Return to Video

ต้นไม้บอกเวลาได้อย่างไร - ดาชา ซาเวจ (Dasha Savage)

  • 0:07 - 0:08
    ในศตวรรษที่ 18
  • 0:08 - 0:13
    นักพฤษศาสตร์ชาวสวีเดน คาโลลาส ลินเนียส
    ได้ออกแบบนาฬิกาดอกไม้
  • 0:13 - 0:16
    ชิ้นงานเกี่ยวกับเวลาที่ทำจากไม้ดอก
  • 0:16 - 0:21
    ที่บานและหุบตามเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน
  • 0:21 - 0:25
    แผนของลินเนียสไม่ได้สมบูรณ์นัก
    แต่ความคิดพื้นฐานนั้นถูกต้อง
  • 0:25 - 0:29
    ดอกไม้สามารถสัมผัสได้ถึงเวลา
    ตามการออกแบบ
  • 0:29 - 0:34
    ดอกผักบุ้งคลี่กลีบของพวกมัน
    เหมือนกับลานนาฬิกาในตอนเช้าตรู่
  • 0:34 - 0:38
    ดอกบัวสีขาวหุบดอก
    เป็นสัญญาณว่า นี่มันบ่ายแก่ๆ แล้ว
  • 0:38 - 0:43
    และดอกชมจันทร์ก็เป็นอย่างที่ชื่อมันบอก
    คือบานเฉพาะใต้ท้องฟ้ายามค่ำคืน
  • 0:43 - 0:47
    อะไรที่ทำให้ต้นไม้
    มีสัมผัสเรื่องเวลามาตั้งแต่แรก
  • 0:47 - 0:49
    ความจริงแล้ว ไม่ใช่เฉพาะต้นไม้หรอก
  • 0:49 - 0:52
    สิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลก
    เหมือนจะได้รับการถ่ายทอด
  • 0:52 - 0:55
    ในการรับรู้ว่าพวกมัน
    อยู่ ณ เวลาไหนของวันแล้ว
  • 0:55 - 0:57
    นั่นเป็นเพราะว่า เซอร์คาเดียน ริทึม
    (circadian rhythms)
  • 0:57 - 1:02
    ตัวรักษาเวลาภายใน
    ที่เคาะเวลาในสิ่งมีชีวิตต่างๆ
  • 1:02 - 1:07
    นาฬิกาธรรมชาติเหล่านี้
    อนุญาตให้สิ่งมีชีวิตรับรู้เวลาได้
  • 1:07 - 1:11
    และรับรู้สัญญาณจากธรรมชาติ
    ที่ช่วยให้พวกมันปรับตัวได้
  • 1:11 - 1:14
    นั่นมันสำคัญ เพราะว่า
    การหมุนและการเปลี่ยนแปลงของโลก
  • 1:14 - 1:17
    ทำให้เราอยู่ในสถานะ
    ที่เคลื่อนที่อย่างคงที่
  • 1:17 - 1:21
    แม้ว่าจะเกิดขึ้นซ้ำๆ และคาดเดาได้
  • 1:21 - 1:24
    เซอร์คาร์เดียน ริทึม
    ทำงานร่วมกับสัญญาณต่างๆ
  • 1:24 - 1:28
    ในการควบคุมว่าเมื่อไร
    สิ่งมีชีวิตควรที่จะหลับหรือตื่น
  • 1:28 - 1:30
    และทำกิจกรรมต่างๆ
  • 1:30 - 1:35
    สำหรับพืช แสงและอุณหภูมิ
    เป็นสัญญาณที่กระตุ้นปฏิกิริยา
  • 1:35 - 1:37
    ที่มีบทบาทในระดับโมเลกุล
  • 1:37 - 1:42
    เซลล์ในก้าน ใบ และดอก
    มีไฟโตโครม
  • 1:42 - 1:45
    ซึ่งคือโมเลกุลเล็กๆ ที่ตรวจจับแสง
  • 1:45 - 1:50
    เมื่อมีแสงเกิดขึ้น
    ไฟโตโครมจะกระตุ้นสายปฏิกิริยาเคมี
  • 1:50 - 1:53
    ส่งสัญญาณลงไปยังนิวเคลียสของเซลล์
  • 1:53 - 1:57
    ทรานซ์คริปชัน เฟกเตอร์
    จะกระตุ้นการสร้างโปรตีนที่ต้องการ
  • 1:57 - 2:01
    ในกระบวนการที่จำเป็นต้องใช้แสง
  • 2:01 - 2:03
    เช่น การสังเคราะห์ด้วยแสง
    (photosynthesis)
  • 2:03 - 2:07
    ไฟโตโครมเหล่านี้ไม่เพียงแต่สัมผัส
    ปริมาณแสงที่พืชได้รับ
  • 2:07 - 2:09
    แต่มันยังตรวจจับได้ถึงความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
  • 2:09 - 2:14
    ในการกระจายของความยาวคลื่น
    ที่พืชรับเข้ามา
  • 2:14 - 2:16
    การรับสัญญาณที่ค่อนข้างละเอียดนี้
  • 2:16 - 2:19
    ไฟโตโครมจึงทำให้ให้พืชเข้าใจทั้งเวลา
  • 2:19 - 2:22
    และความแตกต่างของช่วงกลางวันและช่วงเย็น
  • 2:22 - 2:26
    และสถานที่ที่ไม่ว่า
    จะอยู่ในบริเวณที่มีแสงส่องถึงหรืออยู่ในร่ม
  • 2:26 - 2:31
    พืชก็สามารถที่จะจับคู่ปฏิกิริยาเคมี
    ที่เข้ากับสิ่งแวดล้อมของมันได้
  • 2:31 - 2:33
    สิ่งนี้สร้างขึ้นเพื่อสิ่งที่ตื่นเช้า
  • 2:33 - 2:37
    ก่อนดวงอาทิตย์จะขึ้นสักสองสามชั่วโมง
    พืชบางชนิดก็เริ่มตื่นตัว
  • 2:37 - 2:42
    สร้างรูปแบบ MRNA ให้แก่กลไก
    การสังเคราะห์ด้วยแสงของมัน
  • 2:42 - 2:45
    เมื่อไฟโตโครมตรวจจับแสงแดดที่เพิ่มขึ้นได้แล้ว
  • 2:45 - 2:47
    พืชก็เตรียมความพร้อมของโมเลกุลจับแสง
  • 2:47 - 2:52
    เพื่อที่มันจะสามารถสังเคราะห์ด้วยแสง
    และเติบโตไปตลอดช่วงเช้า
  • 2:52 - 2:54
    หลังจากเก็บเกี่ยวแสงในช่วงเช้าแล้ว
  • 2:54 - 2:57
    พืชจะใช้เวลาที่เหลือสร้างห่วงโซ่พลังงาน
  • 2:57 - 3:01
    ในรูปของกลูโคสโพลิเมอร์ เช่น แป้ง
  • 3:01 - 3:04
    เมื่อดวงอาทิตย์ตก งานในช่วงวันก็จบลง
  • 3:04 - 3:08
    แม้ว่าพืชจะไม่ตื่นตัวในตอนกลางคืน
  • 3:08 - 3:09
    เมื่อไม่มีแสงแดด
  • 3:09 - 3:11
    พืชจะเผาผลาญอาหารและเติบโต
  • 3:11 - 3:15
    ย่อยแป้งจากพลังงาน
    ที่เก็บเกี่ยวได้จากวันก่อนหน้านี้
  • 3:15 - 3:18
    พืชต่างๆ มีจังหวะฤดูกาลเช่นกัน
  • 3:18 - 3:20
    เมื่อฤดูใบไม้ผลิละลายหิมะฤดูหนาว
  • 3:20 - 3:24
    ไฟโตโครมก็รับรู้ได้ถึงช่วงวันที่ยาวขึ้น
    และการเพิ่มขึ้นของแสง
  • 3:24 - 3:29
    และกลไกที่ตอนนี้ยังไม่รู้จักนั้น ได้
    ตรวจจับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้
  • 3:29 - 3:31
    ระบบเหล่านี้ส่งสัญญาณไปทุกระบบของพืช
  • 3:31 - 3:34
    และทำให้ดอกไม้บาน
  • 3:34 - 3:38
    เพื่อเป็นการเตรียมสำหรับการถ่ายละอองเกสร
    ที่เกิดขึ้นก่อนที่อากาศจะอบอุ่นมากขึ้น
  • 3:38 - 3:42
    เซอร์คาเดียน ริทึม ทำหน้าที่เป็นเหมือน
    ตัวเชื่อมระหว่างพืชและสภาพแวดล้อม
  • 3:42 - 3:45
    จังหวะเหล่านี้เกิดจากการทำงานของพืชเอง
  • 3:45 - 3:48
    ที่แต่ละอันจะมีจังหวะแตกต่างกันไป
  • 3:48 - 3:51
    ถึงกระนั้น นาฬิกาเหล่านี้
    สามารถปรับการจังหวะของมัน
  • 3:51 - 3:54
    ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
    และสัญญาณต่างๆ ได้
  • 3:54 - 3:56
    ในดาวเคราะห์ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างคงที่
  • 3:56 - 4:01
    เซอร์คาเดียน ริทึม จะทำให้พืช
    ทำงานตามตารางเวลาของมัน
  • 4:01 - 4:03
    และรักษาเวลาของตัวเองได้
Title:
ต้นไม้บอกเวลาได้อย่างไร - ดาชา ซาเวจ (Dasha Savage)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-plants-tell-time-dasha-savage

ดอกผักบุ้งคลีกลีบของพวกมันเหมือนกับลานนาฬิกาในตอนเช้าตรู่ การหุบของดอกบัวสีขาวเป็นสัญญาณว่า นี่มันบ่ายแก่ๆ แล้ว และดอกชมจันทร์ ก็เป็นอย่างที่ชื่อมันบอก คือบานเฉพาะใต้ท้องฟ้ายามค่ำคืน อะไรที่ทำให้ต้นไม้มีสัมผัสเรื่องเวลามาตั้งแต่แรก ดาชา ซาเวจ สืบเสาะว่า เซอร์เคเดี้ยน ริทึ่ม ทำหน้าที่อย่างไรในฐานะผู้จับเวลาจากภายในสำหรับสัตว์และพืช

บทเรียนโดย Dasha Savage, แอนิเมชั่นโดย Avi Ofer.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:20
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How plants tell time - Dasha Savage
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How plants tell time - Dasha Savage
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How plants tell time - Dasha Savage
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How plants tell time - Dasha Savage
Tisa Tontiwatkul accepted Thai subtitles for How plants tell time - Dasha Savage
Tisa Tontiwatkul edited Thai subtitles for How plants tell time - Dasha Savage
Tisa Tontiwatkul edited Thai subtitles for How plants tell time - Dasha Savage
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How plants tell time - Dasha Savage
Show all

Thai subtitles

Revisions