Return to Video

ความกลัวต่อพลังงานนิวเคลียร์ทำให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมเราได้อย่างไร

  • 0:01 - 0:02
    คุณเคยได้ยินข่าวไหมครับ
  • 0:02 - 0:05
    เรากำลังอยู่ในยุคของการปฏิวัติพลังงานสะอาด
  • 0:05 - 0:07
    และใน เบิร์คลีย์ แคลิฟอเนีย เมืองที่ผมอยู่
  • 0:07 - 0:12
    ผมจะเห็นหลังคาที่มีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์
    ถูกติดตั้งขึ้นใหม่เป็นประจำ
  • 0:12 - 0:14
    รถพลังงานไฟฟ้าบนท้องถนน
  • 0:14 - 0:17
    เกือบครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้ในเยอรมัน
    มาจากพลังงานแสงอาทิตย์
  • 0:17 - 0:22
    และอินเดียก็ตั้งใจที่จะสร้างแหล่งพลังงาน
    แสงอาทิตย์ให้มากกว่า 10 เท่า
  • 0:22 - 0:23
    ของที่เรามีอยู่ในแคลิฟอเนีย
  • 0:23 - 0:24
    ภายในปี ค.ศ. 2022
  • 0:25 - 0:27
    หรือแม้แต่พลังงานนิวเคลียร์
    ก็เหมือนกำลังกลับมาเป็นที่สนใจ
  • 0:28 - 0:31
    บิลล์ เกตส์ กำลังร่วมงาน
    กับเหล่าวิศวกรในประเทศจีน
  • 0:31 - 0:34
    บริษัทต่าง ๆ 40 แห่ง ต่างให้ความร่วมมือ
  • 0:34 - 0:37
    เพื่อที่จะเร่งสร้างเตาปฏิกรณ์เครื่องแรก
    ที่ใช้ขยะเป็นแหล่งเชื้อเพลิง
  • 0:37 - 0:38
    ขยะที่ไม่ย่อยสลาย
  • 0:38 - 0:40
    และมีราคาถูกกว่าถ่านหิน
  • 0:40 - 0:43
    ถึงตอนนี้ คุณอาจเริ่มตั้งคำถาม
  • 0:43 - 0:45
    ว่าปัญหาสภาวะโลกร้อนทั้งหมดนั้น
  • 0:45 - 0:48
    จะถูกแก้ไขได้อย่างง่ายดาย
    อย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดอย่างนั้นหรือเปล่า
  • 0:49 - 0:50
    นั้นเป็นคำถามที่เราทุกคนอยากจะได้คำตอบ
  • 0:50 - 0:54
    ฉะนั้น ผมและเพื่อนร่วมงาน
    ตัดสินใจที่จะดูข้อมูลให้ลึกยิ่งขึ้น
  • 0:54 - 0:56
    เราค่อนข้างที่จะติดใจสงสัยในบางเรื่อง
  • 0:56 - 0:58
    เกี่ยวกับกับเรื่องราว
    ของการปฏิวัติพลังงานสะอาด
  • 0:58 - 1:01
    แต่สิ่งเราได้พบทำให้เรารู้สึกประหลาดใจมาก
  • 1:01 - 1:05
    ประการแรก พลังงานสะอาดนั้น
    มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาสักระยะแล้ว
  • 1:05 - 1:09
    นี่คือกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแหล่งพลังงานสะอาด
    ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
  • 1:09 - 1:13
    แต่ถ้าคุณดูสัดส่วนของ
    ปริมาณกระแสไฟฟ้าทั้งโลก
  • 1:13 - 1:14
    ที่ผลิตจากแหล่งพลังงานสะอาด
  • 1:14 - 1:19
    อันที่จริงแล้ว มันมีแนวโน้มลดลง
    จากร้อยละ 36 เหลือเพียงร้อยละ 31
  • 1:19 - 1:21
    และถ้าคุณอยากแก้ปัญหา
    การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ
  • 1:21 - 1:23
    มันควรที่จะต้องเป็นไปในทางกลับกัน
  • 1:23 - 1:27
    คือ กระแสไฟฟ้าทั้งหมดควรจะผลิต
    มาจากแหล่งพลังงานสะอาดเท่านั้น
  • 1:27 - 1:28
    และมันต้องเกิดขึ้นให้เร็วที่สุด
    เท่าที่จะเป็นไปได้
  • 1:28 - 1:29
    ถึงตอนนี้ คุณคงสงสัยว่า
  • 1:29 - 1:33
    "ไม่เอาน่า ร้อยละ 5 ของกระแสไฟฟ้าทั้งโลก
    มันจะมากแค่ไหนกันเชียว"
  • 1:33 - 1:35
    จริง ๆ แล้วมันค่อนข้างที่จะเยอะอยู่นะครับ
  • 1:35 - 1:38
    เรากำลังพูดถึงพลังงานที่ได้จาก
    โรงงานนิวเคลียร์ 60 แห่ง
  • 1:38 - 1:42
    ที่มีขนาดเท่ากับ ไดอะโบล แคนยอน
    โรงงานนิวเคลียร์สุดท้ายในแคลิฟอเนีย
  • 1:42 - 1:46
    หรือเทียบเท่าฟาร์มแสงอาทิตย์ 900 แห่ง
    ที่มีขนาดเท่ากับที่โทปาซ
  • 1:46 - 1:48
    ซึ่งเป็นหนึ่งในฟาร์มแสงอาทิตย์
    ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • 1:48 - 1:51
    และแน่นอน
    ฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในแคลิฟอเนีย
  • 1:52 - 1:55
    สาเหตุหลักนั่นก็เพราะว่า
    เราใช้พลังงานฟอสซิลเพิ่มขึ้น
  • 1:55 - 1:56
    ในอัตราที่รวดเร็ว
    กว่าการใช้พลังงานสะอาด
  • 1:56 - 1:57
    และนั่นก็เข้าใจได้
  • 1:57 - 1:59
    เพราะมีประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่ง
  • 1:59 - 2:02
    ที่ยังใช้ ฟืน, มูลสัตว์ และ ถ่านไม้
  • 2:02 - 2:03
    เป็นเชื้อเพลิงหลัก
  • 2:03 - 2:05
    และพวกเขาต้องการเชื้อเพลิงใหม่ ๆ
  • 2:05 - 2:07
    แต่มันยังมีอะไรที่มากกว่านั้น
  • 2:07 - 2:11
    ซึ่งก็คือหนึ่งในพลังงานสะอาดที่เราพูดถึงนั้น
  • 2:11 - 2:14
    กำลังมีแนวโน้มการใช้ที่ลดลงจริง ๆ
  • 2:14 - 2:16
    ไม่ใช่แค่ในเชิงเปรียบเทียบ
  • 2:16 - 2:17
    และมันก็คือ พลังงานนิวเคลียร์
  • 2:17 - 2:21
    จะเห็นว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์
    หายไปร้อยละ 7
  • 2:21 - 2:22
    ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
  • 2:22 - 2:25
    ทีนี้ ในส่วนของพลังงานแดดและลมนั้น
    มีการพัฒนาไปอย่างมาก
  • 2:25 - 2:28
    คุณจึงได้ยินการบรรยายมากมาย
    ที่บอกว่าเรื่องนี้ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา
  • 2:28 - 2:31
    เพราะพลังงานแดดและลม
    จะผลิตพลังงานมาชดเชยในส่วนนี้เอง
  • 2:31 - 2:33
    แต่จากข้อมูลบอกสิ่งที่แตกต่างไปจากนั้น
  • 2:33 - 2:36
    ถ้าคุณรวมกระแสไฟฟ้า
    ที่ได้จากแดดและลมทั้งหมด
  • 2:36 - 2:41
    จะเห็นว่ามันชดเชยได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง
    ของพลังงานนิวเคลียร์ที่ลดลงเลย
  • 2:42 - 2:44
    ลองมาดูในสหรัฐอเมริกาอย่างละเอียดกัน
  • 2:44 - 2:48
    ในช่วงสองถึงสามปีมานี้
    ในปี ค.ศ. 2013 และ 2014 --
  • 2:48 - 2:51
    เราได้หยุดใช้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์สี่แห่ง
    ก่อนเวลาอันควร
  • 2:51 - 2:54
    เกือบทั้งหมดถูกแทนที่ด้วยพลังงานฟอสซิล
  • 2:54 - 2:58
    ผลที่ตามมาคือ เราได้สูญเสียกระแสไฟฟ้า
  • 2:58 - 3:03
    ในปริมาณมากพอ ๆ กับพลังงานสะอาด
    ที่ผลิตได้แสงอาทิตย์
  • 3:03 - 3:06
    และนี่ไม่ได้เกิดเฉพาะกับเรา
  • 3:06 - 3:09
    คนมักจะมองว่าแคลิฟอร์เนียเป็นผู้นำ
    ในด้านพลังงานสะอาดและการดูแลสภาพอากาศ
  • 3:09 - 3:11
    แต่เมื่อเราดูกันที่ข้อมูล
  • 3:11 - 3:13
    จะเห็นได้ว่า จริง ๆ แล้ว
  • 3:13 - 3:16
    แคลิฟอร์เนียลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
    ช้ากว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
  • 3:16 - 3:18
    ระหว่างปี ค.ศ. 2000 และ 2015
  • 3:18 - 3:20
    แล้วที่เยอรมันนีล่ะ
  • 3:20 - 3:22
    พวกเขาใช้พลังงานสะอาดมากมาย
  • 3:22 - 3:23
    แต่ถ้าเอาข้อมูลมาดู
  • 3:23 - 3:27
    คนเยอรมันปล่อยก๊าซสู่ชั้นบรรยากาศ
    เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009
  • 3:27 - 3:29
    และจะมีคนสำคัญที่จะคุณว่า
  • 3:29 - 3:33
    พวกเขากำลังจะทำได้ตามข้อตกลง
    เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศได้ในปี ค.ศ. 2020
  • 3:33 - 3:35
    เหตุผลนั้นก็เข้าใจได้ไม่ยาก
  • 3:35 - 3:38
    ลมและแดดนนั้นให้พลังงานได้แค่
    ร้อยละ 10 ถึง 20 ต่อช่วงเวลาทำการหนึ่ง ๆ
  • 3:38 - 3:40
    กล่าวคือ ถ้าไม่มีแสงแดด
  • 3:40 - 3:42
    ลมก็จะไม่พัด
  • 3:42 - 3:44
    แต่คุณยังต้องการพลังงานสำหรับโรงพยาบาล
  • 3:44 - 3:47
    ที่พักอาศัย, เมือง, และโรงงานต่าง ๆ
  • 3:47 - 3:51
    และถึงแม้ว่าแบตเตอร์รี่ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างมาก
    ในช่วงที่ผ่านมา
  • 3:51 - 3:53
    อย่างไรเสียมันก็ยังสู้ประสิทธิภาพ
  • 3:53 - 3:54
    แหล่งพลังงานไฟฟ้าปกติได้
  • 3:54 - 3:58
    ทุกครั้งที่คุณชาร์จไฟฟ้าใส่ในแบตเตอร์รี่
    และเอามันออกมาใช้
  • 3:58 - 4:01
    คุณสูญเสียประมาณร้อยละ 20 ถึง 40
    ของพลังงานงานทั้งหมด
  • 4:01 - 4:04
    และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมในแคลิฟอร์เนีย
  • 4:04 - 4:07
    แม้ว่าเราจะพยายามจัดการ
    กับพลังงานแสงแดดทั้งหมดแล้ว
  • 4:07 - 4:10
    เราสามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าได้เพียง
    ร้อยละ 10 เท่านั้น
  • 4:10 - 4:12
    เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
    ผู้คนกลับบ้านจากที่ทำงาน
  • 4:12 - 4:15
    และเปิดเครื่องปรับอากาศและโทรทัศน์
  • 4:15 - 4:17
    และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน
  • 4:17 - 4:19
    นั่นแหละ ที่ทำให้เรา
    ต้องมีก๊าซธรรมชาติสำรองเอาไว้ใช้
  • 4:19 - 4:20
    ฉะนั้น สิ่งที่เรากำลังทำ
  • 4:20 - 4:23
    คือการกักเก็บแก๊สธรรมชาติปริมาณมาก
    ไว้ทางด้านหนึ่งของภูเขา
  • 4:24 - 4:26
    ซึ่งมันก็ได้ผลค่อนข้างดีอยู่ระยะหนึ่ง
  • 4:26 - 4:29
    แต่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา
    ก๊าซพวกนั้นได้รั่วสู่บรรยากาศ
  • 4:29 - 4:31
    นี่คือ อะลิโซ แคนยอน
  • 4:31 - 4:34
    ก๊าซมีเทนรั่วออกมาในปริมาณมาก
  • 4:34 - 4:37
    เทียบได้กับปริมาณไอเสียจากรถยนต์
    500,000 คัน บนท้องถนน
  • 4:37 - 4:41
    ซึ่งทั้งหมดนั้น เท่ากับปริมาณที่เราตกลง
    ว่าปลอยได้ภายในหนึ่งปี
  • 4:42 - 4:43
    เอาล่ะ ดูที่อินเดียบ้าง
  • 4:43 - 4:46
    บางทีคุณต้องดูข้อมูลจากหลายแหล่ง
    เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลนั้นถูกต้อง
  • 4:46 - 4:48
    เราจึงเดินทางไปอินเดียเมื่อสองสามเดือนก่อน
  • 4:48 - 4:51
    ไปพบกับทุกหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องของ
    พลังงานแสงอาทิตย์, นิวเคลียร์ และอื่น ๆ
  • 4:51 - 4:53
    และสิ่งที่เขาบอกกับพวกเราก็คือ
  • 4:53 - 4:55
    "เรากำลังมีปัญหาที่หนักกว่า
  • 4:55 - 4:57
    ทั้งที่เยอรมันนีและแคลิฟอร์เนีย
  • 4:57 - 5:00
    เราไม่มีพลังงานสำรอง
    ไม่มีแม้แต่ก๊าซธรรมชาติ
  • 5:00 - 5:03
    และนั่นก็เป็นแค่จุดเริ่มต้นของปัญหา
  • 5:03 - 5:06
    สมมติว่า เราอยากผลิตไฟฟ้า 100 กิกะวัตต์
    ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2022
  • 5:06 - 5:08
    แต่เมื่อปีที่ผ่านมา เราผลิตได้แค่ 5 กิกะวัตต์
  • 5:08 - 5:10
    และปีก่อนหน้านั้นเราก็ผลิตได้แค่ 5 กิกะวัตต์"
  • 5:10 - 5:13
    เอาล่ะ ลองมากันให้ละเอียดขึ้น
    ที่พลังงานนิวเคลียร์
  • 5:13 - 5:16
    คณะดูแลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    ระหว่างรัฐของสหประชาชาติ
  • 5:16 - 5:19
    ได้ติดตามปริมาณก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้น
    จากเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ
  • 5:19 - 5:23
    พลังงานนิวเคลียร์ปล่อยคาร์บอนน้อยมาก
    และน้อยกว่าพลังงานแสงอาทิตย์เสียอีก
  • 5:23 - 5:27
    แถมพลังงานนิวเคลียร์ยังให้พลังงาน
    ที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด
  • 5:27 - 5:29
    24 ชั่วโมงต่อวัน, เจ็ดวันต่อสัปดาห์
  • 5:29 - 5:33
    ตลอดทั้งปี โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งเดียว
    ก็ผลิตไฟฟ้าได้ร้อย 92 ของเวลาทำการ
  • 5:33 - 5:36
    ที่น่าสนใจคือ ถ้าลองดูประเทศอื่น ๆ
  • 5:36 - 5:39
    ที่มีการใช้พลังงานสะอาดในรูปแบบต่าง ๆ
  • 5:39 - 5:40
    มีเพียงไม่กี่ที่เท่านั้นที่สามารถ
  • 5:41 - 5:43
    ทำได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการปัญหา
    ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
  • 5:43 - 5:45
    ซึ่งพลังงานนิวเคลียร์ดูจะเป็นทางเลือกที่ดี
  • 5:45 - 5:48
    แต่มันก็มีปัญหาใหญ่อยู่ปัญหาหนึ่ง
  • 5:48 - 5:50
    ซึ่งผมแน่ใจว่าทุกคนในที่นี้ต้องนึกถึง
  • 5:50 - 5:52
    และคงไม่มีใครชอบมันแน่ ๆ
  • 5:52 - 5:56
    ได้มีการสำรวจและศึกษาจากคนทั่วโลก
  • 5:56 - 5:58
    ไม่ใช่แค่ในสหรัฐอเมริกาหรือยุโรปเท่านั้น
  • 5:58 - 6:00
    เมื่อประมาณปีครึ่งที่ผ่านมา
  • 6:00 - 6:01
    สิ่งที่พวกเขาพบก็คือ
  • 6:01 - 6:05
    พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง
    ที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุด
  • 6:05 - 6:07
    แม้แต่น้ำมันเองก็ยังได้รับความนิยมมากกว่า
  • 6:07 - 6:11
    และแม้ว่าพลังงานนิวเคลียร์จะทำได้ดีกว่า
    พลังงานจากถ่านหิน ข้อเท็จจริงก็คือ
  • 6:11 - 6:14
    คนส่วนมากก็ไม่ได้กลัวพลังงานถ่านหิน
    เท่ากับที่กลัวพลังงานนิวเคลียร์
  • 6:14 - 6:17
    ซึ่งจริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของความรู้สึก
    มากกว่าเหตุผล
  • 6:17 - 6:18
    ถ้าอย่างนั้น เรากำลังกลัวอะไร
  • 6:18 - 6:20
    มีเพียงแค่สามสิ่งเท่านั้น
  • 6:20 - 6:22
    หนึ่งคือเรื่องของความปลอดภัยของโรงงาน
  • 6:22 - 6:25
    คนกลัวว่าเตาปฏิกรณ์จะหลอมละลาย
    และก่อห้เกิดความเสียหาย
  • 6:25 - 6:26
    สองคือขยะนิวเคลียร์
  • 6:27 - 6:29
    และสามคือความเกี่ยวข้อง
    กับการพัฒนาอาวุธสงคราม
  • 6:30 - 6:31
    และผมคิดว่า มันก็เข้าใจได้นะ
  • 6:31 - 6:35
    วิศวกรหลายท่านก็เห็นปัญหาเหล่านี้
    และพยายามหาทางแก้ไขในเชิงเทคนิค
  • 6:35 - 6:38
    นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมบิล เกตส์
    ถึงไปจีนเพื่อพัฒนาเตาปฏิกรณ์ที่ทันสมัย
  • 6:38 - 6:41
    นั่นเป็นเหตุว่าทำไมบริษัท 40 แห่ง
    ถึงกำลังพยายามแก้ปัญหานี้
  • 6:41 - 6:43
    และตัวผมเอง ก็ตื่นเต้นกับสิ่งนี้มาก ๆ
  • 6:43 - 6:46
    เราเคยทำเขียนรายงานเรื่อง:
    "จะทำให้นิวเคลียร์มีราคาถูกได้อย่างไร"
  • 6:46 - 6:49
    จริง ๆ แล้ว เตาปฏิกรณ์ธอร์เรียม
    เป็นความหวังในเรื่องนี้
  • 6:49 - 6:51
    เมื่อ เจมส์ ฮานเซน (James Hansen)
    นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศ
  • 6:51 - 6:53
    ถามผมว่าอยากไปจีนกับเขาหรือเปล่า
  • 6:53 - 6:55
    เพื่อไปดูโครงการนิวเคลียร์ล้ำสมัยที่นั่น
  • 6:55 - 6:57
    ผมกระโดดคว้าโอกาสนั้นทันที
  • 6:57 - 7:00
    เราไปที่นั่นพร้อมกับวิศวกรจากเอ็มไอที
    และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์คลีย์
  • 7:00 - 7:02
    ตอนนั้นสิ่งที่ผมคิดก็คือ
  • 7:02 - 7:04
    คนจีนน่าจะสามารถทำกับนิวเคลียร์
  • 7:04 - 7:06
    ได้เหมือนกับสิ่งอื่น ๆ ที่พวกเขาทำ --
  • 7:06 - 7:10
    พวกเขาน่าจะเริ่มผลิตเตาปฏิกรณ์ขนาดเล็ก
    ได้เป็นปริมาณมากในสายการผลิต
  • 7:10 - 7:14
    และส่งออกพวกมันไปขายทั่วโลก
    เหมือนกับ iPhone หรือ Macbook
  • 7:14 - 7:16
    พูดแล้ว ผมก็อยากได้มาไว้ที่เบิร์คลีย์สักอัน
  • 7:17 - 7:19
    แต่ความจริงที่ผมเจอนั้น
    ค่อนข้างแตกต่างออกไป
  • 7:19 - 7:22
    การนำเสนอนั้นน่าตื่นตาตื่นใจมาก
    และดูมีความหวังมาก ๆ
  • 7:22 - 7:25
    พวกเขากำลังสร้างมีเตาปฏิกรณ์หลายแห่ง
  • 7:25 - 7:28
    และเราก็ได้เห็นเตาปฏิกรณ์ธอร์เรียม
    พวกเราก็ตื่นเต้นกันมาก
  • 7:28 - 7:31
    พวกเขานำเสนอรายละเอียดทั้งหมด
    พวกเขามีแผนการทำงาน
  • 7:31 - 7:33
    แล้วพวกเขาก็บอกกับเราว่า
  • 7:33 - 7:36
    "เรากำลังจะมีเตาธอร์เรียมที่ทำจากเกลือ
  • 7:36 - 7:38
    ที่พร้อมจะจำหน่ายไปทั่วโลก
  • 7:38 - 7:40
    ภายในปี ค.ศ. 2040"
  • 7:41 - 7:42
    ผมนี่ร้องว่า "อะไรนะ"
  • 7:42 - 7:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:44 - 7:46
    ผมมองเพื่อนร่วมงานของผม
    และหันกลับไปถามว่า
  • 7:46 - 7:47
    "โทษนะครับ --
  • 7:47 - 7:49
    พวกคุณช่วยเร่งมือขึ้นอีกนิดได้ไหม
  • 7:49 - 7:52
    เพราะพวกเรากำลังมีปัญหา
    เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอยู่
  • 7:53 - 7:55
    และจริง ๆ แล้วอากาศที่จีน
    ก็ค่อนข้างสกปรกนะผมว่า"
  • 7:55 - 7:58
    แล้วสิ่งที่พวกเขาตอบกลับมาก็ประมาณว่า
  • 7:58 - 8:00
    "ผมไม่แน่ใจว่าคุณเคยได้ยินปัญหา
    เรื่องโครงการธอร์เรียมของเราไหม
  • 8:00 - 8:02
    เรามีงบไม่ถึงหนึ่งในสามของที่ต้องการด้วยซ้ำ
  • 8:02 - 8:05
    และหน่วยงานด้านพลังงานของพวกคุณ
    ก็ไม่ค่อยเต็มใจช่วยเหลือ
  • 8:05 - 8:09
    ให้ข้อมูลของพวกคุณเกี่ยวกับการทดสอบ
    เตาปฏิกรณ์กับพวกเราสักเท่าไหร่"
  • 8:09 - 8:12
    ผมก็เลยตอบไปว่า "โอเค ผมรู้ละ
  • 8:12 - 8:15
    คุณต้องใช้เวลาสิบปีในการทดสอบ
    เตาปฏิกรณ์นั่นใช่ไหม
  • 8:15 - 8:17
    เราข้ามกระบวนการนั่นไปเลย
  • 8:17 - 8:19
    แล้วมาพูดถึงเรื่องการขายมันเลยดีกว่า
  • 8:19 - 8:21
    มันน่าจะประหยัดทั้งเงินและเวลาเลยนะ"
  • 8:21 - 8:24
    วิศวกรคนนั้นมองผมและพูดกับว่า
  • 8:24 - 8:26
    "ขอผมถามคุณอย่างหนึ่งนะ
  • 8:26 - 8:29
    คุณจะซื้อรถที่ไม่เคยผ่านการทดสอบไหมครับ
  • 8:30 - 8:32
    แล้วถ้ามันเป็นเตาปฏิกรณ์ล่ะ คุณจะว่าอย่างไร"
  • 8:32 - 8:35
    ตอนนี้มีเตาปฏิกรณ์ขายกันออนไลน์แล้ว
    พวกเขาเริ่มขายมันแล้ว
  • 8:35 - 8:37
    มันเป็นเตาปฏิกรณ์ชนิดอุณหภูมิสูง
  • 8:37 - 8:38
    และมันไม่มีทางละลาย
  • 8:39 - 8:42
    แต่มันค่อนข้างใหญ่และเทอะทะ
    เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะปลอดภัย
  • 8:42 - 8:44
    และไม่มีใครคิดว่าราคามันจะถูกกว่า
  • 8:44 - 8:46
    เตาปฏิกรณ์ที่เรามีอยู่
  • 8:46 - 8:50
    เตาปฏิกรณ์ที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง
    เป็นแนวคิดที่เจ๋ง แต่ความจริงคือ
  • 8:50 - 8:52
    เรายังไม่รู้ว่าจะทำให้มันเป็นจริงได้อย่างไร
  • 8:52 - 8:55
    ความเสี่ยงคือคุณอาจสร้างขยะมากขึ้นกว่าเดิม
  • 8:55 - 8:57
    และคนส่วนใหญ่คิดว่าถ้าคุณเพิ่ม
  • 8:57 - 9:00
    ส่วนของขยะเข้าปในกระบวนการ
  • 9:00 - 9:03
    มันก็จะทำให้ราคาของเตานั้นสูงขึ้นไปอีก
  • 9:03 - 9:05
    และยิ่งทำให้ขั้นตอนทำงาน
    ซับซ้อนมากกว่าเดิม
  • 9:06 - 9:07
    ทีนี้ ความจริงก็คือ
  • 9:08 - 9:11
    ปัญหานั้นอยู่ตรงที่
    เราจะทำมากแค่ไหน
  • 9:11 - 9:14
    ดูอย่างที่อินเดียที่เราได้ไปและถาม
    เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์
  • 9:14 - 9:16
    รัฐบาลบอกก่อนถึงการประชุมในกรุงปารีส
  • 9:16 - 9:19
    ว่าพวกเขาจะมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
    ประมาณ 30 แห่งในอินเดีย
  • 9:19 - 9:21
    แต่เมื่อเราไปที่นั่น และสัมภาษณ์คนที่นั่น
  • 9:21 - 9:23
    หรือแม้แต่อ่านจากรายงานของรัฐบาล
  • 9:23 - 9:26
    พวกเขากลับบอกว่า
    พวกเขาจะมีเตาปฏิกรณ์แค่ 5 แห่ง
  • 9:26 - 9:29
    และในหลาย ๆ ที่ทั่วโลก
    โดยเฉพาะประเทศที่ร่ำรวย
  • 9:29 - 9:31
    พวกเขาไม่ได้พูดถึง
    การสร้างเตาปฏิกรณ์แห่งใหม่ ๆ
  • 9:31 - 9:33
    แต่เรากำลังพูดถึงการปลดระวางเตาเหล่านั้น
  • 9:33 - 9:35
    ก่อนเวลาอันควรจะเป็นเสียอีก
  • 9:35 - 9:38
    เยอรมันนีกำลังกดดันประเทศเพื่อนบ้าน
    ให้ทำแบบที่นั้น
  • 9:38 - 9:39
    ผมได้พูดถึงสหรัฐอเมริกาไปแล้วว่า
  • 9:39 - 9:44
    เราอาจเสียเตาปฏิกรณ์ครึ่งหนึ่งของที่เรามีอยู่
    ภายในระยะเวลา 15 ปีข้างหน้า
  • 9:44 - 9:47
    และจะเป็นการกำจัดตัวช่วยลดการปล่อยก๊าซ
    ปริมาณร้อยละ 40
  • 9:47 - 9:49
    ซึ่งเราควรจะลดก๊าซเหล่านั้นได้
    ภายใต้แผนพลังงานสะอาดวางไว้
  • 9:49 - 9:52
    แน่นอนว่า ที่ญี่ปุ่น พวกเขาปิด
    โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกแห่ง
  • 9:52 - 9:55
    แทนที่ด้วยการใช้ถ่านหิน
    ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบ
  • 9:55 - 9:58
    แถมยังคาดว่าจะเปิดใช้โรงงานแค่
    หนึ่งในสามหรือสองในสามแห่งเท่านั้น
  • 9:58 - 10:01
    ถ้าเราลองมาคำนวณกันเล่น ๆ
  • 10:01 - 10:02
    และรวมตัวเลขเหล่านั้น
  • 10:02 - 10:05
    เราจะมีโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์กี่แห่ง
    ในจีนและอินเดียที่จะถูกใช้งาน
  • 10:05 - 10:07
    ภายใน 15 ปีต่อจากนี้
  • 10:07 - 10:11
    เราจะมีความเสี่ยงที่ต้องปิด
    โรงงานเหล่านั้นแค่ไหน
  • 10:11 - 10:13
    และนี่คือสิ่งที่น่าตกใจที่สุด
  • 10:13 - 10:17
    เราพบว่า จริง ๆ แล้วโลกของเรา
    กำลังเผชิญกับความเสี่ยง
  • 10:17 - 10:22
    เสี่ยงต่อการที่เราจะสูญเสียพลังงานสะอาด
    มากกว่า 10 ปีที่ผ่านมาถึงสี่เท่า
  • 10:22 - 10:25
    หรือพูดได้ว่า เราไม่ได้อยู่ในยุค
    แห่งการปฏิวัติพลังงานสะอาดอีกต่อไป
  • 10:25 - 10:28
    แต่เรากำลังเจอกับวิกฤตพลังงานสะอาดต่างหาก
  • 10:29 - 10:33
    และนั้นก็ทำให้เข้าใจได้ว่า
    วิศวกรควรจะพยายามหาทางแก้ปัญหา
  • 10:33 - 10:35
    ความหวาดกลัวที่คนมีต่อพลังงานนิวเคลียร์
  • 10:35 - 10:38
    แต่ถ้าคุณเห็นว่านี่เป็นปัญหาที่ใหญ่
  • 10:38 - 10:40
    ที่คงจะต้องใช้เวลายาวนานในการแก้ไขแล้ว
  • 10:40 - 10:42
    มันก็ยังมีปัญหาอื่นอีก นั่นก็คือ
  • 10:42 - 10:45
    การแก้ปัญหานั้นจะช่วยให้คนหายกลัวหรือไม่
  • 10:46 - 10:47
    ถ้าพูดในแง่ความปลอดภัย
  • 10:47 - 10:50
    คุณรู้หรือไม่ครับว่า
    ถ้าไม่นับว่าคนส่วนใหญ่จะคิดอย่างไร
  • 10:50 - 10:53
    มันเป็นเรื่องที่ยากที่เราจะทำให้
    พลังงานนิวเคลียร์ปลอดภัยไปมากกว่านี้
  • 10:53 - 10:55
    ลองดูงานวิจัยทางการแพทย์
    จากวารสารทางการแพทย์ดู
  • 10:55 - 10:59
    นี่คือผลงานล่าสุดจากวารสารวิชาการ
    ของอังกฤษชื่อ "Lancet"
  • 10:59 - 11:01
    หนึ่งในวารสารที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก
  • 11:01 - 11:04
    บอกว่านิวเคลียร์เป็นพลังงาน
    ที่เสถียรและปลอดภัยที่สุด
  • 11:04 - 11:05
    ทุกคนคงกลัวกับอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น
  • 11:05 - 11:08
    ถ้าอย่างนั้นลองมาดูข้อมูลกัน
  • 11:08 - 11:09
    ทั้งที่ฟูกุชิมา หรือ เชอร์โนบิล
  • 11:09 - 11:12
    องค์การอนามัยโลกพบสิ่งเดียวกันคือ
  • 11:12 - 11:16
    อันตรายส่วนใหญ่เกิดจากความตื่นตระหนก
  • 11:16 - 11:18
    ผู้คนตื่นตระหนกเพราะความหวาดกลัว
  • 11:18 - 11:20
    หรือจะให้พูดอีกแง่คือ
  • 11:20 - 11:23
    อันตรายต่าง ๆ ไม่ได้เกิดจากเครื่องจักร
  • 11:23 - 11:24
    หรือการแผ่กัมมันภาพรังสี
  • 11:24 - 11:26
    แต่เกิดจากความกลัวของคนเราเอง
  • 11:27 - 11:28
    แล้วถ้าพูดถึงของเสียจากมันล่ะ
  • 11:28 - 11:30
    ทุกคนกังวลกับของเสียนิวเคลียร์
  • 11:30 - 11:32
    แต่คุณรู้ไหม สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ
  • 11:32 - 11:33
    โรงงานพวกนี้ปล่อยของเสียน้อยมาก
  • 11:33 - 11:35
    นี่มาจากแค่โรงงานแห่งเดียว
  • 11:35 - 11:38
    ถ้าคุณลองเอาของเสียทั้งหมดที่ได้จาก
    โรงงานนิวเคลียร์ในสหรัฐ
  • 11:38 - 11:40
    ไปวางซ้อนกันไว้ในสนามฟุตบอล
  • 11:40 - 11:43
    ทั้งหมดจะสูงไม่เกิด 20 ฟุต
  • 11:43 - 11:46
    แต่ก็จะมีคนบอกว่ามันเป็นพิษนะ
    หรือมันจะอาจสร้างปัญหาอื่น
  • 11:46 - 11:49
    มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย มันจะอยู่ตรงนั้น
    และถูกเฝ้าระวังอย่างดี
  • 11:49 - 11:50
    และมันก็ไม่ได้มีเยอะมากด้วย
  • 11:50 - 11:54
    ในทางกลับกัน ของเสียที่เราไม่ได้จัดการ
    จากการผลิตพลังงาน
  • 11:54 - 11:57
    ที่เราเรียกมันว่า "มลพิษ"
    และมันฆ่าคนกว่าเจ็ดล้านคนต่อปี
  • 11:57 - 12:00
    แถมยังสร้างปัญหาคุกคาม
    ต่อภาวะเรือนกระจกในระดับที่ร้ายแรง
  • 12:00 - 12:04
    แล้วคุณรู้ไหมว่า ต่อให้เราสามารถ
    นำของเสียพวกนั้นกลับไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
  • 12:04 - 12:06
    แน่นอนว่า
    มันจะต้องมีเชื้อเพลิงบางส่วนที่เหลือ
  • 12:06 - 12:10
    นั่นแปลว่า จะต้องมีคนที่คิดว่า
    ยังไงซะมันก็เป็นปัญหาใหญ่อยู่ดี
  • 12:10 - 12:14
    เพราะเราไม่มีทางที่จะจัดการ
    กับของเสียพวกนั้น
  • 12:14 - 12:15
    ได้ตามที่เราคิด
  • 12:15 - 12:17
    เอาล่ะ ลองพูดถึงอาวุธกันบ้าง
  • 12:17 - 12:20
    บางทีสิ่งที่น่าแปลกใจที่สุดก็คือ
    เราไม่เคยเห็นตัวอย่างเลย
  • 12:20 - 12:22
    ที่ประเทศที่มีพลังงานนิวเคลียร์
  • 12:22 - 12:25
    จะคิดว่า "เฮ้ย" ต้องมีอาวุธนิวเคลียร์ด้วย
  • 12:25 - 12:26
    ซึ่งความจริงมันเป็นเรื่องตรงกันข้าม
  • 12:27 - 12:29
    สิ่งที่พวกเราเจอมีแค่เพียง
  • 12:29 - 12:31
    จะทำอย่างไร
    ที่จะกำจัดอาวุธนิวเคลียร์เหล่านั้น
  • 12:31 - 12:34
    ตัวอย่างเช่น การนำพลูโตเนียมจากหัวระเบิด
  • 12:34 - 12:36
    มาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับ
    โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
  • 12:36 - 12:40
    ยิ่งกว่านั้น ถ้าคุณต้องการจะกำจัด
    อาวุธนิวเคลียร์ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลก
  • 12:40 - 12:43
    เรายิ่งต้องการโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
    อีกจำนวนมากเลยล่ะ
  • 12:44 - 12:47
    (เสียงปรบมือ)
    ขอบคุณครับ
  • 12:50 - 12:51
    ช่วงที่ผมอยู่ที่จีน
  • 12:51 - 12:54
    วิศวกรคนที่พา บิล เกตส์ ไปที่นั่น
    ดึงผมไปข้าง ๆ
  • 12:54 - 12:57
    และกล่าวกับผมว่า "รู้ไหม ไมเคิล
    ผมชื่นชมในความสนใจของคุณ
  • 12:57 - 13:00
    ที่มีต่อเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ต่าง ๆ
  • 13:00 - 13:03
    แต่มันมียังอีกปัญหาหนึ่ง
  • 13:03 - 13:05
    นั่นคือเราขาดความต้องการ
    จากคนส่วนใหญ่ในเรื่องนี้
  • 13:05 - 13:08
    ต่อให้เราสามารถผลิตสิ่งเหล่านี้
    ได้ในปริมาณมาก
  • 13:08 - 13:10
    หรือรู้วิธีที่จะทำให้ราคามันถูกลง
  • 13:10 - 13:12
    แต่ก็ยังไม่มีใครต้องการที่จะซื้อมันอยู่ดี"
  • 13:12 - 13:17
    ถ้าอย่างนั้นเราลองมาใช้พลังงานแดดและลม
    ให้มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้น
  • 13:17 - 13:20
    และเร่งพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ที่ทันสมัยกันเถอะ
  • 13:20 - 13:23
    ผมคิดว่าเราควรใช้เงินกับมาเพิ่มอีกเป็นสามเท่า
  • 13:23 - 13:25
    แต่ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ
  • 13:25 - 13:28
    ถ้าเราอยากจะผ่านพ้นวิกฤต
    ทางสภาพอากาศ
  • 13:28 - 13:32
    สิ่งที่ต้องตระหนักคือ
    สาเหตุของปัญหาทั้งหมด
  • 13:33 - 13:35
    ไม่ได้เกิดจากเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่เรามี
  • 13:35 - 13:37
    แต่มันเกิดจากความคิดของเราเองต่างหาก
  • 13:38 - 13:39
    ขอบคุณมากครับ
  • 13:39 - 13:45
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ความกลัวต่อพลังงานนิวเคลียร์ทำให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมเราได้อย่างไร
Speaker:
ไมเคิล ซัลเลนเบอร์เกอร์ (Michael Shellenberger)
Description:

"เราไม่ได้อยู่ในยุคของการปฏิวัติพลังงานสะอาดหรอก แต่เรากำลังอยู่ในวิกฤตการณ์พลังงานสะอาดต่างหาก" ไมเคิล ซัลเลนเบอร์เกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศ กล่าว ทางออกของปัญหาที่น่าประหลาดใจที่เขาได้เสนอ คือ พลังงานนิวเคลียร์ ในการบรรยายที่น่าสนใจนี้ ไมเคิลได้อธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมมันถึงเวลาแล้วที่เราถึงต้องจัดการกับความหวาดกลัวต่อเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่มีมาอย่างยาวนาน อีกทั้งเหตุผลว่าทำไมตัวเขาเองและนักสิ่งแวดล้อมอีกหลายท่านเชื่อว่ามันควรแก่เวลาแล้วที่เราจะมองพลังงานนิวเคลียร์ว่าเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพและเป็นที่ต้องการ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:58

Thai subtitles

Revisions