Return to Video

ทำไมความสงสัยใคร่รู้จึงเป็นกุญแจสำคัญของวิทยาศาสตร์และการแพทย์

  • 0:01 - 0:02
    วิทยาศาสตร์
  • 0:03 - 0:06
    คำที่ทำให้พวกคุณหลายคน
    นึกถึงความทรงจำอันน่าเบื่อ
  • 0:06 - 0:09
    ในวิชาชีววิทยาหรือฟิสิกส์ตอนมัธยม
  • 0:09 - 0:12
    แต่ผมขอยืนยันนะครับ
    ว่าสิ่งที่คุณได้เรียนมาในตอนนั้น
  • 0:12 - 0:14
    แทบจะไม่ได้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เลย
  • 0:14 - 0:17
    สิ่งเหล่านั้นบอกคุณว่า
    วิทยาศาสตร์มี "อะไร"
  • 0:17 - 0:19
    มันเป็นประวัติศาสตร์
    ของสิ่งที่คนอื่น ๆ ได้ค้นพบ
  • 0:21 - 0:23
    สิ่งที่ผมสนใจที่สุดในฐานะนักวิทยาศาสตร์
  • 0:23 - 0:25
    ก็คือว่าวิทยาศาสตร์นั้นเป็น "อย่างไร"
  • 0:25 - 0:29
    เพราะว่าวิทยาศาสตร์
    คือความรู้ที่ยังอยู่ในกระบวนการ
  • 0:29 - 0:33
    เราทำการสังเกต คาดเดาคำอธิบาย
    ต่อสิ่งที่เราได้สังเกตนั้น
  • 0:33 - 0:35
    และจากนั้นก็ทำการคาดคะเน
    ที่เราตรวจสอบได้
  • 0:35 - 0:37
    ด้วยการทดลองหรือการสังเกตอื่น ๆ
  • 0:37 - 0:38
    ยกตัวอย่างนะครับ
  • 0:38 - 0:42
    อย่างแรก คนเราเคยมองว่า
    โลกอยู่ด้านล่าง และท้องฟ้าอยู่ด้านบน
  • 0:42 - 0:46
    และทั้งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
    ก็ดูเหมือนจะโคจรไปรอบ ๆ พวกเขา
  • 0:47 - 0:48
    คำอธิบายจากการเดาของพวกเขา
  • 0:48 - 0:51
    ก็คือ โลกจะต้องเป็นศูนย์กลางของจักรวาลแน่ ๆ
  • 0:52 - 0:55
    การคาดคะเนก็คือ
    ทุก ๆ อย่างควรที่จะโคจรรอบโลก
  • 0:56 - 0:58
    มันได้รับการพิสูจน์จริง ๆ เป็นครั้งแรก
  • 0:58 - 1:01
    เมื่อกาลิเลโอได้ใช้กล้องโทรทัศน์
    หนึ่งในตัวแรก ๆ
  • 1:01 - 1:03
    และในขณะที่เขามองดู
    ท้องฟ้าในยามค่ำคืนอยู่นั้น
  • 1:03 - 1:07
    สิ่งที่เขาพบก็คือดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง
    นามว่าดาวพฤหัส
  • 1:07 - 1:11
    ที่มีดวงจันทร์สี่ดวงโคจรอยู่รอบมัน
  • 1:12 - 1:16
    จากนั้นเขาก็ใช้ดวงจันทร์เหล่านั้น
    เพื่อติดตามเส้นทางการโคจรของดาวพฤหัส
  • 1:16 - 1:20
    และพบว่าดาวพฤหัสเองก็ไม่ได้โคจรรอบโลก
  • 1:20 - 1:22
    แต่โคจรรอบดวงอาทิตย์
  • 1:23 - 1:25
    ฉะนั้น การคาดคะเนนั้นก็ผิด
  • 1:26 - 1:28
    และสิ่งนี้ก็นำไปสู่การล้มล้างทฤษฎี
  • 1:29 - 1:31
    ที่ว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
  • 1:31 - 1:35
    อีกตัวอย่างหนึ่ง เซอร์ ไอแซค นิวตัน
    สังเกตเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ หล่นลงสู่พื้นโลก
  • 1:35 - 1:38
    คำอธิบายจากการคาดเดานี้คือแรงโน้มถ่วง
  • 1:39 - 1:42
    ซึ่งเป็นการคาดคะเนว่า
    ทุกอย่างควรจะตกลงสู่พื้นโลก
  • 1:42 - 1:45
    แต่แน่ล่ะ ไม่ใช่ทุกอย่างจะตกลงสู่พื้นโลก
  • 1:46 - 1:48
    แล้วเราทิ้งทฤษฎีแรงโน้มถ่วงไปอย่างนั้นหรือ
  • 1:49 - 1:53
    ไม่ครับ เราแก้ไขทฤษฎีนั้น และบอกว่า
    แรงโน้มถ่วงดึงสิ่งต่าง ๆ ลงสู่โลก
  • 1:53 - 1:58
    เว้นเสียแต่ว่า
    มีแรงในทิศทางตรงข้ามที่เท่ากัน
  • 1:58 - 2:00
    นั่นนำเราไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่
  • 2:01 - 2:04
    เราเริ่มที่จะให้ความสนใจมากขึ้น
    กับนกและปีกของนก
  • 2:04 - 2:07
    และคุณลองนึกถึงการค้นพบทั้งหลาย
  • 2:07 - 2:09
    ที่พรั่งพรูออกมา
    จากแนวความคิดนั้นดูสิครับ
  • 2:10 - 2:15
    ฉะนั้นการทดสอบที่ผิดพลาด ข้อยกเว้น
    และค่าที่แปลกแยกต่าง ๆ
  • 2:15 - 2:19
    สอนเราในสิ่งที่เราไม่รู้
    และนำเราไปสู่สิ่งใหม่
  • 2:20 - 2:23
    นี่คือวิธีที่วิทยาศาสตร์รุดไปข้างหน้า
    นี่คือวิธีที่วิทยาศาสตร์เรียนรู้
  • 2:24 - 2:26
    บางครั้งตามสื่อ
    หรือที่อาจเกิดได้ยากยิ่งกว่า
  • 2:26 - 2:29
    ก็คือในบางครั้ง
    แม้แต่นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังพูด
  • 2:29 - 2:31
    ว่าบางสิ่งบางอย่าง
    ได้ถูกพิสูจน์แล้วในทางวิทยาศาสตร์
  • 2:32 - 2:36
    แต่ผมหวังว่าคุณจะเข้าใจ
    ว่าวิทยาศาสตร์ไม่เคยพิสูจน์อะไร
  • 2:36 - 2:38
    ที่เป็นจริงไปตลอดกาล
  • 2:40 - 2:43
    หวังว่า วิทยาศาสตร์จะยังคงสงสัยใคร่รู้มากพอ
  • 2:43 - 2:45
    ที่จะมองหาสิ่งใหม่ ๆ
  • 2:45 - 2:47
    และถ่อมตนพอที่จะยอมรับ
  • 2:47 - 2:48
    เมื่อเราพบกับ
  • 2:48 - 2:50
    ค่าแปลกแยกใหม่
  • 2:50 - 2:52
    ข้อยกเว้นใหม่
  • 2:52 - 2:54
    ซึ่ง เช่นเดียวกับดวงจันทร์ของดาวพฤหัส
  • 2:54 - 2:56
    สอนเราในสิ่งที่เราไม่รู้จริง
  • 2:57 - 3:00
    ทีนี้เราจะมาเปลี่ยนเกียร์กันสักหน่อย
  • 3:00 - 3:02
    คทางูไขว้ หรือสัญลักษณ์ทางการแพทย์
  • 3:02 - 3:04
    มีความหมายที่แตกต่างกันไปมากมาย
    ตามแต่ละบุคคล
  • 3:04 - 3:06
    แต่ในความหมายสาธารณะส่วนใหญ่
    ในทางการแพทย์นั้น
  • 3:06 - 3:09
    ได้ทำให้มันกลายเป็นปัญหาทางวิศวกรรม
  • 3:09 - 3:11
    เรามีการประชุมมากมายในสภาคองเกรส
  • 3:11 - 3:15
    และคณะกรรมการบริษัทประกันต่าง ๆ
    ที่ประชุมเพื่อหาทางว่าจะจ่ายเงินค่ารักษาอย่างไร
  • 3:16 - 3:17
    ทั้งนักศีลธรรมและนักระบาดวิทยา
  • 3:17 - 3:20
    ต่างพยายามหาทางว่า
    จะกระจายการแพทย์ออกไปให้ดีที่สุดได้อย่างไร
  • 3:20 - 3:23
    และทั้งโรงพยาบาล
    และบุคลากรทางการแพทย์นั้น
  • 3:23 - 3:25
    ต่างก็จดจ่ออยู่กับระเบียบการ
    และสิ่งที่ต้องทำกันแบบโงหัวไม่ขึ้น
  • 3:25 - 3:28
    เพื่อพยายามหาทางว่า
    จะใช้การรักษาแบบไหนจึงจะปลอดภัยที่สุด
  • 3:28 - 3:30
    ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นสิ่งที่ดีครับ
  • 3:31 - 3:34
    อย่างไรก็ดี พวกเขาเองต่างก็เหมาเอาว่า
  • 3:34 - 3:36
    ตำราทางการแพทย์นั้น
  • 3:36 - 3:38
    สมบูรณ์แล้วในระดับหนึ่ง
  • 3:39 - 3:42
    เราเริ่มที่จะวัดคุณภาพ
    ของระบบสาธารณสุขของเรา
  • 3:42 - 3:44
    จากความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึง
  • 3:44 - 3:46
    ผมจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม ในสภาวะเช่นนี้
  • 3:46 - 3:49
    สถาบันต่าง ๆ ของเรา
    ที่ออกข้อกำหนดด้านการสาธารณสุข
  • 3:49 - 3:52
    ถึงเริ่มมีหน้าตาเหมือน
    ร้านบริการล้างรถเข้าไปทุกที
  • 3:52 - 3:54
    (เสียงหัวเราะ)
  • 3:54 - 3:58
    ปัญหาเพียงอย่างเดียวก็คือ
    เมื่อผมจบการศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์
  • 3:58 - 4:00
    ผมไม่ได้รับอุปกรณ์เล็ก ๆ นั่น
  • 4:00 - 4:03
    ที่ช่างใช้ต่อเข้าไปในรถของคุณ
  • 4:03 - 4:05
    แล้วก็รู้เลยว่ารถคุณมีปัญหาบกพร่องอะไร
  • 4:05 - 4:07
    เพราะว่าจริง ๆ แล้วตำราทางการแพทย์
  • 4:07 - 4:09
    ไม่ได้เบ็ดเสร็จสมบูรณ์เช่นนั้น
  • 4:09 - 4:11
    การแพทย์คือวิทยาศาสตร์
  • 4:12 - 4:14
    การแพทย์คือความรู้ที่ยังอยู่ในกระบวนการ
  • 4:15 - 4:17
    เราทำการสังเกต
  • 4:17 - 4:19
    เราคาดเดาถึงคำอธิบายต่อผลการสังเกตนั้น
  • 4:19 - 4:21
    และจากนั้นเราก็ทำการคาดคะเน
    ที่เราสามารถทดสอบได้
  • 4:21 - 4:25
    ที่นี้ พื้นที่ในการทดสอบการคาดคะเน
    ทางการแพทย์ส่วนใหญ่
  • 4:25 - 4:27
    คือกลุ่มประชากร
  • 4:27 - 4:30
    และคุณอาจจำได้จาก
    ตอนเรียนวิชาชีววิทยาที่แสนน่าเบื่อ
  • 4:30 - 4:32
    ว่ากลุ่มประชากรมักจะมีการแจกแจง
  • 4:32 - 4:34
    ไปรอบ ๆ ค่าเฉลี่ย
  • 4:34 - 4:36
    แบบเกาส์เซียน หรือโค้งปกติ
  • 4:36 - 4:37
    ดังนั้น ในทางการแพทย์
  • 4:37 - 4:40
    หลังจากที่เราทำการคาดคะเน
    จากคำอธิบายที่ได้มาจากการคาดเดาแล้ว
  • 4:40 - 4:42
    เราก็จะทดสอบมันในกลุ่มประชากร
  • 4:43 - 4:46
    นั่นหมายความว่าสิ่งที่เรารู้ในทางการแพทย์
  • 4:46 - 4:49
    ความรู้ของเรา และทักษะวิธีการต่าง ๆ ของเรา
  • 4:49 - 4:51
    มาจากกลุ่มประชากร
  • 4:51 - 4:54
    แต่เราสามารถนำมันไปใช้ได้
  • 4:54 - 4:55
    ถึงแค่ของเขต ค่าแปลกแยกใหม่
  • 4:55 - 4:57
    ข้อจำกัดใหม่
  • 4:57 - 4:58
    ซึ่ง เช่นเดียวกับดวงจันทร์ของดาวพฤหัส
  • 4:58 - 5:01
    ที่สอนให้เรารู้ในสิ่งที่เรายังไม่รู้จริง
  • 5:02 - 5:03
    ทีนี้ ผมเป็นหมอผ่าตัด
  • 5:03 - 5:06
    ที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งซาร์โคมา
  • 5:06 - 5:08
    มะเร็งซาร์โคมาเป็น
    มะเร็งที่พบได้ยากมาก
  • 5:09 - 5:11
    มันเป็นมะเร็งที่พบได้ในเนื้อและกระดูก
  • 5:11 - 5:16
    และผมขอบอกคุณเลยว่า
    ผู้ป่วยของผมทุกคนนั้นคือค่าที่แปลกแยก
  • 5:16 - 5:17
    คือข้อยกเว้น
  • 5:18 - 5:21
    ไม่มีการผ่าตัดผู้ป่วย
    มะเร็งซาร์โคมาครั้งไหน
  • 5:21 - 5:25
    ที่ผมได้รับการชี้แนะโดย
    การทดลองทางคลินิกที่ถูกควบคุมเชิงสุ่ม
  • 5:26 - 5:29
    ซึ่งเรามองว่าเป็นหลักฐานจากกลุ่มประชากร
    ที่ดีที่สุดในทางการแพทย์
  • 5:30 - 5:33
    ผู้คนต่างพูดถึงการคิดนอกกรอบ
  • 5:33 - 5:35
    แต่ว่าเราไม่มีกรอบ
    ในเรื่องมะเร็งซาร์โคมาด้วยซ้ำ
  • 5:35 - 5:39
    สิ่งที่เรามีในขณะที่เราแหวกว่าย
    ไปในบ่อเลนแห่งความไม่แน่นอน
  • 5:39 - 5:43
    ความไม่รู้ ข้อยกเว้น และค่าแปลกแยกต่าง ๆ
    ที่รายล้อมเราอยู่ในเรื่องมะเร็งซาร์โคมานั้น
  • 5:43 - 5:48
    คือทางลัดไปสู่คุณค่าสองอย่าง
    ที่ผมคิดว่ามีความสำคัญมากที่สุด
  • 5:48 - 5:49
    ในทุก ๆ ศาสตร์ซึ่งก็คือ
  • 5:49 - 5:51
    ความถ่อมตนและความสงสัยใคร่รู้
  • 5:52 - 5:54
    เพราะว่า หากผมถ่อมตนและสงสัยใคร่รู้แล้ว
  • 5:54 - 5:57
    เมื่อผู้ป่วยสักคนถามคำถามกับผม
  • 5:57 - 5:58
    และผมไม่รู้คำตอบ
  • 5:59 - 6:00
    ผมจะถามเพื่อนร่วมงาน
  • 6:00 - 6:03
    ที่อาจกำลังดูแลผู้ป่วยมะเร็งซาร์โคมา
    อีกคนหนึ่งที่มีอาการคล้าย ๆ กัน
  • 6:03 - 6:06
    เราอาจจะทำให้เกิดความร่วมมือ
    ในระดับนานาชาติด้วยซ้ำ
  • 6:06 - 6:09
    ผู้ป่วยเหล่านั้นจะเริ่มพูดคุยกัน
    ผ่านช่องทางการสนทนาต่าง ๆ
  • 6:09 - 6:10
    และกลุ่มสนับสนุน (support groups)
  • 6:11 - 6:14
    เพราะการสื่อสารอย่างใคร่รู้
    และถ่อมตนแบบนี้นี่เอง
  • 6:14 - 6:18
    ที่ทำให้เราได้เริ่มใช้ความพยายาม
    และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
  • 6:19 - 6:21
    อย่างเช่น คน ๆ นี้
    คือคนไข้รายหนึ่งของผม
  • 6:21 - 6:23
    ที่เป็นมะเร็งใกล้กับบริเวณเข่า
  • 6:23 - 6:26
    เพราะการสื่อสารอย่างใคร่รู้และถ่อมตน
  • 6:26 - 6:28
    ในความร่วมมือระดับนานาชาตินี่เอง
  • 6:28 - 6:33
    เราจึงได้เรียนรู้ว่า
    เราสามารถนำข้อเท้ามาปรับเป็นเข่าได้
  • 6:33 - 6:35
    เมื่อเราต้องผ่าตัดเอาเข่าที่เป็นมะเร็งออกไป
  • 6:35 - 6:38
    จากนั้นเขาก็สามารถใส่ขาเทียม
    แล้ววิ่ง กระโดด และเล่นได้
  • 6:38 - 6:41
    เขามีโอกาสนี้ได้
  • 6:41 - 6:44
    ก็เพราะความร่วมมือระดับนานาชาติ
  • 6:44 - 6:46
    เขาพึงพอใจกับมันมาก
  • 6:46 - 6:49
    เพราะก่อนหน้านั้นเขาได้ติดต่อ
    ผู้ป่วยคนอื่น ๆ ที่เผชิญกับสิ่งเดียวกัน
  • 6:50 - 6:54
    ฉะนั้น ข้อยกเว้นและค่าแปลกแยก
    ในทางการแพทย์นั้น
  • 6:54 - 6:58
    ไม่เพียงแต่สอนให้เรารู้ในสิ่งที่เราไม่รู้
    แต่ยังนำเราไปสู่แนวคิดใหม่ ๆ ด้วย
  • 6:59 - 7:01
    ทีนี้ ตรงนี้สำคัญมากนะครับ
  • 7:01 - 7:05
    แนวคิดใหม่ ๆ ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นมา
    จากค่าแปลกแยกและข้อยกเว้นทางการแพทย์
  • 7:05 - 7:08
    ไม่ได้ใช้ได้แค่กับ
    ค่าแปลกแยกและข้อยกเว้นเท่านั้น
  • 7:09 - 7:12
    เราไม่ได้เรียนรู้แค่วิธีการดูแล
    ผู้ป่วยมะเร็งซาร์โคมา
  • 7:12 - 7:14
    จากผู้ป่วยมะเร็งซาร์โคมาเท่านั้น
  • 7:15 - 7:17
    บางครั้ง ค่าแปลกแยก
  • 7:17 - 7:19
    และข้อยกเว้น
  • 7:19 - 7:22
    ก็สอนเราถึงสิ่งที่ค่อนข้างเป็นประโยชน์มาก
    ต่อกลุ่มประชากรทั่วไป
  • 7:23 - 7:25
    เช่นเดียวกับต้นไม้ที่อยู่นอกป่า
  • 7:25 - 7:29
    ค่าแปลกแยกและข้อยกเว้น
    ต่างดึงความสนใจของเรา
  • 7:29 - 7:34
    และอาจนำเราไปสู่ความเข้าใจ
    ที่มากกว่าเดิมว่าต้นไม้คืออะไร
  • 7:34 - 7:36
    เรามักมองแต่เรื่องใหญ่ ๆ
    อย่างป่าไม้ที่หายไป
  • 7:36 - 7:38
    แต่กลับลืมมองเรื่องเล็ก ๆ
  • 7:38 - 7:40
    อย่างต้นไม้สักต้นที่หายไปจากป่า
  • 7:41 - 7:43
    แต่ต้นไม้ที่อยู่อย่างโดด ๆ นั้น
  • 7:43 - 7:46
    ทำให้ความสัมพันธ์ต่าง ๆ
    ที่กำหนดนิยามว่าต้นไม้คืออะไร
  • 7:46 - 7:50
    รวมถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆ
    ระหว่างลำต้น รากและกิ่ง
  • 7:50 - 7:51
    ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • 7:51 - 7:53
    ถึงแม้ว่าต้นไม้นั้น
    อาจจะแปลกประหลาดไปบ้าง
  • 7:53 - 7:56
    หรือแม้ว่ามันจะมีความสัมพันธ์
    ระหว่างลำต้น ราก และกิ่ง
  • 7:56 - 7:58
    ในแบบที่ไม่ปกติ
  • 7:58 - 8:01
    อย่างไรเสีย มันก็ดึงความสนใจของเรา
  • 8:01 - 8:03
    และสามารถทำให้เราทำการสังเกต
  • 8:03 - 8:05
    ที่เราจะสามารถทดสอบต่อไปได้
    กับกลุ่มประชากรทั่วไป
  • 8:06 - 8:08
    ผมบอกคุณว่ามะเร็งซาร์โคมานั้น
    เป็นมะเร็งที่พบได้ยาก
  • 8:08 - 8:11
    พวกมันคิดเป็นเพียงหนึ่งเปอร์เซ็นต์
    ของมะเร็งทั้งหมด
  • 8:11 - 8:15
    คุณอาจยังรู้อีกว่ามะเร็งนั้น
    จัดเป็นโรคทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง
  • 8:16 - 8:19
    ตามนิยามของโรคทางพันธุกรรม
    มะเร็งเกิดจากออนโคยีน (oncogenes)
  • 8:19 - 8:21
    ที่ถูกกระตุ้นให้ทำงานในมะเร็ง
  • 8:21 - 8:24
    และยีนกดการเจริญของเนื้องอก
    ที่ถูกปิดการทำงานซึ่งทำให้เกิดมะเร็ง
  • 8:24 - 8:27
    คุณอาจคิดว่า
    เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับออนโคยีน
  • 8:27 - 8:29
    และยีนกดการเจริญของเนื้องอก
    จากมะเร็งทั่ว ๆ ไป
  • 8:29 - 8:31
    อย่างมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • 8:31 - 8:32
    และมะเร็งปอด
  • 8:32 - 8:34
    แต่คุณอาจคิดผิด
  • 8:34 - 8:37
    เรารู้จักออนโคยีน
    และยีนกดการเจริญของเนื้องอก
  • 8:37 - 8:38
    เป็นครั้งแรก
  • 8:38 - 8:42
    จากมะเร็งที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยนิด
    เพียงแค่หนึ่งเปอร์เซ็น ที่เรียกว่าซาร์โคมา
  • 8:43 - 8:45
    ในปี ค.ศ. 1966 เพย์ตัน รูว์
    ได้รับรางวัลโนเบล
  • 8:45 - 8:47
    จากการค้นพบว่าไก่
  • 8:47 - 8:51
    มีมะเร็งซาร์โคมาในรูปแบบที่ติดต่อได้
  • 8:51 - 8:54
    สามสิบปีต่อมา แฮโรลด์ เวอร์มุส
    และไมค์ บิชอป ได้ค้นพบ
  • 8:54 - 8:57
    ว่าส่วนที่สามารถแพร่ต่อไปได้นั้นคืออะไร
  • 8:57 - 8:58
    มันคือไวรัสชนิดหนึ่ง
  • 8:58 - 9:00
    ที่มียีน
  • 9:00 - 9:01
    ที่เรียกว่า ซาร์โคมา ออนโคยีน
    (src oncogene)
  • 9:02 - 9:06
    ทีนี้ ผมไม่ได้บอกคุณว่า src เป็น
    ออนโคยีนที่สำคัญที่สุด
  • 9:06 - 9:07
    ผมไม่ได้บอกคุณว่า
  • 9:07 - 9:10
    ว่า src เป็นยีนที่ถูกเปิดการทำงาน
    บ่อยที่สุดในมะเร็งทุกชนิด
  • 9:10 - 9:13
    แต่ว่ามันเป็นออนโคยีนตัวแรก
  • 9:14 - 9:16
    ข้อยกเว้นและค่าแปลกแยก
  • 9:16 - 9:19
    ดึงความสนใจของเราและนำเราไปสู่บางสิ่ง
  • 9:20 - 9:24
    ที่สอนเราถึงสิ่งสำคัญอื่น ๆ มากมาย
    เกี่ยวกับชีววิทยาเรื่องอื่น ๆ
  • 9:25 - 9:29
    ทีนี้ TP53
    คือยีนกดการเจริญเนื้องอกที่สำคัญที่สุด
  • 9:29 - 9:32
    มันเป็นยีนกดการเจริญเนื้องอก
    ที่ถูกปิดการทำงานบ่อยที่สุด
  • 9:32 - 9:34
    ในมะเร็งเกือบทุกชนิด
  • 9:34 - 9:37
    แต่เราไม่ได้รู้จักมันจากมะเร็งทั่ว ๆ ไป
  • 9:37 - 9:39
    เรารู้จักมันตอนที่ นายแพทย์ลี และฟราเมนี
  • 9:39 - 9:41
    มองไปที่ครอบครัวต่าง ๆ
  • 9:41 - 9:43
    แล้วสะกิดใจว่าครอบครัวเหล่านี้
  • 9:43 - 9:45
    มีคนที่เป็นมะเร็งซาร์โคมามากเกินไป
  • 9:46 - 9:48
    ผมบอกคุณไปว่า
    มะเร็งซาร์โคมานั้นพบได้ยาก
  • 9:48 - 9:51
    จำได้ไหมครับว่าโอกาสมีแค่หนึ่งในล้าน
  • 9:51 - 9:53
    ถ้ามันเกิดขึ้นถึงสองครั้ง
    ในครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง
  • 9:53 - 9:55
    มันก็เหมือนจะเกิดขึ้นง่ายเกินไปแล้ว
    ในครอบครัวนั้น ๆ
  • 9:57 - 9:59
    เหตุผลที่ว่ามันพบได้ยากนั้น
  • 9:59 - 10:01
    ทำให้เราหันมาสนใจ
  • 10:02 - 10:04
    และนำเราไปสู่แนวคิดใหม่
  • 10:05 - 10:07
    ทีนี้ พวกคุณหลายคนอาจบอกว่า
  • 10:07 - 10:08
    และอาจพูดถูกว่า
  • 10:09 - 10:10
    อืม นั่นมันก็เจ๋งอยู่นะ เคลวิน
  • 10:10 - 10:12
    แต่คุณไม่ได้กำลังพูดถึงปีกของนกนะ
  • 10:13 - 10:16
    คุณไม่ได้กำลังพูดถึงดวงจันทร์
    ที่ลอยอยู่รอบ ๆ ดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าพฤหัส
  • 10:17 - 10:18
    นี่คือมนุษย์คนหนึ่งเลยนะ
  • 10:18 - 10:21
    ค่าแปลกแยกและข้อยกเว้นนี้ อาจนำเรา
    ไปสู่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ก็จริงอยู่
  • 10:21 - 10:23
    แต่นี่มันคนนะ
  • 10:24 - 10:26
    และผมก็พูดได้แต่เพียงว่า
  • 10:26 - 10:28
    ผมรู้เรื่องนั้นดีอยู่แก่ใจ
  • 10:30 - 10:33
    ผมได้สนทนากับผู้ป่วยที่เป็นโรคที่พบได้ยาก
    และเป็นอันตรายถึงชีวิตเหล่านี้
  • 10:34 - 10:36
    ผมเขียนเกี่ยวกับการสนทนาเหล่านี้
  • 10:36 - 10:38
    การสนทนาเหล่านี้เต็มไปด้วยเรื่องเลวร้าย
  • 10:38 - 10:40
    พวกมันเต็มไปด้วยคำที่น่ากลัวมากมาย
  • 10:40 - 10:43
    อย่างเช่น "ผมมีข่าวร้าย"
    หรือ "เราทำอะไรไม่ได้อีกแล้ว"
  • 10:44 - 10:47
    ในบางครั้ง การสนทนาเหล่านี้
    ก็ทำให้คำคำหนึ่งหลุดออกมา
  • 10:48 - 10:49
    "ระยะสุดท้าย"
  • 10:53 - 10:56
    ความเงียบอาจทำให้เรารู้สึกอึดอัดนิดหน่อย
  • 10:57 - 11:00
    ในขณะที่การเว้นวรรคในวงการแพทย์นั้น
  • 11:00 - 11:02
    อาจมีความสำคัญ
  • 11:02 - 11:04
    เท่า ๆ กับคำที่เราใช้ในการสนทนาเหล่านี้
  • 11:05 - 11:07
    สิ่งที่เราไม่รู้คืออะไร
  • 11:07 - 11:09
    การทดลองที่กำลังเกิดขึ้นอยู่มีอะไรบ้าง
  • 11:10 - 11:11
    มาลองทำอะไรง่าย ๆ ด้วยกันหน่อยครับ
  • 11:11 - 11:15
    บนจอภาพนี้ เราเห็นคำว่า "ไม่มีทาง"
  • 11:15 - 11:16
    สังเกตการเว้นวรรคให้ดี ๆ นะครับ
  • 11:17 - 11:20
    ถ้าเราลองเลื่อนการเว้นวรรคนั้นไปเล็กน้อย
  • 11:21 - 11:22
    "ไม่มีทาง"
  • 11:22 - 11:25
    จะกลายเป็น "ไม่ [มัน]มีทาง"
  • 11:25 - 11:27
    ซึ่งมีความหมายตรงข้ามโดยสิ้นเชิง
  • 11:27 - 11:29
    แค่เพียงการเว้นวรรคใหม่แค่วรรคเดียว
  • 11:32 - 11:33
    ผมจะไม่มีวันลืมคืนนั้นเลย
  • 11:33 - 11:36
    ที่ผมเดินเข้าไปในห้องของผู้ป่วยคนหนึ่ง
  • 11:36 - 11:38
    ผมได้ทำการผ่าตัดอย่างยาวนานในวันนั้น
  • 11:38 - 11:40
    แต่ผมก็ยังอยากที่จะไปพบเขา
  • 11:40 - 11:43
    เขาเป็นเด็กชายที่ได้รับการวินิจฉัยว่า
    เป็นมะเร็งกระดูกเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านั้น
  • 11:44 - 11:47
    ผมและแม่ของเขาได้เข้าพบ
    แพทย์ด้านเคมีบำบัดหลายคน
  • 11:47 - 11:48
    ก่อนหน้านั้นในวันนั้น
  • 11:48 - 11:51
    และเขาได้ถูกส่งไปยังโรงพยาบาล
    เพื่อเริ่มรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด
  • 11:51 - 11:53
    ตอนที่ผมไปถึงห้องของเขา
    ก็เกือบเที่ยงคืนแล้ว
  • 11:53 - 11:56
    เขาหลับอยู่ แต่ผมเห็นแม่ของเขา
  • 11:56 - 11:57
    กำลังอ่านหนังสือใต้แสงไฟฉาย
  • 11:57 - 11:59
    ข้าง ๆ เตียงของเขา
  • 11:59 - 12:01
    เธอออกมาที่ทางเดินข้างนอก
    เพื่อคุยกับผมเป็นเวลาสองสามนาที
  • 12:02 - 12:04
    ปรากฏว่าสิ่งที่เธอกำลังอ่านอยู่นั้น
  • 12:04 - 12:07
    คือวิธีการรักษาที่แพทย์เคมีบำบัดเหล่านั้น
  • 12:07 - 12:08
    ได้ให้กับเธอในวันนั้น
  • 12:08 - 12:09
    เธอจดจำมันเรียบร้อยแล้ว
  • 12:11 - 12:15
    เธอบอกว่า "คุณหมอโจนส์คะ
    คุณบอกฉัน
  • 12:15 - 12:17
    ว่าเราไม่ได้เอาชนะ
  • 12:17 - 12:18
    มะเร็งประเภทนี้ได้เสมอไป
  • 12:20 - 12:23
    แต่ฉันได้ศึกษาวิธีการรักษานี้แล้ว
    และฉันคิดว่าฉันทำได้
  • 12:24 - 12:28
    ฉันคิดว่าฉันรับได้
    กับการบำบัดที่ยากลำบากมาก ๆ เหล่านี้
  • 12:28 - 12:31
    ฉันจะลาออกจากงาน
    ฉันจะย้ายไปอยู่กับพ่อแม่
  • 12:31 - 12:33
    ฉันจะทำให้ลูกของฉันปลอดภัย"
  • 12:35 - 12:37
    ผมไม่ได้บอกเธอ
  • 12:38 - 12:41
    ผมไม่ได้หยุดเธอเพื่อเปลี่ยนความคิดของเธอ
  • 12:42 - 12:44
    เธอกำลังปักใจเชื่อในวิธีการนี้
  • 12:44 - 12:47
    ที่ถึงแม้ว่าจะปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดแล้วก็ตาม
  • 12:47 - 12:50
    ก็อาจช่วยชีวิตลูกชายของเธอไว้ไม่ได้
  • 12:52 - 12:53
    ผมไม่ได้บอกเธอ
  • 12:54 - 12:56
    ผมไม่ได้เติมคำลงไปในช่วงที่เว้นวรรคนั้น
  • 12:57 - 12:59
    แต่หนึ่งปีครึ่งหลังจากนั้น
  • 12:59 - 13:02
    ไม่ว่าจะพยายามแค่ไหนก็ตาม
    ลูกชายของเธอก็เสียชีวิตด้วยมะเร็ง
  • 13:03 - 13:05
    ผมควรที่จะบอกเธอไหมในตอนนั้น
  • 13:05 - 13:08
    ทีนี้ พวกคุณหลาย ๆ คนอาจบอกว่า
    "แล้วไงล่ะ"
  • 13:08 - 13:09
    ฉันไม่ได้เป็นมะเร็งซาร์โคมาซะหน่อย
  • 13:09 - 13:11
    ครอบครัวฉันก็ไม่มีใครเป็นมะเร็งซาร์โคมา
  • 13:11 - 13:12
    และทั้งหมดนี้มันก็ดีอยู่หรอกนะ
  • 13:12 - 13:15
    แต่มันอาจไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตของฉันสักเท่าไร"
  • 13:15 - 13:16
    และคุณอาจพูดถูก
  • 13:16 - 13:19
    มะเร็งซาร์โคมา
    อาจไม่ได้มีผลอะไรกับชีวิตคุณมากนัก
  • 13:21 - 13:23
    แต่การเว้นวรรคการพูดในทางการแพทย์นั้น
  • 13:23 - 13:25
    สำคัญต่อชีวิตของคุณ
  • 13:27 - 13:29
    ผมไม่ได้บอกคุณถึงความลับแย่ ๆ อย่างหนึ่ง
  • 13:29 - 13:33
    ผมบอกคุณว่าในทางการแพทย์
    เราทดสอบการคาดคาดคะเนในกลุ่มประชากร
  • 13:33 - 13:34
    แต่ผมไม่ได้บอกคุณ
  • 13:35 - 13:37
    และบ่อยครั้งคนในวงการแพทย์จะไม่บอกคุณ
  • 13:37 - 13:40
    ว่าทุกครั้งที่แต่ละคน
  • 13:40 - 13:42
    เข้ารับการบริการทางการแพทย์
  • 13:42 - 13:46
    แม้ว่าคนคนนั้นจะอยู่
    ในกลุ่มประชากรทั่วไปอย่างแท้จริงก็ตาม
  • 13:47 - 13:50
    ทั้งเจ้าตัวและแพทย์จะไม่รู้เลย
  • 13:50 - 13:52
    ว่าคนคนนั้นจะตกไปอยู่ในประชากรกลุ่มไหน
  • 13:53 - 13:56
    ฉะนั้น การเข้ารับบริการทางการแพทย์ทุกครั้ง
  • 13:56 - 13:57
    ก็คือการทดลองอย่างหนึ่ง
  • 13:58 - 14:00
    คุณจะกลายเป็นตัวทดลอง
  • 14:00 - 14:02
    ในการทดลองสักอย่างหนึ่ง
  • 14:03 - 14:07
    และผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นผลที่ดีกว่า
    หรือไม่ก็แย่กว่าสำหรับคุณ
  • 14:08 - 14:10
    ตราบใดที่การรักษานั้นยังใช้ได้ดี
  • 14:10 - 14:13
    เราก็จะยังคงพึงพอใจกับบริการอันรวดเร็ว
  • 14:13 - 14:17
    และคุยฟุ้งอวดเก่งได้อย่างมั่นใจเต็มเปี่ยม
  • 14:18 - 14:19
    แต่เมื่อสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้ผล
  • 14:19 - 14:21
    บางครั้ง เราก็อยากได้ทางเลือกใหม่
  • 14:23 - 14:26
    เพื่อนร่วมงานของผมผ่าเนื้องอก
    ออกจากแขนขาของผู้ป่วยรายหนึ่ง
  • 14:27 - 14:29
    เขาเป็นกังวลกับเนื้องอกนี้
  • 14:29 - 14:32
    ในงานสัมมนาทางการแพทย์ของเรา
    เขาพูดถึงความกังวลของเขา
  • 14:32 - 14:33
    ว่าเนื้องอกนี้เป็นเนื้องอก
  • 14:33 - 14:36
    ประเภทที่มีโอกาสสูง
    ที่จะเกิดขึ้นซ้ำในแขนขาข้างเดิม
  • 14:37 - 14:39
    แต่สิ่งที่เขาคุยกับผู้ป่วยคนนั้น
  • 14:39 - 14:41
    คือสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ นั่นก็คือ
  • 14:41 - 14:42
    ความมั่นใจที่เต็มเปี่ยม
  • 14:42 - 14:45
    เขาบอกว่า "ผมรับมือกับมันได้แล้ว
    และคุณก็หายขาดแล้วด้วย"
  • 14:45 - 14:47
    เธอและสามีของเธอตื่นเต้นมาก
  • 14:47 - 14:51
    พวกเขาออกไปฉลองงานเลี้ยงอาหารค่ำ
    สุดเลิศหรู เปิดขวดแชมเปญ
  • 14:52 - 14:54
    ปัญหาเดียวก็คือไม่กี่สัปดาห์ต่อมา
  • 14:54 - 14:57
    เธอเริ่มสังเกตเห็นปุ่มเล็ก ๆ
    ปุ่มใหม่ที่บริเวณเดิม
  • 14:57 - 15:02
    กลายเป็นว่าเขาไม่ได้รับมือกับมันได้จริง
    และเธอก็ไม่ได้หายขาดจริง ๆ
  • 15:02 - 15:04
    แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ณ จุด ๆ นี้เอง
    ที่ทำให้ผมสนใจมาก
  • 15:05 - 15:07
    เพื่อนร่วมงานของผม
    เข้ามาหาผมแล้วก็บอกว่า
  • 15:07 - 15:10
    "เคลวิน จะเป็นอะไรไหมถ้าผม
    อยากให้คุณดูแลผู้ป่วยคนนี้แทนผม"
  • 15:10 - 15:13
    ผมบอกว่า "ทำไมล่ะ
    คุณก็รู้ดีพอ ๆ กับผมนี่นา
  • 15:13 - 15:15
    คุณไม่ได้ทำอะไรผิดเลยนะ"
  • 15:15 - 15:20
    เขาบอกว่า "ขอร้องล่ะ
    ดูแลผู้ป่วยคนนี้ให้ผมเถอะนะ"
  • 15:21 - 15:23
    เขารู้สึกอับอาย
  • 15:23 - 15:24
    ไม่ใช่เพราะสิ่งที่เขาได้ทำลงไป
  • 15:25 - 15:27
    แต่เพราะสิ่งที่เขาได้พูดไว้
  • 15:28 - 15:29
    เพราะความมั่นใจที่มากเกินไป
  • 15:31 - 15:33
    ดังนั้น ผมก็เลยลงมือผ่าตัดในแบบที่
    ผู้ป่วยอาจได้รับผลกระทบมากกว่า
  • 15:33 - 15:36
    และพูดคุยกับผู้ป่วยคนนั้น
    ในแบบที่แตกต่างออกไปมากหลังจากนั้น
  • 15:36 - 15:39
    ผมบอกว่า "เป็นไปได้สูงว่า
    ผมจัดการกับมันได้เรียบร้อยแล้ว
  • 15:39 - 15:41
    และก็เป็นไปได้สูงว่าคุณหายขาดแล้ว
  • 15:41 - 15:44
    แต่ว่านี่คือการทดลองที่เรากำลังทำอยู่
  • 15:45 - 15:47
    นี่คือสิ่งที่คุณจะต้องจับตามอง
  • 15:47 - 15:49
    นี่คือสิ่งที่ผมจะต้องจับตามอง
  • 15:49 - 15:53
    และเราก็จะต้องร่วมมือกัน
    เพื่อหาคำตอบว่าการผ่าตัดครั้งนี้
  • 15:53 - 15:54
    จะกำจัดมะเร็งของคุณได้หรือไม่"
  • 15:55 - 15:57
    ผมบอกคุณได้เลยว่า ทั้งเธอและสามีของเธอ
  • 15:57 - 16:00
    ไม่ได้วิ่งไปเปิดแชมเปญฉลอง
    เป็นครั้งที่สองหลังจากที่พูดคุยกับผม
  • 16:02 - 16:04
    แต่ในตอนนี้ เธอได้กลายเป็น
    นักวิทยาศาสตร์ไปแล้ว
  • 16:04 - 16:08
    ไม่ใช่เพียงแค่ตัวทดลองในการทดลองของเธอ
  • 16:10 - 16:12
    และดังนั้น ผมขอสนับสนุนให้คุณ
  • 16:12 - 16:15
    มองหาความถ่อมตนและความสงสัยใคร่รู้
  • 16:15 - 16:16
    ในตัวแพทย์ของคุณ
  • 16:17 - 16:20
    เกือบ 2 หมื่นล้านครั้งในแต่ละปี
  • 16:20 - 16:24
    ที่จะมีสักคนเดินเข้าไปยังห้องทำงานของหมอ
  • 16:24 - 16:26
    แล้วคนคนนั้นก็กลายเป็นผู้ป่วย
  • 16:27 - 16:31
    คุณหรือใครสักคนที่คุณรัก
    จะกลายเป็นผู้ป่วยคนนั้นในไม่ช้า
  • 16:32 - 16:33
    คุณจะพูดกับหมอของคุณอย่างไร
  • 16:35 - 16:36
    คุณจะบอกอะไรกับพวกเขา
  • 16:37 - 16:38
    พวกเขาจะบอกอะไรกับคุณ
  • 16:41 - 16:43
    พวกเขาไม่สามารถบอกสิ่งที่พวกเขาไม่รู้
  • 16:43 - 16:44
    ให้คุณทราบได้
  • 16:46 - 16:49
    แต่พวกเขาบอกคุณได้ว่าพวกเขาไม่รู้เมื่อใด
  • 16:50 - 16:52
    เพียงแค่คุณเอ่ยปากถาม
  • 16:52 - 16:55
    ฉะนั้น ได้โปรดเถอะครับ มาร่วมพูดคุยกัน
  • 16:56 - 16:57
    ขอบคุณครับ
  • 16:57 - 17:00
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมความสงสัยใคร่รู้จึงเป็นกุญแจสำคัญของวิทยาศาสตร์และการแพทย์
Speaker:
เควิน โจนส์ (Kevin Jones)
Description:

วิทยาศาสตร์คือกระบวนการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำการทดลอง ความล้มเหลว และการแก้ไขปรับปรุง และศาสตร์แห่งการแพทย์นั้นก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น นักวิจัยด้านมะเร็ง เควิน บี. โจนส์ เผชิญหน้ากับปริศนาดำมืดของการผ่าตัดและการรักษาพยาบาลด้วยคำตอบง่าย ๆ ซึ่งก็คือ ความซื่อสัตย์ ในการบรรยายที่ชวนคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้ โจนส์แสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์จะก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุดเมื่อนักวิทยาศาสตร์ต่างยอมรับอย่างไม่ทะนงตัวว่าพวกเขาไม่เข้าใจเรื่องอะไรบ้าง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:13

Thai subtitles

Revisions Compare revisions