Return to Video

ทำไมความเป็นส่วนตัวจึงสำคัญ

  • 0:01 - 0:04
    มีวิดีโอในเว็บไซต์ยูทูปประเภทหนึ่ง
  • 0:04 - 0:06
    ที่อุทิศให้กับประสบการณ์แบบหนึ่ง
  • 0:06 - 0:08
    ที่ผมแน่ใจว่าทุกคนในห้องนี้ต้องเคยดู
  • 0:08 - 0:10
    มันถ่ายทอดภาพ
  • 0:10 - 0:12
    คนที่คิดว่าตัวเองอยู่คนเดียว
  • 0:12 - 0:15
    แสดงพฤติกรรมบางอย่าง
  • 0:15 - 0:18
    เช่น ร้องเพลงอย่างบ้าคลั่ง เต้นรำไปรอบๆ
  • 0:18 - 0:20
    หรือมีกิจกรรมทางเพศเล็กน้อย
  • 0:20 - 0:23
    ในท้ายที่สุด พบว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ตามลำพัง
  • 0:23 - 0:26
    มีใครสักคนดูหรือซุ่มดูอยู่
  • 0:26 - 0:28
    การค้นพบนี้ทำให้พวกเขา
  • 0:28 - 0:30
    หยุดการกระทำเหล่านั้น
  • 0:30 - 0:31
    ด้วยความตื่นตระหนก
  • 0:31 - 0:34
    ความรู้สึกอับอายใจ
  • 0:34 - 0:36
    ปรากฏชัดเจนบนใบหน้าของพวกเขา
  • 0:36 - 0:38
    มันเป็นความรู้สึกที่ว่า
  • 0:38 - 0:39
    “นี่คือสิ่งที่ฉันอยากทำ
  • 0:39 - 0:43
    แต่แค่ในตอนที่อยู่คนเดียวเท่านั้น"
  • 0:43 - 0:45
    นี่คือประเด็นสำคัญ
  • 0:45 - 0:47
    ของสิ่งที่ผมเน้นมาตลอด
  • 0:47 - 0:49
    ในช่วงระยะเวลา 16 เดือนที่ผ่านมา
  • 0:49 - 0:51
    กับคำถามที่ว่า ทำไมความเป็นส่วนตัวจึงสำคัญ
  • 0:51 - 0:53
    คำถามที่ปรากฏขึ้นบ่อยครั้ง
  • 0:53 - 0:56
    ในบริบทของการถกเถียงระดับโลก
  • 0:56 - 0:59
    ซึ่งเป็นผลจากการเปิดโปงของ
    เอ็ดวาร์ด สโนว์เดน
  • 0:59 - 1:01
    ที่ว่าสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร
  • 1:01 - 1:03
    ได้เปลี่ยนอินเทอร์เน็ต
  • 1:03 - 1:05
    แบบที่คนทั้งโลกไม่คาดคิด
  • 1:05 - 1:08
    ครั้งหนึ่งมันเป็นเครื่องมือ
  • 1:08 - 1:11
    ของการปลดปล่อยอิสรภาพและ
    สร้างความเป็นประชาธิปไตย
  • 1:11 - 1:13
    ไปสู่พื้นที่ของการสอดแนมมวลชน
    อย่างไม่แบ่งแยก
  • 1:13 - 1:17
    อันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
  • 1:17 - 1:19
    มีทัศนคติแบบหนึ่งที่ธรรมดาสามัญมาก
  • 1:19 - 1:21
    เพิ่มขึ้นในการถกเถียงประเด็นนี้
  • 1:21 - 1:23
    แม้แต่ในบรรดาคนที่ไม่คุ้นเคย
  • 1:23 - 1:25
    กับการสอดแนมมวลชนที่ว่า
  • 1:25 - 1:27
    ไม่มีอันตรายเกิดขึ้นจริง
  • 1:27 - 1:29
    จากการคุกคามขนาดใหญ่หรอก
  • 1:29 - 1:33
    เพราะว่ามีแต่คนที่กระทำผิดเท่านั้น
  • 1:33 - 1:35
    ที่อยากจะหลบซ่อน
  • 1:35 - 1:37
    และใส่ใจกับความเป็นส่วนตัว
  • 1:37 - 1:40
    โดยนัยแล้วทัศนะแบบนี้ตั้งอยู่บนฐานที่ว่า
  • 1:40 - 1:42
    มีคน 2 ประเภทในโลกนี้คือ
  • 1:42 - 1:44
    คนดีและคนเลว
  • 1:44 - 1:47
    คนเลวคือคนที่เป็นผู้ก่อการร้าย
  • 1:47 - 1:49
    หรือยุ่งกับอาชญากรรมรุนแรง
  • 1:49 - 1:52
    ดังนั้นพวกเขาจึงอยากซ่อนว่า
    ตัวเองทำอะไร
  • 1:52 - 1:54
    มีเหตุผลที่พวกเขาใส่ใจกับความเป็นส่วนตัว
  • 1:54 - 1:57
    แต่ในทางกลับกัน คนดีคือ
  • 1:57 - 1:59
    คนที่ไปทำงาน
  • 1:59 - 2:02
    กลับบ้าน เลี้ยงลูก ดูทีวี
  • 2:02 - 2:04
    พวกเขาไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต
    เพื่อเตรียมวางระเบิด
  • 2:04 - 2:07
    แต่เพื่ออ่านข่าว แลกเปลี่ยนสูตรอาหารกัน
  • 2:07 - 2:09
    หรือวางแผนการเล่นกีฬาของลูกๆ
  • 2:09 - 2:12
    พวกเขาไม่ได้ทำอะไรผิด
  • 2:12 - 2:14
    ดังนั้นจึงไม่มีอะไรต้องซ่อน
  • 2:14 - 2:16
    และไม่มีเหตุผลที่จะต้องกลัวว่า
  • 2:16 - 2:18
    รัฐบาลกำลังจับตาดูพวกเขาอยู่
  • 2:18 - 2:20
    อันที่จริงแล้ว คนที่พูดแบบนี้
  • 2:20 - 2:23
    ต่อต้านการกระทำนี้อย่างมาก
  • 2:23 - 2:25
    ในการปกป้องตัวเอง
  • 2:25 - 2:26
    สิ่งที่พวกเขากำลังพูดคือ
  • 2:26 - 2:29
    “ฉันเห็นด้วยที่จะทำให้ตัวเอง
  • 2:29 - 2:31
    คนที่ไม่มีพิษภัยอะไรต่อใคร
  • 2:31 - 2:34
    และไม่เป็นที่น่าสนใจจนฉันไม่กลัวว่า
  • 2:34 - 2:38
    รัฐบาลจะรู้ว่าฉันทำอะไรอยู่บ้าง”
  • 2:38 - 2:40
    ความคิดแบบนี้ทำให้ผมคิดว่า
  • 2:40 - 2:42
    เป็นการแสดงออกที่ไร้เดียงสาที่สุด
  • 2:42 - 2:44
    ปี 2009 ในการสัมภาษณ์
  • 2:44 - 2:47
    กับเอริค ชมิดท์ ซีอีโอผู้ดำรงตำแหน่งยาวนาน
    ของกูเกิล
  • 2:47 - 2:49
    เมื่อถูกถามถึงวิธีการต่างๆ ที่บริษัทของเขา
  • 2:49 - 2:52
    มีส่วนในการรุกล้ำความเป็นส่วนตัว
  • 2:52 - 2:54
    ของประชากรหลานล้านคนทั่วโลก
  • 2:54 - 2:56
    เอริค ชมิดท์กล่าวว่า
  • 2:56 - 2:58
    “ถ้าคุณทำสิ่งที่ไม่อยาก
  • 2:58 - 3:00
    ให้คนอื่นรู้
  • 3:00 - 3:04
    บางทีคุณก็ไม่ควรทำมันตั้งแต่แรก”
  • 3:04 - 3:06
    ตอนนี้มีหลายอย่างที่พูดถึง
  • 3:06 - 3:08
    กรอบคิดแบบนี้
  • 3:08 - 3:11
    อย่างแรก คนที่พูดแบบนี้
  • 3:11 - 3:14
    คนที่พูดว่าความเป็นส่วนตัวไม่สำคัญ
  • 3:14 - 3:17
    พวกเขาไม่ได้เชื่อแบบนี้จริงๆ หรอก
  • 3:17 - 3:18
    วิธีที่จะรู้ว่าเขา
    ไม่ได้เชื่อแบบนี้จริงๆ
  • 3:18 - 3:21
    ก็คือ ระหว่างที่พวกเขาพูดว่า
    ความเป็นส่วนตัวไม่สำคัญ
  • 3:21 - 3:24
    ในทางปฏิบัติ พวกเขาใช้ทุกวิถีทาง
  • 3:24 - 3:27
    ในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของตนเอง
  • 3:27 - 3:29
    พวกเขาตั้งรหัสผ่านอีเมล
  • 3:29 - 3:31
    และบัญชีโซเชียลมีเดียต่างๆ
  • 3:31 - 3:33
    พวกเขาใส่กุญแจห้องนอน
  • 3:33 - 3:34
    และล็อกประตูห้องน้ำ
  • 3:34 - 3:37
    ทุกขั้นตอนออกแบบมาเพื่อป้องกันพวกเขาจาก
  • 3:37 - 3:40
    คนอื่นที่อาจเข้ามาอยู่
    ในอาณาบริเวณที่คิดว่าเป็นส่วนตัว
  • 3:40 - 3:43
    และรู้ว่าอะไรที่พวกเขาไม่อยากให้คนอื่นรู้
  • 3:43 - 3:46
    แบบเดียวกับเอริค ชมิดท์ ซีอีโอของกูเกิล
  • 3:46 - 3:49
    ที่สั่งพนักงานของเขาที่กูเกิล
  • 3:49 - 3:51
    ให้หยุดพูดกับ
  • 3:51 - 3:53
    นิตยสารออนไลน์ CNET
  • 3:53 - 3:56
    หลังจากที่ CNET ตีพิมพ์บทความ
  • 3:56 - 3:58
    ที่เต็มไปด้วยข้อมูลส่วนตัว
  • 3:58 - 4:00
    ของเอริค ชมิดท์
  • 4:00 - 4:03
    เป็นข้อมูลพิเศษที่ได้จากการใช้กูเกิลค้นหา
  • 4:03 - 4:06
    และใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของกูเกิล (เสียงหัวเราะ)
  • 4:06 - 4:08
    พบเห็นเรื่องแบบเดียวกันนี้ได้กับ
  • 4:08 - 4:11
    ซีอีโอของเฟซบุ๊ก มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก
  • 4:11 - 4:14
    ซึ่งจากการสัมภาษณ์ที่ฉาวโฉ่เมื่อปี 2010
  • 4:14 - 4:17
    ประกาศว่าความเป็นส่วนตัว
  • 4:17 - 4:20
    ไม่ใช่ “บรรทัดฐานของสังคม” อีกต่อไป
  • 4:20 - 4:22
    ปีที่แล้ว ซัคเคอร์เบิร์กและภรรยาใหม่ของเขา
  • 4:22 - 4:24
    ไม่ได้แค่ซื้อบ้านของตัวเอง
  • 4:24 - 4:28
    แต่ยังซื้อบ้านข้างเคียงอีก 4 หลัง
    ในเปาโลอัลโต
  • 4:28 - 4:30
    รวมทั้งหมด 30 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • 4:30 - 4:33
    เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะเพลิดเพลิน
    ในพื้นที่ส่วนตัว
  • 4:33 - 4:36
    ป้องกันพวกเขาจากการถูกจับตาดูจากคนอื่นๆ
  • 4:36 - 4:39
    ว่าพวกเขาทำอะไรในชีวิตส่วนตัวบ้าง
  • 4:39 - 4:42
    ตลอด 16 เดือนที่ผ่านมา
    ผมได้ถกเถียงในประเด็นนี้ไปทั่วโลก
  • 4:42 - 4:44
    ทุกครั้งเวลามีใครบอกกับผมว่า
  • 4:44 - 4:46
    “ไม่กังวลเรื่องการรุกล้ำความเป็นส่วนตัว
  • 4:46 - 4:47
    เพราะฉันไม่มีอะไรต้องซ่อน”
  • 4:47 - 4:49
    ผมมักจะพูดแบบเดียวกันต่อคนเหล่านี้
  • 4:49 - 4:51
    ผมหยิบปากกาขึ้นมา เขียนอีเมลของตัวเอง
  • 4:51 - 4:53
    และบอกว่า “นี่คืออีเมลของผม
  • 4:53 - 4:55
    ที่ผมอยากให้คุณทำเมื่อกลับถึงบ้าน
  • 4:55 - 4:57
    ส่งรหัสผ่าน
  • 4:57 - 4:58
    ของอีเมลทั้งหมดมาให้ผม
  • 4:58 - 5:01
    ไม่ใช่แค่อีเมลที่ดูดีหรืออันที่ใช้ทำงานเท่านั้น
  • 5:01 - 5:02
    แต่ทุกอันเลย
  • 5:02 - 5:04
    เพราะว่าผมต้องการเพียงแค่ดูว่า
  • 5:04 - 5:06
    คุณกำลังออนไลน์ทำอะไรอยู่
  • 5:06 - 5:09
    อ่านในสิ่งที่ผมอยากจะอ่าน
    และตีพิมพ์อะไรก็ตามที่ผมคิดว่าน่าสนใจ
  • 5:09 - 5:11
    หลังจากนั้นถ้าคุณไม่ใช่คนเลว
  • 5:11 - 5:12
    หรือทำอะไรผิด
  • 5:12 - 5:15
    คุณก็ไม่ควรจะต้องซ่อนอะไรไว้”
  • 5:15 - 5:19
    ไม่มีใครรับข้อเสนอนี้ของผมเลย
  • 5:19 - 5:23
    ผมเช็กอีเมล (เสียงปรบมือ)
  • 5:23 - 5:26
    เช็กอีเมลตัวเองตลอดเวลา
  • 5:26 - 5:29
    มันเป็นพื้นที่ซึ่งรกร้างมาก
  • 5:29 - 5:31
    และมีเหตุผลที่จะเป็นแบบนั้น
  • 5:31 - 5:33
    ในฐานะที่เป็นมนุษย์
  • 5:33 - 5:35
    แม้แต่คนที่
  • 5:35 - 5:38
    ไม่ยอมรับความสำคัญของความเป็นส่วนตัวของเรา
  • 5:38 - 5:40
    ก็เข้าใจโดยสัญชาตญาณ
  • 5:40 - 5:42
    ถึงความสำคัญอย่างลึกซึ้งของมัน
  • 5:42 - 5:45
    เป็นความจริงที่ว่ามนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม
  • 5:45 - 5:47
    ซึ่งหมายความว่าเรามีความปรารถนาให้คนอื่น
  • 5:47 - 5:50
    รู้ว่าเรากำลังทำอะไร คิดอะไร และพูดอะไร
  • 5:50 - 5:54
    ในสิ่งที่เราสมัครใจจะเผยแพร่
    ข้อมูลของตัวเองออนไลน์
  • 5:54 - 5:57
    แต่อีกสิ่งที่จำเป็นเท่าเทียมกันคือ
  • 5:57 - 5:59
    อิสรภาพและเป็นมนุษย์ที่ได้รับการเติมเต็ม
  • 5:59 - 6:01
    ที่ว่าจะมีสถานที่ซึ่งเราสามารถไป
  • 6:01 - 6:05
    และเป็นอิสระจากสายตา
    ที่ตัดสินของคนอื่นๆ ได้
  • 6:05 - 6:07
    มีเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงแสวงหามัน
  • 6:07 - 6:10
    เหตุผลก็คือ เราทุกคน
  • 6:10 - 6:14
    ไม่ใช่แค่ผู้ก่อการร้ายหรืออาชญากร
  • 6:14 - 6:16
    เราทุกคนมีสิ่งที่อยากจะซ่อนไว้
  • 6:16 - 6:18
    มีสิ่งต่างๆ ที่เราทำและคิด
  • 6:18 - 6:21
    ที่เรายินดีจะบอกหมอ
  • 6:21 - 6:25
    ทนายความ นักจิตวิทยา หรือสามีภรรยาของเรา
  • 6:25 - 6:27
    หรือเพื่อนสนิทของเราว่าเราอาจจะทำให้ตัวเองอับอาย
  • 6:27 - 6:29
    เพื่อให้ทั้งโลกได้เรียนรู้
  • 6:29 - 6:31
    ในแต่ละวันเราต่างตัดสินอยู่ตลอดเวลา
  • 6:31 - 6:34
    ระหว่าง เรื่องที่เราพูดและคิด และทำ
  • 6:34 - 6:36
    สิ่งที่เราอยากจะให้คนอื่นรู้
  • 6:36 - 6:38
    กับการพูด คิด และทำ
  • 6:38 - 6:40
    ในสิ่งที่เราไม่อยากให้ใครรู้
  • 6:40 - 6:43
    คนเราสามารถพูดได้ง่ายๆ ว่า
  • 6:43 - 6:45
    ตัวเองไม่ให้ค่ากับความเป็นส่วนตัว
  • 6:45 - 6:50
    แต่การกระทำของพวกเขา
    ปฏิเสธความเชื่อที่แท้จริงของตนเอง
  • 6:50 - 6:54
    ทีนี้มีเหตุผลว่าทำไมความเป็นส่วนตัว
    จึงเป็นที่น่าปรารถนาเหลือเกิน
  • 6:54 - 6:56
    ทั้งแบบสากลและโดยสัญชาตญาณ
  • 6:56 - 6:58
    มันไม่ใช่แค่การเคลื่อนไหวสะท้อนกลับ
  • 6:58 - 7:00
    เหมือนกับการหายใจหรือดื่มน้ำ
  • 7:00 - 7:03
    เมื่อเราอยู่ในสภาพ
  • 7:03 - 7:06
    ที่เราสามารถถูกเฝ้าดู ถูกติดตาม
  • 7:06 - 7:08
    พฤติกรรมของเราจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • 7:08 - 7:11
    ระดับของทางเลือกทางพฤติกรรมที่เราพิจารณา
  • 7:11 - 7:13
    เมื่อเราคิดว่าเราถูกจับตาดูอยู่
  • 7:13 - 7:15
    ลดลงอย่างรวดเร็ว
  • 7:15 - 7:17
    นี่คือข้อเท็จจริงของธรรมชาติมนุษย์
  • 7:17 - 7:20
    ซึ่งเป็นที่รับรู้กันในทางสังคมศาสตร์
  • 7:20 - 7:22
    ในวรรณกรรม และทางศาสนา
  • 7:22 - 7:24
    ในทุกสาขาวิชา
  • 7:24 - 7:27
    มีกรณีศึกษาทางจิตวิทยามากมาย
  • 7:27 - 7:29
    ที่พิสูจน์ว่าเมื่อคนรู้ว่า
  • 7:29 - 7:31
    ตนเองอาจกำลังถูกจับตามองอยู่
  • 7:31 - 7:32
    พฤติกรรมของพวกเขา
  • 7:32 - 7:36
    จะยอมคล้อยตามมากขึ้น
  • 7:36 - 7:39
    ความละอายของมนุษย์เป็นแรงผลักดัน
    ที่ทรงพลังมาก
  • 7:39 - 7:42
    เช่นเดียวกับความปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยงมัน
  • 7:42 - 7:44
    มีเหตุผลว่าทำไมคน
  • 7:44 - 7:46
    ที่อยู่ในสภาวะที่ถูกจับตาดูอยู่จะตัดสินใจ
  • 7:46 - 7:49
    โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจกระทำการของตัวเอง
  • 7:49 - 7:51
    แต่ขึ้นอยู่กับความคาดหวัง
  • 7:51 - 7:53
    ที่คนอื่นมีต่อพวกเขา
  • 7:53 - 7:57
    หรือทำตามความเชื่อดั้งเดิมของสังคม
  • 7:57 - 8:00
    การตระหนักเช่นนี้ถูกใช้แบบทรงพลังมากที่สุด
  • 8:00 - 8:04
    เพื่อให้ได้ผลทางปฏิบัติโดย เจเรมี เบนธัม
    นักปรัชญาในศตวรรษที่ 18
  • 8:04 - 8:06
    ผู้ที่ได้แก้ปัญหาสำคัญ
  • 8:06 - 8:08
    ในยุคอุตสาหกรรม
  • 8:08 - 8:11
    ที่ซึ่งสถาบันต่างๆ
  • 8:11 - 8:13
    มีขนาดใหญ่และถูกทำให้รวมศูนย์ขึ้นเป็นครั้งแรก
  • 8:13 - 8:14
    ซึ่งพวกเขาไม่สามารถจับตาดูได้อีกต่อไป
  • 8:14 - 8:17
    ดังนั้นการควบคุมปัจเจกแต่ละคน
  • 8:17 - 8:19
    และการแก้ปัญหาที่เขาคิดขึ้น
  • 8:19 - 8:22
    คือการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
  • 8:22 - 8:24
    ซึ่งมีที่มาจากคุก
  • 8:24 - 8:27
    ซึ่งเขาเรียกว่าพานอปติคอน
  • 8:27 - 8:29
    ซึ่งแรกเริ่มคือสิ่งก่อสร้าง
  • 8:29 - 8:32
    ที่เป็นหอคอยขนาดใหญ่ที่อยู่ตรงกลางของอาคาร
  • 8:32 - 8:34
    ที่ซึ่งใครก็ตามที่ควบคุมอาคารนี้
  • 8:34 - 8:37
    สามารถดูทุกการเคลื่อนไหวของผู้ถูกคุมขังได้
  • 8:37 - 8:40
    แม้ว่าพวกเขาไม่สามารถดูได้ตลอดเวลา
  • 8:40 - 8:42
    ความสำคัญของการออกแบบนี้
  • 8:42 - 8:44
    อยู่ตรงที่ว่าผู้ถูกคุมขังไม่ได้มองเห็น
  • 8:44 - 8:47
    พานอปติคอน มองเข้าไปในในหอคอยได้จริงๆ
  • 8:47 - 8:49
    พวกเขาไม่รู้ว่า
  • 8:49 - 8:51
    ตนเองถูกจับตาดู หรือตอนไหน
  • 8:51 - 8:54
    และสิ่งที่ทำให้เขาตื่นเต้นเกี่ยวกับการค้นพบนี้
  • 8:54 - 8:56
    คือ นี่หมายความว่านักโทษ
  • 8:56 - 8:59
    อาจจะคิดไปเองว่าตนเองถูกจับตาดู
  • 8:59 - 9:01
    อยู่ทุกขณะ
  • 9:01 - 9:03
    ซึ่งอาจจะเป็นการบังคับ
  • 9:03 - 9:06
    ให้เชื่อฟังและทำตามในขั้นสูงสุด
  • 9:06 - 9:09
    มิเชล ฟูโกต์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
    ในศตวรรษที่ 20
  • 9:09 - 9:11
    พิจารณาเห็นว่ารูปแบบนี้ไม่ได้ถูกใช้
  • 9:11 - 9:14
    ในคุกเท่านั้นแต่อยู่ในทุกสถาบันทางสังคม
  • 9:14 - 9:16
    ที่ต้องการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
  • 9:16 - 9:19
    โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน ที่ทำงาน
  • 9:19 - 9:21
    สิ่งที่เขากล่าวไว้คือ กรอบคิดนี้
  • 9:21 - 9:24
    ที่ถูกคิดค้นโดยเจเรมี เบนธัม
  • 9:24 - 9:27
    ดูเหมือนว่าเป็นเครื่องมือสำคัญ
    ของการควบคุมทางสังคม
  • 9:27 - 9:29
    ในสังคมตะวันตกสมัยใหม่
  • 9:29 - 9:31
    ซึ่งไม่ต้องการ
  • 9:31 - 9:33
    การใช้วิธีการอย่างโจ่งแจ้ง
  • 9:33 - 9:35
    ทั้งการลงโทษ คุมขัง ฆ่าผู้ที่ไม่เห็นด้วย
  • 9:35 - 9:39
    หรือการบังคับให้ภักดีต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
  • 9:39 - 9:41
    เพราะว่าการสอดแนมมวลชนได้สร้าง
  • 9:41 - 9:44
    คุกในความคิด
  • 9:44 - 9:45
    ที่แยบยลกว่า
  • 9:45 - 9:47
    แต่เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลมากกว่ามาก
  • 9:47 - 9:50
    ในการส่งเสริมให้คนเชื่อฟังด้วยบรรทัดฐานทางสังคม
  • 9:50 - 9:52
    หรือความเชื่อทางสังคม
  • 9:52 - 9:53
    ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
  • 9:53 - 9:56
    การใช้อำนาจบังคับแบบป่าเถื่อน
  • 9:56 - 9:59
    วรรณกรรมที่กล่าวถึงการสอดแนม
    และความเป็นส่วนตัว
  • 9:59 - 10:03
    ที่โดดเด่นที่สุดคือ นวนิยายของจอร์จ ออร์เวลล์
    ที่ชื่อ “1984”
  • 10:03 - 10:06
    ที่เราได้เรียนในโรงเรียน
    และกลายเป็นของดาดๆ ไปแล้ว
  • 10:06 - 10:08
    อันที่จริง เมื่อใดที่คุณยกเรื่องการสอดแนม
    มาถกเถียงกัน
  • 10:08 - 10:10
    คนไม่สนใจแทบจะทันที
  • 10:10 - 10:12
    เพราะมองว่ามันเอามาประยุกต์ใช้ไม่ได้
    สิ่งที่พวกเขาพูดคือ
  • 10:12 - 10:15
    “ใน 1984 มันมีจอจับตาอยู่ในบ้านคน
  • 10:15 - 10:18
    พวกเขาถูกเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา
  • 10:18 - 10:22
    และไม่มีอะไรเหมือนกับรัฐที่สอดแนม
    ที่เรากำลังเผชิญอยู่หรอก”
  • 10:22 - 10:25
    นี่เป็นความเข้าใจผิดขั้นพื้นฐาน
  • 10:25 - 10:27
    ต่อคำเตือนของออร์เวลล์ใน "1984"
  • 10:27 - 10:30
    คำเตือนที่เขาบอก
  • 10:30 - 10:32
    เรื่องสภาพรัฐที่สอดแนมนั้น
  • 10:32 - 10:34
    ไม่หมายถึงจับตาดูทุกคนตลอดเวลา
  • 10:34 - 10:37
    ตนเองอาจถูกจับตาดูตลอดเวลาต่างหาก
    แต่คือแนวคิดที่ว่า
  • 10:37 - 10:40
    นี่คือสิ่งที่วินสตัน สมิธ
    ตัวละครในงานของออร์เวลล์
  • 10:40 - 10:42
    บรรยายถึงระบบสอดแนม
  • 10:42 - 10:43
    ที่พวกเขาเผชิญ
  • 10:43 - 10:45
    “แน่นอน ไม่มีทางที่จะรู้ว่า
  • 10:45 - 10:48
    คุณจะถูกจับตาดูตลอดเวลาหรือไม่”
  • 10:48 - 10:49
    เขากล่าวต่อไปว่า
  • 10:49 - 10:52
    “ไม่ว่ายังไงก็ตาม พวกเขาต่อสายมาที่คุณได้
  • 10:52 - 10:53
    เมื่อใดก็ตามที่ต้องการ
  • 10:53 - 10:56
    คุณต้องมีชีวิต ใช้ชีวิต
  • 10:56 - 10:58
    จากนิสัยที่กลายเป็นสัญชาตญาณ
  • 10:58 - 11:00
    ในสมมติฐานที่ว่าทุกเสียงที่คุณทำ
  • 11:00 - 11:02
    มีคนได้ยิน เว้นแต่ในความมืด
  • 11:02 - 11:06
    ทุกการเคลื่อนไหวถูกจับตามอง
  • 11:06 - 11:10
    ศาสนาอับราฮัมที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว
    (คริสต์ อิสลาม ยูดาย)
  • 11:10 - 11:12
    เชื่อว่ามีอำนาจที่มองไม่เห็น
  • 11:12 - 11:14
    ผู้ซึ่งหยั่งรู้ทุกอย่าง
  • 11:14 - 11:16
    ที่เฝ้าดูไม่ว่าคุณจะทำอะไร
  • 11:16 - 11:18
    นี่หมายความว่าคุณไม่เคยมีช่วงเวลาส่วนตัว
  • 11:18 - 11:20
    ผู้บังคับขั้นสูงสุด
  • 11:20 - 11:23
    เพื่อให้เชื่อฟังคำสั่ง
  • 11:23 - 11:27
    ดูเหมือนว่าสิ่งเหล่านี้ทำงานแตกต่างกันมาก
  • 11:27 - 11:29
    ข้อสรุปที่ว่าทั้งหมดนี้นำไปสู่
  • 11:29 - 11:31
    สังคมที่ซึ่ง
  • 11:31 - 11:34
    ผู้คนสามารถถูกจับตาดูอยู่ตลอดเวลา
  • 11:34 - 11:37
    คือสังคมที่แพร่พันธุ์ สภาวะจำยอม
  • 11:37 - 11:39
    การเชื่อฟัง และยอมจำนน
  • 11:39 - 11:41
    ซึ่งคือเหตุผลที่ผู้ปกครองที่เป็นเผด็จการ
  • 11:41 - 11:42
    ที่ชัดเจนไปจนถึงมีเล่ห์เหลี่ยมที่สุด
  • 11:42 - 11:44
    ปรารถนาระบบนี้มาก
  • 11:44 - 11:47
    ในทางกลับกัน ยิ่งสำคัญขึ้นไปอีก
  • 11:47 - 11:50
    มันคืออาณาบริเวณของความเป็นส่วนตัว
  • 11:50 - 11:53
    ความสามารถในการไปยังที่ที่เราคิดว่าไปได้
  • 11:53 - 11:56
    การใช้เหตุผล การปฏิสัมพันธ์ และการพูด
  • 11:56 - 11:59
    โดยปราศจากสายตาแห่งการตัดสินของคนอื่น
    ที่จับจ้องเราอยู่
  • 11:59 - 12:02
    ที่ซึ่งความคิดสร้างสรรค์และการสำรวจ
  • 12:02 - 12:06
    และความขัดแย้งดำรงอยู่เป็นพิเศษ
  • 12:06 - 12:08
    นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไม
  • 12:08 - 12:10
    เมื่อเรายอมให้สังคมดำรงอยู่
  • 12:10 - 12:13
    โดยที่เราถูกเฝ้าจับตาตลอดเวลา
  • 12:13 - 12:16
    เราได้ปล่อยให้สารัตถะของอิสรภาพของมนุษย์
  • 12:16 - 12:18
    ถูกทำให้ง่อยเปลี้ยเสียขาไปอย่างรุนแรง
  • 12:19 - 12:22
    ประเด็นสุดท้าย
    ที่ผมอยากตั้งข้อสังเกตต่อกรอบคิดนี้
  • 12:22 - 12:24
    คือ ความคิดที่ว่ามีแต่คนที่ทำผิดเท่านั้น
  • 12:24 - 12:28
    ที่มีอะไรต้องซ่อน
    ดังนั้นเหตุผลที่ใส่ใจกับความเป็นส่วนตัว
  • 12:28 - 12:31
    คือ มันปกป้องข้อความที่เป็นภัยสองข้อความ
  • 12:31 - 12:33
    บทเรียนที่เป็นภัยสองบทเรียน
  • 12:33 - 12:35
    อย่างแรกคือ ข้อความที่ว่า
  • 12:35 - 12:37
    คนที่คิดถึงความเป็นส่วนตัว
  • 12:37 - 12:40
    คนที่แสวงหาความเป็นส่วนตัว
  • 12:40 - 12:42
    ถูกมองว่าเป็นคนเลว
  • 12:42 - 12:46
    นีเป็นข้อสรุปที่ว่า เราควร
  • 12:46 - 12:48
    มีเหตุผลทุกชนิดเพื่อหลีกเลี่ยง
  • 12:48 - 12:51
    สิ่งสำคัญที่สุดเวลาที่คุณพูดว่า
  • 12:51 - 12:53
    “คนที่ทำอะไรเลวร้าย”
  • 12:53 - 12:57
    คุณอาจจะหมายถึงการวางแผนก่อการร้าย
  • 12:57 - 12:59
    หรือการมีส่วนร่วมในอาชญากรรม
  • 12:59 - 13:01
    ที่แคบกว่านั้นคือ
  • 13:01 - 13:03
    สิ่งที่ผู้ที่มีอำนาจเป็นอาวุธหมายถึง
  • 13:03 - 13:06
    เวลาพูดถึง "การกระทำที่เลวร้าย”
  • 13:06 - 13:08
    สำหรับพวกเขาแล้ว “การกระทำที่เลวร้าย”
    มักจะหมายความว่า
  • 13:08 - 13:09
    ทำสิ่งที่มีความหมาย
  • 13:09 - 13:13
    ซึ่งท้าทายพลังอำนาจของพวกเขา
  • 13:14 - 13:16
    อีกบทเรียนที่เป็นภัย
  • 13:16 - 13:18
    และผมคิดว่าเป็นบทเรียนที่ร้ายกาจที่สุด
  • 13:18 - 13:20
    มาจากการยอมรับกรอบความคิดนี้คือ
  • 13:20 - 13:22
    มีการต่อรองโดยนัย
  • 13:22 - 13:25
    ที่ว่าคนที่ยอมรับกรอบคิดนี้ได้ยอมรับ
  • 13:25 - 13:27
    และต่อรองว่า
  • 13:27 - 13:29
    ถ้าคุณอยากจะทำให้ตัวเอง
  • 13:29 - 13:32
    ปลอดภัยมากพอ
  • 13:32 - 13:34
    ปราศจากการถูกคุกคามมากพอ
  • 13:34 - 13:36
    จากคนที่มีอำนาจทางการเมือง
  • 13:36 - 13:38
    ตอนนั้นแหละ
    ที่เราจะมีอิสระอย่างแท้จริง
  • 13:38 - 13:41
    จากอันตรายของการสอดแนม
  • 13:41 - 13:44
    มีแต่คนที่คัดค้าน
  • 13:44 - 13:45
    คนที่ท้าทายอำนาจ
  • 13:45 - 13:47
    คนที่มีอะไรต้องกังวลเท่านั้น
  • 13:47 - 13:50
    มีเหตุผลต่างๆ นานาที่ว่า
    ทำไมควรต้องหลีกเลี่ยงบทเรียนเหล่านี้เช่นกัน
  • 13:50 - 13:52
    คุณอาจจะเป็นคนที่ตอนนี้
  • 13:52 - 13:54
    ไม่อยากจะมีส่วนร่วม
  • 13:54 - 13:57
    แต่บางที คุณอาจจะมีพฤติกรรมเหล่านี้ในอนาคต
  • 13:57 - 13:59
    แม้ว่าคุณเป็นคนที่ตัดสินใจแล้วว่า
  • 13:59 - 14:01
    คุณไม่อยากทำแบบนี้แน่นอน
  • 14:01 - 14:03
    ความเป็นจริงก็คือ มีคนอื่นๆ
  • 14:03 - 14:05
    ที่อยากจะทำ และสามารถต้านทาน
  • 14:05 - 14:06
    และต่อกรกับอำนาจ
  • 14:06 - 14:08
    ผู้ที่ไม่เห็นด้วย นักข่าว
  • 14:08 - 14:10
    นักเคลื่อนไหวทางสังคมและคนอื่นๆ
  • 14:10 - 14:12
    ได้นำประโยชน์สาธารณะมาให้
  • 14:12 - 14:14
    เราจึงต้องรักษามันไว้
  • 14:14 - 14:18
    การววิจารณ์อ่ย่างเท่าเทียม คือมาตรวัด
  • 14:18 - 14:20
    ว่าสังคมหนึ่งมีเสรีภาพมากแค่ไหน
  • 14:20 - 14:22
    ไม่ใช่ว่าสังคมนั้นปฏิบัติดีแค่ไหน
  • 14:22 - 14:25
    ต่อพลเมืองที่เชื่องและเชื่อฟัง
  • 14:25 - 14:27
    แต่ดูว่าสังคมนั้นปฏิบัติต่อคนที่ไม่เห็นด้วยยังไง
  • 14:27 - 14:29
    และคนที่ท้าทายความคิดดั้งเดิมอย่างไร
  • 14:29 - 14:31
    แต่เหตุผลที่สำคัญที่สุด
  • 14:31 - 14:33
    คือ ระบบสอดแนมมวลชน
  • 14:33 - 14:37
    ได้กดทับเสรีภาพของเราในทุกวิถีทาง
  • 14:37 - 14:39
    มันได้จำกัด
  • 14:39 - 14:40
    พฤติกรรมการเลือกของเรา
  • 14:40 - 14:42
    โดยที่เราไม่รู้ตัวว่าได้เกิดขึ้นแล้ว
  • 14:42 - 14:46
    นักกิจกรรมทางสังคมนิยมชื่อดัง
    ที่ชื่อโรซา ลักเซมเบิร์ก
  • 14:46 - 14:49
    ครั้งหนึ่งเคยกล่าวว่า “คนที่ไม่เคลื่อนไหว
  • 14:49 - 14:51
    ไม่ได้สังเกตถึงโซ่ตรวนของตนเอง”
  • 14:51 - 14:54
    เราอาจทำเป็นไม่เห็นสายโซ่
  • 14:54 - 14:56
    ของการสอดแนมมวลชนที่มองไม่เห็น
  • 14:56 - 14:59
    แต่การคิดแบบนี้ไม่ทำให้
  • 14:59 - 15:01
    อำนาจของมันลดน้อยลงไปเลย
  • 15:01 - 15:03
    ขอบคุณมากครับ
  • 15:03 - 15:05
    (เสียงปรบมือ)
  • 15:05 - 15:06
    ขอบคุณครับ
  • 15:06 - 15:07
    (เสียงปรบมือ)
  • 15:07 - 15:11
    ขอบคุณครับ
  • 15:11 - 15:15
    (เสียงปรบมือ)
  • 15:21 - 15:22
    บรูโน่ จิอูสซานี่: ขอบคุณมากครับ เกล็นน์
  • 15:22 - 15:25
    ผมต้องบอกเลยนะ
    ว่าคุณพูดได้ชวนคิดเหมือนกัน
  • 15:25 - 15:27
    แต่ผมอยากจะนำคุณกลับไป
  • 15:27 - 15:29
    เมื่อ 16 เดือนก่อน และกลับไปยัง
    เอ็ดวาร์ด สโนว์เดน
  • 15:29 - 15:32
    และมีคำถามสักเล็กน้อย ถ้าคุณไ่ม่ว่าอะไร
  • 15:32 - 15:33
    คำถามแรกเกี่ยวกับคุณเป็นการส่วนตัว
  • 15:33 - 15:37
    เราต่างได้อ่านเรื่องที่คู่ชีวิตของคุณ
  • 15:37 - 15:41
    เดวิด มิแรนดาถูกจับกุมที่ลอนดอน
    และความยากลำบากอื่นๆ
  • 15:41 - 15:43
    แต่ผมเดาเอาเองว่า
  • 15:43 - 15:46
    ในแง่ของความสัมพันธ์ส่วนตัวและความเสี่ยง
  • 15:46 - 15:48
    ที่กดดันคุณอยู่ทำให้ไม่ง่ายนัก
  • 15:48 - 15:50
    ในการต่อกรกับองค์กรที่มีอำนาจ
    มากที่สุดในโลก
  • 15:50 - 15:53
    เล่าให้เราฟังสักนิดได้ไหมครับ
  • 15:53 - 15:55
    เกล็นน์: ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น
  • 15:55 - 15:57
    คือ ความกล้าหาญของผู้คน
  • 15:57 - 15:59
    ได้แพร่กระจายออกไป
  • 15:59 - 16:02
    แม้ว่าผมและนักข่าวหลายคนที่ผมทำงานด้วย
  • 16:02 - 16:03
    จะตระหนักถึงความเสี่ยง
  • 16:03 - 16:06
    สหรัฐอเมริกายังคงเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก
  • 16:06 - 16:08
    และไม่ซาบซึ้ง เมื่อคุณ
  • 16:08 - 16:10
    เปิดเผยความลับมหาศาลของประเทศ
  • 16:10 - 16:12
    ในอินเทอร์เน็ต
  • 16:12 - 16:15
    การเห็นคนธรรมดาอายุ 29 ปี
  • 16:15 - 16:17
    ที่เติบโตมาใน
  • 16:17 - 16:20
    สภาพแวดล้อมธรรมดามากๆ
  • 16:20 - 16:24
    ได้แสดงระดับความกล้าหาญ
    ดังที่สโนว์เดนต้องเสี่ยง
  • 16:24 - 16:26
    โดยรู้ว่าเขาจะต้องจำคุกไปตลอดชีวิต
  • 16:26 - 16:28
    หรือชีวิตของเขาจะถูกเปิดเผย
  • 16:28 - 16:30
    เป็นแรงบันดาลใจให้ผมและนักข่าวคนอื่นๆ
  • 16:30 - 16:32
    และผมคิดว่าเป็นแรงบันดาลใจให้คนทั่วโลก
  • 16:32 - 16:33
    รวมถึงนักเปิดโปงคนอื่นๆ ในอนาคต
  • 16:33 - 16:36
    ได้ตระหนักว่า พวกเขาสามารถมีส่วนในการกระทำ
    แบบเดียวกันนี้ได้เหมือนกัน
  • 16:36 - 16:39
    บ.จ: ผมสงสัยความสัมพันธ์ของคุณกับสโนว์เดน
  • 16:39 - 16:42
    เพราะว่าคุณได้คุยกับเขาเยอะมาก
  • 16:42 - 16:44
    และคุณยังคงทำแบบนี้ต่อไปแน่นอน
  • 16:44 - 16:47
    แต่ในหนังสือของคุณ คุณไม่เคยเรียกเขาว่า เอ็ดวาร์ด
  • 16:47 - 16:49
    หรือเอ็ด แต่เป็น "สโนว์เดน"
    เป็นมายังไงครับ
  • 16:49 - 16:51
    ก.ก.: คุณรู้ไหม ผมแน่ใจว่า
  • 16:51 - 16:54
    มีทีมนักจิตวิทยากำลังตรวจสอบผมอยู่
    (เสียงหัวเราะ)
  • 16:54 - 16:57
    ผมไม่รู้จริงๆ ผมคิดว่าเหตุผลคือ
  • 16:57 - 17:00
    หนึ่งในวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่เขามี
  • 17:00 - 17:02
    ที่ผมคิดว่าเป็นกลวิธีที่สำคัญที่สุด
  • 17:02 - 17:04
    คือเขารู้ว่าหนึ่งในวิธี
  • 17:05 - 17:09
    ที่จะเบี่ยงเบนความสนใจจากสาระของการเปิดโปง
  • 17:09 - 17:12
    อาจพยายามทำให้เป็นเรื่องส่วนตัวโดยเน้นมาที่เขา
  • 17:12 - 17:14
    ด้วยเหตุผลนี้ เขาจึงอยู่ห่างจากสื่อ
  • 17:14 - 17:17
    เขาพยายามที่จะไม่แม้แต่ให้เรื่องส่วนตัวของเขา
  • 17:17 - 17:18
    เป็นหัวข้อในการตรวจสอบ
  • 17:18 - 17:21
    ดังนั้นผมจึงคิดว่าการเรียกเขาว่าสโนว์เดน
  • 17:21 - 17:25
    เป็นวิธีระบุตัวตนเขาในฐานะ
    คนสำคัญทางประะวัติศาสตร์คนหนึ่ง
  • 17:25 - 17:27
    มากกว่าที่จะพยายามทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว
  • 17:27 - 17:29
    ซึ่งอาจจะลดทอนความสนใจจากสาระสำคัญ
  • 17:29 - 17:32
    ผู้ดำเนินรายการ: ดังนั้นการเปิดโปงของเขา
    จากการวิเคราะห์ของคุณ
  • 17:32 - 17:34
    การทำงานของนักข่าวคนอื่นๆ
  • 17:34 - 17:36
    ได้พัฒนาข้อถกเถียงขึ้นมา
  • 17:36 - 17:38
    รัฐบาลหลายประเทศได้ตอบโต้
  • 17:38 - 17:40
    รวมทั้งบราซิล
    ด้วยโครงการและโปรแกรมต่างๆ
  • 17:40 - 17:43
    ในการออกแบบอินเทอร์เน็ตใหม่ เป็นต้น
  • 17:43 - 17:45
    มีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นมากมายภายใต้แนวคิดนี้
  • 17:45 - 17:48
    แต่ผมกำลังสงสัยว่า โดยส่วนตัวของคุณแล้ว
  • 17:48 - 17:49
    เรื่องนี้จะจบยังไง
  • 17:49 - 17:51
    ในจุดไหนที่คุณคิดว่า
  • 17:51 - 17:54
    เราทำสำเร็จ
  • 17:54 - 17:57
    ก.ก.: ผมคิดว่าจุดสิ้นสุดของผมในฐานะนักข่าว
  • 17:57 - 17:59
    เรียบง่ายมากๆ คือการแน่ใจว่า
  • 17:59 - 18:01
    เอกสารทุกชิ้นมีคุณค่าข่าว
  • 18:01 - 18:03
    และควรจะถูกเปิดเผย
  • 18:03 - 18:04
    ลงเอยด้วยการถูกเปิดเผย
  • 18:04 - 18:06
    และความลับที่ไม่ควรถูกเก็บไว้ตั้งแค่แรก
  • 18:06 - 18:08
    จบลงด้วยการถูกเปิดเผยออกมา
  • 18:08 - 18:09
    สำหรับผม นี่คือแก่นของวารสารศาสตร์
  • 18:09 - 18:11
    และเป็นสิ่งที่ผมตั้งใจที่จะทำ
  • 18:11 - 18:14
    ในฐานะที่พบว่าการสอดแนมมวลชนน่ารังเกียจ
  • 18:14 - 18:16
    ตามเหตุผลที่ผมได้พูดไปและมากกว่านั้น
  • 18:16 - 18:19
    ผมมองมันในฐานะงานที่ไม่จบสิ้น
  • 18:19 - 18:21
    จนกระทั่งรัฐบาลทั่วโลก
  • 18:21 - 18:23
    ไม่สอดแนมและเฝ้าจับตาดู
  • 18:23 - 18:25
    ประชากรทั้งหมดของพวกเขาอีกต่อไป
  • 18:25 - 18:28
    นอกเสียจากพวกเขา
    ชักจูงให้ศาลเชื่อได้หรือมีหลักฐาน
  • 18:28 - 18:30
    ว่าบุคคลนั้นที่เป็นเป้าหมาย
  • 18:30 - 18:32
    ที่ได้ทำอะไรที่ผิดจริงๆ
  • 18:32 - 18:35
    สำหรับผมแล้วนี่เป็นวิธีที่
    ความเป็นส่วนตัวสามารถกลับสู่สภาพเดิมได้
  • 18:35 - 18:37
    บ.จ.: ดังนั้นสโนว์เดนดังที่เราเห็น TED
  • 18:37 - 18:40
    เป็นคนที่กำหนดตัวเองมากในการนำเสนอ
    และวางภาพของเขา
  • 18:40 - 18:42
    ในฐานะผู้ปกป้องคุณค่าประชาธิปไตย
  • 18:42 - 18:44
    และหลักการประชาธิปไตย
  • 18:44 - 18:47
    แต่คนจำนวนมากพบว่า มันยากที่จะเชื่อว่า
  • 18:47 - 18:50
    นี่เป็นแรงผลักดันของเขาอย่างเดียว
  • 18:50 - 18:52
    พวกเขาคิดว่ายากที่จะเชื่อว่า
  • 18:52 - 18:53
    ไม่มีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้อง
  • 18:53 - 18:55
    ว่าเขาไม่ได้ขายความลับ
  • 18:55 - 18:57
    ให้กับจีนหรือรัสเซีย
  • 18:57 - 18:59
    ซึงเห็นชัดเจนว่าไม่ใช่มิตรแท้
  • 18:59 - 19:00
    ของอเมริกาแน่นอนในตอนนี้
  • 19:01 - 19:03
    ผมแน่ใจว่าหลายคนในห้องนี้
  • 19:03 - 19:05
    กำลังมีคำถามแบบเดียวกัน
  • 19:05 - 19:07
    คุณได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ว่า
  • 19:07 - 19:10
    มีบางอย่างที่เรายังไม่เห็นในตัวสโนว์เดนไหม
  • 19:10 - 19:13
    ก.ก.: ไม่ ผมคิดว่านี่มันเป็นเรื่องงี่เง่า
  • 19:13 - 19:15
    (เสียงหัวเราะ) ถ้าคุณอยากจะทำ
  • 19:15 - 19:17
    และผมรู้ว่าคุณเพียงอยากจะให้
    ลองมองในอีกแง่
  • 19:17 - 19:21
    แต่ถ้าคุณอยากจะขาย
  • 19:21 - 19:23
    ความลับให้ประเทศอื่น
  • 19:23 - 19:24
    ที่เขาทำได้และ
  • 19:24 - 19:26
    จะรวยมากด้วย
  • 19:26 - 19:28
    สิ่งสุดท้ายที่คุณจะทำกับความลับเหล่านั้น
  • 19:28 - 19:30
    คือมอบข้อมูลให้กับนักข่าว และขอให้นักข่าวตีพิมพ์
  • 19:30 - 19:33
    เพราะว่ามันทำให้ความลับไร้ราคา
  • 19:33 - 19:35
    คนที่อยากรวย
  • 19:35 - 19:37
    ด้วยการขายความลับให้กับรัฐบาลจะทำลับๆ
  • 19:37 - 19:39
    แต่ผมคิดว่ามีประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่คุ้มค่าที่จะทำ
  • 19:39 - 19:40
    ซึ่งมักเป็นการกล่าวหาจาก
  • 19:40 - 19:42
    คนในรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
  • 19:42 - 19:44
    จากคนในวงการสื่อที่ภักดี
  • 19:44 - 19:46
    กับรัฐบาลต่างๆ
  • 19:46 - 19:49
    และผมคิดว่าหลายครั้งเมื่อคนกล่าวหาคนอื่นๆ
    ก็มักจะเป็นไปในทำนองว่า
  • 19:49 - 19:50
    “โอ้ เขาไม่สามารถทำแบบนั้นได้
  • 19:50 - 19:53
    เพราะเหตุผลเชิงหลักการหรอก
  • 19:53 - 19:55
    เขาต้องมีเหตุผลที่ร้ายกาจบางอย่าง”
  • 19:55 - 19:57
    เวลาพูดแบบเนี้ย
    มันสื่อถึงตัวคนพูด
  • 19:57 - 19:59
    มากกว่าคนที่เขากล่าวหานะ
  • 19:59 - 20:02
    เพราะว่า (เสียงปรบมือ)
  • 20:03 - 20:05
    คนที่กล่าวหา นั่นแหละ
  • 20:05 - 20:06
    ที่ตัวเองไม่เคยทำอะไร
  • 20:06 - 20:10
    ด้วยเหตุผลที่นอกเหนือจากเหตุผลที่ทุจริตเลย
  • 20:10 - 20:11
    ดังนั้นเขาจึงทึกทักเอาว่า
  • 20:11 - 20:13
    คนอื่นๆ จะติดเชื้อโรคเดียวกัน
  • 20:13 - 20:16
    โรคไร้จิตวิญญาณดังที่พวกเขาเป็นอยู่
  • 20:16 - 20:18
    ผมสันนิษฐานอย่างนั้น
  • 20:18 - 20:19
    (เสียงปรบมือ)
  • 20:19 - 20:22
    บ.จ.: ขอบคุณมากครับ เกล็นน์
    ก.ก. : ขอบคุณมากครับ
  • 20:22 - 20:23
    บ.จ.: เกล็นน์ กรีนวาลด์
  • 20:23 - 20:25
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมความเป็นส่วนตัวจึงสำคัญ
Speaker:
เกล็นน์ กรีนวาลด์ (Glenn Greenwald)
Description:

เกล็นน์ กรีนวาลด์ เป็นหนึ่งในนักข่าวกลุ่มแรกที่ได้เห็น -และเขียนเกี่ยวกับ -ไฟล์ของสโนว์เดนซึ่งเปิดเผยการสอดแนมความเป็นส่วนตัวของพลเมืองของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในการพูดครั้งนี้ กรีนวาลด์ได้ยกกรณีที่แสดงว่าทำไมคุณจึงต้องให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว แม้ว่าคุณจะ "ไม่มีอะไรต้องซ่อน" ก็ตาม

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
20:37
Helene Batt edited Thai subtitles for Why privacy matters
Krystian Aparta edited Thai subtitles for Why privacy matters
Krystian Aparta edited Thai subtitles for Why privacy matters
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why privacy matters
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why privacy matters
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why privacy matters
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why privacy matters
Pathumjit Atikomkamalasai accepted Thai subtitles for Why privacy matters
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions