Return to Video

ทำไมผมจะพูดต่อไปแม้ว่าคนจะล้อสำเนียงผม

  • 0:01 - 0:03
    ผมเคยฝันแบบนี้หลายครั้ง
  • 0:03 - 0:05
    ผมฝันว่าผมเดินเข้าในห้องที่เต็มไปด้วยผู้คน
  • 0:06 - 0:09
    และผมพยายามไม่สบตากับใครเลย
  • 0:10 - 0:12
    จนกระทั่งมีบางคนสังเกตเห็นผม
  • 0:12 - 0:13
    แล้วผมก็เริ่มกลัว
  • 0:14 - 0:16
    จากนั้นก็มีคนเดินเข้ามาหาผม
  • 0:16 - 0:19
    และก็พูดว่า "สวัสดี ผมชื่อนั้นชื่อนี้
  • 0:19 - 0:20
    และ คุณชื่ออะไร"
  • 0:20 - 0:23
    ผมก็เงียบ ผมตอบไม่ได้
  • 0:25 - 0:28
    หลังจากความเงียบที่น่าอึดอัดพักใหญ่
    เขาก็ถามขึ้นว่า
  • 0:28 - 0:29
    คุณลืมชื่อตัวเองหรอ
  • 0:30 - 0:31
    และผมก็ยังเงียบ
  • 0:32 - 0:37
    จากนั้นคนอื่นในห้อง
    ก็ค่อย ๆ หันมาหาทางผม
  • 0:37 - 0:39
    และถาม เกือบจะพร้อมกัน
  • 0:40 - 0:45
    (หลายเสียง) คุณลืมชื่อตัวเองหรอ
  • 0:45 - 0:48
    เสียงค่อย ๆ ดังขึ้นเรื่อย ๆ
    ผมอยากตอบ แต่ก็ทำไม่ได้
  • 0:50 - 0:52
    ผมเป็นศิลปิน
  • 0:53 - 0:55
    งานของผมบางงานออกแนวตลก
  • 0:55 - 0:59
    และบางงานก็ตลกแบบเศร้า ๆ
  • 1:00 - 1:05
    และมีงานหนึ่งที่ผมชอบทำมาก
  • 1:05 - 1:07
    คือ การทำพวกการ์ตูนอนิเมชั่น
  • 1:07 - 1:11
    ผมได้พากษ์ตัวละครแทบทุกแบบ
  • 1:11 - 1:12
    ผมเคยพากย์เป็นหมี
  • 1:12 - 1:14
    (วีดีโอ) หมี
    (เสียงผู้พูด): สวัสดีครับ
  • 1:14 - 1:16
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:16 - 1:18
    ผมเคยเป็นปลาวาฬ
  • 1:18 - 1:20
    (วีดีโอ) ปลาวาฬ
    (เสียงผู้พูด): สวัสดี
  • 1:20 - 1:21
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:21 - 1:22
    ผมเคยเป็นการ์ดอวยพร
  • 1:22 - 1:24
    (วีดีโอ) การ์ดอวยพร
    (เสียงผู้พูด): สวัสดี
  • 1:24 - 1:25
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:25 - 1:28
    และที่ผมชอบที่สุดคือ
    การพากย์เป็นแฟรงเกนสไตน์
  • 1:29 - 1:31
    (วีดีโอ) แฟรงเกนสไตน์
    (เสียงผู้พูด): ฮืออออออออออออ
  • 1:31 - 1:32
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:32 - 1:34
    ผมต้องร้องฮือ บ่อยมากตอนพากย์เสียงนั้น
  • 1:34 - 1:37
    สองสามปีก่อน ผมทำวิดีโอการศึกษา
  • 1:37 - 1:40
    เกี่ยวกับความเป็นมาของวิดิโอเกมส์
  • 1:40 - 1:44
    ผมได้พากย์เป็นสเปซอินเวเดอร์ส
  • 1:44 - 1:46
    (วีดีโอ) สเปซอินเวเดอร์
    (เสียงผู้พูด): สวัสดี
  • 1:46 - 1:47
    เหมือนฝันเป็นจริงเลยแหละ
  • 1:47 - 1:48
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:48 - 1:50
    ตอนที่ผมโพสวิดิโอลงอินเทอร์เน็ต
  • 1:50 - 1:53
    ผมก็นั่งอยู่แต่หน้าคอม กดปุ่มรีเฟรช
  • 1:53 - 1:55
    ตื่นเต้นที่จะได้เห็นผลตอบรับ
  • 1:55 - 1:57
    ความคิดเห็นแรกก็เข้ามา
  • 1:57 - 1:58
    (วีดีโอ)ความเห็น: ทำดีมาก
  • 1:58 - 1:59
    ซาลีม: เยส!
  • 2:00 - 2:01
    ผมกดรีเฟรชอีก
  • 2:01 - 2:04
    (วีดีโอ) ความเห็น:สุดยอด
    จะติดตามรอดูวิดิโอหน้า
  • 2:04 - 2:07
    นี่เป็นช่วงแรกของวิดีโอจากทั้งหมดสองช่อง
  • 2:07 - 2:09
    ผมกำลังจะเริ่มทำอันที่สอง
  • 2:09 - 2:10
    ผมกดปุ่มรีเฟรช
  • 2:10 - 2:14
    ความเห็น: อันที่สองอยู่ไหน อยากดูเดี๋ยวนี้
  • 2:14 - 2:15
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:15 - 2:18
    นอกจากแม่แล้ว ยังมีคนอื่นชมผม
  • 2:18 - 2:19
    บนอินเทอร์เน็ต
  • 2:19 - 2:22
    ผมรู้สึกสุดยอดไปเลย
  • 2:22 - 2:23
    ผมกดปุ่มรีเฟรช
  • 2:23 - 2:26
    (วีดีโอ) ความเห็น: ไม่ได้ว่านะ
    แต่เสียงเขาน่ารำคาญมาก
  • 2:26 - 2:29
    โอเค ผมไม่ถือสาอะไร ผมกดรีเฟรช
  • 2:29 - 2:32
    ความเห็น: ทำใหม่ได้มั้ย เอาแบบไม่อมเนยถั่วในปาก
  • 2:32 - 2:37
    ซาลีม: โอเค อย่างน้อยก็ฟังดูมีประโยชน์
    กดรีเฟรช
  • 2:37 - 2:39
    ความเห็น: ขอเถอะอย่าใช้คนพากย์คนนี้อีก
  • 2:39 - 2:41
    ฟังไม่รู้เรื่องเลย
  • 2:41 - 2:42
    รีเฟรช
  • 2:42 - 2:45
    ความเห็น: ไม่ค่อยเข้าใจ
    สงสัยเป็นเพราะสำเนียงอินเดียแน่ ๆ
  • 2:45 - 2:46
    ซาลีม: โอเค ๆ มีสองอย่างนะ
  • 2:46 - 2:48
    อย่างแรก ผมไม่ได้พูดสำเนียงอินเดีย
  • 2:48 - 2:50
    ผมมีสำเนียงปากีสถาน โอเคไหม
  • 2:50 - 2:53
    อย่างที่สอง สำเนียงปากีสถานผมชัดมาก
  • 2:53 - 2:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:56 - 2:58
    แต่ความเห็นแบบนั้นก็ยังเข้ามาอยู่
  • 2:58 - 3:01
    ผมก็เลยคิดว่าผมก็ไม่ควรสนใจพวกเขา
  • 3:01 - 3:04
    และก็เริ่มทำวิดิโอตอนที่สอง
  • 3:04 - 3:06
    ผมบันทึกเสียงตัวเอง
  • 3:06 - 3:09
    แต่ทุกครั้งที่ผมตั้งใจจะตัดต่อวิดิโอ
  • 3:09 - 3:10
    ผมกลับทำไม่ได้
  • 3:12 - 3:15
    เพราะทุกครั้ง ผมมักจะนึกย้อนไปตอนเด็ก ๆ
  • 3:15 - 3:18
    ตอนที่การพูดเป็นเรื่องยากสำหรับผม
  • 3:18 - 3:21
    ผมติดอ่างมาตั้งแต่จำความได้
  • 3:22 - 3:24
    ผมเป็นเด็กที่ไม่เคยยกมือขึ้น
  • 3:24 - 3:26
    ถามคำถามหรือตอบคำถามในห้องเรียน
  • 3:26 - 3:27
    เลยสักครั้ง
  • 3:27 - 3:29
    ทุกครั้งที่โทรศัพท์ดัง
  • 3:29 - 3:32
    ผมจะวิ่งไปห้องน้ำ จะได้ไม่ต้องรับโทรศัพท์
  • 3:33 - 3:36
    ถ้าโทรหาผม พ่อแม่ผมจะตอบว่าผมไม่อยู่
  • 3:36 - 3:38
    ผมใช้เวลาอยู่ในห้องน้ำบ่อยมาก
  • 3:40 - 3:42
    และผมก็เกลียดการแนะนำตัว
  • 3:42 - 3:43
    โดยเฉพาะ กับกลุ่มคน
  • 3:43 - 3:46
    ผมติดอ่างตรงชื่อตัวเองตลอดแล้วคนก็ชอบถาม
  • 3:46 - 3:48
    "ลืมชื่อตัวเองหรอ"
  • 3:48 - 3:50
    แล้วทุกคนก็หัวเราะ
  • 3:50 - 3:52
    มุขนี้ใช้ได้ตลอดเลย
  • 3:55 - 3:56
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:58 - 4:01
    ตอนเด็กผมคิดอยู่เสมอว่า ถ้าผมพูด
  • 4:01 - 4:06
    ทุกคนต้องรู้แน่ ๆ ว่า ผมผิดปกติ
  • 4:06 - 4:08
    ว่า ผมไม่เหมือนคนอื่น
  • 4:09 - 4:11
    ผมก็เลยเงียบเป็นส่วนใหญ่
  • 4:13 - 4:17
    เห็นไหมว่าการได้ใช้เสียงในวิดิโอของผมเอง
  • 4:17 - 4:18
    มันเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
  • 4:18 - 4:20
    ทุกครั้งที่ผมบันทึกเสียง
  • 4:20 - 4:22
    ผมต้องพยายามพูด
    ประโยค ๆ หนึงตั้งหลายครั้ง
  • 4:23 - 4:24
    จากนั้นผมก็จะ
  • 4:25 - 4:28
    เลือกเทปที่ผมคิดว่าเสียงผมแย่น้อยที่สุด
  • 4:31 - 4:33
    ปรับเสียงเหมือนผ่านโปรแกรมโฟโต้ช็อป
  • 4:34 - 4:38
    ผมแก้ให้ช้าลง เร็วขึ้นหรือมีเสียงสะท้อนได้
  • 4:38 - 4:42
    ถ้าผมติดอ่าง
  • 4:42 - 4:44
    ผมก็กลับไปและแก้ไขมัน
  • 4:44 - 4:45
    อย่างกับเวทมนตร์เลย
  • 4:45 - 4:48
    การใช้เสียงที่ผ่านการแก้ไขแล้ว
    กับวิดิโอของตัวเอง
  • 4:48 - 4:51
    เป็นทางออกที่ทำให้ผมรู้สึกปกติ
  • 4:52 - 4:54
    แต่หลังจากอ่านความเห็นบนวิดิโอ
  • 4:55 - 4:57
    ผมกลับรู้สึกไม่ปกติเลย
  • 4:57 - 5:00
    แล้วผมก็หยุดพากย์เสียงในวิดิโอของผม
  • 5:02 - 5:06
    ตั้งแต่ตอนนั้นผมก็คิดอยู่บ่อย ๆ
    เกี่ยวกับคำว่าปกติ
  • 5:08 - 5:09
    และผมก็เข้าใจ
  • 5:10 - 5:12
    ว่า ปกติ มันเกี่ยวข้องกับความคาดหวังด้วย
  • 5:13 - 5:15
    ผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง
  • 5:15 - 5:17
    ผมเจอเรื่องเล่านี้โดยบังเอิญ
  • 5:17 - 5:18
    เกี่ยวกับ กวีกรีกโบราณ โฮเมอร์
  • 5:18 - 5:22
    โฮเมอร์กล่าวถึงสีไม่กี่สีในงานเขียนของเขา
  • 5:23 - 5:24
    แต่ถึงอย่างนั้น
  • 5:24 - 5:26
    เขายังพูดถึงสีผิดเลย
  • 5:27 - 5:30
    เช่น สีของทะเลเป็นสีไวน์แดง
  • 5:30 - 5:34
    หน้าคนบางทีก็สีเขียวและแกะบางทีก็สีม่วง
  • 5:35 - 5:36
    แต่ไม่ได้มีแค่โฮเมอร์หรอก
  • 5:36 - 5:38
    หากคุณดูวรรณกรรมโบราณทั้งหมด
  • 5:38 - 5:41
    จีน ไอซ์แลนด์ กรีก อินเดียโบราณ
  • 5:41 - 5:43
    หรือแม้แต่ต้นฉบับไบเบิลของฮิบรู
  • 5:43 - 5:46
    ก็ต่างกล่าวถึงสีอยู่สองสามสี
  • 5:47 - 5:50
    ทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์นี้
  • 5:50 - 5:53
    คือ การที่วัฒนธรรมเริ่มสังเกตเห็นสี
  • 5:53 - 5:55
    เมื่อพวกเขาสามารถสร้างสรรค์สีได้
  • 5:56 - 5:58
    หากคุณสร้างสีขึ้นมาได้
  • 5:58 - 5:59
    คุณก็จะสังเกตเห็นสีเหล่านั้น
  • 6:00 - 6:04
    สีแดงซึ่งหลายวัฒนธรรมสร้างสรรค์ได้ง่าย
  • 6:04 - 6:06
    พวกเขาเริ่มเห็นสีนี้มาตั้งแต่แรก ๆ
  • 6:07 - 6:09
    แต่สีฟ้าซึ่งสร้างสรรค์ได้ยากกว่า
  • 6:09 - 6:11
    หลายวัฒนธรรมยังไม่ได้เรียนรู้จัก
  • 6:11 - 6:13
    และพวกเขามองไม่เห็นสีนั้น
  • 6:13 - 6:15
    จนหลังจากนั้นเป็นเวลานาน
  • 6:16 - 6:19
    ก่อนจะถึงตอนนั้นแม้ว่าสีจะอยู่รอบตัวเรา
  • 6:19 - 6:22
    พวกเขาก็ยังมองไม่เห็นมันอยู่ดี
  • 6:22 - 6:23
    เป็นเหมือนสิ่งที่มองไม่เห็น
  • 6:23 - 6:25
    ไม่ใช่ส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
  • 6:26 - 6:30
    เรื่องนี้ช่วยให้ผมเข้าใจตัวเองได้มากขึ้น
  • 6:30 - 6:33
    ดังนั้นเมื่อผมอ่านความเห็นแรกในวิดิโอ
  • 6:33 - 6:36
    ปฎิกิริยาแรกคือผมไม่พอใจมาก
  • 6:36 - 6:38
    แต่คนเขียนความเห็นเขาไม่รู้
  • 6:38 - 6:41
    ว่าผมกังวลเรื่องเสียงผมขนาดไหน
  • 6:43 - 6:45
    ส่วนใหญ่พวกเขาวิจารณ์สำเนียงผม
  • 6:45 - 6:49
    ว่าเป็นเรื่องไม่ปกตินักที่นักพากย์จะมีสำเนียง
  • 6:50 - 6:52
    แต่อะไรคือสิ่งที่ปกติล่ะ
  • 6:52 - 6:54
    เรารู้ว่าคนดูจะเจอคำผิดในงานเขียน
  • 6:54 - 6:56
    หากพวกเค้าคิดว่าคนเขียนเป็นคนดำ
  • 6:57 - 7:01
    รู้ว่าอาจารย์ไม่ค่อยจะช่วยนักเรียนผู้หญิง
    หรือผิวสี
  • 7:03 - 7:05
    รู้ว่าใบสมัครงานที่มีชื่อเหมือนคนผิวขาว
  • 7:05 - 7:09
    ได้การตอบรับมากกว่าอันที่มีชื่อคนผิวสี
  • 7:09 - 7:10
    ทำไมล่ะ
  • 7:12 - 7:14
    เพราะมันเป็นสิ่งที่เรามองว่าปกติไง
  • 7:15 - 7:16
    เราคิดว่ามันปกติ
  • 7:16 - 7:18
    เมื่อนักเรียนผิวสีสะกดคำผิดเยอะ
  • 7:19 - 7:20
    เราคิดว่าเป็นเรื่องปกติ
  • 7:20 - 7:23
    เมื่อนักเรียนหญิงหรือผิวสีเรียนไม่จบ
  • 7:23 - 7:26
    เราก็คิดว่าปกติ
  • 7:26 - 7:29
    และลูกจ้างผิวขาวได้รับการจ้างมากกว่าผิวสี
  • 7:29 - 7:32
    ผลวิจัยบอกว่าการเลือกปฎิบัติเช่นนี้
  • 7:32 - 7:34
    บ่อยครั้ง เกิดจากความลำเอียง
  • 7:34 - 7:38
    มาจากการต้องการช่วยคนแบบเดียวกับเรา
  • 7:38 - 7:42
    มากกว่าจะอยากทำร้ายคนที่ต่างกับเรา
  • 7:43 - 7:47
    ความรู้สึกไม่เข้ากันเริ่มขึ้นตั้งแต่เด็ก
  • 7:47 - 7:48
    ผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง
  • 7:48 - 7:52
    ห้องสมุดนึงบันทึกตัวละคร
  • 7:52 - 7:55
    ในชุดหนังสือเด็กทุกปี
  • 7:55 - 8:00
    พบว่าปี 2014 แค่ 11% ของหนังสือทั้งหมด
  • 8:00 - 8:02
    มีตัวละครผิวสี
  • 8:02 - 8:05
    ก่อนหน้านั้นเพียงหนึงปีมีประมาณ 8%
  • 8:06 - 8:10
    แม้ว่าตอนนี้เด็กอเมริกันครึ่งนึงเป็นผิวสี
  • 8:10 - 8:11
    ครึ่งนึงเลยนะครับ
  • 8:11 - 8:13
    จุดนี้เรามีสองปัญหาใหญ่
  • 8:13 - 8:15
    หนึ่ง เราบอกเด็กเป็นอะไรก็ได้
  • 8:15 - 8:17
    ทำอะไรก็ได้
  • 8:17 - 8:19
    แต่เรื่องราวที่เด็กผิวสีเห็นส่วนใหญ่
  • 8:19 - 8:21
    ก็เกี่ยวกับคนที่ต่างจากเขา
  • 8:21 - 8:24
    อันที่สอง คนส่วนใหญ่ไม่ตระหนัก
  • 8:24 - 8:26
    ถึงความคล้ายกันระหว่างเขากับคนผิวสี
  • 8:27 - 8:29
    ชีวิตประจำวัน ความหวัง
  • 8:30 - 8:32
    ความฝัน ความกลัว
  • 8:32 - 8:34
    และความชอบต่อขนมฮัมมุสเหมือน ๆ กัน
  • 8:34 - 8:35
    มันอร่อยใช่มั้ยครับ!
  • 8:35 - 8:36
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:38 - 8:40
    ก็เหมือนสีฟ้าในกรีกโบราณ
  • 8:41 - 8:44
    คนผิวสีไม่ใช่เรื่องปกติ
  • 8:46 - 8:50
    เพราะว่าปกติคือสื่งที่เราเจอบ่อย ๆ
  • 8:51 - 8:53
    คือสิ่งรอบตัวที่เรามองเห็น
  • 8:54 - 8:56
    จุดนี้เองที่ทุกอย่างเริ่มยุ่งยาก
  • 8:57 - 9:01
    ผมแค่ยอมรับความเชื่อที่ว่า
    ปกติเท่ากับดี
  • 9:01 - 9:05
    และสิ่งอื่นที่ไม่ได้อยู่ในกรอบแคบ ๆ นั้น
    คือไม่ดี
  • 9:06 - 9:10
    หรือผมสามารถท้าทายความเชื่อนั้น
  • 9:10 - 9:11
    ด้วยงานของผม
  • 9:12 - 9:13
    ด้วยเสียงของผม
  • 9:14 - 9:16
    ด้วยสำเนียงของผม
  • 9:17 - 9:18
    และด้วยการยินอยู่บนเวทีนี้
  • 9:18 - 9:21
    ถึงแม้ผมจะกลัว
    และอยากหนีไปอยู่ในห้องน้ำมากครับ
  • 9:21 - 9:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:22 - 9:28
    (เสียงปรบมือ)
  • 9:34 - 9:36
    (วีดีโอ) แกะ
    (เสียงซาลีม) ผมค่อย ๆ ใช้เสียงผม
  • 9:36 - 9:37
    ในวิดีโออีกครั้ง
  • 9:37 - 9:38
    ผมรู้สึกดีมาก
  • 9:38 - 9:40
    ไม่ได้บอกว่าผมไม่จิดตกนะ
  • 9:40 - 9:42
    ถ้าคราวหน้าหลายคนจะบอกว่าผมพูด
  • 9:42 - 9:44
    (เสียงพึมพำ) เหมือนอมเนยถั่วในปาก
  • 9:44 - 9:46
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:47 - 9:49
    ผมแค่จะบอกว่าตอนนี้ผมเข้าใจมากขึ้น
  • 9:49 - 9:50
    ว่าผมยืนอยู่จุดไหน
  • 9:51 - 9:54
    และการยอมแพ้ไม่ใช่ตัวเลือก
  • 9:57 - 9:59
    คนกรีกโบราณไม่ได้ตื่นมาแล้วรู้ว่า
  • 9:59 - 10:00
    ท้องฟ้ามีสีฟ้า
  • 10:02 - 10:04
    เขาใช้เวลาเป็นร้อย ๆ ปี
  • 10:04 - 10:05
    กว่าจะเห็นสิ่งที่เคยมองข้าม
  • 10:07 - 10:10
    เราต้องท้าทายความปกติตลอดเวลา
  • 10:10 - 10:15
    และเมื่อทำแบบนั้น สังคมก็ได้เห็นว่า
  • 10:15 - 10:18
    ท้องฟ้าจริง ๆ เป็นยังไง
  • 10:21 - 10:26
    (วีดีโอ) ตัวละคร: ขอบคุณ ๆ
  • 10:26 - 10:28
    แฟรงเกนสไตน์: ฮือออออออออออออออ
  • 10:28 - 10:28
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:28 - 10:29
    ขอบคุณครับ
  • 10:29 - 10:31
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมผมจะพูดต่อไปแม้ว่าคนจะล้อสำเนียงผม
Speaker:
ซาฟวัต ซาลีม (Safwat Saleem)
Description:

ซาฟวัต ซาลีม ศิลปินผู้เคยประสบปัญหาการพูดติดอ่างในวัยเด็ก ในฐานะผู้ทำการ์ตูนอนิเมชั่น เขาจึงตัดสินใจพากษ์ตัวละครเพื่อเติมชีวิตชีวาให้กับงาน แต่เมื่อความเห็นในยูทูปวิจารณ์สำเนียงปากีสถานและทำลายความมั่นใจ เขาจึงหยุดพากษ์เสียงให้กับตัวละครของตัวเอง เชิญรับฟังเรื่องราวของนักพูดผู้นี้ว่าทำอย่างไรเขาจึงได้กล้ากลับมาพากษ์เสียงและมั่นใจกับเสียงของเขาได้อีกครั้ง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:48

Thai subtitles

Revisions