Return to Video

อี โอ วิลสัน (E.O. Wilson): คำแนะนำสำหรับนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์

  • 0:02 - 0:04
    สิ่งที่ผมจะทำก็คือให้ข้อสังเกตสองสามข้อ
  • 0:04 - 0:08
    จากหนังสือเล่มที่ผมกำลังเขียน ชื่อว่า
  • 0:08 - 0:11
    "จดหมายถึงนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์"
  • 0:11 - 0:13
    ผมได้คิดแล้วว่าน่าจะเหมาะสม
  • 0:13 - 0:18
    ที่จะนำเสนอเรื่องนี้ บนพื้นฐานที่ว่าผมมีประสบการณ์ที่กว้างขวาง
  • 0:18 - 0:21
    ในการสอน การให้คำปรึกษา
    แก่นักวิทยาศาสตร์โดยตลอดในสาขาต่างๆ
  • 0:21 - 0:27
    และคุณคงอยากจะฟังหลักเกณฑ์บางอย่าง
    ที่ผมได้พัฒนาขึ้น
  • 0:27 - 0:29
    จากการสอนและการให้คำปรึกษานั้น
  • 0:29 - 0:31
    ผมจึงขอเริ่มต้นด้วยการกระตุ้นคุณ
  • 0:31 - 0:34
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่ยังเยาว์วัยอยู่
  • 0:34 - 0:36
    บนวิถีทางที่คุณได้เลือกแล้วนี้
  • 0:36 - 0:38
    จงไปให้ก้าวไกลที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้
  • 0:38 - 0:41
    โลกต้องการคุณ อย่างมากมายเหลือเกิน
  • 0:41 - 0:46
    ปัจจุบันมนุษยชาติอยู่ในยุคของ
    วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอย่างเต็มที่
  • 0:46 - 0:48
    จะไม่มีการกลับไปเหมือนอย่างเก่าอีกแล้ว
  • 0:48 - 0:53
    แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันระหว่างสาขาวิชาต่างๆ
    เช่นสาขาวิชาดาราศาสตร์
  • 0:53 - 0:57
    พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา
  • 0:57 - 1:03
    การสาธารณสุข จนถึงสาขาใหม่ของร่างกายคนคือ
    การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต (symbiont)
  • 1:03 - 1:06
    จนถึงการสาธารณสุข วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • 1:06 - 1:09
    ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์โดยรวม
  • 1:09 - 1:12
    เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆ 15 ถึง 20 ปี
  • 1:12 - 1:15
    เทคโนโลยีก็กำลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่ทัดเทียมกัน
  • 1:15 - 1:18
    ศาสตร์ทั้งสองนั้น
  • 1:18 - 1:21
    อย่างที่ท่านในที่นี้ส่วนมากก็ตระหนักดี
  • 1:21 - 1:23
    ได้เข้ามามีบทบาทในทุกๆมิติของชีวิตมนุษย์
  • 1:23 - 1:29
    การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    เป็นไปอย่างฉับไวมาก
  • 1:29 - 1:33
    การเปลี่ยนในทิศทางของมันน่าตกใจมาก
    จนไม่มีผู้ใดสามารถคาดเดาได้
  • 1:33 - 1:38
    ถึงผลของมันแม้แค่หนึ่งทศวรรษจากนี้ไป
  • 1:38 - 1:39
    แน่นอนมันจะถึงเวลา
  • 1:39 - 1:43
    ที่การค้นพบและความรู้ที่เพิ่มขึ้นๆอย่างรวดเร็วนี้
  • 1:43 - 1:45
    ซึ่งจริงๆได้เริ่มเกิดขึ้นแล้วในศตวรรษที่ 17
  • 1:45 - 1:48
    ต้องถึงจุดสูงสุดและหยุดอยู่ในระดับคงที่
  • 1:48 - 1:49
    แต่นั่นไม่ได้มีความสำคัญต่อคุณ
  • 1:49 - 1:51
    การเปลี่ยนแปลงนี้จะยังคงต่อเนื่องไป
  • 1:51 - 1:54
    อย่างน้อยที่สุดเป็นเวลาอีกหลายทศวรรต
  • 1:54 - 1:55
    มันจะช่วยให้สภาวะของมนุษยชาติ
  • 1:55 - 1:58
    แตกต่างไปอย่างมากทีเดียว จากที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
  • 1:58 - 2:04
    สาขาวิชาต่างๆที่มีอยู่เดิมจะยังคงเติบโตต่อไป
  • 2:04 - 2:09
    และเมื่อเป็นเช่นนั้น นักวิทยาศาสตร์ก็จะพบ
    และสร้างวิชาความรู้ใหม่ๆขึ้นมาอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • 2:09 - 2:13
    เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง วิทยาศาสตร์ทั้งหมดก็จะกลายเป็น
  • 2:13 - 2:18
    ลำดับที่ต่อเนื่องของคำบรรยาย คำอธิบายของเครือข่าย
    และของกฎระเบียบและกฎหมาย
  • 2:18 - 2:21
    และนั่นคือ ทำไมคุณจึงจำต้องไม่เพียงแค่ฝึกฝน
  • 2:21 - 2:26
    ให้มีความชำนาญพิเศษในเรื่องหนึ่ง
    แต่ยังต้องเรียนรู้อย่างกว้างขวางในสาขาอื่นๆด้วย
  • 2:26 - 2:29
    ทั้งที่สัมพันธ์กัน และแม้จะห่างจากความชำนาญพิเศษ
    อย่างแรกของคุณก็ตาม
  • 2:29 - 2:33
    เปิดตาของคุณไว้และเหลียวมองไปรอบๆตัวคุณไว้
  • 2:33 - 2:37
    การค้นหาความรู้อยู่ในยีนของพวกเรา
  • 2:37 - 2:40
    มันถูกใส่ไว้ในนั้นโดยบรรพบุรุษของเราเนิ่นนานมาแล้ว
  • 2:40 - 2:42
    บรรพบุรุษของเราซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลก
  • 2:42 - 2:43
    และยีนก็จะไม่ถูกทำให้หมดไป
  • 2:43 - 2:47
    ดังนั้นเพื่อที่จะเข้าใจและใช้มันอย่างมีสติ
  • 2:47 - 2:50
    ให้เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมที่ยังคงวิวัฒนาการอยู่
  • 2:50 - 2:56
    เราจำต้องมีประชากรที่ได้รับการฝึกฝนทางวิทยาศาสตร์
    เหมือนอย่างท่านเพิ่มขึ้นมากๆ
  • 2:56 - 3:00
    ในทางการศึกษา การแพทย์ กฎหมาย และการทูต
  • 3:00 - 3:05
    รัฐบาล ธุรกิจและสื่อสารมวลชนที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้
  • 3:05 - 3:10
    ผู้นำทางการเมืองของเรา อย่างน้อยที่สุดจำต้องมีระดับความรู้
    ทางวิทยาศาสตร์อย่างพอเพียง
  • 3:10 - 3:13
    ซึ่งปัจจุบันยังขาดอยู่อย่างมากที่สุด
  • 3:13 - 3:14
    กรุณาอย่าเพิ่งปรบมือครับ
  • 3:14 - 3:17
    มันจะดียิ่งขึ้นสำหรับทุกคน
  • 3:17 - 3:21
    ถ้าพวกเขาเตรียมตัวไว้ให้พร้อมก่อนเข้ารับหน้าที่
    แทนที่จะมาเรียนรู้เอาในช่วงที่เข้าไปทำงานแล้ว
  • 3:21 - 3:25
    ดังนั้นจะดีสำหรับคุณ ที่จะปฏิบัติงานรองควบคู่ไปกับงานหลัก
  • 3:25 - 3:27
    ไม่ว่าคุณจะปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ
    มานานแค่ไหน
  • 3:27 - 3:31
    คุณอาจออกไปทำงานในฐานะเป็นครู
  • 3:31 - 3:33
    ในระหว่างการประกอบอาชีพของคุณ
  • 3:33 - 3:35
    ตอนนี้ผมจะไปอย่างเร็วนะครับ
  • 3:35 - 3:38
    และก่อนที่จะพูดถึงสิ่งอื่น
    ก็จะพูดถึงเรื่องที่เป็นทั้งสิ่งมีค่าที่ขาดเสียไม่ได้
  • 3:38 - 3:41
    และน่าจะเป็นอุปสรรคต่องานอาชีพด้านวิทยาศาสตร์
  • 3:41 - 3:45
    ถ้าคุณไม่ค่อยมีทักษะด้านคณิตศาสตร์
  • 3:45 - 3:46
    ก็ไม่ต้องกังวลหรอกครับ
  • 3:46 - 3:49
    นักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากหลายคน
  • 3:49 - 3:53
    ที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันนี้
    เป็นคนที่มีความรู้คณิตศาสตร์ครึ่งๆกลางๆ
  • 3:53 - 3:55
    ตรงนี้อาจจะอุปมาได้ว่า
  • 3:55 - 4:01
    ขณะที่นักคณิตศาสตร์ นักสถิติและนักทฤษฎีชั้นยอด
  • 4:01 - 4:06
    ทำหน้าที่เป็นสถาปนิกในขอบเขตวิทยาศาสตร์
    ที่กำลังขยายออกไป
  • 4:06 - 4:10
    นักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ทั่วๆไปจำนวนมากที่เหลือ
  • 4:10 - 4:15
    ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่คนจำนวนมาก
  • 4:15 - 4:20
    ที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นคนระดับเลิศ
    เป็นผู้ซึ่งเขียนแผนที่ในสายงานของเขา เป็นผู้ออกสำรวจ
  • 4:20 - 4:23
    เป็นแนวหน้า ผู้ตัดเส้นทาง
  • 4:23 - 4:26
    พวกเขาจัดสร้างอาคารตามเส้นทางนั้น
  • 4:26 - 4:29
    บางท่านอาจเห็นว่าผมเป็นคนชอบเสี่ยง
  • 4:29 - 4:33
    แต่มันได้เป็นอุปนิสัยของผมไปแล้ว
    ที่จะปัดความกลัวคณิตศาสตร์ทิ้งไป
  • 4:33 - 4:35
    เมื่อได้คุยกับคนที่สมัครเข้ามาเป็นนักวิทยาศาสตร์
  • 4:35 - 4:38
    ตลอดเวลา 41 ปีของการสอนชีววิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  • 4:38 - 4:43
    ผมเฝ้าดูอย่างเศร้าๆเมื่อนักศึกษาที่ฉลาดหันหลัง
  • 4:43 - 4:45
    ให้กับโอกาสที่เป็นไปได้ของงานอาชีพด้านวิทยาศาสตร์
  • 4:45 - 4:49
    หรือไม่เลือกที่จะเรียนวิชาเลือกที่เป็นวิทยาศาสตร์
  • 4:49 - 4:51
    เพราะว่าพวกเขากลัวที่จะล้มเหลว
  • 4:51 - 4:54
    โรคกลัวคณิตศาสตร์กีดกั้นวิทยาศาสตร์และการแพทย์
  • 4:54 - 4:58
    จากคนที่มีพรสวรรค์จำนวนนับไม่ถ้วน
    ที่เราต้องการอย่างเหลือเกิน
  • 4:58 - 5:02
    นี่เป็นวิธีผ่อนคลายความเครียดต่างๆของคุณ
    ถ้าคุณเครียด
  • 5:02 - 5:04
    โปรดเข้าใจว่า คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง
  • 5:04 - 5:08
    ซึ่งมีกฎเกณฑ์เหมือนกับภาษาต่างๆที่ใช้พูดกัน
  • 5:08 - 5:11
    หรือโดยทั่วไปก็เหมือนกับภาษาพูด โดยหลักไวยากรณ์
  • 5:11 - 5:13
    และโดยระบบที่มีตรรกะ
  • 5:13 - 5:16
    ผู้ใดก็ตามที่มีความฉลาดในระดับปกติ
  • 5:16 - 5:19
    ผู้ที่เรียนอ่านและเขียนคณิตศาสตร์ได้
  • 5:19 - 5:26
    ในระดับประถมศึกษา ก็จะรู้สึกยากอยู่บ้างเล็กน้อย
    เหมือนกับการเรียนภาษาพูด
  • 5:26 - 5:28
    ที่เราจะค่อยๆจดจำกฎเกณฑ์พื้นฐานส่วนมาก
  • 5:28 - 5:33
    ถ้าพวกเขาเลือกที่จะเรียนรู้วิธีการพูดคณิตศาสตร์ที่ชัดเจน
    ในวิชาวิทยาศาสตร์ส่วนมาก
  • 5:33 - 5:37
    ยิ่งถ้ารอจนกลายเป็นคนรู้แค่ครึ่งๆกลางๆนานมากขึ้นเท่าใด
  • 5:37 - 5:43
    ก็จะยิ่งยากที่จะเรียนภาษาคณิตศาสตร์จนสามารถใช้การได้
    เฉกเช่นนั้น ก็เหมือนกับภาษาพูด
  • 5:43 - 5:46
    แต่สามารถเรียนได้ไม่ว่าอายุจะเท่าใดก็ตาม
  • 5:46 - 5:48
    ผมพูดในฐานะเป็นผู้ชำนาญการในกรณีนั้น
  • 5:48 - 5:51
    เพราะว่าผมนี่อาการหนักสุด
  • 5:51 - 5:55
    ผมไม่ได้เรียนวิชาพีชคณิต จนกระทั่งมาอยู่ปีหนึ่ง
  • 5:55 - 5:57
    ที่มหาวิทยาลัยอลาบามา
  • 5:57 - 5:59
    ก่อนหน้านั้นเขาไม่ได้สอนวิชานี้กัน
  • 5:59 - 6:04
    ในที่สุดผมก็มาเรียนวิชาแคลคูลัส เมื่ออายุ 32 ปี
    เป็นศาสตราจารย์ประจำฮาร์วาร์ด
  • 6:04 - 6:09
    ซึ่งผมนั่งเรียนอย่างไม่ค่อยสบายใจนัก
    ในชั้นเรียนกับนักศึกษาปริญญาตรี
  • 6:09 - 6:11
    อายุมากกว่าครึ่งชีวิตผมหน่อยเดียว
  • 6:11 - 6:13
    สองคนในนั้นเป็นนักศึกษา
  • 6:13 - 6:16
    ในวิชาวิวัฒนาการที่ผมกำลังสอนเขาอยู่
  • 6:16 - 6:21
    ผมต้องกลํ้ากลืนความทนงของผมไว้
    และเรียนวิชาแคลคูลัส
  • 6:21 - 6:24
    ผมพบว่าวิทยาศาสตร์และการนำไปใช้ทั้งหมดนั้น
  • 6:24 - 6:28
    สิ่งที่สำคัญมาก ไม่ใช่ความสามารถทางเทคนิค
  • 6:28 - 6:32
    แต่มันเป็นจินตนาการของการนำไปใช้
  • 6:32 - 6:36
    ความสามารถในการสร้างความคิดรวบยอด
    ด้วยรูปลักษณ์และกระบวนการ
  • 6:36 - 6:39
    ถูกจินตนาการขึ้นด้วยสัญชาติญาณ
  • 6:39 - 6:43
    ผมพบว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์นั้น
    ยากที่จะมาจากผู้จัดสอนหรือบอกต่อ
  • 6:43 - 6:46
    หรือจากคนที่ความสามารถยืนสอนที่กระดานดำ
  • 6:46 - 6:49
    และเล่นกลวาดรูป พิสูจน์และคลี่คลายปัญหาคณิตศาสตร์
  • 6:49 - 6:51
    และสมการต่างๆ
  • 6:51 - 6:57
    แต่มันเป็นผลมาจากจินตนาการของผู้ที่เข้ามาหาศึกษาหาความรู้
    ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานอย่างแข็งขัน
  • 6:57 - 7:01
    ซึ่งในช่วงนั้น อาจจำเป็นต้องนำการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
    มาใช้หรือไม่ก็ได้
  • 7:01 - 7:06
    ความคิดผุดออกมาเมื่อส่วนของโลกที่เป็นจริง
    หรือที่จินตนาการไว้ถูกนำมาศึกษา
  • 7:06 - 7:08
    เพื่อคุณค่าของตัวมันเอง
  • 7:08 - 7:13
    ความสำคัญอย่างที่สุดก็คือ
    ความรู้ที่ได้ถูกประมวลไว้แล้วอย่างดีและถี่ถ้วน
  • 7:13 - 7:20
    ในเรื่องทั้งหมดซึ่งรู้กันแล้วเกี่ยวกับกระบวนการและสิ่งต่างๆ
  • 7:20 - 7:22
    ที่อาจนำเข้ามาเกี่ยวข้องในสิ่งที่คุณตั้งใจจะเข้าไปศึกษา
  • 7:22 - 7:24
    เมื่อเรื่องใหม่ถูกค้นพบขึ้น
  • 7:24 - 7:29
    มันก็เป็นไปตามตรรกะที่ ขั้นตอนต่อไปก็คือ
  • 7:29 - 7:33
    หาวิธีการทางคณิตศาสตร์และสถิติ
    เพื่อที่จะทำการวิเคราะห์ต่อไป
  • 7:33 - 7:35
    ถ้าปรากฎว่าขั้นตอนดังกล่าวนั้นยากเกินไป
  • 7:35 - 7:39
    สำหรับคนหรือทีมงานที่ค้นพบเรื่องนั้น
  • 7:39 - 7:45
    พวกเขาก็สามารถที่จะเอานักคณิตศาสตร์
  • 7:45 - 7:47
    เข้าไปเป็นผู้ร่วมงานเพิ่มได้
  • 7:47 - 7:49
    ลองมาพิจารณาหลักการต่อไปนี้
  • 7:49 - 7:54
    ที่ผมจะเรียกอย่างถ่อมตนว่า หลักการข้อที่หนึ่งของวิลสัน
  • 7:54 - 7:59
    เป็นเรื่องง่ายกว่าอย่างมากสำหรับนักวิทยาศาสตร์
  • 7:59 - 8:03
    รวมทั้งนักวิจัยทางการแพทย์ ที่จะได้ผู้ร่วมงาน
  • 8:03 - 8:06
    ด้านคณิตศาสตร์และสถิติที่เขาต้องการ
  • 8:06 - 8:09
    ง่ายกว่าการที่นักคณิตศาสตร์และนักสถิติ
  • 8:09 - 8:13
    จะพบนักวิทยาศาสตร์
    ที่จะสามารถใช้สูตรสมการต่างๆของพวกเขาได้
  • 8:13 - 8:17
    ในเรื่องวิทยาศาสตร์นั่นการเลือกทิศทางที่จะไปเป็นสิ่งสำคัญใน
  • 8:17 - 8:23
    เพื่อให้พบหัวเรื่องที่คุณสนใจอย่างลํ้าลึก ในระดับความสามารถของคุณ
  • 8:23 - 8:25
    และมุ่งความสำคัญไปที่สิ่งนั้น
  • 8:25 - 8:29
    แล้วต้องคำนึงถึง หลักการข้อที่สองของวิลสัน
  • 8:29 - 8:34
    คือ นักวิทยาศาสตร์แต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย หรือช่างเทคนิค
  • 8:34 - 8:37
    ครู ผู้จัดการ หรือนักธุรกิจ
  • 8:37 - 8:41
    ทำงานในระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ใดๆก็ตาม
  • 8:41 - 8:45
    มันมีระเบียบทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์อยู่ข้อหนึ่ง
  • 8:45 - 8:48
    ซึ่งบอกไว้ว่าที่ระดับนั้นแหละ
    ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้บรรลุผลได้อย่างยอดเยี่ยม
  • 8:48 - 8:51
    เอาละ ตอนนี้ผมจะนำเสนอไปอย่างเร็ว
  • 8:51 - 8:53
    อีกหลายๆหลักการที่จะมีประโยชน์
  • 8:53 - 8:56
    ที่จะจัดระเบียบการศึกษาและงานอาชีพของคุณ
  • 8:56 - 9:01
    หรือ ถ้าคุณสอนหนังสือ คุณก็อาจจะ
  • 9:01 - 9:05
    พัฒนาการสอนของคุณและให้คำปรึกษา
    แก่นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ได้อย่างไร
  • 9:05 - 9:09
    ในการเลือกเรื่องที่จะทำการวิจัยเรื่องใหม่
  • 9:09 - 9:12
    หรือในการพัฒนาความเชี่ยวชาญระดับโลกนั้น
  • 9:12 - 9:18
    ให้เลือกทำในส่วนของเนื้อหาวิชาที่มีคนทำไม่มาก
  • 9:18 - 9:22
    พิจารณาโอกาสได้จาก
    จำนวนนักศึกษาและนักวิจัยคนอื่นๆว่ามีน้อยแค่ไหน
  • 9:22 - 9:24
    ที่จะเข้ามาช่วยเราได้
  • 9:24 - 9:28
    ที่กล่าวมานี้ ไม่ได้ลดความสำคัญที่ขาดไม่ได้
  • 9:28 - 9:31
    ในเรื่องของการฝึกฝนอย่างกว้างขวาง
    หรือคุณค่าของการฝึกฝนตนเอง
  • 9:31 - 9:36
    ในงานวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่ในโครงการวิจัยที่มีคุณภาพสูง
  • 9:36 - 9:40
    สำคัญด้วยว่าต้องได้ที่ปรึกษาที่อาวุโสกว่าคุณ
    จากโครงการที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้
  • 9:40 - 9:44
    และสร้างมิตรภาพกับเพื่อนและผู้ร่วมงานในวัยเดียวกับคุณ
  • 9:44 - 9:46
    เพื่อให้เกิดการสนับสนุนช่วยหลือกัน
  • 9:46 - 9:49
    แต่ระหว่างนั้น ให้มองหาวิธีที่จะแตกต่างออกไป
  • 9:49 - 9:53
    เพื่อให้พบสาขาและเนื้อหาที่ยังไม่มีคนรู้จักกันมากนัก
  • 9:53 - 9:56
    เราได้เห็นสิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นตัวอย่างแล้ว
    ในการบรรยายก่อนหน้าการบรรยายของผมนี้
  • 9:56 - 10:02
    มีวิธีที่รวดเร็วที่สุด ซึ่งความก้าวหน้าในการงานน่าจะเกิดขึ้น
  • 10:02 - 10:05
    ซึ่งวัดได้จาก การค้นพบที่เกิดขึ้นต่อผู้วิจัยต่อปี
  • 10:05 - 10:07
    คุณคงเคยได้ยิน
  • 10:07 - 10:11
    สุภาษิตทางการทหารในการรวบรวมกำลังพลกล่าวว่า
  • 10:11 - 10:13
    ให้รีบเดินไปสู่เสียงปืน
  • 10:13 - 10:20
    แต่ในทางวิทยาศาสตร์กลับทำตรงกันข้ามกับเรื่องนี้
    นั่นคือ ให้เดินออกไปเสียจากเสียงปืน
  • 10:20 - 10:22
    ดังนั้นหลักการข้อที่สามของวิลสันคือ
  • 10:22 - 10:26
    ให้เดินออกไปจากเสียงปืน
  • 10:26 - 10:28
    ให้เฝ้าสังเกตดูจากที่ไกลๆ
  • 10:28 - 10:30
    แต่ไม่เข้าไปร่วมในการสู้รบ
  • 10:30 - 10:32
    ให้ทำการต่อสู้ของตนเอง
  • 10:32 - 10:36
    เมื่อใดก็ตามที่คุณเลือกความชำนาญพิเศษได้แล้ว
  • 10:36 - 10:42
    และวิชาชีพที่คุณรัก และเมื่อคุณได้ทำให้มันมั่นคงแล้ว
  • 10:42 - 10:47
    ศักยภาพในความสำเร็จของคุณก็จะเพิ่มพูนขึ้นได้อย่างมาก
    เมื่อคุณศึกษามัน
  • 10:47 - 10:50
    อย่างเพียงพอที่จะทำให้คุณเป็นผู้เชี่ยวชาญได้
  • 10:50 - 10:53
    มีวิชาการต่างๆมากมายหลายพันที่ไม่มีขีดจำกัดเชิงวิชาชีพ
  • 10:53 - 10:55
    ที่ประโปรยอยู่ทั่วไปในสาขาวิชาฟิสิกส์ วิชาเคมี
  • 10:55 - 10:57
    จนถึง สาขาชีววิทยาและแพทย์ศาสตร์
  • 10:57 - 11:00
    และแล้วก็เข้าไปถึงสังคมศาสตร์
  • 11:00 - 11:03
    ซึ่งมันเป็นไปได้ในช่วงเวลาสั้นๆที่จะไปให้ได้ถึง
  • 11:03 - 11:06
    สถานะของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ
  • 11:06 - 11:10
    เมื่อเรื่องนั้นยังคงมีคนทำอยู่น้อยมาก
  • 11:10 - 11:12
    ตัวคุณที่มาพร้อมกับความขยันหมั่นเพียร
    และทำงานอย่างขันแข็งก็จะสามารถ
  • 11:12 - 11:14
    เป็นผู้ที่รอบรู้ระดับโลกได้
  • 11:14 - 11:18
    โลกต้องการผู้เชี่ยวชาญอย่างนี้มาก
  • 11:18 - 11:20
    และโลกก็ให้รางวัลคน
  • 11:20 - 11:23
    ประเภทที่เต็มใจที่จะเรียนรู้จนได้ความสามารถนี้ไว้
  • 11:23 - 11:27
    ข้อมูลที่มีอยู่และสิ่งที่คุณค้นพบเอง
  • 11:27 - 11:31
    ตอนแรกอาจจะดูเหมือนมีไม่มากพอ
    และดูเหมือนยากที่จะเชื่อมต่อ
  • 11:31 - 11:33
    กับความรู้อื่นๆที่มีอยู่
  • 11:33 - 11:35
    เอาละ ถ้ามันเป็นกรณีนี้
  • 11:35 - 11:39
    ก็ดีแล้ว ทำไมจึงทำให้ยาก แทนที่จะทำให้ง่ายเล่า
  • 11:39 - 11:44
    คำตอบนี้เหมาะสมที่เอามาเป็น หลักการหมายเลขสี่
  • 11:44 - 11:48
    ในความพยายามที่จะค้นพบเรื่องใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์
  • 11:48 - 11:50
    ทุกๆปัญหาเป็นโอกาส
  • 11:50 - 11:51
    และถ้าปัญหายิ่งยากเท่าใด
  • 11:51 - 11:54
    ความสำคัญของการแก้ปัญหาก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
  • 11:54 - 11:58
    เรื่องนี้นำเราเข้าไปถึงหมวดพื้นฐาน
  • 11:58 - 12:01
    ของวิธีค้นพบทางวิทยาศาสตรที่ทำกันมา
  • 12:01 - 12:04
    นักวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็มีนักคณิตศาสตร์บริสุทธ์ิรวมอยู่ด้วย
  • 12:04 - 12:07
    ให้ปฏิบัติตามแนวทางใดทางหนึ่งในสองทางนี้
  • 12:07 - 12:09
    แนวทางแรก จากสิ่งที่ได้ค้นพบมาก่อน
  • 12:09 - 12:11
    ด้วยการระบุปัญหา
  • 12:11 - 12:13
    แล้วก็หาวิธีการแก้ปัญหา
  • 12:13 - 12:16
    ปัญหานั้นอาจจะค่อนข้างเล็ก
  • 12:16 - 12:21
    ตัวอย่างเช่น เมื่อใดแน่ที่เชื้อโนโรไวรัส
    เริ่มแพร่กระจายในเรือสำราญ
  • 12:21 - 12:27
    หรือปัญหาที่ใหญ่ เช่น บทบาทของสสารมืด
    ในการขยายตัวของจักรวาลคืออะไร
  • 12:27 - 12:32
    ขณะที่หาคำตอบนั้นอยู่
    ปรากฏการณ์อื่นๆก็จะถูกค้นพบขึ้นได้ตามปกติ
  • 12:32 - 12:33
    และคำถามอื่นๆก็จะเกิดขึ้น
  • 12:33 - 12:36
    กลยุุทธ์อย่างแรกในสองกลยุธ์นี้ ก็เหมือนกับนายพราน
  • 12:36 - 12:40
    ที่ออกป่าเพื่อตามหาสัตว์ที่กำลังล่าตัวหนึ่ง
  • 12:40 - 12:43
    แล้วนายพรานก็พบสัตว์ตัวอื่นๆในระหว่างทาง
  • 12:43 - 12:46
    กลยุทธ์ที่สองของการวิจัย
  • 12:46 - 12:48
    คือศึกษาเรื่องหนึ่งอย่างกว้างๆ
  • 12:48 - 12:53
    เพื่อหาปรากฏการณ์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก
    หรือหารูปแบบของปรากฏการณ์ที่รู้กันอยู่แล้ว
  • 12:53 - 12:57
    เช่นเรื่องของนายพรานที่อยู่ในสภาวะที่เรียกว่า
    "สภาวะงงงันของนักธรรมชาตินิยม (the naturalist's trance)"
  • 12:57 - 13:00
    ในสภาวะนั้นจิตใจของนักวิจัย
    จะเปิดอยู่ตลอดเวลาสำหรับทุกอย่างที่น่าสนใจ
  • 13:00 - 13:02
    สัตว์ตัวไหนก็ได้ที่สมควรจะล่า
  • 13:02 - 13:04
    การค้นหาไม่ใช่เพื่อหาวิธีแก้ปัญหานั้น
  • 13:04 - 13:07
    แต่เพื่อตัวปัญหาที่เกิดขึ้นเอง ที่ควรค่าแก่การได้รับคำตอบ
  • 13:07 - 13:09
    กลยุทธ์ทั้งสองของการวิจัยนี้
  • 13:09 - 13:12
    สำหรับการวิจัยใหม่ สามารถกล่าวได้ดังนี้
  • 13:12 - 13:17
    หลักการข้อสุดท้าย ผมจะเสนอคุณว่า
  • 13:17 - 13:21
    ทุกๆปัญหาในสาขาวิทยาศาสตร์ที่เราทำงานอยู่
  • 13:21 - 13:24
    มีสปีซีส์ต่างๆ หรือไม่ก็สรรพสิ่ง หรือปรากฏการณ์
  • 13:24 - 13:26
    ที่เหมาะอย่างยิ่งที่จะแสวงหาคำตอบ
  • 13:26 - 13:32
    และในทางกลับกัน ทุกๆสปีซีส์ หรือสรรพสิ่งอื่น
  • 13:32 - 13:35
    หรือปรากฏการณ์ ก็จะมีปัญหาที่สำคัญอยู่
  • 13:35 - 13:42
    เพื่อรอการให้คำตอบ
    ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำสิ่งเหล่านั้นมาวิจัย
  • 13:42 - 13:44
    จงหาให้พบว่า เรื่องเหล่านั้นคืออะไร
  • 13:44 - 13:47
    แล้วคุณจะพบวิธีการของตนเองเพื่อที่จะค้นพบ
  • 13:47 - 13:50
    เพื่อเรียนรู้ เพื่อสอน
  • 13:50 - 13:53
    อีกหลายๆทศวรรษข้างหน้า
    เราจะเห็นความก้าวหน้าอย่างมากมาย
  • 13:53 - 13:58
    ในการป้องกันเชื้อโรค สุขภาพโดยทั่วไป คุณภาพชีวิต
  • 13:58 - 14:04
    มนุษยชาติทั้งมวลต้องพึ่งพาความรู้
    และวิธีปฏิบัติทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์
  • 14:04 - 14:05
    ที่อยู่เบื้องหลังความรู้ซึ่งคุณจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ
  • 14:05 - 14:09
    คุณได้ตามเสียงเรียกของใจ ซึ่งมันจะนำ
  • 14:09 - 14:14
    ความพึงพอใจเข้ามาให้คุณอย่างเป็นขั้นตอน
    เพื่อเป็นบทสรุปของชีวิตที่ดี
  • 14:14 - 14:17
    และขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ให้ผมมาที่นี่ในคืนนี้
  • 14:17 - 14:22
    (เสียงปรบมือ)
  • 14:22 - 14:23
    ขอบคุณครับ
  • 14:23 - 14:30
    ขอบคุณมากครับ
  • 14:30 - 14:35
    ด้วยความเคารพครับ
Title:
อี โอ วิลสัน (E.O. Wilson): คำแนะนำสำหรับนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์
Speaker:
E.O. Wilson
Description:

“โลกต้องการพวกคุณ เหลือเกิน,” เป็นประโยคที่ อี โอ วิลสัน นักชีววิทยาที่มีชื่อเสียง ใช้เริ่มต้นนำเสนอจดหมายถึงนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ซึ่งเป็นหนังสือของเขาที่กำลังจะพิมพ์เผยแพร่ออกมา เขาให้คำแนะนำที่เกิดจากประสบการณ์ที่ได้รวบรวมไว้ทั้งชีวิต -- ซึ่งเตือนให้เรานึกถึงความมหัศจรรย์และความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชีวิตวิทยาศาสตร์ (ถ่ายทำที่ TEDMED)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:56
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Advice to a young scientist
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Advice to a young scientist
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Advice to a young scientist
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Advice to a young scientist
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Advice to a young scientist
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Advice to a young scientist
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for Advice to a young scientist
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Advice to a young scientist
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions