Return to Video

ปริศนาของการเมารถ - โรส อีฟเลธ (Rose Eveleth)

  • 0:07 - 0:08
    คุณอ่านหนังสือในรถได้รึเปล่า?
  • 0:08 - 0:10
    ถ้าได้ ก็ต้องถือว่าคุณโชคดีมาก
  • 0:10 - 0:11
    ประชากรประมาณหนึ่งในสาม
  • 0:11 - 0:13
    ถ้าจ้องหนังสือ ขณะวิ่งไปกับรถ
  • 0:13 - 0:14
    หรือเรือ
  • 0:14 - 0:14
    หรือรถไฟ
  • 0:14 - 0:15
    หรือเครื่องบิน
  • 0:15 - 0:17
    ท้องไส้จะปั่นป่วนขึ้นทันใด
  • 0:17 - 0:19
    ว่าแต่ เราจะเมารถกันไปทำไมนะ?
  • 0:19 - 0:20
    เชื่อรึเปล่าว่า
  • 0:20 - 0:22
    นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ค่อยมั่นใจเท่าไหร่
  • 0:22 - 0:23
    ทฤษฎีที่แพร่หลายที่สุดบอกว่า
  • 0:23 - 0:25
    เป็นเพราะสัญญาณประสาทขัดแย้งกัน
  • 0:25 - 0:26
    เวลาคุณเดินทางอยู่ในรถ
  • 0:26 - 0:28
    ร่างกายจะได้รับข้อมูลที่ต่างกันมากสองชนิด
  • 0:28 - 0:30
    ตามองเห็นภาพภายในยานพาหนะ
  • 0:30 - 0:32
    ซึ่งดูเหมือนไม่ได้เคลื่อนที่
  • 0:32 - 0:33
    ขณะเดียวกัน หูจะบอกสมอง
  • 0:33 - 0:35
    ว่าคุณกำลังวิ่งเร็วขึ้น
  • 0:35 - 0:37
    เดี๋ยวนะ หูหรอ?
  • 0:37 - 0:38
    ใช่แล้ว จริง ๆ แล้วหูของคุณ
  • 0:38 - 0:40
    มีหน้าที่สำคัญอีกอย่าง นอกจากการฟัง
  • 0:40 - 0:41
    หูชั้นในสุด มีกลุ่มโครงสร้างอวัยวะ
  • 0:41 - 0:43
    ที่เรียกว่า ระบบรับรู้การทรงตัว
  • 0:43 - 0:45
    ซึ่งทำให้เรารับรู้ถึงความสมดุล และการเคลื่อนไหว
  • 0:45 - 0:47
    ภายในประกอบไปด้วยท่อเล็ก ๆ
    รูปครึ่งวงกลม 3 ท่อ
  • 0:47 - 0:48
    ซึ่งใช้รับรู้การหมุน
  • 0:48 - 0:50
    ในแต่ละมิติ
  • 0:50 - 0:52
    และยังมีถุง 2 ถุงที่มีขน
  • 0:52 - 0:53
    และของเหลวบรรจุอยู่
  • 0:53 - 0:54
    ซึ่งเมื่อเราขยับ
  • 0:54 - 0:55
    ของเหลวจะทำให้ขนขยับด้วย
  • 0:55 - 0:56
    ซึ่งจะบอกสมอง
  • 0:56 - 0:57
    ว่าคุณกำลังเคลื่อนที่ในแนวราบ
  • 0:57 - 0:58
    หรือแนวดิ่ง
  • 0:58 - 0:59
    จากทั้งหมดนี้
  • 0:59 - 1:00
    ร่างกายจึงสามารถรับรู้
  • 1:00 - 1:01
    ว่าคุณกำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทางไหน
  • 1:01 - 1:02
    คุณเร่งความเร็วขึ้นเท่าไหร่
  • 1:02 - 1:03
    และแม้กระทั้งด้วยมุมเท่าไหร่
  • 1:03 - 1:04
    ดังนั้น เมื่อคุณอยู่ในรถ
  • 1:04 - 1:06
    ระบบรับรู้การทรงตัว
    จะรับรู้การเคลื่อนที่ของคุณอย่างถูกต้อง
  • 1:06 - 1:08
    แต่ตาคุณไม่เห็นการเคลื่อนที่
  • 1:08 - 1:10
    โดยเฉพาะเมื่อคุณจดจ้องอยู่ที่หนังสือ
  • 1:10 - 1:11
    อาจเกิดสถานการณ์ตรงกันข้ามก็ได้
  • 1:11 - 1:12
    เช่นคุณกำลังนั่งอยู่ในโรงหนัง
  • 1:12 - 1:14
    แล้วกล้องกวาดภาพไปเป็นมุมกว้าง
  • 1:14 - 1:15
    คราวนี้ตาคุณ
  • 1:15 - 1:16
    จะคิดว่าคุณกำลังเคลื่อนที่
  • 1:16 - 1:18
    ขณะที่หูรู้ว่าคุณกำลังนั่งอยู่กับที่
  • 1:18 - 1:19
    แต่ว่า ทำไมข้อมูลที่ขัดกันนี้
  • 1:19 - 1:21
    ต้องทำให้เรารู้สึกคลื่นเหียนด้วย?
  • 1:21 - 1:23
    นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน
  • 1:23 - 1:25
    แต่คิดว่าน่าจะมีคำอธิบายเชิงวิวัฒนาการอยู่
  • 1:25 - 1:27
    ดังที่คุณทราบ พาหนะหรือวิดีโอที่วิ่งเร็ว ๆ
  • 1:27 - 1:29
    เพิ่งจะมีขึ้นเมื่อร้อยสองร้อยปีนี้เอง
  • 1:29 - 1:31
    แค่ชั่วพริบตาในกรอบเวลาวิวัฒนาการ
  • 1:31 - 1:32
    ในช่วงประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของพวกเรา
  • 1:32 - 1:33
    ไม่ค่อยมีสถานการณ์
  • 1:33 - 1:35
    ที่ประสาทรับรู้จะขัดแย้งกันแบบนี้
  • 1:35 - 1:37
    ยกเว้นตอนกินยาพิษ
  • 1:37 - 1:38
    เพราะว่ายาพิษ
  • 1:38 - 1:40
    ไม่ช่วยให้อยู่รอด
  • 1:40 - 1:41
    ร่างกายจึงวิวัฒนาการวิธี
  • 1:41 - 1:43
    ซึ่งไม่น่าอภิรมย์
  • 1:43 - 1:44
    ในการขจัดสิ่งที่เรากินเข้าไป
  • 1:44 - 1:46
    แล้วทำให้มึนงง ออกไปโดยตรง
  • 1:46 - 1:47
    ทฤษฎีนี้ฟังดูมีเหตุมีผลดี
  • 1:47 - 1:48
    แต่ก็อธิบายหลายประเด็นไม่ได้
  • 1:48 - 1:50
    เช่น ทำไมผู้หญิง
  • 1:50 - 1:51
    ถึงเมารถมากกว่าผู้ชาย
  • 1:51 - 1:53
    หรือ ทำไมผู้โดยสารถึงคลื่นไส้
  • 1:53 - 1:54
    ง่ายกว่าคนขับ
  • 1:54 - 1:55
    อีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า
  • 1:55 - 1:56
    สาเหตุน่าจะมาจาก
  • 1:56 - 1:58
    การที่เราอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
  • 1:58 - 1:59
    จึงยากที่จะทรงตัว
  • 1:59 - 2:01
    ในท่าทางที่เป็นธรรมชาติได้
  • 2:01 - 2:01
    งานวิจัยพบว่า
  • 2:01 - 2:02
    เมื่อเราดำอยู่ใต้น้ำ
  • 2:02 - 2:03
    หรือแค่เปลี่ยนท่วงท่า
  • 2:03 - 2:05
    ก็ช่วยลดผลของการเมารถ
  • 2:05 - 2:06
    ได้อย่างมาก
  • 2:06 - 2:08
    แต่ก็อีกนั่นแหละ เราไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไรกันแน่
  • 2:08 - 2:10
    เราต่างรู้จักวิธีแก้อาการเมารถ
  • 2:10 - 2:11
    ที่ใช้กันทั่วไป
  • 2:11 - 2:12
    มองไปที่เส้นขอบฟ้า
  • 2:12 - 2:13
    เคี้ยวหมากฝรั่ง
  • 2:13 - 2:14
    ซื้อยาแก้เมามากิน
  • 2:14 - 2:15
    แต่ไม่มีวิธีไหนเลยที่ได้ผลเสมอไป
  • 2:15 - 2:16
    หรือช่วยแก้
  • 2:16 - 2:18
    อาการเมารถอย่างรุนแรงได้
  • 2:18 - 2:19
    และบางเรื่องก็ใหญ่หลวง
  • 2:19 - 2:21
    ยิ่งกว่าแค่การไม่ต้องนั่งเซ็ง
  • 2:21 - 2:22
    ระหว่างนั่งรถไปไกล ๆ
  • 2:22 - 2:24
    ที่นาซ่า นักบินอวกาศถูกเหวี่ยงสู่อวกาศ
  • 2:24 - 2:26
    ด้วยความเร็ว 17,000 ไมล์ต่อชั่วโมง
  • 2:26 - 2:28
    การเมารถจึงเป็นปัญหาใหญ่
  • 2:28 - 2:29
    ดังนั้นนอกจากการวิจัย
  • 2:29 - 2:30
    เทคโนโลยียุคอวกาศใหม่เอี่ยมแล้ว
  • 2:30 - 2:32
    นาซ่ายังทุ่มเทเวลามากมาย
  • 2:32 - 2:33
    พยายามค้นหา
  • 2:33 - 2:34
    วิธีทำให้นักบินอวกาศไม่อาเจียน
  • 2:34 - 2:36
    อาหารที่เตรียมมาอย่างดี สำหรับกินในอวกาศ ออกมาหมด
  • 2:36 - 2:38
    เช่นเดียวกับการทำความเข้าใจปริศนาของการนอน
  • 2:38 - 2:39
    หรือการรักษาไข้หวัด
  • 2:39 - 2:41
    การเมารถก็ยังคงเป็นหนึ่ง
  • 2:41 - 2:42
    ในปริศนาที่ดูเหมือนจะเรียบง่าย
  • 2:42 - 2:44
    ที่ถึงแม้วิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าไปมากแค่ไหน
  • 2:44 - 2:46
    เราก็ยังแทบไม่เข้าใจมันอยู่ดี
  • 2:46 - 2:48
    บางที สักวันหนึ่ง สาเหตุที่แท้จริง
  • 2:48 - 2:49
    ของการเมารถอาจถูกค้นพบ
  • 2:49 - 2:50
    ทำให้เรา
  • 2:50 - 2:51
    มีวิธีที่มีประสิทธิภาพสมบูรณ์ในการป้องกันมัน
  • 2:51 - 2:54
    แต่วันนั้นยังคงอยู่ที่ปลายขอบฟ้า
Title:
ปริศนาของการเมารถ - โรส อีฟเลธ (Rose Eveleth)
Speaker:
Rose Eveleth
Description:

ชมบทเรียนเต็ม: http://ed.ted.com/lessons/the-mystery-of-motion-sickness-rose-eveleth

ถึงแม้ว่าหนึ่งในสามของประชากรจะมีอาการเมารถ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่แน่ใจว่าอะไรกันแน่ที่เป็นสาเหตุของมัน เหมือนกับไข้หวัด ซึ่งเป็นปัญหาที่ดูเหมือนจะเรียบง่าย แต่ก็ยังไม่มีวิธีรักษา และถ้าคุณคิดว่าการนั่งรถกับครอบครัวไปที่ไกล ๆ มันแย่แล้ว ลองคิดถึงนักบินอวกาศที่เมาจรวดสิ! โรส อีฟเลธ อธิบายว่ามีอะไรเกิดขึ้นในร่างกาย ขณะที่เราพะอืดพะอมอยู่ในรถ

บทเรียนโดย โรส อีฟเลธ อนิเมชั่นโดย ทอม แกรน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:10
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The mystery of motion sickness
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The mystery of motion sickness
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The mystery of motion sickness
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The mystery of motion sickness
Pattapon Kasemtanakul accepted Thai subtitles for The mystery of motion sickness
Pattapon Kasemtanakul edited Thai subtitles for The mystery of motion sickness
Pattapon Kasemtanakul edited Thai subtitles for The mystery of motion sickness
Nuchapong Wongrajit edited Thai subtitles for The mystery of motion sickness

Thai subtitles

Revisions