Return to Video

เทคโนโลยียุคอวกาศที่ถูกลืมไปแล้วอาจเปลียนวิธีที่เราปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารได้

  • 0:00 - 0:06
    ลองจินตนาการว่า
    คุณเป็นลูกเรือนักบินอวกาศคนหนึ่ง
  • 0:06 - 0:09
    ที่เดินทางไปยังดาวอังคาร หรือ
    ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลออกไป
  • 0:10 - 0:13
    เวลาที่ใช้ในการเดินทางอาจนานเป็นปี
  • 0:13 - 0:14
    หรืออาจนานกว่านั้น
  • 0:15 - 0:18
    พื้นที่บนยานและเสบียงกรัง
  • 0:18 - 0:19
    ก็น่าจะมีจำกัด
  • 0:19 - 0:24
    ดังนั้น คุณและลูกเรืออาจต้องคิดหา
    วีธีที่จะผลิตอาหาร
  • 0:24 - 0:25
    โดยใช้วัตถุดิบให้น้อยที่สุด
  • 0:26 - 0:30
    จะเป็นอย่างไร ถ้าหากว่า
    คุณพกเมล็ดพันธุ์ไปกับคุณได้ไม่กี่ห่อ
  • 0:31 - 0:34
    และปลูกพืชได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง
  • 0:35 - 0:38
    และจะเป็นอย่างไร ถ้าหากว่า
    พืชเหล่านั้นให้ผลผลิตเป็นเมล็ดขึ้นมา
  • 0:38 - 0:41
    ที่จะสามารถเลี้ยงลูกเรือทั้งหมดได้
  • 0:41 - 0:45
    ด้วยแค่เพียงเมล็ดพันุธ์ไม่กี่ห่อนั้น
    ตลอดการเดินทาง
  • 0:46 - 0:51
    ค่ะ จริง ๆ แล้ว นักวิทยาศาสตร์ที่นาซ่า
    ค้นพบวิธีการดังกล่าวแล้ว
  • 0:52 - 0:54
    สิ่งที่เขาได้มานั้น ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว
  • 0:54 - 0:56
    มันเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์
  • 0:56 - 0:58
    ซึ่งก็คือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
  • 0:59 - 1:01
    และพวกเขายังใช้ไฮโดรเจนจากนํ้าด้วย
  • 1:02 - 1:06
    ชนิดของจุลินทรีย์ที่พวกเขาใช้
    เรียกกันว่า ไฮโดรจีโนโทรป
  • 1:06 - 1:11
    และด้วยไฮโดรจีโนโทรปนี้
    คุณสามารถสร้างวัฏจักรคาร์บอน
  • 1:11 - 1:14
    ที่จะค้ำจุนชีวิตให้อยู่ได้ในยานอวกาศ
  • 1:15 - 1:18
    นักบินอวกาศจะหายใจ
    เอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
  • 1:18 - 1:22
    คาร์บอนไดออกไซด์
    ซึ่งจากนั้นจะถูกกักเอาไว้โดยจุลินทรีย์
  • 1:22 - 1:26
    และเปลี่ยนมันไปเป็นพืชอุดมคาร์บอน
    ที่เต็มไปด้วยสารอาหาร
  • 1:26 - 1:30
    จากนั้นนักบินอวกาศจะกินพืช
    ที่อุดมไปด้วยคาร์บอน
  • 1:30 - 1:34
    แล้วหายใจเอาคาร์บอนออกมา
    ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์
  • 1:34 - 1:36
    ซึ่งจากนั้นจะถูกกักไว้โดยจุลินทรีย์
  • 1:36 - 1:38
    เพื่อสร้างพืชที่มีสารอาหาร
  • 1:38 - 1:41
    ซึ่งต่อมาจะถูกหายใจออกมา
    ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์
  • 1:41 - 1:42
    โดยนักบินอวกาศ
  • 1:42 - 1:45
    ดังนั้น ด้วยวิธีการนี้
    วัฏจักรคาร์บอนที่ไม่รู้จบจึงถูกสร้างขึ้น
  • 1:46 - 1:47
    แล้วทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญเล่า
  • 1:48 - 1:50
    ในฐานะมนุษย์
    เราต้องการคาร์บอนเพื่อดำรงชีวิต
  • 1:51 - 1:53
    และเราได้คาร์บอนมาจากอาหาร
  • 1:53 - 1:55
    ในการเดินทางไกลในอวกาศ
  • 1:55 - 1:58
    คุณไม่อาจเก็บเกี่ยว
    คาร์บอนที่อยู่ระหว่างทางมาใช้ได้
  • 1:58 - 2:01
    เราจึงต้องหาวิธีที่จะนำมันกลับมาใช้ใหม่
    ในขณะที่อยู่บนยาน
  • 2:02 - 2:04
    นี่เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจน ใช่ไหมคะ
  • 2:05 - 2:09
    แต่ที่สำคัญก็คือ
    งานวิจัยดังกล่าวไม่คืบหน้าไปไหน
  • 2:09 - 2:12
    เรายังไม่ได้ไปดาวอังคาร
    เรายังไม่ได้ไปดาวเคราะห์ดวงอื่น
  • 2:12 - 2:15
    และจริง ๆ แล้ว มันถูกทำขึ้น
    ในช่วงยุค 60 และ 70
  • 2:15 - 2:19
    ดังนั้น ดร. จอห์น รีด เพื่อนร่วมงานของฉัน
    และฉัน
  • 2:19 - 2:23
    จึงสนใจในเรื่องการนำคาร์บอนกลับมาใช้ใหม่
    บนโลกของเรา
  • 2:23 - 2:25
    เราต้องการวิธีแก้ปัญหาทางเทคนิค
  • 2:25 - 2:27
    ต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • 2:27 - 2:29
    แล้วเราก็ได้มาพบงานวิจัยนี้
  • 2:29 - 2:33
    จากการอ่านเอกสารที่ถูกตีพิมพ์ในยุค 60
    ถึงปี ค.ศ. 1967 และหลังจากนั้น --
  • 2:33 - 2:36
    บทความเกี่ยวกับงานชิ้นนี้
  • 2:36 - 2:38
    และเราก็คิดว่า
    มันเป็นแนวคิดที่น่าสนใจอย่างมาก
  • 2:39 - 2:42
    เราจึงบอกกันว่า จริง ๆ แล้ว
    โลกนั้นก็เหมือนกับยานอวกาศ
  • 2:42 - 2:46
    เรามีพื้นที่จำกัด และทรัพยากรจำกัด
  • 2:46 - 2:48
    และบนโลกนี้ เราต้องหาวิธีที่ดีกว่า
  • 2:48 - 2:50
    ในการนำคาร์บอนกลับมาใช้ใหม่
  • 2:51 - 2:53
    เราจึงมีแนวคิดนี้ว่า
  • 2:53 - 3:00
    เราจะเอาบางแนวคิดของนาซ่ามาประยุกต์ใช้
  • 3:00 - 3:03
    กับปัญหาคาร์บอนบนโลกเรานี้ได้หรือไม่
  • 3:03 - 3:06
    เราจะเพาะจุลินทรีย์
    ชนิดที่นาซ่าใช้ได้หรือไม่
  • 3:06 - 3:08
    เพื่อที่จะสร้างผลิตภัณฑ์
    ที่มีค่าขึ้นบนโลกนี้
  • 3:09 - 3:12
    เราตั้งบริษัทเพื่อทำสิ่งนี้
  • 3:12 - 3:16
    และในบริษัทดังกล่าว
    เราได้ค้นพบว่าไฮโดรจิโนไทรปเหล่านี้ --
  • 3:16 - 3:20
    ซึ่งฉันจะเรียกมันว่า
    สุดยอดนักรีไซเคิลคาร์บอนตามธรรมชาติ
  • 3:20 - 3:23
    เราพบว่า มันเป็นจุลินทรีย์
    ประเภทที่มีประสิทธิภาพ
  • 3:23 - 3:27
    ที่ได้ถูกมองข้ามและไม่ได้ถูกนำมาศึกษามากนัก
  • 3:27 - 3:30
    และมันสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีค่า
    ได้อย่างแท้จริง
  • 3:31 - 3:35
    เราจึงเริ่มเพาะผลิตภัณฑ์เหล่านี้
    จุลินทรีย์เหล่านี้ ในห้องทดลอง
  • 3:35 - 3:39
    เราพบว่าสามารถสร้างกรดอะมิโนจำเป็น
    ได้จากคาร์บอนไดออกไซด์
  • 3:39 - 3:40
    โดยใช้จุลินทรีย์เหล่านี้
  • 3:40 - 3:44
    และเรายังสร้างอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน
  • 3:44 - 3:48
    ที่มีส่วนประกอบกรดอะมิโน
    คล้ายคลึงกับสิ่งที่เราอาจพบ
  • 3:48 - 3:50
    ในโปรตีนบางอย่างจากสัตว์
  • 3:51 - 3:53
    เมื่อเราเพาะพวกมันออกไปเรื่อย ๆ
  • 3:53 - 3:55
    ก็พบว่าเราสามารถสร้างนํ้ามันได้
  • 3:55 - 3:57
    นํ้ามันสามารถนำไปใช้ผลิต
    ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย
  • 3:58 - 4:01
    เราผลิตนํ้ามันที่คล้ายคลึง
    กับนํ้ามันจากพืชตระกูลส้ม
  • 4:01 - 4:04
    ซึ่งสามารถใช้ปรุงแต่งรสและมีกลิ่นหอม
  • 4:04 - 4:07
    แต่ยังสามารถใช้เป็นสารทำความสะอาด
    ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
  • 4:07 - 4:08
    หรือแม้กระทั่งเชื้อเพลิงเครื่องบินเจ็ต
  • 4:09 - 4:12
    และเราผลิตน้้ำมันที่คล้ายคลึงกับนํ้ามันปาล์ม
  • 4:12 - 4:14
    นํ้ามันปาล์มนั้นถูกใช้ในการผลิต
  • 4:14 - 4:17
    สินค้าสำหรับผู้บริโภคและ
    สินค้าด้านอุตสาหกรรมมากมาย
  • 4:19 - 4:24
    เราได้ไปทำงานร่วมกับผู้ผลิต
    เพื่อเพิ่มขยายขนาดเทคโนโลยีนี้ขึ้น
  • 4:24 - 4:25
    และเราก็กำลังทำงานร่วมกันกับพวกเขา
  • 4:25 - 4:28
    ในการนำผลิตภัณฑ์บางอย่างเหล่านี้สู่ตลาด
  • 4:29 - 4:32
    เราเชื่อว่าเทคโนโลยีแบบนี้
    แท้จริงสามารถช่วยเรา
  • 4:32 - 4:35
    นำคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาผลิตเป็น
    ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าได้อย่างเป็นประโยชน์--
  • 4:36 - 4:38
    เป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์ต่อโลกของเรา
  • 4:38 - 4:40
    และยังเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอีกด้วย
  • 4:40 - 4:42
    นั่นคือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้
  • 4:42 - 4:46
    แต่ในอนาคต เทคโนโลยีแบบนี้
    และการใช้จุลินทรีย์ประเภทนี้
  • 4:46 - 4:49
    จะสามารถช่วยให้เรา
    ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ได้อีก
  • 4:49 - 4:51
    ถ้าเรายกระดับมันให้สูงขึ้น
  • 4:52 - 4:54
    เราเชื่อว่าเทคโนโลยีประเภทนี้
  • 4:54 - 4:58
    จะสามารถช่วยเราแก้ปัญหาด้านเกษตรกรรมได้
  • 4:58 - 5:02
    และทำให้เรามีการเกษตร แบบยั่งยืน
  • 5:02 - 5:06
    ที่จะทำให้เราขยายมันออกไป
    เพื่อสนองความต้องการในอนาคต
  • 5:07 - 5:10
    แล้วทำไมเราถึงต้องการ
    เกษตรกรรมแบบยั่งยืนเล่า
  • 5:10 - 5:13
    ค่ะ จริง ๆ แล้ว มีการประมาณเอาไว้ว่า
  • 5:13 - 5:18
    ประชากรจะมากขึ้นถึงราวหมื่นล้านคน
    เมื่อถึงปี ค.ศ. 2050
  • 5:18 - 5:21
    และเราก็คาดว่า
    เราจำเป็นต้องเพิ่มการผลิตอาหารขึ้นอีก
  • 5:21 - 5:23
    ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์
  • 5:23 - 5:26
    นอกจากนี้แล้ว เราจะต้องมีแหล่งทรัพยากร
    และวัตถุดิบอีกมากมาย
  • 5:26 - 5:29
    เพื่อผลิตสินค้าสำหรับผู้บริโภค
    และสินค้าด้านอุตสาหกรรม
  • 5:30 - 5:32
    ดังนั้น เราจะขยายมัน
    เพื่อสนองความต้องการนั้นได้อย่างไร
  • 5:33 - 5:38
    การเกษตรสมัยใหม่ไม่อาจขยาย
    ได้อย่างยั่งยืนเพื่อสนองความต้องการนั้น
  • 5:39 - 5:41
    มีสาเหตุมากมายว่าเพราะอะไร
  • 5:41 - 5:46
    สาเหตุหนึ่งก็คือ การเกษตรสมัยใหม่นั้น
    เป็นตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • 5:46 - 5:48
    ออกมามากที่สุด
  • 5:48 - 5:51
    จริง ๆ แล้ว มันปล่อยก๊าซเรือนกระจก
    ออกมามากกว่า
  • 5:51 - 5:55
    รถยนต์ รถบรรทุก เครื่องบิน
  • 5:55 - 5:57
    และรถไฟของเรา รวมกันทั้งหมด
  • 5:57 - 6:03
    เหตุผลอีกประการหนึ่งคือ
    เกษตรสมัยใหม่ใช้พื้นที่จำนวนมาก
  • 6:03 - 6:09
    เราได้ถางที่ดิน 19.4 ล้านตารางไมล์
    เพื่อปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
  • 6:09 - 6:11
    กินเนื้อที่ขนาดไหนหรือคะ
  • 6:11 - 6:16
    ค่ะ นั่นก็มีขนาดโดยคร่าว ๆ เท่ากับ
    ทวีปอเมริกาใต้กับแอฟริการวมกัน
  • 6:17 - 6:19
    ฉันขอยกตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงกว่านี้
  • 6:19 - 6:24
    ในอินโดนีเซีย
    ป่าดงดิบเขตร้อนที่ได้ถูกถางไปแล้ว
  • 6:24 - 6:28
    รวมแล้วมีขนาดประมาณประเทศไอร์แลนด์
  • 6:28 - 6:30
    ในช่วงปี ค.ศ. 2000 และ 2012
  • 6:31 - 6:34
    ลองคิดถึง
    สายพันธุ์และความหลากหลายทั้งหมด
  • 6:34 - 6:36
    ที่ถูกกำจัดเอาออกไปโดยกระบวนการนี้
  • 6:36 - 6:39
    ไม่ว่าจะเป็นชีวิตพืช แมลง หรือชีวิตสัตว์
  • 6:39 - 6:42
    และอ่างเก็บกักคาร์บอนตามธรรมชาติ
    ก็ถูกเอาออกไปด้วย
  • 6:42 - 6:44
    ค่ะ ทำให้คุณเห็นจริงเห็นจังขึ้น
  • 6:45 - 6:49
    การถางป่านี้โดยหลักแล้ว
    ก็เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับปลูกต้นปาล์ม
  • 6:49 - 6:51
    และอย่างที่ฉันได้พูดไปแล้ว
  • 6:51 - 6:54
    นํ้ามันปาล์มถูกนำไปใช้ในการผลิต
    ผลิตภัณฑ์หลายอย่าง
  • 6:54 - 6:58
    มีการประมาณว่ากว่า 50 เปอร์เซ็นต์
    ของผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค
  • 6:58 - 7:01
    ถูกผลิตโดยใช้นํ้ามันปาล์ม
  • 7:02 - 7:05
    และนั่นรวมไปถึงสิ่งต่าง ๆ
    เช่น ไอศครีม คุกกี้ ...
  • 7:06 - 7:07
    มันรวมไปถึงนํ้ามันประกอบอาหาร
  • 7:07 - 7:11
    มันยังรวมไปถึงผงซักฟอก โลชั่น สบู่
  • 7:12 - 7:16
    ทั้งคุณและฉันน่าจะมีสิ่งของมากมาย
  • 7:16 - 7:19
    ในครัวของเราและห้องนํ้าของเรา
  • 7:19 - 7:21
    ที่ผลิตขึ้นโดยใช้นํ้ามันปาล์ม
  • 7:21 - 7:27
    ดังนั้น ทั้งคุณและฉัน จึงได้ประโยชน์โดยตรง
    จากการทำลายป่าเขตร้อน
  • 7:28 - 7:30
    การเกษตรสมัยใหม่มีปัญหาบางอย่าง
  • 7:30 - 7:33
    และเราจำต้องแก้ปัญหาเหล่านั้น
    หากเราต้องการขยายมันอย่างยั่งยืน
  • 7:35 - 7:40
    ฉันเชื่อว่า
    จุลินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของคำตอบนั้น --
  • 7:40 - 7:44
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    สุดยอดนักรีไซเคิลคาร์บอน
  • 7:44 - 7:46
    สุดยอดนักรีไซเคิลคาร์บอนเหล่านี้
  • 7:46 - 7:50
    อย่างเช่น พืช ทำหน้าที่เป็น
    นักรีไซเคิลคาร์บอนตามธรรมชาติ
  • 7:50 - 7:52
    ในระบบนิเวศซึ่งมันเจริญเติบโต
  • 7:52 - 7:55
    และมันเจริญเติบโตในสถานที่แปลก ๆ บนโลก
  • 7:55 - 7:57
    เช่น รอยแยกบนผิวโลกที่มีไอร้อน
    และนํ้าพุร้อน
  • 7:58 - 8:01
    ในระบบนิเวศเหล่านั้น
    พวกมันนำเอาคาร์บอนเข้าไปและเปลี่ยนมัน
  • 8:01 - 8:03
    เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อระบบนิเวศเหล่านั้น
  • 8:04 - 8:05
    และพวกมันมีสารอาหารสูง
  • 8:05 - 8:11
    เช่น นํ้ามัน โปรตีน แร่ธาตุ และคาร์โบไฮเดรต
  • 8:12 - 8:17
    และจุลินทรีย์จริง ๆ ก็เป็นส่วนสำคัญ
    ส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราอยู่แล้ว
  • 8:17 - 8:22
    ถ้าคุณเพลิดเพลินกับ
    เหล้าองุ่นปิโนต์นัวร์ในคํ่าคืนวันศุกร์
  • 8:22 - 8:24
    หลังจากทำงานหนักมาตลอดสัปดาห์
  • 8:24 - 8:26
    ก็แสดงว่าคุณชอบผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์
  • 8:27 - 8:30
    ถ้าคุณอร่อยไปกับเบียร์จากโรงเบียร์เล็ก ๆ --
  • 8:30 - 8:32
    ผลิตภัณฑ์ของจุลินทรีย์
  • 8:32 - 8:34
    หรือขนมปัง หรือเนยแข็ง หรือโยเกิร์ต
  • 8:35 - 8:37
    ทั้งหมดนี้เป็นผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์
  • 8:38 - 8:43
    แต่ความงามและพลังที่เชื่อมโยงอยู่
    กับนักรีไซเคิลคาร์บอนเหล่านี้
  • 8:43 - 8:48
    อยู่ที่ข้อเท็จจริงที่ว่าพวกมันสามารถผลิต
    ได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
  • 8:48 - 8:49
    เทียบกับเวลาเป็นเดือน ๆ
  • 8:50 - 8:51
    นั่นหมายความว่าเราสร้างพืชขึ้นมาได้
  • 8:51 - 8:55
    เร็วกว่าที่เราสร้างมันได้ในปัจจุบันมาก
  • 8:56 - 8:57
    พวกมันเติบโตได้ในความมืด
  • 8:57 - 9:00
    พวกมันจึงเติบโตได้ในทุกฤดูกาล
  • 9:00 - 9:03
    และในทุกภูมิประเทศและในทุกสถานที่
  • 9:03 - 9:07
    มันเติบโตได้ในภาชนะที่มีพื้นที่น้อยที่สุด
  • 9:08 - 9:12
    และเราสามารถทำการเกษตรในแนวตั้งได้
  • 9:12 - 9:14
    แทนที่จะเป็นการเกษตรในแนวนอนแบบดั้งเดิม
  • 9:14 - 9:16
    ที่ต้องการพื้นที่เป็นจำนวนมาก
  • 9:16 - 9:18
    เราสามารถขยายมันได้ในแนวตั้ง
  • 9:18 - 9:23
    และผลก็คือมันให้ผลิตภัณฑ์ต่อพื้นที่
    มากกว่าเดิม
  • 9:24 - 9:29
    ถ้าเรานำแบบวิธีการนี้ไปปรับใช้
    และใช้นักรีไซเคิลคาร์บอนเหล่านี้
  • 9:29 - 9:32
    เราก็ไม่ต้องทำลายป่าเขตร้อนอีกต่อไป
  • 9:32 - 9:35
    เพื่อที่จะผลิตอาหารและสินค้า
    ที่เราใช้บริโภคกัน
  • 9:37 - 9:39
    เพราะว่าในระดับที่ใหญ่
  • 9:39 - 9:44
    คุณจะสามารถสร้างผลผลิตออกมา
    ได้มากกว่าเดิมถึง 10,000 เท่า ต่อพื้นที่
  • 9:44 - 9:47
    มากกว่าที่คุณจะสามารถทำได้ -- เช่น
    ถ้าคุณใช้ถั่วเหลือง --
  • 9:47 - 9:50
    ถ้าคุณปลูกถั่วเหลืองบนพื้นที่เดียวกัน
  • 9:50 - 9:52
    เป็นระยะเวลาหนึ่งปี
  • 9:53 - 9:55
    หมื่นเท่าในระยะเวลาหนึ่งปี
  • 9:56 - 10:00
    นี่คือสิ่งฉันกำลังพูดถึง
    ในเรื่องของการเกษตรแบบใหม่
  • 10:01 - 10:04
    และนี่คือสิ่งที่ฉันพูดถึง
    ในเรื่องของการพัฒนาระบบ
  • 10:04 - 10:09
    ที่ทำให้เราขยายขนาดได้อย่างยั่งยืน
    เพื่อสนองความต้องการของคนหมื่นล้านคน
  • 10:11 - 10:14
    และอะไรบ้างที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์
    ของการเกษตรแบบใหม่นี้
  • 10:14 - 10:17
    ค่ะ ตอนนี้เราผลิตอาหารโปรตีนได้แล้ว
  • 10:17 - 10:20
    ดังนั้น ลองนึกถึงอะไรที่คล้ายคลึง
    กับอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง
  • 10:20 - 10:22
    หรือแม้แต่แป้งข้าวโพด หรือแป้งสาลี
  • 10:22 - 10:24
    เราได้ผลิตน้ำมันได้แล้ว
  • 10:24 - 10:27
    ลองนึกถึงสิ่งที่คล้ายคลึงกับนํ้ามันมะพร้าว
  • 10:27 - 10:29
    หรือนํ้ามันมะกอก หรือนํ้ามันถั่วเหลือง
  • 10:30 - 10:34
    ดังนั้นพืชชนิดนี้จึงสามารถผลิตสารอาหาร
  • 10:34 - 10:37
    ที่จะให้พาสต้าและขนมปังกับเรา
  • 10:37 - 10:40
    เค็ก สิ่งที่มีคุณค่าทางอาหารหลายอย่าง
  • 10:40 - 10:47
    นอกจากนี้ เนื่องจากนํ้ามันนั้น
    ถูกนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นได้หลายอย่าง
  • 10:47 - 10:49
    ผลิตภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรม
    และผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค
  • 10:49 - 10:54
    ลองนึกดูว่าเราจะสามารถผลิต
    ผงซักฟอก สบู่ โลชั่น ฯลฯ
  • 10:54 - 10:56
    โดยการใช้พืชประเภทนี้
  • 10:57 - 11:00
    ไม่เพียงแต่เรากำลังขาดแคลนพื้นที่
  • 11:00 - 11:03
    แต่ถ้าเรายังคงทำ
    ในแบบที่ทำกันอยู่ในปัจจุบันนี้
  • 11:03 - 11:05
    ด้วยการเกษตรสมัยใหม่
  • 11:05 - 11:10
    เราก็จะเสี่ยงต่อการจี้ปล้นโลกที่สวยงาม
    ไปจากลูกหลานของเรา
  • 11:10 - 11:12
    แต่มันไม่จำเป็นจะต้องเป็นอย่างนั้น
  • 11:13 - 11:15
    เราสามารถที่จะมีอนาคต
    ที่มีความอุดมสมบูรณ์ได้
  • 11:16 - 11:22
    มาสร้างระบบที่จะรักษาดาวเคราะห์โลก
    ซึ่งก็คือยานอวกาศของเราไว้
  • 11:22 - 11:24
    ไม่แต่เพียงแค่เพื่อไม่ให้มันพังพินาศ
  • 11:24 - 11:29
    แต่เพื่อให้เรามาพัฒนาระบบ
    และวิถีการดำเนินชีวิต
  • 11:29 - 11:33
    ที่จะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของเรา
  • 11:33 - 11:36
    และคนอีกหมื่นล้านคน ที่จะมาอยู่
    บนดาวเคราะห์นี้ในปี ค.ศ. 2050
  • 11:37 - 11:38
    ขอบคุณมากค่ะ
  • 11:38 - 11:42
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เทคโนโลยียุคอวกาศที่ถูกลืมไปแล้วอาจเปลียนวิธีที่เราปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารได้
Speaker:
ลิซ่า ไดสัน (Lisa Dyson)
Description:

เรากำลังมุ่งหน้าไปสู่โลกที่มีประชากรหมื่นล้านคน -- แต่พวกเราทุกคนจะกินอะไรกันเล่า
ลิซ่า ไดสัน นำแนวคิดที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยนาซ่าในยุค 1960 เพื่อการเดินทางลึกเข้าไปในอวกาศ กลับมาใช้ และมันอาจเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างวิธีการปลูกพืชแบบใหม่เพื่อใช้เป็นอาหาร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
11:55

Thai subtitles

Revisions