Return to Video

โลกที่ถูกซ่อนเร้นในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ - โจชัว ดริว (Joshua Drew)

  • 0:07 - 0:09
    เมื่อคิดถึงพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
    (natural history museums)
  • 0:12 - 0:14
    คุณคงนึกถึงงานแสดง ที่เต็มไปด้วย
    สิ่งมีชีวิตโบราณไร้วิญญาณ
  • 0:14 - 0:15
    เช่น ไดโนเสาร์
  • 0:15 - 0:16
    ก้อนอุกกาบาต
  • 0:16 - 0:18
    และหินแร่มีค่า
  • 0:18 - 0:21
    แต่เบื้องหลังฉากหน้าสำหรับการศึกษา
  • 0:21 - 0:25
    ซึ่งคิดเป็นเพียงประมาณ 1%
    ของของสะสมในพิพิธภัณฑ์
  • 0:25 - 0:30
    มันยังมีห้องทดลองที่ถูกซ่อนอยู่
    ที่ซึ่งเกิดการค้นพบทางวิทยาศาสตร์
  • 0:30 - 0:31
    หลังประตูที่ไม่มีป้ายบอก
  • 0:31 - 0:34
    และชั้นที่ลิฟท์ไม่พาคุณขึ้นไป
  • 0:34 - 0:37
    คุณจะได้พบกับหน้าต่างสู่โลกอันน่าทึ่ง
  • 0:37 - 0:42
    ห้องโถงและห้องทดลองราวกับเขาวงกต
    ในที่วิหารแห่งวิทยาศาสตร์
  • 0:42 - 0:46
    บ้านหลังนี้เหมือนว่าจะมีตัวอย่างมากมาย
  • 0:46 - 0:50
    ตรงนี้ นักวิจัยทำงาน
    เพื่อเผยความลับของวิวัฒนาการ
  • 0:50 - 0:51
    ต้นกำเนิดแห่งดาว
  • 0:51 - 0:54
    และประวัติศาสตร์ของดาวเคราะห์ของเรา
  • 0:54 - 0:57
    พิพิธภัณฑ์เดียวอาจมีตัวอย่างเป็นล้านๆ
  • 0:57 - 1:00
    พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
    แห่งอเมริกา ในนครนิวยอร์ค
  • 1:00 - 1:04
    มีตัวอย่างกว่า 32,000,000
  • 1:04 - 1:06
    ลองมาดูหนึ่งในนั้นกัน
  • 1:06 - 1:09
    นักวิทยาศาสตร์บันทึกไว้อย่างชัดเจน
    ว่ามันถูกพบที่ไหนและเมื่อไร
  • 1:09 - 1:14
    และใช้วิธีการหาอายุที่หลากหลาย
    เพื่อบ่งบอกที่มา
  • 1:14 - 1:17
    ทำซ้ำๆ เป็นล้านๆ ครั้ง
    และต้นไม้เหล่านี้
  • 1:17 - 1:18
    สัตว์ต่างๆ
  • 1:18 - 1:19
    แร่
  • 1:19 - 1:20
    ฟอสซิล
  • 1:20 - 1:25
    และตัวอย่างโบราณที่เปิดหน้าต่าง
    สู่กาลเวลาและสถานที่ต่างๆ รอบโลก
  • 1:25 - 1:28
    ตลอดหลายสิบล้านปีในประวัติศาสตร์
  • 1:28 - 1:30
    เมื่อเกิดปัญหาทางการวิจัย
  • 1:30 - 1:35
    นักวิทยาศาสตร์จะมองผ่านหน้าต่างเหล่านั้น
    และทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับอดีต
  • 1:35 - 1:40
    ตัวอย่างเช่น ในช่วงยุค 1950
    ประชากรของนกนักล่า
  • 1:40 - 1:41
    อย่าง พิริกริน ฟัลคอน
    (peregrine falcon)
  • 1:41 - 1:42
    นกฮูก
  • 1:42 - 1:45
    และอินทรีก็เริ่มที่จะลดลงอย่างน่าสงสัย
  • 1:45 - 1:49
    จนถึงจุดที่จำนวนของสปีชีส์
    รวมถึงนกอินทรีหัวล้าน
  • 1:49 - 1:51
    ถูกประกาศว่าใกล้สูญพันธุ์
  • 1:51 - 1:55
    โชคดี ที่นักวิทยาศาสตร์ใน
    ฟิลด์ มิวเซียม ในชิคาโก้
  • 1:55 - 1:58
    ได้สะสมไข่ของนกนักล่าเหล่านี้มาหลายสิบปี
  • 1:58 - 2:02
    พวกเขาค้นพบว่าเปลือกไข่เคยหนากว่านี้
  • 2:02 - 2:04
    และมันเริ่มที่จะบางลงในช่วงเวลา
  • 2:04 - 2:10
    เมื่อยาฆ่าแมลงที่เรียกว่า ดีดีที
    เริ่มถูกนำมาใช้พ่นพืชไร่
  • 2:10 - 2:12
    ดีดีที มีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลง
  • 2:12 - 2:16
    แต่เมื่อนกเข้ามา
    และกองซากแมลงที่ตายเหล่านี้
  • 2:16 - 2:19
    ดีดีทีสะสมในร่างกายของพวกมัน
  • 2:19 - 2:21
    มันถูกส่งต่อขึ้นไปในห่วงโซ่อาหาร
  • 2:21 - 2:26
    และถูกดูดซึมโดยนกนักล่าที่อยู่ทางด้านบนสุด
    ที่ความเข้มข้นที่สุด
  • 2:26 - 2:28
    และมันทำให้เปลือกไข่บางลง
  • 2:28 - 2:32
    ดังนั้น พวกมันจึงไม่สามารถ
    ที่จะรองรับน้ำหนักของนกที่กกไข่ได้
  • 2:32 - 2:34
    จึงมีไข่แตกเละเต็มไปหมด
  • 2:34 - 2:36
    จนการทั่งนักวิทยาศาสตร์จาก
    ฟิลด์ มิวเซียม ในชิคาโก้
  • 2:36 - 2:38
    และสถาบันอื่นๆ
  • 2:38 - 2:40
    ช่วยกันไขปริศนานี้ และกลายเป็นวีรบุรุษ
  • 2:40 - 2:43
    อเมริกาขอบคุณ ฟิวด์ มิวเซียม
  • 2:43 - 2:45
    หน้าต่างพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
    ที่เปิดสู่อดีต
  • 2:45 - 2:48
    ได้ไขปริศนาทางวิทยาศาสตร์อีกมากมาย
  • 2:48 - 2:51
    นักวิทยาศาสตร์พิพิธภัณฑ์ได้ใช้ของสะสม
  • 2:51 - 2:53
    เพื่อหาลำดับจีโนมของนีแอนเดอร์ทัล
  • 2:53 - 2:56
    ค้นพบยีนที่ให้ขนสีแดงกับช้างแมมมอท
  • 2:56 - 3:01
    และแม้กระทั่งบ่งชี้ว่า
    ฉลามยักษ์โบราณถือกำเนิดขึ้นที่ไหน
  • 3:01 - 3:04
    มีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
    กว่า 900 แห่ง ในโลก
  • 3:04 - 3:07
    และทุกปี พวกเขาค้นพบอะไรใหม่ และลึกซึ้ง
  • 3:07 - 3:11
    เกี่ยวกับโลกของเราในอดึต ปัจจุบัน และอนาคต
  • 3:11 - 3:14
    ตัวอย่างของพิพิธภัณฑ์ช่วยเราให้เข้าใจ
    กระทั่งเรื่องปัญหาท้าทายใหม่ๆ
  • 3:14 - 3:16
    อย่างภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพทาง
    ภูมิอากาศทั่วโลก
  • 3:16 - 3:18
    ที่กำลังส่งผลกระทบต่อโลก
  • 3:18 - 3:20
    ยกตัวอย่างเช่น
    นักธรรมชาติวิทยาได้สะสมตัวอย่าง
  • 3:20 - 3:24
    ตลอด 100 ปี จาก บึง วัลเดน (Walden Pond)
  • 3:24 - 3:27
    ที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะ แฮนรี เดวิด โทรัล
    (Henry David Thoreau)
  • 3:27 - 3:30
    ต้องขอบคุณนักธรรมชาติวิทยาที่พิจารณา
    จำนวนของโทรัลเทียบกับของพวกเขา
  • 3:30 - 3:33
    เรารู้ว่าต้นไม้รอบๆ บึง วัลเดน
  • 3:33 - 3:38
    ผลิดอกออกผลเร็วกว่าเดิมสามสัปดาห์
    เมื่อเทียบกับเมื่อ 150 ปีก่อน
  • 3:38 - 3:41
    เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงนี้
    เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • 3:41 - 3:45
    คนคนหนึ่งอาจไม่สังเกตพวกมัน
    ในช่วงเวลาไม่กี่สิบปี
  • 3:45 - 3:47
    แต่ขอขอบตุณตัวอย่างพิพิธภัณฑ์
  • 3:47 - 3:52
    พวกเรามีบันทึกที่ไม่ขาดช่วง
    ที่แสดงให้เห็นว่าโลกเรากำลังเปลี่ยนแปลง
  • 3:52 - 3:54
    ดังนั้น ครั้งต่อไปที่คุณกำลังสำรวจ
    พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
  • 3:54 - 3:57
    จำไว้ว่า สิ่งที่คุณกำลังได้เห็น
    เป็นเพียงอัญมณีหนึ่ง
  • 3:57 - 4:01
    ในกรุสมบัติอันยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์
  • 4:01 - 4:05
    หลังกำแพงและใต้ฝ่าเท้าของคุณ
    คือหน้าต่างสู่โลกที่ถูกลืม
  • 4:05 - 4:07
    และใครจะไปรู้
  • 4:07 - 4:12
    สักวันหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ในอนาคต
    จะมองผ่านเข้ามาแล้วเห็นคุณ
Title:
โลกที่ถูกซ่อนเร้นในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ - โจชัว ดริว (Joshua Drew)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่ http://ed.ted.com/lessons/the-hidden-worlds-within-natural-history-museums-joshua-drew

เมื่อคุณนึกถึงพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ คุณอาจนึกถึงห้องการจัดแสดงที่เต็มไปด้วยสิ่งโบราณที่ไร้วิญญาณ เช่นไดโนเสาร์ หรือก้อนอุกกาบาต แต่เบื้อหลังการแสดงภายนอกนั้น ยังมีห้องทดลองที่ถูกซ่อนอยู่ ที่ซึ่งการค้นพบใหม่ทางวิทยาศาสตร์ได้ถือกำเนิดขึ้น โจชัว ดริว อธิบายถึงตัวอย่างโลกที่ถูกซ่อนเร้นภายในพิพิธภัณฑ์เหล่านี้

บทเรียนโดย Joshua Drew, แอนิเมชั่นโดย Provincia Studio.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:27

Thai subtitles

Revisions Compare revisions