้ว การศึกษาของเด็กเล็ก
  • 10:09 - 10:11
    จะถูกมองว่าเป็นเรื่องของครอบครัว
    และคุณก็จะเห็น
  • 10:11 - 10:14
    กรณีต่างๆที่ผู้หญืงถูกมองว่าละทิ้งหน้าที่ของครอบครัว
  • 10:14 - 10:17
    ถ้าพวกเธอส่งลูกๆเข้าอนุบาล
  • 10:17 - 10:20
    PISA ได้เปลี่ยนแปลงการถกเถียงนั้น
  • 10:20 - 10:23
    และผลักดันให้การศึกษาของเด็กวัยแรกเริ่ม
    มาอยู่ตรงศูนย์กลาง
  • 10:23 - 10:25
    ของนโยบายสาธารณะในเยอรมนี
  • 10:25 - 10:29
    หรือตามหลักแล้ว การศึกษาของเยอรมนีแบ่งเด็กๆ
  • 10:29 - 10:32
    ที่อายุ 10 ปี ซึ่งเด็กมากๆเลยทีเดียว
  • 10:32 - 10:36
    แบ่งออกเป็นกลุ่มที่มุ่งสู่เส้นทางอาชีพ
    ของคนทำงานแบบใช้ความรู้
  • 10:36 - 10:39
    กับกลุ่มที่ลงเอยด้วยการทำงานให้กับ
    คนทำงานแบบใช้ความรู้
  • 10:39 - 10:42
    และนั่นก็ดำเนินไปตามเส้นแบ่งทางเศรษฐกิจและสังคม
  • 10:42 - 10:46
    และกรอบคิดนั้นได้ถูกท้าทายแล้วในวันนี้
  • 10:46 - 10:48
    เกิดการเปลี่ยนแปลงเยอะมาก
  • 10:48 - 10:51
    และข่าวดีก็คือ 9 ปีหลังจากนั้น
  • 10:51 - 10:54
    คุณจะเห็นการปรับปรุงในด้านคุณภาพและความเสมอภาค
  • 10:54 - 10:57
    ผู้คนได้รับรู้ข้อท้าทาย และลงมือทำบางอย่างเกี่ยวกับมัน
  • 10:57 - 10:59
    ดูที่เกาหลี ซึ่งอยู่ที่อีกฝั่งของสเปกตรัม
  • 10:59 - 11:01
    ในปี 2000 เกาหลีทำได้ดีมากอยู่แล้ว
  • 11:01 - 11:05
    แต่คนเกาหลีก็ยังกังวลเกี่ยวกับสัดส่วนเล็กๆ
  • 11:05 - 11:09
    ของนักเรียนที่ประสบความสำเร็จในระดับดีเยี่ยม
  • 11:09 - 11:11
    พวกเขารับเอาข้อท้าทายนั้น
  • 11:11 - 11:14
    และเกาหลีก็สามารถเพิ่ม
    สัดส่วนของนักเรียนที่ทำได้ยอดเยี่ยมในด้านการอ่าน
  • 11:14 - 11:19
    เพิ่มมาเป็นสองเท่าภายในหนึ่งทศวรรษ
  • 11:19 - 11:21
    เอาล่ะ ถ้าคุณเอาแต่สนใจนักเรียนที่ฉลาดที่สุดของคุณ
  • 11:21 - 11:23
    คุณก็รู้ว่าช่องว่างมันจะขยายขึ้น
  • 11:23 - 11:27
    และคุณจะเห็นฟองนี้ค่อยๆเคลื่อนไปยังอีกทิศทางหนึ่ง
  • 11:27 - 11:30
    แต่ยังไงๆก็ยังเป็นการพัฒนาที่น่าประทับใจ
  • 11:30 - 11:32
    การยกเครื่องครั้งใหญ่ของการศึกษาในโปแลนด์
  • 11:32 - 11:36
    ช่วยลดความแตกต่างหลากหลายระหว่างโรงเรียนต่างๆ
  • 11:36 - 11:39
    พลิกผันโรงเรียนที่มีสมรรถภาพต่ำหลายแห่ง
  • 11:39 - 11:43
    แล้วเพิ่มสมรรถภาพขึ้นมามากกว่าครึ่งปีการศึกษา
  • 11:43 - 11:45
    และคุณจะเห็นประเทศอื่นๆเช่นกัน
  • 11:45 - 11:48
    โปรดุเกสสามารถหลอมรวมระบบโรงเรียนที่เคยไร้ทิศทางได้
  • 11:48 - 11:51
    พวกเขาเพิ่มคุณภาพและปรับปรุงความเสมอภาค
  • 11:51 - 11:53
    และฮังการีก็เช่นเดียวกัน
  • 11:53 - 11:57
    ดังนั้น สิ่งที่คุณจะเห็นได้แน่ๆก็คือ มันมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย
  • 11:57 - 11:59
    และแม้กระทั่งคนเหล่านั้นที่บ่นว่า
  • 11:59 - 12:01
    จุดที่ประเทศต่างๆยืนอยู่
  • 12:01 - 12:05
    ในการประเมินต่างๆอย่าง PISA ก็เป็นเพียงผลลัพธ์
  • 12:05 - 12:08
    จากวัฒนธรรม ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สภาพทางสังคม
  • 12:08 - 12:11
    ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของสังคม และอื่นๆ
  • 12:11 - 12:15
    ตอนนี้ คนเหล่านี้ต้องยอมรับแล้วว่า การศึกษาพัฒนาได้
  • 12:15 - 12:19
    โปแลนด์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของพวกเขา
  • 12:19 - 12:21
    พวกเขาไม่ได้เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจ
  • 12:21 - 12:23
    พวกเขาไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างประชากร
  • 12:23 - 12:26
    พวกเขาไม่ได้ไล่ครูออก
    พวกเขาเปลี่ยนนโยบายการศึกษาและรูปแบบการปฏิบัติ
  • 12:26 - 12:29
    น่าประทับใจมาก
  • 12:29 - 12:32
    และทั้งหมดนั้นทำให้เกิดคำถามว่า
  • 12:32 - 12:34
    แล้วเราจะเรียนรู้จากประเทศต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณสีเขียว
  • 12:34 - 12:36
    ที่มีระดับความเสมอภาคสูง
  • 12:36 - 12:40
    มีระดับสมรรถภาพสูง และมีผลลัพธ์ดีขึ้น ได้ยังไงล่ะ?
  • 12:40 - 12:44
    และแน่นอนว่า คำถามคือ แล้วสิ่งที่ได้ผลในที่หนึ่ง
  • 12:44 - 12:46
    จะเป็นต้นแบบให้ที่อื่นได้รึเปล่า?
  • 12:46 - 12:50
    แน่นอน คุณไม่สามารถลอก
    แล้วเอาระบบการศึกษาไปใช้ได้ทันที
  • 12:50 - 12:54
    แต่การเปรียบเทียบเหล่านี้ได้ระบุปัจจัยต่างๆ
  • 12:54 - 12:57
    ที่ประเทศสมรรถภาพสูงต่างๆมีร่วมกัน
  • 12:57 - 12:59
    ทุกคนเห็นด้วยว่าการศึกษาสำคัญ
  • 12:59 - 13:01
    ทุกคนพูดแบบนั้น
  • 13:01 - 13:05
    แต่ความจริงที่ต้องทดสอบก็คือว่า
  • 13:05 - 13:07
    คุณจะให้น้ำหนักความสำคัญของสิ่งหนึ่ง
    เหนืออีกสิ่งหนึ่งได้ยังไง?
  • 13:07 - 13:09
    ประเทศต่างๆจ่ายค่าจ้างครู
  • 13:09 - 13:12
    โดยเชิงเปรียบเทียบกับ
    อาชีพที่ต้องใช้ทักษะสูงอื่นๆ ยังไง?
  • 13:12 - 13:15
    แล้วคุณอยากจะให้ลูกของคุณเป็นครู
  • 13:15 - 13:17
    มากกว่าเป็นทนายรึเปล่า?
  • 13:17 - 13:19
    แล้วสื่อมีการพูดถึงโรงเรียนและครูยังไง?
  • 13:19 - 13:21
    นั่นเป็นคำถามสำคัญ
    และสิ่งที่เราได้เรียนรู้จาก PISA ก็คือว่า
  • 13:21 - 13:25
    ในประเทศต่างๆที่มีสมรรถภาพการศึกษาสูง
  • 13:25 - 13:29
    ในทุกวันนี้ ผู้นำได้โน้มน้าวให้พลเมืองของตัวเองเลือก
  • 13:29 - 13:31
    ให้ความสำคัญกับการศึกษา ซึ่งเป็นอนาคตของพวกเขา
  • 13:31 - 13:34
    มากกว่าการบริโภค
  • 13:34 - 13:36
    และคุณรู้มั้ยว่าอะไรที่น่าสนใจ?
    คุณจะไม่เชื่อหรอก
  • 13:36 - 13:39
    แต่มีหลายประเทศเลย ที่ศูนย์การค้าไม่ใช่ที่ๆ
  • 13:39 - 13:42
    ดึงดูดผู้คนมากที่สุด แต่โรงเรียนต่างหากที่เป็นแบบนั้น
  • 13:42 - 13:44
    สิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงๆ
  • 13:44 - 13:46
    แต่การให้คุณค่ากับการศึกษามากๆ
  • 13:46 - 13:49
    เป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพ
  • 13:49 - 13:52
    ส่วนอื่นๆคือความเชื่อที่ว่า เด็กทั้งหมด
  • 13:52 - 13:55
    มีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จ
  • 13:55 - 13:57
    คุณมีบางประเทศที่นักเรียน
  • 13:57 - 13:59
    ถูกแยกเป็นกลุ่มๆตั้งแต่ยังเล็กๆ
  • 13:59 - 14:01
    คุณก็รู้ นักเรียนถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่
  • 14:01 - 14:04
    สะท้อนความเชื่อที่ว่า มีเพียงนักเรียนบางคนเท่านั้น
  • 14:04 - 14:07
    ที่สามารถไปถึงมาตรฐานระดับโลกได้
  • 14:07 - 14:11
    แต่โดยปกติแล้ว นี่มันเชื่อมโยงไปยัง
    ความแตกต่างทางสังคมที่รุนแรง
  • 14:11 - 14:15
    ถ้าคุณไปญี่ปุ่น ในเอเชีย หรือ ฟินแลนด์ในยุโรป
  • 14:15 - 14:17
    ผู้ปกครองและครูในประเทศเหล่านั้น
  • 14:17 - 14:21
    คาดหวังให้นักเรียนทุกคนประสบความสำเร็จ
  • 14:21 - 14:24
    และคุณจะเห็นสิ่งเหล่านั้น
    สะท้อนออกมาในอุปนิสัยของนักเรียน
  • 14:24 - 14:27
    เมื่อเราถามนักเรียนว่า อะไรสำคัญ
  • 14:27 - 14:30
    สำหรับความสำเร็จในวิชาเลข
  • 14:30 - 14:32
    นักเรียนในอเมริกาเหนือโดยรวมๆจะตอบว่า
  • 14:32 - 14:34
    มันเป็นเรื่องของพรสวรรค์ล้วนๆ
  • 14:34 - 14:38
    ถ้าฉันไม่ได้เกิดมาเป็นอัจฉริยะในวิชาเลข
    ฉันไปเรียนวิชาอื่นดีกว่า
  • 14:38 - 14:41
    9 ใน 10 ของนักเรียนญี่ปุ่นตอบว่า
  • 14:41 - 14:45
    มันขึ้นอยู่กับการลงทุนของฉันเอง
    ความพยายามของฉันเอง
  • 14:45 - 14:50
    และนั่นก็บอกคุณได้มากมายเลย
    เกี่ยวกับระบบที่อยู่รอบตัวพวกเขา
  • 14:50 - 14:55
    ในอดีต นักเรียนที่หลากหลายถูกสอนด้วยวิธีการที่เหมือนกัน
  • 14:55 - 14:58
    ประเทศที่ทำได้ดีใน PISA รับรู้ความหลากหลาย
  • 14:58 - 15:02
    ด้วยรูปแบบการสอนที่ออกแบบมาแตกต่างกันไป
  • 15:02 - 15:04
    พวกเขาตระหนักว่า
  • 15:04 - 15:07
    นักเรียนธรรมดาๆมีพรสวรรค์ที่พิเศษ
  • 15:07 - 15:10
    และพวกเขาจัดโอกาสการเรียนรู้ให้เหมาะกับแต่ละคน
  • 15:10 - 15:12
    ประเทศที่ทำได้ดียังมี
  • 15:12 - 15:16
    มาตรฐานที่ชัดเจนและทะเยอทะยานครอบคลุมไปทั่วด้วย
  • 15:16 - 15:18
    นักเรียนทุกคนรู้ว่าอะไรสำคัญ
  • 15:18 - 15:22
    นักเรียนทุกคนรู้ว่าอะไรจำเป็นสำหรับการประสบความสำเร็จ
  • 15:22 - 15:25
    และไม่มีที่ไหนเลยที่คุณภาพของระบบการศึกษา
  • 15:25 - 15:28
    เหนือไปกว่าคุณภาพของครูในระบบ
  • 15:28 - 15:31
    ประเทศที่ทำได้ดีระมัดระวังมาก
  • 15:31 - 15:33
    ในการคัดเลือกและว่าจ้างครู
  • 15:33 - 15:35
    และการฝีกฝนครูเหล่านั้น
  • 15:35 - 15:37
    พวกเขาเฝ้าระวังการพัฒนาสมรรถนะของครู
  • 15:37 - 15:40
    ที่ตกที่นั่งลำบากและต้องต่อสู้ดิ้นรน
  • 15:40 - 15:43
    และการจัดโครงสร้างการจ่ายเงินให้ครู
  • 15:43 - 15:46
    พวกเขาเตรียมสภาพแวดล้อมที่ครูทำงานร่วมกัน
  • 15:46 - 15:50
    เพื่อสร้างวิธีการสอนที่ดี
  • 15:50 - 15:54
    และพวกเขาเตรียมเส้นทางอันชาญฉลาดสำหรับครู
  • 15:54 - 15:56
    เพื่อที่จะเติบโตในสายงานของพวกเขา
  • 15:56 - 15:58
    ในระบบโรงเรียนแบบราชการ
  • 15:58 - 16:00
    ครูมักจะถูกทิ้งไว้ลำพังในห้องเรียน
  • 16:00 - 16:03
    กับข้อกำหนดมากมายว่าพวกเขาควรจะต้องสอนอะไร
  • 16:03 - 16:06
    ประเทศที่ทำได้ดีมีความชัดเจนในเรื่องว่า
    อะไรคือสมรรถภาพที่ดี
  • 16:06 - 16:09
    พวกเขาตั้งมาตรฐานที่สูง
  • 16:09 - 16:11
    แต่พวกเขาก็ปล่อยให้ครูคิดว่า
  • 16:11 - 16:15
    ฉันจะสอนอะไรนักเรียนดีนะวันนี้?
  • 16:15 - 16:19
    การศึกษาในอดีตเป็นเรื่องของการนำส่งความรู้
  • 16:19 - 16:25
    ตอนนี้ความท้าทายก็คือ การสร้างปัญญาที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง
  • 16:25 - 16:28
    ประเทศที่ทำได้ดี ได้เคลื่อนจากรูปแบบเชิงวิชาชีพ
  • 16:28 - 16:32
    และเชิงบริหาร ที่เน้นการตรวจสอบได้และการควบคุม
  • 16:32 - 16:35
    ประมาณว่า คุณจะตรวจสอบว่า
    คนเราได้ทำสิ่งที่ควรทำในการศึกษาหรือไม่ อย่างไร
  • 16:35 - 16:39
    ไปสู่รูปแบบเชิงวิชาชีพขององค์กรการทำงาน
  • 16:39 - 16:43
    พวกเขาปล่อยให้ครูสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆในการสอนได้
  • 16:43 - 16:45
    พวกเขาเตรียมรูปแบบการพัฒนาที่ครูต้องการ
  • 16:45 - 16:49
    เพื่อพัฒนาวิธีการสอนที่ดียิ่งขึ้น
  • 16:49 - 16:55
    เป้าหมายในอดีตคือการสร้างมาตรฐานและการทำตามแบบแผน
  • 16:55 - 16:58
    ประเทศที่ทำได้ดีสร้างครูและครูใหญ่
  • 16:58 - 17:01
    ให้เป็นนักประดิษฐ์
  • 17:01 - 17:04
    ในอดีต นโยบายเพ่งเล็งไปที่ผลลัพธ์
  • 17:04 - 17:06
    และการทำตามข้อกำหนด
  • 17:06 - 17:09
    ประเทศที่ทำได้ดีได้ช่วยครูและครูใหญ่
  • 17:09 - 17:11
    มองออกไปยังครูคนถัดไป
  • 17:11 - 17:14
    โรงเรียนถัดไป ในชีวิตของพวกเขา
  • 17:14 - 17:16
    และผลลัพธ์ที่น่าประทับใจที่สุด
    ของระบบที่ได้มาตรฐานระดับโลก
  • 17:16 - 17:19
    ก็คือว่า พวกเขามีสมรรถภาพสูงทั้งระบบ
  • 17:19 - 17:21
    คุณเห็นว่าฟินแลนด์ทำได้ดีใน PISA
  • 17:21 - 17:23
    แต่สิ่งที่ทำให้ฟินแลนด์ดูน่าประทับใจมาก
  • 17:23 - 17:27
    ก็คือ การที่มีความแตกต่างของสมรรถนะเพียง 5 เปอร์เซ็นต์
  • 17:27 - 17:29
    ระหว่างนักเรียนในโรงเรียนที่แตกต่างกัน
  • 17:29 - 17:32
    ทุกโรงเรียนประสบความสำเร็จ
  • 17:32 - 17:34
    นี่เป็นที่ๆความสำเร็จเป็นไปอย่างมีระบบ
  • 17:34 - 17:36
    แล้วพวกเขาทำยังไงล่ะ?
  • 17:36 - 17:39
    พวกเขาลงทุนทรัพยากรลงไปในที่ๆ
    พวกเขาสามารถสร้างความแตกต่างได้สูงสุด
  • 17:39 - 17:44
    พวกเขาดึงครูใหญ่ที่เก่งที่สุดไปที่โรงเรียนที่ยากที่สุด
  • 17:44 - 17:46
    และครูที่มีพรสวรรค์ที่สุด
  • 17:46 - 17:48
    ไปยังห้องเรียนที่ท้าทายที่สุด
  • 17:48 - 17:51
    สุดท้ายแต่ไม่ท้ายที่สุด
    ประเทศเหล่านี้จัดวางนโยบาย
  • 17:51 - 17:53
    ให้สอดคล้องกับนโยบายสาธารณะทุกด้าน
  • 17:53 - 17:57
    พวกเขาทำให้มันสอดคล้องกันได้เป็นเวลายาวนาน
  • 17:57 - 18:01
    และพวกเขาทำให้แน่ใจว่า สิ่งที่พวกเขาทำ
    ได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
  • 18:01 - 18:04
    เอาล่ะ การได้รู้ว่าระบบที่ประสบความสำเร็จกำลังทำอะไรอยู่
  • 18:04 - 18:06
    ยังไม่ได้บอกเราเลยว่า เราจะปรับปรุงได้ยังไง
  • 18:06 - 18:09
    นั่นเป็นความชัดเจน และเป็นข้อจำกัดบางอย่าง
  • 18:09 - 18:12
    ของการเปรียบเทียบระหว่างประเทศของ PISA
  • 18:12 - 18:15
    นั่นเป็นจุดที่งานวิจัยรูปแบบอื่นๆจะต้องเข้ามาตอบ
  • 18:15 - 18:17
    และนั่นยังเป็นเหตุผลด้วยว่า ทำไม PISA ไม่ได้เข้าไป
  • 18:17 - 18:19
    บอกประเทศต่างๆว่า พวกเขาควรจะทำอะไร
  • 18:19 - 18:21
    แต่ข้อดีของมันก็คือ มันบอกประเทศต่างๆ
  • 18:21 - 18:24
    ว่าคนอื่นๆกำลังทำอะไรอยู่
  • 18:24 - 18:26
    และตัวอย่างของ PISA แสดงให้เห็นว่า
  • 18:26 - 18:29
    ข้อมูลสามารถมีอำนาจเหนือ
    การควบคุมการบริหารเงินอุดหนุน
  • 18:29 - 18:33
    ที่พวกเรากำลังทำอยู่ในระบบการศึกษา
  • 18:33 - 18:36
    บางคนแย้งว่า
  • 18:36 - 18:38
    การเปลี่ยนแปลงการบริหารการศึกษา
  • 18:38 - 18:41
    ก็เหมือนการย้ายสุสาน
  • 18:41 - 18:46
    คุณไม่สามารถอาศัยคนในนั้นให้ช่วยคุณได้
    (เสียงหัวเราะ)
  • 18:46 - 18:51
    แต่ PISA ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการศึกษา
  • 18:51 - 18:54
    มันได้ช่วยให้ประเทศต่างๆ เห็นว่า
    การปรับปรุงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
  • 18:54 - 18:59
    มันได้ลบล้างข้ออ้างจากพวกที่พอใจในสิ่งเดิมๆ
  • 18:59 - 19:02
    และมันได้ช่วยประเทศต่างๆ ตั้งเป้าหมายอย่างมีนัยยะ
  • 19:02 - 19:05
    ในเชิงเป้าหมายที่วัดได้ ที่ทำกันมาแล้วโดยผู้นำในโลก
  • 19:05 - 19:10
    ถ้าเราช่วยเด็กทุกคน ครูทุกคน โรงเรียนทุกโรงเรียน
  • 19:10 - 19:13
    ครูใหญ่ทุกคน ผู้ปกครองทุกคน ให้เห็นว่า
    การปรับปรุงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
  • 19:13 - 19:16
    และมีเพียงท้องฟ้าที่เป็นขีดจำกัดการพัฒนาการศึกษา
  • 19:16 - 19:18
    เราก็ได้สร้างรากฐาน
  • 19:18 - 19:20
    สำหรับนโยบายที่ดีกว่าและชีวิตที่ดีกว่าเอาไว้แล้ว
  • 19:20 - 19:23
    ขอบคุณครับ
  • 19:23 - 19:27
    (เสียงปรบมือ)
Title:
แอนเดรียส์ ชไลเชอร์ (Andreas Schleicher): ใช้ข้อมูลสร้างโรงเรียนที่ดีกว่า
Speaker:
Andreas Schleicher
Description:

เราจะวัดว่าอะไรที่ทำให้ระบบโรงเรียนทำงานได้ผลได้อย่างไร? แอนเดรียส์ ชไลเชอร์ พาเราชมการวัดผลแบบ PISA (โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ) ที่วัดผลโดยการนำเอาประเทศต่างๆมาจัดอันดับเปรียบเทียบกัน แล้วใช้ข้อมูลเดียวกันนั้นช่วยโรงเรียนต่างๆปรับปรุง มาดูกันว่าประเทศของคุณอยู่ในกลุ่มไหน และมาเรียนรู้ปัจจัยหนึ่งเดียวที่ทำให้บางประเทศมีสมรรถภาพเหนือกว่าประเทศอื่นๆ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
19:47
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Use data to build better schools
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Use data to build better schools
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Use data to build better schools
Unnawut Leepaisalsuwanna accepted Thai subtitles for Use data to build better schools
Chatthip Chaichakan commented on Thai subtitles for Use data to build better schools
Unnawut Leepaisalsuwanna declined Thai subtitles for Use data to build better schools
Unnawut Leepaisalsuwanna commented on Thai subtitles for Use data to build better schools
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for Use data to build better schools
Show all

Thai subtitles

Revisions