Return to Video

คอมพิวเตอร์เขียนกลอนได้หรือไม่

  • 0:01 - 0:02
    ผมมีคำถามครับ
  • 0:03 - 0:05
    คอมพิวเตอร์เขียนกลอนได้หรือไม่
  • 0:07 - 0:09
    มันเป็นคำถามที่น่าคิดมาก ๆ
  • 0:10 - 0:11
    คุณลองคิดดูสักหนึ่งนาที
  • 0:11 - 0:14
    จากนั้นก็จะมีคำถามตามมาอีกมากมาย เช่น
  • 0:15 - 0:16
    คอมพิวเตอร์คืออะไร
  • 0:17 - 0:18
    กลอนคืออะไร
  • 0:19 - 0:20
    ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร
  • 0:22 - 0:23
    คำถามเหล่านี้
  • 0:23 - 0:26
    เป็นคำถามที่ผู้คนพยายามหาคำตอบ
    มาทั้งชีวิต
  • 0:26 - 0:28
    ไม่ใช่เพียงแค่ใน TED Talk เดียว
  • 0:28 - 0:31
    ดังนั้น เราจะลองหาคำตอบด้วยวิธีอื่นดู
  • 0:31 - 0:33
    ด้านบนนะครับ เรามีบทกลอนอยู่ 2 บท
  • 0:34 - 0:36
    บทหนึ่งถูกเขียนขึ้นโดยมนุษย์
  • 0:36 - 0:38
    ส่วนอีกบทเขียนขึ้นโดยคอมพิวเตอร์
  • 0:39 - 0:41
    ผมจะถามพวกคุณว่าบทไหนเป็นบทไหน
  • 0:42 - 0:43
    เริ่มเลยครับ
  • 0:43 - 0:47
    กลอน 1: เจ้าแมลงวันหนา /
    เจ้าเริงร่ายามหน้าร้อน / ฝ่ามือเราเลินเล่อ /
    เผลอปัดถูกตัวเจ้า
  • 0:47 - 0:51
    หรือเรานั้นไม่ / ใช่แมลงเช่นเจ้า /
    หรือแท้จริงเจ้า / ใช่มนุษย์อย่างเราไม่
  • 0:51 - 0:54
    กลอน 2: เราสัมผัสได้ /
    ผู้คนมากมายในชีวิต / ในยามเช้า
  • 0:54 - 0:57
    สังฆราชที่ฉันรังเกียจ / มิใช่ทุกค่ำคืน
    ที่จะเริ่ม / ทำสิ่งอื่นอันยิ่งใหญ่ (...)
  • 0:57 - 0:59
    เอาล่ะ หมดเวลาครับ
  • 1:00 - 1:04
    ยกมือขึ้นครับ หากคิดว่ากลอนบทแรก
    เขียนขึ้นโดยมนุษย์
  • 1:06 - 1:07
    โอเค ส่วนใหญ่นะครับ
  • 1:07 - 1:10
    ยกมือครับ ถ้าคิดว่าบทที่สองต่างหาก
    ที่เขียนขึ้นโดยมนุษย์
  • 1:11 - 1:12
    ถือว่ากล้าหาญครับ
  • 1:13 - 1:17
    เพราะว่ากลอนบทแรกนั้นเขียนขึ้นโดย
    มนุษย์นักกวีที่ชื่อว่า วิลเลียม เบลค
  • 1:18 - 1:21
    ส่วนบทที่สองนั้นเขียนโดยอัลกอริธึม
  • 1:21 - 1:24
    ที่ดึงภาษามาจากหน้าเฟซบุ๊คของผม
    ในหนึ่งวัน
  • 1:24 - 1:27
    แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่
  • 1:27 - 1:31
    ตามวิธีที่ผมจะอธิบายต่อไป
  • 1:31 - 1:34
    แต่ก่อนอื่นลองเล่นกันอีกสักเกม
  • 1:34 - 1:36
    เหมือนเดิมครับ คุณมีเวลาอ่านไม่มาก
  • 1:36 - 1:38
    ดังนั้นขอให้เชื่อสัญชาตญาณนะครับ
  • 1:38 - 1:42
    กลอน 1: สิงโตคำราม สุนัขเห่าหอน
    ช่างน่าสนใจ / ทั้งน่าหลงใหล ที่นกบินไป
  • 1:42 - 1:47
    ใช่เห่าหอนคำราม
    เรื่องราวตรึงตราของสัตว์น้อยใหญ่ /
  • 1:47 - 1:51
    ตรึงใจในฝัน จะร้องเพลงไปด้วยกัน /
    หากยังเหลือเรี่ยวแรง
  • 1:51 - 1:55
    กลอน 2: โอ้ จิงโจ้ โลหะ ช็อคโกแลต
    โซดา / หน้าตาเจ้าช่างสวยใส
  • 1:55 - 1:59
    ไข่มุก กล่องดนตรี ต้นพุทรา ยาแก้ไข้ /
    พวกเจ้าไงที่พวกเขาพูดถึง (...)
  • 1:59 - 2:00
    หมดเวลาครับ
  • 2:00 - 2:03
    ถ้าคิดว่ากลอนบทแรกเขียนขึ้นโดยมนุษย์
  • 2:03 - 2:05
    ยกมือขึ้นครับ
  • 2:06 - 2:07
    โอเค
  • 2:07 - 2:10
    แล้วถ้าคิดว่ากลอนบทที่สอง
    เขียนขึ้นโดยมนุษย์
  • 2:10 - 2:11
    ยกมือขึ้นครับ
  • 2:12 - 2:16
    ตอนนี้เรามีกันครึ่งต่อครึ่งเลยนะครับ
  • 2:16 - 2:18
    อาจจะยากไปสักหน่อย
  • 2:18 - 2:19
    คำตอบคือ
  • 2:19 - 2:23
    กลอนบทแรกนั้นเรียบเรียง
    โดยอัลกอริธึมที่ชื่อ Racter
  • 2:23 - 2:26
    ซึ่งถูกสร้างขึ้นราว ๆ ปี ค.ศ. 1970
  • 2:26 - 2:29
    ส่วนกลอนบทที่สองนั้นเขียนขึ้น
    โดยชายที่ชื่อ แฟรงค์ โอฮาร่า
  • 2:29 - 2:32
    หนึ่งในนักกวีชาวโลกคนโปรดของผมครับ
  • 2:33 - 2:36
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:36 - 2:39
    สิ่งที่เราเพิ่งทำกันไปคือ
    ทัวริงเทสต์สำหรับบทกลอน
  • 2:40 - 2:45
    ทัวริงเทสต์ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1950
    โดยชายคนนี้ครับ อลัน ทัวริง
  • 2:45 - 2:46
    เพื่อจะตอบคำถามที่ว่า
  • 2:46 - 2:48
    คอมพิวเตอร์คิดได้หรือไม่
  • 2:48 - 2:51
    อลัน ทัวริงเชื่อว่าหากคอมพิวเตอร์
  • 2:51 - 2:54
    สามารถพูดคุยโต้ตอบกับมนุษย์ผ่านตัวอักษร
  • 2:54 - 2:57
    ช่ำชองจนมนุษย์ไม่สามารถบอกได้ว่า
  • 2:57 - 3:00
    สิ่งที่ตนกำลังคุยด้วยนั้น
    คือคอมพิวเตอร์หรือมนุษย์
  • 3:00 - 3:03
    เท่ากับว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีปัญญา
  • 3:03 - 3:07
    ดังนั้น ในปี ค.ศ. 2013
    ผมกับเพื่อนชื่อ เบนจามิน เลด
  • 3:07 - 3:10
    เราได้สร้างทัวริงเทสต์
    สำหรับบทกลอนแบบออนไลน์ขึ้นมา
  • 3:10 - 3:11
    ชื่อว่า บอทหรือไม่ (Bot or Not)
  • 3:11 - 3:13
    คุณจะลองเข้าไปเล่นดูก็ได้นะครับ
  • 3:13 - 3:15
    จริง ๆ แล้วมันก็คือเกมที่เราเพิ่งเล่นไป
  • 3:15 - 3:17
    จะมีบทกลอนมาให้คุณ
  • 3:17 - 3:19
    ซึ่งคุณไม่ทราบว่ามนุษย์หรือ
    คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียน
  • 3:19 - 3:21
    แล้วคุณก็ต้องเดา
  • 3:21 - 3:24
    มีคนหลายพันคนเข้าร่วมการทดสอบนี้
  • 3:24 - 3:26
    แล้วเราก็ได้ผลออกมา
  • 3:26 - 3:27
    ผลคืออะไรครับ
  • 3:28 - 3:31
    ทัวริงกล่าวว่า
    หากคอมพิวเตอร์สามารถหลอกมนุษย์
  • 3:31 - 3:34
    30 เปอร์เซ็นต์ จากทั้งหมด
    ให้เชื่อว่ามันคือมนุษย์
  • 3:34 - 3:36
    มันก็จะผ่านการทดสอบ
  • 3:37 - 3:39
    เรามีบทกลอนในฐานข้อมูลของบอทหรือไม่
  • 3:39 - 3:42
    ที่สามารถหลอก 65 เปอร์เซ็นต์
    ของผู้อ่านให้คิดว่า
  • 3:42 - 3:43
    กลอนบทนั้นเขียนขึ้นโดยมนุษย์
  • 3:44 - 3:47
    ดังนั้น ผมคิดว่าเราได้คำตอบแล้วนะครับ
  • 3:48 - 3:50
    ตามตรรกะของทัวริงเทสต์แล้ว
  • 3:50 - 3:52
    คอมพิวเตอร์เขียนกลอนได้หรือไม่
  • 3:52 - 3:54
    แน่นอนครับ มันทำได้
  • 3:56 - 3:58
    แต่หากคุณยังรู้สึกไม่สบายใจกับคำตอบ
  • 3:58 - 4:00
    ไม่เป็นไรครับ
  • 4:00 - 4:02
    หากลึก ๆ ในใจของคุณยังรู้สึกต่อต้าน
  • 4:02 - 4:06
    โอเคครับ เพราะเรายังไม่จบกันแค่นี้
  • 4:07 - 4:09
    ลองเล่นชุดสุดท้ายกันดูครับ
  • 4:10 - 4:12
    เหมือนเดิม คุณอ่านกลอน
  • 4:12 - 4:14
    แล้วบอกผมว่าบทไหนเขียนโดยมนุษย์
  • 4:14 - 4:17
    กลอน 1: ธงแดง เหตุแห่งธงงาม / และโบว์ /
  • 4:17 - 4:22
    โบว์ของธง / ซึ่งเปี่ยมด้วยเนื้อหา /
    เพื่อการเปี่ยมเนื้อหา (...)
  • 4:22 - 4:26
    กลอน 2: เจ้ากวางล้ากระโจนลิ่ว /
    ฉันได้ยินเสียงของดอกแดฟโฟดีล
  • 4:26 - 4:29
    ฉันได้ยินเสียงของธงตระหง่าน /
    ฉันได้ยินเสียงพูดของนายพราน
  • 4:29 - 4:33
    หาใช่ความปิติของการสิ้นใจ /
    และทันใดกงล้อก็หยุดลง (...)
  • 4:33 - 4:35
    โอเค หมดเวลาครับ
  • 4:35 - 4:38
    ยกมือขึ้นครับ ถ้าคิดว่ากลอนบทแรก
    เขียนขึ้นโดยมนุษย์
  • 4:40 - 4:43
    ยกมือครับ ถ้าคิดว่ากลอนบทที่สอง
    เขียนขึ้นโดยมนุษย์
  • 4:43 - 4:45
    ว้าว จำนวนมากเลยนะครับ
  • 4:46 - 4:49
    คุณจะต้องตกใจแน่
    ถ้าทราบว่ากลอนบทแรกนั้น
  • 4:49 - 4:53
    เขียนโดยนักกวีที่เป็นมนุษย์จริง ๆ
    ที่ชื่อว่า เกอทรูด สไตน์
  • 4:54 - 4:59
    ส่วนกลอนบทที่สองนั้นเรียบเรียง
    โดยอัลกอริธึมที่ชื่อ RKCP
  • 4:59 - 5:02
    ก่อนจะไปต่อ ผมขออธิบายอย่างคร่าว ๆ ว่า
  • 5:02 - 5:04
    เจ้า RKCP นี้ทำงานอย่างไร
  • 5:05 - 5:09
    RKCP เป็นอัลกอริธึมที่ถูกออกแบบ
    โดย เรย์ ครูซเวล
  • 5:09 - 5:11
    หัวหน้าแผนกวิศวกรรมของกูเกิล
  • 5:11 - 5:13
    และยังเป็นผู้ที่เชื่อในปัญญาประดิษฐ์อีกด้วย
  • 5:14 - 5:18
    คุณป้อนข้อความให้กับเจ้า RKCP
  • 5:18 - 5:22
    มันก็จะวิเคราะห์
    เพื่อหาวิธีใช้ข้อความนั้น ๆ ในภาษาของมัน
  • 5:22 - 5:24
    แล้วจึงเรียบเรียงภาษาใหม่
  • 5:24 - 5:27
    โดยเลียนแบบจากข้อความแรก
  • 5:27 - 5:29
    ดังนั้น กลอนที่เราเพิ่งอ่านกันไป
  • 5:29 - 5:32
    กลอนที่สองครับ
    ซึ่งพวกคุณคิดว่ามนุษย์เป็นผู้เขียน
  • 5:32 - 5:33
    บทกลอนจำนวนมากถูกป้อนเข้าไป
  • 5:33 - 5:35
    โดยนักกวีที่ชื่อ เอมิลี่ ดิกคินสัน
  • 5:35 - 5:37
    มันอ่านวิธีการใช้ภาษาของเธอ
  • 5:37 - 5:39
    เรียนรู้รูปแบบ
  • 5:39 - 5:43
    จากนั้นก็เรียบเรียงใหม่
    ด้วยโครงสร้างประโยคเดียวกัน
  • 5:45 - 5:47
    สิ่งสำคัญที่ต้องรู้เกี่ยวกับเจ้า RKCP คือ
  • 5:47 - 5:50
    มันไม่เข้าใจความหมายของคำที่มันใช้
  • 5:50 - 5:53
    ภาษาเป็นเพียงวัตถุดิบ
  • 5:53 - 5:55
    ซึ่งอาจจะเป็นภาษาจีน ภาษาสวีดิช
  • 5:55 - 5:59
    หรือภาษาที่รวบรวมจากหน้า
    เฟซบุ๊คของคุณในหนึ่งวันก็ได้
  • 5:59 - 6:01
    เป็นเพียงวัตถุดิบเท่านั้นครับ
  • 6:01 - 6:04
    อย่างไรก็ตาม มันสามารถเขียนกลอนได้
  • 6:04 - 6:07
    เหมือนมนุษย์มากกว่าเกอทรูด สไตน์เสียอีก
  • 6:07 - 6:10
    และ เกอทรูด สไตน์ ก็เป็นมนุษย์
  • 6:11 - 6:15
    สิ่งที่เราเพิ่งทำกันไป มันเหมือน
    การย้อนกลับของทัวริงเทสต์
  • 6:16 - 6:21
    เกอทรูด สไตน์ ผู้เป็นมนุษย์
    สามารถเขียนกลอนได้
  • 6:21 - 6:25
    ซึ่งหลอกคนส่วนใหญ่ให้คิดว่า
  • 6:25 - 6:27
    มันถูกเขียนโดยคอมพิวเตอร์
  • 6:27 - 6:31
    หากเราย้อนกลับตรรกะของทัวริงเทสต์ดู
  • 6:31 - 6:33
    เกอทรูด สไตน์เป็นคอมพิวเตอร์
  • 6:33 - 6:35
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:35 - 6:37
    ฟังดูสับสนไหมครับ
  • 6:37 - 6:39
    แต่ผมว่ามันก็ยุติธรรมนะ
  • 6:40 - 6:44
    เรามีมนุษย์ที่เขียนเหมือนมนุษย์
  • 6:44 - 6:47
    เรามีคอมพิวเตอร์ที่เขียนเหมือนคอมพิวเตอร์
  • 6:47 - 6:50
    เรามีคอมพิวเตอร์ที่เขียนเหมือนมนุษย์
  • 6:50 - 6:53
    และด้วยความสับสนอย่างไรก็ไม่ทราบ
  • 6:53 - 6:56
    เรามีมนุษย์ที่เขียนเหมือนคอมพิวเตอร์
  • 6:57 - 6:59
    แล้วเราได้อะไรจากสิ่งเหล่านี้ครับ
  • 7:00 - 7:03
    เราทราบว่า วิลเลียม เบลคเป็นมนุษย์
  • 7:03 - 7:04
    มากกว่า เกอทรูด สไตน์
  • 7:04 - 7:07
    หรือ เกอทรูด สไตน์ เป็นคอมพิวเตอร์
    มากกว่า วิลเลียม เบลค
  • 7:07 - 7:09
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:09 - 7:11
    ผมเฝ้าถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้
  • 7:11 - 7:13
    มาตลอดสองปี
  • 7:13 - 7:15
    และผมก็ยังไม่ได้คำตอบ
  • 7:15 - 7:17
    สิ่งที่ผมได้คือความเข้าใจลึกซึ้งส่วนหนึ่ง
  • 7:17 - 7:20
    เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเรากับเทคโนโลยี
  • 7:21 - 7:25
    ความเข้าใจแรกคือ ด้วยเหตุผลบางอย่าง
  • 7:25 - 7:28
    เราเชื่อมโยงความเป็นมนุษย์เข้ากับบทกลอน
  • 7:28 - 7:32
    ดังนั้น เมื่อเราถามว่า
    “คอมพิวเตอร์เขียนกลอนได้หรือไม่”
  • 7:32 - 7:33
    เราก็ต้องถามด้วยว่า
  • 7:33 - 7:35
    “การเป็นมนุษย์หมายความว่าอย่างไร"
  • 7:35 - 7:38
    "เราจำกัดขอบเขตของมันเอาไว้แค่ไหน"
  • 7:38 - 7:42
    "เราถือว่าอะไรหรือใคร
    เป็นส่วนหนึ่งในขอบเขตนี้ได้อย่างไร”
  • 7:42 - 7:46
    ผมเชื่อว่ามันเป็นคำถามพื้นฐานทางปรัชญา
  • 7:46 - 7:48
    และไม่สามารถหาคำตอบได้
    ด้วยการตอบว่าใช่หรือไม่
  • 7:48 - 7:49
    เช่นเดียวกับทัวริงเทสต์
  • 7:50 - 7:53
    ผมเชื่อว่า อลัน ทัวริง เองก็เข้าใจประเด็นนี้
  • 7:53 - 7:56
    เมื่อเขาสร้างการทดสอบนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1950
  • 7:56 - 7:59
    เขาก็ทำเสมือนว่าเป็นการฉุกคิดทางปรัชญา
  • 8:01 - 8:07
    ความเข้าใจที่สองของผมคือ
    เมื่อเราทำทัวริงเทสต์กับบทกลอน
  • 8:07 - 8:10
    จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่การทดสอบ
    ความสามารถของคอมพิวเตอร์
  • 8:10 - 8:13
    เพราะการเรียบเรียงบทกลอนใหม่นี้
  • 8:13 - 8:18
    มันเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950
  • 8:19 - 8:22
    การที่เราทำทัวริงเทสต์กับบทกลอน
  • 8:22 - 8:27
    จริง ๆ แล้วมันคือการรวบรวมความคิดเห็น
    ว่าอะไรเป็นส่วนประกอบสร้างความเป็นมนุษย์
  • 8:28 - 8:31
    ผมค้นพบว่า
  • 8:31 - 8:34
    สิ่งที่เราเห็นกันไปในวันนี้
  • 8:34 - 8:36
    การที่เราบอกว่า วิลเลียม เบลค เป็นมนุษย์
  • 8:36 - 8:38
    มากกว่า เกอทรูด สไตน์
  • 8:38 - 8:41
    แน่นอน มันไม่ได้หมายความว่า วิลเลียม เบลค
  • 8:41 - 8:42
    เป็นมนุษย์มากกว่าจริง ๆ
  • 8:42 - 8:45
    หรือ เกอทรูด สไตน์ เป็นคอมพิวเตอร์มากกว่า
  • 8:46 - 8:50
    มันหมายความว่า
    ขอบเขตของการเป็นมนุษย์นั้น มันยืดหยุ่นได้
  • 8:51 - 8:54
    มันทำให้ผมเข้าใจว่า
  • 8:54 - 8:56
    มนุษย์ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่แน่นอน
  • 8:57 - 9:00
    แต่มนุษย์คือร่างประกอบของความนึกคิด
  • 9:00 - 9:03
    และอะไรบางอย่าง
    ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
  • 9:05 - 9:09
    ความเข้าใจอย่างสุดท้ายของผม
    คือคอมพิวเตอร์นั้น
  • 9:09 - 9:13
    ทำหน้าที่เสมือนกระจกเงา
    ที่สะท้อนความคิดของมนุษย์
  • 9:13 - 9:15
    ที่เราแสดงให้มันดู
  • 9:15 - 9:17
    เราให้มันดู เอมิลี่ ดิกคินสัน
  • 9:17 - 9:19
    มันก็ให้ เอมิลี่ ดิกคินสัน กลับมา
  • 9:20 - 9:22
    เราให้มันดู วิลเลียม เบลค
  • 9:22 - 9:24
    นั่นก็คือสิ่งที่มันสะท้อนกลับมา
  • 9:24 - 9:26
    หรือให้มันดู เกอทรูด สไตน์
  • 9:26 - 9:28
    สิ่งที่เราได้กลับมาก็คือ เกอทรูด สไตน์
  • 9:29 - 9:31
    ในแง่มุมที่เหนือกว่าการเป็นเทคโนโลยี
  • 9:31 - 9:37
    คอมพิวเตอร์เป็นกระจกสะท้อนอะไรก็ตาม
    ที่เราสอนมัน
  • 9:38 - 9:40
    ในช่วงที่ผ่านมา คุณอาจจะเคยได้ยินมาเยอะ
  • 9:40 - 9:43
    เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์
  • 9:45 - 9:48
    เรื่องที่คุยกันส่วนใหญ่ก็อย่างเช่น
  • 9:48 - 9:49
    เราสร้างมันได้ไหม
  • 9:50 - 9:53
    เราสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีปัญญาได้ไหม
  • 9:53 - 9:56
    เราสร้างคอมพิวเตอร์
    ที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้ไหม
  • 9:56 - 9:58
    และสิ่งที่เราเฝ้าถามอยู่ตลอดมาก็คือ
  • 9:58 - 10:01
    เราสร้างคอมพิวเตอร์ที่เหมือนมนุษย์ได้ไหม
  • 10:02 - 10:04
    แต่สิ่งที่เราเพิ่งเห็นกันไป
  • 10:04 - 10:07
    ก็ชัดเจนแล้วว่ามนุษย์ไม่ใช่
    ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
  • 10:07 - 10:10
    มันคือกลุ่มความนึกคิดที่เชื่อมโยงกัน
  • 10:10 - 10:13
    และแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา
  • 10:13 - 10:16
    ดังนั้น หากเราเริ่มหยิบยกประเด็น
  • 10:16 - 10:18
    ที่เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ขึ้นมาพูดในอนาคต
  • 10:18 - 10:20
    เราไม่ควรเอาแต่ถามว่า
  • 10:20 - 10:22
    "เราสร้างมันได้หรือไม่"
  • 10:22 - 10:23
    แต่เราควรถามตัวเราเองว่า
  • 10:23 - 10:27
    "ความนึกคิดของมนุษย์แบบไหน
    ที่เราต้องการให้มันสะท้อนกลับมา"
  • 10:28 - 10:31
    สิ่งนี้คือความคิดพื้นฐานทางปรัชญา
  • 10:31 - 10:34
    ซึ่งไม่สามารถหาคำตอบได้
    ด้วยซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียว
  • 10:34 - 10:38
    แต่ผมขอให้นึกถึงภาพของเผ่าพันธุ์อันยิ่งใหญ่
    ที่จะสะท้อนกลับมาด้วย
  • 10:39 - 10:40
    ขอบคุณครับ
  • 10:40 - 10:43
    (เสียงปรบมือ)
Title:
คอมพิวเตอร์เขียนกลอนได้หรือไม่
Speaker:
ออสการ์ สจ๊วตซ์ (Oscar Schwartz)
Description:

เมื่อคุณอ่านกลอน แล้วรู้สึกเคลิบเคลิ้มไปกับมัน แต่หลังจากนั้น คุณถึงทราบว่ามันถูกเขียนขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ คุณจะรู้สึกแตกต่างกับตอนแรกหรือไม่ คุณเคยคิดไหมว่าคอมพิวเตอร์สามารถแสดงอารมณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ หรือเคยรู้สึกตกหลุมพรางของกลวิธีง่ายๆ ในบางครั้ง สำหรับ Talk นี้ ออสการ์ สจ๊วตซ์ (Oscar Schwartz) นักเขียน จะมาอธิบายให้เราฟังว่าทำไมเราจึงมีการตอบสนองอย่างรุนแรงต่อคอมพิวเตอร์ที่เขียนกลอนได้ และการตอบสนองนี้ช่วยให้เราเข้าใจความหมายของการเป็นมนุษย์ได้อย่างไร

--

บททดสอบ #1

[กลอน 1]
เจ้าแมลงวันหนา
เจ้าเริงร่ายามหน้าร้อน
ฝ่ามือเราเลินเล่อ
เผลอปัดถูกตัวเจ้า
หรือเรานั้นไม่
ใช่แมลงเช่นเจ้า
หรือแท้จริงเจ้า
ใช่มนุษย์อย่างเราไม่

[กลอน 2]
เราสัมผัสได้
ผู้คนมากมายในชีวิต
ในยามเช้า
สังฆราชที่ฉันรังเกียจ
มิใช่ทุกค่ำคืนที่จะเริ่ม
ทำสิ่งอื่นอันยิ่งใหญ่
ฉันขดตัวราวกับงู
การคาดเดาอันยิ่งใหญ่
แท้จริง เจ้าหนูทางจิต หากฉัน
รู้ตัวอยู่ในปีที่สำคัญ
อย่างแน่นอน

--

บททดสอบ #2

[กลอน 1]
สิงโตคำราม สุนัขเห่าหอน ช่างน่าสนใจ
ทั้งน่าหลงใหล ที่นกบินไป
ใช่เห่าหอนคำราม เรื่องราวตรึงตราของสัตว์น้อยใหญ่
ตรึงใจในฝัน จะร้องเพลงไปด้วยกัน
หากยังเหลือเรี่ยวแรง

[กลอน 2]
โอ้ จิงโจ้ โลหะ ช็อคโกแลต โซดา
หน้าตาเจ้าช่างสวยใส
ไข่มุก กล่องดนตรี ต้นพุทรา ยาแก้ไข้
พวกเจ้าไงที่พวกเขาพูดถึง
ยังคำนึงรำพึงกลอนอันประหลาด
สิ่งเหล่านี้ล้วนอยู่กับเราทุกเช้าค่ำ
แม้ชายหาด หลุมศพอันมืดดำ
สิ่งเหล่านั้นมีความหมายแกร่งกล้าดังผาหิน

--

บททดสอบ #3

[กลอน 1]
ธงแดง เหตุแห่งธงงาม
และโบว์
โบว์ของธง
ซึ่งเปี่ยมด้วยเนื้อหา
เพื่อการเปี่ยมเนื้อหา
มอบความยินดี
ให้ฉันมีศาสนา
ศาสนาและแผ่นพสุธา
ศาสนาและวังวน
วังวนอันบริสุทธิ์ใส
กระตือรือร้นสนใจ

[กลอน 2]
เจ้ากวางล้ากระโจนลิ่ว
ฉันได้ยินเสียงของดอกแดฟโฟดีล
ฉันได้ยินเสียงของธงตระหง่าน
ฉันได้ยินเสียงพูดของนายพราน
หาใช่ความปิติของการสิ้นใจ
และทันใดกงล้อก็หยุดลง
รุ่งอรุณย่างเยือนเขยื้อนใกล้
รุ่งอรุณโผล่เหนือฟ้าอีกไม่ไกล
สิ่งที่ใกล้สัมผัสได้คือสิ้นหวัง
ปรารถนาอันคลุ้มคลั่งดังผ่านมา

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:56
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Can a computer write poetry?
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Can a computer write poetry?
Monsicha Suajorn edited Thai subtitles for Can a computer write poetry?
Monsicha Suajorn edited Thai subtitles for Can a computer write poetry?
Monsicha Suajorn edited Thai subtitles for Can a computer write poetry?
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for Can a computer write poetry?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Can a computer write poetry?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Can a computer write poetry?
Show all

Thai subtitles

Revisions