Return to Video

เราควรจะบริจาคในรูปแบบอื่นหรือไม่

  • 0:01 - 0:02
    ฉันคาดว่า
  • 0:02 - 0:04
    เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ทุกคนในแอฟริกา
  • 0:04 - 0:06
    จะมีช่วงหนึ่งในชีวิตการทำงาน
  • 0:06 - 0:09
    ที่อยากจะเอาเงินทั้งหมดสำหรับโครงการ
  • 0:09 - 0:12
    อาจจะเป็นโรงเรียน หรือโปรแกรมฝึกหัด
  • 0:12 - 0:14
    ใส่รวมกันในกระเป๋าเดินทาง
  • 0:14 - 0:18
    ขึ้นเครื่องบินไปยังหมู่บ้าน
    ที่จนที่สุดในประเทศ
  • 0:18 - 0:21
    แล้วโยนเงินลงออกทางหน้าต่าง
  • 0:21 - 0:23
    เพราะสำหรับคนที่ทำงานนี้มานาน
  • 0:23 - 0:26
    ความคิดที่จะเอาเงินสดเป็นมัด ๆ
  • 0:26 - 0:29
    ใส่มือของกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดบนโลก
  • 0:29 - 0:31
    ไม่ได้ฟังดูบ้า
  • 0:31 - 0:35
    แต่ฟังดูน่าพึงใจอย่างมาก
  • 0:35 - 0:38
    ฉันมีช่วงเวลานั้นราว ๆ ปีที่ 10 ของงาน
  • 0:38 - 0:40
    โชคดีที่นั่นก็เป็นตอนที่ฉันรู้ว่า
  • 0:40 - 0:44
    แนวคิดนี้มีอยู่จริง ๆ
  • 0:44 - 0:48
    และนั่นอาจเป็นสิ่งที่
    ระบบบรรเทาทุกข์ต้องการจริง ๆ
  • 0:48 - 0:51
    นักเศรษฐศาสตร์เรียกมันว่า
    การโอนเงินสดแบบไร้เงื่อนไข
  • 0:51 - 0:53
    มันก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ
  • 0:53 - 0:55
    ให้เงินโดยไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ
  • 0:55 - 0:57
    รัฐบาลประเทศกำลังพัฒนา
  • 0:57 - 0:58
    ทำแบบนี้มาหลายสิบปีแล้ว
  • 0:58 - 1:01
    และขณะนี้ก็มีหลักฐาน
  • 1:01 - 1:04
    และเทคโนโลยีทันสมัยพอที่ทำให้สามารถ
  • 1:04 - 1:08
    รูปแบบส่งความช่วยเหลือนี้
    เป็นจริงขึ้นมาได้
  • 1:08 - 1:11
    ดูจะเป็นไอเดียง่าย ๆ ใช่ไหมคะ
  • 1:11 - 1:15
    แล้วอย่างนี้ ทำไมฉันถึงใช้เวลา
    ร่วมสิบปีไปทำอย่างอื่น
  • 1:15 - 1:17
    เพื่อคนยากจน
  • 1:17 - 1:21
    พูดตรง ๆ ก็คือ ฉันคิดว่าฉันรู้จักใช้เงิน
  • 1:21 - 1:23
    เพื่อคนยากจนได้ดีกว่า
  • 1:23 - 1:25
    ที่คนยากจนจะใช้เพื่อตัวเอง
  • 1:25 - 1:27
    ฉันสันนิษฐานไว้สองข้อ
  • 1:27 - 1:29
    อย่างแรกคนจนยากจน ส่วนหนึ่งเพราะ
  • 1:29 - 1:31
    พวกเขาไม่มีการศึกษาและ
  • 1:31 - 1:33
    ตัดสินใจได้ไม่ดี
  • 1:33 - 1:36
    อีกอย่างคือ เราต้องการคนอย่างฉัน
  • 1:36 - 1:40
    เพื่อคิดแทนว่าเขาต้องการอะไร และนำไปให้
  • 1:40 - 1:44
    แต่ผลการศึกษาที่พบกลับบอกอีกอย่างหนึ่ง
  • 1:44 - 1:47
    ในปีหลัง ๆ มานี้ นักวิจัยได้ศึกษา
  • 1:47 - 1:50
    ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อคนยากจนได้รับเงินสด
  • 1:50 - 1:53
    การศึกษาหลายสิบชิ้นแสดงให้เห็นว่า
  • 1:53 - 1:56
    ในทุกกรณี คนจนใช้เงินที่ได้รับ
  • 1:56 - 1:58
    ในการพัฒนาชีวิตของพวกเขา
  • 1:58 - 2:01
    สตรีมีครรภ์ในอุรุกวัยซื้ออาหารที่ดีขึ้น
  • 2:01 - 2:03
    และให้กำเนิดบุตรที่สุขภาพดีกว่าเดิม
  • 2:03 - 2:06
    ชายชาวศรีลังกา ใช้เงินลงทุนในธุรกิจ
  • 2:06 - 2:09
    นักวิจัยที่ศึกษางานของเราในเคนยา
  • 2:09 - 2:12
    พบว่าผู้คนได้ลงทุนในสินทรัพย์หลายชนิด
  • 2:12 - 2:16
    ตั้งแต่ปศุสัตว์ อุปกรณ์
    ไปจนถึงการปรับปรุงที่พักอาศัย
  • 2:16 - 2:18
    และพวกเขามีรายได้มากขึ้น
  • 2:18 - 2:20
    จากธุรกิจและการทำไร่
  • 2:20 - 2:24
    เพียงหนึ่งปีหลังจากได้รับเงินช่วยเหลือ
  • 2:24 - 2:27
    ไม่มีการศึกษาใดที่พบว่าคนเหล่านี้
  • 2:27 - 2:29
    ใช้เงินกับสุราหรือบุหรี่มากขึ้น
  • 2:29 - 2:32
    หรือทำงานน้อยลง
  • 2:32 - 2:36
    กลับกันพวกเขาทำงานมากขึ้น
  • 2:36 - 2:39
    ทั้งหมดที่ว่าไปนี้เป็นแค่เรื่องวัตถุ
  • 2:39 - 2:42
    ในเวียดนาม ผู้สูงอายุที่ได้รับเงิน
  • 2:42 - 2:47
    ใช้เงินเพื่อซื้อโลงศพ
  • 2:47 - 2:51
    สำหรับคนอย่างฉันที่สงสัยว่า
    มาสโลว์อาจคิดผิด
  • 2:51 - 2:55
    ฉันคิดว่าการให้ความสำคัญกับ
    ความต้องการทางจิตวิญญาณนี้
  • 2:55 - 2:58
    น่านับถืออย่างมาก
  • 2:58 - 3:00
    ฉันคงไม่รู้ว่าจะให้อาหาร
  • 3:00 - 3:03
    หรืออุปกรณ์ หรือโลงศพดี
  • 3:03 - 3:06
    ซึ่งก็เป็นที่มาของคำถามว่า
  • 3:06 - 3:09
    เราจัดสรรทรัพยากร
  • 3:09 - 3:11
    แทนคนจนได้ดีแค่ไหน
  • 3:11 - 3:14
    เราคุ้มกับค่าใช้จ่ายไหม
  • 3:14 - 3:15
    เราอาจลองดูหลักฐานเชิงประจักษ์
  • 3:15 - 3:18
    ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราให้สิ่งของ
  • 3:18 - 3:21
    ที่เราเลือกให้เขา
  • 3:21 - 3:24
    งานชิ้นหนึ่งที่บอกเราได้มาก
    ศึกษาโครงการในอินเดีย
  • 3:24 - 3:27
    ซึ่งให้ปศุสัตว์กับกลุ่มคน
    ที่เรียกกันว่า "จนที่สุด"
  • 3:27 - 3:31
    ผลการศึกษาพบว่า 30% ของคนที่ได้รับสัตว์
  • 3:31 - 3:35
    หันมานำสัตว์ที่ได้รับเหล่านั้นไปขาย
  • 3:35 - 3:39
    เพื่อเงินสด
  • 3:39 - 3:40
    ที่ย้อนแย้งที่สุดคือ
  • 3:40 - 3:43
    ทุก ๆ 100 ดอลลาร์ที่โครงการนี้
  • 3:43 - 3:45
    ใช้ซื้อสินทรัพย์ให้คน
  • 3:45 - 3:50
    พวกเขาใช้อีก 99 ดอลลาร์ในกระบวนการช่วย
  • 3:50 - 3:53
    ถ้าเราใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเงินสด
  • 3:53 - 3:58
    ไม่ว่าจะจากองค์กรช่วยเหลือ หรือจากใครก็ตาม
  • 3:58 - 4:02
    ไปยังมือของคนยากไร้โดยตรงแทนล่ะ
  • 4:02 - 4:04
    วันนี้สามในสี่ของคนเคนยาใช้เงินพกพา
  • 4:04 - 4:07
    ซึ่งพูดง่าย ๆ ก็คือบัญชีธนาคาร
  • 4:07 - 4:09
    ที่ใช้ได้บนมือถือ
  • 4:09 - 4:12
    ผู้ให้เงินสามารถจ่ายค่าธรรมเนียม 1.6%
  • 4:12 - 4:14
    และกดเพียงปุ่มเดียว
  • 4:14 - 4:17
    เพื่อส่งเงินเข้าบัญชีผู้รับได้
  • 4:17 - 4:20
    โดยที่ไม่ต้องผ่านคนกลาง
  • 4:20 - 4:23
    เช่นเดียวกับเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนโฉม
  • 4:23 - 4:25
    อุตสาหกรรมในชีวิตเรา
  • 4:25 - 4:27
    เทคโนโลยีการจ่ายเงินในประเทศยากจน
  • 4:27 - 4:30
    ก็เปลี่ยนโฉมการช่วยเหลือได้
  • 4:30 - 4:33
    มันกระจายเร็วมากขนาดที่เรา
  • 4:33 - 4:35
    สามารถจินตนาการการเข้าถึงคนจน
  • 4:35 - 4:38
    นับพันล้านบนโลกได้ด้วยวิธีนี้
  • 4:38 - 4:40
    นั่นเป็นสิ่งที่เราเริ่มทำที่ GiveDirectly
  • 4:40 - 4:42
    เราเป็นองค์กรแรก
  • 4:42 - 4:45
    ที่อุทิศตัวให้กับการโอนเงินสดให้ผู้ยากไร้
  • 4:45 - 4:50
    เราได้ส่งเงินสดให้คนกว่า 35,000
    คนในเขตชานเมืองของเคนยา
  • 4:50 - 4:51
    และอูกันดา
  • 4:51 - 4:54
    ส่งแบบครั้งเดียว 1,000 ดอลลาร์
  • 4:54 - 4:57
    ต่อครอบครัว
  • 4:57 - 4:59
    ตลอดมา เรามองหากลุ่มคนจนที่สุด
  • 4:59 - 5:02
    ในหมู่บ้านที่จนที่สุด และในทวีปนี้
  • 5:02 - 5:04
    พวกเขาอยู่ในบ้าน
  • 5:04 - 5:05
    ที่ทำจากดินกับฟาง
  • 5:05 - 5:08
    ไม่ใช่ซีเมนต์กับเหล็ก
  • 5:08 - 5:10
    สมมุติว่านี่เป็นครอบครัวคุณ
  • 5:10 - 5:12
    เราจะไปหาคุณพร้อมกับมือถือแอนดรอยด์
  • 5:12 - 5:15
    เราจะขอชื่อคุณ ถ่ายรูปคุณ
  • 5:15 - 5:16
    และรูปกระท่อมของคุณ
  • 5:16 - 5:18
    และบันทึกพิกัด GPS
  • 5:18 - 5:21
    คืนนั้น เราจะส่งข้อมูลไปบนคลาวด์
  • 5:21 - 5:23
    และข้อมูลแต่ละชิ้นจะถูก
  • 5:23 - 5:25
    ตรวจสอบโดยทีมงานอิสระ
  • 5:25 - 5:28
    โดยอาจใช้อุปกรณ์อย่างภาพถ่ายดาวเทียม
  • 5:28 - 5:30
    จากนั้นเราจะกลับไปหาคุณ
  • 5:30 - 5:32
    ขายมือถือธรรมดา ๆ ให้คุณ
  • 5:32 - 5:35
    ถ้าคุณยังไม่มี
  • 5:35 - 5:37
    และไม่กี่สัปดาห์ต่อมา
  • 5:37 - 5:39
    เราจะส่งเงินเข้ามือถือนั้น
  • 5:39 - 5:41
    เมื่อห้าปีก่อน
  • 5:41 - 5:42
    คงจะดูเป็นไปไม่ได้
  • 5:42 - 5:45
    แต่ตอนนี้เราทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 5:45 - 5:47
    และปราศจากคอร์รัปชัน
  • 5:47 - 5:50
    ยิ่งเราให้เงินสดแก่คนจน
  • 5:50 - 5:53
    และมีหลักฐานว่าได้ประโยชน์จริงมากเท่าไร
  • 5:53 - 5:56
    เรายิ่งต้องพิจารณา
  • 5:56 - 5:58
    สิ่งของอย่างอื่นที่เราให้ใหม่
  • 5:58 - 6:02
    วันนี้ ตรรกะที่เราใช้ช่วยเหลือมักจะเป็น
  • 6:02 - 6:05
    อย่างน้อยเราก็ช่วยได้บ้าง
  • 6:05 - 6:06
    เมื่อเราพอใจให้
  • 6:06 - 6:09
    นั่นเป็นมาตรฐาน
  • 6:09 - 6:11
    เมื่อเราบอกตัวเองว่า ได้ช่วยเหลือบ้าง
  • 6:11 - 6:14
    ก็ดีกว่าไม่ได้ช่วยอะไรเลย
  • 6:14 - 6:17
    เรามักจะลงทุนอย่างไม่คุ้มค่า
  • 6:17 - 6:21
    ไปกับความคิดของเราที่เรารู้สึกว่า
    เป็นเรื่องสร้างสรรค์
  • 6:21 - 6:23
    ใช้ไปกับการเขียนรายงาน
  • 6:23 - 6:27
    ตั๋วเครื่องบิน และรถเอสยูวี
  • 6:27 - 6:29
    ถ้าเราเปลี่ยนตรรกะเป็น
  • 6:29 - 6:34
    เราจะทำได้ดีกว่าให้เงินสดโดยตรงหรือเปล่า
  • 6:34 - 6:36
    องค์กรจะต้องพิสูจน์
  • 6:36 - 6:38
    ว่าพวกเขาทำประโยชน์ให้คนจน
  • 6:38 - 6:41
    ได้มากกว่าคนจนทำประโยชน์ให้ตัวเอง
  • 6:41 - 6:44
    แน่นอนว่า เงินสดจะไม่สร้างประโยชน์สาธารณะ
  • 6:44 - 6:49
    อย่างการกำจัดโรค หรือสร้างสถาบันที่แข็งแรง
  • 6:49 - 6:51
    แต่มันสร้างมาตรฐานที่สูงขึ้น
  • 6:51 - 6:54
    สำหรับการช่วยเหลือแต่ละครอบครัว
  • 6:54 - 6:57
    พัฒนาชีวิตพวกเขา
  • 6:57 - 6:59
    ฉันเชื่อในของบรรเทาทุกข์
  • 6:59 - 7:02
    ฉันเชื่อว่าของส่วนมากดีกว่า
  • 7:02 - 7:04
    การโยนเงินจากเครื่องบิน
  • 7:04 - 7:06
    แต่ฉันก็มั่นใจอย่างมากด้วยว่า
  • 7:06 - 7:09
    ทุกวันนี้ของช่วยเหลือจำนวนมาก
  • 7:09 - 7:12
    ไม่ได้ดีไปกว่าการให้เงินคนยากจนโดยตรง
  • 7:12 - 7:16
    ฉันหวังว่า สักวันหนึ่งมันจะดีกว่า
  • 7:16 - 7:18
    ขอบคุณค่ะ
  • 7:18 - 7:22
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เราควรจะบริจาคในรูปแบบอื่นหรือไม่
Speaker:
จอย ซัน
Description:

เทคโนโลยีทำให้เราสามารถให้เงินสดแก่กลุ่มคนที่จนที่สุดบนโลกใบนี้ได้แต่เราควรจะทำอย่างนั้นหรือเปล่า สำหรับทอล์คที่ชวนให้ขบคิดนี้ จอย ซัน เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์มากประสบการณ์ เล่าเกี่ยวกับสองวิธีในการช่วยเหลือผู้ยากไร้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
07:35
TED Translators admin approved Thai subtitles for Should you donate differently?
Tamrerk Nasomyont edited Thai subtitles for Should you donate differently?
Tamrerk Nasomyont edited Thai subtitles for Should you donate differently?
Tamrerk Nasomyont edited Thai subtitles for Should you donate differently?
Tamrerk Nasomyont accepted Thai subtitles for Should you donate differently?
Tamrerk Nasomyont edited Thai subtitles for Should you donate differently?
Tamrerk Nasomyont edited Thai subtitles for Should you donate differently?
Tamrerk Nasomyont edited Thai subtitles for Should you donate differently?
Show all

Thai subtitles

Revisions