Return to Video

ในความคิดของสรรพสัตว์ - ไบรอัน บี คาสมูสเซน (Bryan B Rasmussen)

  • 0:06 - 0:10
    หมาของคุณชอบนอนหวดบนเก้าอี้นวม
    แต่คุณก็ชอบเหมือนกัน
  • 0:10 - 0:14
    คุณก็เลยไล่มันตะเพิดไป
    แล้วหย่อนตัวลงในบ่ายสบายๆ
  • 0:14 - 0:16
    ไม่ว่าจะอย่างไร แถวนี้คนเป็นใหญ่นะ
  • 0:16 - 0:19
    คุณเป็นสิ่งมีชีวิตที่เฉลียวฉลาด
    ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตทั่วไปที่อาศัยสัญชาตญาณ
  • 0:19 - 0:23
    คุณวางแผน มีความฝัน และโอ้-
  • 0:23 - 0:26
    หมาของคุณเพิ่งจะเอาชนะความฉลาดของคุณ
    และรู้สึกดีใจมากเลยหรือเปล่า
  • 0:26 - 0:28
    หรือว่ามันก็แค่ทำตามสัญชาตญาณ
  • 0:28 - 0:30
    มันมีความแตกต่างกันบ้างไหม
  • 0:30 - 0:32
    มันคิดอะไรอยู่
  • 0:32 - 0:34
    มันขึ้นกับว่า เราหมายความว่าอย่างไร
    เมื่อพูดถึง "การคิด"
  • 0:34 - 0:38
    และเกณฑ์ที่เราใช้ประเมินมัน
  • 0:38 - 0:42
    อริสโตเติลและเดคาร์ด
    ทั้งคู่ใช้เกณฑ์สัญชาตญาณและความฉลาด
  • 0:42 - 0:45
    เพื่อแบ่งแยกสัตว์ออกจากมนุษย์
  • 0:45 - 0:48
    อริสโตเติลเชื่อว่ามนุษย์ประมวลเหตุผล
  • 0:48 - 0:53
    ในขณะที่สัตว์ทำได้แค่ทำตามสัญชาตญาณดิบ
    สำหรับการอยู่รอดและสืบพันธ์ุ
  • 0:53 - 0:55
    เกือบ 2,000 ต่อมา
  • 0:55 - 1:00
    เดคาร์ดแนะถึงแบบของความคิดที่เข้มข้นกว่า
  • 1:00 - 1:04
    โดยเถียงว่า สัตว์ที่ทำตามสัญชาติญาณ
    ไม่สามารถจำแนกได้
  • 1:04 - 1:09
    จากหุ่นยนต์ที่ตอบสนองตามกลไก
    ต่อสิ่งกระตุ้นในสิ่งแวดล้อมของมัน
  • 1:09 - 1:13
    แต่ความเห็นค้านความเฉลียวฉลาดของสัตว์
    เริ่มที่จะถูกเปิดเผย
  • 1:13 - 1:16
    ด้วยทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน
  • 1:16 - 1:21
    ดาร์วินสันนิษฐานว่าความเฉลียวฉลาด
    อาจมีวิวัฒนาการจากสัญชาติญาณง่ายๆ
  • 1:21 - 1:26
    เขาสังเกตเห็นไส้เดือนเลือกว่า
    จะลากใบไม้รูปร่างแปลกๆ
  • 1:26 - 1:27
    เข้าไปในเขตของมันอย่างไร
  • 1:27 - 1:33
    และประหลาดใจที่มนุษย์ใช้วิธีการคล้ายๆ กัน
    ในการจัดการกับปัญหาคล้ายๆ กัน
  • 1:33 - 1:37
    เขาจึงคิดว่า
    ถ้ามนุษย์สืบเชื้อสายมาจากสิ่งมีชีวิตง่ายๆ
  • 1:37 - 1:42
    ฉะนั้นความคิดของเราอยู่ที่สุดขอบไกล
    ของความต่อเนื่องนี้
  • 1:42 - 1:47
    ก็ต่างจากพวกมันในระดับความมากน้อย
    แต่ไม่ได้ต่างในรูปแบบ
  • 1:47 - 1:51
    การทดลองเร็วๆ นี้แสดงว่า
    หลายสปีชีส์สามารถแก้ปัญหาซับซ้อนได้
  • 1:51 - 1:54
    ซึ่งเป็นการยืนยันสมมติฐานแรกเริ่ม
    ของดาร์วิน
  • 1:54 - 1:57
    ช้างใช้สิ่งของเพื่อให้เอื้อมถึง
    ที่ซึ่งเข้าไม่ถึง
  • 1:57 - 1:59
    นกกาทำอุปกรณ์ของพวกมัน
  • 1:59 - 2:03
    และใช้การแทนที่น้ำเพื่อให้ได้รางวัล
  • 2:03 - 2:07
    ปลาหมึกสามารถเปิดขวดโหล
    หลังจากเห็นตัวอื่นทำแบบนั้น
  • 2:07 - 2:10
    และยังจดจำกระบวนการนั้นได้
    เป็นอีกหลายเดือนให้หลัง
  • 2:10 - 2:13
    กิจกรรมแบบนั้นเกี่ยวข้องกับ
    การคิดถึงแง่มุมของปัญหา
  • 2:13 - 2:19
    แยกกันจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทันที
    และยังคงแนวทางสำหรับการใช้ครั้งต่อไป
  • 2:19 - 2:22
    ถึงกระนั้น ในขณะที่สัตว์สามารถแก้ปัญหา
    ที่ซับซ้อนได้
  • 2:22 - 2:26
    เรารู้ได้อย่างไร พวกมันคิดอะไร
    หรือแม้กระทั่งว่าพวกมันกำลังคิด
  • 2:26 - 2:30
    นักพฤติกรรม อย่างเช่น พาลอฟ (Pavlov)
    และ ทอร์นไดค์ (Thorndike) ค้าน
  • 2:30 - 2:32
    ว่าสัตว์ที่เหมือนว่าจะคิด
  • 2:32 - 2:36
    ปกติแล้วจะตอบสนอง
    เพื่อรางวัล หรือต่อการทำโทษเท่านั้น
  • 2:36 - 2:38
    นั่นเป็นกรณีของ คลีเวอร์ ฮานส์
    (Clever Hans)
  • 2:38 - 2:43
    ม้าที่มีความสามารถอันน่าทึ่ง
    ในการเคาะคำตอบต่อโจทย์คณิตศาสตร์
  • 2:43 - 2:47
    แต่กลายเป็นว่า ฮานส์
    ไม่ได้มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์
  • 2:47 - 2:52
    แต่มีความสามารถในการอ่านสัญญาณ
    ที่บอกเป็นนัยๆ จากครูฝึกผู้ไม่ค่อยจะฉลาด
  • 2:52 - 2:55
    ว่าจะให้หยุดเคาะเมื่อไร
  • 2:55 - 2:59
    ฉะนั้น ฮานส์ ไม่สามารถคิดเลข
    แต่นั่นหมายความว่ามันไม่ได้คิดด้วยงั้นหรือ
  • 2:59 - 3:02
    อย่างไรก็ดี มันสามารถตีความ
    ข้อความเชิงสังคมที่ต่างกันเพียงเล็กน้อย
  • 3:02 - 3:06
    คุณสมบัติที่มันมีร่วมกับ
    สัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์อื่นๆ
  • 3:06 - 3:10
    ช้างจดจำกันและกันได้
    หลังพรากจากกันหลายปี
  • 3:10 - 3:13
    และเหมือนว่าจะโศกเศร้าเมื่อพวกมันตายซะด้วย
  • 3:13 - 3:16
    ผึ้งสื่อสารโดยการเต้นแบบส่าย
  • 3:16 - 3:21
    เพื่อบ่งบอกตำแหน่งและคุณภาพ
    ของแหล่งอาหารกับผึ้งตัวอื่นๆ
  • 3:21 - 3:25
    ลิงชิมแพนซีมีส่วนร่วมในการหลอกลวงที่ซับซ้อน
  • 3:25 - 3:30
    ซึ่งบ่งบอกว่า มันไม่เพียงแต่คิด
    แต่พวกมันยังเข้าใจว่าตัวอื่นทำเช่นนั้นด้วย
  • 3:30 - 3:32
    และจากนั้น ก็มีอเล็กซ์ นกแก้วสีเทา
  • 3:32 - 3:34
    ผู้ที่สามารถใช้ภาษามนุษย์
  • 3:34 - 3:37
    ในการจำแนกสีและรูปทรง
    ของสิ่งของที่ไม่ได้อยู่ตรงนั้น
  • 3:37 - 3:43
    และกระทั่งเข้าใจแนวคิดนามธรรม
    เช่นใหญ่กว่าและเล็กกว่า
  • 3:43 - 3:45
    นั่นมันฟังดูเหมือนความเฉลียวฉลาดเอามากๆ
  • 3:45 - 3:48
    และไม่ใช่แค่การทำงานของจักรกลที่ไร้สมอง
  • 3:48 - 3:52
    แต่ขณะที่สัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์สามารถแก้ปัญหา
    และแม้กระทั่งสื่อสารได้
  • 3:52 - 3:56
    สำหรับมนุษย์แล้ว การคิด
    ยังเกี่ยวข้องกับสติสัมปชัญญะด้วย
  • 3:56 - 4:01
    ซึ่งเป็นความสามารถที่จะสะท้อนการกระทำของเรา
    ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะทำมัน
  • 4:01 - 4:06
    ถึงตอนนี้ ไม่มีการศึกษาใดที่บอกเรา
    ว่าถ้าการมีความฉลาดที่มากกว่าพวกเรา
  • 4:06 - 4:11
    หมายถึงว่าหมาของเรา
    รู้สึกดีเมื่อได้ทำอย่างนั้นหรือเปล่า
  • 4:11 - 4:15
    ที่เราต้องการรู้จริงๆ คือ
    เป็นหมาแล้วจะรู้สึกอย่างไร
  • 4:15 - 4:16
    หรือเป็นปลาหมึก
  • 4:16 - 4:18
    หรือเป็นนกกา
  • 4:18 - 4:21
    นักปรัชญาทางความคิดเรียกมันว่า
    ปัญหาใหญ่ (The Hard Problem)
  • 4:21 - 4:24
    เพราะในขณะที่คุณและผมสามารถบอกได้
    ว่าเป็นคนรู้สึกอย่างไร
  • 4:24 - 4:26
    ไม่มีใครเลยที่พูดภาษาม้าได้
  • 4:26 - 4:28
    แม้แต่นกแก้วพูดได้ เหมือนอล็กซ์
  • 4:28 - 4:33
    ก็บอกเราไม่ได้ว่าเขารู้สึกอย่างไร
    เกี่ยวกับสีที่เขาเรียกชื่อได้
  • 4:33 - 4:35
    และถ้าหากสติสัมปชัญญะ
    มาในรูปแบบที่ต่างออกไปล่ะ
  • 4:35 - 4:39
    เราจะได้รู้จักกับสติสัมปชัญญะของผึ้งไหม
  • 4:39 - 4:44
    ด้วยเหตุนั้น เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า
    คนอื่นๆ มีสติสัมปชัญญะ
  • 4:44 - 4:47
    บางที พวกเขาก็อาจเป็นแค่ผีดิบ
    ที่ทำหน้าที่ได้ดี
  • 4:47 - 4:51
    ไม่ว่าอย่างไร ความคิดของสัตว์ยังคงทดสอบ
    ข้อจำกัดของความเข้าใจของเรา
  • 4:51 - 4:57
    และวิธีการที่เราให้กรอบกับมันอาจเปิดเผย
    เกี่ยวกับความคิดของพวกเรามากกว่าของพวกมัน
Title:
ในความคิดของสรรพสัตว์ - ไบรอัน บี คาสมูสเซน (Bryan B Rasmussen)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/inside-the-minds-of-animals-bryan-b-rasmussen

สัตว์คิดได้ไหม มันเป็นคำถามที่กระตุ้นความสนใจนักวิทยาศาสตร์มาเป็นพันๆ ไป ให้แรงบันดาลใจกับพวกเขาคิดวิธีต่างๆและเกณฑ์ในการวัดความเฉลียวฉลาดของสัตว์ ไบรอัน ลี ราสมูสเซน พาเราไปรู้จักกับปัญหาที่เป็นที่ถกเถียงกันนี้ แสดงให้เราเห็นว่าการวัดความเฉลียวฉลาดมักจะพูดถึงว่ามนุษย์คิดอย่างไรมากกว่าจะเกี่ยวกับอย่างอื่น

บทเรียนโดย Bryan B Rasmussen แอนิเมชันโดย Mike Schell

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:13
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Inside the minds of animals - Bryan B Rasmussen
Thitiporn Ratanapojnard accepted Thai subtitles for Inside the minds of animals - Bryan B Rasmussen
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Inside the minds of animals - Bryan B Rasmussen
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Inside the minds of animals - Bryan B Rasmussen
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Inside the minds of animals - Bryan B Rasmussen
Thitiporn Ratanapojnard declined Thai subtitles for Inside the minds of animals - Bryan B Rasmussen
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for Inside the minds of animals - Bryan B Rasmussen
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for Inside the minds of animals - Bryan B Rasmussen
Show all

Thai subtitles

Revisions