Return to Video

เมื่อใดน้ำจะดื่มได้อย่างปลอดภัย - มีอา นาคามัลลิ

  • 0:08 - 0:11
    ลองดูน้ำในแก้วนี้สิ
  • 0:11 - 0:14
    เย็นชื่นใจ ชุ่มชื่น และมีคุณค่าอย่างยิ่ง
    ต่อการดำรงชีวิตของเรา
  • 0:14 - 0:16
    อย่างไรก็ตาม แต่ก่อนดื่ม
  • 0:16 - 0:21
    เราจะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำในแก้ว
    ปราศจากจุลชีพก่อโรค
  • 0:21 - 0:23
    และสิ่งปนเปื้อนต่างๆ
  • 0:23 - 0:26
    หนึ่งในสิบของผู้คนบนโลก
    จริง ๆ แล้ว ไม่สามารถแน่ใจได้เลย
  • 0:26 - 0:28
    ว่าน้ำที่เขาใช้อยู่สะอาด
    และปลอดภัยพอที่จะดื่มหรือไม่
  • 0:28 - 0:31
    ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นล่ะ
  • 0:31 - 0:33
    สุขอนามัยที่ไม่เพียงพอ
  • 0:33 - 0:35
    การป้องกันแหล่งน้ำดื่มที่ไม่ดี
  • 0:35 - 0:37
    และสุขลักษณะที่ไม่เหมาะสม
  • 0:37 - 0:40
    มักนำไปสู่น้ำเน่าเสีย
    และน้ำที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกูล
  • 0:40 - 0:43
    ซึ่งเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ชั้นดีเยี่ยม
    ของเชื้อแบคทีเรียอันตราย
  • 0:43 - 0:44
    ไวรัส
  • 0:44 - 0:46
    ปรสิต
  • 0:46 - 0:49
    และผลกระทบของจุลชีพก่อโรคพวกนี้
    กำลังสร้างความตื่นตกใจเป็นอย่างมาก
  • 0:49 - 0:53
    โรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากน้ำที่ไม่ปลอดภัย
    คือหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิต
  • 0:53 - 0:56
    ในเด็กอายุต่ำกว่าห้าปีทั่วโลก
  • 0:56 - 0:59
    และตามรายงานขององค์การสหประชาชาติ ค.ศ 2010
  • 0:59 - 1:06
    โรคภัยต่าง ๆ ที่เกิดจากน้ำปนเปื้อนเชื้อโรค
    ได้คร่าชีวิตผู้คนต่อปีมากกว่าสงคราม
  • 1:06 - 1:10
    แต่กระบวนการบำบัดน้ำที่เหมาะสม
    สามารถรับมือภัยคุกคามนี้ได้
  • 1:10 - 1:12
    ขั้นตอนเหล่านั้นประกอบด้วยสามส่วนคือ
  • 1:12 - 1:13
    การตกตะกอน
  • 1:13 - 1:14
    การกรอง
  • 1:14 - 1:15
    และการฆ่าเชื้อโรค
  • 1:15 - 1:18
    เมื่อน้ำได้ถูกกักเก็บ
    ในแหล่งบำบัดเรียบร้อยแล้ว
  • 1:18 - 1:20
    มันก็พร้อมแล้วสำหรับการทำให้สะอาด
  • 1:20 - 1:23
    ขั้นตอนแรกคือการตกตะกอน
    แค่เพียงต้องใช้เวลา
  • 1:23 - 1:28
    น้ำจะถูกทิ้งไว้โดยปราศจากสิ่งรบกวน
    ให้อนุภาคที่มีน้ำหนักมากกว่าจมลงสู่ก้น
  • 1:28 - 1:31
    แต่บ่อยครั้งอนุภาคต่างๆ
    มักมีขนาดเล็กเกินไป
  • 1:31 - 1:33
    ที่จะถูกแยกออกได้เพียงการตกตะกอนเท่านั้น
  • 1:33 - 1:35
    และจำเป็นต้องผ่านการกรอง
  • 1:35 - 1:38
    แรงโน้มถ่วงดึงดูดน้ำให้ไหลลงผ่าน
    ชั้นต่าง ๆ ของทราย
  • 1:38 - 1:41
    ซึ่งดักอนุภาคที่เหลือ
    ไว้ในรูที่แทรกอยู่ในชั้นทราย
  • 1:41 - 1:44
    เพื่อการเตรียมน้ำ
    สำหรับขั้นตอนสุดท้าย
  • 1:44 - 1:46
    คือการเติมสารฆ่าเชื้อปริมาณหนึ่ง
  • 1:46 - 1:49
    สารเคมี ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานของคลอรีน
    และก๊าซโอโซน
  • 1:49 - 1:52
    ถูกนำมาผสมเข้าไป เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ
  • 1:52 - 1:55
    และเพื่อทำให้ท่อน้ำและระบบจัดเก็บน้ำ
    ปลอดเชื้อโรค
  • 1:55 - 1:59
    คลอรีนมีประสิทธิภาพสูงในการทำลาย
    จุลชีพที่อยู่ในน้ำ
  • 1:59 - 2:01
    แต่การใช้คลอรีนยังคงถูกควบคุมโดยรัฐบาล
  • 2:01 - 2:05
    เพราะมันมีกากสารเคมีที่อาจทำให้เกิดอันตราย
  • 2:05 - 2:09
    และหากเกิดความไม่สมดุลของคลอรีน
    ระหว่างกระบวนการฆ่าเชื้อ
  • 2:09 - 2:12
    ก็สามารถก่อให้เกิดปฏิกริยาเคมีอื่น ๆ
  • 2:12 - 2:15
    เช่น ระดับของกากสารเคมีที่เกิดจากคลอรีน
  • 2:15 - 2:19
    อย่างเช่นไตรฮาโลมีเทน อาจพุ่งสูงขึ้น
    อย่างรวดเร็ว นำไปสู่การกร่อนของท่อน้ำ
  • 2:19 - 2:25
    และการหลุดกร่อนของเหล็ก ทองแดง
    และตะกั่ว สู่น้ำดื่ม
  • 2:25 - 2:28
    การปนเปื้อนน้ำดื่มจากสาเหตุเหล่านี้
    และแหล่งอื่น ๆ
  • 2:28 - 2:29
    ได้แก่ การชะล้าง
  • 2:29 - 2:30
    การหกล้นของสารเคมี
  • 2:30 - 2:32
    และการไหลออกไป
  • 2:32 - 2:34
    มีความเชื่อมโยง
    กับผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว
  • 2:34 - 2:35
    เช่น มะเร็ง
  • 2:35 - 2:37
    โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางระบบประสาท
  • 2:37 - 2:39
    และ การแท้งบุตร
  • 2:39 - 2:42
    น่าเสียดายที่การวิเคราะห์ความเสี่ยง
    ที่แม่นยำ
  • 2:42 - 2:45
    ของน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีนั้นเป็นเรื่องยาก
  • 2:45 - 2:48
    ดังนั้น ในขณะที่สารฆ่าเชื้อ
    ทำให้เราปลอดภัยยิ่งขึ้น
  • 2:48 - 2:50
    โดยการกำจัดจุลชีพก่อโรคออกไป
  • 2:50 - 2:52
    แต่ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ได้กำหนด
    ขอบเขตทั้งหมด
  • 2:52 - 2:55
    ของการผสมสารเคมี
    ในน้ำที่เราดื่ม
  • 2:55 - 2:58
    ว่าจะส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์
    อย่างไรบ้าง
  • 2:58 - 3:02
    ดังนั้นคุณจะบอกได้อย่างไร
    ว่าน้ำที่คุณนำมาใช้ได้
  • 3:02 - 3:04
    ไม่ว่าจากก๊อกน้ำหรือแหล่งอื่น
  • 3:04 - 3:05
    สามารถดื่มได้หรือไม่
  • 3:05 - 3:07
    อันดับแรก ความขุ่นที่มากเกินไป
  • 3:07 - 3:09
    ร่องรอยสารประกอบอินทรีย์
  • 3:09 - 3:14
    หรือความหนาแน่นที่สูงของโลหะหนัก
    เช่น สารหนู โครเมียมหรือตะกั่ว
  • 3:14 - 3:17
    บ่งชี้ว่าน้ำนั้น
    ไม่เหมาะสำหรับการดื่ม
  • 3:17 - 3:20
    สารปนเปื้อนหลายชนิด
    เช่น ตะกั่ว หรือ สารหนู
  • 3:20 - 3:22
    จะไม่เห็นชัดเจนหากไม่ทำการทดสอบ
  • 3:22 - 3:24
    แต่ร่องรอยบางอย่างเช่น ความขุ่น
  • 3:24 - 3:26
    การมีสีน้ำตาลหรือเหลือง
  • 3:26 - 3:27
    กลิ่นเน่าเหม็น
  • 3:27 - 3:30
    หรือกลิ่นของคลอรีนที่ฉุนเกินไป
  • 3:30 - 3:33
    สามารถบ่งชี้ถึงความจำเป็น
    ที่จะต้องตรวจสอบต่อไป
  • 3:33 - 3:35
    ชุดอุปกรณ์ทดสอบน้ำสามารถพัฒนาได้อีกขั้น
  • 3:35 - 3:40
    และสามารถยืนยันการมีอยู่
    ของสิ่งปนเปื้อนและสารเคมีหลายชนิดได้
  • 3:40 - 3:42
    ในการปนเปื้อนหลายประเภทนั้น
  • 3:42 - 3:46
    มีหลายวิธีที่ใช้บำบัดน้ำ ณ จุดใช้งาน
    แทนการบำบัดใกล้แหล่งต้นทาง
  • 3:46 - 3:50
    การบำบัดน้ำตรงจุดใช้งาน
    แท้จริงแล้วมีมานานหลายพันปีแล้ว
  • 3:50 - 3:56
    ชาวอียิปโบราณต้มสารปนเปื้อนอินทรีย์
    ให้หายไปด้วยความร้อนจากดวงอาทิตย์
  • 3:56 - 3:59
    และในยุคกรีกโบราณ ฮิปโปเครตีส
    ได้ออกแบบถุง
  • 3:59 - 4:02
    ที่ดักตะกอนรสชาติที่ไม่ดี
    ออกจากน้ำ
  • 4:02 - 4:06
    ปัจจุบัน กระบวนการบำบัด ณ จุดใช้งาน
    มักเกี่ยวข้องกับการทำให้แตกตัวเป็นไอออน
  • 4:06 - 4:08
    เพื่อลดปริมาณแร่ธาตุ
  • 4:08 - 4:10
    นอกจากนี้พวกเขายังใช้วิธีกรองน้ำแบบดูดซับ
  • 4:10 - 4:13
    โดยใช้วัสดุมีรูพรุน
    ที่เรียกว่าถ่านกัมมันต์
  • 4:13 - 4:18
    กรองน้ำเพื่อแยกสารปนเปื้อน
    และกากเคมีออกไป
  • 4:18 - 4:21
    แม้ว่ามันจะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาระยะยาวเสมอไป
  • 4:21 - 4:25
    แต่การบำบัดน้ำ ณ จุดใช้งาน เคลื่อนย้ายได้
    ติดตั้งง่าย และดัดแปลงได้
  • 4:25 - 4:29
    และในบริเวณที่ไม่มีระบบเต็มรูปแบบ
  • 4:29 - 4:32
    หรือในพื้นที่ซึ่งน้ำได้ถูกปนเปื้อน
    มาตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายทาง
  • 4:32 - 4:37
    ระบบเหล่านี้สามารถบ่งชี้ความต่าง
    ระหว่างความเป็นและความตายได้
  • 4:37 - 4:40
    น้ำสะอาดยังคงเป็นสิ่งมีค่า
    และเป็นโภคภัณฑ์ที่มักขาดแคลน
  • 4:40 - 4:45
    มีพวกเราเกือบจะแปดร้อยล้านคน
    ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงมันได้ง่ายนัก
  • 4:45 - 4:48
    ข่าวดีคือการพัฒนาที่ทำอย่างต่อเนื่อง
    ในเรื่องการบำบัดน้ำ
  • 4:48 - 4:50
    ทั้งระบบขนาดใหญ่และเล็ก
  • 4:50 - 4:53
    สามารถบรรเทาภาวะไม่ปลอดภัยต่าง ๆ ได้มากมาย
  • 4:53 - 4:55
    การใช้ระบบที่เหมาะสม
    ในสถานที่ซึ่งเป็นที่ต้องการ
  • 4:55 - 4:58
    และการเอาใจใส่อย่างถี่ถ้วน
    แก่ระบบที่มีอยู่ก่อนแล้ว
  • 4:58 - 5:02
    จะช่วยบรรลุหนึ่งในความต้องการพื้นฐาน
    ของมนุษย์ได้
Title:
เมื่อใดน้ำจะดื่มได้อย่างปลอดภัย - มีอา นาคามัลลิ
Description:

น้ำให้ความสดชื่น ให้ความชุ่มชื่นและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเรา แต่น้ำสะอาดยังคงเป็นสิ่งล้ำค่าและมักเป็นโภคภัณฑ์ที่ขาดแคลน ผู้คนเกือบ 800 ล้านคนทั่วโลกยังไม่สามารถหาใช้มันได้ในชีวิตประจำวัน ทำไมล่ะ? และคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำที่คุณใช้อยู่ ไม่ว่าจะมาจากก๊อกน้ำหรือแหล่งอื่น ๆ นั้นสามารถดื่มได้? มีอา นาคามัลลิ พาไปสำรวจการปนเปื้อนของน้ำและการบำบัดน้ำ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:24

Thai subtitles

Revisions