Return to Video

มีโรคที่ทำให้คนเรารักแมวอยู่บ้างไหม - ยาป เดอ รูด (Jaap de Roode)

  • 0:07 - 0:10
    มีโรคที่ทำให้เราคลั่งแมวหรือไม่
  • 0:10 - 0:12
    แล้วคุณเป็นโรคนี้อยู่หรือเปล่า
  • 0:12 - 0:14
    ก็อาจจะนะ
  • 0:14 - 0:16
    และมันใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิดเสียอีก
  • 0:16 - 0:18
    เรากำลังพูดถึงโรคทอกโซพลาสโมซิส
  • 0:18 - 0:23
    โรคนี้เกิดจากโปรโตซัว
    ทอกโซพลาสมา กอนดิอาย
  • 0:23 - 0:27
    เช่นเดียวกับปรสิตทั่วไป
    ทอกโซพลาสมาอาศัยอยู่ในสัตว์เจ้าบ้าน
  • 0:27 - 0:30
    และใช้มันเป็นที่สืบพันธุ์ให้กำเนิดลูกหลาน
  • 0:30 - 0:35
    เพื่อที่จะสืบเผ่าพันธุ์
    เจ้าปรสิตนี้จะเข้าไปควบคุมสมอง
  • 0:35 - 0:36
    ของแมว
  • 0:36 - 0:38
    เหยื่อสัตว์ฟันแทะของมัน
  • 0:38 - 0:41
    และอาจยังรวมถึง
    นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ
  • 0:41 - 0:43
    ซึ่งก็รวมถึงมนุษย์เราด้วย
  • 0:43 - 0:48
    มีการบันทึกถึงการติดเชื้อชนิดนี้ในมนุษย์
    ตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ
  • 0:48 - 0:51
    เราพบตัวอย่างในมัมมี่
  • 0:51 - 0:54
    ทุกวันนี้ประชากรหนึ่งในสามของโลก
    ติดเชื้อปรสิตนี้
  • 0:54 - 0:57
    และพวกเขาส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ตัว
  • 0:57 - 1:01
    ในคนที่สุขภาพดีนั้น
    มักจะไม่มีการแสดงอาการแต่อย่างใด
  • 1:01 - 1:04
    แต่ถ้ามี อาการนั้นก็แค่คล้ายกับเป็นหวัดอ่อน ๆ
  • 1:04 - 1:07
    แต่นั่นเป็นอาการทางกายภาพเท่านั้น
  • 1:07 - 1:10
    ทอกโซพลาสมายังเข้าไปอาศัยในสมองของเรา
  • 1:10 - 1:14
    และเข้ามาแอบเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเราด้วย
  • 1:14 - 1:19
    เพื่อจะทำความเข้าใจ ว่ามันทำเช่นนั้นไปทำไม
    เราต้องมาดูกันที่วงจรชีวิตของปรสิตนี้
  • 1:19 - 1:23
    ในขณะที่ปรสิตนี้สามารถเพิ่มจำนวนได้
    ในสัตว์เจ้าบ้านหลากหลายประเภท
  • 1:23 - 1:27
    มันสามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
    ได้เฉพาะในลำไส้ของแมวเท่านั้น
  • 1:27 - 1:32
    โดยลูกหลานของมันหรือ โอโอซิสต์
    จะถูกปล่อยออกมาพร้อมกับมูลของแมว
  • 1:32 - 1:36
    แมวเพียงตัวเดียวสามารถแพร่โอโอซิสต์
    ได้ถึงหนึ่งร้อยล้านโอโอซิสต์
  • 1:36 - 1:41
    ถ้ามีสัตว์อื่น เช่น หนู
    กินโอโอซิสต์นี้ไปโดยไม่ตั้งใจ
  • 1:41 - 1:45
    มันจะเข้าไปยังเนื้อเยื่อของหนู
    และเจริญเติบโตสร้างถุงน้ำในเนื้อเยื่อ
  • 1:45 - 1:48
    และถ้าหนูตัวนี้ถูกแมวกินเข้าไป
  • 1:48 - 1:51
    ถุงน้ำในเนื้อเยื่อก็จะปล่อยลูก ๆ
    ของปรสิตออกมา
  • 1:51 - 1:54
    ที่จะผสมพันธ์ุเพื่อสร้างโอโอซิสต์ใหม่
  • 1:54 - 1:56
    เป็นวงจรชีวิตสืบของมัน
  • 1:56 - 1:57
    แต่ปัญหาก็คือ
  • 1:57 - 2:01
    โดยปกติแล้วหนูจะพยายามหลบหลีกแมว
    ทำให้วงจรนี้ไม่สมบูรณ์
  • 2:01 - 2:05
    ทอกโซพลาสมามีวิธีแก้ปัญหา
  • 2:05 - 2:10
    ปรสิตนี้บุกเข้าไปกับเม็ดเลือดขาว
    เพื่อไปยังสมองของหนู
  • 2:10 - 2:14
    ซึ่งพวกมันสามารถไปรบกวนสมอง
    ส่วนที่สร้างความกลัวต่อผู้ล่าตามธรรมชาติ
  • 2:14 - 2:19
    สัตว์ฟันแทะที่ติดเชื้อนี้ จะประมาทมากขึ้น
    และต่อสนองต่อสิ่งรอบตัวช้ามากขึ้น
  • 2:19 - 2:24
    ที่น่าแปลกที่สุดก็คือ
    หนูพวกนี้จะชอบฉี่ของแมว
  • 2:24 - 2:28
    ซึ่งทำให้มันมีโอกาส
    ที่จะเจอกับแมวได้มากขึ้นด้วย
  • 2:28 - 2:31
    และช่วยทำให้วงจรชีวิตของปรสิต
    ครบวงจรสมบูรณ์
  • 2:31 - 2:34
    แล้วปรสิตนี้ทำเช่นนั้นได้อย่างไร
  • 2:34 - 2:39
    แม้ว่าเรายังไม่ทราบแน่ชัดถึงกลไกที่แท้จริง
    แต่เหมือนว่าปรสิตจะไปเพิ่มโดปามีน
  • 2:39 - 2:44
    ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง
    ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการอยากรู้อยากเห็น
  • 2:44 - 2:49
    ดังนั้น แนวคิดหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ
    ปรสิตนี้ไปจัดการกับสารสื่อประสาท
  • 2:49 - 2:52
    สัญญาณเคมีต่าง ๆ ที่ควบคุมอารมณ์
  • 2:52 - 2:53
    แล้วผลลัพท์ล่ะคืออะไร
  • 2:53 - 2:55
    มันก็คือการดึงดูดสู่ความตายนั่นเอง
  • 2:55 - 2:59
    แต่หนูก็ไม่ได้เป็นเพียงสัตว์ชนิดเดียว
    ที่ได้รับผลของปรสิตนี้
  • 2:59 - 3:04
    มนุษย์ และสัตว์อื่น ๆ
    ก็สามารถติดเชื้อนี้ได้
  • 3:04 - 3:09
    เราอาจบังเอิญกินโอโอซิสต์นี้เข้าไป
    ผ่านทางน้ำที่มีเชื้อ
  • 3:09 - 3:11
    หรือผักผลไม้ที่ไม่ได้ล้าง
  • 3:11 - 3:13
    หรือจากการเล่นทราย
  • 3:13 - 3:15
    หรือการเปลี่ยนทรายในกะบะของแมว
  • 3:15 - 3:21
    นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเราจึงไม่ให้คนที่ตั้งครรภ์
    เปลี่ยนทรายในกระบะของแมว
  • 3:21 - 3:24
    ทอกโซพลาสมาทำให้ทารกพิการได้
  • 3:24 - 3:27
    เรายังสามารถได้รับเชื้อทอกโซพลาสมา
    ผ่านการกินเนื้อที่ไม่สุก
  • 3:27 - 3:31
    ที่ได้มาจากสัตว์
    ที่ได้รับโอโอซิสต์เข้าไปก่อนหน้านั้น
  • 3:31 - 3:34
    และปรสิตนี้สามารถ
    เข้าไปป่วนสมองของเราได้เช่นกัน
  • 3:34 - 3:38
    การศึกษาต่าง ๆ ได้พบความสัมพันธ์
    ระหว่างทอกโซพลาสมาและโรคจิตเภท
  • 3:38 - 3:40
    โรคอารมณ์สองขั้ว
  • 3:40 - 3:42
    โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • 3:42 - 3:44
    และการใช้ความรุนแรง
  • 3:44 - 3:47
    มันยังทำให้การตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างช้าลง
    และสมาธิต่ำลงอีกด้วย
  • 3:47 - 3:52
    นั่นอาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมการศึกษาหนึ่ง
    จึงพบว่าคนที่มักประสบอุบัติเหตุจราจร
  • 3:52 - 3:57
    มีโอกาสมากกว่าเกือบสามเท่า
    ที่จะมีเชื้อทอกโซพลาสมาอยู่ในร่างกาย
  • 3:57 - 4:02
    ถ้าอย่างนั้น ปรสิตนี้เข้าควบคุมสมองของเรา
    ในแบบที่ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ทางวิวัฒนาการ
  • 4:02 - 4:06
    เพื่อทำให้แมวผู้ล่ากินเราอย่างนั้นหรือ
  • 4:06 - 4:09
    หรือว่าสมองของเรานั้น
    ใกล้เคียงกับสมองของสัตว์ฟันแทะมากพอ
  • 4:09 - 4:15
    จนทำให้วิธีการทางประสาทที่ล่อพวกมันเข้ามา
    มีผลต่อเราเช่นกัน
  • 4:15 - 4:21
    หรือว่าทอกโซพลาสมาเป็นสาเหตุ
    ที่ทำให้คนมากมายรักและเลี้ยงเจ้าเหมียว
  • 4:21 - 4:24
    อย่างไรก็ตาม เราก็ยังต้องศึกษากันต่อไป
  • 4:24 - 4:27
    เพราะการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้
    ยังขัดแย้งกับแนวคิดที่ผ่านมา
  • 4:27 - 4:31
    แต่ไม่ว่าจะอย่างไร
    ทอกโซพลาสมาก็ได้ผลประโยชน์จากมนุษย์
  • 4:31 - 4:34
    เพื่อเป็นหนึ่งในปรสิต
    ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก
  • 4:34 - 4:38
    ไม่ใช่เพียงแค่เรายอมให้เจ้าแมว
    มาอยู่ร่วมโต๊ะกินข้าว
  • 4:38 - 4:40
    หรืออยู่บนเตียงกับเรา
  • 4:40 - 4:43
    การเลี้ยงปศุสัตว์และสร้างสังคมเมือง
    ที่ดึงดูดสัตว์ฟันแทะ
  • 4:43 - 4:45
    ได้ทำให้มีสัตว์เจ้าบ้านอีกหลายพันล้านตัว
  • 4:45 - 4:50
    และคุณกับเจ้าแมวของคุณ
    ก็อาจถูกรวมอยู่ในกลุ่มนั้นด้วย
Title:
มีโรคที่ทำให้คนเรารักแมวอยู่บ้างไหม - ยาป เดอ รูด (Jaap de Roode)
Description:

บทเรียนสมบูรณ์ที่: http://ed.ted.com/lessons/is-there-a-disease-that-makes-us-love-cats-jaap-de-roode

ทุกวันนี้ประชากรโลกประมาณหนึ่งในสามติดเชื้อโรคประหลาดที่เรียกว่า ทอกโซพลาสโมซิส และพวกเขาส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำ และในขณะที่เจ้าปรสิตนั้นเพิ่มจำนวนได้ในสัตว์หลายชนิด มันสามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้เฉพาะในลำไส้ของแมวเท่านั้น โรคนี้สามารถอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้คนรักแมวและเลี้ยงแมวเป็นสัตว์เลี้ยงหรือไม่ ยาป เดอ รูดได้แบ่งปันควารู้เกี่ยวกับโรคทอกโซพลาสโมซิสนี้

บทเรียนโดย ยาป เดอ รูด (Jaap de Roode) ภาพเคลื่อนไหวโดย แอนตัน โบกาที (Anton Bogaty)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:06

Thai subtitles

Revisions