Return to Video

เบน โกเดเคอร์ (Ben Goldacre): สิ่งที่คุณแพทย์ไม่รู้เกี่ยวกับยาที่พวกเขาสั่งให้คนไข้

  • 0:00 - 0:03
    สวัสดีครับ ครับ เจ้าหนุ่มคนนี้
  • 0:03 - 0:05
    เขาคิดว่าเขาสามารถบอกอนาคตคุณได้
  • 0:05 - 0:07
    เขาชื่อนอสตราดามุส แม้ว่าในรูปนี้ดวงอาทิตย์
  • 0:07 - 0:11
    ทำให้เขาดูเหมือนชอน คอนเนอรี่บ้างเล็กน้อย (เสียงหัวเราะ)
  • 0:11 - 0:14
    และเหมือนกับพวกคุณส่วนใหญ่ ผมเดาว่า
    ผมไม่เชื่อจริงๆ
  • 0:14 - 0:15
    ว่าคนเราสามารถมองเห็นอนาคตได้
  • 0:15 - 0:18
    ผมไม่เชื่อเรื่องการมองเห็นอนาคต แต่บางครั้งบางคราว
  • 0:18 - 0:21
    คุณก็ได้ยินว่าใครบางคนสามารถทำนาย
    สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
  • 0:21 - 0:24
    และนั่นอาจเป็นเพราะว่าบังเอิญโชคช่วย
    และเราก็เพียงแค่
  • 0:24 - 0:26
    ได้ยินเกี่ยวกับลูกฟลุ๊ค และเรื่องแปลกๆนั้น
  • 0:26 - 0:31
    เราไม่ได้ยินทุกๆครั้งที่ คนเราทำนายอะไรผิดๆ
  • 0:31 - 0:33
    ทีนี้เราคาดว่าเรื่องอย่างนี้จะเกิดกับเรื่องไร้สาระ
  • 0:33 - 0:36
    เกี่ยวกับการมองเห็นอนาคต แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า
  • 0:36 - 0:39
    เรามีปัญหาอย่างเดียวกันนี้ในวงการวิชาการ
  • 0:39 - 0:44
    และในวงการแพทย์ และในบริบทนี้ ผลของมันหมายถึงชีวิต
  • 0:44 - 0:47
    ดังนั้น ประการแรก ลองคิดถึงแค่การมองเห็นอนาคต
    อย่างที่ผลมันปรากฎออกมาว่า
  • 0:47 - 0:50
    เมื่อปีที่แล้วนี้เอง นักวิจัยชื่อ ดาริล เบม (Daryl Bem) ได้ทำ
  • 0:50 - 0:51
    งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่เขาพบหลักฐาน
  • 0:51 - 0:55
    เรื่องพลังการมองเห็นอนาคต ของนักศึกษาปริญญาตรี
  • 0:55 - 0:58
    และงานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
    ที่ตรวจทานโดยผู้เชี่ยวชาญ
  • 0:58 - 1:00
    และคนส่วนใหญ่ที่อ่านเรื่องนี้ก็จะบอกว่า "โอเค
  • 1:00 - 1:02
    ก็ยุติธรรมดีหรอกนะ แต่ผมคิดว่ามันเป็นโชคบังเอิญ
    มันประหลาดนะ เพราะผมรู้ว่า
  • 1:02 - 1:05
    ถ้าผมทำการศึกษาแล้วไม่พบหลักฐานว่า
  • 1:05 - 1:07
    นักศึกษาปริญญาตรี มีพลังทำนายอนาคต
  • 1:07 - 1:11
    งานก็คงจะไม่ได้ตีพิมพ์ในวารสารหรอก
  • 1:11 - 1:14
    และที่จริง เราก็รู้กันว่าเป็นอย่างนั้นจริง เพราะ
  • 1:14 - 1:16
    นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มพยายามที่จะ
  • 1:16 - 1:20
    ทดลองซ้ำ เพื่อให้ได้ผลเหมือนอย่างการศึกษาญาณวิเศษนั้น
  • 1:20 - 1:23
    แล้วเมื่อพวกเขาส่งผลไปที่วารสารเดียวกันนั้น
  • 1:23 - 1:26
    วารสารนั้นตอบกลับว่า "ไม่ เราไม่สนใจจะพิมพ์
  • 1:26 - 1:30
    ผลงานที่ทำซ้ำ เราไม่สนใจข้อมูลเชิงลบของคุณหรอก"
  • 1:30 - 1:33
    แค่นี้ก็เป็นหลักฐานแล้วว่าเป็นอย่างไร
    ในงานเขียนเชิงวิชาการ
  • 1:33 - 1:38
    เราจะเห็นตัวอย่างหนึ่งของอคติ ในภาพจริง
  • 1:38 - 1:41
    ของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ที่ได้ถูกทำขึ้น
  • 1:41 - 1:46
    แต่นั่นไม่ได้แค่เกิดขึ้น ในสาขาวิชาการของจิตวิทยาที่น่าเบื่อ
  • 1:46 - 1:50
    มันเกิดขึ้นใน ตัวอย่างเช่น การวิจัยโรคมะเร็งด้วย
  • 1:50 - 1:54
    เดือนมีนาคม 2012 หนึ่งเดือนที่ผ่านมานี้เอง นักวิจัยจำนวนหนึ่ง
  • 1:54 - 1:57
    รายงานในวารสาร Nature ว่าพวกเขาได้พยายามอย่างไร
  • 1:57 - 2:01
    ในการทำซํ้า งานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานต่างๆกัน
    53 งานวิจัย เพื่อตรวจดู
  • 2:01 - 2:04
    เป้าหมายในการรักษาโรคมะเร็งที่มีศักยภาพ
  • 2:04 - 2:07
    และจากงานวิจัยทั้ง 53 นั้น พวกเขาทำซ้ำได้
  • 2:07 - 2:10
    สำเร็จเพียง 6 เท่านั้น
  • 2:10 - 2:15
    47 จาก 53 เป็นการทดลองที่ทำซ้ำแล้วไม่ให้ผลเหมือนเดิม
  • 2:15 - 2:18
    และพวกเขา เขียนในอภิปรายผลว่า มันน่าจะเป็นเช่นนี้
  • 2:18 - 2:21
    เพราะว่าผลงานที่แปลกประหลาด ได้รับการตีพิมพ์
  • 2:21 - 2:23
    ผู้คนจะทำการศึกษาวิจัยเยอะแยะมากมาย
  • 2:23 - 2:25
    แล้วเวลาที่การทดลองเป็นผลสำเร็จ งานก็ได้ตีพิมพ์
  • 2:25 - 2:27
    และเวลาที่งานไม่เป็นผลสำเร็จ ก็ไม่ได้รับการตีพิมพ์
  • 2:27 - 2:31
    และข้อเสนอแรกจากพวกเขาในการแก้ปัญหานี้
  • 2:31 - 2:34
    เพราะว่านี่เป็นปัญหา เพราะว่ามันส่งเราเดินไปสู่ทางตัน
  • 2:34 - 2:36
    ข้อเสนอแรกของพวกเขาในการแก้ปัญหานี้ ก็คือ
  • 2:36 - 2:39
    ทำให้งานวิจัยวิทยาศาสตร์ที่มีผลเป็นลบตีพิมพ์ ได้ง่ายขึ้น
  • 2:39 - 2:42
    และเปลี่ยนแปลงแรงจูงใจ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์
  • 2:42 - 2:47
    ได้รับการส่งเสริมให้แสดงผลการทดลองที่เป็นลบของเขา
    ต่อสาธารณชนให้มากขึ้น
  • 2:47 - 2:50
    แต่มันไม่ได้เกิดขึ้นแค่ ในโลกที่น่าเบื่อ
  • 2:50 - 2:54
    ของงานวิจัยมะเร็งเชิงวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
    ระยะก่อนทดลองในมนุษย์
  • 2:54 - 2:58
    มันยังเกิดขึ้นกับเนื้อหนังจริงๆด้วย
  • 2:58 - 3:01
    ของการแพทย์เชิงวิชาการ ดังนั้นในปี 1980
  • 3:01 - 3:05
    นักวิจัยบางคนทำการศึกษายาชื่อ โลร์คาไนด์ (lorcainide)
  • 3:05 - 3:07
    เป็นยาต้านอาการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ
  • 3:07 - 3:09
    เป็นยาที่ระงับจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่ปกติ
  • 3:09 - 3:11
    และแนวคิดก็คือ หลังจากที่คนมีอาการหัวใจวาย
  • 3:11 - 3:13
    เป็นไปได้มากทีเดียว ที่พวกเขาจะมีจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • 3:13 - 3:15
    ดังนั้น ถ้าเราให้ยาที่ระงับจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่ปกติ
  • 3:15 - 3:19
    มันจะช่วยเพิ่ม โอกาสในการรอดชีวิตของพวกเขา
  • 3:19 - 3:22
    เบื้องต้นของการพัฒนา พวกเขาทำการทดสอบที่เล็กมาก
  • 3:22 - 3:24
    ในผู้ป่วยแค่ไม่ถึงร้อยคน
  • 3:24 - 3:27
    คนไข้ห้าสิบคนได้รับโลร์คาไนด์ และในกลุ่มคนไข้นั้น
    10 คนเสียชีวิต
  • 3:27 - 3:30
    อีก 50 คนได้รับยาหลอกที่ทำจากน้ำตาล
  • 3:30 - 3:33
    ซึ่งไม่มีสารออกฤทธิ์ใดๆ และเพียงหนึ่งในนั้นเสียชีวิต
  • 3:33 - 3:36
    ดังนั้น พวกเขาจึงพิจารณาถูกต้องได้ว่า
    ยานี้ไม่ประสบผลสำเร็จ
  • 3:36 - 3:39
    และการทำโฆษณาเพื่อการค้าก็ถูกระงับไป
    และเพราะว่า
  • 3:39 - 3:43
    พอการโฆษณาไม่มี การทดลองนี้ก็เลยไม่เคยได้รับการตีพิมพ์
  • 3:43 - 3:49
    แต่โชคร้าย กว่า 5 หรือ 10 ปีต่อจากนั้น
  • 3:49 - 3:52
    บริษัทอื่นๆ มีความคิดเดียวกันเกี่ยวกับยา
  • 3:52 - 3:55
    ที่จะป้องกันอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
    ในคนที่เคยมีอาการหัวใจวาย
  • 3:55 - 3:57
    ยาเหล่านี้ถูกนำเข้าสู่ตลาด มันถูกจ่ายตามใบสั่งยา
    ไปใช้อย่างกว้างขวาง
  • 3:57 - 4:00
    เพราะว่า โรคหัวใจวายนั้น พบได้ทั่วไป
  • 4:00 - 4:04
    และใช้เวลานานมากก่อนที่เราจะพบว่า ยาเหล่านี้
  • 4:04 - 4:07
    ยังเป็นสาเหตุ ของอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น
  • 4:07 - 4:10
    ซึ่งก่อนที่เราจะตรวจพบสัญญาณปลอดภัยนั้น
  • 4:10 - 4:16
    คนกว่า 100,000 ในอเมริกาต้องตาย อย่างไม่มีสาเหตุอันควร
  • 4:16 - 4:19
    จากการสั่งใช้ ยาต้านหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะนี้
  • 4:19 - 4:23
    ทีนี้ จริงๆแล้วในปี 1993
  • 4:23 - 4:26
    นักวิจัยที่ทำการศึกษาของปี 1980นั้น หรือการวิจัยแต่แรกนั้น
  • 4:26 - 4:30
    ตีพิมพ์บทความขอโทษต่อวงการวิทยาศาสตร์
    [mea culpa แปลว่า ข้าผิดเอง]
  • 4:30 - 4:33
    ซึ่งเขาได้กล่าวว่า "เมื่อเราได้ทำการทดลองในปี 1980
  • 4:33 - 4:35
    เราคิดว่า อัตราการเสียชีวิตที่เกิดขึ้น
  • 4:35 - 4:38
    ในกลุ่มผู้ใช้ยาโลร์คาไนด์นั้น เป็นผลมาจากความบังเอิญ"
  • 4:38 - 4:41
    การพัฒนาของยาโลคาไนด์
    ถูกละทิ้งด้วยเหตุผลทางการค้า
  • 4:41 - 4:42
    และการศึกษานี้ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์
  • 4:42 - 4:45
    มันเป็นตัวอย่างที่ดี ของความลำเอียงในการตีพิมพ์
  • 4:45 - 4:46
    นั่นเป็นคำเฉพาะสำหรับปรากฏการณ์ซึ่ง
  • 4:46 - 4:51
    ข้อมูลการทดลองไม่เป็นที่พอใจหายไป ไม่ได้รับการตีพิมพ์
  • 4:51 - 4:54
    ถูกทิ้งไว้ไม่นำมาใช้ และเขาได้บอกว่าผลการทดลองนั้น
  • 4:54 - 4:59
    "น่าจะได้ให้คำเตือนเสียแต่เนิ่นๆ ถึงปัญหาในภายภาคหน้า"
  • 4:59 - 5:02
    นี่เป็นเรื่องราวจากวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
  • 5:02 - 5:07
    นี่เป็นเรื่องราว จากเมื่อ 20, 30 ปีที่แล้ว
  • 5:07 - 5:10
    บรรยากาศการตีพิมพ์ทางวิชาการเปลี่ยนไปมากในปัจจุบันนี้
  • 5:10 - 5:14
    มีวารสารวิชาการเช่น "Trial" ที่เป็นวารสารเปิดเสรี
  • 5:14 - 5:17
    ซึ่งจะตีพิมพ์การทดลองใดๆก็ตามที่ทดลองในมนุษย์
  • 5:17 - 5:20
    ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นเชิงบวก หรือเป็นเชิงลบ
  • 5:20 - 5:24
    แต่ปัญหาของผลการทดลองที่เป็นลบ
    ที่หายไป ไม่ได้รับการปฎิบัติ
  • 5:24 - 5:27
    ยังพบได้เยอะมาก ที่จริงแล้วมันเยอะมากเสียจน
  • 5:27 - 5:33
    มันบาดลึกไปถึงแก่น
    ของการแพทย์ที่ยึดเอาหลักฐานเป็นที่ตั้ง
  • 5:33 - 5:36
    นี่คือยาที่เรียกว่า โรบ๊อกซิทิน (roboxetine) และมันเป็นยา
  • 5:36 - 5:39
    ที่ผมเองเคยเขียนใบสั่งให้คนไข้ใช้
    มันเป็นยาต้านอาการซึมเศร้า
  • 5:39 - 5:41
    และผมเป็นหมอหนอนหนังสือ
    ผมจึงอ่านงานวิจัยทั้งหมด
  • 5:41 - 5:44
    ที่ผมหาได้เกี่ยวกับยาตัวนี้ ผมอ่านงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์
  • 5:44 - 5:47
    ที่แสดงให้เห็นว่า ยาโรบ๊อกซิทินนั้นดีกว่ายาหลอก
  • 5:47 - 5:49
    และผมอ่านงานวิจัยอื่นที่ตีพิมพ์อีกสามเรื่อง
  • 5:49 - 5:53
    ที่แสดงให้เห็นว่า ยาโรบ๊อกซิทินดีพอๆกับยาต้านอาการซึมเศร้าตัวอื่นๆ
  • 5:53 - 5:55
    และเพราะว่า คนไข้ไม่ได้ตอบสนองต่อยาอื่นๆได้ดีกว่า
  • 5:55 - 5:58
    ผมก็คิด เอ ถ้าโรบ๊อกซิทินก็ดีพอๆกัน ก็น่าจะลองดูนะ
  • 5:58 - 6:01
    แต่มันกลายเป็นว่า ผมถูกทำให้เข้าใจผิด ที่จริงแล้ว
  • 6:01 - 6:03
    มีการทดลองเจ็ดครั้งเพื่อเปรียบเทียบ โรบ๊อกซิทิน
  • 6:03 - 6:06
    กับยาหลอกที่ทำจากน้ำตาล หนึ่งในนั้นให้ผลเชิงบวก
  • 6:06 - 6:08
    และได้รับการตีพิมพ์ แต่ที่เหลือหกครั้งนั้น
  • 6:08 - 6:12
    ได้ผลเชิงลบ และพวกมันถูกทิ้งไป ไม่ได้รับการตีพิมพ์
  • 6:12 - 6:14
    การทดลองสามครั้งได้รับการตีพิมพ์
    เพื่อเปรียบเทียบโรบ๊อกซิทิน
  • 6:14 - 6:16
    กับยาต้านอาการซึมเศร้าอื่นๆ ซึ่งโรบ๊อกซิทิน
  • 6:16 - 6:18
    ก็ให้ผลดีพอๆกัน และมันก็ได้รับการตีพิมพ์
  • 6:18 - 6:23
    แต่ข้อมูลจากคนไข้จำนวนมากกว่าถึงสามเท่า
    ที่เก็บรวบรวมได้
  • 6:23 - 6:24
    ซึ่งแสดงให้เห็นว่า โรบ๊อกซิทินนั้นแย่กว่า
  • 6:24 - 6:29
    การรักษาแบบอื่นๆ แต่การทดลองเหล่านั้นไม่ได้ถูกตีพิมพ์
  • 6:29 - 6:33
    ผมรู้สึกถูกทำให้ไขว้เขว
  • 6:33 - 6:35
    คุณอาจบอกว่า ก็ นั่นมันเป็นตัวอย่างที่ผิดปกติไปอย่างสุดๆ
  • 6:35 - 6:37
    และผมก็ไม่อยากที่จะรู้สึกผิดในแบบเดียวกับ
  • 6:37 - 6:40
    การอ้างอิงที่เลือกมาเฉพาะบางจุดที่นำมายืนยันได้
  • 6:40 - 6:42
    ซึ่งผมกล่าวหาคนอื่นๆอยู่
  • 6:42 - 6:44
    แต่มันกลายเป็นว่า ปรากฏการณ์ของการตีพิมพ์ที่ลำเอียงนี้
  • 6:44 - 6:46
    จริงๆแล้ว ได้มีการศึกษาวิจัยไว้อย่างดีมากๆ
  • 6:46 - 6:48
    ตรงนี้จึงเป็น ตัวอย่างหนึ่งของวิธีที่คุณจะเข้าถึงมันได้
  • 6:48 - 6:50
    แบบจำลองชั้นคลาสสิกก็คือ คุณทำการรวบรวมงานวิจัย
  • 6:50 - 6:53
    ที่คุณรู้ว่าพวกเขาได้ทำการทดลองและทำจนเสร็จสิ้นแล้ว
  • 6:53 - 6:55
    แล้วคุณก็ไปดูว่ามันได้รับการตีพิมพ์ที่ไหน
  • 6:55 - 6:58
    ในเอกสารทางวิชาการบ้าง
    ดังนั้นจึงเป็นการนำการทดลองทั้งหมด
  • 6:58 - 7:00
    ที่เคยทำการศึกษากับยาต้านอาการซึมเศร้า
  • 7:00 - 7:04
    ที่ได้รับการอนุมัติมาแล้วกว่า ช่วง15 ปี
    โดยองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA)
  • 7:04 - 7:07
    พวกเขาเอาการทดลองทั้งหมดนั้น ที่ถูกส่งให้ FDA
    ซึ่งเป็นส่วนของชุดเอกสารเพื่อการขออนุมัติ
  • 7:07 - 7:11
    ดังนั้น นั่นจึงไม่ใช่การทดลองทั้งหมด
    ที่เคยทำการศึกษายาเหล่านี้
  • 7:11 - 7:13
    เพราะว่า เราไม่อาจทราบได้เลยว่า มันมีหรือไม่
  • 7:13 - 7:16
    แต่มันเป็นงานวิจัยที่ถูกทำขึ้น เพื่อขออนุมัติเพื่อออกสู่ตลาด
  • 7:16 - 7:19
    แล้วพวกเขาก็ไปดูว่าการทดลองเหล่านี้ได้ถูกตีพิมพ์หรือไม่
  • 7:19 - 7:21
    ในเอกสารทางวิชาการที่ได้รับการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญ
    และนี่คือสื่งที่เขาพบ
  • 7:21 - 7:24
    เกือบจะแยกออกเป็น 50-50 ทีเดียว
    ครึ่งหนึ่งของการวิจัยเหล่านี้
  • 7:24 - 7:28
    มีผลเป็นเชิงบวก อีกครึ่งเป็นเชิงลบ ตามความเป็นจริง
  • 7:28 - 7:33
    แต่เมื่อพวกเขามองหางานวิจัยเหล่านี้
    ในเอกสารวิชาการที่ได้รับการตรวจทาน
  • 7:33 - 7:35
    สิ่งที่เขาพบนั้นเป็นคนละเรื่อง
  • 7:35 - 7:39
    การศึกษาที่ผลเป็นเชิงลบเพียงสามงานเท่านั้นที่ถูกตีพิมพ์
  • 7:39 - 7:44
    และส่วนงานวิจัยที่มีผลเชิงบวก มีการตีพิมพ์ทั้งหมด
    ขาดไปงานเดียว
  • 7:44 - 7:48
    ถ้าคุณพลิกดูกลับไปกลับมา ระหว่างงานวิจัยสองแบบนั้น
  • 7:48 - 7:50
    คุณจะเห็นความแตกต่างจนแทบช๊อก
  • 7:50 - 7:54
    ระหว่างความเป็นจริง กับสิ่งที่แพทย์ คนไข้
  • 7:54 - 7:56
    ผู้มีหน้าที่ด้านบริการสุขอนามัย และนักวิชาการ
  • 7:56 - 8:00
    สามารถเห็นได้ จากเอกสารวิชาการที่ได้รับการตรวจเหล่านี้
  • 8:00 - 8:04
    เราถูกชักนำไปในทางที่ผิด และนี่เป็นความผิดพลาดของระบบ
  • 8:04 - 8:07
    ในแก่นของการแพทย์
  • 8:07 - 8:10
    ที่จริง ในปัจจุบัน มีการศึกษาวิจัยมากมายทีเดียวเกี่ยวกับ
  • 8:10 - 8:13
    ความลำเอียงของการตีพิมพ์ คือมากกว่าร้อยชิ้นงาน
  • 8:13 - 8:17
    ทีถูกจัดเก็บรวบรวมไว้ในการตรวจสอบ (review) อย่างมีระบบ
    และตีพิมพ์ในปี 2010
  • 8:17 - 8:19
    ซึ่งเอางานวิจัยทุกชิ้นเรื่องความลำเอียงในการตีพิมพ์
  • 8:19 - 8:21
    ที่พวกเขาสามารถหามาได้
  • 8:21 - 8:24
    ความลำเอียงในการตีพิมพ์ ส่งผลต่อทุกสาขาทางการแพทย์
  • 8:24 - 8:28
    ประมาณครึ่งหนึ่งของการทดลองทั้งหมด โดยเฉลี่ย
    หายไปไม่ได้นำมาใช้
  • 8:28 - 8:31
    และเรารู้ว่า ผลการวิจัยที่เป็นเชิงบวก จะได้รับการตีพิมพ์
  • 8:31 - 8:34
    มากประมาณสองเท่า ของผลงานวิจัยที่เป็นเชิงลบ
  • 8:34 - 8:38
    สิ่งนี้เป็นมะเร็งที่แก่น ของการแพทย์บนพื้นฐานของหลักฐาน
  • 8:38 - 8:42
    ถ้าผมโยนเหรียญ 100 ครั้ง แล้วก็
  • 8:42 - 8:45
    ไม่ยอมบอกคุณผลที่ได้ จากครึ่งหนึ่งของการโยนนั้น
  • 8:45 - 8:49
    ผมทำให้เหมือนกับว่า ผมมีเหรียญที่จะออกหัวทุกครั้งได้
  • 8:49 - 8:50
    แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ผมมีเหรียญที่มีหัวทั้งสองด้าน
  • 8:50 - 8:52
    แต่นั่นจะหมายความว่าผมเป็นพวกฉวยโอกาส
  • 8:52 - 8:55
    และคุณก็เป็นไอ้โง่ที่ปล่อยให้ผมหลอกได้ (เสียงหัวเราะ)
  • 8:55 - 8:59
    แต่แน่ๆ นี่เป็นสิ่งที่เราหลับหูหลับตาทน
  • 8:59 - 9:03
    ในการแพทย์บนพื้นฐานของหลักฐานทั้งหมด
  • 9:03 - 9:07
    และสำหรับผม นี่มันเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางการวิจัย
  • 9:07 - 9:10
    ถ้าผมทำการศึกษาวิจัยสักเรื่อง และปกปิด
  • 9:10 - 9:13
    ครึ่งหนึ่งของข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนั้น
  • 9:13 - 9:17
    คุณก็มีสิทธิจะกล่าวหาผม โดยหลักการแล้ว ว่าโกงการวิจัย
  • 9:17 - 9:20
    แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง ถ้าใครสักคนทำงานวิจัย
  • 9:20 - 9:25
    10 เรื่่อง แต่ตีพิมพ์แค่ห้าเรื่องที่ให้ผลอย่างที่เขาต้องการ
  • 9:25 - 9:28
    เราไม่คิดว่านั่นเป็นการประพฤติผิดทางการวิจัย
  • 9:28 - 9:30
    และเมื่อความรับผิดชอบนั้น แพร่กระจายไปทั่ว
  • 9:30 - 9:33
    ทั้งเครือข่ายของนักวิจัย นักวิชาการ
  • 9:33 - 9:37
    ผู้ให้การสนับสนุนทางอุตสหกรรม บรรณาธิการวารสาร
  • 9:37 - 9:38
    ด้วยเหตุผลบางอย่าง เราคิดว่ามันรับได้
  • 9:38 - 9:42
    แต่ผลที่มีต่อคนไข้นั้น นำไปสู่ความเสียหาย
  • 9:42 - 9:47
    และมันเกิดขึ้น ณ ขณะนี้ วันนี้
  • 9:47 - 9:50
    นี่คือยาที่เรียกว่า ทามิฟลู (Tamiful) ทามิฟลูเป็นยา
  • 9:50 - 9:52
    ที่รัฐบาลทั่วโลกใช้เงินหลายต่อหลายพันล้าน
  • 9:52 - 9:55
    ดอลล่าร์กักตุนมันไว้ในคลัง
  • 9:55 - 9:58
    และพวกเราก็กักตุนทามิฟลูกันไว้ อย่างตื่นตระหนก
  • 9:58 - 10:02
    ด้วยความเชื่อที่ว่า มันจะช่วยลดอัตราภาวะแซกซ้อน
    จากไข้หวัดใหญ่
  • 10:02 - 10:05
    ภาวะแซกซ้อนเป็นคำนุ่มนวลทางการแพทย์
    สำหรับโรคปอดบวม
  • 10:05 - 10:09
    และความตายครับ (เสียงหัวเราะ)
  • 10:09 - 10:13
    ทีนี้ เมื่อผู้ตรวจสอบจาก Cochrane systematic review
  • 10:13 - 10:15
    พยายามที่จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมด
  • 10:15 - 10:19
    จากการทดลองที่ได้ทำไว้ เกี่ยวกับว่าจริงๆแล้วทามิฟลู
    ทำอย่างที่ว่าได้หรือไม่
  • 10:19 - 10:22
    พวกเขาพบว่า งานวิจัยทดลองเหล่านั้น
    หลายงานไม่ได้ตีพิมพ์
  • 10:22 - 10:24
    ผลการทดลองเหล่านั้น ไม่มีให้พวกเขา
  • 10:24 - 10:28
    และเมื่อพวกเขาเริ่มได้รับบทความวิจารณ์
    การทดลองเหล่านั้น ผ่านทางวิธีการต่างๆ ได้แก่
  • 10:28 - 10:29
    การขอข้อมูลผ่านทาง พ.ร.บ.ว่าด้วยเสรีภาพของข้อมูล (Freedom of Information Act)
  • 10:29 - 10:34
    ผ่านทางการก่อกวนองค์กรต่างๆหลากหลาย
    สิ่งที่พวกเขาค้นพบ ก็ไม่สอดคล้องกัน
  • 10:34 - 10:37
    และเมื่อพวกเขาพยายามที่จะให้ได้
    รายงานการวิจัยทางการแพทย์มา
  • 10:37 - 10:40
    ซึ่งเป็นเอกสารความยาว 10,000 หน้า
  • 10:40 - 10:43
    ที่มีการถอดความข้อมูลที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • 10:43 - 10:46
    พวกเขาได้รับการบอกว่า ไม่อนุญาตให้พวกเขาเอาข้อมูลได้
  • 10:46 - 10:49
    และถ้าคุณอยากจะอ่านจดหมายโต้ตอบเรื่องนั้นเต็มๆ
  • 10:49 - 10:52
    และข้ออ้างและคำอธิบายที่บริษัทยาให้
  • 10:52 - 10:55
    คุณสามารถอ่านได้ในวารสาร PLOS Medicine
  • 10:55 - 10:59
    ฉบับสัปดาห์นี้
  • 10:59 - 11:03
    และสิ่งที่น่าประหลาดใจมากที่สุดในทั้งหมดนี้ สำหรับผมแล้ว
  • 11:03 - 11:06
    ไม่ใช่เพียงแค่ว่านี่เป็นปัญหา ไม่ใช่แค่ว่าเรารับรู้
  • 11:06 - 11:11
    ว่ามันคือปัญหา แต่ว่าเราทนรับกรรมกับการแก้ไขหลอกๆ
  • 11:11 - 11:14
    พวกเรามี คนที่แกล้งทำเป็นว่า นี่เป็นปัญหาที่แก้ไขแล้ว
  • 11:14 - 11:16
    อย่างแรกเลย เรามีการลงทะเบียนการทดลอง
    และทุกๆคนบอกว่า โอเค ตกลง
  • 11:16 - 11:19
    เราจะให้ทุกคนมาลงทะเบียนการวิจัยทดลอง
    พวกเขาจะได้ประกาศต้นร่างการทดลองออกมา
  • 11:19 - 11:21
    พวกเขาจะบอกว่า พวกเขาจะทำอะไร
    ก่อนที่จะทำการวิจัยทดลองจริง
  • 11:21 - 11:24
    แล้วจากนั้น เราก็จะตรวจสอบได้ และจะเห็นว่า
    การทดลองทั้งหมด
  • 11:24 - 11:26
    ที่ได้ทำและเสร็จสิ้นสมบูรณ์จะได้รับการตีพิมพ์
  • 11:26 - 11:28
    แต่คนไม่ได้ใส่ใจที่จะไปลงทะเบียน
  • 11:28 - 11:31
    ดังนั้น คณะกรรมการบรรณาธิการวารสารการแพทย์ระหว่างประเทศ (ICMJE) จึงเข้ามา
  • 11:31 - 11:32
    และบอกว่า เอาล่ะ เราจะหยุดการตีพิมพ์ไว้
  • 11:32 - 11:35
    เราจะไม่ตีพิมพ์วารสารใดๆ เราจะไม่ตีพิมพ์การทดลองใดๆ
  • 11:35 - 11:38
    เว้นเสียแต่ว่า พวกเขาจะลงทะเบียนก่อนที่จะทำการศึกษา
  • 11:38 - 11:41
    แต่พวกเขาก็ไม่ได้หยุดการพิมพ์
    ในปี 2008 มีการทำการศึกษา
  • 11:41 - 11:44
    ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครึ่งหนึ่งของการทดลองทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสาร
  • 11:44 - 11:47
    ที่ผ่านการตรวจสอบโดยสมาชิกของ ICMJE
  • 11:47 - 11:52
    ไม่ได้ลงทะเบียนอย่างถูกต้อง และหนึ่งในสี่ของจำนวนนั้น
    ไม่ได้ลงทะเบียนด้วยซ้ำ
  • 11:52 - 11:54
    แล้วในที่สุด พ.ร.บ. แก้ไขปรับปรุง FDA ก็ผ่านออกมา
  • 11:54 - 11:57
    ได้สองปีมาแล้ว กล่าวว่า ทุกคนที่ทำการศึกษาทดลอง
  • 11:57 - 12:00
    ต้องประกาศผลการศึกษานั้น ภายในหนึ่งปี
  • 12:00 - 12:04
    และใน BMJ ฉบับแรกของเดือนมกราคมปี 2012
  • 12:04 - 12:07
    คุณสามารถไปดูการศึกษา ที่ตามดูว่า
  • 12:07 - 12:11
    คนทำตามกฎที่ว่านั้นหรือเปล่า และกลับเป็นว่าแค่หนึ่งในห้า
  • 12:11 - 12:14
    ที่ทำตามนั้น
  • 12:14 - 12:17
    นี่มันเป็นหายนะ
  • 12:17 - 12:21
    เราไม่สามารถรู้ ผลจริงๆของยา
  • 12:21 - 12:24
    ที่เราจ่ายออกไปได้ ถ้าเราไม่สามารถเข้าถึง
  • 12:24 - 12:27
    ข้อมูลทั้งหมดได้
  • 12:27 - 12:31
    และนี่ไม่ได้เป็นปัญหาที่แก้ไขยาก
  • 12:31 - 12:36
    เราต้องบังคับ ให้ผู้คนตีพิมพ์การทดลองทั้งหมด
  • 12:36 - 12:39
    ที่ทำในมนุษย์ รวมทั้งการทดลองเก่าๆด้วย
  • 12:39 - 12:43
    เพราะว่า พ.ร.บ. แก้ไขปรับปรุง FDA นั้น แค่ขอให้คุณตีพิมพ์การทดลองที่ทำหลังปี 2008 เท่านั้น
  • 12:43 - 12:46
    และผมไม่ทราบว่า ในโลกอะไรกันนี่ ที่เรา
  • 12:46 - 12:50
    ปฎิบัติงานทางการแพทย์ บนรากฐานของการวิจัยทดลอง
    ที่ทำเสร็จกันในแค่สองปีที่ผ่านมาเท่านั้น
  • 12:50 - 12:52
    เราต้องการให้ตีพิมพ์การทดสอบในมนุษย์ทั้งหมด
  • 12:52 - 12:55
    รวมทั้งงานเก่าๆ ที่เกี่ยวกับยาทั้งหมดที่ใช้อยู่ในขณะนี้
  • 12:55 - 12:58
    และคุณต้องบอกทุกคนที่คุณรู้จัก
  • 12:58 - 13:02
    ว่านี่มันเป็นปัญหา และมันก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข
  • 13:02 - 13:04
    ขอบคุณมากครับ (เสียงปรบมือ)
  • 13:04 - 13:08
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เบน โกเดเคอร์ (Ben Goldacre): สิ่งที่คุณแพทย์ไม่รู้เกี่ยวกับยาที่พวกเขาสั่งให้คนไข้
Speaker:
Ben Goldacre
Description:

เมื่อยาตัวใหม่ได้ถูกทดสอบ ผลการทดลองก็ควรจะได้รับการตีพิมพ์เพื่อให้โลกแห่งการแพทย์ที่เหลือได้รับรู้ แต่ทว่า ส่วนมากแล้ว การทดลองที่มีผลเชิงลบหรือหาข้อสรุปไม่ได้นั้น ไม่มีการรายงาน ทิ้งให้แพทย์และนักวิจัยอยู่ในความมืด
ในการบรรยายที่กระตือรือร้นนี้ เบน โกเดเคอร์ อธิบายว่า ทำไมตัวอย่างของข้อมูลเชิงลบที่ไม่ได้ถูกนำมารายงานเหล่านี้ เฉพาะอย่างยิ่งจึงทำให้เกิดการเข้าใจผิดและเป็นอันตราย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:29
  • แก้ไขมากหน่อยนะคะ เพื่อให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นคะ

  • โห... ตัวแดงเต็มเลย T^T
    ยังไงจะลองค่อยๆดูนะคะ ขอบคุณค่ะที่ตรวจให้

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 15 Edited (legacy editor)
    Kelwalin Dhanasarnsombut