Return to Video

ทำไมฉลามถึงเจ๋ง - เทียร์นี่ ทายส์ (Tierney Thys)

  • 0:08 - 0:11
    ฉลามได้รับการยกย่อง
    โดยวัฒนธรรมพื้นเมืองบางแห่ง
  • 0:11 - 0:13
    ว่าเป็นเทพผู้ทรงพลัง
  • 0:13 - 0:17
    ยกตัวอย่างเช่น ชาวฟิจิเชื่อว่า
    เทพฉลาม ดาคูวาคา
  • 0:17 - 0:20
    สามารถปกป้องชาวประมง
    จากภยันตรายในทะเลได้
  • 0:20 - 0:24
    และทุกวันนี้ ฉลามถูกมองว่า
    เป็นสุดยอดนักล่าของมหาสมุทรของโลก
  • 0:24 - 0:27
    และเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
    ที่อยู่บนโลกมายาวนานที่สุดด้วย
  • 0:27 - 0:31
    อะไรกันที่ทำให้ปลาชนิดนี้
    คู่ควรกับตำนานโบราณ
  • 0:31 - 0:33
    และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในทะเล
  • 0:33 - 0:37
    ความสามารถในการล่าส่วนใหญ่
    มาจากลักษณะทางชีวภาพที่โดดเด่นของมัน
  • 0:37 - 0:42
    ที่ถูกขัดเกลามายาวนานกว่า 400 ล้านปี
  • 0:42 - 0:45
    โครงกระดูกอ่อนของมัน
    มีความหนาแน่นน้อยกว่ากระดูกแข็ง
  • 0:45 - 0:48
    และใช้พลังงานในการเคลื่อนที่น้อยกว่า
  • 0:48 - 0:52
    ตับขนาดใหญ่ที่เป็นมันช่วยทำให้
    ร่างกายที่ปราดเปรียวของมันลอยตัวได้
  • 0:52 - 0:56
    และในขณะที่มัดกล้ามเนื้อของปลากระดูกแข็ง
    ยึดกับโครงกระดูกของมันโดยตรง
  • 0:56 - 0:59
    กล้ามเนื้อของฉลามยังเชื่อมกับผิวหนังของมัน
  • 0:59 - 1:02
    การออกแบบที่แสนพิเศษนี้
    ทำให้พวกมันกลายเป็นหลอดอัดความดัน
  • 1:02 - 1:07
    ซึ่งผิวหนังที่เป็นหนามแหลมสามารถส่งแรง
    จากกล้ามเนื้อไปยังหางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 1:07 - 1:10
    ผิวหนังของฉลามยังมีลักษณะที่น่าทึ่งอีก
  • 1:10 - 1:12
    แม้ว่าภายนอกของมันจะดูราบเรียบ
  • 1:12 - 1:16
    ที่ระดับเล็ก ๆ มันมีผิวสัมผัสที่หยาบ
  • 1:16 - 1:18
    นั่นเป็นเพราะเกล็ด
    ที่หน้าตาเหมือนฟันเล็ก ๆ หลายพัน
  • 1:18 - 1:20
    ที่เรียกว่า เกล็ดที่มีลักษณะเหมือนฟันบนผิว
    (dermal denticle)
  • 1:20 - 1:24
    แต่ละเกล็ดถูกเคลือบด้วยสารที่เรียกว่า
    อีนามีลอย (enameloid)
  • 1:24 - 1:27
    ซึ่งทำให้ผิวหนังกลายเป็นโล่ห์
  • 1:27 - 1:29
    นอกจากนี้ โครงสร้างเกล็ดยังแตกต่างกัน
    ไปตลอดลำตัว
  • 1:29 - 1:32
    เพื่อลดเสียงและแรงต้าน
  • 1:32 - 1:34
    เมื่อฉลามเคลื่อนที่แหวกน้ำ
  • 1:34 - 1:36
    ฟันในปากของพวกมันก็เช่นกัน
  • 1:36 - 1:40
    ฉลามผลิตฟันได้มากถึง 50,000 ซึ่
    ในชั่วชีวิตของมัน
  • 1:40 - 1:42
    โดยเฉลี่ย พวกมันสามารถเสียฟัน
    ได้หนึ่งซึ่ต่อสัปดาห์
  • 1:42 - 1:44
    และแต่ละครั้งที่มันเสียฟันไปนั้น
  • 1:44 - 1:46
    ฟันจะถูกแทนที่อย่างรวดเร็ว
  • 1:46 - 1:48
    เนื่องจากชั้นของฟลูออไรด์
    ที่เคลือบฟันของพวกมัน
  • 1:48 - 1:50
    ฟันฉลามยังไม่ผุอีกด้วย
  • 1:50 - 1:52
    แต่ฟันของฉลามไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด
  • 1:52 - 1:55
    พวกมันแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์
    และอาหารที่บริโภค
  • 1:55 - 1:57
    บ้างก็แน่นและแบน
  • 1:57 - 1:59
    ซึ่งเหมาะสำหรับการจับหอย
  • 1:59 - 2:02
    บางพวกก็มีฟันคล้ายเข็ม
    สำหรับการจับกินลูกปลา
  • 2:02 - 2:07
    ปากของฉลามวาฬมีฟันล่างปลายแหลม
    เอาไว้สำหรับยึดเหยื่อ
  • 2:07 - 2:10
    และฟันบนรูปร่างสามเหลี่ยม
    เอาไว้เฉือน
  • 2:10 - 2:16
    ความหลากหลายนี้ทำให้ฉลามกำหนดเหยื่อ
    ที่เป็นเป้าหมายได้ในมหาสมุทรที่กว้างใหญ่
  • 2:16 - 2:20
    หลายสายพันธุ์ยังมีลักษณะจำเพาะ
  • 2:20 - 2:22
    ซึ่งคือความสามารถในการดันขากรรไกรของมัน
    ให้ยื่นออกมานอกปาก
  • 2:22 - 2:24
    ทำให้เปิดปากได้กว้างกว่าเดิม
  • 2:24 - 2:26
    และจับเหยื่อได้แบบไม่ให้ทันตั้งตัว
  • 2:26 - 2:28
    ตลอดการวิวัฒนาการ
  • 2:28 - 2:29
    สมองของฉลามได้ถูกขยาย
  • 2:29 - 2:32
    พร้อม ๆ กับการเจริญเติบโต
    ของอวัยวะรับสัมผัสของมัน
  • 2:32 - 2:35
    ฉลามในยุคปัจจุบัน
    สามารถดมกลิ่นเลือดไม่กี่หยด
  • 2:35 - 2:39
    และได้ยินเสียงใต้น้ำ
    จากระยะที่ห่างออกไป 800 เมตร
  • 2:39 - 2:42
    พวกมันรับฟังความถี่ต่ำ ๆ ได้ค่อนข้างดี
  • 2:42 - 2:44
    รวมถึงสัญญาณที่ถูกปล่อยออกมา
    โดยปลาที่กำลังจะตาย
  • 2:44 - 2:49
    เช่นเดียวกับแมว พวกมันมีเยื่อสะท้อน
    ที่เรียกว่า ทาเพตา ลูซิดา (tapeta lucida)
  • 2:49 - 2:50
    ที่ด้านหลังของดวงตา
  • 2:50 - 2:53
    ซึ่งช่วยปรับปรุงการมองเห็นของมัน
    ในที่ที่มีแสงสว่างน้อยได้อย่างมาก
  • 2:53 - 2:55
    ถ้าหากความสามารถเจ๋ง ๆ เหล่านี้
    ยังไม่พอแล้วล่ะก็
  • 2:55 - 2:58
    ฉลามยังมีสัมผัสที่หกที่เฉียบคม
  • 2:58 - 3:01
    พวกมันยังสามารถล่า
    โดยใช้เครือข่ายเซลล์รับสัมผัสไฟฟ้า
  • 3:01 - 3:04
    ที่เรียกว่า แอมพูลา ออฟ ลอเรนซินิ
    (ampullae of Lorenzini)
  • 3:04 - 3:07
    เซลล์เหล่านี้ถูกบรรจุด้วยเจลที่มีความไวมาก
  • 3:07 - 3:10
    ซึ่งทำให้พวกมันรับสัญญาณไฟฟ้าจากเหยื่อได้
  • 3:10 - 3:12
    ซึ่งรวมถึงการกระตุกเพียงเล็กน้อย
    ของกล้ามเนื้อ
  • 3:12 - 3:14
    บางสายพันธุ์ของฉลามที่โดดเด่นที่สุด
  • 3:14 - 3:19
    อย่างฉลามขาวใหญ่ มาโก (Mako)
    พอร์บีเกิล (Porbeagle) และฉลามแซลมอน
  • 3:19 - 3:22
    ประสบความสำเร็จจากลักษณะที่น่าทึ่งอีกอย่าง
  • 3:22 - 3:25
    นั่นก็คือ เป็นสิ่งมีชีวิตเลือดเย็น
    ที่มีเลือดอุ่น
  • 3:25 - 3:26
    ภายในร่างกายของมัน
  • 3:26 - 3:28
    พวกมันมีหลอดเลือดแดงและดำ
  • 3:28 - 3:31
    ซึ่งเรียกว่า เรเต มิราบิลี (rate mirabile)
  • 3:31 - 3:34
    ที่นี่เอง หลอดเลือดดำที่ถูกทำให้อุ่น
    โดยการทำงานของกล้ามเนื้อของฉลาม
  • 3:34 - 3:38
    วางตัวอยู่ข้าง ๆ หลอดเลือดแดงที่ลำเลียงเลือด
    ที่เย็นและมีออกซิเจนสูงมาจากเหงือก
  • 3:38 - 3:41
    การวางตัวนี้ส่งผ่านความร้อนให้กับเลือด
  • 3:41 - 3:43
    ที่ถูกไหลเวียน
    กลับไปยังอวัยวะสำคัญของร่างกาย
  • 3:43 - 3:46
    กล้ามเนื้อที่อุ่นกว่าจะสามารถว่ายน้ำ
    ได้อย่างรวดเร็ว และทรงพลังกว่า
  • 3:46 - 3:48
    ในขณะที่ช่วงท้องที่อุ่นช่วยในการย่อยอาหาร
  • 3:48 - 3:52
    และทำให้ตัวอ่อนในมดลูกมีพัฒนาการที่รวดเร็ว
  • 3:52 - 3:56
    ตาและสมองที่อุ่นกว่า
    ทำให้ฉลามตื่นตัวในน้ำที่เย็น
  • 3:56 - 4:00
    ด้วยการปรับตัวที่น่าทึ่งนี้
    มันน่าเกรงขามมากกว่าน่าหวาดกลัว
  • 4:00 - 4:03
    จากฉลาม 500 สายพันธุ์
    ที่ท่องไปทั่วมหาสมุทรของเรา
  • 4:03 - 4:07
    น่าเสียดาย ที่หนึ่งในสาม
    ของสายพันธุ์เหล่านี้กำลังถูกคุกคาม
  • 4:07 - 4:08
    เนื่องจากการจับปลาที่มากเกินไป
  • 4:08 - 4:10
    หลังจากการก่อร่างสร้างตัวมานับล้านปี
  • 4:10 - 4:14
    สุดยอดนักล่าเหล่านี้ อาจต้องมาพบ
    กับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมัน
Title:
ทำไมฉลามถึงเจ๋ง - เทียร์นี่ ทายส์ (Tierney Thys)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/why-are-sharks-so-awesome-tierney-thys

ฉลามถูกยกย่องโดยวัฒนธรรมพื้นเมืองบางแห่งว่าเป็นเทพผู้ทรงพลัง และทุกวันนี้ ฉลามถูกมองว่าเป็นสุดยอดนักล่าของมหาสมุทรของโลก อะไรกันที่ทำให้ปลาชนิดนี้คู่ควรกับตำนานโบราณ และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในทะเล เทียร์นี่ ทายส์ พาเราสู่มหาสมุทรเพื่อหาคำตอบ

บทเรียนโดย Tierney Thys, แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:36
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why are sharks so awesome? - Tierney Thys
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Why are sharks so awesome? - Tierney Thys
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why are sharks so awesome? - Tierney Thys
Rawee Ma declined Thai subtitles for Why are sharks so awesome? - Tierney Thys
Rawee Ma edited Thai subtitles for Why are sharks so awesome? - Tierney Thys
Rawee Ma edited Thai subtitles for Why are sharks so awesome? - Tierney Thys
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why are sharks so awesome? - Tierney Thys

Thai subtitles

Revisions