มีโรคที่ทำให้เราคลั่งแมวหรือไม่ แล้วคุณเป็นโรคนี้อยู่หรือเปล่า ก็อาจจะนะ และมันใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิดเสียอีก เรากำลังพูดถึงโรคทอกโซพลาสโมซิส โรคนี้เกิดจากโปรโตซัว ทอกโซพลาสมา กอนดิอาย เช่นเดียวกับปรสิตทั่วไป ทอกโซพลาสมาอาศัยอยู่ในสัตว์เจ้าบ้าน และใช้มันเป็นที่สืบพันธุ์ให้กำเนิดลูกหลาน เพื่อที่จะสืบเผ่าพันธุ์ เจ้าปรสิตนี้จะเข้าไปควบคุมสมอง ของแมว เหยื่อสัตว์ฟันแทะของมัน และอาจยังรวมถึง นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งก็รวมถึงมนุษย์เราด้วย มีการบันทึกถึงการติดเชื้อชนิดนี้ในมนุษย์ ตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ เราพบตัวอย่างในมัมมี่ ทุกวันนี้ประชากรหนึ่งในสามของโลก ติดเชื้อปรสิตนี้ และพวกเขาส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ตัว ในคนที่สุขภาพดีนั้น มักจะไม่มีการแสดงอาการแต่อย่างใด แต่ถ้ามี อาการนั้นก็แค่คล้ายกับเป็นหวัดอ่อน ๆ แต่นั่นเป็นอาการทางกายภาพเท่านั้น ทอกโซพลาสมายังเข้าไปอาศัยในสมองของเรา และเข้ามาแอบเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเราด้วย เพื่อจะทำความเข้าใจ ว่ามันทำเช่นนั้นไปทำไม เราต้องมาดูกันที่วงจรชีวิตของปรสิตนี้ ในขณะที่ปรสิตนี้สามารถเพิ่มจำนวนได้ ในสัตว์เจ้าบ้านหลากหลายประเภท มันสามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ได้เฉพาะในลำไส้ของแมวเท่านั้น โดยลูกหลานของมันหรือ โอโอซิสต์ จะถูกปล่อยออกมาพร้อมกับมูลของแมว แมวเพียงตัวเดียวสามารถแพร่โอโอซิสต์ ได้ถึงหนึ่งร้อยล้านโอโอซิสต์ ถ้ามีสัตว์อื่น เช่น หนู กินโอโอซิสต์นี้ไปโดยไม่ตั้งใจ มันจะเข้าไปยังเนื้อเยื่อของหนู และเจริญเติบโตสร้างถุงน้ำในเนื้อเยื่อ และถ้าหนูตัวนี้ถูกแมวกินเข้าไป ถุงน้ำในเนื้อเยื่อก็จะปล่อยลูก ๆ ของปรสิตออกมา ที่จะผสมพันธ์ุเพื่อสร้างโอโอซิสต์ใหม่ เป็นวงจรชีวิตสืบของมัน แต่ปัญหาก็คือ โดยปกติแล้วหนูจะพยายามหลบหลีกแมว ทำให้วงจรนี้ไม่สมบูรณ์ ทอกโซพลาสมามีวิธีแก้ปัญหา ปรสิตนี้บุกเข้าไปกับเม็ดเลือดขาว เพื่อไปยังสมองของหนู ซึ่งพวกมันสามารถไปรบกวนสมอง ส่วนที่สร้างความกลัวต่อผู้ล่าตามธรรมชาติ สัตว์ฟันแทะที่ติดเชื้อนี้ จะประมาทมากขึ้น และต่อสนองต่อสิ่งรอบตัวช้ามากขึ้น ที่น่าแปลกที่สุดก็คือ หนูพวกนี้จะชอบฉี่ของแมว ซึ่งทำให้มันมีโอกาส ที่จะเจอกับแมวได้มากขึ้นด้วย และช่วยทำให้วงจรชีวิตของปรสิต ครบวงจรสมบูรณ์ แล้วปรสิตนี้ทำเช่นนั้นได้อย่างไร แม้ว่าเรายังไม่ทราบแน่ชัดถึงกลไกที่แท้จริง แต่เหมือนว่าปรสิตจะไปเพิ่มโดปามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการอยากรู้อยากเห็น ดังนั้น แนวคิดหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ ปรสิตนี้ไปจัดการกับสารสื่อประสาท สัญญาณเคมีต่าง ๆ ที่ควบคุมอารมณ์ แล้วผลลัพท์ล่ะคืออะไร มันก็คือการดึงดูดสู่ความตายนั่นเอง แต่หนูก็ไม่ได้เป็นเพียงสัตว์ชนิดเดียว ที่ได้รับผลของปรสิตนี้ มนุษย์ และสัตว์อื่น ๆ ก็สามารถติดเชื้อนี้ได้ เราอาจบังเอิญกินโอโอซิสต์นี้เข้าไป ผ่านทางน้ำที่มีเชื้อ หรือผักผลไม้ที่ไม่ได้ล้าง หรือจากการเล่นทราย หรือการเปลี่ยนทรายในกะบะของแมว นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเราจึงไม่ให้คนที่ตั้งครรภ์ เปลี่ยนทรายในกระบะของแมว ทอกโซพลาสมาทำให้ทารกพิการได้ เรายังสามารถได้รับเชื้อทอกโซพลาสมา ผ่านการกินเนื้อที่ไม่สุก ที่ได้มาจากสัตว์ ที่ได้รับโอโอซิสต์เข้าไปก่อนหน้านั้น และปรสิตนี้สามารถ เข้าไปป่วนสมองของเราได้เช่นกัน การศึกษาต่าง ๆ ได้พบความสัมพันธ์ ระหว่างทอกโซพลาสมาและโรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว โรคย้ำคิดย้ำทำ และการใช้ความรุนแรง มันยังทำให้การตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างช้าลง และสมาธิต่ำลงอีกด้วย นั่นอาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมการศึกษาหนึ่ง จึงพบว่าคนที่มักประสบอุบัติเหตุจราจร มีโอกาสมากกว่าเกือบสามเท่า ที่จะมีเชื้อทอกโซพลาสมาอยู่ในร่างกาย ถ้าอย่างนั้น ปรสิตนี้เข้าควบคุมสมองของเรา ในแบบที่ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ทางวิวัฒนาการ เพื่อทำให้แมวผู้ล่ากินเราอย่างนั้นหรือ หรือว่าสมองของเรานั้น ใกล้เคียงกับสมองของสัตว์ฟันแทะมากพอ จนทำให้วิธีการทางประสาทที่ล่อพวกมันเข้ามา มีผลต่อเราเช่นกัน หรือว่าทอกโซพลาสมาเป็นสาเหตุ ที่ทำให้คนมากมายรักและเลี้ยงเจ้าเหมียว อย่างไรก็ตาม เราก็ยังต้องศึกษากันต่อไป เพราะการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ ยังขัดแย้งกับแนวคิดที่ผ่านมา แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ทอกโซพลาสมาก็ได้ผลประโยชน์จากมนุษย์ เพื่อเป็นหนึ่งในปรสิต ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก ไม่ใช่เพียงแค่เรายอมให้เจ้าแมว มาอยู่ร่วมโต๊ะกินข้าว หรืออยู่บนเตียงกับเรา การเลี้ยงปศุสัตว์และสร้างสังคมเมือง ที่ดึงดูดสัตว์ฟันแทะ ได้ทำให้มีสัตว์เจ้าบ้านอีกหลายพันล้านตัว และคุณกับเจ้าแมวของคุณ ก็อาจถูกรวมอยู่ในกลุ่มนั้นด้วย