Return to Video

ความลึกลับแห่งภาษาพื้นบ้าน : Jade - เจสสิกา ออเร็ค และเรเชล ทีล (Jessica Oreck and Rachael Teel)

  • 0:13 - 0:15
    ความลึกลับแห่งภาษาพื้นบ้าน ขอเสนอคำว่า
  • 0:18 - 0:19
    "Jade (หยก)"
  • 0:19 - 0:22
    หินเนื้อแข็งชนิดหนึ่ง
    โดยทั่วไปมักมีสีเขียว
  • 0:22 - 0:24
    เป็นเวลานานจนถึง
    เมื่อไม่นานมานี้
  • 0:24 - 0:25
    ที่มีความเชื่อว่าอัญมณี
  • 0:25 - 0:28
    มีคุณสมบัติวิเศษ
    ที่ช่วยในการรักษาโรค
  • 0:28 - 0:29
    และไม่มีสิ่งใด
    จะรักษาโรคไตอย่างได้ผล
  • 0:29 - 0:33
    เหนือไปกว่าหยกอีกแล้ว
  • 0:33 - 0:35
    ในคริสตศตวรรษที่ 16
  • 0:35 - 0:37
    ชาวสเปนได้เดินทางกลับจาก "โลกใหม่"
  • 0:37 - 0:40
    พร้อมด้วยแร่ธาตุชนิดนี้มาในระวางสินค้า
  • 0:40 - 0:43
    และขนานนามว่า "piedra de la ijada"
  • 0:43 - 0:44
    หรือ "หินเนื้อตะโพก"
    (loin stone)
  • 0:45 - 0:48
    มันเป็นที่แพร่หลายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว
  • 0:48 - 0:50
    ทั้งในฐานะที่เป็นยารักษาโรคอวัยวะภายใน
  • 0:50 - 0:53
    และในฐานะเครื่องประดับ
  • 0:53 - 0:56
    ชาวฝรั่งเศสได้นำมาตั้งชื่อใหม่เป็น Jade
  • 0:56 - 0:58
    ซึ่งเป็นคำเดียวกันกับคำยืมในภาษาอังกฤษ
  • 0:58 - 1:01
    และยังคงใช้กันมาจวบจนทุกวันนี้
  • 1:01 - 1:03
    เมื่อคริสตศตวรรษที่ 19
  • 1:03 - 1:05
    นักแร่วิทยาชาวฝรั่งเศสค้นพบว่า
  • 1:05 - 1:06
    Jade ถูกใช้ในการอธิบายลักษณะ
  • 1:06 - 1:09
    แร่ธาตุที่ต่างกันอยู่สองชนิด
  • 1:09 - 1:12
    คือ "Jadeite (หยกเจไดต์)"
    ซึ่งได้ชื่อมาจาก Jade
  • 1:12 - 1:15
    และ"Nephrite (หยกเนไฟรท์)"
    ที่หาได้ง่ายกว่า
  • 1:15 - 1:18
    รากศัพท์ของมัน มีที่มาจากภาษากรีก
    คำว่า "Nephros"
  • 1:18 - 1:20
    มีความหมายว่า ไต
  • 1:20 - 1:23
    นอกเหนือไปจากการอธิบายลักษณะ
    แร่ธาตุสองชนิดที่ต่างกันนี้
  • 1:23 - 1:26
    Jade ยังมีคำพ้องรูปเป็นภาษาอังกฤษ
  • 1:26 - 1:29
    ที่มีรากศัพท์สืบเนื่องมาจากความนิยม
  • 1:29 - 1:30
    ในตัวอัญมณีที่ผ่านการเจียรไนแล้ว
  • 1:30 - 1:32
    คำว่า jade ยังสามารถใช้เพื่อสื่อถึง
  • 1:32 - 1:35
    ผู้หญิงหน้าเนื้อใจเสือ
  • 1:35 - 1:37
    หรือม้าพิการได้อีกด้วย
  • 1:37 - 1:41
    ด้วยเหตุนี้ คำว่า jaded
    จึงมีความหมายว่า ล้าสมัย
  • 1:41 - 1:42
    หรือขาดความกระตือรือร้น
  • 1:42 - 1:45
    และไม่เกี่ยวข้องอะไรกับอัญมณี
  • 1:45 - 1:48
    แต่กลับมีความหมายตกทอดมาจากสมัยโบราณ
  • 1:48 - 1:50
    ที่เกี่ยวเนื่องกับม้าแทน
Title:
ความลึกลับแห่งภาษาพื้นบ้าน : Jade - เจสสิกา ออเร็ค และเรเชล ทีล (Jessica Oreck and Rachael Teel)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่ http://ed.ted.com/lessons/mysteries-of-veracular-jade-jessica-oreck-and-rachael-teel

"stone jade" หรือหินหยก ในปัจจุบันเป็นที่ร่ำลือถึงความงามและสีเขียวของมัน หากแต่ในครั้งเก่าก่อนถูกนำมาใช้สนับสนุนความเชื่อที่ว่ามันมีคุณสมบัติวิเศษ เช่น การรักษาโรคไต
เจสสิกา ออเร็ค และเรเชล ทีล จะมาตีแผ่การเดินทางของคำ ๆ นี้ นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ไปถึงสเปน จนกระทั่งทุกวันนี้ (และเหตุใดคำว่า "jaded" จึงไม่เกี่ยวอะไรในเชิงรากศัพท์เลย)

บทเรียนโดย Jessica Oreck and Rachae Teel แอนิเมชันโดย Jessica Oreck

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
02:08

Thai subtitles

Revisions