Return to Video

เป็นไปได้หรือไม่ที่เราสามารถสร้างการรับสัมผัสใหม่ให้กับคนได้

  • 0:01 - 0:06
    เราถูกสร้างขึ้นจากสิ่งเล็กๆ
  • 0:06 - 0:08
    แล้วฝังตัวลงในจักรวาลอันยิ่งใหญ่
  • 0:08 - 0:13
    และความจริงก็คือเราไม่ได้มีความเข้าใจที่ดี
    ต่อความเป็นจริง
  • 0:13 - 0:14
    ในทั้งสองระดับนั้น
  • 0:14 - 0:16
    และนั่นก็เป็นเพราะว่าสมองของเรา
  • 0:16 - 0:20
    ไม่ได้มีวิวัฒนาการมาให้เข้าใจโลก
    ในระดับนั้น
  • 0:20 - 0:24
    แต่ว่า เราถูกกักเอาไว้ในมุมมอง
    เพียงเสี้ยวบาง ๆ
  • 0:24 - 0:26
    ที่อยู่ตรงกลาง
  • 0:27 - 0:31
    แต่ว่ามันก็ประหลาด เพราะแม้แต่
    เสี้ยวบาง ๆ ที่เราเรียกว่าเป็นบ้านนั้น
  • 0:31 - 0:34
    เราก็ยังไม่เห็นสิ่ง
    ที่กำลังเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่
  • 0:34 - 0:38
    เช่น ลองดูสีสันของโลกของเรา
  • 0:38 - 0:42
    ซึ่งเป็นคลื่นแสง เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า
    ที่สะท้อนออกจากวัตถุ
  • 0:42 - 0:46
    แล้วชนเข้ากับตัวรับพิเศษ
    ทางด้านหลังตาของเรา
  • 0:46 - 0:49
    แต่เราไม่ได้เห็นคลื่นแสงทั้งหมดที่มีอยู่
  • 0:49 - 0:51
    อันที่จริง สิ่งที่เราเห็น
  • 0:51 - 0:55
    น้อยกว่าหนึ่งใน 10 ล้านล้าน
    ของที่มีทั้งหมด
  • 0:55 - 0:58
    ดังนั้น มีคลื่นวิทยุและไมโครเวฟ
  • 0:58 - 1:02
    และเอ็กซ์เรย์ และแกมม่าเรย์
    ผ่านร่างกายของคุณอยู่ตอนนี้
  • 1:02 - 1:05
    และคุณก็ไม่ได้รู้สึกถึงมันเลย
  • 1:05 - 1:08
    เพราะว่าคุณไม่ได้มาพร้อมกับตัวรับทางชีวภาพ
    ที่มีความเหมาะสม
  • 1:08 - 1:09
    สำหรับตรวจจับมัน
  • 1:10 - 1:12
    มีการสื่อสารทางโทรศัพท์มือถือเป็นพัน ๆ
  • 1:12 - 1:14
    กำลังผ่านตัวคุณไปตอนนี้
  • 1:14 - 1:16
    และคุณก็บอดต่อสัญญาณเหล่านั้น
  • 1:16 - 1:20
    ทีนี้ มันไม่ใช่ว่า
    สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเห็นได้โดยธรรมชาติ
  • 1:20 - 1:25
    งู สามารถรวมเอารังสีอินฟาเรดเข้ามา
    ในโลกความเป็นจริงของมัน
  • 1:25 - 1:29
    และผึ้งก็รวมเอารังสีอัลตราไวโอเลต
    เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการมองโลกใบนี้
  • 1:29 - 1:32
    และแน่นอนว่าเราก็สร้างอุปกรณ์
    ในแผงหน้าปัดรถของเรา
  • 1:32 - 1:35
    ให้จับสัญญาณช่วงความถี่วิทยุ
  • 1:35 - 1:39
    และก็สร้างเครื่องมือในโรงพยาบาล
    ให้จับช่วงของรังสีเอ็กส์
  • 1:39 - 1:42
    แต่คุณไม่สามารถรับสัมผัสสิ่งเหล่านี้
    ได้ด้วยตัวเอง
  • 1:42 - 1:43
    อย่างน้อยตอนนี้ก็ยังไม่ได้
  • 1:43 - 1:47
    เพราะว่าคุณไม่ได้ประกอบด้วยตัวรับที่เหมาะสม
  • 1:47 - 1:52
    ทีนี้ มันหมายความว่า
    ประสบการณ์รับรู้ความเป็นจริงของเรา
  • 1:52 - 1:55
    ถูกจำกัดด้วยชีวภาพของเราเอง
  • 1:55 - 1:58
    และนั่นขัดต่อสามัญสำนึก
  • 1:58 - 2:00
    ว่าตาของเรา หูของเรา และปลายนิ้วของเรา
  • 2:00 - 2:04
    ตรวจจับความเป็นจริงข้างนอกนั่นได้
  • 2:04 - 2:10
    แต่จริง ๆ แล้ว สมองของเรา
    เก็บตัวอย่างเพียงบางส่วนของโลกเท่านั้น
  • 2:10 - 2:12
    ทีนี้ ในทั่วทั้งอาณาจักรสัตว์
  • 2:12 - 2:15
    สรรพสัตว์รับความเป็นจริงในส่วนที่แตกต่างกัน
  • 2:15 - 2:18
    ดังนั้น ในโลกที่มืดบอด และไร้เสียง
    ของพวกเห็บไร
  • 2:18 - 2:23
    สัญญาณที่สำคัญก็คือ อุณหภูมิ
    และกรดบิวทีริค
  • 2:23 - 2:26
    ในโลกของปลากรายแอฟริกา โกสต์
    (ghost knifefish) สีดำ
  • 2:26 - 2:31
    โลกแห่งการรับสัมผัสของมัน
    เต็มไปด้วยสีมากมายจากสนามไฟฟ้า
  • 2:31 - 2:33
    และสำหรับค้างคาวที่ใช้เสียงสะท้อน
  • 2:33 - 2:37
    ความเป็นจริงของมันสร้างขึ้นจาก
    คลื่นการอัดอากาศ
  • 2:37 - 2:42
    นั่นเป็นเสี้ยวหนึ่งของนิเวศวิทยาของมัน
    ที่พวกมันสามารถรับรู้ได้
  • 2:42 - 2:43
    และทางวิทยาศาสตร์
    เรามีคำเรียกปรากฏการณ์นี้
  • 2:43 - 2:45
    เรียกว่า อูมเวลท์ (umwelt)
  • 2:45 - 2:49
    ซึ่งเป็นภาษาเยอรมันสำหรับโลกรอบตัว
  • 2:49 - 2:52
    ทีนี้ สมมติว่า สัตว์ทุกตัวเข้าใจว่า
  • 2:52 - 2:56
    อูมเวลท์ของมันเป็นความจริงเชิงวัตถุทั้งหมด
  • 2:56 - 2:58
    เพราะว่า ทำไมคุณจะต้องมาหยุดนึกสงสัย
  • 2:58 - 3:01
    ว่ามันยังจะมีอะไรมากกว่าที่เราสัมผัสได้อีกล่ะ
  • 3:01 - 3:04
    แต่ทว่า ที่เราทุกคนเป็น
    ก็คือเรายอมรับความเป็นจริง
  • 3:04 - 3:07
    อย่างที่มีการแสดงให้เราเห็น
  • 3:07 - 3:10
    ลองมากระตุ้นความคิดเรื่องนี้กันหน่อยนะครับ
  • 3:10 - 3:12
    ลองนึกดูว่าคุณเป็นสุนัขล่าเนื้อบลัดฮาวด์
  • 3:13 - 3:15
    โลกทั้งใบของคุณเป็นเรื่องการดมกลิ่น
  • 3:15 - 3:20
    คุณมีโพรงจมูกยาวๆ
    ที่มีตัวรับกลิ่น 200 ล้านตัวในนั้น
  • 3:20 - 3:24
    และคุณมีจมูกที่เปียก
    ที่จับและกักโมเลกุลกลิ่น
  • 3:24 - 3:28
    และจมูกของคุณยังจะมีร่อง
    เพื่อที่คุณจะรับกลิ่นจากอากาศได้มาก ๆ
  • 3:28 - 3:31
    การดมกลิ่นเป็นทุกอย่างสำหรับคุณ
  • 3:31 - 3:35
    ดังนั้น วันหนึ่ง
    คุณหยุดอยู่บนหนทางสู่การปฏิวัติ
  • 3:35 - 3:39
    คุณมองนายมนุษย์ของคุณและคิดว่า
  • 3:39 - 3:43
    "มันจะเป็นอย่างไรนะ
    ที่จะมีจมูกห่วย ๆ อย่างมนุษย์
  • 3:43 - 3:45
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:45 - 3:48
    เป็นอย่างไร เมื่อคุณสูดอากาศไร้ประสิทธิภาพ
  • 3:48 - 3:52
    คุณไม่รู้ได้ยังไงว่ามีแมวห่างออกไป 100 หลา
  • 3:52 - 3:56
    หรือเพื่อนบ้านของคุณอยู่ตรงนี้
    เมื่อหกชั่วโมงก่อน"
  • 3:56 - 3:58
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:58 - 4:01
    นั่นเป็นเพราะเราเป็นมนุษย์
  • 4:01 - 4:03
    เราไม่เคยมีประสบการณ์ถึงโลกแห่งกลิ่น
  • 4:03 - 4:06
    เราจึงไม่คิดถึงมัน
  • 4:06 - 4:10
    เพราะว่าเราว่าใจอูมเวลท์ของเราเต็มที่
  • 4:10 - 4:14
    แต่คำถามก็คือ
    เราต้องกักตัวเองอยู่ที่อย่างนั้นหรือ
  • 4:14 - 4:19
    เฉกเช่นนักประสาทวิทยา ผมมีความสนใจ
    ถึงหนทางที่เทคโนโลยี
  • 4:19 - 4:21
    อาจจะขยายอูมเวลท์ของเราได้
  • 4:21 - 4:25
    และการที่มันจะเปลี่ยนประสบการณ์มนุษย์เรา
  • 4:26 - 4:30
    ครับ เรารู้แล้วว่า เราสามารถจับคู่เทคโนโลยี
    เข้ากับชีวภาพของเรา
  • 4:30 - 4:34
    เพราะมันมีคนเป็นแสน ๆ
  • 4:34 - 4:37
    ที่มีการฟังและการมองเห็นแบบประดิษฐ์
  • 4:37 - 4:42
    ครับ การทำงานของมันก็คือ คุณใช้ไมโครโฟน
    และแปลงเป็นสัญญาณแบบดิจิตัล
  • 4:42 - 4:45
    และนำแท่งขั้วไฟฟ้าไปไว้ในหูชั้นใน
  • 4:45 - 4:48
    หรือสำหรับเรตินาประดิษฐ์
    คุณใช้กล้อง
  • 4:48 - 4:51
    และแปลงสัญญาณเป็นดิจิตัล
    และจากนั้นเสียบแผงขั้วไฟฟ้า
  • 4:51 - 4:54
    ไปที่ประสาทตาโดยตรง
  • 4:54 - 4:58
    และเร็ว ๆ นี้ เมื่อ 15 ปีมานี้เอง
  • 4:58 - 5:02
    มีนักวิทยาศาสตร์มากมายที่ยังคิดว่า
    เทคโนโลยีเหล่านี้คงไม่ประสบความสำเร็จ
  • 5:02 - 5:07
    ทำไมน่ะหรือ ก็เพราะว่าเทคโนโลยีพวกนี้
    พูดภาษาของซิลิคอนแวลลีย์
  • 5:07 - 5:12
    และมันก็ไม่ใช่ภาษาเดียวกันกับที่ใช้โดย
    อวัยวะรับสัมผัสชีวภาพตามธรรมชาติของเรา
  • 5:12 - 5:15
    แต่ความจริง มันสามารถใช้การได้เหมือนกัน
  • 5:15 - 5:19
    สมองพบวิธี ที่จะใช้สัญญาณดังกล่าวได้ดี
  • 5:20 - 5:21
    ทีนี้ เราจะเข้าใจมันได้อย่างไร
  • 5:22 - 5:23
    ครับ นี่คือความลับใหญ่เลย
  • 5:23 - 5:29
    สมองของคุณไม่ได้ฟังหรือมองเห็นอะไรเลย
  • 5:29 - 5:35
    สมองของคุณถูกขังอยู่ในห้องแห่งความเงียบ
    และความมืด ภายในกระโหลกของคุณ
  • 5:35 - 5:39
    ทั้งหมดที่มันได้เห็นก็คือ
    สัญญาณเคมีไฟฟ้า
  • 5:39 - 5:42
    ที่เข้ามาตามสายข้อมูลต่างๆ กัน
  • 5:42 - 5:46
    และนั่นคือข้อมูลทั้งหมดที่มันต้องทำการ
    ไม่มีอะไรมากกว่านี้
  • 5:47 - 5:49
    เอาล่ะ น่าสนใจครับ
  • 5:49 - 5:52
    ที่สมองของเรารับสัญญาณเหล่านี้
    ได้ดีทีเดียว
  • 5:52 - 5:55
    และสกัดเอารูปแบบ
    และความหมายของสัญญาณ
  • 5:55 - 5:59
    ดังนั้นมันนำเอาจักรวาลภายในนี้
    และนำมาประกอบเข้าเป็นเรื่องราว
  • 5:59 - 6:04
    เป็นสิ่งนี้ เป็นโลกทางนามธรรมของคุณ
  • 6:04 - 6:06
    แต่นี่คือจุดสำคัญครับ
  • 6:06 - 6:10
    สมองของคุณไม่ได้รู้ และไม่ได้สนใจ
  • 6:10 - 6:13
    ว่ามันได้ข้อมูลมาจากไหน
  • 6:13 - 6:17
    ไม่ว่าข้อมูลใดเข้ามา
    มันก็แค่หาทางจัดการกับมัน
  • 6:17 - 6:20
    และนี่ก็เป็นเหมือนกับเครื่องจักร
    ที่ทรงประสิทธิภาพ
  • 6:20 - 6:24
    เป็นเหมือนกับคอมพิวเตอร์
    ที่ทำหน้าที่ได้ทั่วไป
  • 6:24 - 6:26
    และมันก็แค่นำเข้าข้อมูลทุกอย่าง
  • 6:26 - 6:29
    และพยายามค้นหา
    ว่ามันจะต้องทำอะไร
  • 6:29 - 6:33
    และวิธีนี้ ผมคิดว่า เป็นการปลดปล่อย
    พระแม่แห่งธรรมชาติ
  • 6:33 - 6:37
    ให้สามารถดัดแปลงช่องข้อมูลหลายรูปแบบ
  • 6:37 - 6:40
    ผมจึงขอเรียกมันว่าแบบจำลอง พี. เอช.
    ของวิวัฒนาการ
  • 6:40 - 6:42
    และผมไม่อยากที่จะลงลึกเกินไป
  • 6:42 - 6:45
    แต่ พี. เอช. ย่อมาจาก
    โพเตโต้ เฮด [หัวมัน]
  • 6:45 - 6:49
    และผมใช้ชื่อนี้ เพื่อเน้นย้ำว่า
    ตัวรับสัมผัสเหล่านี้
  • 6:49 - 6:52
    ที่เรารู้จักและรัก
    เช่นตา หู และปลายนิ้วของเรา
  • 6:52 - 6:57
    นี่มันเป็นเหมือนอุปกรณ์รอบข้างทั่วไป
    ที่พร้อมใช้งาน
  • 6:57 - 7:00
    คุณต่อมันเข้า และมันก็พร้อมใช้งานเลย
  • 7:00 - 7:05
    สมองของคุณจะตัดสินว่าต้องทำอย่างไร
    กับข้อมูลที่เข้ามา
  • 7:06 - 7:08
    และเมื่อคุณมองไปรอบๆ ในอาณาจักรสัตว์
  • 7:08 - 7:11
    คุณจะพบอุปกรณ์รอบข้างมากมาย
  • 7:11 - 7:15
    เช่น งูมีอวัยวะรับความร้อน
    ซึ่งตรวจจับอินฟาเรด
  • 7:15 - 7:18
    และปลากรายแอฟริกา โกสต์ก็มีตัวรับไฟฟ้า
  • 7:18 - 7:21
    และตัวตุ่นจมูกดาวก็มีส่วนที่ยื่นยาว
  • 7:21 - 7:24
    ที่มีนิ้วถึง 22 นิ้ว
  • 7:24 - 7:27
    ที่ใช้สัมผัสสิ่งรอบ ๆ ตัว
    แล้วสร้างภาพโลกสามมิติ
  • 7:27 - 7:31
    และนกหลายชนิดมีแม่เหล็ก
    ฉะนั้นพวกมันจึงสามารถตอบสนองต่อทิศทาง
  • 7:31 - 7:34
    ตามสนามแม่เหล็กของโลกได้
  • 7:34 - 7:38
    นี่ก็หมายความว่า
    ธรรมชาติไม่จำเป็นต้องออกแบบสมอง
  • 7:38 - 7:40
    เรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
  • 7:40 - 7:45
    แต่ว่า เมื่อได้ตั้งการทำงานของสมอง
    เป็นหลักเป็นพื้นฐานแล้ว
  • 7:45 - 7:49
    ธรรมชาติก็เหลือแต่
    จะต้องทำการออกแบบอุปกรณ์รอบข้าง
  • 7:49 - 7:52
    เอาล่ะ มันหมายถึงอย่างนี้ครับ
  • 7:52 - 7:54
    บทเรียนที่เกิดขึ้นก็คือ
  • 7:54 - 7:58
    ไม่มีอะไรพิเศษ หรือเป็นรากฐาน
  • 7:58 - 8:01
    เกี่ยวกับระบบชีวภาพ
    ที่มาเกิดมาพร้อมกับมัน
  • 8:01 - 8:03
    มันเป็นเพียงสิ่งที่เราได้รับตกทอดมา
  • 8:03 - 8:06
    จากวิถีแห่งวิวัฒนาการอันซับซ้อน
  • 8:06 - 8:10
    แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่เราจะต้อง
    ติดอยู่กับมันตลอดไป
  • 8:10 - 8:12
    และการพิสูจน์ที่ดีที่สุดของหลักการนี้
  • 8:12 - 8:14
    ก็มาจากสิ่งที่เรียกว่า
    การแทนที่ของระบบสัมผัส
  • 8:14 - 8:18
    ซึ่งหมายถึงการป้อนข้อมูล
    เข้าไปในสมอง
  • 8:18 - 8:20
    ผ่านช่องทางสัมผัสที่ไม่ปกติ
  • 8:20 - 8:23
    และสมองก็แค่หาทางว่ามันควรทำอย่างไร
  • 8:23 - 8:26
    ทีนี้ นั่นอาจฟังดูเลื่อนลอย
  • 8:26 - 8:31
    แต่งานตีพิมพ์แรกที่แสดงสิ่งนี้
    ได้ตีพิมพ์ในวารสาร เนเจอร์ ในปีค.ศ. 1969
  • 8:32 - 8:34
    นักวิทยาศาสตร์นามว่า
    พอล บาร์ก-อี-ริตา
  • 8:34 - 8:38
    นำคนตาบอดมานั่ง
    บนเก้าอี้หมอฟันแบบดัดแปลง
  • 8:38 - 8:40
    และจัดการให้ข้อมูลในรูปแบบวีดีโอ
  • 8:40 - 8:42
    และเอาอะไรบางอย่างวางไว้หน้ากล้อง
  • 8:42 - 8:45
    และจากนั้นคุณก็จะรู้สึกว่า
  • 8:45 - 8:48
    ถูกจิ้มที่ด้านหลังด้วยร่องขดลวด
  • 8:48 - 8:50
    ถ้าคุณขยับแก้วกาแฟหน้ากล้อง
  • 8:50 - 8:52
    คุณก็จะรู้สึกบนหลังคุณ
  • 8:52 - 8:55
    และเป็นเรื่องน่าทึ่งที่ว่า
    คนตาบอดค่อนข้างเก่ง
  • 8:55 - 8:59
    ในการตัดสินใจว่าอะไรอยู่หน้ากล้อง
  • 8:59 - 9:03
    แค่เพียงสัมผัสมันผ่านหลังของพวกเขา
  • 9:03 - 9:06
    เอาล่ะ มันมีตัวอย่างมากมาย
    จากเรื่องตัวอย่างคล้าย ๆ กันนี้
  • 9:06 - 9:10
    เช่น แว่นตาโซนิกที่นำผลวีดีโอ
    ที่แสดงต่อหน้าคุณ
  • 9:10 - 9:12
    และเปลี่ยนเป็นแผนที่เสียง
  • 9:12 - 9:15
    ฉะนั้นเมื่อสิ่งต่างๆ ขยับ
    หรือเข้ามาใกล้ หรือห่างออกไป
  • 9:15 - 9:17
    มันจะมีเสียง "หึ่ง หึ่ง หึ่ง"
  • 9:17 - 9:19
    เหมือนกับเสียงที่ไม่ประสานกัน
  • 9:19 - 9:23
    แต่หลังจากสองสามสัปดาห์
    คนตาบอดก็เริ่มจะเก่ง
  • 9:23 - 9:25
    ในการทำความเข้าใจ
    ว่าอะไรอยู่ตรงหน้าพวกเขา
  • 9:25 - 9:28
    จากแค่ที่พวกเขาได้ยิน
  • 9:28 - 9:30
    และมันไม่จำเป็นจะต้องเป็นข้อมูลผ่านหู
  • 9:30 - 9:33
    ระบบนี้ใช้แผงการสัมผัสเชิงไฟฟ้า
    ที่วางไว้บนหน้าผาก
  • 9:33 - 9:37
    ฉะนั้นไม่ว่าอะไรอยู่หน้ากล้อง
    คุณก็จะรู้สึกมันได้ที่หน้าผาก
  • 9:37 - 9:40
    ทำไมต้องเป็นหน้าผากน่ะหรือครับ
    เพราะว่าคุณไม่ได้ใช้มันมากนัก
  • 9:40 - 9:44
    ตัวอย่างใหม่ล่าสุด เรียกว่า "เบรนพอร์ท"
  • 9:44 - 9:48
    และนี่คือแผงไฟฟ้าที่อยู่บนลิ้น
  • 9:48 - 9:52
    และข้อมูลวีดีโอที่ป้อนเข้ามาก็แปลงเป็น
    สัญญาณการสัมผัสเชิงไฟฟ้า
  • 9:52 - 9:58
    และคนตาบอดก็เชี่ยวชาญในการใช้มัน
    จนเขาสามารถขว้างบอลลงตะกร้าได้เลย
  • 9:58 - 10:02
    หรือพวกเขาสามารถนำร่องผ่านสิ่งกีดขวาง
    ที่ค่อนข้างซับซ้อนได้
  • 10:03 - 10:08
    พวกเขาสามารถมองเห็นได้ผ่านลิ้น
  • 10:08 - 10:10
    ทีนี้ มันฟังดูเหลือเชื่อมากเลยใช่ไหมครับ
  • 10:10 - 10:13
    แต่จำไว้นะครับว่า ภาพทุกอย่างที่มีนั้น
  • 10:13 - 10:17
    เป็นสัญญาณเคมีไฟฟ้า
    ที่วิ่งไปรอบ ๆ สมองของคุณ
  • 10:17 - 10:19
    สมองของคุณไม่รู้หรอกว่าสัญญาณมาจากไหน
  • 10:19 - 10:23
    มันแค่เข้าใจว่าต้องทำอย่างไร
    กับสัญญาณพวกนั้น
  • 10:23 - 10:28
    ฉะนั้น สิ่งที่กลุ่มวิจัยของผมสนใจ
    ก็คือการแทนที่สัมผัสสำหรับคนหูหนวก
  • 10:28 - 10:31
    และโครงการนี้ก็กำลังดำเนินการอยู่
  • 10:31 - 10:34
    โดยมีนักศึกษาบัณฑิตศึกษาในกลุ่มวิจัยของผม
    สก๊อต โนวิกช์
  • 10:34 - 10:37
    ผู้เป็นแกนนำทำวิทยานิพนธ์ของเขา
  • 10:37 - 10:39
    และนี่คือสิ่งที่เราต้องการทำ
  • 10:39 - 10:43
    เราต้องการที่จะแปลงเสียงที่มีในโลกนี้
  • 10:43 - 10:47
    ไปเป็นสิ่งที่คนหูหนวกสามารถเข้าใจได้
  • 10:47 - 10:52
    เราต้องการทำสิ่งนี้ เพื่อให้ประสิทธิภาพ
    และการเข้าถึงกับระบบคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่
  • 10:52 - 10:57
    เราต้องการความมั่นใจว่า
    ระบบจะทำงานได้บนโทรศัพท์มือถือและแท๊บเล็ต
  • 10:57 - 10:59
    และเรายังต้องการทำให้มันสวมใส่ได้
  • 10:59 - 11:02
    เป็นอะไรที่คุณสามารถใส่ไว้ใต้เสื้อผ้า
  • 11:02 - 11:04
    นี่เป็นแนวความคิดครับ
  • 11:05 - 11:10
    และขณะที่ผมพูดนี้ เสียงของผมจะถูกจับ
    โดยแท็บเล็ต
  • 11:10 - 11:16
    และจากนั้นมันก็ส่งข้อมูลไปยังเสื้อกั๊ก
    ที่เต็มไปด้วยมอเตอร์สั่น
  • 11:16 - 11:20
    เหมือนกับมอเตอร์ในโทรศัพท์มือถือคุณ
  • 11:20 - 11:22
    ระหว่างที่ผมกำลังพูดอยู่นี้
  • 11:22 - 11:28
    เสียงกำลังแปลงเป็น
    รูปแบบการสั่นบนเสื้อกั๊ก
  • 11:28 - 11:30
    ทีนี้มันไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิด
  • 11:30 - 11:35
    แท๊บเล็ตนี้กำลังส่งสัญญาณบลูทูท
    และผมก็กำลังใส่เสื้อกั๊กนั้นอยู่
  • 11:35 - 11:37
    ดังนั้น ในขณะที่ผมพูดอยู่นี้
    (เสียงปรบมือ)
  • 11:38 - 11:44
    เสียงกำลังแปลงเป็นรูปแบบการสั่นแบบพลวัต
  • 11:44 - 11:49
    ผมรู้สึกได้ถึงโลกแห่งเสียงรอบ ๆ ตัว
  • 11:49 - 11:53
    เราได้ทำการทดสอบกับคนตาบอดแล้วตอนนี้
  • 11:53 - 11:57
    และเราก็พบว่า ไม่นาน
  • 11:57 - 12:00
    คนจะเริ่มรู้สึกได้ พวกเขาจะเริ่มเข้าใจ
  • 12:00 - 12:03
    ภาษาของเสื้อกั๊ก
  • 12:03 - 12:08
    นี่คือ โจนาธาน
    เขาอายุ 37 ปี และมีวุฒิปริญญาโท
  • 12:08 - 12:10
    เขาเกิดมาหูหนวกสนิท
  • 12:10 - 12:14
    ซึ่งหมายความว่าเขาไม่มี อูมเวลท์ บางส่วน
  • 12:14 - 12:19
    ฉะนั้น โจนาธาน ฝึกซ้อมกับเสื้อกั๊กนี้
    เป็นเวลาสี่วัน วันละสองชั่วโมง
  • 12:19 - 12:22
    และตอนนี้ เขามาถึงวันที่ห้า
  • 12:22 - 12:24
    สก๊อต โนวิกช์: คุณ
  • 12:24 - 12:27
    เดวิด อีเกอร์แมน: เมื่อสก๊อตกล่าวคำ
    โจนาธานจะรู้สึกได้จากเสื้อกั๊ก
  • 12:27 - 12:30
    และเขาจะเขียนคำไว้บนกระดาน
  • 12:30 - 12:34
    สก๊อต: ที่ไหน ที่ไหน
  • 12:34 - 12:38
    เดวิด: โจนาธานสามารถที่จะแปลรูปแบบที่ซับซ้อน
    ของการสั่น
  • 12:38 - 12:41
    ไปเป็นความเข้าใจในคำที่พูด
  • 12:41 - 12:44
    สก๊อต: แตะ แตะ
  • 12:44 - 12:49
    เดวิด: เอาล่ะ เขาไม่ได้ทำ --
  • 12:49 - 12:55
    (เสียงปรบมือ) --
  • 12:56 - 13:00
    โจนาธานไม่ได้ทำการนี้โดยตั้งใจ
    เพราะว่ารูปแบบข้อมูลซับซ้อนเกินไป
  • 13:00 - 13:06
    แต่สมองของเขาเริ่มที่จะถอดรูปแบบ
    ที่สามารถทำให้มันเข้าใจได้
  • 13:06 - 13:08
    ว่าข้อมูลนั้นคืออะไร
  • 13:08 - 13:12
    และความคาดหวังของเราก็คือ
    หลังจากที่สวมสิ่งนี้เป็นเวลาประมาณ 3 เดือน
  • 13:12 - 13:17
    เขาจะมีประสบการณ์สัมผัสตรงของการได้ยิน
  • 13:17 - 13:21
    ในแบบเดียวกับที่เมื่อคนตาบอด
    ลูบไปตามอักษรเบล
  • 13:21 - 13:26
    ความหมายผุดขึ้นมาจากหน้ากระดาษ
    โดยไม่ต้องใช้ความคิดใดๆ ช่วยเหลืออีก
  • 13:27 - 13:30
    ครับ เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลง
  • 13:30 - 13:34
    เพราะว่าการแก้ปัญหาหูหนวกอื่นมีอย่างเดียว
    คือการปลูกถ่ายคลอเคลียร์ (cochlear)
  • 13:34 - 13:37
    และนั่นต้องอาศัยการผ่าตัด
  • 13:37 - 13:42
    และระบบนี้สามารถผลิตได้ถูกกว่า
    ถึง 40 เท่าของของการปลูกถ่ายคลอเคลียร์
  • 13:42 - 13:47
    ซึ่งเปิดโอกาสให้เทคโนโลยีนี้ในระดับสากล
    แม้กระทั่งกับประเทศที่จนที่สุด
  • 13:48 - 13:53
    ทีนี้ เราได้รับแรงสนับสนุนอย่างมาก
    จากผลของการแทนที่สัมผัสนี้
  • 13:53 - 13:57
    แต่สิ่งที่เราคิดกันเยอะมากก็คือ
    การเพิ่มสัมผัส
  • 13:57 - 14:03
    คือเราจะใช้เทคโนโลยีแบบนี้
    เพื่อเพิ่มสัมผัสแบบใหม่ได้อย่างไร
  • 14:03 - 14:06
    เพื่อที่จะขยาย อูมเวลท์ ของคน
  • 14:06 - 14:10
    ยกตัวอย่างเช่น เราจะสามารถป้อนข้อมูล
    ตามเวลาจริงจากอินเทอร์เน็จ
  • 14:10 - 14:12
    ตรงเข้าสมองใครสักคน
  • 14:12 - 14:16
    และเขาคนนั้นยังสามารถพัฒนา
    ประสบการณ์สัมผัสได้โดยตรงหรือไม่
  • 14:16 - 14:18
    นี่คือการทดลองที่เราทำกัน
  • 14:18 - 14:22
    คนที่รับการทดลองรู้สึกถึงการผ่านกระแสข้อมูล
    ที่มาจากอินเตอร์เน็ตได้ตามเวลาจริง
  • 14:22 - 14:24
    เป็นเวลาห้าวินาที
  • 14:24 - 14:27
    จากนั้น จะมีปุ่มสองปุ่มปรากฏขึ้น
    และเขาก็ต้องตัดสินใจ
  • 14:27 - 14:29
    เขาไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 14:29 - 14:32
    เขาตัดสินใจและได้รับผลตอบรับ
    ในอีกหนึ่งวินาทีต่อมา
  • 14:32 - 14:33
    ทีนี้นะครับ
  • 14:33 - 14:36
    ผู้รับการทดลองของเรา
    ไม่รู้เลยว่ารูปแบบเหล่านั้นคืออะไร
  • 14:36 - 14:39
    แต่พวกเราจะเห็นว่าเขาจะทำได้ดีขึ้นหรือไม่
    ว่าจะตัดสินใจกดปุ่มไหน
  • 14:39 - 14:41
    เขาไม่รู้ว่าเราป้อน
  • 14:41 - 14:45
    ข้อมูลตามเวลาจริง จากตลาดหุ้น
  • 14:45 - 14:47
    และเขากำลังตัดสินใจซื้อและขาย
  • 14:47 - 14:49
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:49 - 14:53
    และการตอบสนองบอกเขาว่าเขาได้ทำถูกหรือไม่
  • 14:53 - 14:56
    และสิ่งที่เราดูก็คือ
    เราจะสามารถขยาย อูมเวลท์ ของมนุษย์
  • 14:56 - 14:59
    เพื่อที่ว่าหลังจากสองสามสัปดาห์
    เขาจะมีประสบการณ์ตรง
  • 14:59 - 15:05
    ถึงการเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจโลก
    ได้หรือไม่
  • 15:05 - 15:08
    เราจะรายงานต่อภายหลังนะครับ
    ว่านี่ได้ผลหรือไม่
  • 15:08 - 15:10
    (เสียงหัวเราะ)
  • 15:11 - 15:13
    นี่คืออีกอย่างที่เราทำ
  • 15:13 - 15:17
    ระหว่างการบรรยายเช้านี้
    พวกเราดึงเอาข้อมูลจากทวิตเตอร์
  • 15:17 - 15:20
    ที่มี TED2015 แฮชแท๊ค
  • 15:20 - 15:23
    และเราก็ได้ทำการวิเคราะห์อารมณ์
    โดยอัตโนมัติ
  • 15:23 - 15:27
    ซึ่งหมายถึงว่า คนใช้คำพูดเชิงบวก
    เชิงลบ หรือแบบกลาง ๆ
  • 15:27 - 15:30
    และในขณะที่มันเกิดขึ้น
  • 15:30 - 15:33
    ผมรู้สึกมันได้
  • 15:33 - 15:37
    และผมก็เชื่อมต่อ
    เพื่อจับกลุ่มอารมณ์
  • 15:37 - 15:41
    ของคนเป็นพัน ๆ ในเวลาจริง
  • 15:41 - 15:45
    และนี่เป็นประสบการณ์แบบใหม่สำหรับคน
    เพราะว่าตอนนี้ผมรับรู้ได้
  • 15:45 - 15:48
    ว่าทุกคนเป็นอย่างไร
    และคุณชอบมันแค่ไหน
  • 15:48 - 15:53
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 15:55 - 15:59
    มันเป็นประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่
    กว่าที่มนุษย์จะมีได้ตามปกติ
  • 16:00 - 16:03
    นอกจากนั้น เรายังขยาย อูมเวลท์
    ของคนขับเครื่องบิน
  • 16:03 - 16:07
    ในกรณีนี้ เสื้อกั๊กจะส่งกระแส
    ค่าวัดต่าง ๆ เก้าค่า
  • 16:07 - 16:08
    จากควอดคอปเตอร์นี้
  • 16:08 - 16:12
    รวมทั้งการเอียง หัน หมุน
    ปรับองศา และเบนส่วนหัว
  • 16:12 - 16:16
    และนั่นเพิ่มความสามารถในการบิน
    ใหักับคนขับ
  • 16:16 - 16:21
    มันก็เหมือนกับเขามีผิวหนังที่ใหญ่ขึ้น
    ที่ข้างบนนั้น
  • 16:21 - 16:23
    และนั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้น
  • 16:23 - 16:28
    สิ่งที่เราได้จินตนาการก็คือ
    การนำห้องคนขับที่เต็มไปด้วยมาตรวัด
  • 16:28 - 16:33
    และแทนที่จะพยายามอ่านทุกอย่าง
    คุณก็เพียงแค่รู้สึกถึงมัน
  • 16:33 - 16:35
    เราอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูล
  • 16:35 - 16:39
    และมันก็มีความแตกต่าง
    ระหว่างการเข้าถึงข้อมูลจำนวนมาก
  • 16:39 - 16:42
    และการรู้สึกได้ถึงมัน
  • 16:42 - 16:46
    ฉะนั้น ผมคิดว่าความเป็นไปได้
    ในการขยายสำหรับมนุษย์
  • 16:46 - 16:48
    ไม่ได้มีขอบเขตอยู่ที่เพียงเส้นขอบฟ้า
  • 16:48 - 16:53
    ลองคิดถึงนักบินอวกาศที่สามารถรู้สึกได้
  • 16:53 - 16:57
    ถึงสภาพโดยรวมของสถานีอวกาศนานาชาติ
  • 16:57 - 17:02
    หรือ ในเรื่องนั้น มีความรู้สึกถึง
    ภาวะที่มองไม่เห็นเกี่ยวกับสุขภาพคุณ
  • 17:02 - 17:05
    เช่น ระดับน้ำตาลในเลือด และภาวะของจุลนิเวศ
  • 17:05 - 17:11
    หรือมีการมองเห็นแบบ 360 องศา
    หรือเห็นอินฟราเรด หรืออัลตราไวโอเล็ต
  • 17:11 - 17:15
    ฉะนั้น สิ่งสำคัญคือ
    ในอนาคตที่ใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ
  • 17:15 - 17:20
    เราจะสามารถเลือกอุปกรณ์รอบข้างของเรา
    ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ
  • 17:20 - 17:23
    เราไม่ต้องรอของขวัญการรับสัมผัส
    จากพระแม่แห่งธรรมชาติ
  • 17:23 - 17:25
    ในช่วงเวลาที่นางเป็นคนกำหนด
  • 17:25 - 17:29
    เช่นเดียวกับมารดาที่แสนดี
    เธอได้มอบอุปกรณ์ที่เราต้องการ
  • 17:29 - 17:34
    เพื่อที่จะก้าวออกไป
    และกำหนดทิศทางของเราเอง
  • 17:34 - 17:35
    ฉะนั้น คำถามก็คือ
  • 17:35 - 17:41
    คุณต้องการที่จะก้าวออกไป
    แล้วประสบสัมผัสกับจักรวาลของคุณอย่างไร
  • 17:41 - 17:43
    ขอบคุณครับ
  • 17:43 - 17:51
    (เสียงปรบมือ)
  • 17:59 - 18:02
    คริส แอนเดอร์สัน: คุณรู้สึกได้เลยใช่ไหมครับ
    เดวิด: ครับ
  • 18:02 - 18:05
    อันที่จริง นี่เป็นครั้งแรก
    ที่ผมรู้สึกถึงการปรบมือผ่านเสื้อกั๊กนี้
  • 18:05 - 18:07
    มันก็ดีครับ เหมือนนวดเลย (เสียงหัวเราะ)
  • 18:07 - 18:11
    คริส: ทวิตเตอร์กำลังคลั่งกันเลยครับ
  • 18:11 - 18:13
    แล้วการทดลองกับตลาดหุ้น
  • 18:13 - 18:18
    นี่อาจเป็นการทดลองแรก
    ที่จะเป็นหลักประกันเงินทุนให้กับมันไปตลอด
  • 18:18 - 18:20
    ใช่ไหมครับ ถ้ามันสำเร็จ
  • 18:20 - 18:23
    เดวิด: ครับ ใช่เลย
    ผมจะได้ไม่ต้องเขียนขอทุนไปที่ NIH อีกแล้ว
  • 18:23 - 18:26
    คริส: เอาล่ะ ผมขอถามอะไรหน่อยนะ
  • 18:26 - 18:29
    คือผมว่า มันเจ๋งมากเลย
    แต่ว่าหลักฐานส่วนใหญ่ที่มีจนถึงตอนนี้
  • 18:29 - 18:31
    บอกว่าการทดแทนการรับสัมผัสนั้นทำงานได้
  • 18:31 - 18:33
    แต่ไม่จำเป็นว่าการรับสัมผัสเพิ่มนั้น
    จะทำงานได้ใช่ไหมครับ
  • 18:33 - 18:37
    ผมหมายถึงว่า มันเป็นไปได้ไหมว่า
    คนตาบอดจะสามารถเห็นผ่านลิ้นเขาได้
  • 18:37 - 18:42
    เพราะว่าคอร์เท็กซ์การมองยังมีอยู่
    และพร้อมที่จะทำงาน
  • 18:42 - 18:44
    และนั่นก็เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งด้วย
  • 18:44 - 18:46
    เดวิด: เป็นคำถามที่ดีครับ
    อันที่จริงเราไม่รู้เลยครับ
  • 18:46 - 18:49
    ว่าข้อจำกัดทางทฤษฎีของข้อมูลที่สมองรับได้
    คืออะไร
  • 18:51 - 18:53
    แต่เรื่องพื้นฐานเลยก็คือ มันปรับตัวได้อย่างน่าทึ่ง
  • 18:53 - 18:57
    ดังนั้น เมื่อกลายเป็นคนตาบอด
    สิ่งที่เราเคยเรียกว่าคอร์เท็กซ์การมอง
  • 18:57 - 19:02
    ก็จะโดนสิ่งอื่นๆ เข้าแทนที่
    เช่นการสัมผัส การได้ยิน โดยคำศัพท์
  • 19:02 - 19:06
    ฉะนั้นมันบอกเราว่า
    คอร์เท็กส์ก็เป็นเหมือนหลักสากล
  • 19:06 - 19:09
    คือมันแค่ทำการคำนวณกับข้อมูลต่าง ๆ
  • 19:09 - 19:12
    และเมื่อเรามองไปยังเช่น อักษรเบล
  • 19:12 - 19:15
    คนรับข้อมูลผ่านปุ่มที่นิ้วสัมผัส
  • 19:15 - 19:19
    ฉะนั้นผมไม่คิดว่าเรามีเหตุผลใด
    ที่จะคิดว่ามันมีข้อจำกัดทางทฤษฎี
  • 19:19 - 19:20
    ที่เรารู้ขอบเขต
  • 19:21 - 19:25
    คริส: ถ้าสิ่งนี้ออกมาเมื่อไร
    คุณคงโดนรุมจีบแน่
  • 19:25 - 19:28
    มันมีศักยภาพที่จะได้อะไรได้มากมายเหลือเกิน
  • 19:28 - 19:32
    คุณพร้อมหรือยังครับ
    อะไรที่คุณตื่นเต้นที่สุด สำหรับสิ่งที่อาจเกิดขึ้น
  • 19:32 - 19:34
    เดวิด: ผมคิดว่า
    มันมีการนำไปใช้ประโยชน์มากมาย
  • 19:34 - 19:38
    ในส่วนที่มากกว่าการแทนที่สัมผัส
    สิ่งที่ผมได้กล่าวไว้
  • 19:38 - 19:42
    เกี่ยวกับนักบินอวกาศในสถานีอวกาศ
    พวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่
  • 19:42 - 19:45
    ติดตามสิ่งต่าง ๆ และพวกเขาอาจจะได้เข้าใจ
    ว่ามันกำลังเกิดอะไรขึ้นจริง ๆ
  • 19:45 - 19:49
    เพราะสิ่งที่มันจัดการได้ดีคือ
    ข้อมูลหลายมิติ
  • 19:49 - 19:54
    หัวใจสำคัญคือ ระบบการมองเห็น
    มีประสิทธิภาพในการตรวจจับขอบและส่วนนูน
  • 19:54 - 19:56
    แต่พวกมันแย่มากกับการสิ่งที่โลกของเราเป็น
  • 19:56 - 19:58
    ซึ่งก็คือจอแบน ๆ ที่เต็มไปด้วยข้อมูล
  • 19:58 - 20:01
    พวกเราจึงต้องตะกายหามัน
    ด้วยระบบที่เราต้องเพ่งความสนใจ
  • 20:01 - 20:03
    ดังนั้น นี่เป็นเพียงวิธีที่จะรู้สึก
    ถึงภาวะของอะไรบางอย่าง
  • 20:03 - 20:07
    เหมือนกับวิธีที่คุณรู้ถึงภาวะของร่างกาย
    อย่างที่คุณยืนอยู่ตอนนี้
  • 20:07 - 20:10
    ฉะนั้นผมคิดถึงเครื่องยนต์หนัก ความปลอดภัย
    การรู้สึกได้ถึงภาวะโรงงาน
  • 20:10 - 20:13
    รู้สึกได้ถึงเครื่องมือของคุณ
    ที่เมื่อติดตั้งแล้ว จะทำงานได้ทันที
  • 20:13 - 20:17
    คริส: เดวิด อีเกอร์แมน นั่นมันเป็นการบรรยาย
    ที่เหนือความคาดหมายมาก ขอบคุณมากครับ
  • 20:17 - 20:22
    เดวิด: ของคุณครับคริส
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เป็นไปได้หรือไม่ที่เราสามารถสร้างการรับสัมผัสใหม่ให้กับคนได้
Speaker:
เดวิด อีเกอร์แมน (David Eagleman)
Description:

มนุษย์เรารับคลื่นแสงได้น้อยกว่าหนึ่งในสิบล้านล้านของคลื่นแสงทั้งหมด เดวิด อีเกอร์แมน ผู้เป็นนักประสาทวิทยากล่าวว่า "ประสบการณ์ความเป็นจริงของเรานั้นจำกัดโดยระบบชีวภาพของเรา" เขาต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงข้อจำกัดนั้น งานวิจัยของเขาเรื่องกระบวนการของสมองได้นำเขาไปสู่การสร้างระบบต่อประสานใหม่ -เช่น เสื้อกั๊กตรวจรับสัมผัส- เพื่อจะรับข้อมูลโลกรอบ ๆ ตัวเราที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยปรากฏ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
20:34
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Can we create new senses for humans?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Can we create new senses for humans?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Can we create new senses for humans?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Can we create new senses for humans?
Retired user accepted Thai subtitles for Can we create new senses for humans?
Retired user edited Thai subtitles for Can we create new senses for humans?
Retired user edited Thai subtitles for Can we create new senses for humans?
Retired user edited Thai subtitles for Can we create new senses for humans?
Show all

Thai subtitles

Revisions